วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตปรมัตถ์

ลักษณะของจิต
จิตมีความหมายเข้าใจสับสนกันอยู่ ปุถุชนส่วนมากเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
สิงสถิตย์อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ คืออยู่ที่หัวใจ
หรือบางท่านก็ว่าอยู่ที่มันสมอง ไม่เกิดไม่ดับคงสภาพอยู่ ดังนั้นเป็นนิตย์นิรันดร
เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรกนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องประภัสสร ไม่มีมลทินมัวหมอง
ต่อ ๆ มาจึงมีกิเลสตัณหา เข้าครอบงำเป็นเหตุให้เศร้าหมองหมกหมุนอยู่ในโลภโกรธหลง
ทำให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร (ผู้ที่ยังต้องเกิดอีก)
เที่ยวล่องลอยไปเพื่อหาโอกาสที่จะเกิดหรือปฏิสนธิใหม่
เหมือนดังบุคคลที่สละทิ้งบ้านเก่าท่องเที่ยวไปหาบ้านใหม่อยู่ฉะนั้น
นี้เป็นความเข้าใจของปุถุชนเป็นส่วนมาก
ซึ่งเป็นความเข้าใจห่างไกลจากความแท้จริงของสภาวธรรมที่เรียกว่าจิต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า จิตเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปธรรม คือไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตา
หรือสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย จึงเป็นเรื่องที่ปุถุชนเข้าใจได้ยากอยู่เอง
เพราะไม่มีลักษณะที่จะหยิบยกจับถูกต้องมองเห็นได้
แต่ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังมีลักษณะที่จะ รู้จักจิตได้ในทางอาการที่แสดงออก
เช่นเมื่อตาสัมผัสกับรูป จิตก็รู้คือเห็นและรู้ว่าสวยงามดีไม่ดีเหล่านี้
และเป็นอาการของจิต จิตมีคุณลักษณะ รู้ซึ่งอารมณ์ที่มากระทบ
"อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ" รู้ในเมื่อขณะกระทบอารมณ์ คือ รูปารมณ์ (รูป)
กระทบจักขุปสาท รู้ "เห็น" สัททารมณ์ (เสียง) กระทบโสตปสาท รู้ "ได้ยิน"
คันธารมณ์ (กลิ่น) กระทบฆานปสาท รู้ "กลิ่น"
รสารมณ์ (รส) กระทบชิวหาปสาท รู้ "รส"
โผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัสถูกต้อง) กระทบกายปสาท รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
ธรรมารมณ์ (เรื่องราว) กระทบใจ รู้ "คิดนึก"
ธรรมชาติที่รู้หรือธาตุรู้นี้แหละเรียกว่า จิต

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมีปรมัตถสภาวะเช่นเดียวกับสภาวธรรมอีก 3 อย่าง
(เจตสิก รูป นิพพาน) คือเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งสมมุติบัญญัติขึ้น
การรู้ธรรมชาติของจิตที่ถูกต้องแน่นอนได้
ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ฉะนั้นการที่เข้าใจเรื่องของจิตได้ถูกต้อง จึงจำต้องอาศัยการศึกษาจากคำสอน
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก
แต่พระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุขุม
ต้องมีความเพียรจึงจะทำความเข้าใจได้พอประมาณตามอุปนิสัย
อย่างไรก็ดี นับว่าเป็นโชคลาภอย่างประเสริฐที่ท่านพระอนุรุทธาจารย์ปรารถนาจะ
อนุเคราะห์ให้ปวงชนทั้งหลายได้ศึกษาวิชานี้ง่ายขึ้น
ท่านจึงได้เก็บความสำคัญในพระอภิธรรมปิฏกมาย่อ
แล้วรวบรวมและเรียบร้อยให้ง่ายขึ้น เรียกว่า อภิธรรมมัตถสังคหะ
ซึ่งนักศึกษาพระอภิธรรมได้ใ้เป็นคู่มืออยู่ในปัจจุบันนี้


: พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ : พระนิติเกษตรสุนทร : ๒๕๐๕

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะของจิต
สภาวะของจิต มีดังต่อไปนี้คือ :-
๑.มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ คือรู้ขณะที่อารมณ์กระทบ
ต้องมีอารมณ์มากระทบ จึงจะเกิดการรู้ขึ้น
ถ้าไม่มีอารมณ์กระทบแล้วจิตจะเกิดขึ้นเองหาได้ไม่ เช่น
เมื่อรูปกระทบกับจักขุปสาท จึงเกิดการเห็นคือ รู้ขึ้น เรียกว่าจุกขุวิญญาณ
เสียงกระทบกับโสตปสาทก็เกิดการได้ยินคือ รู้ ขึ้น รียกว่า โสตวิญญาณ ฯลฯ
การรู้นี้เรียกว่าเป็น ลักษณะ ของจิต

๒.มีการเป็นหัวหน้าและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง
หมายความว่าในสัมปยุตตธรรม(ธรรมที่เข้าประกอบอันได้แก่เจตสิก) ทั้งหลาย
ต้องมีจิตเป็นหัวหน้าและเป็นประธาน(มโน ปุพฺพงฺคมาธมฺมา)
สัมปยุตตธรรมเกิดไม่ได้ถ้าจิตไม่เกิด เช่น ขณะเมื่ิอหลับสนิทอยู่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
จิตมนขณะนั้นคือ การได้ยินอันเป็นอารมณ์ปัจจุบันมิได้เกิดขึ้น
สัมปยุตตธรรม เช่น เวทนาความเสวยอารมณ์ชอบและไม่ชอบ (เวทนาเจตสิก)
สัญญาความจำเสียง(สัญญาเจตสิก) ฯลฯ ก็มิได้เกิดขึ้น เป็นต้น

. นอกจากนั้นแล้วยังทำให้จิตดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกัน
หมายความว่า เมื่อจิตดวงแรกเกิดขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยอุดหนุนใ้ห้จิตดวงหลังๆ
เกิดขึ้นสืบต่อกันไปโดยไม่ว่าง คือจิตเกิดดับ เกิดดับ ติดต่ิอเรื่อยไปเ็ป็นสาย
ตามที่ได้กล่าวนี้เรียกว่าเป็น กิจ ของจิต


๓.มีการเห็นหรือได้ยินเป็นต้น เป็นความปรากฏหรือเป็นผลของจิต
หมายความว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นหรือเมื่อจิตขึ้นรับอารมณ์ก่ารเห็นหรือการได้ยินนั้น
ก็เป็นผลปรากฏแก่จิต เช่น เมื่อรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาทก็เกิดจักขุวิญญาณคือการเห็น
หรือสัททารมณ์(เสียง) กระทบโสตปสาทก็เกิดโสตวิญญาณคือการได้ยิน
การเห็นหรือการได้ยินนี้เรียกว่า็เป็น ความปรากฏหรือผลของจิต
๔.มีนามและรูปเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น
หมายความว่าจิตจะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยนามและรูปเป็นเหตุใ้ห้เกิด
จิตจะเกิดขึ้นโดยลำพังไม่อาศัยนามและรูปนั้นไม่ได้
เช่นเมื่อรูปคือรูปารมณ์ไม่มีแล้ว จิตจะเกิดขึ้นเห็นรูปหรือรูปารมณ์ไม่ได้
เมื่อเสียงคือสัททารมณ์ไม่มี จิตจะเกิดขึ้นได้ยินเสียงหรือสัททารมณ์ย่อมไม่ได้
ดังผู้ตาบอดหรือหูหนวกมาแต่กำเนิด ย่อมแลเห็นสิ่งใดๆ ไม่ได้ หรือได้ยินเสียงใดๆไม่ได้
จิตที่รู้ในการเห็นรูปคือจักขุวิญญาณ หรือจิตที่รู้ในการได้ยินคือ โสตวิญญาณ
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นได้ เป็นต้น
นามคือเจตสิกต้องเข้าประกอบจิต นี้เรียกว่ามีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความวิจิตรของจิต

ความวิจิตรหรือธรรมชาติที่ทำให้เป็นไปของจิต คือ :-
๑.กระทำให้วิจิตต่าง ๆ สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหมดที่วิจิตรพิสดารนั้น
ก็เพราะอำนาจแห่งจิตเป็นผู้ทำให้วิจิตร เช่น สรรพวัตถุที่เกิดขึ้น มีเครื่องยนต์กลไก
ประดิษฐกรรม ศิลปลวดลาย วิจิตรกรรมต่่าง ๆ ล้วนแต่เกิดด้วยจิตทั้งสิ้น
สัตว์ทั้งหลายที่กำเนิดขึ้นวิจิตร ก็เพราะการกระทำทาง กาย วาจา ใจ วิจิตร
การกระทำวิจิตรก็เพราะตัณหาความพอใจวิจิตร ตัณหาความพอใจวิจิตรก็เพราะความจำวิจิตร
และสัญญาความจำวิจิตร ก็เพราะจิตวิจิตร


๒.วิจิตรด้วยตนเอง หมายถึงจิตเป็นไปได้ต่าง ๆ เช่นจิตเป็นบุญเป็นกุศล
เป็นบาปเป็นอกุศลได้ เป็นวิบากคือผลของบุญของบาป
ทำให้สัตว์โลกทั้งหลายต่างกันด้วยกรรม ต่างกันด้วยเพศ ต่างกันด้วยสัญญาและคติก็ได้ เป็นต้น
(ต่างกันด้วยกรรมคือ วิจิตรในกุศลกรรมทาง กาย วาจา ใจ ในทาน ศีล ภาวนา
และในอกุศลกรรมถึงวิหิงสา มายาสาไถ เป็นต้น สภาวะต่างกันแห่งกรรม
เป็นอุปนิสัยปัจจัยให้เกิดต่างกันแห่งลิงค์ คือสัณฐานมีมือเท้าเป็นอาทิ
เกิดสำคัญในจิตว่าเป็นหญิงเป็นชาย อันควรแก่ชื่อตามโลกียะกำหนด
อันเป็นต่างกันโดยสัญญาจึงมีโวหารเรียกว่าชาย หญิง
ส่วนคตินั้นคือ เปตคติ ติรัจฉานคติ นิริยคติ มนุษยคติ และเทวตาคติ )


๓.สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมคือการงานที่บังเกิดด้วยเจตนา (เจตนาเจตสิก)
ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงใด แม้แต่เพียงอารมณ์หนึ่งมากระทบจิตเกิดรู้ขึ้น
เช่น เมื่อตาห็นรูป เจตนาเจตสิกเกิด แลกรรมคือการงานบังเกิดขึ้น
จิตก็ย่อมเก็บเอาการงานนั้นประทับเข้าไว้ จึงเป็นอันว่าไม่ว่าการกระทำคือ
กุศล หรือ อกุศลกรรมใดๆ จะมากเล็กน้อยประการใดก็ตามย่อม จะเก็บประทับไว้ในจิตทั้งสิ้น
ในทำนองนี้สรรพกุศลกรรมคือทาน ศีล ภาวนา หรืออกุศลกรรมคือกิเลส เช่น
โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เกิดขึ้นมากมายก็ย่อมถูกประทับสั่งสมไว้ที่จิต

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔.รักษาไว้ซึ่งวิบากของกรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้
หมายความว่ากรรมและกิเลสที่สั่งสมไว้ในจิตนั้นไม่สูญหายไป จิตคงรักษาวิบากของกรรม
และกิเลสนั้นไว้ให้นอนเนืองอยู่ในสันดาน เมื่อถึงคราวใดที่มีโอกาส
วิบากก็จะเกิดขึ้นแสดงไปตามอำนาจของกรรมนั้นๆ วิบากคล้ายกับพลังงาน
คอยหาโอกาสแสดงออกอยู่เสมอ เมื่อได้ช่องก็จะแสดงออกในทันที
ดังนี้แหละบุคคลจึงได้รับวิบากผลในปัจจุบันภพต่างๆ นานา


๕.สั่งสมสันดานตนเอง หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง
เป็นปัจจัยอุดหนุนให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ และอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ
ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย คือ เกิดดับเกิดดับ เป็นสันตติต่อเนื่องสืบกัน
ลงภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นใหม่อีกดับไปเสมอเป็นนิตยกาล
ไม่ใช่แต่เพียงการเกิดดับสืบเนื่องกันเท่านั้น ยังส่งมอบรับช่วงบรรดากรรม
และกิเลสที่จิตได้รับและเก็บสั่งสมไว้แล้วนั้นต่อไปอีกด้วย


๖.มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่างๆ
ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเกิดกระทบในทางทวารใด จิตเป็นสามารถไปรับรู้รับเห็นได้ทั้งสิ้น
เช่น รูปกระทบจักขุทวาร จิตก็แล่นไปรู้คือ เห็น
ครั้นเสียงกระทบโสตทวาร จิตก็แล่นไปรู้คือ ได้ยิน
เมื่อกายถูกต้องปถวีของแข็ง จิตก็แล่นไปรู้การกระทบนั้น
อย่างนี้แหละจึงเรียกว่า จิตนั้นวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ
ความวิจิตรทั้งหลายต้องมีจิตเป็นประธาน ตัณหาความปรารถนาพอใจ
ทำให้บังเกิดความวิจิตร กรรมคือการงานที่กระทำขึ้น ก็ประณีตวิจิตรไปตาม
ความเรียกร้องของตัณหา และโยนิคือการปฏิสนธิเป็นวิบากกำหนดให้สัตว์กำเนิดในภพภูมิต่างๆ
มีวิจิตรเป็นไปสมคล้อยตามเจตนารมณ์ของกรรมที่กระทำ
อันเนื่องมาแต่ตัณหาซึ่งมีจิตเป็นประธาน


:พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ ;พระนิติเกษตรสุนทร;๒๕๐๕

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จำนวนของจิต

ตามที่กล่าวมาแล้ว จิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีลักษณะรู้ซึ่งอารมณ์ ที่มากระทบ
เมื่อประสาทตากระทบกับรูปารมณ์ (รูป) ก็เกิดการเห็นเรียก จักขุวิญญาณ
จักขุวิญญาณที่รู้อารมณ์คือเห็นนั้น เรียกว่า จิต ถ้าว่าตามลักษณะแล้ว
จิตก็มีดวงเดียว จะมีมากกว่าหนึี่่งดวงซ้อนกันในขณะเดียวกันไม่ได้
เมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้ว อีกดวงหนึ่งจึงเกิดขึ้นสืบต่อไป
แต่โดยเหตุที่มีสหชาตรรม (เจตสิก) เกิดพร้อมและดับพร้อมร่วมอยู่กับจิต
เป็นเหตุให้จิตมีอาการต่างๆ เช่น โลภ โกรธ หลง แตกต่างกันไป
อาศัยความแตกต่างแห่งอาหารของจิตที่เกิดขึ้นโดยสหชาตธรรม ดังกล่าว
ท่านจึงได้จำแนกจิตออกเป็น ๘๙ ดวงโดยย่อ หรือ ๑๒๑ ดวงโดยพิศดาร
ตามคุณลักษณะของเจตสิกที่เข้าประกอบเกิดร่วมด้วย
เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากันนั้น ก็เนื่องในขั้นมรรคผลแห่งโลกุตรจิต
ถ้ามรรคผลเกิดโดยมิได้เนื่องกับฌานแล้ว ก็นับว่าีจิตเพียง ๘๙ ดวงเท่านั้น


จิตมีหลายชื่อ
เนื่องจากจิตมีกิจหน้าที่การงานตามที่สหชาตธรรม (จตสิก) เกิดร่วมด้วย
นำให้เป็นไปต่างๆ จิต มีการเรียกชื่อจิตอนุโลมไปตามกิจและหน้าที่นั้น ๆ
เพื่อให้เห็นความหมายอันแตกต่างของจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น
การเรียกชื่อต่างกันนี้ถึงกับทำให้บุคคลส่วนมากเข้าใจกันว่า
จิตกับวิญญาณและมโน ฯลฯ เป็นแต่ละสภาวะต่างกันไป เช่น
เข้าใจว่า วิญญาณเป็นจิตของผู้ตาย มีลักษณะผิดแผกไปจากจิตของผู้นั้นที่ยังไม่ตาย
โดยวิญญาณเป็นสัมภเวสีล่องลอยออกจากร่างของผู้ตายแสวงเที่ยวไป
เพื่อสิงสถิตในภูมิใหม่เป็นต้น ความจริงที่เรียกว่าวิญญาณหรือมโน ก็คือจิตนั่นเอง
มีสภาวะอย่างเดียวกันคือรู้อารมณ์ที่มากระทบ แต่ไวพจน์สำหรับเรียกจิตไปตามกิจนั้นๆ
ใน ปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค กล่าวว่า
"ยํ จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทริยํ วิญญาณํ วิญญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโน วิญญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ "
คำว่า จิต มโน มนัส หทัย ปัญฑระ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เป็นศัพท์เดียวกันกับจิตทั้งนั้น
กล่าวคือ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ แต่มีความหมายต่างกันตามกิจการงาน
เช่น จิตหมายเอาความคิด มโนหมายเอาการนึกที่ใจ
วิญญาณหมายเอาความรู้แจ้งในอารมณ์ที่มากระทบ เป็นต้น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเภทของจิต

จิตมีสภาพรู้อารมณ์เป็นลักษณะ อารมฺมณวิชานนทลกฺขณํ เป็นกลางๆ
ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศลหรืออกุศลประการใด มีแต่ลักษณะรู้หรือเป็นธาตุรู้เท่านั้น
แต่เหตุที่จิตเป็นชั่วดีบาปบุญไปประการต่างๆ ก็โดยสหชาตธรรม คือเจตสิก
อันเป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง เข้าประกอบเกิดร่วมกับจิตเป็นผู้ชักจูงจิตไปตามสภาวะจิต
เกิดโดยลำพังและดับโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีเจตสิกเกิดดับร่วมอยู่ด้วย
ประดุจความร้อนและแสงสว่างของไฟแยกออกจากกันไม่ได้ฉันนั้น
(ความจริงจิตกับสหชาตธรรมแยกจากไม่ได้ หากแต่แยกออกเพื่อการศึกษา)

เจตสิกธรรมนี้แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย มีโลภ โกรธ หลง เป็นอกุศลฝ่ายหนึ่ง
มีไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นฝ่ายหนึ่งและมีลักษณะเป็นกลางๆ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง อีกฝ่ายหนึ่ง จิตที่มีโลภโกรธหลงอันเป็นบาปอกุศลเกิดขึ้น ก็โดยเจตสิกธรรม
พวกโลภะ โทสะ และโมหะ เป็นเหตุปัจจัยที่ให้จิตเป็นไป
เพราะที่เป็นบุญคือ ไม่โล ไม่โกรธ ไม่หลง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
โดยเจตสิกธรรมพวก อโลภะ อโทสะ และอโมหะ (ปัญญา) เข้าประกอบเป็นเหตุปัจจัย
เจตสิกธรรมนี้จัดเข้าอยู่ในพวกนามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ คอยปรุงแต่งจิตอยู่
โดยเหตุที่มีเจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิตดังกล่าวแล้ว
ท่านจึงได้แยกจิตออกเป็น ๔ ประเภท คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตรจิต


กามาวจรจิต

กามาวจรจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยตัณหาความดิ้นรนอยากมีอยากได้
ประพฤติเป็นไปในกามภูมิ หมายถึงจิตที่ท่องเที่ยวข้องติดอยู่ในกามารมณ์ คือ
ยินดีติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เช่น
พึงพอใจในรูปที่สวยงาม เสียงที่ไพเราะ ในกลิ่นที่หอม ในรสที่อร่อย ฯลฯ
หรือไม่พึงพอใจในรูปที่ไม่สวย ในเสียงที่ไม่ไพเราะ ในกลิ่นที่ไม่หอม
ในรสที่ไม่อร่อย ฯลฯ ซึ่งรวมเรียกว่ากามารมณ์ กามาวจรจิตนี้มี ๕๔ ดวง
แบ่งออกเป็นอกุศลจิต ๑๒ อเหตุจิต ๑๘ (ไม่ประกอบด้วยเหตุ)
และกามาวจรโสภณจิต ๒๔

๑.อกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นจิตที่ไม่ดีไม่งามเป็นมูลไปในทางบาปอกุศล ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิต ๒
ก.โลภมูลจิต ๘ คือ จิตที่ยินดีติดใจอยากได้ ท่านอธิบายว่า มีลักษณะอยากได้
กำหนัดติดพันในอารมณ์ ทำให้จิตติดแน่นด้วยราคะ ระบมอกตรมเกรียมไปด้วยสังสารทุกข์
อันประกอบด้วยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ฯลฯ หาที่สุดมิได้
เหมือนชิ้นเนื้อติดแน่นอยู่บนกระเบื้องอันร้อน อันได้แก่ความปรารถนาพอใจในรูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง และธรรมารมณ์ที่เรียกว่ากามารมณ์
ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เล็กน้อยปานใด แม้แต่เพียงเกิดความรู้สึกนิยมยินดีขึ้นในรูปที่สวยงาม
เสียงที่ไพเราะ ก็จัดเป็นโลภะ โลภมูลจิตนี้เกิดพร้อมด้วยโสมนัสยินดีหรือเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือปราศจากความเห็นผิด และเกิดขึ้นเองโดยการชักจูง
เช่น เมื่อตากระทบรูป จิตเห็นว่าสวยงามเกิดโสมนัสยินดีอยากได้เป็นเจ้าของตนนี้
เป็นโลภมูลจิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสประกอบด้วยความเห็นผิด (เห็นว่ารูปสวยงามและเห็นเป็นตัวตนผิดจากสภาวะความเป็นจริง)และเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครชักจูง
โลภมูลจิตเมื่อแยกตามสัมปยุตตธรรมที่เข้าประกอบก็ได้เพียง ๘ ดวง ดังผังแสดงในหน้าต่อไป

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




img003.JPG
img003.JPG [ 29.66 KiB | เปิดดู 6571 ครั้ง ]
ผังแสดงประกอบ "พระอภิธรรมสังเขปและธรรมบางประการที่น่าสนใจ" โดยพระนิติเกษตรสุนทร : ๒๕๐๕ หน้า ๒๓

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข.โทสมูลจิต ๒ คือ จิตที่เสียใจ ไม่ชอบใจ รวมตลอดถึงโกรธเกลียด กลัว ฯลฯ
ในรูป สียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง และธรรมารมณ์ ความเสียใจไม่ชอบใจนี้
เกิดขึ้นไม่ว่าเล็กน้อยเพียงใด ก็นับว่าเป็นโทสมูลจิตทั้งสิ้น
โทสมูลจิตนี้เกิดพร้อมด้วยโทมนัสความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ ไม่ชอบใจ(ปฏิฆะ)
และ เกิดขึ้นเองหรือโดยชักจูง เช่น เมื่อตากระทบรูปจิตก็เห็น เกิดความไม่ชอบใจ
และเกลียด นี้เป็นโทสมูลจิต เกิดพร้อมด้วยโทมนัสประกอบด้วยปฏิฆะความโกรธ
และเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครชักจูง หรือเมื่อขณะเห็นรูปมีผู้พูดชักจูงให้เกิดความไม่ชอบไม่พอใจ
โทสมูลจิตนั้นเกิดขึ้นโดยชักจูงดังนี้ ขณะที่โทสมูลจิตเกิดขึ้นต้องประกอบด้วยโทมนัสเวทนา
เพราะอารมณ์เป็นอนิฏฐารมณ์ จะประกอบด้วยโสมนัสเวทนาไม่ได้
โทสมูลจิต ๒ คือ เกิดพร้อมด้วยโทมนัสความเสียใจประกอบด้วยปฏิฆะความโกรธ เกิดขึ้นเอง ๑ เกิดพร้อมด้วยความโทมนัสเสียใจ ประกอบด้วยปฏิฆะความโกรธเกิดขึ้นโดยการชักจูง


ค.โมหมูลจิต ๒ คือ จิตที่หลงใหลในอารมณ์ ไม่ประกอบด้วยปัญญารู้
ตามความเป็นจริงของสภาวธรรม เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย
ประกอบด้วยความสงสัย(วิจิกิจฉา) ดวง ๑ กับ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน (อุจธัจจะ) ดวง ๑
เช่น ตากระทบรูปจิตเห็น รู้สึกเฉยๆ ไม่เกลียดไม่รัก แต่มีความสงสัยไม่แน่ใจในอารมณ์
เป็นวิจิกิจฉา แต่ถ้าหลงคิดนึกไปต่างๆ เป็นอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน
โมหมูลจิต ย่อมเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาความเป็นกลางๆ
และประกอบด้วยวิจิกิจฉาหรืออุทธัจจะอย่างใดอย่างหนึ่ง
โมหมูลจิต ๒ คือ (๑) เกิดพร้อมด้วยความวางเฉย ประกอบด้วยความสงสัยเกิดขึ้นเอง ๑
และ (๒) เกิดพร้อมด้วยความวางเฉย ประกอบด้วยความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นเอง ๑

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2009, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.อเหตุกจิต ๑๘ เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยหตุ ๖ คือ โลภ โทสเหตุ โมหเหตุ
และอโลเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เป็นจิตกลางๆ ไม่บุญไม่บาป
หลายดวงเกิดขึ้นด้วยวิบากกรรมเก่า เช่น ตากระทบรูปที่สวยงาม
จิตเกิดขึ้นเห็นรูปสวยงามนั้นรียกว่า กุศลวิบากจักขุวิญญาณ
การเห็นรูปสวยงามนั้นเป็นวิบากของกุศลกรรม ในขณะที่เห็นนั้น
คงเป็นแต่เพียงเห็นเท่านั้นยังไม่ถึงชวนกิจ คือการเสพย์ อารมณ์
ยังหาทันได้ประกอบด้วยเหตุ คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ไม่ จึงไม่เป็นบุญเป็นบาป ในทำนองเดียวกัน
ถ้าเห็นรูปที่ไม่สวยงามน่าเกลียดก็เป็นวิบากของอกุศลกรรม เรียกว่า
อกุศลวิบากจักขุวิญญาณ และไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖
อเหตุกวิบากจิต ๑๐ ดวง คือ จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒
ฆานวิญญาณ ๒ ชิวหาวิญญาณ ๒ กายวิญญาณ ๒ เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ ดวง
เนื่องจากวิบากของอกุศลกรรม เช่น เห็นรูปที่ไม่สวย ได้ยินเสียงไม่ไพเราะ ได้กลิ่นที่ไม่ดี ฯลฯ
และเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ ดวง เนื่องจากวิบากของกุศลกรรม เช่น เห็นูปที่สวย
ได้ยินเสียงที่ไพเราะ ได้กลิ่นหอม ฯลฯ
ทั้ง ๑๐ ดวงนี้เรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ ทุกครั้งที่เห็นรูป จักขุวิญญาณก็เกิด
ทุกครั้งที่ได้ยินเสียง โสตวิญญาณก็เกิด ฯลฯ
ทุกครั้งที่กายสัมผัสถูกต้อง กายวิญญาณรู้เย็น ร้อน อ่อน แข็งก็เกิด
ในวันหนึ่งอารมณ์ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้มากนัก จนนับครั้งไม่ได้
เป็นวิบากเนื่องจากกรรมที่ได้สั่งสมไว้ ปุถุชนมิไคร่ได้คิดนัก มักปล่อยให้ผ่านๆ ไป
โดยปราศจากความสนใจ
อเหตุกวิบากจิตอีก ๕ คือ สัมปฏิจฉนะ ๒ สันตีรณะ ๓
เป็นจิตที่เกิดขึ้นต่อจาก ทวิปัญจวิญญาณ มีหน้าที่รับช่วง และพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับของวิถีจิต
ในอเหตุกจิต ๑๘ นี้ มีจิต ๓ ดวงเรียกว่า อเหตุกิริยา เป็นจิตที่เกิดขึ้นเป็นเองตามธรรมชาติ
มิได้อาศัยวิบากของกรรม คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต
เกิดขึ้นเพื่อรับอารมณ์ขึ้นสู่วิีถีของจิต เป็นการ กระทำตามหน้าที่ ทุกครั้งที่อารมณ์มากระทบ และไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ กับหสิตุปาทจิต ๑ ซึ่งเป็นจิต(ยิ้ม) ของพระอรหันต์

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓.กามาวจรโสภณหรือมหากุศลจิต ๒๔

เป็นจิตที่ดีงามเป็นไปในทางบุญกุศลเกี่ยวแก่กามารมณ์
ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง และธรรมารมณ์
แบ่งออกเป็นมหากุศลจิต ๘ มหาวิบากจิต ๘ และมหากิริยาจิต ๘

ก.มหากุศลจิต ๘ เป็นจิตที่กระทำบุญกุศล
เกิดพร้อมด้วยความยินดีโสมนัสหรือเฉยๆ ประกอบด้วยปัญญา (ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง)
หรือไม่ประกอบด้วยปัญญาเกิดขึ้นเองหรือถูกชักจูง
การทำบุญกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา คือมีจิตคิดเห็นทันต่อสภาวะความจริงว่า
ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนแปลงดับไป เป็นทุกข์เพราะตั้งคงถาวรอยู่ไม่ได้
และเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้ มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาแต่อย่างใด
ที่ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขานั้นเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ มิใช่ความจริงแท้
การทำบุญกุศลประกอบด้วยปัญญาดังกล่าว ย่อมมีอานิสงส์แรง
เพราะเป็นการกระทำที่รู้เห็นถูกต้องตรงต่อความจริง
ส่วนการทำบุญที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เช่น การกระทำไปตามจารีตประเพณี
ไม่รู้ตามสภาวะความจริง ปรารถนาอยากได้อย่างนั้นอย่างนี้อันเป็นโลภะ
ย่อมจะได้อานิสงส์น้อยและเจือปนกับอกุศลด้วย
การทำบุญอันเนื่องด้วยกามาวจรจิต ไม่ว่าจะพิศดารประการใด
คงไม่พ้นไปจากลักษณะของมหากุศลจิตดวงใดดวงหนึ่ง ในจำนวน ๘ ดวงดังต่อไปนี้ :-

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




apidh004.JPG
apidh004.JPG [ 20.49 KiB | เปิดดู 6531 ครั้ง ]
ผัง: มหากุศลจิต ๘ ; อภิธรรมสังเขป ; หน้า ๓๐

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข.มหาวิบากจิต ๘

คือจิตที่เป็นวิิบากเกิดขึ้นจากการกระทำมหากุศล ให้ผลสำเร็จเป็นปฏิสนธิจิต
ภวังคจิต จุติจิต ตทาลัมพณะ มหาวิบากเป็นผู้แต่งสมบัติในภพ
ไม่ว่าการทำกุศลใด เช่น การทำบุญตักบาตรอันเรียกว่ามหากุศลนั้น
เมื่อกระทำลงไปแล้ว วิบากอันเป็นผลซึ่งเรียกว่า มหาวิบาก ก็ย่อมจะถูกเก็บประทับไว้ในจิต
และสนองผลให้ในกาลต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย เช่นผู้เลี้ยงอาหารแก่สัตว์
ในไม่ช้าผู้เลี้ยงจะเกิดความเมตตากรุณาแก่สัตว์นั้น
นี่ก็เพราะผลของการบุญที่ให้อาหารแก่สัตว์ได้เก็บประทับไว้ในจิตครั้งแล้วครั้งเล่า
เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากมีเมตตากรุณาขึ้นในปัจจุบันชาติ
จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวว่า มหากุศลที่ทำแล้วย่อมให้วิบากเป็นผลเป็นปัจจัย
ให้ไปเกิดในสุคติภูมิ มีมนุษย์และเทวดา มีความสุขสำราญตามโลกีย์วิสัยนั้นเลย
ที่ว่าวิบากให้ผลสำเร็จเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตนั้น หมายความว่า
เมื่อได้กระทำกุศลใดลงไปแล้ว วิบากหรือผลของกุศลกรรมนั้นย่อมเป็นปัจจัยเป็นชนกกรรมนำให้เกิด (ปฏิสนธิ) ในสุคติภูมิ เมื่อปฏิสนธิแล้ว วิบากของกุศลกรรมก็เข้ารักษา (ภวังค์)
แต่งสมบัติความสุขสมบูรณ์ในภพชาตินั้น ให้ดำเนินสืบต่อไปจนถึงจุติคือตาย
มหาวิบากจิต ๘ เป็นวิบากของมหากุศล ๘ มีลักษณะประกอบคือ องค์ธรรมส่วนใหญ่เหมือนกันกับมหากุศลจิต ๘ ที่ำไ้ด้แสดงไว้แล้ว


ค.มหากิริยาจิต ๘

นี้เป็นจิตของพระอรหันต์ หาใช่จิตของปุถุชนไม่
พระอรหันต์เมื่อสำเร็จมรรคผลแล้วยังมิได้ขันธ์ปรินิพพาน
ก็ยังมีความเป็นอยู่กระทำกิจการอย่างบุคคลธรรมดา
ต่างกันแต่ว่าจิตของท่านบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส
การใดที่ท่านกระทำลงไปก็สักแต่เพียงได้ชื่อว่ากระทำเท่านั้น
มิได้ประกอบด้วยความพอใจ หวังในผลอย่างใดแก่ท่านไม่
ท่านกระทำลงไปโดยปราศจากกิเลสและอุปาทาน
จึงไม่มีวิบากคือผลเกิดสนอง เรียกการกระทำนั้นเป็นแต่เพียงกิริยาพระอรหันต์
พ้นแล้ว หรือประหาณอกุศลมูลจิตได้เด็ดขาดแล้ว
การกระทำบาปอกุศลของท่านย่อมไม่มี คงเป็นไปแต่ทางดีทางชอบ จึงเรียกว่ามหากิริยา

มหากิริยาจิต ๘ มีลักษณะประกอบ คือองค์ธรรมส่วนใหญ่เหมือนกันกับมหากุศลจิต ๘
ที่ได้แสดงไว้แล้ว

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 15:24
โพสต์: 179


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกคนต้องมีจิตอย่างนี้หมดหรือป่าว

.....................................................
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณ ผ้่าขี้ริ้ว (เรียกตัวเองแบบนี้...ทำให้คิดถึงท่าน..พระอัครสาวกเบื้องขวา พระสารีบุตร จังค่ะ)

อ้างคำพูด:
จิตมีปรมัตถสภาวะเช่นเดียวกับสภาวธรรมอีก 3 อย่าง
(เจตสิก รูป นิพพาน) คือเป็นธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งสมมุติบัญญัติขึ้น
การรู้ธรรมชาติของจิตที่ถูกต้องแน่นอนได้
ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ฉะนั้นการที่เข้าใจเรื่องของจิตได้ถูกต้อง จึงจำต้องอาศัยการศึกษาจากคำสอน
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก
แต่พระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุขุม
ต้องมีความเพียรจึงจะทำความเข้าใจได้พอประมาณตามอุปนิสัย


เท่าที่เข้าใจนะคะ...ทุกคนมีจิตในลักษณะหนึ่ง ลักษณะใด ที่ปรากฏตามนี้ค่ะ

แต่..บางคนอาจไม่มีจิตบางลักษณะเกิดขึ้นเลยในชาติหนึ่งๆ ก็เป็นได้ คุณผ้าขี้ริ้วว่าไม้คะ


:b9: :b9: :b9:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร