วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2015, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อนาลโยวาท

รวมธรรมเทศนา
หลวงปู่ขาว อนาลโย


คำนำ

สืบเนื่องมาจากการทำหนังสือ “มุตโตทัย” และ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา”* ของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่นได้เผยแพร่ออกไปในรูปแบบหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ ทำให้มีท่านผู้สนใจในธรรมะสายวัดป่า ได้สอบถามเกี่ยวกับธรรมเทศนาของหลวงปู่ขาวเข้ามา จึงได้ไปสืบค้นดูต้นฉบับและได้ทำเป็นหนังสือออกมาดังที่เห็น

“อนาลโยวาท” นี้เป็นหนังสือรวบรวมคำสอนของหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งถือว่าเป็น “เพชรน้ำหนึ่ง” ในวงพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ธรรมะของท่านลึกซึ้งกว้างขวาง และแจ่มแจ้ง หัวข้อธรรมแสดงต่างกรรมต่างวาระ และหนังสือเล่มนี้ขออนุญาตรวบรวมไว้ทั้งหมด ๒๑ กัณฑ์

สุดท้ายนี้ทางคณะผู้จัดทำมิได้หวังสิ่งอื่นใดมากไปกว่าการได้เผยแพร่ธรรมคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า บุญกุศลอันใดที่เกิดแต่การกระทำนี้ ขออุทิศแด่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณทั้งหมดทั้งสิ้น หากมีข้อผิดพลาดอันใด ขอท่านผู้อ่านโปรดอภัย และชี้แจงแก้ไขมาด้วยจักเป็นพระคุณอย่างสูง

ขออนุโมทนาในกุศลอันท่านทั้งหลายจะได้สดับธรรมะอันท่านผู้เป็นปราชญ์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ด้วยเถิด


------------------------

* :b44: หมายเหตุ โดยเว็บมาสเตอร์ :

หนังสือ...ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=28498
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากบทสนทนาธรรม

พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) : ถาม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร : ตอบ
ตามที่ได้มีการเผยแพร่และเข้าใจกันอย่างแพร่หลายแต่อย่างใด
หากโดยแท้จริงแล้วผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้คือนักปฏิบัติธรรมหญิง
ผู้มีนามว่า
“คุณหญิงดำรงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ)”


>>> อ่านเหตุผลได้จากที่นี่ค่ะ
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/ky-yai/history/ky-yai-hist-02.htm
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/ky-yai/history/ky-yai-hist-01.htm

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2015, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

กัณฑ์ที่ ๑
ควบคุมใจ

พระพุทธเจ้าว่า เรา ตถาคต เป็นผู้แนะนำสั่งสอนทางออกจากโลก ทางไปสวรรค์ก็ดี ทางไปนิพพานก็ดี เรา ตถาคตเป็นผู้แนะนำสั่งสอนให้เท่านั้น “ตน” นั่นแหละ พวกอุบาสก-อุบาสิกา ทั้งหลายต้องทำเอาเอง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระสาวกทั้งหลายก็ทำเอาเองทั้งนั้น ตนแหละทำให้ตน ตนจะออกจากโลกก็แม่นตนตั้งอกตั้งใจทำใส่ตน ตนจะติดอยู่ในโลกก็แม่นใจของตนไม่อยากไป เพราะหลงตนหลงตัวทางปฏิบัติน่ะเราก็ได้ยินได้ฟังมาแล้ว แล้วก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเอา

พระพุทธเจ้าแนะนำสั่งสอนหรือครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนก็ไม่หนีจาก “กายคตา” คือ “ปัญจกรรมฐาน” นี้แหละต้องพิจารณา เราจะพิจารณานอกมันไปก็เป็นนอกไปเสีย ไกลไปเสีย เพื่อให้จิตให้ใจนั่นแหละรู้จักสกนธ์กายอันนี้ รู้จักก้อนอันนี้ว่ามันเป็นอย่างหนึ่ง มันเป็นของกลาง ไม่ใช่ของใครสักคน

เรานี้ได้สมบัติอย่างดี คือ สกนธ์กายนี้ มีตา หู จมูก ลิ้น กายดี มีใจดี ได้สมบัติอันดีมาใช้ เราจะใช้สอยมัน เราจะเดินทางไปสวรรค์ก็ดี จะเดินทางไปนิพพานก็ดี ต้องอาศัยอันนี้ จะมีแต่ดวงจิตอย่างเดียวก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งสิ้น


พระพุทธเจ้าได้เทศน์ไว้ว่า “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา” ธรรมทั้งหลายจะทำดี ทำกุศลดีก็ใจนี่แหละเป็นผู้ถึงก่อน เป็นผู้ถึงพร้อม จะทำบาปอกุศลก็ใจนี่แหละ จะผ่องแผ้วแจ่มใสเบิกบานก็ใจนี่แหละ จะเศร้าหมองขุ่นมัวก็ใจนี่แหละ ใจเศร้าหมองขุ่นมัวแล้วก็ไม่มีความสุขอยู่ในโลก จะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุข ครั้นใจผ่องแผ้วล่ะก็

พระพุทธเจ้าท่านว่า “มนสา เจ ปสนฺเนน” บุคคลผู้มีใจผ่องแผ้วดีแล้ว แม้จะพูดอยู่ก็มีความสุข แม้นจะทำอยู่ก็มีความสุข “ตโต นํ สุขมเนฺวติ” อยู่ที่ไหนๆ ก็มีความสุข มีความสุขเหมือนกะเงาเทียมตนไป ไปสวรรค์ก็ดี มามนุษย์ก็ดี

เพราะเหตุนั้นแหละให้เราพากันตั้งใจอบรม ตั้งสติไว้ที่ใจ ควบคุมใจให้มีสติสัมปัชัญญะ มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ การทำ การพูด การคิดก็อย่าให้มันผิดมันพลาดไป ควบคุมมันให้ถูก ครั้นมันผิดมันพลาดเราก็มีสติยั้งไว้ ละ ปล่อยวาง ไม่เอามัน ทางที่ผิดน่ะ


พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ทางไปนรก ทางไปสวรรค์ ทางไปพรหมโลก ทางไปพระนิพพาน พระองค์ก็บอกไว้แล้ว ให้วางกายให้เป็น “สุจริต” วาจาให้บริสุทธิ์ ใจให้บริสุทธิ์..นี้ทางไปสวรรค์ทางมามนุษย์ ทางไปพระนิพพานให้บริสุทธิ์อย่างนี้

ทางไปนรกนั่นเรียกว่า “ทุจริต” นั้น ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันนี้ทางไปนรก เราจะเว้นเสีย ไม่ไปละ รู้จักแล้ว เราจะไปแต่ทางที่ราบรื่น ทางสบาย การเดินก็ทางกาย วาจา ใจ เท่านั้นแหละ


ผู้ที่จะเที่ยวเอาภพเอาชาตินับกัปป์นับกัลป์ไม่ได้ตั้งแต่โลกเป็นโลกมา คือ ดวงจิตของเรานี่เอง ดวงจิตของเรานี่เองเป็นผู้ก่อกรรมก่อเวรแล้วก่อเล่า ไม่เบื่อสักที ก็แม่นดวงจิตของเรานี่แหละเพราะเหตุนั้นเราจึงต้องอบรมจิตของเราให้ดี ให้ใจ “รู้” เสียใจนี่แหละมันเป็นผู้หลงจนนับภพนับชาติไม่ได้ ภพน้อยภพใหญ่เที่ยวอยู่ในสงสารจักร์นี่

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


จึงให้เข้าใจเสียว่า เจ้ากรรมนายเวรคือใจ ตัวกรรมแม่นใจ ดวงใจอันเดียว วิญญาณอันเดียวเป็นตัวกรรม แต่งกรรมเสียแล้วให้เวียนตายเวียนเกิดที่นี่ ไม่เลิก เรารู้จักแล้วเราต้องควบคุมใจ แนะนำสั่งสอนใจ ทำใจของเราให้ผ่องแผ้ว ว่าเอาย่อๆ นี่แหละ กว้างขวางก็ได้ยินมาพอแฮงแล้ว เอาย่อๆ “ควบคุมใจ” เท่านั้นแหละ เดี๋ยวนี้ใจนี้เจ้าของนรกก็แม่นใจนี่แหละ ม่างนรกก็แม่นใจนี่แหละ (ม่าง : ภาษาท้องถิ่นหมายถึง เลิก, ทิ้ง) ครั้นไม่ดีละก็ร้อน เป็นทุกข์เหมือนใจจะขาด ครั้งใจไม่ดีละก็มันกลุ้ม เป็นทุกข์จนฆ่าตัวตายนี่แหละ ถือว่าเราเป็นเรา นี่ก็เพราะใจนี่แหละ ไม่ใช่อื่นดอก เพราะมันไม่รู้ ท่านเรียกว่า “อวิชชา” ตัวใจนี่แหละอวิชชา

เราจึงควรสดับตรับฟังแล้วก็ค้นคว้าพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผล ทุกข์มันมาจากไหน ให้พิจารณาทุกข์ก่อน ทุกข์เป็นของจริงอันประเสริฐ มันมาจากไหน ค้นขึ้นไปซิ เห็นมาจากโง่นั่นแหละ ดวงจิตเป็นผู้โง่ มันต้องเป็น มันต้องเดือดร้อน มันถึงใคร่ มันถึงปรารถนา มันถึงอยากเป็นนั่นเป็นนี่มันไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่เพราะเกลียด มันชังมันก็ไม่อยากเป็น แล้วก็หาของมาแก้ไข มาคิดอิหยังมาทา หนังเหี่ยวก็เอามาทา ลอกหนังออกมันได้กี่วันมันก็เหี่ยวอย่างเก่า นี่หาทางแก้ดู ท่านว่า วิภวตัณหา มันเป็นกับดวงใจ เราสดับรับฟังอยู่ อบรมอยู่ทุกวันนี้ ทำความเพียรอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะอยากรู้จักใจของเรา ครั้นรู้แล้วก็คุมเอาแต่ใจนี่ ขัดเกลาเอาแต่นี่ สั่งสอนเอาแต่นี่ ให้มันรู้เท่าสังขารนี่แหละ มันไม่รู้เพราะมันโง่ว่าแม่นหมดทั้งก้อนนี้เป็นตัวเรา เป็นผู้หญิงผู้ชาย ยึดถือไป ยึดถือออกไปรอบๆ แผ่นดิน ยึดในตัวยังไม่พอ ยึดแผ่นดินออกไปอีก

..นี่แหละเพราะความหลง ก็ยึดทั้งการทำการงานทุกสิ่งทุกอย่าง เรียนศิลปะทุกสิ่งทุกอย่างก็เพื่อจะบำรุงบำเรอตนให้เป็นสุข บำรุงพระศาสนา ค้ำจุนพระศาสนาก็เป็นการดี ขอให้รู้เท่าแล้วอย่าไปยึดมันเท่านั้นแหละ

ในปฏิจจสมุปปบาทท่านว่า อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป ท่านว่าให้ดับ “ความโง่” อันเดียวเท่านั้น ผลดับหมด เพราะธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ธรรมทั้งหลายคือ ดีก็ดี ชั่วก็ดี ไหลมาแต่เหตุคือ ความโง่ ความไม่เข้าใจ คิดว่าเป็นตัวเป็นตน ก็ได้รับผลเป็นสุขเป็นทุกข์สืบไป ท่านเรียกว่า “วัฏฏะ” การวน วนไม่มีที่สิ้นสุด เราท่องเที่ยวอยู่นี่ตั้งแต่แผ่นดนเป็นแผ่นดินมาแล้ว ทุกคนนี่แหละ คุณหมอก็ดี คุณหญิงก็ดี เกิดมาชาตินี้นับว่าบุญบารมีอันพวกท่านทั้งหลายได้อบรม ศีลห้า ศีลแปด รักษาอุโบสถ รักษากรรมบถสิบ จึงเป็นผู้สมบูรณ์บริบูรณ์ เกิดมาก็ไม่เป็นผู้เกีจคร้าน ไม่เป็นผู้มักหน่าย มีความพอใจแสวงหาวิชาศิลปะจนได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นสูง นี่ก็เพราะบุญกุศลของเรา ได้สร้างอบรมมา จึงว่า “ปุพเพ จ กตปุญฺญตา” คือ บุญได้สร้างสมไว้แล้วแต่กาลก่อน

แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร ประเทศอันสมควรก็หมายเอาสกนธ์กายอันนี้ หรือจะหมายเอาแผ่นดิน ฟ้า อากาศก็ได้ หรอจะหมายเอาประเทศที่มีพระพุทธศาสนาตั้งมั่นถาวร และมีอาจารย์ นักปราชญ์แนะนำสั่งสอนได้ อันนี้ก็ว่าประเทศอันสมควร ปุพเพ จ กตปุญญตา พวกเราได้เคยอบรมสร้างสมบุญกุศลมาหลายภพหลายชาติแล้วจึงเป็นผู้บริบูรณ์สมบูรณ์ แล้วก็ได้เกิดในประเทศอันสมควร

ประเทศเราได้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งแต่บรรพบุรุษจนตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ได้ตั้งตนไว้ในที่ชอบ คือตั้งตนไว้ในการสดับตรับฟัง ทราบทุกสิ่งทุกอย่าง ในทางโลกก็ดี เกื้อกูลอุดหนุนโลกให้เจริญได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำ “อัตตัตถประโยชน์” ประโยชน์ของตนก็ได้แล้ว ประโยชน์ของผู้อื่น ของโลกก็ได้อยู่ นี่แหละชื่อว่าตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ แล้วก็ตั้งตนไว้ในศีล ในการภาวนา ตั้งตนอยู่ในการสดับรับฟัง นี่เรียกว่า “อัตตสมาปนิธิ” ตั้งตนในที่ชอบ ท่านกล่าวว่าเป็นมงคลอันประเสริฐสุด ให้มีสติควบคุมใจของตน อันนี้ก็ชื่อว่า ตั้งตนไว้ในที่ชอบอย่างสูงสุด

นี่แหละให้ควบคุมดวงจิตของเราให้รู้จักเสีย เจ้ากรรมนายเวรก็คือดวงจิตของเรานี่แหละ ผีนรกก็ดวงจิตอันนี้ สวรรค์ก็เป็นดวงจิตอันนี้ พรหมโลกก็ดวงจิตอันนี้ ครั้นรู้จักแล้วก็ทำความเพียรต่อไปจนเกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่ายในอัตตภาพของตนที่เป็นมาหลายภพหลายชาติ การเกิดเวียนไปเวียนมาก็ไม่ได้อะไร มีแต่การสดับรับฟัง มีแต่การบริจาคให้ทาน มีแต่ศีลของตนเท่านั้นเป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายในติดตามไปกับดวงจิตของเราทุกภพทุกชาติ จิตเมื่อมันทำความชั่วไว้แล้วก็ไม่ลืม ใครไม่ต้องการสักคน หมดทั้งนั้น ความชั่ว บาปกรรม ให้คิดดู แต่นักโทษเขาปล้นสดมภ์แล้วเขาก็หลบหนีไปซ่อนอยู่ตามป่าเขาตามถ้ำตามดง เพราะเขาไม่ปรารถนาจะให้ตำรวจไปจับเขา อันนั้นมันก็ไม่พ้นดอก บาปน่ะ ฉันใดก็ดี ครั้นทำลงแล้ว ทำบาป อกุศล จิตก็เป็นผู้จำเอา ไปตกนรกก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ไปตก

อัตภาพคือ ร่างกายของเรานี้มันก็นอนทับดิน ส่วนดินมันก็เป็นดิน ส่วนน้ำมันก็เป็นน้ำ ส่วนลม ส่วนไฟ มันก็เป็นลม เป็นไฟของเก่ามัน ครั้นพ้นแล้วก็กลับมาถือเอาดินเอาน้ำของเก่าอีกเท่านั้นแหละ แล้วก็มาใช้ดิน น้ำ ไฟ ลม นี่แหละครบบริบูรณ์ เอามาใช้ในทางดีทางชอบ ก็เป็นเหตุให้ได้สำเร็จมรรคผลพระนิพพาน พระพุทธเจ้าสร้างบารมีก็อาศัยดินอันนี้แหละ ประเทศอันสมควรอันนี้แหละ สาวกจะไปพระนิพพานตามพระพุทธองค์ก็อาศัยอัตตภาพอันนี้ ครั้นไม่อาศัยอัตตภาพนี้มีแต่ดวงจิตหรือมีแต่ร่างซื่อๆ ก็ไม่สำเร็จอะไรหมดทั้งนั้น เหมือนกันทั้งนั้น

พวกเทพยดาได้ชมวิมานชมความสุขอยู่ตลอดชีวิต ชมบุญชมกุศลก็ทำเอามาแต่เมืองมนุษย์ ครั้นจุติแล้วก็ได้ไปเสวยบุญกุศลของตน ครั้นหมดบุญแล้วก็ลงมาเมืองมนุษย์ มาสร้างอีก แล้วแต่จะสร้างเอา อันชอบบุญก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบุญ อันชอบบาป ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเอาบาปเหมือนพระเทวทัตนั่น ต่างคนต่างไปอย่างนั้น อาตมาบอกไว้เท่านั้นว่า ให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตว์อเวจีก็แม่นจิต พระอินทร์พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร จิตไม่มีตนมีตัว จิตเหมือนวอก (ลิง) นี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงจะแต่ง บอกไม่ได้ ไหว้ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก

แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสีย ให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพานแหละ แน่ะ พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นเป็นอสุภะอสุภัง ให้เห็นเป็นของปฏิกูล ให้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันเห็นว่าเป็นของสวยของงามของดี ดวงจิตนั่นเมื่อมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะ ค้นหาเหตุผล ใคร่ครวญอยู่ มันเลยรู้เห็นว่า อัตตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล ของเน่าเปื่อยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จิตนั่นแหละเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้ว เรียกว่า จิตหลุดพ้น ถึงวิมุตติ วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจากอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร