วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 03:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจขันธ์

ปัญจขันธ์ บ้างก็เรียกว่า เบ็ญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ มี ดังนี้

รูป เวทนา สัญญา เจตสิกที่เหลือ(อีก ๕๐ ดวง) และวิญญาณ เหล่านี้แหละ เรียกว่า ปัญจขันธ์

มีความหมายดังนี้ ปัญจขันธ์ หรือเบ็ญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

รูปขันธ์ คือ กองรูป ได้แก่ รูปทั้งหมด หมายความว่ารูปธรรมทั้ง ๒๘ รูป นั้นแต่ละรูปก็ได้ชื่อว่า รูปขันธ์

เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก

สัญญาขันธ์ คือ กองสัญญา ได้แก่ สัญญาเจตสิก

สังขารขันธ์ คือ กองสังขาร ได้แก่ เจตสิกที่เหลือทั้งหมด (๕๐ ดวง) มี ความหมายว่า ในเจตสิก ๕๐ ดวงนี้ดวงใดดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียวก็ได้ชื่อว่า สังขารขันธ์

วิญญาณขันธ์ คือ กองวิญญาณ ได้แก่ จิตทั้งหมด หมายความว่า จิตดวงใด ดวงหนึ่ง แม้แต่ดวงเดียว ก็ได้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์

ตามที่ได้กล่าวแล้วนี้ จะเห็นได้ว่า ขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้กล่าวถึงนิพพาน ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรมนั้นด้วยเลย ทั้งนี้ก็เพราะว่านิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ และเรียก ว่าเป็นขันธวิมุตติ

๑๑ กอง ๑๑ ประเภท หรือ ๑๑ อย่างนั้น คือ

๑. อดีต ๒. ปัจจุบัน ๓. อนาคต จิต เจตสิก รูป เป็นไปในกาลทั้ง ๓ นี้ ได้ เพราะจิต เจตสิก รูป มีการเกิดขึ้น มีการดำรงคงอยู่ แล้วก็มีการดับไป ที่ดับไป แล้วนั้นเป็นอดีต ที่กำลังดำรงคงอยู่เป็นปัจจุบัน และที่จะเกิดต่อไปภายหน้าเป็น อนาคต ส่วนนิพพานเป็นธรรมที่เหลืออยู่เป็นนิจนิรันดร ไม่มีการเกิดดับ จึงไม่มีกาล ทั้ง ๓ นี้ พ้นจากกาลทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า กาลวิมุตติ

๔. อัชฌัตตะ ๕. พหิทธะ จิต เจตสิก รูป ที่เป็นอัชฌัตตะ คือเป็นภายใน ก็มี เป็นพหิทธะ คือ เป็นภายนอกก็มี ส่วนนิพพานที่เป็นธรรมภายในนั้นไม่มี นิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียวเท่านั้น

๖. โอฬาริกะ ๗. สุขุมะ จิต เจตสิก รูป ที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี แต่ นิพพานไม่ใช่ธรรมที่หยาบ เป็นธรรมที่สุขุมอย่างเดียว

๘. หีนะ ๙. ปณีตะ จิต เจตสิก รูป ที่ต่ำทรามก็มี ที่ประณีตก็มี ส่วน นิพพานไม่ใช่ธรรมที่ต่ำทราม แต่เป็นธรรมที่ประณีตยิ่ง

๑๐. สันติเก ๑๑. ทูเร จิต เจตสิก รูป ที่ใกล้ก็มี ที่ไกลก็มี ส่วนนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่ใกล้ แต่เป็นธรรมที่ไกล

เพราะเหตุว่า นิพพานเป็นได้ไม่ครบทั้ง ๑๑ กอง จึงเป็นขันธ์ไม่ได้ ก็พ้นจาก ความเป็นขันธ์ไป ได้ชื่อว่าเป็น ขันธวิมุตติ (และเป็น กาลวิมุตติ ด้วย)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต อันมีชื่อว่ากาล ๓ นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๔ นัย คือ กาลอัทธา กาลสมัย กาลสันตติ และ กาลขณะ

กาลอัทธา หมายถึงระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งภพตั้งชาติหนึ่งก็ได้ ตั้งกัปป์ ตั้งกัลป์หนึ่งก็ได้ เช่น ปัจจุบันภพก็หมายถึงความเป็นอยู่ในภพนี้ นับตั้งแต่ปฏิสนธิ จนถึงจุติ เป็นต้น

กาลสมัย หมายถึง ระยะเวลาช่วงหนึ่ง เช่น สมัยที่เป็นเด็ก ตอนรุ่นหนุ่ม รุ่นสาว ตอนเช้า ตอนเย็น ตอนหัวค่ำ ตอนดึก เป็นต้น

กาลสันตติ หมายถึง ระยะเวลาอันสืบเนื่องติดต่อกันอย่างกระชั้นชิด เช่น เวทนาที่กำลังเกิดสืบเนื่องติดต่อกันในวิถี ๑ หรือในชวนะ ๑ หรือในสมาบัติ ๑ ก็ นับเป็นกาลสันตติ ๑ และตามนัยแห่งพระสูตรยังแสดงไว้ว่า สัตว์ที่เป็นคัพภเสยยก กำเนิดนั้น รูปที่เกิดในขณะปฏิสนธิ จนถึงมีตา หู จมูก เป็นต้นครบบริบูรณ์ ก็เรียก ว่า สันตติรูป เหมือนกัน

ส่วนกาลขณะนั้น หมายถึงระยะเวลาอันสั้นนิดเดียว ชั่วขณะที่เกิดขึ้นซึ่งเรียก ว่า อุปาทขณะ ชั่วขณะที่ตั้งอยู่ซึ่งเรียกว่า ฐีติขณะ และชั่วขณะที่ดับไป ซึ่งเรียกว่า ภังคขณะทั้ง ๓ ขณะนี้เป็นระยะเวลาอันสั้นเหลือเกินจนสามัญชน ไม่สามารถที่ จะเห็นได้ กำหนดได้เลย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อัชฌัตตะ และ พหิทธะ

อัชฌัตตะ คือ ภายใน พหิทธะ คือ ภายนอก จิต เจตสิก รูป ที่รูปกายนี้ เป็นภายใน จิต เจตสิก รูป ที่นอกรูปกายนี้ก็เป็นภายนอก

โอฬาริกะ และ สุขุมะ

โอฬาริกะ คือ หยาบ สุขุมะ คือ ละเอียด จะกล่าวถึงรูปก่อน รูปของสัตว์ ในอบายหยาบกว่ารูปกายของมนุษย์ รูปกายของมนุษย์หยาบกว่ารูปกายของเทวดา รูปกายของเทวดาก็หยาบกว่ารูปกายของรูปพรหม

กล่าวถึงจิตและเจตสิก ในชาติอกุสลนั้นหยาบกว่าในชาติกุสล ในชาติกุสล หยาบกว่าในชาติอพยากตะ ในกุสลญาณวิปปยุตตหยาบกว่าในกุสลญาณสัมปยุตต ในกามาวจรกุสลหยาบกว่าในรูปาวจรกุสล ในรูปาวจรกุสลก็ยังหยาบกว่าในอรูปา วจรกุสล เป็นชั้น ๆ กัน

จิตและเจตสิกที่มีทุกขเวทนาหยาบกว่าที่มีสุขเวทนา ที่มีโทมนัสเวทนาหยาบ กว่าที่มีโสมนัสเวทนา ที่มีสุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนาหยาบกว่าที่มีอุเบกขาเวทนา

จิตและเจตสิกที่ในทุคคติภูมิหยาบกว่าในสุคติภูมิ ในกามภูมิหยาบกว่าในรูป ภูมิ เป็นต้น เป็นชั้น ๆ กันไปในทำนองที่กล่าวนี้

หีนะ และ ปณีตะ

หีนะ คือ ต่ำทรามหรือเลว ปณีตะ คือ ประณีตหรือดียิ่ง นี้มีความหมายเป็น ทำนองเดียวกับโอฬาริกะ หยาบ และสุขุมะ ละเอียด นั้นเอง สิ่งใดที่หยาบก็นับว่า สิ่งนั้นเลว สิ่งใดที่ละเอียดก็นับว่าสิ่งนั้นประณีต

สันติเก และ ทูเร

สันติเก คือ ใกล้ ทูเร คือ ไกล จิต เจตสิก รูป ที่อยู่ในภูมิเดียวกัน และ ประเภทเดียวกัน เช่นเป็นสัตว์ดิรัจฉานเหมือนกันและเป็นแมวเหมือนกัน หรือเป็น มนุษย์เหมือนกันและมีปัญญาเหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น จัดว่าใกล้กัน แต่ว่าแมวกับ ปลา คนมีปัญญากับคนนับสิบไม่ถูก จัดว่าไกลกัน เพราะแม้ว่าจะเป็นสัตว์ในภูมิ เดียวกันก็ตาม แต่ว่าเป็นสัตว์ต่างประเภทกัน ยิ่งเป็นสัตว์ที่ต่างภูมิกันด้วยแล้ว ก็ยิ่ง ไกลกันมาก

จิตโลภกับโกรธจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นชาติอกุสลเหมือนกัน และจัดว่า ไกลกันก็ได้ เพราะว่าเป็นจิตต่างประเภทกัน

จิตโลภกับจิตมหากุสลจัดว่าใกล้กันได้ เพราะเป็นกามจิตเหมือนกัน และจัด ว่าไกลกัน ก็เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นชาติอกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นชาติกุสล

จิตมหากุสลกับจิตมหัคคตกุสลจัดว่าใกล้กันก็ได้ เพราะเป็นชาติกุสลเหมือน กันและเป็นโลกียจิตเหมือนกัน และจัดว่าไกลกันก็ได้ เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นกามกุสล แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นมหัคคตกุสล

ส่วนนิพพาน จะจัดว่าเป็นธรรมที่ใกล้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะไม่มีอะไรหรือ สิ่งใดเหมือน หรือแม้แต่จะใกล้เคียงกับนิพพานเลย นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีใน กามโลก รูปโลก หรือ อรูปโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก พ้นจากโลก ทั้ง ๓ ด้วยเหตุ นี้ นิพพาน จึงเป็นธรรมที่ไกลแต่อย่างเดียว ไม่มีใกล้เลย

ข้ออุปมาปัญจขันธ์

ใน สังยุตตนิกายพระบาลี แห่งพระสุตตันตปิฎก ได้อุปมาปัญจขันธ์ หรือ เบ็ญจขันธ์ หรือ ขันธ์ ๕ นี้ว่า

รูปเปรียบเหมือนภาชนะ เวทนาเปรียบเหมือนข้าว สัญญาเปรียบเหมือน กับข้าว สังขารเปรียบเหมือนคนทำกับข้าว วิญญาณเปรียบเหมือนผู้บริโภค ขันธ์ ๕ มีอุปมาโดยลำดับดังนี้

อีกนัยหนึ่ง ได้อุปมาเบ็ญจขันธ์ นี้ว่า

รูปเปรียบด้วยก้อนแห่งฟองน้ำ เวทนาเปรียบด้วยต่อมน้ำ สัญญาเปรียบด้วย พยับแดด สังขารเปรียบด้วยต้นกล้วย วิญญาณเปรียบด้วยการเล่นกล นี่เป็นคำ เทสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 03:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจุปาทานขันธ์ เขียนแบบบาลีเป็น ปญฺจุปาทานกฺขนฺธ คือ อุปาทาน ขันธ์ ๕ มีความหมายว่า ขันธ์ ๕ ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่ออุปาทานยึดหน่วง มาเป็นอารมณ์ ก็เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ดังมีบาลีว่า อุปาทานานํ โคจรา ขนฺธา อุปาทานกฺขนฺธา ฯ แปลความว่า ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทาน ขันธ์

อุปาทานขันธ์นี้ แสดงว่าขันธ์ ๕ ที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ ตรัสเรียกว่า อุปาทาน ขันธ์ ๕ (ส่วน) พระนิพพาน พ้นจากการรวมนับว่าเป็นขันธ์ เพราะไม่มีความต่าง (คือไม่เป็นประเภทครบทั้ง ๑๑ กอง มี กาล ๓, อัชฌัตตะ, พหิทธะ, โอฬาริกะ, สุขุมะ, หีนะ, ปณีตะ, สันติเก และทูเร)

มีความหมายว่า สัตว์ที่ยังเป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ นั้น ส่วนมากยังละสักกายทิฏฐิ คือ อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัว เป็นตน เป็นเขา เป็นเราหาได้ไม่ เมื่อยังยึดมั่นอยู่เช่นนี้ ก็คือมีอุปาทาน มีความ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ อยู่ ขันธ์ ๕ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานนี่แหละ ได้ชื่อว่า อุปาทานขันธ์

ส่วนนิพพานไม่มีความแตกต่างกัน เช่น ในกาล ๓ เป็นต้น จึงพ้นจากความ เป็นขันธ์ และเรียกว่าขันธวิมุตติ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นตอนเบ็ญจขันธ์นั้น

ปัญจุปาทานขันธ์ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่

๑. รูปูปาทานักขันธ์ คือรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ รูปธรรมหมด ทั้ง ๒๘ รูป

๒. เวทนูปาทานักขันธ์ คือเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เวทนา เจตสิกที่ในโลกียจิต ๘๑

๓. สัญญูปาทานักขันธ์ คือ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ สัญญา เจตสิก ที่ในโลกียจิต ๘๑

๔. สังขารูปาทานักขันธ์ คือ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก) ที่ในโลกียจิต ๘๑

๕. วิญญาณูปาทานักขันธ์ คือ จิตที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ได้แก่ โลกีย จิต ๘๑

ถ้าได้พิจารณาองค์ธรรมของเบ็ญจขันธ์กับของอุปาทานขันธ์แล้ว จะเห็นความ แตกต่างระหว่างเบ็ญจขันธ์ กับอุปาทานขันธ์ได้ชัดเจน คือ

เบ็ญจขันธ์ ได้แก่ รูป ๒๘ และจิต เจตสิกทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งจิต เจตสิก ที่เป็นโลกีย และโลกุตตรด้วย

ส่วน อุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่ รูปทั้งหมด คือ ๒๘ รูปเหมือนกัน แต่จิต เจตสิก ได้เฉพาะแต่ที่เป็นโลกียเท่านั้น จิตและเจตสิกที่เป็นโลกุตตรไม่เป็นอุปาทาน ขันธ์ เพราะผู้ที่ถึงซึ่งโลกุตตรธรรมแล้วนั้น ไม่มีสักกายทิฏฐิ คือ อัตตวาทุปาทาน เป็นเด็ดขาด และผู้ที่ยังไม่บรรลุถึงโลกุตตรธรรม ก็จะได้โลกุตตรจิต ที่ไหนมาเป็น อารมณ์ นอกจากจะเดาหรือนึกเอาเอง

การที่แสดงเบ็ญจขันธ์ และมาแสดงอุปาทานขันธ์อีก ก็เพื่อประโยชน์แก่การ กำหนดพิจารณาในขณะที่เจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะการกำหนดพิจารณารูปนาม ต้องกำหนดรูปนามที่เป็นโลกียเท่านั้น นามธรรม คือ จิต และเจตสิก ส่วนที่เป็น โลกุตตรนั้น จะหน่วงมาเป็นอารมณ์ในการกำหนดพิจารณาเวลาเจริญวิปัสสนา ภาวนา หาได้ไม่

ในการกำหนดพิจารณานั้น ชั้นต้นกำหนดรูปก่อน เพราะรูปเป็นสิ่งที่เห็น ได้ง่าย ต่อไปจึงกำหนดนาม (ที่เป็นโลกีย) เพื่อให้แจ้งไตรลักษณ์ คือ การเกิดดับ ของรูปนามให้เห็นแจ้งตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 09:53
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ วันนี้เต็มอิ่มจริงๆเหมือนกับว่าเรานั้นเป็นกบอยู่ในกะลา ดีใจค่ะได้อะไรดีๆมีประโยชน์
ทั้งเรียนรู้แลนำไปปฏิบัติได้จริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร