วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ย. 2024, 16:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2024, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1725254608405-removebg-preview.png
ei_1725254608405-removebg-preview.png [ 304.41 KiB | เปิดดู 542 ครั้ง ]
การรู้ที่ประจักษ์แจ้งกับสุตะ"สิ่งที่ตนได้เคยเล่าเรียนมา"

ขึ้นชื่อว่าปุถุชนทั้งหลายสามารถที่จะรู้ประจักษ์แจ้งรูปนามฝ่ายกามาวจรได้
ทั้งนี้เพราะว่า สภาวะเหล่านั้นปรากฎเกิดขึ้นในขันธสันดานของตนโดยตรง และ
เพราะว่าเป็นสภาวธรรมที่ปรากฎในทวารทั้งหก จึงสามารถรู้ได้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
แม้ด้วยการเจริญภาวนา แต่สำหรับบุคคลผู้เป็นฌานลาภีหรือผู้ที่ได้ฌานแล้วย่อม
สามารถรู้ประจักษ์แจ้งมหัคคตธรรมทั้งหลาย ก็ในตอนที่รู้ประจักษ์แจ้งอย่างนั้น
ย่อมสามารถรู้ตามความเป็นจริง เช่น รู้ว่า ปฐวี จิต ผัสสะ เป็นต้นตามที่คัมภีร์ได้
แนะนำไว้นั้นมีสภาวะเช่นนี้ๆและตามที่เป็นจริงซึ่งอาศัยสุตะที่ตนได้ยินได้ฟังมา
เช่น ปฐวี จิต ผัสสะ เป็นต้นที่พระธรรมกถึกได้เคยแสดงให้เราฟังนั้น แท้จริงแล้ว
มีสภาวะเช่นนี้ๆนั่นเทียว อุปมาเหมือนกับผู้ที่ไม่เคยรับประทานองุ่น ตอนแรกก็ยัง
ไม่รู้รสชาติองุ่นตามความเป็นจริง แม้จะได้รับข้อมูลจากบุคคลอื่นเล่าให้ฟังมาแล้ว
ก็ตาม แต่เมื่อใดที่บุคคลนั้นได้รับประทานด้วยตนเองแล้ว ก็จะสามารถรู้รสของ
องุ่นว่ามีรสชาติเช่นไร ตรงกับที่บุคคลอื่นอธิบายไว้เช่นไร อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
ก็ในเรืองนี้ บุคคลคิดว่า ปุถุชนทั้งหลายไม่สามารถรู้แจ้งเฉพาะโลกุตตธรรมเท่านั้น
ส่วนโลกิยธรรมทั้งหมดสามารที่จะรู้แจ้งได้" ความจริงแล้ว ไม่ควรที่จะคิดเช่นนั้น
การอุปมาด้วยผลองุ่นนี้ ก็เพื่อที่จะให้เป็นชัอคิด โดยมีให้เกิดความคิดที่กล่าวมา
แล้วนั่นเอง ผู้ที่ตาบอดมาแต่กำเนิดนั้นไม่สามารถที่จะรู้รูปารมณ์ได้ตามความเป็นจริง
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น

พระอนุฎีกาจารย์ท่านประสงค์ให้รู้ว่า บุคคลไม่สามารถขี้แจงให้รู้สภาวะ
ลักษณะของรูปนามได้ตรงตามความเป็นจริงแก่ผู้ที่ไม่เคยรู้รูปนามเหล่านั้น ดังนั้น
ท่านจึงได้ใช้คำว่า ธมฺมานํ อนิทฺทิสิตพฺพสภาโว "รูปนามมีสภาวะที่ไม่สามารถอธิบาย
บอกกล่าวต่อๆ" ได้นั่นเอง หมายความว่า สภาวะลักษณะของรูปนามทั้ง
ที่แท้จริงไม่สามารถที่จะสื่อให้รู้ได้อย่างลึกซึ้งด้วยการอธิบาย บอกกล่าวหรือสอน
แต่บุคคลสามารถรู้สภาวะลักษณะของรูปนามเหล่านั้นอย่างประจักษ์ลึกซึ้งได้ก็ต่อเมื่อ
สามารถรู้ได้ด้วยญาณที่ประจักษ์แจ้ง ก็สภาวะที่โยคีรู้ประจักษ์แจ้งด้วยญาณ
ตนเองนั้น ท่านเรียกว่าปรมัตถธรรมอย่างแท้จริง เรื่องนี้มีความลึกซึ้งอย่างยิ่ง โยคี
พึงศึกษาพิจารณาเนืองๆด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ

วจนัตถะหรือการให้คำจำกัดความที่มาในคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีที่ว่า ปรโม
อุตฺตโม อวิปริโต อตฺโถ. นั้นเป็นวจนัตถะที่กล่าวสอดคล้องกับพระบาลีกถาวัตถุ
อรรถกถาและฎีกากถาวัตถุนั้นด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร