วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 02:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2022, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




book-159880_1280.png
book-159880_1280.png [ 109.66 KiB | เปิดดู 2627 ครั้ง ]
ตำนานคาถาชินบัญชร
..
ชินบัญชร คือ เกราะแก้วของพระชินเจ้า คาถาชินบัญชรนี้กล่าวอาราธนา
พระพุทธเจ้า พระสาวก และพระปริตรให้มาดำรงอยู่ในกายเพื่อพิทักษ์คุ้มครอง
ให้มีดวามสวัสดี เหมือนเกราะแก้วป้องกันภัย ผู้แต่งและสถานที่แต่งคาถานี้ไม่มี
หลักฐานปรากฏในประวัติตาสตร์ไทย แต่มีหลักฐานปรากฏในประวัติศาสตร์พม่า
คือ เรื่องพุทธนวมวินิจฉัย ในวินยสมูหวินิจฉัย"* มีข้อความกล่าวว่าคาถาเหล่านี้
แต่งที่เมืองเชียงใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่รัชกาลที่
๒๐ ระหว่าง พ ศ. ๒๑๒๑ - ๒๑๕o เพราะในสมัยนั้นขาวเมืองเชียงใหม่นิยมบูชาดาว
นพเคราะห์ ในหลวงจึงปรึกษากับพระเถระในยุคนั้น แล้วรับสั่งให้ชาวเมืองสาด
คาถาชินบัญชรและคาถาอื่น ๆ แทนการบูชาดาวนพเคราะห์ที่ไม่คล้อยตามคำสอน
ในพระพุทธศาสนา ดังนั้น คาถาชินบัญชรจึงแต่งโดยพระเถระชาวไทยที่เมือง
เชียงใหม่ คาถานี้ยังแพร่หลายถึงประเทศสหภาพพม่าและครีลังกาอีกด้วย

คาถาชินบัญชรฉบับที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมี ๒ ฉบับ คือ ฉบับ
แรกของวัดระฆังโฆสิตาราม ตรวจแก้ไขโดยพระภัทรมุนี (อัน ภทุรมุนี ป.ธ. ๙)
วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร และฉบับที่ ๒ เป็นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขไหม่
โดยสมเด็จพระญาณสํวร สมเด็จพระสํฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ
สุวทฺฒโน) ส่วนคาถาชินบัญชรในพระปริตรฉบับนี้มีความใกล้เคียงกับฉบับที่
นอกจากนี้ ผู้แปลได้ปรับปรุงแก้ไขคาถาชินบัญชรอีก โดยเทียบเคียงกับฉบับไทย
ทั้งสองฉบับร่วมกับฉบับอักษรล้านนา ฉบับพม่า และฉบับสิงหล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2022, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




BA004.png
BA004.png [ 144.48 KiB | เปิดดู 2452 ครั้ง ]
คาถาชินบัญชร[/b

[b]๑. ชะยาสะนะคะตา พุทธา เชตฺวา มารัง สวาหินิง"
จะตุสัจจามะตะระสัง ปืวิงสุ เย นะราสะภา.


พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้องอาจ ประทับเหนืออาสน์แห่งชัยชนะ
ทรงชนะมารและกองทัพ ทรงดื่มน้ำอมฤตคือพระอริยสัจสี่

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา


ขอพระพุทธเจ้ามีพระตัณหังกรเป็นต้น ผู้ชี้นำโลก ผู้เป็นจอมมุนี
พระองค์ทั้งหมด จงมาประติษฐาน ณ กระหม่อมของข้าพเจ้า

๓ สิเร ปะติฏฐิโต พุทโธ ธัมโม จะ มะมะ โลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.


ขอพระพุทธเจ้าจงมาสถิตที่ศีรษะ พระธรรมจงมาสถิตที่ดวง
ทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งปวง จงมาสถิดที่อุระของข้าพเจ้า

๔. หะทะเย อะนุรุทโธ จะ สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปุพพะภาคัสฺมิง โมคคัลลาโนสิ วามะเก.

ขอพระอนุรุทธ์จงมาสถิดที่หทัย พระสารีบุตรจงมาสถิตที่แขนขวา
พระโกณฑ์ญญะจงมาสถิดที่เบื้องหน้า พระโมคคัลลานจงมาสถิตที่แขนซ้าย

๕. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะเกโสตะเก.


พระอานนท์และราหุลจงมาสถิตที่หูขวา พระกัสสปะและ
พระมหานามะจงมาสถิตที่หูซ้าย

๖. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสฺมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

ขอพระโสภิตะผู้รุ่งเรืองดั่งพระอาทิตย์ งามด้วยสิริ เป็มมุนี
ผู้ประเสริฐ จงมาสถิต ณ ท้ายทอย

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตุระวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

ขอพระกุมารกัสสปเถรเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้มื
วาจาไพเราะ เป็นบ่อเกิดแห่งความดี จงมาประดิษฐานที่ปากของ
ข้าพเจ้าเป็นนิตย์

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลิ นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2022, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอพระปุณณะ พระองคุลีมาล พระอุบาลี พระนันทะ และ
พระสิวลี เถรเจ้าทั้ง ๕ องค์นี้ จงมาประดิษฐานเป็นดิลกที่หน้าผาก

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.


ขอพระมหาเถระ ๘๐ องค์ที่เหลือ ผู้ชนะกิเลส เป็นสาวก
ของพระชินเจ้า ผู้รุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล จงมาประดิษฐานที่อวัยวะ
น้อยใหญ่

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุดตะกัง
ธะชัดคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.


ขออัญเชิญพระรัตนปริตรมาพิทักษ์เบื้องหน้า พระเมตตปริต
จงมาพิทักษ์เบื้องขวา พระธชัคคปริตรจงมาพิทักษ์เบื้องหลัง พระ
อังคุลิมาลปริตรจงมาพิทักษ์เบื้องซ้าย

๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฎานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.


ขออัญเชิญพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฎานาฏิย
ปริตรเป็นเกราะกั้นกลางอากาศ พระปริตรอื่นๆ เป็นปราการโดยรอบ

๑ ๒. ชินานัง พะละสังยุดเต ธัมมะปาการะลังกะเต
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
๑๓. วาตะปิดตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2022, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อข้าพเจ้าทำกิจของตนอยู่ในเกราะแก้วของพระสัมพุทธ-
เจ่าอันทรงพุทธานุภาพ แวดล้อมด้วยปราการแห่งพระธรรมเป็น
เนืองนิตย์แล้ว ขอให้อันตรายทั้งภายในและภายนอกที่เกิดจากลมและ
น้ำดี เป็นต้น จงถึงความพินาศด้วยพระเดชแห่งพระชินเจ้าอันไม่มี
ที่สิ้นสุด

๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัฏฐัง วิหะรันดัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.


ขอพระมหาบุรุษผู้องอาจทุกพระองค์เหล่านั้น จงอภิบาล
ข้าพเจ้าผู้สถิตอยู่ในท่ามกลางพระชินบัญชร ดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นดิน
ทุกเมื่อเทอญ

๑๕. อิจเจวะมัจจันตะกะโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเร.


ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองอย่างดีด้วยประการฉะนี้ ขอให้
ข้าพเจ้าชนะอุปัทวะด้วยอานุภาพแห่งพระชินเจ้า ชนะหมู่ข้าศึกด้วย
อานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งหลายด้วยอานุภาพแห่ง
พระสงฆ์ อานุภาพแห่งพระสัทธรรมจงคุ้มครองข้าพเจ้าอยู่ในพระ
ชินบัญชร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2022, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชินบัญชร (บาลี: ชินปญฺชร) แปลว่า กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า
ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า คนชนะ อันหมายถึง
พระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง
ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็ก
หรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย
อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร