วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2022, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




539-5396584_thumb-image-divya-rishi-clipart.png
539-5396584_thumb-image-divya-rishi-clipart.png [ 359.79 KiB | เปิดดู 1297 ครั้ง ]
โยคีคือใคร

โยคี ในที่นี้หมายถึงผู้ปฏิบัติวิปสสนาที่เกี่ยวข้องกับอริยสัง ๔ ที่เรียกว่า
'จตุสจฺจ - กมฺมฏฺฐานกาวนา" ซึ่งเป็นการเจริญอริยสัจ ๔ ที่เป็นกัมมฐานหรือการ
เจริญกัมมฐ านที่เป็นอริยสัจ ๔

หลักการจำแนกพุทธพจน์ ๖ ประเด็นข้างต้นนี้ ท่านเรียกว่า 'เทสนาหาระ"
การนำพระพุทธพจน์มาแสดงโดยหลักการ ๖ ประการนี้ บางครั้งอาจปรากฎโดย
ตรงในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในบางสูตรเช่นอาจจะมี อสฺสาท อาทีนว
นิสฺสรณ (ผล อุปาย อาณตฺติ อนึ่ง อสฺสาท อาทีนว และนิสฺสรณ ทั้ง ๓ อย่างนี้
โดยส่วนมากพระพุทธองค์มักจะทรงแสดงไว้คู่กัน หรือบางครั้งก็ไม่มีการแสดง
เปิดเผยทั้งหมด แต่ว่าทรงละไว้ให้ผู้ฟังเข้าใจเอาเองโดยความหรือโดยนัย

เมื่อเวลาเราจะไปอ่านพระสูตร เราอาจจะมองไม่เห็นว่าที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงไว้นั้นอันไหน คือ อสฺสาท อาทีนว นิสฺสรณ ผล อุปาย และอันไหน
คืออาณัตติ ข้อนี้เราจะต้องตีความโดยนัย แต่บางครั้งเราจะพบว่าในบางพระสูตร
(เช่น จูฬทุกขขันธสูตรในมัชฌิมนิกาย) พระพุทธองค์ตรัส อสฺสาท อาทีนว นิสฺสรณ
ไว้โดยตรงโดยทรงระบุว่า อันนี้คือ อสฺสาท อันนี้คือ อาทีนว อันนี้คือ นิสฺสรณ
แต่บางครั้งทรงแสดงไว้ไม่หมด บางครั้งทรงแสดงแต่ อสฺสาท บางครั้งจะแสดง
แต่ อาทีนว เพราะฉะนั้น ส่วนที่เหลืออยู่ เราจะต้องนำมาแสดงเปีดเผย ซื้ออกมา
ให้เห็นว่า อันไหนคือ อาณัตติ อันไหนคืออุปาย อันไหนคือผล จะต้องแจกประเด็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2022, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




2166414182 (1).jpg
2166414182 (1).jpg [ 109.55 KiB | เปิดดู 850 ครั้ง ]
ต่าง ๆ ให้มองเห็นภาพ ส่วนการที่จะตีความได้หรือไม่ได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายจำ
เป็นต้องอาศัยหลักวิชาอื่น เช่น หลักพระอภิธรรมและไวยากรณ์ประกอบด้วย

สรูปว่า เวลาเราไปอ่านพระสูตรหรือพระบาฬี จะเห็นว่าพระบาฬิคำสอน
ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในแต่ละพระสูตรนั้น พระพุทธองค์จะทรงแสดงไว้ไม่
เหมือนกันก็จริง แต่สำหรับองค์ธรรมหรือสารธรรมแล้วจะสอดคล้องกันโดย
ธรรมชาติ ดังนั้น ผู้อ่านจำเป็นต้องมีหลัก กล่าวคือจะต้องมีหลักเนตติที่ท่านพระ
อาจารย์กัจจายนะแสดงไว้ในสมัยพุทธกาล

อนึ่ง เนื้อหาในแต่ละสูตรพึงทราบว่าสามารถจำแนกธรรมโคย อสฺสาท
อาทีนว เป็นต้น ได้อย่างแน่นอน อสฺสาท ก็หมายถึง สังขาร หรือเตภูมกธรรม
ทั้งหมด เตภูมกสังขารมักจะมีอยู่สองค้าน คือ ด้านอสสาท กับด้านอาทีนว กล่าวคือ
สังขารนั้นด้านดีและด้านเสีย เหมือนกับการมองของคนเราที่มีทั้งมองในแง่ดีกับ
มองในแง่ร้าย อสุสาท เป็นสิ่งที่ยั่วยวนใจ ทำให้คนเกิดความเพลิดเพลินหลงใหล
ในอารมณ์ อย่างเช่น รูปงาม เสียงหวาน กลิ่นหอม รสดี ถ้ามองแต่ด้านเดียวเราก็
จะเห็นว่ามันเป็นอสุสาท มันทำให้เราเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น

อัสสาทะมีความเกี่ยวกับกิเลสตัณหาเป็นความสุขอิงด้วยกิเลสตัณหา แต่
ถ้ามองอีกด้านหนึ่งก็จะเห็นเป็นอาทีนวะ อาทีนวะก็คือ ข้อเสียหรือโทษ ฉะนั้น
สิ่งที่ไม่ใช่โลกุตตระ มักจะมีให้เรามองได้สองด้านอยู่ตลอด ขึ้นอยู่ที่ว่าบุคคลจะ
มองเห็นอะไร ถ้าเป็นมุมมองของพระอริยเจ้าท่านจะมองเห็นอาทีนวะ(มองเห็น
โทษ) อย่างเช่น โทษแห่งกาม ส่วนปุถุชนก็มักจะมองเห็นเป็นอัสสาทะ มองเห็น
แต่ความเพลิดเพลิน (ทั้ง ๆ ที่โลกเรากำลังลุกเป็นไฟอยู่) เพราะฉะนั้น ธรรมหรือ
ดำสอนที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้จะต้องมองให้เห็นทั้งสองด้าน ถ้ามองด้านใดด้าน
หนึ่งก็จะทำให้การมองนั้นไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้อ่านผู้ฟังจะต้องมองเห็น อสฺสาท
รู้ว่าสิ่งไหนทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ก็คือ จะต้องมองตามความเป็นจริง การ
มองเห็นตามความเป็นจริงนี้ท่านเรียกว่า 'ยถาภูตณาณ' คือ มองเห็นโทษซึ่งเป็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2022, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sadhu.png
sadhu.png [ 168.07 KiB | เปิดดู 1292 ครั้ง ]
โทษที่มีอยู่จริง ๆ มองเห็นอสฺสาท ที่ให้รู้ว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่เป็นอสฺสาท ถ้าสามารถ
มองเห็นตามความเป็นจริงได้ก็มีโอกาสได้บรรลุไม่เกิดวิปัลลาส เพราะจะนั้น
เทสนาหาระที่กำลังเรียนอยู่นี้ก็คือหลักการอธิบายความธรรมะของพระพุทธเจ้า
โดยการนำเอาธรรมมาจำแนก มาแสดง มาอธิบาย ในรูปของอสฺสาท อาทีนว
นิสฺสรณ ซึ่งตามอย่างนี้มีความสำคัญ

สำหรับหลักการปฏิบัติหรือหลักการทำความเข้าใจคำสอน อสฺสาท
อาทีนว นิสฺธรณ ท่านอาจารย์กัจจายนเถระได้ยกเอาเทสนาหาระขึ้นแสดงก่อน
เพราะว่าในคำสอนของพระพุทธเจ้าถ้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเตภูมกลังขาร ย่อมหมาย
ถึง สังขารที่ยังไม่หลุดพันจากโลกซึ่งประกอบด้วย อสุสาท อาทีนว นิสุถรม ข้อ
นี้ซี้ให้เห็นว่า เมื่อมองเห็นโทษแล้วงะต้องมีนิสุสรณ (วิธีการหรือทางที่จะทำให้
หลุดพ้นจากสิ่งที่เป็นอาทีนวะนั้น)

เพราะฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าในแต่ละสูตรจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่
บางสูตรจะบอกไว้โดยตรง แต่ส่วนมากจะไม่บอกไว้ ผู้อ่านจะต้องดีความทำ
ความเข้าใจว่าตรงไหนคืออัสสาทะ ตรงไหนคืออาทีนวะ ถ้าเราไม่รู้หลัก เราก็ไม่รู้
จะไปแยกว่าตรงไหนคืออะ ไร ฉะนั้น ในนิทเทสแห่งเทสนาทาระซึ่งแสดงวิธีการ
จำแนกคำสอนโดยการแสดงอัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ ผละ อุปายะ อาณัตดิ ๖
ประการนี้ ประเด็นที่ผู้ศึกษาควรกำหนดเป็นพิเศษก็คือ อัสลาทะ อาทีนวะ และ
นิสสรณะ ประเด็นทั้ง ๓ นี้สำคัญมาก เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการแสดง-ฟัง
ธรรมให้เกิดการบรรลุ (เข้าใจ) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของธรรมเทศนาของพระ
ส้มมาสัมพุทธเจ้า แต่ส่วน ผละ อุปายะ อาณัตติ เป็นข้อปลีกย่อย ผละ ก็คือ ผลของ
เทสนา เช่นในเวลาที่เราฟังธรรมหรืออ่านธรรม อาจจะไม่ได้บรรลุในขณะนั้น
แต่จะให้ผลได้สมบัติอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้บรรลุ อย่างเช่น ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ
เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2022, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




99d9739351667b60ff07d2e62f58f722.png
99d9739351667b60ff07d2e62f58f722.png [ 275.46 KiB | เปิดดู 1291 ครั้ง ]
อุปายะก็คืออุบาย เช่น การสมาทานศีล การรักษาศีต ชำระศีลให้บริสุทธิ์
การบำเพ็ญทานกุศล การทำฌาน การนั่งสมาริภาวนา การปฏิบัติวิปัสสนาที่ถือว่า
เป็นปุพฺพกาคปฏิปทา(แนวปฏิบัติ เป็นอุบายหรือแนวทางในการที่จะบรรลุ
มรรคผล จัดเป็นอุปายะ

อาณัตติเป็นของพระพุทกเจ้า ผู้ทรงได้ตำแหน่งว่า อาณารหยุคคล (ผู้ควร
ได้รับอำนาจย) อาณัตติ แปลว่า 'คำสั่ง หรือคำชี้แนะ เช่น ชี้แนะว่าบุคคลควร
ปฏิบัติอย่างนี้ จะต้องทำอย่างนี้ จะต้องรักมาจิตอย่างนี้ อันนี้ก็ถือว่าเป็นอาณัตติ
ของพระพุทธเจ้าโดยตรง (แต่ก็อาจหมายถึงอาณัตติของสงฆ์สาวกผู้แสคงธรรม
ด้วยก็ได้)

ตามที่กล่าวมานี้เรียกว่า 'แสดงสรูปะเทสนาหาระ' สรูปะ หมายถึง การ
แสดงการแจกแจงว่ามีอะไรบ้าง แจงออกมา (ไม่เหมือนกับคำว่าสรุปในภาษา
ไทย ที่หมายเอาการแสดงโดยย่อ นี่เป็นนิทเทสแห่งเทสนาหาระย่อ ๆ

ต่อไปนี้เป็นปฏินิทฺเทสวาร อันนี้ก็เป็นเรื่องของเทสนาหารเหมือนกัน ดัง
จะเห็นมาแล้วว่า เมื่อท่านได้แสดงอุทเทสนั้นแล้วก็ได้ขยายความ ซึ่งเรียกว่านิทเทส
แต่ปฏินิทเทสเป็นการนำเอานิทเทสมาขยายความอีก ดังนั้น อุทเทสจึงหมายถึง
การแสดงแต่หัวข้อ ส่วนนิทเทสคือการแสดงรายละเอียดออกมา และปฏินิทเทส
ก็คือการนำเอาคำในนิทเทส มาอธิบายเพื่อให้ได้รายละเอียดเพิ่มเติมออกไปอีก
เพราะฉะนั้น วาระนี้ท่านก็จะพูดถึงเทสนาหาระโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ราย
ละเอียดเพิ่มเติม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร