วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 18:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔. วิปากปัจจัย

๑. วิปาก หมายความว่า ผลของกุสลกรรมและผลของอกุสลกรรม

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยและปัจจยุบบันน เกิดในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ที่ช่วยอุปการะซึ่งกันและกัน และที่ช่วยอุปการะแก่จิตตชรูปและ ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ขณะที่ไม่ได้ เป็นปัจจัย, จิตตชรูป ๑๓ (เว้นวิญญัติติรูป ๒) ที่เกิดขึ้นจากวิบากนามขันธ์เหล่านี้ ตามสมควร และปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ กุสลจิต ๒๑, อกุสลจิต ๑๒, กิริยาจิต ๒๐, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูปที่เกิดขึ้นจาก กุสล อกุสล กิริยา นามขันธ์เหล่านี้ตาม สมควร, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ วิปากปัจจัยนี้ มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัย แก่อพยากตะ

วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ที่เป็นปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แล้วแต่ว่าจะยกนามขันธ์ใดเป็นปัจจัย วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ เฉพาะนามขันธ์ที่เหลือ, วิบากจิตตชรูป ๑๓ (เว้น วิญญัติติรูป ๒), ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นวิปากปัจจยุบบันน

จะยกนามขันธ์เดียวหรือ๒ หรือ๓ เป็นปัจจัยก็ตาม นามขันธ์ที่เหลือ ๓ หรือ ๒ หรือ ๑ (ตามลำดับ) ก็เป็นปัจจยุบบันนเสมอไป ดังที่เคยได้กล่าวแล้วข้างต้น

ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูป และจิตตชรูป ในปัจจัยนี้ เป็นปัจจยุบบันนธรรม อย่างเดียวเป็นปัจจัยธรรมไม่ได้

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วิปากปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. วิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕. อาหารปัจจัย

อาหารปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ

ก. อาหารประเภท ข้าว น้ำ นม ขนม เนย เป็นต้น ที่เรียกว่า กพฬีการาหาร คือ รูปอาหารนั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะรูปกายให้เจริญเติบโตและตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า รูปอาหารปัจจัย

ข. ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร คือ นามอาหาร ๓ นั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้ เวทนาเจตสิก ปฏิสนธิวิญญาณ และเจตสิกกับกัมมชรูป (ตามลำดับ) ให้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า นามอาหารปัจจัย

รูปอาหารปัจจัย

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหารนั่นเอง

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน(อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ รูปอาหารปัจจัย มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ

กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง ได้แก่ โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกเป็นรูปอาหารปัจจัย จตุสมุฏ ฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัย ธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นรูปอาหารปัจจยุบบันน

ขยายความว่า โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป คือ อาหารชโอชานั้น เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว เป็นไปโดยอำนาจ อุปถัมภกสัตติ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

นามอาหารปัจจัย

๑. นามอาหาร หมายความถึง ผัสสาหาร คือ ผัสสเจตสิก, มโนสัญเจตนา หาร คือ เจตนาเจตสิก และ วิญญาณาหาร คือ จิตทั้งหมด

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรมนั้น เกิดพร้อมกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามอาหาร องค์ธรรม ๓ คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับปัจจัยธรรม

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตต กัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ นามอาหารปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามอาหาร ๓ ในกุสลจิต ๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลนามอาหาร ๓ ใน กุสลจิต ๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสล จิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อพยากตะนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในวิบากจิต ๓๖ ทั้งในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล, ที่ในกิริยา จิต ๒๐ ในปวัตติกาลอย่างเดียวเป็นนามอาหารปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, วิบากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๒ ปัจจัย คือ

๑. นามอาหารปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย
๖. สหชาตกัมมปัจจัย
๗. วิปากปัจจัย
๘. สหชาตินทริยปัจจัย
๙. สัมปยุตตปัจจัย
๑๐. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๑. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๒. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖. อินทริยปัจจัย

อินทริย คือความเป็นผู้ปกครอง ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ซึ่งมีจำนวน ๒๒ จึงเรียกว่า อินทรีย ๒๒ ในอินทรีย ๒๒ นั้นเป็นปัจจัยได้เพียง ๒๐ ส่วนอีก ๒ คือ อิตถินทรีย และปุริสินทรีย เป็นปัจจัยไม่ได้ เพราะธรรมที่จะเป็นปัจจัยได้ จะต้องมีอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง คือ ชนกสัตติ ทำให้ เกิดขึ้น และอุปถัมภกสัตติ ทำให้ตั้งอยู่ได้ อันความเป็นหญิงเป็นชายนั้น ครอง ความเป็นใหญ่แห่งเพศหญิงเพศชายของตนไว้ได้ก็จริง แต่ไม่มีความสามารถในการที่ จะอุปการะช่วยเหลือให้ธรรมอื่นใดเกิดขึ้น และไม่สามารถที่จะอุปการะช่วยเหลือให้ ธรรมอื่นใดตั้งอยู่ได้ด้วย เมื่อไม่สามารถที่จะมีชนกสัตติ หรืออุปถัมภกสัตติได้เช่นนี้ แล้ว ก็เป็นปัจจัยไม่ได้

อินทริยปัจจัย จำแนกออกได้เป็น ๓ คือ

ก. นามอินทริย องค์ธรรม ๘ (คือ ชีวิต จิต เวทนา สัทธา วิริยะ สติ เอกัค คตา ปัญญา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ โดยความเป็นใหญ่แก่ นาม รูป ที่เกิดพร้อม กันกับตนนั้น ได้ชื่อว่า สหชาตินทริยปัจจัย

ข. วัตถุ ๕ (มีจักขุวัตถุ เป็นต้น) ที่เกิดก่อน (เกิดพร้อมกับอดีตภวังคดวง แรก) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้น ได้ชื่อว่า ปุเรชาตินทริย ปัจจัย บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย

ค. รูปชีวิตินทรีย (คือ ชีวิตรูป) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ อุปาทินนกรูป (คือ กัมมชรูป) ที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ได้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทริยปัจจัย

สหชาตินทริยปัจจัย

๑. สหชาตินทรีย หมายถึง นามอินทรียองค์ธรรม ๘

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามอินทรียองค์ธรรม ๘

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรม และจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตต กัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตินทริยปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็น สหชาตินทริยปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ คือ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริย ปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นามอินทรีย องค์ธรรม ๘ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็น สหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม ๕ (คือ ชีวิต จิต เวทนา วิริยะ เอกัคคตา) ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม๕ ที่ในอกุสล จิต ๑๒ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลนามอินทรียองค์ ธรรม ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสล จิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ที่ในวิบาก จิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลตามสมควร เป็นสหชาติน ทริยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูป ในปวัตติกาล และวิบากปฏิสนธิจิต ๑๙, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๔ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตินทริยปัจจัย
๒. เหตุปัจจัย
๓. สหชาตาธิปติปัจจัย
๔. สหชาตปัจจัย
๕. อัญญมัญญปัจจัย
๖. สหชาตนิสสยปัจจัย
๗. วิปากปัจจัย
๘. นามอาหารปัจจัย
๙. ฌานปัจจัย
๑๐. มัคคปัจจัย
๑๑. สัมปยุตตปัจจัย
๑๒. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๓. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๔. สหชาตอวิคตปัจจัย

ปุเรชาตินทริยปัจจัย

๑. ปุเรชาตินทรีย หมายความว่า ธรรมที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ โดยความเป็นใหญ่

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมที่เกิดก่อนนั้นช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรม

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๕ คือ ปสาทรูป ๕ ที่เกิดพร้อมกับ อดีตภวังคดวงแรก หรืออีกนัยหนึ่ง ฐีติปัตตปัญจวัตถุ ๔๙ ที่ยังกำลังมีอยู่กับ ภวังคจิตก่อนที่จะถึง ปัญจวิญญาณ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ สัพพจิตตสาธารณ เจตสิก ๗

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๙(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) เจตสิก ๕๒ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ ปุเรชาตินทริยปัจจัย บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาติน ทริยปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่ อินทรียรูป ๕ คือ จักขุนทรีย โสตินทรีย ฆานินทรีย ชิวหินทรีย กายินทรีย ที่เป็นฐีติปัตต เป็น ปุเรชาตินทริยปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เป็นปุเร ชาตินทริยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๖ ปัจจัย คือ

๑. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

รูปชีวิตินทริยปัจจัย

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายความถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ รูปชีวิตินทรียปัจจัยนี้ มีวาระเดียว คือ อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่ ชีวิตรูปทั้งหลาย เป็นรูปชีวิตินทริยปัจจัย กัมมชรูป ที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นรูปชีวิตินทริย ปัจจยุบบันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และ ชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗. ฌานปัจจัย

๑. ฌาน มีความหมายว่า

ก. การเพ่งอารมณ์ ตามธรรมดา ตามปกติ มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้นอย่างหนึ่ง การเพ่งอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา มีกสิณเป็นต้นนั้นอีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่าง นี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

ข. การเพ่งอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา มีการเพ่งอารมณ์ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

ค. ฌานปัจจัยธรรม ที่ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมทั้งหลายนั้น ช่วย อุปการะโดยอำนาจแห่งอารัมมณูปนิชฌาน หรือโดยอำนาจแห่งลักขณูปนิชฌาน ก็ แล้วแต่กรณี

ง. สรุปความว่า ฌานปัจจัยก็ได้แก่ องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา และเอกัคคตาทั้ง ๕ อย่างนี้นั่นเอง หมายความว่า วิตก ก็เรียกฌาน วิจาร ก็เรียกว่า ฌาน เป็นต้น วิตก ทำหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจาร ทำหน้าที่ประคองจิตให้อยู่ที่ อารมณ์นั้น ปิติ ทำหน้าที่อิ่มใจในอารมณ์นั้น เวทนา ทำหน้าที่เสวยอารมณ์นั้น และเอกัคคตา ก็ทำหน้าที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในอารมณ์นั้น แม้จะทำหน้าที่กันคนละอย่าง แต่ก็ทำเพื่อให้สำเร็จในกิจการงานอันเดียวกัน คือ เพ่งอารมณ์อันเดียวกัน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา เอกัคคตา ที่ในจิต ๗๙ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๗๙(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เจตสิกที่ประกอบ ๗, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ฌานปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌานปัจจัย กุสลสัมปยุตตนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็น ฌานปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌาน ปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌานปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลสัมปยุตตนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลจิตตชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสล จิต ๑๒ เป็นฌานปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นฌานปัจจยุบ บันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) , ที่ในกิริยาจิต ๒๐, ในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล ตามควรแก่กรณี เป็นฌานปัจจัย วิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐), กิริยา จิต ๒๐ , วิปากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๑ ปัจจัย คือ

๑. ฌานปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. สหชาตินทริยปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย
๘. สัมปยุตตปัจจัย
๙. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๐. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๘. มัคคปัจจัย

มัคค คือ ธรรมที่เป็นประดุจหนทางที่นำไปสู่ ทุคคติ สุคติ และนิพพาน จัดเป็น สัมปาปกเหตุ คือเหตุที่ทำให้ถึง เปรียบเหมือนยวดยานพาหนะที่สามารถ พาผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายนั้น ๆ ได้ ตามควรแก่ฐานะของยวดยานนั้น ๆ

ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง ทุคคติ สุคติ และนิพพาน ที่เรียกว่ามัคคนี้ มี ๑๒ ประการ แต่ว่ามีองค์ธรรมเพียง ๙ จึงเรียกว่า องค์มัคค ๙ ได้แก่ เจตสิก ๙ ดวง คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฏฐิ มัคค ๑๒ มีองค์มัคค ๙ นี้ได้กล่าวโดยละเอียดพอ ประมาณ ในปริจเฉทที่ ๗ ตอนมิสสกสังคหะ เพื่อเป็นการทบทวน ขอให้กลับไปดู ที่นั่นอีกด้วย

องค์มัคค ๙ นี่แหละเป็นปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุปการะ สหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนนั้น ๒ ประการ คือ

ก. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยว เนื่องกับตน ให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ อย่างนี้เรียกว่า กิจธรรมดา

ข. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่ ทุคคติ สุคติ และ นิพพานได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็น กิจพิเศษ เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ เท่านั้น

อนึ่ง องค์มัคค ๙ นี้ ต่างก็ทำหน้าที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบันน ซึ่งกันและกัน เอง ก็ได้เหมือนกัน

สรุปความว่า มัคคปัจจัยนี้ คือองค์มัคค ๙ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับตน พร้อมด้วยจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ให้เกิดขึ้นและ ให้ตั้งอยู่ได้ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัยที่ทำหน้าที่ในกิจพิเศษอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ ในกิจธรรมดาอย่างหนึ่ง

๑. มัคค หมายถึง องค์มัคค ๙

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์มัคค ๙ ที่ในสเหตุกจิต ๗๑

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ สเหตุกจิตตช รูป และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) อเหตุกจิตตชรูป อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตตกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ มัคคปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคค ปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็น มัคคปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคคปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบ บันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา และทิฏฐิ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคค ๙ ที่เป็นอพยากตะใน สเหตุกวิบากจิต ๒๑, สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลเป็น มัคคปัจจัย สเหตุกวิบากจิต ๒๑ สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ สเหตุกวิบากจิตตชรูป สเหตุกกิริยาจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๓ ปัจจัย คือ

๑. มัคคปัจจัย
๒. เหตุปัจจัย
๓. สหชาตาธิปติปัจจัย
๔. สหชาตปัจจัย
๕. อัญญมัญญปัจจัย
๖. สหชาตนิสสยปัจจัย
๗. วิปากปัจจัย
๘. สหชาตินทริยปัจจัย
๙. ฌานปัจจัย
๑๐. สัมปยุตตปัจจัย
๑๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๒. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๓. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

๑. สัมปยุตต หมายความว่าการประกอบกันที่พร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ เอกวัตถุกะ ธรรมที่ประกอบกันพร้อม ด้วยลักษณะ ๔ ประการที่กล่าวนี้ ก็มีแต่จิตกับเจตสิกเท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีอีกเลย

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ แล้ว แต่จะยกขันธ์ใด จะเป็นขันธ์เดียว ๒ ขันธ์ หรือ ๓ ขันธ์ ก็ตาม เป็นปัจจัยขันธ์นั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจัย

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ เฉพาะขันธ์ที่เหลือ จะเป็น ๓ ขันธ์, ๒ ขันธ์ หรือขันธ์เดียว ตามลำดับนั้น เป็น สัมปยุตตปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ สัมปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็น สัมปยุตตปัจจยุบ บันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง เป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็นสัมปยุตต ปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ กิริยานามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ในปวัตติกาลและ ในปฏิสนธิกาลนั้น ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือในจิตดวงเดียว กันนั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. สัมปยุตตปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. สหชาตัตถิปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

คำว่า วิปปยุตตในบทนี้ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า สัมปยุตตในบท ก่อน กล่าวคือ วิปปยุตต มีความหมายว่า ไม่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ อันหมายถึงนามธรรมกับรูปธรรมโดยตรง นามธรรมกับรูปธรรมอาจเกิด ร่วมกันได้ เกิดพร้อมกันก็ได้ แต่อย่างไรเสียก็ไม่ครบลักษณะ ๔ ประการนั้นได้ เมื่อไม่ครบลักษณะ ๔ ประการนั้นก็เป็นสัมปยุตตไม่ได้ จึงเป็นวิปปยุตตไป และ วิปปยุตต ก็มี ๒ นัย คือ

ก. เป็นวิปปยุตตโดยความไม่มี เช่น ทิฏฐิวิปปยุตต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วย ทิฏฐิ จิตที่ปราศจากทิฏฐิ จิตที่ไม่มีทิฏฐิ

ญาณวิปปยุตต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จิตที่ปราศจากปัญญา จิตที่ ไม่มีปัญญา อย่างนี้เรียกว่า อภาววิปปยุตต

ข. เป็นวิปปยุตตโดยความไม่ปนกัน ไม่ระคนกัน อย่างนี้เรียกว่า วิสังสัฏฐ วิปปยุตต ได้แก่คำว่า วิปปยุตต ในวิปปยุตตปัจจัยนี้

สรุปรวมความว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ นามธรรมและรูปธรรมเกิดร่วมกันช่วย อุปการะกันตามสมควร โดยอำนาจแห่ง วิปปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๔ คือ

ก. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๒ ประการ คือ ปัจจัยธรรมเกิดร่วม พร้อมกันกับปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง แต่ว่าไม่เป็นสัมปยุตต ซึ่งกันและกันอีก อย่างหนึ่ง

ข. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๓ ประการ คือ ปัจจัยธรรมนั้น เป็นวัตถุอย่างหนึ่ง ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อนอย่างหนึ่ง และปัจจัยธรรมนั้นเป็นวิปป ยุตตอีกอย่างหนึ่ง

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๔ ประการ คือ ปัจจัย ธรรมนั้นเป็นวัตถุ, ปัจจัยธรรมนั้นเป็นอารมณ์, ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อน และปัจจัย ธรรมนั้นเป็นวิปปยุตต

ง. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๒ ประการ คือ ปัจจัยธรรมนั้นเป็น นามธรรมที่เกิดทีหลังปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นวิปปยุตตอีกอย่างหนึ่ง

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ จำแนกออกเป็น ๓ โดยรวมข้อ ข. และข้อ ค. เข้าเป็น ๑ เรียกว่า ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ไม่แยกเป็น วัตถุปุเรชาต และวัตถารัมมณปุเรชาต

สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๑. สหชาตวิปปยุตต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน แต่ไม่ประกอบอย่างระคน ปนกัน

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติี มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นปฏิสนธิกาลและปวัตติ กาล คือ จิต ๗๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔, ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และจุติจิตของพระ อรหันต์) เจตสิก ๕๒ ในปัญจโวการภูมิ และ

ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ และ ปฏิสนธิหทยวัตถุ (ที่อุปการะแก่กันและกันได้ เฉพาะในปฏิสนธิกาล)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป และปฏิสนธิ หทยวัตถุ ที่อุปการะแก่กันและกันกับปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ , ปัญจโวการ ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ ที่อุปการะแก่กันและกันกับปฏิสนธิหทยวัตถุ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ (เว้นปัญจโวการปฏิสนธิ นามขันธ์ ๔), พาหิรรูป,อาหารชรูป,อุตุชรูป,อสัญญสัตตกัมมชรูป,ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งหรือทั้ง ๔ ขันธ์เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย กุสลจิตตช รูป ที่เกิดพร้อมกับกุสลนามขันธ์นั้น เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔ ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย อกุสลจิตตชรูปที่เกิดพร้อมกับอกุสลนามขันธ์นั้น เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๒๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔, ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ จุติจิตของพระอรหันต์), กิริยา นามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กิริยาจิต ๒๐, เจตสิก ๓๘, ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔ ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย วิบากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมช รูป, ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน และ

ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. สหชาตนิสสยปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. สหชาตัตถิปัจจัย
๗. สหชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือยังอยู่ในระหว่าง ฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชน จิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้น โสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวม จิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑) มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวงนี้ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูป กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และรูปทั้งหมด ซึ่งเกิด ขึ้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวงตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรม จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย วิบากจิต ๓๒(เว้นอรูปวิบาก ๔),กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้นเป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้นเป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกียวิบากจิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตต ปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้ง หมด เหมือนกับวัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถารัมมณปุเรชาต หมายความว่า หทยวัตถุที่เกิดก่อน ซึ่งเป็นอารมณ์ ด้วยนั้นเป็นที่ตั้งที่อาศัยแก่จิตที่เกิดทีหลัง

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม ซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์นั่นเอง

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง ฐีติขณะ ยังไม่ถึง ภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะนั้น คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑, กามชวนจิต ๒๙, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และอภิญญาจิต ๒ (เฉพาะอิทธิ วิธอภิญญาเท่านั้น) ขณะที่เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙ ในเวลาที่ไม่ได้เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับ ถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นปัจจัย จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะ (เว้นกุสลชวนะ และอกุสลชวนะ) อันได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑, หสิตุปปาทจิต ๑, มหากิริยา จิต ๘, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และ อิทธิวิธอภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ และอิทธิวิธอภิญญากุสลจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตปัจจัย
๗. วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ

เมื่อกล่าวมาถึงปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ ก็จะเห็นได้ว่า คำว่า ชาตะมีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ นี้ อันคำว่า ชาตะในปัจจัย ๒๔ นี้ มีความหมายถึง ๓ อย่าง คือ

สหชาตะ ได้แก่ นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ ภังคะ

ปุเรชาต ได้แก่ รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ นาม ที่เกิดอยู่ในอุปาทะ และฐีติขณะ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิ จิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ รูป ที่เป็น ฐีติปัตตะ ที่เกิดพร้อมกับขณะ ทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น (อุปาทขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาต วิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิ กัมมชรูป, ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑. อัตถิปัจจัย

อัตถิ แปลว่า มีอยู่ ต้องเป็นธรรมที่มีอยู่ คือยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังค ยังไม่ทันได้ดับไปทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม ความอุปการะช่วย เหลือกันด้วยความที่มีอยู่นี่แหละ เรียกว่า อัตถิปัจจัย

ธรรมที่มีอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ ก็ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ส่วน นิพพานไม่เกี่ยว เพราะนิพพานไม่มีการเกิดดับ จึงไม่มีสภาพที่เรียกว่า อุปาทะ ฐีติ ภังคะ นั้น

ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ นี้ การปรากฏแห่งอัตถิปัจจัย ย่อมปรากฏใน ฐีติขณะมากกว่าและชัดกว่าในอุปาทะขณะและภังคะขณะ

ในอำนาจหน้าที่ทั้ง ๒ คือ ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตตินั้น แม้ว่าอัตถิปัจจัย จะมีทั้ง ๒ อย่าง แต่อำนาจในการอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมตั้งอยู่ได้ คือ อุป ถัมภกสัตตินั้นสำคัญมากกว่าการอุปการะให้เกิดขึ้น (ชนกสัตติ) ฉะนั้น อุปถัมภก สัตติจึงเป็นประธานในอัตถิปัจจัยนี้

อัตถิปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตัตถิปัจจัย
๒. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๕. อาหารัตถิปัจจัย
๖. อินทริยัตถิปัจจัย

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อัตถิปัจจัยนี้จำแนกออกเพียง ๕ ปัจจัย คือรวมข้อ ๒ อารัมมณปุเรชาต และข้อ ๓ วัตถุปุเรชาต เข้าด้วยกันเป็นข้อเดียว เรียกว่า ปุเรชาต ไม่แยกเป็นอารมณ์ หรือวัตถุ

สหชาตัตถิปัจจัย

สหชาตัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ สหชาตปัจจัยทุกประการ

๑. สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน

๒. ประเภท รูปนามเป็นปัจจัย รูปนามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือ ยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และใน ปวัตติกาล, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปกับอุปา ทายรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจนิก ไม่มี เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยก เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตัตถิปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนาม ขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย จิตตช รูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชา ตัตถิปัจจัย กุสลจิต ๒๑ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจ ยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย จิตต ชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลจิต ๑๒ เป็นสห ชาตัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชา ตัตถิปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบาก นามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔, วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูป ตามสมควร เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาตัตถิ ปัจจัย รูปที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อุปาทายรูปที่อาศัย เกิดกับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๘) กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔ ด้วย และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจัย กุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๙) อกุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย อกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อกุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับอารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. อารัมมณปุเรชาต หมายความว่า อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ และในที่ นี้หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง คงมีอยู่ ยังไม่ทันดับไป คือยังอยู่ใน ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็นนิปผันนรูป ๑๘ และยังอยู่ ในระหว่างฐีติขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ที่เกิดจาก ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย กามวิบากจิต ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑ กิริยา อภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี) เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ เป็นอารัมมณ ปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต ๑, กามกิริยาชวนะ ๙, ตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระอรหันต์พิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มหากิริยาจิต ๘ ที่พิจารณารูปเหล่านี้ เป็น อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ ยินเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มหากุสล ๘, กุสลอภิญญา ๑ เจตสิก ๓๖ (เว้น อัปปมัญญา) เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ หทยวัตถุ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณารูป เหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย กุสลอภิญญาจิตที่เห็นรูป นั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิ ปัจจยุบบันน เช่น

ยินดีเพลิดเพลินต่อ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้วมี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เกิดขึ้น อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั้น เป็นอารัมมณปุเร ชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย

วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน วัตถุปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่าง ฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอนในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวารา วัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)รวมจิต ๔๖ ดวงทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอนวัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีก ว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑), มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวงนี้ ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูปกิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และรูปทั้งหมดซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือจิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาตัต ถิปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้นเป็นวัตถุปุเรชาตัตถิ ปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธสมาบัติ นั้นเป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตัตถิปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกียวิบาก จิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ ป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุ ปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสล จิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเร ชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัยมี คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ ปัจฉาชาตปัจจัย ทุกประการ

คำว่า ชาตะ มีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะนี้ อัน คำว่า ชาตะในปัจจัย ๒๔ นี้มีความหมายถึง ๓ อย่างคือ

สหชาตะ ได้แก่ นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ ภังคะ

ปุเรชาตะ ได้แก่ รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ นามที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ และฐีติขณะ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลัง แล้ว ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็นอุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕(เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ รูป ที่เป็นฐีติปัตตะ ที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น(อุปาท ขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมา พร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจ ยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมช รูป ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ ในปฏิสนธิ จิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

อาหารัตถิปัจจัย

อาหารัตถิปัจจัยนี้ มีคำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ รูปอาหารปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหาร นั่นเอง

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน (อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันนได้แก่ อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ รูปอาหารปัจจัยมีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัย แก่อพยากตะ

กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก เป็นรูปอาหารปัจจัย จตุสมุฏ ฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัย ธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นอาหารัตถิปัจจยุบบันน

ขยายความ โอชาที่เป็นปัจจัยธรรม เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูปคือ อาหาร ชโอชานั้น เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูปที่เหลือ นอกนั้นคือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว เป็นไปโดยอำนาจอุปถัมภก สัตติ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

อินทริยัตถิปัจจัย

อินทริยัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ รูปชีวิตินทริยปัจจัยทุกประการ

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ อินทริยัตถิปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งหลาย เป็นอินทริยัตถิปัจจัย กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูปซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นอินทริยัตถิปัจจยุบบันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๒. นัตถิปัจจัย

นัตถิ แปลว่า ไม่มี ในที่นี้หมายความว่า ปัจจัยธรรมอันได้แก่ จิตและเจตสิก นั้นไม่มีแล้ว ดับไปแล้ว จึงจะเป็นโอกาสให้จิตเจตสิกดวงต่อมาเกิดขึ้นได้ ถ้าจิต เจตสิกดวงที่เกิดอยู่ก่อนยังไม่ดับไป จิตเจตสิกดวงต่อมาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้

ความดับไปหรือความไม่มีของจิตเจตสิกที่เกิดก่อนนี่แหละเรียกว่า นัตถิปัจจัย จิตเจตสิกดวงที่เกิดต่อมานั้นเรียกว่า นัตถิปัจจยุบบันน

นัตถิปัจจัยนี้ นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน และเหมือนกับ อนันตร ปัจจัยทุกประการ

๑. อนันตร หมายถึง ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ นัตถิปัจจัยนี้ เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึก ถึงวิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่าง ดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นนัตถิปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง(เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นนัตถิปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นนัตถิปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นนัตถิปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหัคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นนัตถิปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นนัตถิปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน(เว้นดวงสุดท้าย) เป็นนัตถิปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง(เว้นดวงแรก) เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นนัตถิ ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ที่เกิดก่อน ๆ เป็นนัตถิปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่ เกิดทีหลังนั้น เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นนัตถิปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นนัตถิปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๓. วิคตปัจจัย

วิคต แปลว่า ปราศจากไป หมายถึงดับไปแล้วนั่นเอง ปัจจัยธรรมอันได้แก่ จิตเจตสิกนั้นปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว ไม่มีแล้ว ปัจจยุบบันนธรรมจึงจะเกิดขึ้น ได้ หรือจะกล่าวถึงผลก่อน ก็ว่า ปัจจยุบบันนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปัจจัยธรรม นั้นปราศจากไปแล้ว ถ้าหากว่าปัจจัยธรรมยังไม่ปราศจากไป และปัจจยุบบันนธรรม ก็เกิดขึ้น ดังนี้ไม่ชื่อว่า วิคต และเป็นวิคตปัจจัยไม่ได้

อุปมาเหมือน ความสว่างกับความมืด ถ้าแสงสว่างยังมีอยู่ ยังปรากฏอยู่ ความมืดก็จะมีอยู่ไม่ได้ ต่อเมื่อใดแสงสว่างปราศจากไปแล้วไม่มีแล้ว เมื่อนั้นจึง ปรากฏเกิดความมืดขึ้นมาได้ หรือว่าพระอาทิตย์ปราศจากไปแล้ว พระจันทร์จึง ปรากฏได้

วิคตปัจจัยนี้ เหมือนกับนัตถิปัจจัยทุกประการ และด้วยเหตุที่นัตถิปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย ดังนั้น วิคตปัจจัยจึงเหมือนอนันตรปัจจัยนั่นเอง

๑. อนันตร หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ วิคตปัจจัยนี้เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึกถึง วิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นวิคตปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง (เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นวิคตปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นวิคตปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นวิคตปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นวิคตปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นวิคตปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน (เว้นดวงสุด ท้าย) เป็นวิคตปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง (เว้นดวงแรก) เป็นวิคตปัจจ ยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นวิคต ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ เป็นวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้น เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔. อวิคตปัจจัย

อวิคต แปลว่า ไม่ปราศจากไป จึงมีความหมายว่า ปัจจัยธรรมซึ่งเป็นสิ่ง อุปการะช่วยเหลือแก่ปัจจยุบบันนธรรมนั้น ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป คือ ยัง คงมีอยู่ และปัจจยุบบันนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่รับความอุปการะช่วยเหลือนั้น ก็ยังไม่ ปราศจากไป ยังคงมีอยู่เช่นเดียวกัน

ทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม ยังไม่ปราศจากไปทั้งคู่ และต่างก็ อุปการะเกื้อหนุนกัน จึงเรียกว่า อวิคตปัจจัย

อวิคตปัจจัยมีคำอธิบายและองค์ธรรมเหมือนกับอัตถิปัจจัยทุกอย่างทุกประการ ดังนั้นอวิคตปัจจัย จึงจำแนกออกได้เป็น ๖ ปัจจัย หรือ ๕ ปัจจัย นัยเดียวกับ อัตถิปัจจัย ผิดกันที่ชื่อนิดเดียว คือเปลี่ยนคำว่า อัตถิ เป็นอวิคต ดังต่อไปนี้

๑. สหชาตอวิคตปัจจัย
๒. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
๕. อาหารอวิคตปัจจัย
๖. อินทริยอวิคตปัจจัย

สหชาตอวิคตปัจจัย

สหชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ สหชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับสหชาตปัจจัยทุกประการ

๑. สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทั้งในปฏิสนธิกาลและ ในปวัตติกาล, มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติ กาล หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปกับอุปา ทายรูป ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔,หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจนิก ไม่มี เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะ ยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต อวิคตปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตอวิคต ปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลจิต ๑๒ เป็น สหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วยเป็น สหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔, วิบากจิตตชรูป กิริยา จิตตชรูป ตามสมควรเป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาต อวิคตปัจจัย รูปที่เหลือ ก็เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อุปาทายรูป ที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๘) กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔ ด้วย และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย กุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตอวิคตปัจจยุบ บันน

(๙) อกุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย, และอกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย เป็นสหชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตอวิคตปัจจ ยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย
๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับอารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุก ประการ

๑. อารัมมณปุเรชาต หมายความว่า อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยนี้ได้แก่ อารมณ์ และในที่นี้ หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง คงมีอยู่ ยังไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ใน ฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็น นิปผันนรูป ๑๘ และยัง อยู่ในระหว่างฐีติขณะ

องค์ธรรมมของปัจจยุบบันนได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ที่เกิดจาก ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๖(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อารมณ์ ๖ คือปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย กามวิบาก ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑ กิริยาอภิญญา จิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี) เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ เป็นอารัมมณ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มโนทวาราวัชชน จิต ๑, กามกิริยาชวนะ ๙, ตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจ ยุบบันน

พระอรหันต์พิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มหากิริยาจิต ๘ ที่พิจารณารูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มหากุสล ๘, กุสลอภิญญา ๑ เจตสิก ๓๖ (เว้น อัปปมัญญา) เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณา รูปเหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย กุสลอภิญญาจิตที่เห็น รูปนั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาต อวิคตปัจจยุบบันน เช่น

ยินดีเพลิดเพลินต่อ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้ว มีราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน เป็นอารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นอันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั้น เป็นอารัมมณปุเรชาต อวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับวัตถุปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอนในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน, ปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ และ รูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑), มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวม ๔๓ ดวงนี้ ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูป กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้า เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิ ไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และ รูปทั้งหมดซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่ง จิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิตเป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต อวิคตปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกีย วิบากจิต ๒๘(เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสล จิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุ ปุเรชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน กับปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึง นามที่เกิดทีหลังช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิ จิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่รูปที่เป็นฐีติปัตตะที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น(อุปาท ขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อม กับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตอวิคต ปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิ กัมมชรูป, ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ, จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตอวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

อาหารอวิคตปัจจัย

อาหารอวิคตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ อาหารัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับ รูปอาหารปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหารนั่นเอง

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน (อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชา ที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ อาหารอวิคตปัจจัย มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือโอชา ที่อยู่ใน อาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่ โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก เป็นรูปอาหาร ปัจจัย จตุสมุฏฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียว กันกับปัจจัยธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นอาหารอวิคตปัจจยุบบันน

ขยายความว่า โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป คือ อาหารชโอชานั้นเป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และ อุตุชโอชา แล้ว เป็นไปโดย อำนาจอุปถัมภกสัตติ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

อินทริยอวิคตปัจจัย

อินทริยอวิคตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน กับอินทริยัตถิปัจจัย ดังนั้นก็เหมือนกับ รูปชีวิตินทริยปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายความถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ อินทริยอวิคตปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะได้แก่ ชีวิตรูปทั้งหลายเป็นอินทริยอวิคตปัจจัย กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูปซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นอินทริยอวิคตปัจจยุบ บันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปปัจจัยโดยนัยต่าง ๆ

ปัจจัยทั้งหมด เมื่อสรุปโดยนัยต่าง ๆ คือ ๑.จำนวน, ๒.ประเภท, ๓.ชาติ, ๔.กาล, ๕.สัตติ เป็นต้น ก็ได้ดังนี้

กล่าวโดยจำนวน

ปัจจัยทั้งหมดนั้นมีจำนวน ๒๔ ปัจจัย แต่ว่าบางปัจจัยก็ยังจำแนกได้อีกเป็น ๒ เป็น ๓ จนถึงเป็น ๖ ก็มี เมื่อนับจำนวนโดยพิสดารแล้ว ก็มีจำนวน ๔๗ ปัจจัย รายละเอียดที่หน้า ๕๗-๕๙ นั้นแล้ว

กล่าวโดยประเภท

ก. นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ข. นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ค. นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๙ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตกัมมปัจจัย
๔. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๕. วิปากปัจจัย
๖. นามอาหารปัจจัย
๗. สหชาตินทริยปัจจัย
๘. ฌานปัจจัย
๙. มัคคปัจจัย

ง. รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๓. อาหารัตถิปัจจัย
๔. อินทริยัตถิปัจจัย
๕. อาหารอวิคตปัจจัย
๖. อินทริยอวิคตปัจจัย

จ. รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๑๑ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๘. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๙. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๑๑. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า รูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

ฉ. นามรูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตตรงนี้ว่า นามรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

ช. นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน มี ๖ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. สหชาตัตถิปัจจัย
๖. สหชาตอวิคตปัจจัย

ซ. บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน มี ๒ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปัจจัย
๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

มีข้อสังเกตว่า บัญญัติ นามรูป เป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันนนั้นไม่มี

กล่าวโดยชาติ

ในปัจจัย ๒๔ หรือโดยพิสดาร ๔๗ ปัจจัยนั้น มี ชาติ ๙ อย่าง คือ

๑. สหชาตชาติ
๒. อารัมมณชาติ
๓. อนันตรชาติ
๔. วัตถุปุเรชาตชาติ
๕. ปัจฉาชาตชาติ
๖. อาหารชาติ
๗. รูปชีวิตินทริยชาติ
๘. ปกตูปนิสสยชาติ
๙. นานักขณิกกัมมชาติ

ก. ปัจจัยที่เป็น สหชาตชาติ มี ๑๕ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย
๖. สหชาตกัมมปัจจัย
๗. วิปากปัจจัย
๘. นามอาหารปัจจัย
๙. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๐. ฌานปัจจัย
๑๑. มัคคปัจจัย
๑๒. สัมปยุตตปัจจัย
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๔. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่เป็น อารัมมณชาติ มี ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็น อนันตรชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นัตถิปัจจัย
๖. วิคตปัจจัย

ง. ปัจจัยที่เป็น วัตถุปุเรชาตชาติ มี ๖ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

จ. ปัจจัยที่เป็น ปัจฉาชาตชาติ มี ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ฉ. ปัจจัยที่เป็น อาหารชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

ช. ปัจจัยที่เป็น รูปชีวิตินทริยชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๒. อินทริยัตถิปัจจัย
๓. อินทริยอวิคตปัจจัย

ซ. ปัจจัยที่เป็น ปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย คือ

๑. สุทธปกตูนิสสยปัจจัย คือ จิต เจตสิกที่เกิดก่อน และรูป บัญญัติที่มีกำลัง มากที่อุปการะแก่ จิต เจตสิก ที่เกิดทีหลังได้
๒. มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังมาก (เว้นมัคคกรรมเจตนา) ที่อุปการะแก่วิบากนามขันธ์ได้

ฌ. ปัจจัยที่เป็น นานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย คือ

นานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เจตนากรรมที่มีกำลังน้อย อุปการะแก่กามวิบาก และเจตนากรรมที่มีกำลังมากและกำลังน้อย อุปการะแก่กัมมชรูป

กล่าวโดยกาล

ก. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบันกาล มี ๑๗ หรือ ๓๖ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. นิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย
๖. ปุเรชาตปัจจัย ๒ ปัจจัย
๗. ปัจฉาชาตปัจจัย
๘. สหชาตกัมมปัจจัย
๙. วิปากปัจจัย
๑๐. อาหารปัจจัย ๒ ปัจจัย
๑๑. อินทริยปัจจัย ๓ ปัจจัย
๑๒. ฌานปัจจัย
๑๓. มัคคปัจจัย
๑๔. สัมปยุตตปัจจัย
๑๕. วิปปยุตตปัจจัย ๔ ปัจจัย
๑๖. อัตถิปัจจัย ๖ ปัจจัย
๑๗. อวิคตปัจจัย ๖ ปัจจัย

ข. ปัจจัยที่เป็น อดีตกาล มี ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็น ปัจจุบัน อดีต อนาคต (ติกาลิกะ) มี ๒ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ง. ปัจจัยที่เป็น ติกาลิกะ และกาลวิมุตติ มี ๒ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปัจจัย
๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

กล่าวโดยสัตติ

ก. ปัจจัยที่มี ชนกสัตติ อย่างเดียวมี ๘ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. ปกตูปนิสสยปัจจัย
๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๖. อาเสวนปัจจัย
๗. นัตถิปัจจัย
๘. วิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่มี อุปถัมภกสัตติ อย่างเดียว มี ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่มี ทั้ง ๒ อย่าง คือมีชนกสัตติด้วย และอุปถัมภกสัตติด้วยนั้น มี ๓๕ ปัจจัย คือ ปัจจัยที่เหลือจากข้อ ก. และข้อ ข. ทั้งหมด

กล่าวโดยจำนวนวาระ

ก. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระเพียง บทเดียว คืออพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นั้นมี ๘ ปัจจัย ได้แก่

๑. วิปากปัจจัย
๒. รูปอาหารปัจจัย
๓. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๕. อาหารัตถิปัจจัย
๖. อาหารอวิคตปัจจัย
๗. อินทริยัตถิปัจจัย
๘. อินทริยอวิคตปัจจัย

ข. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๒ บท คือกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่ง และ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะบทหนึ่งนั้น มีปัจจัยเดียวได้แก่ นานักขณิกกัมมปัจจัย

ค. ปัจจัยที่มี ๓ บท นั้น มี ๑๘ ปัจจัย

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ และอพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๓ ปัจจัย ได้แก่

๑. อัญญมัญญปัจจัย
๒. อาเสวนปัจจัย
๓. สัมปยุตตปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่พยากตะ ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๕. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑ และ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๑๐ ปัจจัย ได้แก่

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๔. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๙. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๐. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ง. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๗ บท มี ๑๔ ปัจจัย

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑,แก่อพยากตะ ๑,แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย ๑ อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑ อย่างนี้ มี ๗ ปัจจัย ได้แก่

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตกัมมปัจจัย
๔. นามอาหารปัจจัย
๕. สหชาตินทริยปัจจัย
๖. ฌานปัจจัย
๗. มัคคปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑ อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑ แก่อพยากตะ ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑,แก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๕ ปัจจัย ได้แก่

๑. อนันตรปัจจัย
๒. สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. นัตถิปัจจัย
๕. วิคตปัจจัย

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสล ๑ อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑

อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑ อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัยได้แก่

๑. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

จ. ปัจจัยที่มีปัญหาวาระ ๙ บท มี ๖ ปัจจัย คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, อกุสลเป็น ปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่ อพยากตะ ๑, แก่กุสล ๑, แก่อกุสล ๑, อย่างนี้ มี ๒ ปัจจัย ได้แก่

๑. อารัมมณปัจจัย
๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่กุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล ๑, แก่อพยากตะ ๑, แก่อกุสลด้วยอพยากตะด้วย ๑, อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, กุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อกุสลและอพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ๑, อย่างนี้ มี ๔ ปัจจัย ได้แก่

๑. สหชาตปัจจัย
๒. สหชาตนิสสยปัจจัย
๓. สหชาตัตถิปัจจัย
๔. สหชาตอวิคตปัจจัย

กล่าวโดยภูมิ

ก. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน ปัญจโวการภูมินั้นเป็นได้หมดทั้ง ๒๔ ปัจจัย หรือ ๔๗ ปัจจัย

ข. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน จตุโวการภูมิ นั้นเป็นได้เพียง ๒๑ ปัจจัย หรือ ๒๕ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย ๒ ปัจจัย
๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย
๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย
๘. สหชาตนิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย ๓ ปัจจัย
๑๐. อาเสวนปัจจัย
๑๑. กัมมปัจจัย ๒ ปัจจัย
๑๒. วิปากปัจจัย
๑๓. นามอาหารปัจจัย
๑๔. สหชาตินทริยปัจจัย
๑๕. ฌานปัจจัย
๑๖. มัคคปัจจัย
๑๗. สัมปยุตตปัจจัย
๑๘. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๙. นัตถิปัจจัย
๒๐. วิคตปัจจัย
๒๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

ค. ปัจจัยที่เป็นไปได้ใน เอกโวการภูมิ นั้น เป็นได้เพียง ๗ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. นานักขณิกกัมมปัจจัย
๕. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
๖. อินทริยัตถิปัจจัย
๗. อินทริยอวิคตปัจจัย

กล่าวโดยภายในภายนอก

ปัจจัยที่เกิดได้เฉพาะภายนอก คือใน สิ่งที่ไม่มีชีวิต นั้น มี ๕ ปัจจัยเท่านั้น คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย
๔. สหชาตัตถิปัจจัย
๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

ส่วนในภายใน คือใน สิ่งที่มีชีวิต ปัจจัยทั้งหมดสามารถจะเกิดได้ ไม่มียกเว้น

กล่าวโดยสัพพัฏฐานิกปัจจัย

สัพพัฏฐานิกปัจจัย คือ ปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรม อันได้แก่ รูปนามทั้งหมด หมายความว่าในสังขารโลก บรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลาย ต้องเข้าอยู่ในสัพพัฏฐานิกปัจจัยทั้งนั้น ที่จะพ้นจากสัพพัฏฐานิกปัจจัยไปนั้นไม่มีเลย สัพพัฏฐานิกปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย ๔ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. นิสสยปัจจัย
๓. อัตถิปัจจัย
๔. อวิคตปัจจัย

ส่วนปัจจัยที่เหลืออีก ๒๐ ปัจจัย ชื่อว่า อสัพพัฏฐานิกปัจจัย มีความหมาย ว่าเป็นปัจจัยที่เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งสังขตธรรมไม่ทั่วทั้งหมด เป็นปัจจัยได้เฉพาะ แต่สังขตธรรมที่เกี่ยวข้องกับตนเท่านั้น

กล่าวโดยความเป็นคู่

ปัจจัยทั้ง ๒๔ เมื่อกล่าวโดยความเป็นคู่แล้ว ก็ได้ ๕ ประเภท คือ

๑. อตฺถยุค เป็นคู่กันโดยมีเนื้อความเหมือนกัน ได้แก่ อนันตรปัจจัย กับ สมนันตรปัจจัย

๒. สทฺทยุค เป็นคู่กันโดยมีสำเนียงเหมือนกัน ได้แก่ นิสสยปัจจัย กับ อุปนิสสยปัจจัย

๓. กาลปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยกาลที่ตรงกันข้าม ได้แก่ ปุเรชาตปัจจัย กับ ปัจฉาชาตปัจจัย

๔. อญฺโญญฺญปฏิปกฺขยุค เป็นคู่กันโดยลักษณะอาการที่แตกต่างกัน มีอยู่ ๓ คู่ คือ สัมปยุตตปัจจัยกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยกับนัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัย

๕. เหตุปฺปผลยุค เป็นคู่กันโดยความเป็นเหตุเป็นผล ได้แก่ นานักขณิกกัมม ปัจจัย กับ วิปากปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ ย่อมรวมลงใน ๔ ปัจจัย

มีคาถาสังคหเป็นคาถาที่ ๒๕ แสดงว่า

๒๕. อาลมฺพนูปนิสฺสย กมฺมตฺถิ ปจฺจเยสุ จ

สพฺเพเปนฺติ สโมธานํ จตุวีสติ ปจฺจยาฯ


แปลความว่า ปัจจัยแม้ทั้งหมด ๒๔ อย่าง ย่อมถึงความประชุมลงใน อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย และ อัตถิปัจจัย

มีความหมายว่า ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ นั้น ย่อมรวมลงได้ใน ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยในจำนวน ๔ ปัจจัยที่กล่าวมานี้

ถ้าถือตาม ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวมกี่ปัจจัยของแต่ละปัจจัยดังที่ได้ กล่าวมา (คือข้อ ๘ ของทุก ๆ ปัจจัย)นั้น เป็นหลักเป็นเกณฑ์แล้ว ก็รวมลงได้ดัง ต่อไปนี้

๑. เหตุปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๒. อารัมมณปัจจัย รวมลงได้ใน อารัมมณปัจจัย, อุปนิสสยปัจจัย (อารัมม ณูปนิสสยปัจจัย) และอัตถิปัจจัย (อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย)

๓. อธิปติปัจจัย

ก. อารัมมณาธิปติปัจจัย เหมือนเลข ๒

ข. สหชาตาธิปติปัจจัย เหมือนเลข ๑

๔. อนันตรปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย(อนันตรูปนิสสยปัจจัย) และ กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)

๕. สมนันตรปัจจัย เหมือนเลข ๔

๖. สหชาตปัจจัย เหมือนเลข ๑

๗. อัญญมัญญปัจจัย เหมือนเลข ๑

๘. นิสสยปัจจัย

ก. สหชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๖ ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๑ ด้วย

ข. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๓ ก.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๒ ด้วย

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

๙. อุปนิสสยปัจจัย

ก. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๓ก. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๒ ด้วย

ข. อนันตรูปนิสสยปัจจัย เหมือนเลข ๔

ค. ปกตูปนิสสยปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (ปกตูปนิสสยปัจจัย) และ กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย)

๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

ก. วัตถุปุเรชาตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และ เหมือนเลข ๒ ด้วย

ข. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ค. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย)

๑๒. อาเสวนปัจจัย รวมลงได้ใน อุปนิสสยปัจจัย (อนันตรูปนิสสยปัจจัย)

๑๓. กัมมปัจจัย

ก. สหชาตกัมมปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย) และ อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. นานักขณิกกัมมปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (นานักขณิกกัมมปัจจัย) และ อุปนิสสยปัจจัย (อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย)

๑๔. วิปากปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๕. อาหารปัจจัย

ก. รูปอาหารปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (อาหารัตถิปัจจัย)

ข. นามอาหารปัจจัย รวมลงได้ใน กัมมปัจจัย (สหชาตกัมมปัจจัย) และ อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๖. อินทริยปัจจัย

ก. สหชาตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. ปุเรชาตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย)

ค. รูปชีวิตินทริยปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย)

๑๗. ฌานปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๘. มัคคปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๑๙. สัมปยุตตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

ก. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย รวมลงได้ใน อัตถิปัจจัย (สหชาตัตถิปัจจัย)

ข. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๘ ค. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ง. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย เหมือนเลข ๑๑

๒๑. อัตถิปัจจัย

ก. สหชาตัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๖ ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๑ ด้วย

ข. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๑๐ ข.ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ค. เหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ค. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๑๐ ก. ดังนั้นจึงเหมือนเลข ๘ ข. เหมือนเลข ๓ ก. และเหมือนเลข ๒ ด้วย

ง. ปัจฉาชาตปัจจัย เหมือนเลข ๑๑

จ. อาหารัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๑๕ ก.

ฉ. อินทริยัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๑๖ ค.

๒๒. นัตถิปัจจัย เหมือนเลข ๔

๒๓. วิคตปัจจัย เหมือนเลข ๔

๒๔. อวิคตปัจจัย เหมือนเลข ๒๑ ทุกประการ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจฉิมคาถาในปัฏฐานนัย

ธรรมทั้งหลายที่ในกาล ๓ ก็ดี พ้นจากกาล ๓ ก็ดี เป็นภายในก็ดี เป็นภาย นอกก็ดี อันมีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี มิได้ปรุงแต่งก็ดี ตามที่เกิดขึ้นดังพรรณนามาฉะนี้

ล้วนตั้งอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งธรรม ๓ อย่าง อันได้แก่ บัญญัติธรรม ๑ นามธรรม ๑ รูปธรรม ๑ นั้น ชื่อว่า ปัจจัย ๒๔ ตามนัยแห่งคัมภีร์มหาปัฏฐาน โดยประการทั้งปวง ตามควรแก่ที่จะเป็นไปได้

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา


บัญญัติธรรม

ได้กล่าวแล้วตั้งแต่ต้นตามนัยแห่งคาถาที่ ๒ ว่าปัจจยสังคหวิภาคนี้แสดงธรรม ๒ ส่วน คือ ปฏิจจสมุปปาทนัยส่วนหนึ่ง และปัฏฐานนัย (คือปัจจัย ๒๔) อีก ส่วนหนึ่ง เมื่อได้แสดงธรรม ๒ ส่วนนั้นแล้ว ก็ควรจะจบได้แล้ว แต่ว่าในปัจฉิม คาถาที่ ๒ (คือคาถาที่ ๒๗) มีใจความว่า ปัจจัย ๒๔ ล้วนตั้งอยู่แล้วด้วยสามารถ แห่งบัญญัติธรรม นามธรรม และรูปธรรม

นามธรรม และรูปธรรม ได้แสดงมาแล้วมากมาย ส่วนบัญญัติธรรมได้กล่าว ถึงบ้างแต่เพียงเล็กน้อย เหตุนี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงแสดงบัญญัติธรรมโดยมีข้อ ความละเอียดพอประมาณ ในตอนท้ายปริจเฉทนี้ด้วยการเริ่มคาถาที่ ๒๘ และ ๒๙ ว่า

๒๘. ตตฺถ รูปธมฺมา รูปกฺ ขนฺโธ วาติ วิชานิยา

จิตฺตเจตสิกกฺขาตา จตุขนฺธา อรูปิโน ฯ

๒๙. อสงฺขตํ นิพฺพานญฺจ อิติ ปญฺจวิธํ อิทํ

อรูปนฺติ จ วเกฺยน นามนฺติ จ ปวุจฺจติ ฯ


แปลความว่า ธรรมเหล่านั้น(คือ บัญญัติธรรม นามธรรม รูปธรรม) รูปธรรม ทั้งหลายพึงทราบว่า เป็นรูปขันธ์อย่างเดียว อรูปขันธ์ ๔ นั้น ได้แก่ จิต เจตสิก ซึ่งเป็น สังขตธรรม

อรูปขันธ์ ๔ และรวมนิพพาน ๑ ซึ่งเป็นอสังขตธรรมเข้าไปด้วยเป็น ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าเรียก อรูปก็ได้ เรียกนามก็ได้

คาถาทั้ง ๒ นี้ แสดงถึงรูปนาม ย้ำให้รู้ว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้นเรียกว่า รูปขันธ์อย่างเดียว ส่วนนามธรรม คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นขันธ์และเป็นฝ่ายสังขตธรรม กับนิพพาน ที่เป็นขันธวิมุตติ และเป็นฝ่ายอสังขตธรรม รวมนามธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้เรียกว่า อรูปก็ได้ เพราะนาม ธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ ไม่มีรูป ไม่ใช่รูป จึงเรียก อรูป

๓๐. อวเสสา จ ปญฺญตฺติ ตโต จ นามรูปโต

ปญฺญาปิยตฺติ ปญฺญฺตติ สรปญฺญาปนโต ตถา

ทุวิชา ปญฺญตฺติ โหติ อิติ วิญฺญูหิ จิตฺติตํ ฯ


แปลความว่า ส่วนธรรมที่เหลือจากรูปธรรม นามธรรมนั้น ชื่อว่า บัญญัติ บัญญัติธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปญฺญาปิยตฺตาปญฺญตฺติ และ ปญฺญาปนโต ปญฺญตฺติ ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้บัญญัติไว้แล้วดังนี้

หมายความว่า นอกจากสภาวธรรมอันเป็นรูปธรรม และนามธรรมแล้ว ยังมี บัญญัติธรรมอันเป็นอสภาวะ คือเป็นธรรมที่ไม่มีสภาวะ แต่เป็นธรรมที่สมมติขึ้น ตั้งขึ้น บัญญัติขึ้น เพื่อจะได้ใช้พูดจาว่าขานกันให้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้

บัญญัติธรรมนี้ จำแนกโดยประเภทใหญ่แล้ว มี ๒ ได้แก่ ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ หรือ อัตถบัญญัติ ๑ และ ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ อีก ๑

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียก อัตถบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้เนื้อความแห่งรูปร่าง สัณฐาน หรือลักษณะอาการของชื่อนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้านเรือน ยืน เดิน เป็นต้น

ปัญญาปนโตบัญญัติ ซึ่งบ้างก็เรียกว่า สัททบัญญัตินั้น บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เพื่อให้รู้จักเสียงที่เรียกชื่อนั้น ๆ คือ รู้ด้วยเสียง รู้ด้วยคำพูด ที่หมายถึง อัตถบัญญัตินั้น เช่น ในขณะที่ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นต้นไม้ แต่เมื่อออกเสียง พูดว่า ภูเขา พูดว่า ต้นไม้ ก็รู้และเข้าใจได้ว่า ภูเขา ต้นไม้ มีรูปร่าง สัณฐาน อย่างนั้น ๆ หรือพูดว่ายืน พูดว่าเดิน ก็รู้และเข้าใจได้ว่ามีกิริยาอาการอย่างนั้น ๆ

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ หรืออัตถบัญญัตินี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ประเภท ตาม สิ่งที่ได้อาศัยบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เป็นชื่อนั้น ๆ คือ

๑. สัณฐานบัญญัติ เป็นการบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยรูปทรง ส่วนสัด สัณฐานของวัตถุนั้น ๆ มาเรียกขานกัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ ทะเล จาน ชาม มีด จอบ เสียม เป็นต้น

๒. สมูหบัญญัติ เป็นการสมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยความประชุมของวัตถุ ต่าง ๆ มาเรียกขานกัน เช่น เกวียน บ้าน เรือน โบสถ์ ศาลา เป็นต้น

๓. สัตตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย รูปร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ มาเรียกขานกัน เช่น คน เป็ด ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

๔. ทิสากาลาทิบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัยเวลาที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาวต่าง ๆ หมุนเวียนไปตามทิศต่าง ๆ นั้นมาเรียกขานกัน เช่น ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก วัน เดือน ปี เป็นต้น

๕. ถูปคูหาทิบัญญัติ บ้างก็เรียก อากาสบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัย ช่องว่างที่มหาภูตรูป ๔ ไม่ติดต่อกัน อันบุคคลไม่ได้ทำไม่ได้ขุดขึ้น แต่เป็นของเกิด ขึ้นเอง เช่น หลุม โพรง เหว ถ้ำ เป็นต้น

๖. นิมิตบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้น โดยอาศัยเครื่องหมาย ข้อนี้มีความหมาย กว้างขวางมาก เช่น นิมิตของกัมมัฏฐาน ก็มี บริกัมมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาค นิมิต เป็นต้น นิมิตของสัณฐาน เช่น สุภนิมิต สวย งาม น่ารัก น่าชม อสุภนิมิต ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียด น่าชัง เป็นต้น นิมิตของกิริยาอาการ เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้น

ทั้ง ๖ นี้ เป็นอัตถบัญญัติ เป็นเงาของเนื้อความ ไม่มีปรากฏโดยปรมัตถสัจจ กำหนดเปรียบเทียบเรียกเอาอย่างนั้นเอง เพื่อให้รู้อย่างเดียวกันยังกันและกันให้รู้ทั่ว ว่า สิ่งนี้ชื่อนั้น สิ่งนั้นชื่อนี้ นี่แหละจึงได้ชื่อว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ คือ บัญญัติ เป็นเหตุยังกันและกันให้รู้ทั่ว

ปัญญาปนโตบัญญัติ

ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ หมายถึงคำพูดที่บุคคลได้ออกเสียง เรียกขาน เมื่อต้องประสงค์ในกาลภายหลัง ตามชื่อที่ตั้งไว้แต่ก่อนแล้วนั้น

ปัญญาปนโตบัญญัตินี้ มีชื่อเรียกได้ถึง ๖ ชื่อ คือ

๑. ชื่อว่า นามบัญญัติ หมายความว่า มีสภาพน้อมสู่เนื้อความ และทำให้เนื้อ ความนั้นน้อมสู่ตน เช่นคำว่า ภูเขา ก็น้อมตามเนื้อความว่าเป็นเนินที่สูงขึ้นเป็น จอมใหญ่ เมื่อพูดว่า ภูเขา ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า หมายถึงเนื้อความอย่างนั้น

๒. ชื่อว่า นามกัมมบัญญัติ หมายความว่าชื่อต่าง ๆ เหล่านั้นแหละเป็นชื่อ ที่พึงเรียกกันโดยทั่วไป

๓. ชื่อว่า นามเธยยบัญญัติ หมายความว่า ชื่อต่าง ๆ เหล่านั้น นักปราชญ์ ทั้งหลายได้ตั้งชื่อไว้ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว

๔. ชื่อว่า นิรุตติบัญญัติ หมายความว่า นักปราชญ์ได้พิจารณาคิดตั้งขึ้น สมมติขึ้น ซึ่งถ้อยคำนั้น ชื่อเหล่านั้นจึงปรากฏมีขึ้นมา

๕. ชื่อว่า พยัญชนบัญญัติ หมายความว่า เป็นถ้อยคำที่สามารถแสดงเนื้อ ความให้รู้ให้ปรากฏได้

๖. ชื่อว่า อภิลาปบัญญัติ หมายความว่า ผู้ที่พูดย่อมนึกถึงเนื้อความ คือ รูปร่างสัณฐานของวัตถุนั้น เช่น ภูเขา แล้ว จึงเปล่งเสียงพูดออกมา

รวมความว่า ไม่ว่าคำใดคำหนึ่งก็ตาม ภาษาใดภาษาหนึ่งก็ตาม เช่น คำว่า ภูเขา ก็มีชื่อเรียกได้เป็น ๖ อย่าง มี นามะ นามกัมมะ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้

สัททบัญญัตินี้ เรียก นามบัญญัติก็ได้ อันหมายเฉพาะว่าเป็นนามบัญญัติ ดังที่กล่าวในข้อ ๑ ข้างบนนี้

สัททบัญญัติจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท

ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ จำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ วิชชมานบัญญัติ อวิชชมานบัญญัติ วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ และ อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ มีความหมายโดยย่อ ดังต่อไปนี้

๑. วิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีคำเดียว และคำนั้นมีสภาวปรมัตถปรากฏ อยู่ เช่นคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิต เจตสิก นิพพาน เป็นต้น

๒. อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีอยู่คำเดียวเหมือนกัน แต่คำนั้นไม่มี สภาวปรมัตถปรากฏอยู่ เป็นโลกโวหารโดยแท้ เช่นคำว่า ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข เป็นต้น

๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ คำแรกเป็นปรมัตถ คำหลังเป็นโลกโวหาร เช่น อภิญญา ๖, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗

คำว่า อภิญญา พละ โพชฌงค์ เป็นคำปรมัตถ คือ วิชชมานบัญญัติและอยู่ หน้า ส่วนเลขที่บอกจำนวน ๖ , ๕ หรือ ๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน บัญญัติและอยู่หลัง จึงเรียกว่า วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ

๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำเหมือนกัน แต่คำแรก เป็นโลกโวหาร คำหลังเป็นปรมัตถ เช่น ฉฬภิญฺโญ ปญฺจพโล สตฺตโพชฺฌงฺโค

คำที่บอกจำนวน ฉฬ=๖,ปญฺจ=๕,สตฺต=๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน และอยู่ข้างหน้า ส่วนคำว่า ภิญฺโญ=อภิญญา,พโล=พละ,โพชฺฌงฺโค=โพชฌงค์ ซึ่ง เป็นปรมัตถ คือ วิชชมาน และอยู่หลัง ดังนั้นคำบาลี ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้จึงเป็น อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ

๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำหลัง เป็นปรมัตถด้วยกันทั้งคู่ เช่น จักขุวิญญาณ โลภจิต โลกุตตร อภิญญา เป็นต้น

๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำ หลังเป็นโลกโวหารด้วยกันทั้งคู่ เช่น ราชบุตร ราชรถ ภรรยาเศรษฐี พี่สะใภ้ น้องเขย เป็นต้น

สรุปพอให้จำง่ายได้ดังนี้

วิชชมานบัญญัติ เป็นคำปรมัตถ

อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำโลกโวหาร

วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คำปรมัตถอยู่หน้า คำโลกโวหารอยู่หลัง

อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คำโลกโวหารอยู่หน้า คำปรมัตถอยู่หลัง

วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คำหน้าและคำหลังเป็นปรมัตถทั้งคู่

อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คำหน้าและคำหลังเป็นโลกโวหารทั้งคู่

คำพูดทั้งหลายเป็นบัญญัติทั้งนั้น

คำปรมัตถ คือ คำที่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่มีลักขณาทิจตุกะ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน

คำโลกโวหาร คือ คำที่ไม่มีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่ไม่มีลักขณา ทิจตุกะ

แสดงความเป็นไปที่รู้ความหมายของสัททบัญญัติ

มีคาถาที่แสดงถึงวิถีจิตที่ให้รู้ความหมายในสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติ และการ ตั้งชื่อให้ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย เป็นทำนองปัจฉิมคาถาแห่งบัญญัติธรรม รวม ๒ คาถา คือ

๓๑. วจีโฆสานุสาเรน โสตวิญฺญาณวีถิยา

ปวตฺตานนฺตรุปฺปนฺน มโนทฺวา รสฺส โคจรา ฯ

๓๒. อตฺถา ยสฺสานุสาเรน วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ

สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเญยฺยา โลกสงฺเกต นิมฺมิตาฯ


แปลความว่า

บุคคลทั้งหลาย ได้รู้ถึง อัตถบัญญัติ คือ วัตถุสิ่งของ เรื่องราวต่าง ๆ โดยเป็น ไปตามนามบัญญัติ ภายหลังจากนามัคคหณวิถี นามบัญญัติซึ่งเป็นอารมณ์ของ นามัคคหณวิถีที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งโสตทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถี สมูหัคคหณวิถี ซึ่งเกิดขึ้น เป็นไปตามคำพูดนั้น นักศึกษาพึงทราบนามบัญญัตินั้นว่า นักปราชญ์ทั้ง หลายย่อมตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของโลก ทีละเล็กละน้อย

หมายความว่า เมื่อได้ยินเสียงตลอดจนรู้ความหมายนั้น วิถีจิตเกิด ๕ หรือ ๔ วิถี ซึ่งได้กล่าวแล้วในคู่มือการศึกษาวิถีสังคหวิภาค ปริจเฉทที่ ๔ ตอน ตทนุวัตติ กมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ขอให้ดูที่นั่นประกอบด้วย ในที่นี้จะ กล่าวซ้ำแต่เพียงโดยย่อ คือ

๑. ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏอยู่ เป็นวิถีแรก ชื่อ โสตวิญญาณวิถี

๒. รู้เสียงดับไปแล้ว เป็นวิถีที่ ๒ ชื่อ อตีตัคคหณวิถี

๓. รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นวิถีที่ ๓ ชื่อ สมูหัคคหณวิถี แต่ถ้าเสียงนั้นพยางค์ เดียว วิถีนี้ก็ไม่มี เพราะไม่ต้องมีการรวมเสียงแต่อย่างใด

๔. รู้นามรู้ชื่อว่าเสียงนั้นเป็นอะไร เช่นรู้ว่า เป็นเป็ด เป็นไก่ เป็นต้น เป็น วิถีที่ ๔ ชื่อ นามัคคหณวิถี

๕. รู้ความหมายแห่งรูปร่างสัณฐานว่า เป็ด ไก่ มีรูปร่างส่วนสัดเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นวิถีที่ ๕ ชื่อ อัตถัคคหณวิถี

สัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะนักปราชญ์ ทั้งหลายในอดีตและปัจจุบัน ได้บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น อนุโลมไปตามโวหาร ของโลกทีละเล็กทีละน้อย แม้ต่อไปในอนาคต ก็จะต้องมีการบัญญัติขึ้นใหม่อีก เรื่อย ๆ ตลอดไป ให้สมกับที่เรียกว่า เป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาวโลก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2013, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ และอนุโมทนากับเจ้าของกระทู้เป็นอย่างมากครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร