วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b29:
อ้างคำพูด:
เสียง เป็นรูป
ความร้อน เป็นรูป แต่เรามองไม่เห็นความร้อน
แสง เราเอาหูฟังแสง ไม่ได้ จับแสงไปใส่ภาชนะไม่ได้ แสงเป็นรูป


:b8: ขอบคุณ.. ที่ช่วยแก้ไข ให้เห็นถูกต้อง

อ้างคำพูด:
เสียง หรือ สัททรูป ไม่ใช่วจีวิญญัติรูป เสียงเป็นรูปที่กระทบกับโสตปสาทรูป

เป็นปัจจัยให้เกิดโสตวิญญาณจิต เสียงบางเสียงก็เกิดจากจิต และบางเสียงก็ไม่ได้

เกิดจากจิต เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงลมพายุ เสียงเครื่องยนต์ เสียงกลอง เสียงวิทยุ

เสียงโทรทัศน์ เป็นต้น


รวมอวินิพโภครูป ๘ + ลักขณรูป ๔ + ปริจเฉทรูป ๑ + ปสาทรูป ๕ + หทยรูป ๑ +

ชีวิตินทริยรูป ๑ + ภาวรูป ๒ + วิการรูป ๓ + วิญญัติ รูป ๒ + สัททรูป ๑

รวมเป็น ๒๘ รูป




ในบางแห่งแสดงจำนวนของรูปต่างกัน เช่น ในอัฏฐาสาลินี รูปกัณฑ์ ปกิณณกกถา

แสดงรูป ๒๕ คือ รวมธาตุดิน ไฟ ลม เป็นโผฏฐัพพายตนะ (รูปที่กระทบกายปสาท) ๑

รูป รวมกับหทยรูปอีก ๑ รูป จึงเป็นรูป ๒๖

เมื่อรูป ๆ หนึ่งเกิดขึ้นจะเกิดพร้อมกับรูปอีกกี่รูป รวมกันเป็นกลาปหนึ่ง ๆ นั้น ย่อม

ต่างกันไปตามประเภทของรูปนั้น ๆ และการจำแนกรูป ๒๘ รูป

http://dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=6780&PHPSESSID=e1171a78ff54756159eb3280dc4a69e5


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 20 ธ.ค. 2010, 10:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



ความหมายของคำว่า รูป

ภิกษุ ทั้งหลาย! คนทั่วไป กล่าวกันว่า "รูป" เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?

ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล)
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า..รูป.

สิ่งนั้น แตกสลายได้ เพราะอะไร ?

สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะความระหายบ้าง,
แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง,(ดังนี้เป็น ต้น)

ภิกษุ ทั้งหลาย! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล)
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า..รูป


- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕/๑๕๙.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 19:06
โพสต์: 57


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ

.....................................................
ดาวน์โหลดหนังสือพุทธวจน-mp3-VDO ศูนย์มัลติมีเดีย วัดนาป่าพง
http://media.watnapahpong.org/
http://watnapp.com/

แจกหนังสือพุทธวจน-ซีดี-วีดีโอ (กลุ่มพุทธโอษฐ์)
http://sites.google.com/site/buddhaottha/home

ตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน บนเว็บไซต์
http://etipitaka.com/search

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ (รวมเสียงธรรม ดาวน์โหลด mp3)
http://truthoflife.fix.gs/index.php?board=117.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ส.ค. 2011, 17:44
โพสต์: 35

แนวปฏิบัติ: งานหลักคือการโมทนาแก่ทุกดวงจิต
งานอดิเรก: งานรองคือทำงานหลัก
อายุ: 0
ที่อยู่: chiangmai Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว www


อธิบายกันแบบเข้าใจง่ายๆน่ะครับ ไม่ต้องภาษาบาลีก็จะอธิบายได้ว่าดั่งนี้ครับ
จิต
- จิตคือ ตัวรู้ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา การวิเคราะห์เป็นเครื่องมือของจิต
- จิตเป็นผู้สั่งสมอง (ความคิด) ความคิดสั่งร่างกาย (การกระทำ)
- จิตที่ คิดดี คือจิตที่ผ่านการวิเคราะห์พิจารณามาแล้ว สมองจะสั่งการออกมาเป็นความคิด ในการกระทำที่ดีทางร่างกาย ก็คือ ทำดีและพูดดี
- จิตที่มีปัญญาคือจิตที่ผ่านการวิเคราะห์พิจารณา ทบทวนความคิด ตรึกตรอง มีเหตุและผล รู้ผิดชอบชั่วดี ด้วยสามัญสำนึกที่ดี ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือกระทำกิจ หรือแก้ปัญหาใดๆ
- บุคคลที่มี สามัญสำนึกที่ดี และส่งผลออกมาในการกระทำที่ดี เท่ากับว่าบุคคลนั้น เป็นผู้มีศีลธรรมในตัวอยู่แล้ว ศีลอยู่คู่มนุษย์และคู่โลกมาโดยตลอด ตั้งแต่มนุษย์และโลกเกิดขึ้นมา เพียงแต่ว่าบุคคลนั้นจะ เกิด สามัญสำนึกที่ดีขึ้นในจิตหรือไม่เท่านั้นเอง

.....................................................
http://www.jitphontook.com
--------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 13:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 09:53
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาต่อทุกความเห็น สรุปโดยความว่า ธรรมชาติของจิตนั้น
มีอยู่ ๓ ประการคือ มีการรับรู้อารมณ์อยู่เสมอ
เป็นเหตุให้จิตและเจตสิกทั้งหลายรู้อารมณ์
ทำให้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตวิจิตรพิสดาร ต่อเมื่อไปกระทบอารมณ์ภายนอกซึ่งมีทั้งกุศล อกุศล นั่นคือมีเหตุเข้ามาประกอบ จึงรับอารมณ์ต่างๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron