วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 6936 ครั้ง ]
รูปวงกลม แล้วมีชื่อองค์ธรรมต่างๆ ท่านเขียนให้ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้


(ลิงค์ปฏิจจสมุปบาท(อภิธรรม -พึงศึกษาทั้งสองสูตร)

viewtopic.php?f=7&t=28121&p=165982#p165982


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

วงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทนี้ นิยมเรียกว่า “ภวจักร” แปลว่า วงล้อแห่งภพ หรือสังสารจักร แปลว่า วงล้อแห่ง

สังสารวัฏ

อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลส คือ ตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่างๆ เรียกว่า

กิเลสวัฏฏ์

สังขาร (กรรม) ภพ เป็นกรรม คือ กระบวนการกระทำหรือกรรมทั้งหลายที่ปรุงแต่งชีวิต

ให้เป็นไปต่างๆ เรียกว่า กรรมวัฏฏ์

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นวิบาก คือ สภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของกรรม

และกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างกิเลสต่อไปได้อีก เรียกว่า วิปากวัฏฏ์

วัฏฏะ ทั้ง ๓ (กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิบากวัฏฏ์)นี้ หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่กัน

ทำให้วงจรแห่งชีวิตดำเนินไปไม่ขาดสาย

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

(....เมื่อมีกิเลสอยากได้จึงทำกรรมให้ได้สิ่งนั้นมาเสพเสวย ได้รับวิบาก คือ เวทนาที่เป็นสุข จึงเกิดกิเลส

อยากได้ยิ่งขึ้นไป แล้วทำกรรมและได้รับวิบากต่อไปอีก

หรือ เมื่ออยากได้ และทำกรรมให้ได้มาแต่ไม่สมใจ ได้วิบากคือเวทนาที่เป็นทุกข์ ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะ

จึงทำกรรมแล้วได้รับวิบากไปอีกแบบหนึ่ง ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ม.ค. 2010, 17:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวะ<==>) อวิชชา => สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตนะ=>ผัสสะ=>เวทนา=>

ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ...โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส (= ทุกขสมุทัย - เชื่อมกับอริยสัจ)...ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนให้

เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์ อันเป็นของเสียมพิษ

ที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปมก่อปัญหาต่อๆไป

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาทหมุนเวียนเป็นวัฏฏะหรือวงจร ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ

ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย



ส่วนฝ่ายดับ (ทุกข์) หรือทุกขนิโรธ ก็ดำเนินไปตามหัวข้อเช่นเดียวกันนี้ (อวิชชาดับ ฯลฯ = ทุกขนิโรธ เชื่อมกับ

อริยสัจ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ม.ค. 2010, 22:38, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายองค์ธรรมนั้นย่อๆ ดังนี้



1. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

3. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

4. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

7. เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

8.ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ

ทำลาย

9.อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว

10.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

11.ชาติ การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท

ความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

12.ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัว

ได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ

หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความ

ทุกข์ อันเป็น ของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบาย

ออกมา เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

โสกะ ความแห้งใจ

ปริเทวะ ความร่ำไร

ทุกข์ โทมนัส ความเสียใจ

อุปายาส ความผิดหวัง คับแค้นใจ

เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ในจิตสันดาน ที่เรียกว่า อาสวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนเข้าสู่ขั้นที่ยากๆ ขึ้น ดูที่ง่ายๆเห็นๆภายนอกก่อน ปฏิจจสมุปบาท

(สิ่งที่อาศัยกันๆเกิดขึ้น พึงพิจารณาว่า "มันอาศัยกันๆเกิด" ยังไงด้วย) ที่เป็นไปทางสังคม

พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้

แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องเกี่ยวกับชีวิตนี่เอง คือทั้งที่เป็นไปภายใน (คือ จิตใจ)

ของบุคคล และเป็นไปภายนอก (สภาพแวดล้อมรอบๆตัว)



ปฏิจจสมุปบาทในฐานะปัจจยาการทางสังคม

ในมหานิทานสูตร * ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญมากสูตรหนึ่ง และเป็นสูตรใหญ่ที่สุดที่แสดงปฏิจจสมุปบาท

พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักปัจจยาการ ทั้งที่เป็นภายในจิตใจของบุคคล หรือปัจจยาการแห่งชีวิต

และที่เป็นไปในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หรือในทางสังคม


ปฏิจจสมุปบาทแห่งทุกข์ หรือความชั่วร้ายทางสังคม ก็ดำเนินมาตามวิถีเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาท

แห่งทุกข์ของชีวิตนั่นเอง

แต่เริ่มแยกออกแสดอาการที่เป็นไปภายนอก ต่อแต่ตัณหา เป็นต้นไป


แสดงพุทธพจน์ เฉพาะช่วงตอนนี้ ดังนี้


“อานนท์ ด้วยประการดังนี้แล อาศัยเวทนาจึงมีตัณหา อาศัยตัณหาจึงมีปริเยสนา

อาศัยปริเยสนาจึงมีลาภะ อาศัยลาภะจึงมีวินิจฉัย อาศัยวินิจฉัยจึงมีฉันทราคะ

อาศัยฉันทราคะจึงมีอัชโฌสาน อาศัยอัชโฌสานจึงมีปริคคหะ อาศัยปริคคหะจึงมีฉัจฉริยะ อาศัยฉัจฉริยะ

จึงมีอารักขะ อาศัยอารักขะสืบเนื่องจากอารักขะ จึงมีการถือไม้ ถือมีด

การทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท การด่าว่า มึง มึง การส่อเสียด มุสาวาท บาปอกุศลธรรม

(สิ่งชั่วร้าย) ทั้งหลาย เป็นอเนก ย่อมเกิดมีพร้อมด้วยอาการอย่างนี้...”

(ที.ม.10/59/69)


ธรรมหมวดนี้ ที่แสดงตั้งแต่ตัณหาเป็นต้นไป มีที่มาหลายแห่ง แต่เรียกชื่อว่า

ตัณหามูลกธรรม (ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล) ๙

เช่น ที.ปา.11/458/330 ; อภิ.วิ.35/1023/527 ฯลฯ

แต่ที่ ขุ.ปฏิ.31//285/189 ท่านกล่าวว่า โลกสันนิวาสย่อมกลัดอยู่ด้วยตัณหามูลกธรรม ๙ เหล่านี้

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


(คำแปล)

ปริเยสนา การแสวงหา

ลาภะ การได้

วินิจฉัย การกะกำหนด

ฉันทราคะ ความชอบชิดติดพัน

อัชโฌสาน ความหมกมุ่นฝังใจ

ปริคคหะ การยึดถือครอบครอง

ฉัจฉริยะ ความตระหนี่

อารักขะ ความหวงกั้น

(สิ่งที่อาศัยกันอาศัยกันเกิดขึ้น)



(* ที.ม.10/57-66/65-84 ในสูตรนี้ ตอนแสดงปัจจยาการทางจิตใจ ท่านอธิบายว่า

ตัณหาได้แก่ตัณหา ๖ คือ ตัณหาในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น

ส่วนในตอนปัจจยาการทางสังคม ท่านอธิบายตัณหาว่า ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 08:53, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(ดังกล่าว คห.บน) กระบวนธรรมที่แยกเป็น ๒ สาย สายที่เป็น “ทุกข์ของชีวิต” ถึงตัณหาเข้าอุปาทาน

แต่สายที่เป็น “ทุกข์ของสังคม” ถึงตัณหาเข้าปริเยสนา - (อนึ่ง หากผู้นั้นรู้เข้าใจสัมมาสติ

หรือปฏิบัติสติปัฏฐานถูกวิธี ครั้นถึงเวทนาเป็นปัญญา คือ มีชีวิตอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ฯลฯ หรืออยู่ปัญญา )

ท่านเขียนให้ดูง่าย ดังนี้



อวิชชา =>สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป =>สฬายตนะ=> ผัสสะ=> เวทนา=> ตัณหา=>

อุปาทาน=>
ภพ=> ชาติ => ชรามรณะ...โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส =

ทุกข์ของชีวิต (= ทุกขสมุทัย)

(เวทนา =>)ตัณหา=>ปริเยสนา=> ลาภะ=> วินิจฉัย=>ฉันทราคะ=>อัชโฌสาน => ปริคคหะ=>

มัจฉริยะ=>อารักขะ=> การทะเลาะ => แก่งแย่ง=> วิวาท =>ส่อเสียด=> มุสาวาท ฯลฯ =

ทุกข์ของสังคม

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ในกลหวิวาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงกระบวนธรรมคล้ายกับในที่นี้ แต่เป็นคำสนทนา

ถามตอบและเป็นความร้อยกรอง จึงมีรายละเอียดแปลกกันไปบ้าง

(ขุ.สุ.25/418/502)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 09:40, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการศึกษากระบวนธรรมข้างต้นนั้น อาจนำกระบวนธรรมปลีกย่อย ซึ่งตรัสไว้ในที่อื่นๆ

มาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อช่วยให้เกิดความแจ่มชัดมากขึ้น เช่น กระบวนธรรมแห่ง นานัตต์

(ความแตกต่างหลากหลาย) ซึ่งเขียนให้ดูง่ายดังนี้



ธาตุนานัตต์ => ผัสสนานัตต์=> เวทนานานัตต์=> สัญญานานัตต์ => สังกัปปนานัตต์ =>

ฉันทนานัตต์ => ปริฬาหนานัตต์=> ปริเยสนานานัตต์=>ลาภนานัตต์


ที.ปา.11/461/332 ฯลฯ

ช่วงต้น ตั้งแต่ธาตุถึงสัญญา พูดรวบทีเดียวก็ได้ว่า เพราะธาตุต่างๆ หลากหลาย

จึงทำให้เกิดสัญญาต่างๆ หลากหลายด้วย

(ธาตุในที่นี้หมายถึง สภาวะ 18 อย่าง คือ อายตนะภายใน 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6)


(คำแปล)

ธาตุนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งธาตุ หรือ ธาตุต่างชนิด

ผัสสนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งผัสสะ

เวทนานานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งเวทนา

สัญญานานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งสัญญา

สังกัปปนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งสังกัปป์ คือ ความดำริ หรือ ตริตรึก

ฉันทนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งฉันทะ

ปริฬาหนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งความรุนเร้า

ปริเยสนานานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งการแสวงหา

ลาภนานัตต์ ความเป็นต่างๆแห่งการได้ผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 09:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาลีอีกแห่งหนึ่งจึงแสดงลำดับกระบวนธรรมดังนี้

ธาตุนานัตต์ => สัญญานานัตต์ => สังกัปปนานัตต์=> ผัสสนานัตต์=> เวทนานานัตต์ =>ฉันทนานัตต์

=>ปริฬาหนานัตต์ => ปริเยสนานานัตต์=> ลาภนานัตต์



(คำแปล)

ธาตุนานัตต์ ธาตุต่างชนิด

สัญญานานัตต์ สัญญาต่างชนิด

สังกัปปนานัตต์ สังกัปป์ต่างชนิด

ผัสสนานัตต์ ผัสสะต่างชนิด

เวทนานานัตต์ เวทนาต่างชนิด

ฉันทนานัตต์ ฉันทะต่างชนิด

ปริฬาหนานัตต์ ความเร้ารุนต่างชนิด

ปริเยสนานานัตต์ การแสวงหาต่างชนิด

ลาภนานัตต์ การได้ผลต่างชนิด



ปฏิจจสมุปบาทแนวนี้ แสดงกระบวนธรรมที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็นไปภายในจิตใจของบุคคล

กับความเป็นไปภายนอก เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

ชี้ให้เห็นที่มาแห่งปัญหา ความทุกข์ หรือ ความชั่วร้ายต่างๆในสังคม ที่เกิดจากิเลสของคน


เป็นกระบวนธรรมพื้นฐาน ให้เห็นความเป็นไปอย่างกว้างๆ


ส่วนคำอธิบายที่เน้นความเป็นไปภายนอกในระดับสังคมเป็นพิเศษ หรือ โดยเฉพาะจะปรากฏในพระสูตรอื่นๆ

เช่น อัคคัญญสูตร (ที.ปา.11/51-72/87-107)

จักกวัตติสูตร (ที.ปา.11/33-50/62-86)และวาเสฏฐสูตร (ม.ม.13/704-8/641-9

ฯลฯ) เป็นต้น

อาจกล่าวได้ว่า พระสูตรเหล่านั้น เป็นตัวอย่างอธิบายกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท ช่วงความเป็นไป

ในระดับสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 6876 ครั้ง ]
ผู้ปฏิบัติกรรมฐานพึงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทช่วงต่อจากเวทนา...ให้จงดี (ดูรูปวงจร

ใหญ่ด้วย) แล้วจะเข้าใจวิธีกำหนดอารมณ์ต่างๆ ขณะปัจจุบัน คือ ช่วงตอนที่ให้เกิดสติสัมปชัญญะสมาธิวิริยะ

เป็นต้น คือ



-ย้ำความหมายความเป็นปัจจยาการอีกที เช่น อาศัยเวทนาจึงมีตัณหา หรือ เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมี

ตัณหา

ข้อความนี้ หมายความด้วยว่า ตัณหาจะมีต้องอาศัยเวทนา หรือ ต้องมีเวทนา ตัณหาจึงจะมีได้

แต่เมื่อมีเวทนาแล้วไม่จำเป็นต้องมีตัณหาเสมอไป

การเข้าใจความหมายนี้เป็นสิ่งสำคัญ และจุดนี้เป็นช่วงตอนสำคัญ ที่จะทำลายวงจร

แห่งปฏิจจสมุปบาท หรือ ตัดวัฏฏะให้ขาดตอน


ดังจะเห็นได้ในสูตรต่างๆ ที่ยกมาอ้างในตอนต้น ๆ ที่กล่าวถึงการเสวยเวทนา

โดยไม่ให้เกิดตัณหา ซึ่งอาศัยสติสัมปชัญญะ หรือสติปัญญา คือ เสวยเวทนา

โดยมีสติสัมปชัญญะตัดตอนไม่ให้เกิดตัณหา

ช่วงเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดสติสัมปชัญญะนี้ เป็นช่วงสำคัญยิ่งฝ่ายภายใน
ในการส่งผล

สืบเนื่องออกมาบันดาลพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ตลอดจนวิวัฒนาการของสังคมทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 10:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-พระสูตรต่างๆ ที่ได้ออกชื่อมาแล้วนั้น แสดงความเป็นไปต่างๆในสังคมมนุษย์ เช่น เรื่องชั้นวรรณะ

และความแตกต่าง หรือ เป็นต่างๆของมนุษย์เป็นต้น ว่าเป็นผลแห่งความสัมพันธ์หรือการกระทำต่อกัน

ของมนุษย์ ภายในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง

พูดอีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นเป็นผลแห่งวิวัฒนาการที่เกิดจากความเป็นปัจจัยอาศัยกันและกันระหว่างมนุษย์

(ตั้งแต่องค์ประกอบภายในจิตใจออกมา) สังคมและธรรมชาติแวดล้อมทั้งหมด เช่น เวทนาที่มนุษย์ได้รับ

ต้องอาศัยผัสสะ ซึ่งมีองค์ประกอบทางสังคม หรือ ธรรมชาติแวดล้อมเป็นส่วนร่วมกับองค์ประกอบภายใน เช่น

สัญญาที่มีอยู่ เมื่อได้เวทนาแล้ว เกิดตัณหาขึ้น ก็มีพฤติกรรม อาจจะแสดงออกโดยกระทำต่อมนุษย์

อื่น หรือ ต่อสภาพแวดล้อม ภายในขอบเขตจำกัดของสภาวะทางสังคมและธรรมชาติแวดล้อมนั้น

แล้วผลเกิดขึ้น กระทบต่อองค์ประกอบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

มนุษย์ไม่ใช่เป็นผู้กำหนดสังคมหรือสภาพแวดล้อมฝ่ายเดียว

สังคมก็ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดมนุษย์ข้างเดียว และธรรมชาติแวดล้อมก็ไม่ใช่ตัวกำหนดมนุษย์

หรือสังคมฝ่ายเดียว

แต่เป็นกระบวนธรรมแห่งการอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยแก่กัน


(พอจะเห็นความหมาย "ปฏิจจสมุปบาท" หรือ "ปัจจยาการ" บ้างแล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 11:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความบางตอนในอัคคัญญสูตรที่แสดงแนวความคิดวิวัฒนาการตามหลักปัจจยาการ เช่น


คนเกียจคร้านนำข้าวมาเก็บสั่งสมและเกิดความนิยมทำตามกัน => เกิดการปักปันก้นเขตแบ่งส่วนข้าว=> คน

โลภลักส่วนของคนอื่นมาเพิ่มแก่ตน (เกิดอทินนาทาน) => เกิดการตำหนิติเตียน การกล่าวเท็จ

การทำร้ายลงโทษ การต่อสู้ => ผู้มีปัญญาเห็นความจำเป็นต้องมีการปกครอง เกิดการเลือกตั้ง เกิดมีคำว่า

กษัตริย์ - มีคนเบื่อหน่ายความชั่วร้ายในสังคม คิดลอยล้างบาปไปอยู่ป่าบำเพ็ญฌาน บางพวกอยู่ใกล้

ชุมชน เล่าเรียนเขียนตำรา เกิดมีคำว่า พราหมณ์ เป็นต้น - คนมีครอบครัวประกอบการอาชีพประเภท

ต่างๆเกิดมีคำว่า แพศย์ - คนนอกจากนี้ ซึ่งประพฤติเหลวไหลเลวร้าย ถูกเรียกว่า ศูทร =>คนทั้งสี่พวกนั้น

บางส่วนละเลิกขนบธรรมเนียมของตน สละเหย้าเรือนออกบวช เกิดมีสมณะ


จุดหมายของการตรัสพระสูตรนี้

มุ่งให้เห็นว่า การเกิดมีชนชั้นวรรณะต่างๆ เป็นเรื่องของความเป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยกฎธรรมดา

แห่งความสัมพันธ์ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าสร้างสรรค์กำหนด

ทุกคนสามารถประพฤติดี ประพฤติชั่วและได้รับผลตามกฎธรรมดาเสมอกัน

เมื่อประพฤติธรรมถูกต้องก็ปรินิพพานได้เหมือนกันทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักกวัตติสูตรแสดงการเกิดขึ้นแห่งอาชญากรรม และ ความชั่วร้ายเดือดร้อนต่างๆ ในสังคม

ตามแนวปัจจยาการ ดังนี้



(ผู้ปกครอง) ไม่จัดสรรปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์ => ความยากจนระบาดทั่ว => อทินนาทาน

ระบาดทั่ว => การใช้อาวุธระบาดทั่ว => ปาณาติบาต (การฆ่าฟันกันในหมู่มนุษย์)ระบาดทั่ว=> มุสาวาท

ระบาด=> การส่อเสียด-กาเมสุมิจฉาจาร-ผรุสวาทและสัมผัปปลาป-อภิชฌาและพยาบาท- มิจฉาทิฐิ-

อธรรมราคะ ความละโมบ มิจฉาธรรม -ความไม่นับถือพ่อแม่สมณพราหมณ์ และการไม่เคารพนับถือกัน

ตามฐานะ ระบาดทั่ว =>อายุวรรณะเสื่อม


เรื่องปัจจยาการแห่งทุกข์ของสังคมนี้ กล่าวไว้เป็นเค้าให้เห็นแนวความคิดของพระพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ม.ค. 2010, 11:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




29.jpg
29.jpg [ 120.27 KiB | เปิดดู 6819 ครั้ง ]
เชื่อมกับลิงค์ "การตีความเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท" ต่างกัน นักวิชาการทางศาสนาควรอ่าน :b1:


viewtopic.php?f=2&t=18998&p=86032#p86032

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร