วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 03:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2023, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d114cc041e8f9437e0946063437241db.png
d114cc041e8f9437e0946063437241db.png [ 195.44 KiB | เปิดดู 961 ครั้ง ]
ถามว่า ถ้าสุขทุกข์เป็นต้นนั้นถูกละได้ในอุปจารขณะของฌานนั้นๆ เมื่อเป็น
เช่นนี้ เหตุใดจึงตรัสความดับ [ของสุขทุกข์]เป็นต้นในฌาน (มีใช่ในอุปจารขณะ)อย่างนี้ว่า

กตฺถ จุปฺปนฺนํ ทุกฺขินฺทริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ
ฯเปฯ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. เอตฺถุปฺปนฺนํ ทุกฺขินฺทฺริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ. กตฺถ
จุปฺปนฺนํ โทมนสฺสินฺทฺรืยํ ฯลฯ สุขินฺทฺริยํ ฯลฯ โสมนสฺสินฺทฺริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ. อิธ ภิกฺขเว
ภิกฺขุ สุขสฺส จ ปหานา ฯเปฯ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. เอตฺถูปฺปนฺนํ โสมฺนสฺสินฺทฺริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ.

๑. ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว(ตามปัจจัยของตน)ดับไปโดยสิ้นเชิงในฌานไหน ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศธรรมแล้ว เช้าถึงปฐมฌานอยู่ ประกอบ
ด้วยวิตกและวิจาร มีปิติและสุขเกิดจากความสงัด ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปโดยสิ้นเชิง
ในปฐมฌานนี้
๒. โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
๓. สุขืนทรีย์ ฯลฯ
๔.โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้ว(ตามปัจจัยของตน)ดับไปโดยสิ้นเชิงในฌานไหน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีสุขทุกข์อยู่ มีสติผ่องแผ้วอัน
อุเบกขาทำให้เกิดขึ้น เพราะละสุขทุกข์ และเพราะดับโสมนัสโทมนัสได้ก่อน โสมนัสสินทรีย์
ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปโดยสิ้นเชิงในจตุตถฌานนี้-

ตอบว่า : เพราะดับสนิท(ในฌานเหล่านั้น] กล่าวคือ ความดับสนิทของสุข
ของทุกข์เป็นตันนั้นมีอยู่ในปฐมฌานเป็นตัน มิใช่ความดับผิวเผิน แต่ความดับในอุปจารขณะ
เป็นความดับผิวเผิน มิใช่ความดับสนิท

ละทุกข์ได้สนิทในปฐมฌาน

กล่าวโดยละเอียดว่า ทุกขินทรีย์ที่ดับไปในอุปจารขณะของปฐมณานที่มีอาวัชชน-
จิตแตกต่างกัน(จากฌานวิถี) อาจเกิดขึ้นได้เพราะสัมผัสของเหลือบยุงเป็นต้น หรือเพราะ
ความลำบากเกิดจากการนั่งผิดท่า แต่ไม่เกิดขึ้นภายในอัปปนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2023, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความว่า "ในอุปจารขณะของปฐมฌานที่มีอาวัชชนจิตแตกต่างกันจากฌานวิถี
หมายถึง อุปจารสมาธิที่เกิดขึ้นข้างหน้าฌานวิถี เพราะอาวัชชนจิตของอุปจารสมาธินั้นต่าง
จากอาวัชชนจิตของฌานวิถี

ข้อความว่า หรือเพราะความลำบากเกิดจากการนั่งผิดทำ แสดงความหมายโดยอ้อม
ว่า ถ้าผู้บรรลุปฐมฌานนั่งถูกทำด้วยอิริยาบถที่เหมาะสม ทุกขเวทนาก็ไม่เกิดขึ้นเพราะสัมผัส
ที่ไม่น่าชอบใจภายในร่างกาย

อีกอย่างหนึ่ง แม้ทุกขินทรีย์นี้จะดับไปในอุปจารขณะก็ไม่ดับสนิท เพราะยังมิไห้
ถูกปฏิปักษ์(คือฌาน)กำจัด แต่ทุกขินทรีย์ของผู้มีสุขแผ่ไปในสรีระทุกส่วนด้วยปิติที่แผ่ไป
ภายในอัปปนาย่อมดับสนิท เพราะถูกปฏิปักษ์กำจัดได้

ละโทมนัสได้สนิทในทุติยฌาน

นอกจากนั้น แม้โทมนัสสินทรีย์จะถูกละได้ในอุปจารขณะของทุติยฌานที่มี
อาวัชชนจิตต่างกัน(จากฌาน]ก็อาจเกิดขึ้นเพราะความลำบากกายและใจอันมีวิตกและ
วิจารเป็นเหตุเกิด แต่เมื่อไม่มีวิตกและวิจารก็จะไม่เกิดขึ้น อนึ่ง โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น
ในอุปจารขณะของฌานใด ย่อมเกิดขึ้นในอุปจารขณะของฌานนั้นเพราะมีวิตกและวิจาร
อีกทั้งวิตกและวิจารยังมิได้ถูกละในอุปจารขณะของทุติยฌาน ดังนั้น โทมนัสสินทรีย์จึง
เกิดขึ้นในอุปจารขณะของทุติยฌาน แต่ไม่เกิดขึ้นในทุติยฌาน เพราะละเหตุเกิด[คือวิตก
และวิจาร)ได้แล้ว

วิสุทธิมรรคมหาฎีกาㆍㆍ กล่าวถึงความเห็นของบางอาจารย์แล้วคัดค้านไว้ สรุป
ความได้ดังต่อไปนี้
บางอาจารย์กล่าวว่า พระอรรถกถาจารย์ที่กล่าวว่า ตตฺถสฺส สิยา อุปฺปตฺติ
ล(โทมนัสสินทรีย์จึงเกิดขึ้นในอุปจารขณะของทุติยฌาน) แสดงว่าแม้ผู้ใด้บรรลุฌานก็เกิด
โทมนัสได้ จึงแสดงว่าแม้โทสะที่ไม่มีสภาวะเป็นนิวรณ์ก็มีใด้เหมือนโลภะที่ไม่มีสภาวะเป็น
นิวรณ์ เพราะโทมนัสไม่เกิดขึ้นโดยปราศจากโทสะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2023, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ความเห็นของบางอาจารย์นั้นไม่ถูก เพราะชัดแย้งกับพระบาลีในคัมภีร์ปัฏฐาน
จะเห็นได้ว่า ในคัมภีร์ปัฏฐานได้แสดงถึงโทมนัสที่เกิดขึ้นปรารภฌานที่เสื่อมแล้วเป็นอารมณ์
เพราะไม่มีไทมนัสที่เกิดขึ้นปรารภฌานที่ยังไม่เสื่อมเป็นอารมณ์

๓. บางอาจารย์กล่าวว่า ไม่อาจกล่าวว่าผู้ได้บรรลุฌานไม่เกิดโทมนัสโดยสิ้นเชิง
เพราะโทมนัสอาจเกิดขึ้นได้แแก่ผู้เข้าสมาบัติ ๘ ดังเช่นกาฬเทวิลดาบส (อสิตดาบส)
เกิดโทมนัสเสียใจเมื่อดำริว่าตนไม่อาจอยู่พบกับพระพุทธเจ้าได้ และท่านก็ยังมิได้เสื่อม จากฌาน

๔. ความเห็นของบางอาจารย์นั้นไม่ถูก เพราะไม่มีโทสะที่ไม่มีสภาวะเป็นนิวรณ์
ถ้ามีไทสะเช่นนั้น แม้รูปพรหมและอรูปพรหมก็อาจเกิดโทสะได้ แต่มิใด้เกิดเลย จะเห็นได้ว่า
ในคัมภีร์ปัฏฐาน มิใด้กล่าวถึงพยาปาทนิวรณ์และกุกกุจจนิวรณ์ในพระดำรัสว่า อรูเป
กามจฺฉนฺทนีวรณํ ปฏิจฺจ ถีนมิทฺธนีวรณํ อุทฺธจฺจนีวรณํ อวิซฺชานีวรณํ ( (ถีนมิทธนิวรณํ
อุทธัจจนิวรณ์ และอวิชชานิวรณ์ เกิดขึ้นอาศัยกามฉันทนิวรณ์ในอรูปภูมิ) และไม่มีการ
หลีกเลี่ยงคำตอบในเรื่องนี้เพราะโทสะเป็นนิวรณ์แน่นอน เนื่องจากตรัสถามฉันทะเป็นต้นที่
มีใช่นิวรณ์ว่าเป็นนิวรณ์โดยอ้อมโดยคล้ายกับนิวรณ์

๕. คำของบางอาจารย์ที่กล่าวว่า "เพราะโทมนัสอาจเกิดขึ้นได้แม้แก่ผู้บรรลุ
สมาบัติ ๘" ก็ไม่สมควร เพราะบุคคลเสื่อมจากฌานต้วยโทมนัสที่เกิดขึ้น แต่สามารถทำให้
ฌานที่เสื่อมไปแล้วกลับเป็นปกติได้ง่ายด้วยเหตุปัจจัยเล็กน้อย

๖. คำว่า ตตฺถสฺส สิยา อุปฺปตฺติ (โทมนัสสินทรีย์จึงเกิดขึ้นในอุปจารขณะของ
ทุติยฌาน) เป็นคำคาดคะเนเพื่อแสดงว่าโทมนัสยังถูกละไม่ได้ในอุปจารขณะ ดังที่จะกล่าวต่อ
ไปว่า น เตฺวว อนฺโตอปฺปนายํ (แต่ไม่เกิดขึ้นภายในอัปปนา) แต่ถ้าโทมนัสเกิดขึ้นจริงใน
อุปจารขณะ แม้ปฐมฌานก็ต้องเสื่อมไป

สรุปความว่า คำว่า ตตฺถสฺส สิยา อุปฺปตฺติ (โทมนัสสินทรีย์จึงเกิดขึ้นในอุปจารขณ
ของทุติยฌาน) เป็นเพียงคำคาดคะเน มิได้เป็นคำกล่าวโดยตรง อีกทั้งกามฉันทะ ถิ่นมิทธะ
อุทธัจจะ และอวิชชาที่ไม่มีสภาวะเป็นนิวรณ์ย่อมมีได้ แต่ไม่มีพยาปาทะหรือโทละที่ไม่มีสภาวะ
เป็นนิวรณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2023, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ละสุขได้สนิทในตติยฌาน

นอกจากนั้น แม้สุขินทรีย์จะถูกละได้ในอุปจารขณะของตติยฌาน ก็อาจเกิดขึ้น
แก่ผู้มีสรีระแผ่ซ่านไปด้วยรูปประณีตอันกิดจากบีติ แต่ไม่เกิดขึ้นในตติยฌาน เพราะปิติ
อันเป็นเหตุเกิดของสุข(ทางกาย)ดับไปโดยสิ้นเชิงในตติยฌาน

ข้อความว่า"ผู้มีสระแผ่ซ่านไบด้วยรูปประณีตอันเกิดจากปิติ] แสดงโดยอ้อมว่า
สุขทางกายไม่อาจเกิดขึ้นเพราะการแผ่ซ่านของของรูปอื่นจากรูปที่เกิดจากปิติ

ละโสมนัสได้สนิทในจตุตถฌาน

นอกจากนั้น แม้โสมนัสสินทรีย์จะถูกละได้ในอุปจารขณะของจตุตถฌาน ก็อาจ
เกิดขึ้นได้เพราะใกล้[ต่อสุข] และเพราะยังไม่ล่วงพ้นดีเนื่องจากไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา
แต่ไม่เกิดขึ้นในจตุตถฌาน ดังนั้นจึงตรัสบทว่า อปริเสสํ (โดยสิ้นเชิง) ไว้ในฌานนั้นๆ
ว่า เอตฺถุปฺปนฺน ทุกขินทริยํ อปริเสสํ นิรุชฺฌติ (ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปโดยสิ้นเชิง
ในปฐมฌานนี้) เป็นต้น

ท่านจะแสดงเนื้อความนี้ว่า องค์สำหรับละที่ถูกละได้ในอุปจารขณะที่มีอาวัชชนะ
ต่างกัน ก็อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างๆ เพราะยังไมถูกปฏิปักษ์กำจัด จึงกล่าวว่า อปฺปนาปฺ-
ปตฺตาย (และเพราะยังไม่ล่วงพันดีเนื่องจากไม่มีอุเบกขาที่ถึงอัปปนา) เป็นต้น"

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชวนวาระ ๒ หรือ ๓ วิถีข้างหน้าอัปปนาวาระในจตุตถ-
ฌานนี้เกิดร่วมกับอุเบกขาได้ เหมือนชวนวาระ ๒ หรือ ๓ วิถีข้างหน้ามรรควิถีที่มีสภาวะ
หยั่งเห็นเหมือนกัน(โดยลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือไม่ไช่ตัวตน]เพราะการปรารถนาการ
เสพคุ้นเช่นนั้น

วิสุทธิมมรค เล่ม ๒ น./๑๘๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2023, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อนี้หมายความว่า ชวนจิตที่เป็นบริกรรม อุปจาระ อนุโลม และโคตรภู ที่เป็น
อา เสวนปัจจัยแก่จตุตถฌานในอัปปนาริถี ต้องเกิดร่วมกับอุเบกขาแน่นอน ดังนั้น ชวนจิต
ที่เกิดรวมกับอุเบกขาจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ ๒ หรือ ๓ วิถีข้างหน้าอับปนาวิถีเพื่อให้เสพคุ้น เหมือน
ชวนวาระ ๒ หรือ ๓ ขณะที่เกิดขึ้นข้างหน้ามรรควิถี มีการหยั่งเห็นเหมือนกับมรรคโดยเป็น
อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา หรืออนัตตานุปัสสนาเหมือนมรรค คำอธิบายนี้สอดคล้อง
กับข้อความในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาที่อธิบายอนุโลมญาณต่อไปว่า
ตเถวาติ ยถา อตีตาสุ ทุวตฺติชวนวีถีสุ สงฺขารุเปกฺขา อนิจฺจาติ วา ทุกฺขาติ วา
อนตฺตาติ วา สงฺขาเน อารมฺมณมกาสิ, ตเถว "

"คำว่า ตเถว (เช่นเดียวกัน) หมายความว่า สังขารุเปกขาในชวนวิถี ๒ หรือ ๓ วิถี
ที่ผ่านมา ปรารภสังขารเป็นอารมณ์ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไมใช่ตัวตน ฉันใด (ชวนจิตดวงแรก
ที่เรียกว่า บริกรรม] ก็เช่นเดียวกัน"

ฉบับพม่ามีปาฐะที่ผิดพลาดว่า ทุวตฺตีสชวนวีถีสุ (ในชวนวิถี ๓๒ ขณะ) ฉบับสิงหล
มีปาฐะที่ถูกต้องว่า ทุวตฺติชวนวีถีสุ (ในชวนวิถี ๒ หรือ ๓ วิถี) ดังที่กล่าวมานี้

เหตุที่ทรงแสดงเวทนา ๔ ในจตุตถฌาน

ถามว่า : ในเรื่องนี้ ถ้าเวทนาเหล่านั้นถูกละได้ในอุปจารขณะของฌานนั้น
อย่างนี้แล้ว เหตุใดจึงนำมารวมไว้ในจตุตถฌานนี้เท่านั้น
ตอบว่า : เพื่อให้เข้าใจ[อุเบกขาเวทนา]ได้ง่าย กล่าวคือ เวทนาที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ซึ่งตรัสไว้ในองค์แห่งฌานนี้ว่า อทุกฺขมสุขํ ละเอียดอ่อนรู้ได้ยาก ไม่อาจเข้าใจได้โดยง่าย
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงนำเวทนาทั้งหมดนี้มารวมไว้เพื่อให้เข้าใจ(อุเบกขา
เวทนา]ได้ง่าย(ในจตุตถฌานนี้] เหมือนนายโคบาลต้องการจับโคดุตัวหนึ่งที่ไม่อาจเข้าไป
จับด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงต้อนโคทั้งหมดเข้าไปในคอกเดียวกัน หลังจากนั้นจึงต้อนออกไป
ทีละตัว มันก็ออกมาตามลำดับ จึงชี้ให้จับว่าโคตัวนี้คือโคดุนั้น จงจับมัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2023, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการแสดงเช่นนั้นคือ เมือพระพุทยองค์ทางแสดงเวทนาเหล่านั้นที่นำมา
รวมไว้อย่างนี้แล้ว ก็อาจเสียแสดงให้เข้าใจอุเบกขาเวทนานี้ได้ว่า เวทนาที่มิใช่สุข ทุกข์
โสมนัส หรือโทมนัส เป็นอุเบกขาเวทนา

อีกอย่างหนึ่ง เวทนาเหล่านั้นถูกกล่าวรวมไว้เพื่อแสดงเหตุบรรลุสมาบัติที่ทำ
ให้จิตหลุดพันจากปฏิปักษ์ (จตุตถฌานสมาบัติ) อันไม่มีทุกข์และสุข กล่าวคือ ปฐมฌาน
เป็นต้นพร้อมทั้งอุปจารสมาธิที่ละทุกข์เป็นดันเป็นเหตุบรรลุสมาบัตินั้น
ข่อความว่า ปฐมฌานเป็นต้น" หมายถึง ทุติยฌานพร้อมทั้งอุปจารสมาธิ ละโทมนัส
ตติยฌานพร้อมทั้งอุปจารสมาธิ ละสุข และอุปจารสมาธิของจตุตถฌาน ละโสมนัส

ดังพระบาลีว่า
จตฺตาโร โข อาวุโส ปจฺจยา อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา. อิธาวุโส
ภิกฺขุ สุขสฺส จ ปหานา ฯเปฯ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. อิเม โข อาวุโส จตฺตาโร
ปจฺจยา อทุกฺขมสุขาย เจโตวิมุตฺติยา สมาปตฺติยา."ㆍ

"ท่านผู้มีอายุ เหตุบรรลุสมาบัติที่ทำให้จิตหลุดพันจากปฏิปักษ์ (จตุตฺถฌาน
สมาบัติ) อันไม่มีทุกข์และสุข มี ๔ ประการ คือ ... ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าถึงจตุตฺถฌาน
อันไม่มีสุขทุกข์อยู่ มีสติผ่องแผ้วอันอุเบกขาทำให้เกิดขึ้น เพราะละสุขทุกข์ และเพราะดับ
โสมนัสโทมนัสได้ก่อน ผู้มีอายุ เหตุบรรลุสมาบัติที่ทำให้จิตหลุดพันจากปฏิปักษ์มี ๔ ประกา
เหล่านี้-

อีกอย่างหนึ่ง สังโยชน์มีสักกายทิฏฐิเป็นต้นที่ถูกละได้ใน[โสดาปัตติ]มรรคอื่น
ได้ตรัสว่าถูกละได้ในมรรคที่ ๓ นั้นเพื่อชมเชยมรรคที่ ๓ ฉันใด ได้ตรัสรวมเวทนาเหล่านั้
ไว้ในจตุตถฌานนี้เพื่อชมเชยฌานดังกล่าว ฉันนั้น

" ม.มู. ๑๒๑๗๗/๑๓๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2023, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Moon-PNG-HD-Quality.png
Moon-PNG-HD-Quality.png [ 180.1 KiB | เปิดดู 557 ครั้ง ]
ในคัมภีร์มัชฌิมปัณณาสก์มีข้อความว่า

โน เจ อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ, เตเนว ธมฺมราเคน ตาย ธมุมนนฺทิยา ปญฺจนฺนํ
โอรมฺภาคิยานํ สญฺโญชนานํ ปริกฺขยา โอปปาติโก โหติ ตตฺถ ปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม

หากภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็จะเป็นผู้ผุดเกิดเป็นพรหมชั้นสุทธาวาส]
แล้วนิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นอีก เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์
สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕' ประการ ด้วยความเพลิดเพลินยินดีในธรรมนั้นๆ"
ข้อความว่า "สักกายทิฏฐิเป็นต้น" หมายถึง วิจิกิจฉา และสีลัพพดปรามาส

อีกอย่างหนึ่ง ได้ตรัสรวมเวทนาเหล่านั้นเพื่อแสดงว่าราคะและโทสะอยู่ห่างไกล
จากจตุตถฌานนี้ด้วยการกำจัดเหตุเกิด กล่าวคือ ในบรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเป็นเหตุเกิด
ของโสมนัส โสมนัสเป็นเหตุเกิดของราคะ ทุกข์เป็นเหตุเกิดของโทมนัส โทมนัสเป็นเหตุ
เกิดของโทสะ ราคะและโทสะพร้อมทั้งเหตุเกิดได้ถูกจตุตถฌานนั้นกำจัดได้ด้วยการกำจัด
สุขเป็นต้น จึงอยู่ห่างไกล[จากจตุตถฌาน]

สรุปความว่า เหตุที่ทรงแสดงเวทนา ๔ ในจตุตถฌานมี ๔ ประการ คือ
๑. เพื่อให้เข้าใจอุเบกขาเวทนาได้ง่าย
๒. เพื่อแสดงเหตุบรรลุสมาบัติที่ทำให้จิตหลุดพันจากปฏิปักษ์(จตุตถฌานสมาบัติ)
อันไม่มีทุกข์และสุข
๓. เพื่อชมเชยจตุตถฌาน
๔. เพื่อแสดงว่าราคะและโทสะอยู่ห่างไกลจากจตุตถฌานนี้ด้วยการกำจัดเหตุเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร