วันเวลาปัจจุบัน 22 เม.ย. 2025, 03:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2025, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




9660891_IMG_captureImage.png
9660891_IMG_captureImage.png [ 701.64 KiB | เปิดดู 1084 ครั้ง ]
เหตุผลที่ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทเช่นนี้

[๕๔๐] ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอย่างนี้ ?
ตอบว่า เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นพระธรรมที่งามโดยรอบ และเพราะความที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงถึงความงามในกระบวนเทศนา.
จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่มีความงามรอบตัว ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อแทง
ตลอดซึ่งพระธรรมที่ถูกต้องอย่างเดียวเพราะเทศนานั้น ๆ.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคผู้ทรงถึงความกระบวนเทศนา เพราะทรงถึงซึ่งพระ
คัมภีรภาพ ๔ ประการ เพราะทรงประกอบด้วยพระเวสารัชขญาณ ๔ และพระปฏิสัมภิทา-"
ญาณ ๔ พระผู้มีพระภาคนั้นย่อมทรงแสดงพระธรรมด้วยนัยต่าง ๆ นั่นเทียว เพราะความ
ที่พระองค์ทรงถึงความงามในกระบวนเทศนา.

อนึ่ง ว่าโดยความแปลกกัน อนุโลมเทศนาของพระผู้มีพระภาคนั้น ตั้งแต่เบื้องต้น
อันใด เทศนาโดยอนุโลมนั้นพึ่งทราบว่า เป็นไปแล้วเพื่อทรงชี้แจงปวัตติ ความหมุนไป และ
เพื่อทรงชี้แจงลำดับแห่งอุปปัตติ การเกิด ด้วยเหตุทั้งหลายอันควรแก่ตนแห่งพระผู้มีพระ
ภาคผู้ทรงพิจารณาเห็นเวไนยชน ผู้ยังหลงพร้อมในการจำแนกเหตุแห่งปวัตติ ความหมุนไป.

ปฏิโลมเทศนา ตั้งแต่เบื้องปลายอันใด ปฏิโลมเทศนานั้นก็พึงทราบว่า เป็นไปแล้ว
แก่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงพิจารถนาเห็นสัตวโลกผู้ถือทุกข์ยาก โดยนัยมีอาทิว่า "สัตวโลกนี้นี้
ต้องทุกข์ยากหนอ เกิดด้วย แก่ด้วย ตายด้วย" ดังนี้ เพื่อทรงขี้แจงถึงเหตุที่พระองค์ทรง
ทราบแห่งทุกข์มีชราและมรณะเป็นต้นนั้น ๆ ตามแนวการตรัสรู้ตอนแรก.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2025, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


เทศนาอันใดเป็นไปตั้งแต่ตอนกลางถึงต้น เทศนานั้นก็พึงทราบว่า เป็นไปเพื่อชี้แจง
ลำดับเหตุและผล ตั้งต้นแต่ข้ามอดีตอัทธาไปจนถึงอดีตอัทธาอีก ตามแนวกำหนดเหตุแห่ง
อาหาร.
ส่วนเทศนาใดเป็นไปแต่ตอนกลางถึงปลาย เทศนานั้นก็พึงทราบว่า เป็นไปเพื่อทรง
ชี้แจงอนาคตอัทธา จำเดิมแต่ความเกิดขึ้นแห่งแห่งของอนาคตอัทธาในการปัจจุบัน.
ในบรรดาเทศนาเหล่านั้น อนุโลมเทศนาอันใดที่ตรัสไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เป็นไปเพื่อทรง
ขี้แจงปวัตติ ความหมุนไป ด้วยเหตุตามควรแก่ตน และเพื่อทรงชี้แจงลำดับการเกิดขึ้นแก่
เวไนยชนผู้ยังเขลาอยู่ในเหตุและปวัตติ ความหมุนไป อนุโลมเทศนานั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
ทรงตั้งไว้ในที่นี่.
[๕๘๓] สองบทว่า ตโต ตโต ความว่า ในบรรดาเทศนาทั้ง ๔ อย่าง เพราะเทศนา
นั้น ๆ. บทว่า ญาโย ในสองบทว่า ญายปฺปฏิเวธาย สํวตฺตติ ดังนี้ ได้แก่ มรรค. อีกอย่าง
หนึ่ง ญายะนั่นแหละชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะพระบาลีว่า อริโย จสฺส ญาโย ปญฺญาย
สุทิฏโจ โหติ แปลว่า ก็ญายธรรมอันประเสริฐย่อมเป็นธรรมอันพระอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
ด้วยปัญญา. จริงอยู่ เหตุว่าตนเองนั่นแล เป็นธรรมที่มีความงามรอบตัว ปฏิจจสมุปบาท
นั้นจึงเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งตนเองด้วยเทศนานั้น ๆ เพราะความเป็นธรรมที่จะพึงแทง
ตลอดโดยประการนั้น ๆ.
คำว่า เพราะทรงถึงซึ่งพระคัมภีรภาพ ๔ ประการ ความว่า เพราะทรงตั้งอยู่ด้วย
การบรรลุความตั้งอยู่ในรรมคัมภีรภาพ อรรถคัมภีรภาพ เทศนาคัมภีรภาพ และปฏิเวธ
คัมภีรภาพ.
ความเป็นธรรมมีความงามรอบตัว และการที่ทรงถึงความงามในกระบวนเทศนา
เป็นเหตุเสมอกันแห่งเทศนาทั้ง ๔ อย่าง เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์ประสงค์จะกล่าวเหตุ
ที่แปลกกัน จึงกล่าวว่า โดยความแปลกกัน ดังนี้.
บทว่า อสฺส พึงประกอบความบาลีว่า อสฺส ภควโต เทสนา คือ อสฺส โยค ภควโต
แปลว่า เทศนาของพระผู้มีพระภาคนั้น, อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบความบาลีว่า อสฺส
ปฏิจฺจสมุปปาทสฺส เทสนา คือ อสฺส โยค ปฏิจฺจสมุปปาทสฺส แปลว่า การแสดงปฏิจฺจ-
สมุปบาทนั้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2025, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑๑๗) จะกล่าวถึง การจำแนกเหตุแห่งปวัตติ ต่อไป ธรรรมทั้งหลายมือวิชชา
เป็นต้นนั่นเทียว มีสภาวะยังไม่ได้จำแนก. อีกอย่างหนึ่ง ภาวะที่ธรรมมีประกฤติเป็นต้น
และธรรมมือวิชชาเป็นต้น ที่ยึดถือกันว่าเป็นเหตุ มิได้เป็นเหตุด้วย เป็นเหตุด้วย. คนบาง
พวกที่ยังเขลาอยู่ในการจำแนกเหตุปวัตตินั้น ย่อมยึดถือเอาสิ่งที่มิใช่เหตุว่าเป็นเหตุ บาง
พวกไม่รู้จักเหตุอะไร ๆ เลย เพราะฉะนั้น เพื่อทรงชี้แจงปวัตติแห่งธรรมมีสังยขารเป็นต้น
อธิบายว่า เพื่อจะทรงชี้แจงความเป็นไปแห่งสังสารวัฏตามเหตุที่สมควรแก่ตน คือที่เหมาะ
สมของธรรมเหล่านั้น. เพื่อจะทรงขี้แจงซึ่งลำดับแห่งความเกิดขึ้นของปวัตติอย่างนี้ว่า
อวิชชาอันเป็นตัวปกปิดโทษแห่งปวัตติเป็นเบื้องต้น, ต่อจากนั้นสังขารจึงเกิดขึ้น ต่อจาก
นั้นวิญญาณจึงเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง อนุโลมเทศนาเป็นไปแล้ว เพื่อทรงชี้แจงลำดับแห่ง
อุปปัตติ ความเกิดของอัตภาพในภพนั้น ๆ ด้วยอ่านาจสัตว์มีสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์เป็นต้นฉะนี้
แล แม้ในข้อเทศนานอกนี้มีความเป็นเทศนาที่มีเนื้อความเป็นอย่างนั้น เทศนานอกนี้นั้นก็
หามีเนื้อความเป็นไปเพื่อเนื้อความนั้นอย่างเดียวไม่ เพราะยังมีเนื้อความอย่างอื่นอยู่. ส่วน
อนุโลมเทศนานี้มีเนื้อความดังนั้นท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความที่อนุโลมเทศนา
นี้ มีเนื้อความดังนั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ปฏิโลมเทศนานี้ได้เป็นไปแล้วเพื่อจะทรง
ขี้แจงเหตุมีชาติเป็นต้น แห่งทุกข์มีชราและมรณะเป็นต้น ที่พระองค์ทรงพบมาโดยการ
ตรัสรู้ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัยนั้น ๆ ตามแนวแห่งการแทงตลอดครั้งแรก กล่าวคือการหยั่ง
รู้ธรรมอันเกิดแต่ปัจจัยนั้น ๆ ซึ่งได้เป็นไปแล้วในตอนแรกแต่การตรัสรู้นั้น. อีกอย่างหนึ่ง
เชื่อมความว่า ปฏิโลมเทศนาได้เป็นไปแล้วแก่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเล็งเห็นอยู่. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคแม้ทรงแสดงธรรมอยู่ ได้ทรงเล็งเห็นสัตวโลกที่ถึงความยากเข็ญ ย่อม
ทรงแสดง เพื่อทรงขี้แจงเหตุของทุกข์มีขราและมรณะเป็นต้นนั้น ๆ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพบ
ตามแนว่ที่ได้ทรงแทงตลอดในตอนแรกแล.
ท่านอาจารย์กล่าวว่า ตั้งต้นแต่ข้ามอดีตอัทธา โดยอธิบายดังนี้ว่า ธรรมมีอาหาร
และตัณหาเป็นต้น เป็นปัจจุบันอัทธา, สังขารและอวิชชา เป็นอดีตอัทธา. อีกอย่างหนึ่ง
อาหารที่ตัณหาพึงให้เกิดก่อน เป็นอนาคตอัทธา, กิเลสมีตัณหาเป็นต้น เป็นปัจจุบันอัทธา,
ลังขารและอวิชชา เป็นอดีตอัทธาแล. ก็การแสดงถึงความสืบต่อแห่งเหตุและผล ย่อม
ควรด้วยอำนาจการแสดงถึงผลโดยประจักษ์แล้ว จึงแสดงตันเหตุแห่งผลนั้น เพราะฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2025, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านจึงกล่าวอาหารซึ่งตัณหาเติมทำให้เกิดขึ้น ว่าเป็นปัจจุบันอัทธา, กิเลสมีตัณหาเป็นต้น
ว่าเป็นอดีตอัทธา, สังขารและอวิชชา ว่าเป็นอดีตอัทธา แม้ยิ่งกว่ากิเลสมีตัณหาเป็นต้นนั้น
เพื่อแสดงว่า สงสารไม่มีเบื้องต้น. คำว่า ตั้งต้นแต่อดีตอัทธา ความว่า จนถึงอดีตอัทธา
ที่ยิ่งกว่า จึงสมควรแล. อีกอย่างหนึ่ง อาหารทั้ง ๔ นำมาซึ่งการบังเกิดในภพใหม่ต่อไป
เพราะผัสสะและเวทนาสัมปยุตกับวิญญาณาหารนั้น และเพราะกพฬิงการาหารเป็นเหตุให้
วิญญาณ ผัสสะ และเจตนานั้นเป็นไป เพราะพระบาลีว่า เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน (วิญญา-
ณาหาร) ถ้าเรากล่าวว่า กลืนกิน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอกลืนกิน
แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระจ้าข้า
วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรหนอ อันนี้เป็นปัญหาที่ควรแก้ ควรจะชี้แจงให้กระจ่างใน
ปัญหานั้นว่า วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป. จริงอยู่ กพฬิงการาหาร
นั้นอุปถัมภ์รูปกายไว้ และเมื่อบุคคลปรารถนากพฬิงการาหารนั้น ก็มีการประมวลมาแห่ง
กัมมวิญญาณ. จริงอยู่ โภชนะท่านกล่าวว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ธรรมมีศรัทธาเป็นต้น
และแก่กิเลสมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น อาหารที่ท่านรวมได้ด้วยกัมมวัฏเหล่านั้น จึงจัด
เป็นปัจจุบันอัทธา เพราะฉะนั้น ในปริยายนี้ เนื้อความข้างต้นนั้นนั่นแหละสมควรแล้ว.

อธิบายว่า เทศนานี้นั้น เป็นไปแล้วตั้งแต่อดีตอัทธา คือ ในอดีต โดยนัยมีอาทิว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ดังนี้แล และลำดับผลแห่งเหตุต่อ
จากอดีตนั้น เพื่อจะทรงชี้แจงลำดับแห่งเหตุและผลนั้นแก่ผู้ที่เว้นจากการสาวขึ้นไป โดย
การแสดงหตุแห่งอาหารอันเป็นตัวประจักษ์ แล้วย้อนกลับมาก็จะไม่รู้. คำว่า จำเดิมแต่
ความเกิดขึ้นแห่งเหตุของอนาคตได้แก่ จำเดิมแต่ควานเกิดขึ้นของธรรมอันเป็นเหตของ
ภพที่ยังไม่มาถึง. คำว่า เพื่อทรงชี้แจงอนาคตอัทธา ความว่า เพื่อทรงแสดงเหตุอันประ-
จักษ์ คือเฉพาะหน้าแห่งอนาคตอัทธาแก่ผู้ที่ได้แทงตลอด ผู้ไม่เห็นอยู่ แล้วขี้แจงอนาคต-
อัทธานั้นโดยความสืบต่อแห่งเหตุและผล.

ก็ในอธิการนี้ เทศนาเป็นไปจำเดิมแต่ต้นจนถึงปลาย และจำเดิมแต่ปลายไปจนถึง
ต้น ก็มีองค์ ๑๒ เพราะเหตุนั้นแหละ จึงมีสนธิ ๓ สังเขป ๔. เทศนาที่เป็นไปจำเดิมแต่
กลางไปจนถึงต้น ก็มีองค์ ๔ มีสนธิ ๒ มีสังเขป ๓. ส่วนเทศนาที่เป็นไปจำเดิมแต่ตอน
กลางไปจนถึงปลาย มีองค์ ๖ มีสนธิ ๒ มีสังเขป ๓. เทศนาที่เป็นไปจำเดิมแต่ตอนกลาง
จนถึงปลาย โดยนัยมีอาทิว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลตามเห็นคุณในธรรมทั้งหลายอัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2025, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญทั่ว เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ดังนี้
ก็มีสนธิ ๑ มีสังเขป ๒. ปฏิจจสมุปปปาทเทศนาซึ่งมีองค์มากนี้ ได้มีมาแล้วด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ปฏิจจสมุปปาทเทศนาแม้เนื่องด้วยองค์อันเดียว ก็ย่อมได้เหมือนกัน. เหมือนอย่างที่
ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมใส่ใจด้วยดีโดยแยบ-
คายถึงปฏิจจสมุปบาท ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะหตุดังนี้
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันปัจจัยแห่ง
สุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา.
ก็ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสปฏิจจสมุปบาทเพียงเท่านั้นเองว่า เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น จึงทำให้เข้าใจว่า ปฏิจจสมุปบาทมีองค์เดียว.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ความว่า เมื่อสิ่งนี้ คือเมื่อปัจจัยมี
สิ่งนี้คือผลมีสังขารเป็นต้นจึงมี. คำว่า เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ความว่า เพราะ
สิ่งนี้คือปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น สิ่งนี้คือผลมีสังขารเป็นต้นจึงเกิดขึ้น คำว่า เมื่อสิ่ง
นี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ความว่า ด้วยการตรัสถึงความไม่มีแห่ง
สังขารเป็นต้น ในเมื่อไม่มีอวิชชาเป็นต้น และความดับแห่งสังขารเป็นต้น เพราะอวิชชา
เป็นต้นดับไป ย่อมเป็นอันแสดงความแน่นอนในลักษณะแห่งปัจจัยแรกว่า เมื่อสิ่งนี้มีอยู่
เท่านั้น ไม่ใช่ไม่มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เพราะดับ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ลักษณะนี้มี
ความแน่นอนหยั่งลงภายใน พึงเห็นว่า ตรัสไว้สำหรับปฏิจจสมุปปาทธรรมในที่นี้.
ก็คำว่า ดับ ได้แก่ ความไม่เกิดต่อไป คือความไม่เป็นไป เพราะอวิชขาเป็นต้น ถึง
ความสำรอกไป. สมจริงดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้มีอาทิว่า อวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิ-
โรธา เพราะอวิชชานั่นเองดับไป ด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ. ก็ความเกิดขึ้นเป็นข้าศึก
ต่อความดับ ซึ่งเป็นเหตุตรัสเรียกความดับนั้นด้วยภาวะว่า เป็นข้าศึกต่อความเกิดขึ้น ว่า
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า ความไม่
ดับ ชื่อว่า ความเกิดขึ้น, ก็ในอธิการนี้ ความไม่ดับนั้น ท่านเรียกว่า อัตถิภาวะ ดังนี้ก็มี.
จริงอยู่ ลักษณะนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีเท่านั้น ย่อมเป็นคำที่ผู้อื่นกล่าวอยู่ว่า เพราะสิ่ง
นี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น โดยปริยายอื่นทำลักษณะแรกให้ต่างออกไป เพราะฉะนั้น พระ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2025, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อสิ่งนี้มี ดังนี้ ทรงหมายถึงการที่กำลังทรงอยู่เท่านั้นก็หามิได้.
โดยที่แท้ย่อมทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นภาวะที่มิได้ดับด้วยมรรค. อนึ่ง เพราะพระผู้มีพระภาค
แสดงคำขยายของความดับ ซึ่งมีลักษณะดังที่ได้ทรงยกขึ้นแสดงไว้ ๒
ปะการ
ว่าเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ดังนี้ ได้ตรัสถึงความดับ
ด้วยพระดำรัสว่า เพราะอวิชชานั่นเองดับไป ด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะฉะนั้น แม้นัตถิภาวะก็เป็นความดับนั่นเอง เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงไว้ว่า
อัตถิการะซึ่งผิดไปจากนัตถิภาวะ ก็ไม่เป็นความดับ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีภาคจึงทรง
ทำความเกิดขึ้นให้ต่างออกไปด้วยอัตถิภาวะ กล่าวคือความไม่ดับ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
อธิบายความข้อนี้ไว้ว่า ท่านประสงค์เอาว่า เพียงแต่การได้อัตตาเป็นความเกิดขึ้นในที่นี้
ก็หามิได้ โดยที่แท้ท่านประสงค์เอาอัตถิภาวะ กล่าวคือความไม่ดับไว้ด้วย เพราะฉะนั้น
การกล่าวลักษณะทั้งสองนี้ไว้ว่า พึงทราบว่า มีประโยชน์ ด้วยความเป็นคำที่ทำให้ต่างกัน
และข้อที่พึงทำให้ต่างกันของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็ที่ชื่อว่า อนิโรธะ ความไม่ดับ ซึ่งเรียกว่า อัตถิภาวะ ความมีอยู่ และเรียก
ว่า อุปปาทะ ความเกิดขึ้นนี้ เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า ได้แก่ ภาวะที่ยังละไม่ได้ และกิริยาที่ไม่อาจให้เกิดผล ด้วยภาวะที่มีผลยัง
ไม่บังเกิด และภาวะที่ควรแก่ความเป็นธรรมที่ยังละไม่ได้. ภาวะที่อกุศลธธรรมที่อันธรรม
เหล่านั้นจะพึงละเหล่านั้น ยังไม่ถูกอริยมรรคเพิกถอนขึ้น. อนึ่ง กุศลธรรมและอัพยากต-
ธรรมเหล่าใดที่ไม่ใช่เป็นธรรมอันมรรคจะพึงละ สังโยชน์ในกุศลธรรมและอัพยากตธรรม
เหล่านั้นเหล่าใด ของท่านที่มีอาสวะยังไม่สิ้นไป, ความที่สังโยชน์เหล่านั้นยังไม่หมดสิ้นไป
ด้วย. ก็ความเป็นไปแห่งขันธ์พร้อมทั้งสังโยชน์ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะความเป็น
ธรรมอันมีอนุสัยยังไม่ถูกเพิกถอนไป. ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายนี้ของคนพาลผู้ถูกอวิชชาใดปกปิดไว้ และผู้ประ-
กอบด้วยตัณหาใดเกิดขึ้น อวิชชานั้นคนพาลก็ยังละไม่ได้ และตัณหานั้นก็ยังไม่สิ้น
ไปด้วย. ข้อนั้นพราะเหตุไร ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ. เพราะฉะนั้น คนพาลเมื่อกายแตกไป
จึงเป็นผู้เข้าถึงกาย คนพาลนั้นเมื่อเข้าถึงกาย จึงไม่หลุดพันจากชาติ ชรา และ
มรณะ ดังนี้เป็นต้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2025, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง อวิชชาของท่านผู้มีสังโยชน์สิ้นแล้วไม่มี สังขาร ตัณหาและอุปาทาน ก็ไม่มี
ฉะนั้น อุปาทานและภพจึงไม่เกิด เพราะหมั้น การเข้าไปตัดวัฏฏะจึงปรากฏ ด้วยเหตุ
นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์ มีอาทิว่า

ดูกรผัคคุณะ เพราะสฬายตนะทั้ง ๖ นั่นแหละดับไป โดยสำรอกไม่เหลือ
ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ.

ก็ต่อจากการบรรลุมรรคอันเลิศไปจนถึงปรินิพพาน ธรรมทั้งหลายมีสฬายตนะ
เป็นต้น จะไม่เป็นไปก็หามิได้ โดยที่แท้ท่านก็เรียกว่า นิโรธ เพราะเป็นความไม่มี เป็นความ
ที่จะพึงกล่าวได้ด้วย นิโรธ ศัพท์ เป็นความที่ชื่อว่า มีสังโยชน์สิ้นแล้ว. อีกประการหนึ่ง
แม้กรรมที่ได้กระทำไว้นานแล้ว ก็ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่นั่นเอง ควรแก่การมีผล
เพราะเป็นกรรมที่ยังมิได้ทำผลให้บังเกิด และเพราะความเป็นกรรมที่อาจชื่อว่า ยังละไม่ได้
จะเป็นธรรมชาติมีผลบังเกิดแล้วก็หามิได้ ทั้งจะเป็นธรรมชาติควรแก่ความเป็นธรรมที่ละ
ได้แล้วก็หามิได้ เพราะฉะนั้น พึงทราบความที่ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาและสังขารเป็นต้น
ซึ่งเป็นปัจจัยแก่การบังเกิดขึ้นแห่งผล เป็นธรรมที่ควรแก่การมีผลตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว
จึงชื่อว่า อนิโรธ แปลว่า ความไม่ดับ. ก็ผลจะไม่มีโดยเว้นจากเหตุใด ด้วยภาวะที่เป็นเหตุ
ยังไม่ดับนั่นเองอย่างนี้ เหตุนั้นที่เป็นอดีดเป็นกันก็มี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ด้วยคำนี้
ว่า อิมสฺมิํ สติ แปลว่า เมื่อสิ่งนี้มี ก็เพราะหตุนั้นนั่นเอง ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยที่ยังไม่
ถึงธรรมดา คือความไม่เป็นไปของบุคคลผู้ยังมิได้อยู่จบพรหมจรรย์ พระผู้มีพระภาคจึง
มิได้ระบุถึงความต่างแห่งกาล ตรัสไว้ว่า อิมสฺสุปฺปาทา แปลว่า เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น ดังนี้
เพราะความเป็นสภาพไม่หมุนกลับนั่นเอง.

อีกนัยหนึ่ง ความที่ธรรมแม้ยังไม่มีในเมื่อความประชุมแห่งปัจจัยที่เหลือลงก็เหมือน
มีอยู่ จะปวยกล่าวไปไยถึงธรรมที่มีอยู่เล่า เป็นธรรมที่เผชิญหน้าต่อความเกิดขึ้นแห่งผล
อันใด, ความเป็นธรรมที่เผชิญหน้าต่อความเกิดขึ้นแห่งผลนั้น ตรัสเรียกว่า อิมสฺสุปฺปาทา
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น. เพราะในเวลานั้น ผลย่อมเกิดแต่เหตุนั้น เพราะฉะนั้น เหตุอันเป็นที่
ตั้งลงแห่งผลนั้นที่ปรากฏโดยภาวะ คือการยังผลให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นเหตุชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว
เหตุแม้มีอยู่ แต่มิได้เป็นที่ตั้งลงแห่งผลนั้น หาชื่อว่าเป็นหตุที่เกิดขึ้นแล้วไม่ เพราะฉะนั้น
ความเป็นธรรมชาติเป็นที่ตั้งลงแห่งผลนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อุปปาทะ แปลว่า ความเกิดขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2025, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สติ นี้ พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสถึงความเป็นปัจจัย
ด้วยอาการสักว่า ความเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ ย่อมทรงแสดงถึงความที่ปฏิจจสมุปบาทเป็น
ธรรมที่ไม่มีความขวนขวาย. ด้วยบทว่า อุปฺปาทา นี้ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงแสดงความ
เป็นธรรมที่มีความเกิดขึ้นเป็นรรมมตา ความเป็นธรรมที่นี่เช่นในกาลทั้งปวง และความ
เป็นธรรมที่เผชิญหน้าต่อความเกิดขึ้นแห่งผล ย่อมแสดงถึงความที่ปฏิจจสมุปบาท เป็น
ธรรมไม่เที่ยง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงความที่ปฏิจสมุปบาท เป็นธรรมที่มี
ชาติซึ่งมีต้นเหตุเป็นสมุทัยเป็นแดนเกิดก่อน ซึ่งทำให้เข้าใจด้วยสัตตมีวิภัตติ และปัญจมี.
วิภัตติ อันมีความหมายว่า เป็นเหตุ ว่า สติ น อสติ, อุปปาทา น นิโรธา. เมื่อมี ไม่ไช่เมื่อ
ไม่มี, เพราะเกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะดับ.
ก็ในอธิการนี้ ความที่มีความหมายว่า เป็นเหตุ ได้แก่ ภาวะแห่งผลที่จะพึงมิได้โดย
ไม่เว้นไปจากเหตุนั้น ท่านย่อมกำหนดได้ด้วยภาวะของธรรมใดในสัตตมีวิภัตติ, พึงทราบได้
ด้วยความเป็นไปในธรรมนั้น. เหมือนอย่างคำว่า อธนานํ ธเน อนนุปฺปทิยมาเน ทาลิทฺทิยํ
เวปุลฺลมคมาสิ แปลว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชทานทรัพย์ แก่คนที่ยังไม่มีทรัพย์
ความขัดสนก็แผ่ออกไป และว่า นิปฺผนฺเน สสฺเส สุภิกฺขํ ชายติ แปลว่า เมื่อข้าวกล้าสำเร็จ
แล้ว สถานที่มีภิกษาหาได้ง่ายก็เกิดขึ้น.

ความที่แม้ปัญจมีวิภัตติมีอรรถว่า เหตุ ก็ในเพราะแดนเกิดแห่งผล และในเพราะ
ความเป็นปรกติ เหมือนอย่างคำว่า กลลา โหติ อพฺพุทํ, อพฺพุทา ขายเต เปสิ แปลว่า
ต่อจากกลละก็เป็นอัพพุทะ, ต่อจากอัพพุทะก็เกิดเป็นเปสิ และคำว่า หิมวตา คงคา ปภวติ,
สิงฺคโต สโร ชายติ แปลว่า แม่น้ำคงคาย่อมเกิดจากภูเขาหิมพานต์, เสียงย่อมกิดจาก
เขาสัตว์. ก็ด้วยความเป็นธรรมมีอวิชชาเป็นต้น ท่านจึงกำหนดความเป็นธรรมมีสังขาร
เป็นต้น ซึ่งจะมีได้โดยไม่เว้นไปจากอวิชชาเป็นต้นนั้น และเพราะธรรมทั้งหลายมีอวิชชา
เป็นต้น จึงเกิดมีธรรมทั้งหลายมีสังขารเป็นต้น และปรุงแต่งต่อไปด้วย เพราะฉะนั้น จึง
เป็นแดนเกิดก่อน และเป็นปรกติของธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความหมาย
ของธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงกระทำนิทเทสเป็นสันสัตตมีวิภัตติและปัญจมีวิภัตติ
ซึ่งมีความหมายว่า "เหตุ" ว่า อิมสุมิํ สติ อิมสฺสุปปาทา เมื่อมีสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น.
ก็เพราะในอธิการนี้ ปฏิจจสมุปบาทที่ทรงยกขึ้นแสดงโดยสังเขปว่า อิมสุมิํ สติ
อิทํ โหติ, อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2025, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ขึ้น ดังนี้ มีนิทเทสเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
ฉะนั้น อัตถิภาวะ คือความมีอยู่ และอุปปาทะ คือความเกิดขึ้น ตามที่กล่าวแล้ว ย่อมทำ
ให้เข้าใจได้ว่า ความเป็นปัจจัยของธรรมที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ๆ. เพราะละอัตถิภาวะ กล่าว
คือความไม่ดับ และอุปปาทะ กล่าวคือความเป็นสภาวะที่ไม่กลับ หรือกล่าวคือสภาวะที่
กำหนดเอาด้วยความเกิดขึ้น ซึ่งประกาศไว้ด้วยคำที่มีความกำหนดหยั่งลงภายในว่า เมื่อมี
เท่านั้น ไม่ใช่เมื่อไม่มี เพราะความเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่เพราะความดับ ขึ้นชื่อว่าความเป็น
ปัจจัยอย่างอื่นจะมีอยู่ก็หามิได้ เพราะฉะนั้น อัตถิภาวะและอุปปาทะตามที่กล่าวแล้ว พึง
ทราบว่า ความเป็นปัจจัย. เพราะปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ที่มาแล้วในคัมภีร์ปัฏฐาน
แม้เหล่าใด ปัจจัยแม้เหล่านั้นพึงทราบว่า เป็นความต่างแห่งความเป็นปัจจัยนี้นั่นเอง.

อนึ่ง ความหมายว่า เหตุ ที่ท่านประกาศไว้แล้วโดยคำปริยายมีอาทิว่า มูล ว่า เหตุ
ว่า นิทาน ว่า สัมภวะ และว่า ปภวะ และด้วยคำปริยายมีอาทิว่า อุปฺปาทฏฺฐืติ ความตั้ง
อยู่แห่งความเกิดขึ้น ปวตฺตฏฐิติ ความตั้งอยู่แห่งความเป็นไป นิมิตฺตฏฺฐิติ ความตั้งอยู่
แห่งนิมิต อายูหนฏฐิติ ความตั้งอยู่แห่งความประมวลมา สงฺโยคฏฺฐิติ ความตั้งอยู่แห่ง
ความประกอบไว้ ปลิโพธฏฺฐิติ ความตั้งอยู่แห่งความกังวล นี้ใด ความหมายว่า เหตุ แม้
นั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า หยังลงในภายใน ในอธิการนี้เหมือนกัน.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร