วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๘๗ มันเป็นเพียงแค่จิต


เมื่อพิจารณาและรู้ตามความเป็นจริงแล้วว่า "จิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและสิ่งที่เพียงแค่ประกอบเป็นเราขึ้นมาในความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และทุกสรรพสิ่งในโลกใบนี้" ก็ล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันจึงเป็นไปด้วยความเป็นปกติตามหน้าที่แห่งความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว การพิจารณาว่าทุกสรรพสิ่งมีแต่ความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนนั้นเป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้รู้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว มันจึงไม่ใช่การพิจารณาเพื่อให้ธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นภาวะขึ้นมาเพราะการลงมือปฏิบัติ มันจึงไม่ใช่การพิจารณาเพื่อต้องทำอะไรปฏิบัติอย่างไรตรงไหนเพื่อให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นตามความสามารถของนักปฏิบัติ การที่ธรรมชาติมันเป็นไปด้วยความเป็นปกติตามหน้าที่แห่งความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วธรรมชาติมันจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีการเริ่มต้นมันมิใช่การเริ่มต้นและรอคอยจุดจบเพื่อความสมบูรณ์พร้อมของความเป็นธรรมชาติที่เกิดจากความคิดความเข้าใจผิดอันยุ่งยากและเป็นส่วนเกินในความเป็นธรรมชาติไปของนักปฏิบัติเอง ก็ธรรมชาติที่แท้จริงมันสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้วซึ่งหมายถึง "ทุกสรรพสิ่ง" ล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีโดยหาจุดเริ่มต้นไม่ได้และหาจุดสิ้นสุดอันจะทำให้ธรรมชาตินี้สลายไปก็ไม่ได้ ทุกสรรพสิ่งที่มันล้วนแต่คือความว่างเปล่าฯมันคือสัจธรรมอันสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่แล้วมันหามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนในความเป็นจริงแห่งธรรมชาตินี้ได้เลยธรรมชาติที่แท้จริงมันสมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุก ๆ กรณีอยู่แล้วก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมตกแต่งอะไรให้แก่ธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วนั้นด้วยการปฏิบัติธรรมต่าง ๆไปตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติและการปฏิบัติธรรมที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นมันก็ล้วนแต่เป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติธรรมตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติ" อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา
จิตมันก็เป็นเพียงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัยมันเท่านั้น จิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาตามเหตุตามปัจจัยถึงแม้มันจะมีความหมายไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นจิตที่มีความหมายมีคุณค่าอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจิตที่มีความหมายไปทางด้อยคุณค่าอย่างน่ารังเกียจ ไม่ว่าจิตนั้นจะบ่งบอกถึงความถูกต้องความเหมาะสม ไม่ว่าจิตนั้นจะบ่งบอกถึงความผิดพลาดอย่างมากมาย สิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นจิตที่ถูกปรุงแต่ขึ้นด้วยเหตุด้วยปัจจัยในเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งเท่านั้นและความเป็นจริงแล้วจิตต่างๆเหล่านี้ที่มีความหมายแตกต่างกันแต่มันก็ล้วนแต่คือจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นและมันก็มีความแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอนก็ไม่ควรเข้าไปยึด จิตต่างๆเหล่านี้แท้จริงมันก็คือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่แล้วอยู่อย่างนั้น จิตมันคือปรากฏการณ์หนึ่งๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุและปัจจัยหนึ่งๆเช่นกัน จิตมันจึงไม่ต้องการข้อวัตรปฏิบัติใดๆมาบีบบังคับมันให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอีกเลยตามความต้องการตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติเพียงแค่มองมันตามความเป็นจริงเท่านั้นว่าจิตนี้มันหามีตัวตนไม่จิตมันก็เป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นก็เพียงพอแล้ว สิ่งใดๆในอดีตที่เราเคยทำผิดพลาดมาและถูกบันทึกไว้ในจิตเป็นจิตที่เราระลึกถึงความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงนั้นอยู่เสมอก็เพียงแต่ในวันนี้เราได้มีความสำนึกในความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะของเราแล้วเราก็ควรที่จะให้โอกาสตัวเราเองอีกสักครั้งด้วยการสำนึกในสิ่งที่ได้ทำผิดพลาดลงไปและพิจารณาถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติว่าจิตที่เกิดจากความผิดพลาดนั้นมันก็หามีความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่จิตที่เกิดจากความผิดพลาดนั้นแท้ที่จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นขอให้เราพิจารณาอย่างตรงไปตรงมาถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของจิตที่มีความหมายต่างๆไปในทางที่ดีและไม่ดีว่ามันเป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯอย่างแท้จริงแล้วแต่เพียงเท่านั้น การหลบหลีกปรากฏการณ์ทางจิตด้วยการหาข้อวัตรปฏิบัติมาให้แก่ตนเองซึ่งมิใช่หนทางที่จะทำให้เห็นความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงได้เลยและยังคิดต่อไปอีกว่าการหลีกเลี่ยงด้วยข้อวัตรปฏิบัตินั้นจะนำมาซึ่งความสงบและเป็นการทำให้เกิดความก้าวหน้าและสิ่งเหล่านี้จะนำมาซึ่งความหลุดพ้นมันจึงเป็นการกระทำที่ถูกปิดกั้นมิให้รู้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติได้เลย



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๘๘ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์

ฉันได้พร่ำสอนลูกศิษย์ของฉันว่า
ชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่ได้เกิดมานั้นล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าประเสริฐยิ่ง
เหตุและปัจจัยที่จะทำให้เราได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละยุคได้นั้นมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
เราต้องมีความถึงพร้อมในเหตุและปัจจัยอันบ่งบอกถึงระดับบุญแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูงยิ่งในความเป็นจิตปกติ
ฉันได้บอกกับทุกคนว่าทุกคนที่ได้เกิดมานั้นมีบุญและบารมีเสมอเหมือนเท่ากันหมดในแต่ละคน
เพราะความเป็นมนุษย์นั้นมิได้ตัดสินกันเพียงรูปภายนอก
แต่ที่มนุษย์ได้เรียกตนเองว่าเป็นมนุษย์ซึ่งมีความหมายว่าสัตว์ผู้มีใจสูงด้วยคุณงามความดีที่ประทับอยู่ในหัวใจของแต่ละคน
มันจึงบ่งบอกได้ว่าทุกคนที่ได้เกิดมาก็เพราะบุญแห่งความดีที่ตนเองได้สั่งสมมาในอดีตไว้อย่างดีแล้วนั่นเอง
ฉันได้บอกกับลูกศิษย์บางคนไปว่าอย่าได้นึกน้อยใจตนเองที่เกิดมาแล้วมีฐานะยากจนและไม่มีชื่อเสียงเงินทองเหมือนกับคนอื่นๆที่เขามีหน้ามีตาในสังคม
ฉันจึงได้เล่าเรื่องราวบางอย่างของอดีตโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ลงมาทำบุญบารมีแห่งตนให้กับลูกศิษย์ของฉันฟังว่า
โพธิสัตว์บางดวงที่ลงมาเกิดและก็มีฐานะยากจนขัดสนอย่างมาก
แต่พวกคนเหล่านี้ก็มิได้ออกไปจากเส้นทางแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีใจประเสริฐของตนเองเลย
ความทุกข์ยากลำบากทั้งหลายที่ประดังเข้ามาถาโถมชีวิตล้วนแต่เป็นบทพิสูจน์หัวใจของบัณฑิตทั้งหลายเหล่านี้
เพราะใจซึ่งมั่นคงดีแล้วในคุณงามความดีที่ตนเองมีสัจจะวาจาพึงระลึกถึงได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ
ถึงแม้บางคราจะหนักหนาสาหัสจนกระทั่งความตายก็มาเยือนอยู่ตรงหน้าแทบจะพรากเอาชีวิตจากไปเดี๋ยวนั้น
แต่มันก็มิได้ทำให้ใจของใครบางคนได้หวั่นไหวเปลี่ยนแปลงไป
คนๆนั้นก็ยังได้ทำหน้าที่ในความเป็นมนุษย์ที่ปกติของตนเองได้อยู่อย่างมั่นคงไม่มีข้อบกพร่อง
เพราะความตั้งใจไว้ดีแล้วในทุกๆขณะแห่งการก้าวย่างไปข้างหน้าของตนมันจึงเป็นก้าวย่างที่มีคุณค่ามากมายที่ปรากฏอยู่ในใจของตนเองในขณะนั้นอยู่แล้ว
นั่นแหละคือความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงและคือหัวใจของเขา
หากคิดว่าตัวเราเองนั้นมีความทุกข์ยากเหลือคณานับ
ก็ขอให้พึงคิดพิจารณาถึงคนอื่นที่เขามีความทุกข์ยากลำบากกว่าเราหลายเท่าตัว ความทุกข์ยากที่เราได้ผจญมาและคิดว่าตัวของเราเองนั้นน่าสังเวชทุกขเวทนาหนักหนา
บางทีความทุกข์ยากของเราอาจเป็นเพียงแค่ฝุ่นละอองเล็กๆที่ปลิดปลิวไปในอากาศแต่เพียงเท่านั้นถ้าหากเปรียบเทียบกับความทุกข์ยากทั้งมวลที่เกิดขึ้นบนโลกยากไร้ใบนี้
จงอย่าท้อแท้และหัดมีกำลังใจให้กับตนเองเพื่อที่จะใช้ชีวิตก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณค่าและมีความหมายอย่างยิ่งให้กับตนเองในทุกย่างก้าว
ขอให้ชีวิตของแต่ละคนนั้นเป็นชีวิตที่น่าจดจำและได้เป็นที่พึ่งพิงแก่บุคคลอื่นๆในโอกาสข้างหน้า
ที่เขาได้หนีร้อนมาพึ่งเย็นภายใต้ร่มเงาแห่งชีวิตของเราที่เหมือนไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีความมั่นคงและแผ่กิ่งก้านสาขาน้อยใหญ่ออกไป
ฉันจึงให้โอวาทแก่ลูกศิษย์แบบนี้ในทุกๆโอกาสที่พวกเขามาเยี่ยม
ขอให้ทุกคนเป็นคนดี
และดำเนินชีวิตไปตามปกติแห่งความผาสุกที่เกิดขึ้นในใจแห่งตนเท่านั้นก็พอ
คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์วัดกันแค่ตรงนี้ ฉันจึงเขียนบทกลอนเก่าๆตั้งแต่สมัยโบราณเก่าก่อนที่พวกนักศึกษายุคก่อนโน้นแต่งเป็นเพลงใต้ดินสมัย ๑๖ ตุลาคม ไว้ที่ฝาผนังบ้านเพื่อเตือนใจทั้งตนเองและเหล่าลูกศิษย์ที่มาหา "ทางข้างหน้ารางเลือนเหมือนว่างเปล่า
แดดจะเผาผิวผ่องเธอหมองไหม้
ที่ตรงโน้นมีหุบเหวมีเปลวไฟ
ถ้าอ่อนแอจะก้าวไปอย่างไรกัน"



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๘๙ มิใช่หลักเกณฑ์และลำดับขั้นตอน


สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มันก็เป็นเพียงอินทรีย์ธรรมที่เป็นไปเองตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆของตัวมันเองที่เป็นไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันมิใช่ธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนเป็นลำดับขั้นตอนแต่อย่างไร สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร จึงหาใช่หลักเกณฑ์ในธรรมที่จะต้องทำให้มันเกิดขึ้นไม่และเรียกสิ่งนี้ว่าการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไม่

ความเป็นปกติแห่งธรรมชาติด้วยความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นโดยไม่มีความแตกต่างและไม่ผิดเพี้ยนในเนื้อหาความเป็นธรรมชาติและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นก็ถือได้ว่าเป็น "สัมมาสติ" คือการระลึกชอบแล้ว เป็นการระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นและเป็นการระลึกถูกต้องตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่

ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันสามารถทำหน้าที่ในความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีความตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นอยู่แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสมาธิหรือความตั้งมั่นที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันได้ทำหน้าที่แห่งมันตามปกติได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลา การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นด้วยความคล่องแคล่วไม่ติดขัดอยู่อย่างนั้นและไม่แปรผันไปในความหมายอื่นมันจึงเป็นกำลังแห่งสมาธิที่แท้จริงอันจะทำให้มีความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่งทั้งปวงได้

ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันสามารถทำหน้าที่ในความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีปัญญาที่สามารถพิจารณาได้ถึงความเป็นจริงที่ตรงต่อความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นได้

ก็เพราะความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่เป็นสิ่งยืนยันแสดงได้ถึงความที่อัตตาตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในความเป็นธรรมชาตินี้ความที่ได้ละทิ้งสลัดออกซึ่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล้วความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้และความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติที่บริบูรณ์เต็มเปี่ยมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันจึงมีความหมายถึงเป็นความเพียรพยายามอย่างแท้จริงที่จะทำให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นเป็นไปตามความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมัน

แต่ถ้าหากจะถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นลำดับขั้นตอน ก็มีเพียงแต่ลำดับขั้นตอนที่ต้องเข้าไปพิจารณาธรรมเพื่อให้ได้ความจริงของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนปรากฏขึ้นมาในความเข้าใจของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น ลำดับขั้นตอนในการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ มีดังต่อไปนี้
๑. ลำดับขั้นตอนในการพิจารณาว่า ทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่สามารถคงอยู่ในคุณสมบัติหรือคุณลักษณะแบบเดิมๆของมันได้อยู่ตลอดเวลามันมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่งอยู่เสมอไม่สามารถคงตัวอยู่ในสภาพเดิมๆซึ่งเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของมันทั้งหมดที่ปรากฏในขณะที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจว่ามันคือสิ่งนี้ๆและเป็นแบบนี้ๆ ทุกสรรพสิ่งจึง "อนิจจัง" มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่ตลอดเวลา
๒.ลำดับขั้นตอนต่อไปในการพิจารณาว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นสิ่งๆนั้นของมัน ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของสิ่งๆนั้นจึงย่อมไม่เป็นจริงตามนั้นและไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นทุกสรรพสิ่งจึงย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
๓.ลำดับขั้นตอนต่อไปอีกในการพิจารณาว่า จิตต่างๆที่เราชอบปรุงแต่งขึ้นและมันก็คือความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็ความเป็นเรานั้นแท้จริงมันหามีตัวตนไม่ ก็เพราะความเป็นเรานั้นมันเป็นสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาด้วยความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ และขันธ์ทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลา ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะมีอวิชชาคือความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจนกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา จิตต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยแห่งความที่เข้าไปยึดนั้นมันก็ย่อมคงอยู่ในความเป็นของมันเองแบบนั้นไม่ได้ เมื่อแท้ที่จริงจิตของเราย่อมแปรผันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จิตนั้นจึงหาเป็นจิตที่มีความหมายแห่งอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นไม่ จิตต่างๆที่เราปรุงแต่งขึ้นเพราะความเข้าไปยึดขันธ์ทั้งห้าจึงย่อมเป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นเช่นกัน มันจึงเป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งทั้งปวงว่า "ทุกสรรพสิ่งซึ่งรวมทั้งความเป็นจิตความเป็นขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นมันย่อมเป็นแต่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น"

ลำดับขั้นตอนที่พระองค์มีพุทธะประสงค์ให้เข้าไปพิจารณาก็มีแต่เพียงเท่านี้เป็นลำดับขั้นตอนเป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้เราเข้าใจอย่างแจ้งชัดถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น มันมิใช่ลำดับขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติไปเพื่อให้หลงออกไปในทิศทางอื่นซึ่งมิใช่หนทางอันคือความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง การที่สามารถกลมกลืนกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นได้ อินทรีย์ธรรมแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มันก็เป็นไปเองตามภาวะแห่งธรรมนั้นๆของตัวมันเองที่เป็นไปตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงมันก็มีสภาพที่บริบูรณ์โดยตัวมันเองอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น อินทรีย์ธรรมแห่ง สติ สมาธิ ปัญญา ความเพียร มิใช่ธรรมที่เป็นลำดับขั้นตอนที่จะต้องมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นที่ละอย่างๆและคิดว่ากำลังแห่งธรรมเหล่านี้มันจะทำให้ธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งเป็นธรรมชาติที่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ในความเป็นมันเองอยู่อย่างนั้นจะเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์เต็มรอบด้วยการปฏิบัติที่เข้าใจผิดไปเองของนักปฏิบัติทั้งหลาย

เหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในธรรมทุกส่วนก็เป็นเพียงแต่ตรัสเพื่อเหตุผลของความเป็นธรรมนั้นๆแต่เพียงเท่านั้น

การที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการทำสมาธิก็เพราะจิตของนักปฏิบัติเองมีแต่ความวุ่นวายและไม่สามารถมีปัญญาพิจารณาให้ได้ถึงความเป็นจริงที่จะต้องพิจารณาตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้ความเป็นจริงที่ตรงต่อธรรมชาติขึ้นมาพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้ทำสมาธิเพื่อให้เกิดจิตอันประณีตในองค์ฌานและเพื่อให้เกิดความสงบระงับปราศจากจิตที่วุ่นวายอันเป็นจิตที่เกิดขึ้นก่อนทำสมาธิ แต่ถ้าหากนักปฏิบัติสามารถพิจารณาถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้แล้วการทำสมาธิจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและมิใช่หลักเกณฑ์แต่อย่างไรอันจะทำให้เราเข้าถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้ การทำสมาธิก็เป็นเพียงการทำสมาธิไปแบบนั้นเป็นการทำสมาธิตามปกติอันจะถือว่าเป็นวิหารธรรมซึ่งหมายถึงธรรมอันเป็นเครื่องที่ได้อาศัยอยู่เป็นการทำสมาธิที่ตรงต่อวิสัยของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้นและมิได้มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างไรเลยกับความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนด้วยความบริบูรณ์พร้อมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

การที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการฝึกสติและสัมปชัญญะก็เพราะนักปฏิบัติเองไม่มีความสามารถที่จะระลึกถึงสิ่งใดๆได้อย่างต่อเนื่องพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้ทำสมาธิฝึกสติไปในอิริยาบถทั้งสี่และฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดความสามารถระลึกถึงสิ่งๆหนึ่งได้ตลอดไปจนกว่าจะเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับสิ่งๆนั้น แต่ถ้าหากนักปฏิบัติสามารถมีสัมมาสติระลึกได้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้แล้วการทำสมาธิฝึกสติไปในอิริยาบถทั้งสี่และการฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและมิใช่หลักเกณฑ์แต่อย่างไรอันจะทำให้เราเข้าถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติได้ การทำสมาธิการฝึกสติและการฝึกสัมปชัญญะการรู้ตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกายก็เป็นเพียงการฝึกสติและสัมปชัญญะไปแบบนั้นเป็นการการฝึกสติและสัมปชัญญะตามปกติอันจะถือว่าเป็นวิหารธรรมซึ่งหมายถึงธรรมอันเป็นเครื่องที่ได้อาศัยอยู่เป็นการฝึกสติและสัมปชัญญะที่ตรงต่อวิสัยของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้นและมิได้มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างไรเลยกับความเป็นธรรมชาติที่มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนด้วยความบริบูรณ์พร้อมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๙๐ มือสุดท้าย

เมื่อถึงวาระที่ต้องลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ชีวิตที่ต้องมาเกิดตามรอยบุญรอยกรรมแห่งตนที่เคยสั่งสมมานับภพชาติแทบไม่ได้นั้น
มันเป็นเรื่องที่ต้องว่ากันไปตามสภาพจิตที่ตนได้กระทำมาตามเนื้อหาแห่งวาระกรรมนั้นๆ
บางครั้งชีวิตก็แทบจะอับตาจนจนบางคราแทบไม่อยากจะก้าวต่อไปข้างหน้าอีกเลย
เพราะทนสภาพความทุกข์ที่เข้ามาบีบคั้นจิตใจตนเองแทบไม่ได้
เหตุปัจจัยอันว่าด้วยมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้มันทำให้เราต้องฝึกความอดทนอดกลั้นเพื่อที่จะทำให้มีลมหายใจยังชีวิตให้อยู่ต่อไปได้
การผ่านจุดที่มีแต่ความทุกข์ยากและหมดสภาพแห่งความเป็นคนเพราะจิตใจได้ตกต่ำไปในห้วงแห่งความมีความเป็นที่เลวร้าย
มันทำให้เรามีกำลังใจที่แข็งแกร่งและลุกขึ้นยืนสู้อีกครั้งหนึ่งบนโลกใบนี้
ในบางขณะที่ได้ล้มลงไปมันได้แต่เตือนใจตนเองว่าอย่าได้เป็นคนอ่อนแอ
บางครั้งในมุมมืดของห้องนั้นเราเองได้นั่งกอดเข่าและก้มหน้า
ใจของลูกผู้ชายที่พ่ายแพ้ให้แก่ความรู้สึกของตนจึงได้แต่แอบก้มหน้าร้องไห้ออกมา
แต่มันก็เป็นเพียงแค่การระบายความรู้สึกที่ไม่สามารถสลัดเหวี่ยงความทุกข์ใจทั้งหลายออกไปจากชีวิตของเราได้
แต่เรามีความโชคดีที่มีกงล้อแห่งโชคชะตาที่คอยนำทางให้เราเดินไปถึงจุดหมายปลายทางที่เราได้ตั้งสัจจะวาจาไว้ตั้งแต่ครั้งในอดีต
มันคือมือสุดท้ายที่คอยยื่นมาช่วยเหลือให้เราได้รอดจากนรกทุกขุมที่ตนเองต้องชดใช้ไปในขณะนั้น
มือสุดท้ายที่เหลืออยู่มันก็คือมือของเราในอดีตนั่นเอง
เป็นมือที่เคยจับทัพพีตักข้าวทิพย์เพื่อให้พละกำลังเลือดและเนื้อแก่บรมมหาโพธิสัตว์หลายดวงที่ผ่านมาและเป็นมือที่คอยหยิบยื่นความปรารถนาดีให้แก่บุคคลอื่นมาหลายชีวิต
มาบัดนี้มือแห่งบุญนั้นจึงได้ยื่นมาช่วยเหลือชีวิตของเราเองบ้างในยามที่ต้องตกอับอยู่ในความทุกข์ยากแห่งใจ
มือนั้นพร้อมกับสัจจะวาจาที่ตั้งใจไว้ว่าขอให้ชีวิตของตนเองรอดพ้นต่อความทุกข์ยากทั้งปวงขอหลุดพ้นขึ้นฝั่งพระนิพพาน
และสัจจะวาจาที่ขอให้ชีวิตของตนพบกับความสุขที่แท้จริงในสักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า
มาบัดนี้ทุกๆมือในอดีตมันก็ได้ทำหน้าที่แห่งมันได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่มีความบกพร่องแล้ว






“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แก้ไขล่าสุดโดย เมฆ โซะระคุโมะ เมื่อ 10 ธ.ค. 2014, 19:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๙๑ มิได้อาศัยเหตุและผล

การพิจารณาถึงความเป็นสิ่งๆหนึ่งนั้นเป็นการไต่ตรองเพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุและผลซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นจริงที่จะทำให้เราเชื่อในสิ่งๆนั้นว่ามันเป็นสภาพอย่างนั้นๆตรงต่อความเป็นจริงแห่งมัน มันจึงเป็นการใช้เหตุและผลเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็นความแน่ใจโดยที่ไม่เกิดความลังเลสงสัยในสิ่งนั้นๆขึ้นมาอีก เมื่อเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งๆนั้นอย่างแท้จริงแล้วโดยไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆอีกและเมื่อตัดสินใจที่จะน้อมนำสิ่งนั้นมาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นสิ่งๆนั้นแต่ฝ่ายเดียวจนกว่าจะได้แนบแน่นกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกับสิ่งๆนั้นโดยไม่หันเหไปในทิศทางอื่นได้อีก

การพิจารณาถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมทั้งทุกสรรพสิ่งล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นก็เช่นเดียวกัน เป็นการไต่ตรองเพื่อให้ได้มาซึ่งเหตุและผลซึ่งเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นจริงที่จะทำให้เราเชื่อในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นว่ามันเป็นสภาพอย่างนั้นๆตรงต่อความเป็นจริงแห่งมัน การใช้เหตุและผลก็เป็นไปเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็นความแน่ใจโดยที่ไม่เกิดความลังเลสงสัยในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นๆขึ้นมาอีก เมื่อเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล้วโดยไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆอีกและเมื่อตัดสินใจที่จะน้อมนำความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมาเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภาวะธรรมแห่งเรา เราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นจริงที่ทุกสรรพสิ่งมันล้วนแต่คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแต่ฝ่ายเดียวจนกว่าจะได้แนบแน่นกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติแห่งความจริงนั้นโดยไม่หันเหไปในทิศทางอื่นได้อีก การใช้เหตุและผลต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงก็มีแต่เพียงเท่านี้ การใช้เหตุและผลก็เพื่อขจัดความลังเลสงสัยในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงว่าธรรมชาติแท้จริงนั้นมันเป็นอย่างไรมีลักษณะอย่างไร เมื่อเข้าใจในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งแล้วก็ควรมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นแต่ฝ่ายเดียวอยู่อย่างนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนไม่มีส่วนต่างและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาตินั้นอยู่อย่างนั้น ก็ด้วยการที่เข้าใจว่า "ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันก็ทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยปกติ" มันจึงมีความหมายถึงเราก็สามารถระลึกได้ถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาอยู่แล้วเช่นกัน

การที่เราตั้งสติไว้เพื่อรอคอยตั้งใจดูบางสิ่งบางอย่างว่าอาจจะมีสิ่งๆหนึ่งขึ้นมาหรือมีสิ่งๆหนึ่งขึ้นมาแล้วและเราจะต้องทำความเข้าใจในสิ่งๆนั้นเดี๋ยวนั้นให้มันเป็นเหตุและผลว่ามันไม่ใช่อัตตาตัวตนและการทำความเข้าใจเช่นนี้อยู่ตลอดเวลาเมื่อมีสิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นด้วยการรอคอยตั้งใจดูบางสิ่งบางอย่างและคิดว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันจะคงอยู่ได้ตลอดเวลาด้วยการพิจารณาเป็นเหตุและผลแบบนี้อยู่เป็นนิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการมีสติตามความเข้าใจผิดแห่งตนเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในความเป็นธรรมชาติตามความเข้าใจผิดแห่งตนเช่นเดียวกัน มันก็ย่อมเป็นอัตตาตัวตนที่เกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิดโดยอาศัยเหตุและผลแบบนั้น ก็เพราะเข้าใจแล้วว่าทุกสรรพสิ่งก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงไม่มีอะไรเพื่อให้ตั้งสติไว้เพื่อรอคอยตั้งใจดูอะไรกับอะไรว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหรือไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันเป็นความว่างเปล่าอย่างแท้จริงแบบบริบูรณ์อยู่แล้วของมันอยู่อย่างนั้นจึงไม่มีอัตตาตัวตนใดๆจะเกิดขึ้นมาในความเป็นธรรมชาตินี้ได้เลย การใช้เหตุและผลและเข้าใจผิดไปอีกว่าเหตุและผลนี้จะทำให้เกิดภาวะธรรมแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯและเหตุและผลนี้จะทำให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้บริบูรณ์เต็มเปี่ยมขึ้นมาในวันข้างหน้ามันจึงเป็นเหตุและผลที่เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอัตตาตัวตนอยู่ร่ำไปแต่เพียงเท่านั้น

"เหตุและผล" ตามพุทธประสงค์ก็มีเพียงแค่การพิจารณาให้ได้มาซึ่งความเป็นจริงตามธรรมชาติว่าแท้ที่จริงทุกสรรพสิ่งก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วและเมื่อเข้าใจต่อความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงจนหมดความลังเลสงสัยแล้วโดยไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆอีกเราก็ควรพึงมีสัมมาสติระลึกถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นแต่ถ่ายเดียว เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าธรรมชาติที่แท้จริงนั้นมันก็เป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยเหตุและผลใดๆเพื่อทำให้ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นและคงอยู่ได้ตลอดไปตามความเข้าใจผิดของนักปฏิบัติเอง


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๙๒ ไปปายกันไหม

เสียงรถไฟเปิดหวูดจนดังลั่นก่อนที่มันจะลอดเลื้อยเข้าไปในอุโมงค์ถ้ำขุนตาล
ความงามในยามเช้าของสถานีขุนตาน
ทำให้ฉันต้องรีบงัวเงียตื่นมองออกไปที่กระจกหน้าต่าง
เห็นหมอกสีขาวที่ลอยตัวเอื่อยๆแบบไม่สนใจใครอยู่เหนือยอดทิวเขาสูง
การลอยตัวไปอย่างช้าๆของมันก็เหมือนสติของฉันที่กำลังกลับเข้าร่างอย่างไม่เร่งรีบ
ความงามของธรรมชาติแห่งภูเขาที่ตั้งตระหง่าน
ทำให้ฉันนึกถึงอำเภอปายจุดหมายปลายทางแห่งความหวังอันเรืองรอง
เป็นครั้งแรกที่ฉันจะไปเที่ยวปายแห่งเมืองที่มีหมอกถึงสามฤดูแม่ฮ่องสอน
การหอบสังขารมาเที่ยวโดยลำพังแบบนี้ทำให้ฉันต้องสอดส่ายสายตา
พยายามมองความสวยงามของทิวทัศน์ข้างทางที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ให้มันเป็นเพื่อนร่วมเดินทางแก้เหงาให้กับตัวเองในครั้งนี้
รถไฟเคลื่อนตัวออกจากสถานีขุนตานใช้เวลาไม่เท่าไรก็เข้าเทียบชานชาลาที่นครพิงค์เชียงใหม่
หลังจากที่ทำภารกิจส่วนตัวเสร็จและรีบหาอะไรกินรองท้องพออิ่มแถวบขส.
รถตู้ก็ได้พาฉันวิ่งออกจากอาเขตตัวเมืองเชียงใหม่ผ่านอำเภอแม่แตงแล้วเลี้ยวซ้าย
ทะยานขึ้นสู่เส้นทางแห่งขุนเขาที่มันเรียงรายซับซ้อนดูทะมึนน่ากลัวอยู่เบื้องหน้า
ถนนเส้นนี้เป็นทางที่วกวนเพราะเป็นเส้นทางบนภูเขาที่มีความชันสูงมาก
การค่อยๆขับไต่ระดับขึ้นไปตามทางที่โค้งไปโค้งมา
มันจึงพาเรามาถึงยอดเขา
และมันก็เป็นเพียงเขาลูกเดียวเท่านั้นจากจำนวนภูเขาอีกหลายลูก
ที่ยืนรอเราอยู่ตรงหน้าขวางกั้นไว้ไม่ให้ไปถึงเมืองปายโดยง่าย
ตลอดสองข้างทางจะเห็นชาวบ้านได้นำของป่ามาวางขายที่เพิงกระท่อมไม้ไผ่
ผักสดๆที่ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวเขาปลูกเองบ้างเป็นผักที่หามาจากในป่าในเขาบ้าง
มันถูกแขวนเรียงรายเป็นจุดสนใจสำหรับนักเดินทางที่พึ่งจะมาเยือนที่นี่
รถตู้ได้วิ่งทะยานลัดเลาะไปตามหุบเขาที่นับโค้งได้เกินพันโค้ง
เส้นทางที่จะไปด้วยความยากลำบากนี้ มันก็คงเหมือนกับชีวิตของคนเราทุกคน
ที่ย่อมมีความหวังให้กับชีวิตของตนเองอยู่เสมอ
และพยายามออกเดินทางเพื่อทำสิ่งที่ตนหวังนั้นให้เป็นจริง
แม้เส้นทางที่จะต้องพยายามก้าวเดินไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ตนได้ตั้งใจไว้
มันอาจจะเป็นเส้นทางที่ยากลำบากเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม
แต่หากทางนั้นมันเป็นทางที่ต้องก้าวเดินไปด้วยคุณงามความดีแห่งตน
เราก็เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนก็จะสามารถเดินผ่านข้ามอุปสรรคนั้นไปได้
และสานสิ่งที่เป็นความปรารถนาของตนให้เป็นจริงสมดั่งที่ตั้งใจได้เสมอ
เพราะเหตุที่ว่า.....
มนุษย์ทุกคนย่อมมีธรรมชาติแห่งความดีเป็นปกติในหัวใจตนอยู่แล้ว





“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๙๓ สรุปหลักธรรมอันคือธรรมชาติ

ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนี้
มันเป็นธรรมที่เป็นสภาพธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนเช่นนี้มานานแสนนาน
มันเป็นธรรมชาติแบบนี้ของมันเองมาตั้งแต่ต้นซึ่งหมายความว่าไม่อาจหาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดแห่งความเป็นมันได้
มันเป็นแบบนี้เรื่อยมาและตลอดไปและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้เลย
จนกล่าวได้ว่ามันเป็น "กฎธรรมชาติ" ของทุกสรรพสิ่ง
ไม่ว่าจะมีมนุษย์หรือไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นบนโลกใบนี้หรือไม่ว่าจะมีโลกใบนี้ตั้งอยู่หรือไม่ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนมันก็ยังคงเป็นธรรมชาติตามสภาพอันแท้จริงของมันอยู่อย่างนั้น
พระพุทธองค์ทรงใช้ปัญญาของท่านเข้าไปพิจารณาวิเคราะห์ถึงความเป็นทุกสรรพสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์
ท่านจึงรู้อย่างแจ้งชัดว่าเพราะเหตุแห่งการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นอัตตาตัวตนเป็นสิ่งๆนั้น
แต่เพราะทุกสรรพสิ่งมันย่อมมีความผันแปรมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในทุกขณะไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะและคุณสมบัติซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นมันในสภาพเดิมๆไว้ได้ มันมีความแปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นเดิมๆของมันได้
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเพื่อที่จะให้มันเป็นแบบนั้นเดิมๆตามความต้องการของเราให้ได้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเพราะจะเกิดความทุกข์
เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงกล่าวไว้ว่าทุกสรรพสิ่งนั้นแท้จริงมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
พระพุทธองค์จึงน้อมนำธรรมชาติที่แท้จริงนี้มาพิจารณาถึงความเป็นสิ่งๆหนึ่งแห่งความเป็นมนุษย์ของท่านเช่นกัน
เพราะความเป็นมนุษย์มันถูกประกอบขึ้นด้วยขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
และการที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจนกลายเป็นความปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นมา
ซึ่งจิตหมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นในความหมายของสิ่งๆหนึ่งหรือหลายๆสิ่งที่รวมถึงความเป็นตัวเราและสิ่งอื่นๆที่ปะปนอยู่ในจิตนี้ไปในความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน
พระพุทธองค์จึงทรงรู้แจ้งชัดว่าแท้จริงจิตของท่านก็คือสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่แน่นอนเช่นกันแท้ที่จริงจิตมันก็เป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
และพระพุทธองค์ยังทรงพิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าอีกเช่นกันที่ได้ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเป็นจิตปรุงแต่งว่าขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้มันก็เป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้เช่นกัน
ขันธ์ทั้งห้าซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็เป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
เมื่อความเป็นจริงของธรรมอันคือภาวะทั้งภายนอกตัวเราและทั้งภายในคือความเป็นตัวเราเองนั้นมันก็คือความหมายของความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
พระพุทธองค์จึงได้ตรัสรู้ถึงความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้น



ต่อมาพระพุทธองค์จึงทรงออกโปรดบรรดาสรรพสัตว์โดยท่านทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งและทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่เข้ามาฟังธรรมว่ามันเป็นเพียงสิ่งที่ประกอบขึ้นมาในความเป็นขันธ์ทั้งห้าและเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นจิตที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา
ท่านจึงทรงชี้แนะบรรดาสรรพสัตว์ว่าแท้ที่จริงจิตและขันธ์ทั้งห้านั้นหาความมีตัวตนอันแท้จริงไม่
แท้ที่จริงมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
ท่านทรงชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของธรรมทั้งภายในและภายนอกจนเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า "ทุกสรรพสิ่ง" นั้นคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าฯ
เมื่อกาลต่อมามีเหตุให้พระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเรื่องสติปัฏฐาน
พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสธรรมไว้ถึงสี่หมวดใหญ่คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
เป็นการหยิบยกธรรมทั้งสี่หมวดนี้มาอธิบายเพื่อให้ได้ความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น
ธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่มันมิใช่ธรรมที่บ่งบอกถึงความซับซ้อนยุ่งเหยิงจนยากแก่การที่จะศึกษาเพื่อให้ได้ความเข้าใจในธรรมอย่างแท้จริงเกิดขึ้น
มันเป็นเพียงหมวดธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงธรรมต่างๆให้ตรงกับจริตของนักปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น
เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจนกลายเป็นจิตขึ้นมาทั้งในสี่หมวดคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางแห่งกายตน
เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางอิงเวทนาความรู้สึกต่างๆ
เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางเป็นจิตต่างๆ
เป็นจริตที่นักปฏิบัติชอบปรุงแต่งจิตไปในทางธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
จริตอันคือความชอบที่ชอบปรุงแต่งจิตไปในทางนั้นๆมันจึงเป็นจิตที่นักปฏิบัติเองสามารถเห็นจิตชนิดนี้แห่งตนอยู่แล้วในขณะที่จะหยิบยกจิตของตนขึ้นมาพิจารณาเพื่อให้ได้ธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
พระพุทธองค์ทรงมีความประสงค์เพียงแค่ให้เราเห็นจิตที่เราปรุงแต่งไปในขณะที่เรากำลังจะพิจารณาถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริงในขณะนั้น
เป็นการเห็นจิตในหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ว่าจะเป็นหมวด กาย เวทนา จิต ธรรมและพิจารณาถึงความเป็นจิตพิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าที่ยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตชนิดนั้นว่ามันมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอน
เป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงว่าจิตและขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นแท้ที่จริงมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


เพราะฉะนั้นธรรมอันคือ กาย เวทนา จิต ธรรม จึงเป็นธรรมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้เราสามารถพิจารณาให้ได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริง
ในแต่ละหมวดธรรมพระพุทธองค์ก็ทรงแจกแจงถึงเหตุและผลของความเป็นจริงตามธรรมชาติในแต่ละหมวดธรรมนั้นแต่เพียงเท่านั้น
เพราะฉะนั้นถึงแม้ธรรมในสติปัฏฐานทั้งสี่จะเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างละเอียดครบถ้วนมันก็เป็นเพียงธรรมที่สามารถบ่งชี้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงได้ครบทุกหมวด
กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็คือจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาในการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและพระพุทธองค์ก็ทรงแจกแจงธรรมเหล่านี้ไว้ครบตามวิสัยแห่งความเป็นมนุษย์ที่ชอบปรุงแต่งไปต่างๆนานา
มันจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาธรรมทั้งสี่หมวดนี้ให้ครบในทุกส่วน
เพียงแต่นักปฏิบัติหยิบธรรมในส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาพิจารณาและสามารถเข้าใจจนหมดความลังเลสงสัยและตระหนักชัดถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าฯอยู่อย่างนั้นก็ถือได้ว่านักปฏิบัติได้เข้าใจในธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่นี้แล้วและสามารถมีธรรมชาติแห่งสติอันคือสัมมาสติที่พึงระลึกถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นได้
แต่ถ้านักปฏิบัติจะเข้าไปศึกษาธรรมให้ครบในทุกๆส่วนไม่ว่าในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็ล้วนแต่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวนักปฏิบัติเองทั้งสิ้น
ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายจงเอาความรู้สึกว่าธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่ที่พระพุทธองค์ทรงแจกแจงไว้อย่างละเอียดมากมายจนครบถ้วนนี้ว่า "มันคือธรรมที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนยากแก่การศึกษา" นี้ออกไปเสีย






“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๙๔ ศาสนาของมวลหมู่มนนุษยชาติ


เพราะธรรมชาติได้เป็นครู
สอนให้ฉันได้รู้จักกับความเป็นตัวเองอย่างแท้จริง
ธรรมชาติสามารถนำพาฉันให้ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้
ไปบนวิถีที่เรียบง่ายในความเป็นธรรมชาติของมันเองในเส้นทางนั้น
ธรรมชาติได้บอกกับฉันว่า "ฉันและทุกสรรพสิ่งในจักรวาลแห่งนี้"
สามารถอยู่ร่วมและพึ่งพิงอาศัยกันได้อย่างเป็นปกติในความผาสุก
มันเป็นความเหมือนของทุกสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างในความเป็นธรรมชาติ
ที่ไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นตลอดเสมอมา
และจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปไม่มีวันผันแปรเป็นไปในทางอื่นๆได้
ปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายของสรรพสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกัน
ก็เป็นไปในความสุขศานติที่ทุกคนได้ทำหน้าที่แห่งตนตามธรรมชาติอยู่แล้ว
จักรวาลแห่งนี้จึงมีแต่ความสงบเงียบไร้สรรพเสียงแห่งความเป็นอัตตาตัวตน
ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน
จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๙๕ ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเอง

เมื่อเราได้หยิบยกจิตที่ปรุงแต่งไปในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม หมวดใดหมวดหนึ่งขึ้นมาพิจารณาถึงความเป็นจิตชนิดนั้นว่ามันไม่เที่ยงแท้แน่นอน
และได้พิจารณาถึงความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในหมวด กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นๆว่า ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้แท้ที่จริงมันก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน
จนเราได้ความเป็นจริงว่าแท้ที่จริงจิตนั้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นมันก็คือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
เมื่อเราสามารถเข้าใจตระหนักชัดถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นได้แล้ว
การที่ไม่ต้องคิดไม่ต้องปรุงแต่งขึ้นมาเป็นความคิด "ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง" แห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันจึงเป็น "ธรรมชาติแห่งการที่ไม่ต้องคิดธรรมชาติแห่งการที่ไม่ต้องปรุงแต่ง"
"ธรรมชาติแห่งการที่ไม่ต้องคิด" คือการที่ปล่อยให้ธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นมันทำหน้าที่แห่งมันตามความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นและก็ถือได้ว่าเรามีสัมมาสติคือสติที่สามารถพึงระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้วตามหลักของสติปัฏฐานทั้งสี่
การให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ตามความเป็นสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้วอย่างนั้น
มันก็จะทำให้เกิดความคล่องแคล่วไม่ติดขัดไปเองในความเป็นสภาพธรรมชาติแห่งมัน
มันก็จะทำให้เกิดความเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดไปเองโดยไม่สามารถกลับไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาได้อีกแล้วตามความเป็นธรรมชาตินั้น
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงมีความหมายถึงเรามีสัมมาสติที่พึงระลึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้อยู่ตลอดเวลามันจึงมีความหมายถึงเรามีสัมมาสมาธิอันคือความตั้งมั่นในธรรมชาตินี้โดยไม่แปรผันไปในทิศทางอื่นได้อีกเลยมันจึงมีความหมายถึงเรามีสัมมาวายาโมอันคือความเพียรอย่างแท้จริงที่เป็นความมุ่งมั่นที่พยายามจะกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนกับความเป็นธรรมชาตินั้นได้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงทำให้ไม่มีความใส่ใจว่ามีอะไรเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนอีกหรือไม่
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการรู้แจ้งในธรรมทั้งปวงว่าแท้ที่จริงธรรมทั้งปวงก็ล้วนคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นการหลุดพ้นได้จากภาวะธรรมอันปรุงแต่งได้อย่างเด็ดขาด
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็น "ความปกติ" ตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่ของมันเองมันจึงเป็นความบริบูรณ์พร้อมโดยความเป็นสภาพแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
เมื่อเข้าใจถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว
จงปล่อยให้ธรรมชาติมันทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพแห่งความเป็นธรรมชาตินั้นเถิด







“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๙๖ หัวใจแห่งสักกะ ตราบชั่วนิจนิรันดร์

พระพุทธศาสนาทำให้ฉันรู้จักคำว่า "ธรรมชาติ" ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่หาความเป็นตัวเป็นตนไม่ได้เลยสักนิดเดียว มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ธรรมชาตินี้มันทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนี้เสมอมาและตลอดไป ตามความเป็นธรรมชาติของมันอยู่เช่นนั้นเองอยู่แล้ว ถึงแม้ธรรมชาตินี้มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้นโดยมิได้เกิดจากอะไรและเกิดจากฝีมือใคร แต่ฉันก็ได้เห็นความสามารถของสัตว์ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ ที่มีศักยภาพแห่งความเป็นสัตว์ประเสริฐที่มากพอจนสามารถเข้าไปรื้อค้นและเข้าถึงความเป็นธรรมชาตินี้ได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการสละสิ่งของแบ่งปันให้กับผู้อื่นเป็นทานจึงทำให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์จึงมีความบริบูรณ์พร้อมในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการรักษาศีลจึงทำให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์จึงมีแต่ความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันอย่างศานติสุข เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการออกบวชเนกขัมมะจึงทำให้ในวันหนึ่งสังคมมนุษย์พบหนทางที่จะทำให้ชีวิตของพวกตนได้อยู่กับความสุขอันยั่งยืนอันแท้จริง
เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีปัญญาจึงทำให้ในวันหนึ่งมนุษย์ได้รู้จักความหมายของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นและทำให้จิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ได้ถึงความสมบูรณ์พร้อมตามที่มันควรจะเป็นไป
เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีวิริยะความเพียรโดยแท้จริงจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายมีความสำเร็จสมความปรารถนาไปสู่จุดหมายแห่งความมุ่งหวังที่มีอยู่ร่วมกันได้เร็ววัน
เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีขันติความอดทนจึงทำให้สังคมมนุษย์ไม่ตกไปสู่ที่ตกต่ำ
เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการมีสัจจะวาจาจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายดำรงตนอยู่ในคุณงามความดีเรื่อยมา
เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งการได้ตั้งใจไว้ในคำอธิษฐานจึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายพบเจอแต่เรื่องดีๆในสังคมที่ตนเองได้ร่วมกันอาศัยอยู่ เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีความรักความเมตตาต่อกันจึงทำให้สังคมมนุษย์มีแต่ความอบอุ่นซึ่งเป็นความปรารถนาดีที่มีให้แก่กันอยู่เสมอมา เพราะธรรมชาติของมนุษย์แห่งความมีอุเบกขาวางเฉยได้ทำให้ใจของมนุษย์ไม่ไหลลงตกไปสู่ที่ตกต่ำ
เพราะมนุษย์ได้ตัดสินใจที่จะดำรงชีวิตของตนเองและนำพาเผ่าพันธุ์ของพวกตนไปบนทางที่เป็นคุณงามความดีที่สังคมมนุษย์ได้เลือกไว้อย่างดีแล้ว เพราะเหตุแห่งความดีงามทั้งหลายนั้นเองจึงเป็นเหตุปัจจัยให้สัตว์มนุษย์ได้พบเจอหนทางที่ทำให้ตนเองออกจากความทุกข์ทั้งปวงได้ หัวใจแห่งสักกะของฉันเช่นกัน ฉันมีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์บนโลกและจักรวาลแห่งนี้ ฉันได้มีศรัทธาอย่างแท้จริงที่จะเลือกชีวิตของฉันเดินไปบนเส้นทางแห่งความเป็นธรรมชาตินี้ ถึงแม้ศักยภาพของฉันจะมีไม่มากเหมือนใคร แต่ฉันก็จะดำรงชีวิตไปตามอัตภาพที่ฉันพึงจะได้รับจากความสามารถของฉัน เท่าที่ฉันจะพึงฝึกฝนตนเองได้ในทุกขณะ






“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๙๗ วิชชา,วิมุติ,วิมุติญาณทัสนะ,ตถตา



การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิชชา คือความรู้แจ้งต่อความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งปวงว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งนั้นคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นและไม่สามารถมีสิ่งใดๆจะเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนได้อีกแล้วในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนี้

การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิมุติ คือความหลุดพ้นจากสภาพธรรมอันคือธรรมปรุงแต่งทั้งปวงได้แล้วอย่างหมดจด เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่หมายความถึงการพ้นไปจากสภาวะธรรมอันคือภาวะปรุงแต่งนั้นด้วยการที่ธรรมเหล่านี้ถึงความดับสนิทไปไม่มีเหลือไปในตัวอยู่แล้ว

การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น วิมุติญาณทัสนะ คือเป็นความรู้จริงต่อสิ่งทั้งปวงที่เป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นด้วยความที่รู้ว่าได้กลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงโดยไม่มีความแตกต่างแล้วซึ่งหมายถึงเป็นความหลุดพ้นจากสภาพธรรมอันคือธรรมปรุงแต่งทั้งปวงได้อย่างหมดจดไปในตัวอยู่แล้ว เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่หมายความถึงการพ้นไปจากสภาวะธรรมอันคือภาวะปรุงแต่งนั้นด้วยการที่ธรรมเหล่านี้ถึงความดับสนิทไปไม่มีเหลือไปในตัวอยู่แล้วเช่นกัน

การที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมันโดยที่ธรรมชาตินั้นสามารถทำหน้าที่ของมันได้อยู่อย่างนั้นโดยไม่มีมีความแคลนคลอนเป็นธรรมชาติที่เป็นความอิสระเด็ดขาดอย่างแท้จริงด้วยความเป็นธรรมชาติของมันเองในความเป็นเช่นนั้นเองอยู่อย่างนั้น จึงถือได้ว่าเป็น ตถตา คือ ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น

ความกลมกลืนเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงโดยไม่มีความแตกต่างและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งมันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นตามปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันตามวิถีในความเป็นไปแห่งมัน สิ่งที่เป็นธรรมชาติที่แท้จริงนี้ก็ล้วนแต่คือ วิชชา,วิมุติ,วิมุติญาณทัสนะ,ตถตา ไปในตัวอยู่แล้วเช่นกัน







“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๙๘ ศาสนาเมตไตรย


เมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปีในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าเมตไตรย จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
เมตไตรยพระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้นฯ








“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๙๙ การยังดำรงอยู่ในขันธ์ทั้งห้า

เมื่อชีวิตของเราได้ทำหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
วิมุติธรรมหรือธรรมอันทำให้หลุดพ้นจากการปรุงแต่งไปในตัณหาอุปาทานทั้งปวง
มันก็ทำให้เราได้ดำรงชีวิตไปบนเส้นทางธรรมแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้
ได้อย่างผาสุกในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนอีกต่อไป
ต่อแต่นี้ไปมันก็คงมีแต่สภาพขันธ์อันคือขันธ์ทั้งห้าที่เรายังต้องอาศัยมันอยู่และความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงนั้นแต่เพียงสองสิ่งนี้เท่านั้น
ขันธ์ทั้งห้าที่เรายังอาศัยเพื่อดำรงชีวิตอยู่ก็คือขันธ์ทั้งห้าที่เราอาศัยมันมาเกิดนั่นเอง
มันเป็นขันธ์ที่เราเคยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามีมันและยึดขึ้นมาในความเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเป็นจิตปรุงแต่งมาโดยตลอด
แต่มาบัดนี้เมื่อเราได้ตระหนักและรู้ชัดแจ้งในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าฯ
การที่เรายังดำรงอยู่ในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงเป็นการดำรงขันธ์ไปในความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน
รูป อันคือ รูปกายที่มีเลือดและเนื้อ ก็เป็นการอาศัยขันธ์เพียงแค่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราให้ดำเนินไปตามปกติแห่งวาระกรรมจนกว่าจะหมดสิ้นอายุขัย
เมื่อร่างกายหิวต้องการสารอาหารเพื่อทดแทนกำลังงานที่เสียไปแต่ละวัน
เราผู้มีจิตวิญญาณและอาศัยร่างกายนี้อยู่จึงต้องมีหน้าที่กินข้าวเพื่อดับความหิวตามปกติ เพราะธรรมชาติที่แท้จริงได้หล่อเลี้ยงชีวิตและจิตวิญญาณของเรา
การกินข้าวจึงมิใช่เป็นการกินด้วยความอยากอีกต่อไป
มันจึงเป็นการกินเท่าที่จำเป็นจะต้องกินแต่เพียงเท่านั้น
มันเป็นการกินตามหน้าที่ กล่าวคือ "เมื่อหิวก็กินเมื่ออิ่มก็หยุดกิน" ก็เท่านี้
เมื่อง่วงก็ต้องนอนตามหน้าที่เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน
เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องพาร่างกายอันเสื่อมโทรมนี้ไปเข้าโรงหมอเพื่อรักษาจากอาการธาตุขันธ์เรรวน
เมื่อสกปรกก็ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพตามหน้าที่เพื่อให้ขันธ์ร่างกายนี้ดำรงอยู่ต่อไปเท่าที่จะอยู่ได้
ส่วนขันธ์ทั้งสี่ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
มันเป็นส่วนของนามธรรมคือจิตใจที่ยังต้องทำหน้าที่ของมันอยู่เช่นกัน
วิญญาณ คือการรับรู้สิ่งที่เข้ามาทางทวารทั้งหกของร่างกาย
มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่ตามปกติแห่งการที่เรายังต้องดำรงอาศัยขันธ์
ถึงแม้เราจะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าฯแต่เราก็ยังสามารถมองเห็นถึงสิ่งต่างๆที่เข้ามาทางตา ได้ยินเสียงที่เข้ามาทางหู ได้ดมกลิ่นที่เข้ามาทางจมูก ได้รู้รสเมื่อเข้ามาทางลิ้น ได้ถูกสัมผัสสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบทางผิวกาย และได้รับรู้ถึงธรรมารมณ์ต่างๆที่เข้ามาทางใจ อยู่ตลอดเวลาอยู่อย่างนั้น
สัญญา คือความจำได้หมายรู้ มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
สังขาร คือการปรุงแต่ง มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
เวทนา คือความรู้สึก มันก็ยังทำหน้าที่ของมันอยู่
สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเป็นเพียงทำหน้าที่เท่าที่มันยังปรากฏด้วยความเป็นขันธ์แห่งมันและเรายังต้องอาศัยมันอยู่แต่เพียงเท่านั้น
แต่มิใช่เป็นการปรากฏด้วยการที่เราเห็นว่ามีมันเป็นสิ่งๆ
ถ้าหากว่าเราหลุดพ้นแล้วและต้องไม่มีสภาพธรรมใดๆปรากฏเลย
เราก็คงเป็นผู้หลุดพ้นที่เพียงแต่ได้อาศัยร่างกายนี้อยู่ไปเฉยๆเท่านั้นและไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ผู้อื่นได้เลย
แต่เมื่อร่างกายเราหรือขันธ์ของเรามันเป็นมาแบบนี้และต้องอาศัยมันอยู่
มันก็ย่อมทำงานไปตามปกติแห่งความเป็นสภาพมันของขันธ์นั้น
เราก็ย่อมนึกคิดไปได้เท่าที่สภาพของขันธ์ยังต้องทำงานในสภาพแห่งมันอยู่อย่างนั้น
แต่มันเป็นความนึกคิดเท่าที่จำเป็นตามสภาพความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯในความเป็นเราเช่นกัน
เป็นความนึกคิดเท่าที่เราจะใช้ติดต่อสื่อสารต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงที่มันว่างเปล่าฯอยู่อย่างนั้น
มิได้เป็นความนึกคิดที่เป็นตัณหาอุปาทานกลายเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาแต่อย่างไร





“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง” ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร