วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๗ การปฏิบัติธรรมตามสติปัฏฐาน

การพิจารณาธรรมเพื่อขจัดความทุกข์ซึ่งคือภาวะธรรมปรุงแต่งทั้งปวงเพื่อดำเนินไปสู่ความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งเรียกว่าการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นมีดังต่อไปนี้

๑. ก็เพราะทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่สามารถคงอยู่ในคุณสมบัติหรือคุณลักษณะแบบเดิมๆของมันได้อยู่ตลอดเวลามันมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่งอยู่เสมอไม่สามารถคงตัวอยู่ในสภาพเดิมๆซึ่งเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของมันทั้งหมดเท่าที่ปรากฏในขณะที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นและเข้าใจว่ามันคือสิ่งนี้ๆและเป็นแบบนี้ๆ ทุกสรรพสิ่งจึง "อนิจจัง" มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนอยู่ตลอดเวลา

๒.เมื่อทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นสิ่งๆนั้นของมัน ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของสิ่งๆนั้นจึงย่อมไม่เป็นจริงตามนั้นและไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นทุกสรรพสิ่งจึงย่อมเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

๓.เมื่อทราบถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นที่มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เราก็ควรนำหลักธรรมดังกล่าวข้างต้นมาพิจารณาเปรียบเทียบในความเป็นเราที่มีพฤติกรรมทางจิตที่ชอบปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นจนกลายเป็นจิตต่างๆและมันก็คือความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็ความเป็นเรานั้นแท้จริงมันหามีตัวตนไม่ ก็เพราะความเป็นเรานั้นมันเป็นสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาด้วยความเป็น ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ และขันธ์ทั้งหมดเหล่านี้ก็เป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลาขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะมีอวิชชาคือความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าจนกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา จิตต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะเหตุและปัจจัยแห่งความที่เข้าไปยึดนั้นมันก็ย่อมคงอยู่ในความเป็นของมันเองแบบนั้นไม่ได้ เมื่อแท้ที่จริงจิตของเราย่อมแปรผันมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจิตนั้นจึงหาเป็นจิตที่มีความหมายแห่งอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นไม่ จิตต่างๆที่เราปรุงแต่งขึ้นเพราะความเข้าไปยึดขันธ์ทั้งห้าจึงย่อมเป็นเพียงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนของมันอยู่อย่างนั้นเช่นกัน มันจึงเป็นการพิจารณาเพื่อให้ได้ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงว่า "ทุกสรรพสิ่งซึ่งรวมทั้งความเป็นจิตความเป็นขันธ์ทั้งห้าของเรานั้นมันย่อมเป็นแต่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น"

๔.สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นการตรัสธรรมเพื่อให้พิจารณาถึงความเป็นอัตตาตัวตนแห่งเราและขจัดเสียซึ่งความเป็นอัตตาเหล่านี้ด้วยการพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ เมื่อเข้าใจความเป็นจริงเช่นนี้แล้วธรรมชาติที่แท้จริงจึงย่อมปรากฏตามความเข้าใจแห่งเราในขณะนั้นด้วย พระพุทธองค์ได้ตรัสธรรมอันคือสติปัฏฐานไว้ถึงสี่หมวดคือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้นเป็นการตรัสธรรมไว้ตรงต่อจริตต่างๆของนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายเพื่อให้พิจารณาถึงความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของธรรมทั้งปวงเหล่านี้ ก็เป็นธรรมดาที่ความเป็นเราทั้งหลายย่อมเคยสั่งสมอนุสัยซึ่งคือพฤติกรรมทางจิตแตกต่างกันไปก็ในเมื่อชอบปรุงแต่งเป็นจิตไปอย่างไรในความหมายใดเมื่อเรามีความเข้าใจในความหมายแห่งธรรมทั้งปวงแล้วเราก็ย่อมเห็นจิตและย่อมเห็นความไม่เที่ยงแท้ของความเป็นจิตชนิดนั้นก่อนซึ่งเป็นจริตของนักปฏิบัติคนนั้นที่ชอบปรุงแต่งจิตไปในลักษณะนั้นๆนั่นเอง การตรัสธรรมไว้ทั้งสี่หมวดจึงมิใช่การตรัสไว้เพื่อให้เราเข้าไปพิจารณาธรรมให้ครบทั้งหมดทั้งสี่หมวดและเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องครบถ้วน เพราะความเป็นจริงการที่เรามีความเข้าใจแล้วว่าทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและการที่เราพิจารณาเห็นจิตที่เราปรุงแต่งขึ้นไปในทางใดทางหนึ่งตามจริตที่เราชอบปรุงอยู่อย่างนั้นในขณะนั้นแห่งการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมและเราย่อมเห็นจิตชนิดนี้ก่อนจิตอื่นๆ (ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในทางความเป็นตัวตนแห่งกายเราอันคือหมวด กาย ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในทุกๆทางที่เกิดและจิตนั้นเป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยเวทนาความรู้สึกต่างๆอันคือหมวดเวทนา ไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปกลายเป็นจิตต่างๆอันคือหมวดจิตและไม่ว่าจะเป็นจิตที่ชอบปรุงแต่งไปในภาวะธรรมต่างๆอันคือหมวดธรรม) มันก็ย่อมทำให้เรารู้ว่าจิตชนิดนี้เป็นจิตที่เราปรุงแต่งขึ้นตามจริตนิสัยแห่งเราเพราะความที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น และเราก็ย่อมพิจารณาได้เช่นกันว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นดังกล่าวและขันธ์ทั้งห้านั้นย่อมไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีความแปรผันไปหาความเป็นอัตตาตัวตนเป็นสิ่งๆนั้นได้อย่างแท้จริงไม่ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นจริงเหล่านี้มันจึงย่อมมีความหมายถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นมันย่อมคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วไปในตัวด้วยเช่นกัน

๕.การพิจารณาถึงความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของจิตของขันธ์ทั้งห้าของเราก็เป็นการพิจารณาเพื่อขจัดความไม่เข้าใจต่อความเป็นจริงว่าจิตที่เราปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้านั้นสิ่งทั้งหมดเหล่านี้ย่อมหาใช่ความเป็นตัวตนที่แท้จริงได้ ความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้ย่อมว่างเปล่าและทุกสรรพสิ่งทั้งภายในและภายนอกแห่งเราก็ย่อมล้วนแต่คือความว่างเปล่าด้วยเช่นกัน การพิจารณาอย่างนี้เพื่อให้ได้ความเป็นจริงตรงกับความเป็นธรรมชาติที่มันมีอยู่แล้วคือทุกสรรพสิ่งย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น การพิจารณาว่าจิตของตนและขันธ์ทั้งห้าแห่งตนเป็นของไม่เที่ยงนั้นจึงเป็นการพิจารณาเพียงเพื่อให้ตรงต่อความเป็นจริงเท่านั้นที่ว่า "ความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่แล้ว" มันจึงเป็นการพิจารณา "เพื่อให้ตรงต่อ" ความหมายแห่งธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น แต่มิใช่การพิจารณาเพื่อให้ธรรมชาตินี้ "มันเกิดขึ้นเป็นสภาวะธรรม" เพราะเหตุแห่งการพิจารณานี้แต่อย่างไร เพราะฉะนั้นธรรมชาติที่มันว่างเปล่าและมันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นมันจึงมิได้เกิดขึ้นมาเพราะใครมาทำให้มันเกิดขึ้นได้ ธรรมชาติที่มันเป็นของมันเองอยู่แล้วมันเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นจริงที่เป็นความบริบูรณ์พร้อมอยู่แล้วในความเป็นธรรมชาตินั้นเองโดยไม่มีส่วนพร่องไปในความหมายอื่นได้อีก เพราะฉะนั้นการเข้าใจผิดด้วยการหมั่นหยิบยกธรรมทั้งหมดเท่าที่ตนเองจะพึงทำได้ขึ้นมาพิจารณาแล้วยังเข้าใจไปอีกว่าการกระทำเช่นนี้จะยังให้ธรรมชาติเกิดขึ้นและเป็นการปฏิบัติไปบนความเพียรของตนเองเช่นนี้ไปเรื่อยๆแล้วมันจะมีผลทำให้ธรรมชาตินั้นมันบริบูรณ์ขึ้นมาในสักวันหนึ่งเพราะการปฏิบัติธรรมในลักษณะเช่นนี้เรื่อยไป การที่เราเข้าใจผิดเช่นนี้มันไม่ใช่เป็นการปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่ตรงต่อพุทธประสงค์ที่พระองค์ได้ตรัสธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่ไว้แต่มันเป็นเพียง "จิตที่เราปรุงแต่งไปในการปฏิบัติธรรมผิดๆของเราเท่านั้น" การพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาติที่มันว่างเปล่าเป็นการพิจารณาเพื่อให้เราเกิดความเข้าใจในสภาพความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วโดยตัวมันเอง เมื่อเกิดความเข้าใจและรู้จักความเป็นจริงของธรรมชาตินี้แล้วโดยหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวงและไม่หลงไปในทิศทางอื่นๆอีก มันจึงเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่ทำให้สามารถระลึกถึงความเป็นธรรมชาติแห่งมันได้อยู่ทุกขณะเป็นการระลึกชอบที่ทำให้สามารถเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความเป็นธรรมชาติที่มันบริบูรณ์พร้อมในความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น ความที่เป็นหนึ่งเดียวได้แล้วกับความเป็นปกติในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนที่มันเป็นความบริบูรณ์ในสภาพแห่งมันนั้นอยู่แล้วถือได้ว่าเป็นการระลึกที่ถูกต้องตามหลักแห่งสติปัฏฐานที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้แล้วทุกประการ


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๒๘ ถอนวัชพืช

ต้นข้าวได้ชูช่อและใบอวดความเขียวงามของมันอยู่เต็มท้องทุ่ง
มันเป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงการใกล้จากลาแห่งวสันต์ฤดู
ความชุ่มฉ่ำแห่งสายฝนที่เทลงมาทำให้ข้าวเริ่มตั้งท้อง
การไม่ดูแลเอาใจใส่ในบางโอกาสของชาวนาทั้งหลาย
ทำให้วัชพืชซึ่งเป็นส่วนเกินของระบบนิเวศน์ท้องไร่ท้องนา
เติบโตขึ้นอย่างมากมายจนมองแลดูไม่เห็นต้นข้าว
แต่ฉันเป็นชาวนาและเป็นผู้ปลูกข้าวมาตลอดชั่วชีวิตของฉัน
ฉันรู้ว่าธรรมชาติที่แท้จริงมันคือความหมายอะไร
การลงแปลงนาเพื่อถอนวัชพืชด้วยสัมมาสติ
อันคือการระลึกรู้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
มือที่ดึงถอนต้นหญ้าเปรียบเหมือนสติที่คงมั่น
ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
หญ้าที่ถูกถอนด้วยน้ำมือแห่งธรรมชาติ
มันทำให้นาแปลงนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเมล็ดข้าวแห่งพุทธะ
ที่พร้อมดาหน้าจะออกมาเป็นรวงสีทองในกาลอนาคต



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๙ สัมมาสติ



การที่สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติด้วยความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นโดยไม่มีความแตกต่างและไม่ผิดเพี้ยนในเนื้อหาความเป็นธรรมชาติและการที่ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นก็ถือได้ว่าเป็น "สัมมาสติ" คือการระลึกชอบแล้ว เป็นการระลึกได้ถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้นและเป็นการระลึกถูกต้องตามหลักสติปัฏฐานทั้งสี่

การที่นักศึกษามีความพยายามเข้าไปจับฉวยจับกุมธรรมแห่งสติขึ้นมาพิจารณาและมีความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการฝึกสติให้ดีขึ้นนั้นต้องหมั้นฝึกฝนซึ่งประกอบด้วยอุบายต่างๆและคิดว่ากำลังแห่งสติอันเกิดจากการฝึกฝนนี้จะเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นมีความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมไม่ขาดพร่องและเป็นเหตุให้นิพพานเกิดขึ้นได้และนักศึกษาเหล่านี้ต่างก็มีความเพียรพยายามในทุกวิถีทางเพื่อให้กำลังแห่งสตินี้เกิดขึ้นและเต็มบริบูรณ์ด้วยความเข้าใจแห่งตน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงแต่ "จิตที่ปรุงแต่งไปในการฝึกฝนธรรมแห่งสติ" และเป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในความมีสติตามความเข้าใจแห่งตน" แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแค่การใช้จิตแสวงหาจิตและมิใช่สัมมาสติแต่อย่างไร

ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯมันสามารถดำเนินไปด้วยความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนได้อย่างนั้นอยู่แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสติที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึงการที่สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลา การที่ปล่อยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นมันจึงเป็นกำลังแห่งสติที่แท้จริงอันจะทำให้มีความคล่องแคล่วไม่ติดขัดอยู่อย่างนั้นด้วยความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่งทั้งปวงได้




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๓๐ ปักษ์ใต้

รถไฟท้องถิ่นขบวนชุมพร-ชุมทางหาดใหญ่ได้พาชีวิตฉันเดินทางลงมาสู่ปักษ์ใต้เป็นครั้งแรก
เพราะความที่ฉันเป็นคนภาคกลางและไม่มีโอกาสได้มาเที่ยวทางถิ่นนี้เลย
รถไฟหวานเย็นขบวนนี้ซึ่งต้องจอดทุกสถานีได้พาให้ฉันตื่นตาตื่นใจไปกับทิวทัศน์รอบข้าง
ภาพปักษ์ใต้ในความทรงจำของฉันมันมีแต่ภูเขาทะเลและมโนราห์ที่แต่งตัวแปลกๆแต่สวยงาม
รูปภาพของสวนยางพาราที่ฉันชอบและเคยเอามาห่อปกหนังสือสมัยเรียนชั้นมัธยมปลาย
วันนี้มันได้ปรากฏขึ้นมาเป็นสวนยางจริงๆแก่สายตาของฉันที่สามารถมองเห็นได้ทั่วไปในขณะที่รถไฟได้แล่นผ่าน
การเดินทางที่ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นเพราะจุดหมายปลายทางที่จะไปนั้นฉันไม่รู้จักใครเลย
กับความแปลกตาเพลินใจในสิ่งที่ตนเองพึ่งเคยเห็นความเป็นธรรมชาติของภาคใต้
มันเป็นความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างบอกไม่ถูกทั้งในความกังวลใจและในความสุขที่ได้มาเยือนทางใต้ที่มันเกิดขึ้นพร้อมกันตลอดเวลาแห่งการเดินทางในครั้งนี้
เขาอกทะลุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุงตั้งทะมึนยืนรอฉันอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามสถานีรถไฟ
ฉันได้สะพายถุงย่ามขนาดใหญ่ที่ใส่บาตรและกลดลงรถไฟที่จุดหมายปลายทางพัทลุงนี้


พัทลุงเป็นจังหวัดเล็กๆที่เงียบสงบและเป็นที่ตั้งของวัดที่ฉันจะมาจำพรรษาอยู่ที่บ้านนาวง กิ่งอำเภอศรีนครินทร์
มันเป็นก้าวแรกของฉันที่พึ่งได้เริ่มต้นเดินบนเส้นทางธรรมและฉันต้องปรับตัวอีกมากมายต่อข้อวัตรปฏิบัติที่เป็นกฎระเบียบของวัดป่าที่นี่
วัดมีอาณาเขตบริเวณกว้างขวางเป็นธรรมชาติที่ร่มรื่นมีถ้ำน้อยใหญ่และมีลำธารไหลผ่านทะลุภูเขาจากอีกฝากหนึ่งมายังอีกฝากหนึ่ง
แกงที่เผ็ดร้อนในรสชาติเพราะใส่ขมิ้นและพริกมากเกินไปมันไม่คุ้นเคยกับลิ้นของคนภาคกลาง
แต่มันก็ทำให้เจริญอาหารพร้อมกับผักที่กินแกล้มกับแกงไม่ว่าจะเป็นใบทำมัง ใบมันปู ฝักสะตอ ลูกเหรียงและลูกเนียง
ซึ่งมันเป็นบรรดาผักเหนาะที่ชาวบ้านเขาเสาะหามาถวายมันเป็นผักที่หาได้ง่ายขึ้นตามท้องถิ่นทั่วไปของภูมิภาคนี้
ภาคใต้มีลูกหมากมากและฉันก็เริ่มทำตัวเป็นหลวงตาที่ต้องกินหมากอยู่เป็นประจำ
เป็นหมากที่สามารถขอกับชาวบ้านได้ทุกหลังคาเรือนเพราะทางนี้เขานิยมปลูกเอาลูกหมากไปขายเพื่อทำเป็นสีแดงชาด
หมากคำแรกในชีวิตที่กินแบบไม่ใส่ปูนแต่กินกับใบพลูเถื่อนที่เลื้อยขึ้นอยู่ข้างๆกุฏิมันทำให้ฉันมือไม้อ่อนมีเหงื่อออกซึมเหมือนคนจะเป็นลมเพราะโดนหมากยัน
อากาศตอนเช้าของที่นี่ในทุกๆวันทำให้รู้สึกสดชื่นและปลอดโปร่งเพราะมันยังครึ้มเต็มไปด้วยป่าไม้ที่แน่นหนาแย่งกันโตขึ้นมีลำต้นสูงชะลูดเพื่อรับแดดซึ่งมันเป็นป่าดงดิบแถบร้อนชื้น
เวลาบิณฑบาตที่ต้องเดินขึ้นควนภูเขาหลายลูกและต้องเดินเข้าไปในสวนยางลึกๆเป็นระยะทางที่ไกลในแต่ละหัวเช้ามันจึงทำให้ไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อย
ฉันชอบปักษ์ใต้ที่นี่เพราะสวยงามกว่าทางบ้านฉันแต่ก็ยังรู้สึกเหงา
การเก็บตัวอยู่กรรมฐานที่กุฏิแต่เพียงลำพังผู้เดียวซึ่งอยู่ท่ามกลางสวนเงาะลองกองและทุเรียนป่าที่ทางวัดปลูกไว้
มันทำให้ฉันได้ตกผลึกในชีวิตและสามารถเรียนรู้ปล่อยวางความเป็นตัวตนของตนเองมากขึ้น
พระอาจารย์ท่านสอนแต่เพียงว่าให้ใช้ชีวิตอยู่ไปแบบนั้นตามความสุขที่พึงมีตามอัตภาพในฐานะนักบวช คำสอนของอาจารย์ที่ดูเรียบง่ายแต่ต้องใช้ปัญญาอย่างมากมายเพื่อพิจารณาและเข้าถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตแห่งตนนั้น
มันก็ยังคงดูสับสนและวุ่นวายในหัวใจของพระใหม่เช่นฉันที่ใจมันยังคงเรียกร้องถึงสิ่งนี้สิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลา
ฉันได้เดินทางออกจากปักษ์ใต้มาก็หลายครั้งโดยจาริกไปอยู่ทางภาคอื่นๆบ้าง
แต่เพราะเหมือนโดนมนต์มัดใจจึงต้องแวะเวียนกลับมาเยือนทางใต้นี้อยู่เสมอๆ
ในท้ายที่สุดจึงต้องมาอยู่อย่างยาวนานเกินสิบปีที่ "วัดถ้ำเสือวิปัสสนา" จังหวัดกระบี่
ถ้ำเสือแห่งนี้นี่เองที่ฉันได้รู้แจ้งถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๓๑ สัมมาสมาธิ


เพราะเหตุแห่งการระลึกได้ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมชาติและธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันได้ทำหน้าที่ในความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นได้อย่างปกติไม่แปรผันไปในความหมายอื่นและเป็นความปกติที่ทำให้ธรรมชาติมันมีความเป็นอิสระเด็ดขาดในความหมายที่แท้จริงแห่งมันได้จึงเป็น "สัมมาสมาธิ" ความตั้งมั่นชอบ

การที่นักศึกษามีความพยายามเข้าไปจับฉวยจับกุมธรรมแห่งสมาธิอันเกิดจากการเข้าไปทำฌานขึ้นมาพิจารณาและมีความเข้าใจผิดต่อไปอีกว่าการฝึกสมาธิให้ดีขึ้นนั้นต้องหมั้นฝึกฝนซึ่งประกอบด้วยอุบายต่างๆและคิดว่ากำลังแห่งสมาธิอันเกิดจากการฝึกฝนนี้จะเป็นเหตุปัจจัยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นมีความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมไม่ขาดพร่องและเป็นเหตุให้นิพพานเกิดขึ้นได้และนักศึกษาเหล่านี้ต่างก็มีความเพียรพยายามในทุกวิถีทางเพื่อให้กำลังแห่งสมาธินี้เกิดขึ้นและเต็มบริบูรณ์ด้วยความเข้าใจแห่งตน แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงแต่ "จิตที่ปรุงแต่งไปในการฝึกฝนธรรมแห่งสมาธิ" และเป็น "จิตที่ปรุงแต่งไปในความมีสมาธิตามความเข้าใจแห่งตน" แต่เพียงเท่านั้น มันจึงเป็นเพียงแค่การใช้จิตแสวงหาจิตและมิใช่สัมมาสมาธิแต่อย่างไร


แต่การที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเรื่องการทำกรรมฐานแห่งฌานทั้งหลายไว้ในธรรมตามหมวดต่างๆในพระไตรปิฎกหรือแม้กระทั่งในสติปัฏฐานเองก็ตาม พระองค์มีพุทธประสงค์เพียงแค่ให้เราละทิ้งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตต่างๆและจิตนั้นเป็นอุปสรรคมาขวางกั้นทำให้ไม่สามารถพิจารณาได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงได้ด้วยอุบายการเข้าไปทำฌานเพื่อให้จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและเป็นอุปสรรคนั้นสงบระงับลงชั่วคราวและมีสมาธิตั้งมั่นในองค์ภาวนาอย่างไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดจิตอันประณีตในฌานนั้นๆ โดยถือว่าเป็นการปรับปรุงจิตที่วุ่นวายซึ่งเป็นจิตที่ยึดมั่นถือมั่นในนิวรณ์ธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องกีดขวางกางกั้นมิให้เรามีสติปัญญาในการพิจารณาความเป็นจริงตามธรรมชาติได้กลับมาสู่ความเป็นจิตที่ปกติอีกครั้งหนึ่งที่มีความสงบระงับพอที่จะมีสติปัญญาสามารถพิจารณาถึงเหตุและผลของธรรมชาติที่แท้จริงให้ปรากฏขึ้นตามสภาพธรรมชาติแห่งมัน เหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องการทำฌานก็มีแต่เพียงเท่านี้และมิได้ตรัสไว้เพื่อเหตุผลอื่นๆ

ก็เพราะความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันสามารถดำเนินไปด้วยความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติแห่งมันอยู่แล้วนั้นมันจึงมีความหมายถึงการมีความตั้งมั่นในความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นอยู่แล้วเช่นกัน กำลังแห่งสมาธิหรือความตั้งมั่นที่แท้จริงตามสติปัฏฐานทั้งสี่นั้นหมายถึงการที่สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯได้อยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตลอดเวลา การที่ปล่อยให้ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้ทำหน้าที่แห่งมันตามสภาพธรรมชาตินั้นมันจึงเป็นความคล่องแคล่วไม่ติดขัดอยู่อย่างนั้นและไม่แปรผันไปในความหมายอื่นมันจึงเป็นกำลังแห่งสมาธิที่แท้จริงอันจะทำให้มีความเป็นอิสระเด็ดขาดพ้นจากภาวะความปรุงแต่งทั้งปวงได้



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๓๒ หัวหน้าครอบครัว

สายลมแห่งเหมันต์ฤดูได้พัดมาเยือนจนทำให้หน้าเกี่ยวข้าวปีนี้หนาวจับใจ
เมื่อคืนผู้เฒ่าอยู่เถียงนาข้างๆได้เอาว่าวธนูขึ้นต้อนรับลมหนาว
เสียงอื๊ดอืดอืดอื๊ดมันดังแทรกเข้ามาในผ้าผวยของฉัน
ใบตาลที่แปะกับตัวว่าวเมื่อมันโดนลมบนพัดผ่านมันจึงส่งเสียงดังตลอดทั้งคืน
ความเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้าวมาตลอดทั้งวันมันทำให้ฉันแทบหมดแรง
ข้าวที่ปลูกไว้ปีนี้ให้ผลดีรวงข้าวเป็นรวงใหญ่สีทองเมล็ดข้าวดูสมบูรณ์
เป็นเพราะฉันเริ่มใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่พระอาจารย์แห่งวัดป่าหมู่บ้านข้างๆ
ท่านมีเมตตาให้ฉันไปเข้าอบรมการปลูกข้าวด้วยวิธีกรรมตามธรรมชาติที่วัดของท่าน
และฉันได้ลองกลับมาทำปุ๋ยอินทรีย์เองที่บ้านและทดลองใส่ปุ๋ยในนาปีนี้
เมื่อผลผลิตออกมามากเป็นที่พอใจการเอาข้าวขึ้นลานจึงน่าจะต้องใช้เวลาอยู่นาน
ม่านตามันกำลังปิดลงเพราะความอ่อนระโหยโรยแรง
แต่ก็พลันสะดุ้งตื่นเพราะเจ้าแดงตื่นขึ้นมาร้องไห้จ้าลั่นกลางดึก
จนแม่มันต้องรีบลุกเอาขวดนมที่เตรียมชงไว้แล้วป้อนใส่ปาก
การพึ่งมีลูกน้อยและต้องหอบกระเตงเอามาลงนาด้วยในยามฤดูเกี่ยวข้าวนี้
จึงเป็นเรื่องที่ลำบากยากยิ่ง
วันนี้แม่ไอ้แดงต้องวิ่งไปที่เถียงนาอยู่บ่อยครั้งเพราะลูกร้องไห้กวนไม่หยุด
ไปๆมาๆฉันต้องก้มหน้าเกี่ยวข้าวอยู่คนเดียว
และเพลินไปกับการที่ได้ฟังเสียงกล่อมลูกของเมียรัก
เพราะเราทั้งสองคนพึ่งมีลูกด้วยกันเป็นคนแรก
ฉันแอบอดยิ้มไม่ได้ที่ได้ยินเสียงเมียกล่อมเจ้าตัวเล็กดังลั่นไปทั่วท้องทุ่ง
และไม่รู้เลยว่าเมียฉันได้เอาเพลงกล่อมลูกมาจากไหนและร้องเป็นตั้งแต่เมื่อไร
แต่เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงที่บ่งบอกได้ถึงความรักอย่างมากมายที่แม่มีต่อลูก
น้ำเสียงที่พยายามกล่อมให้ลูกหลับนั้นเป็นน้ำเสียงที่ดูอาทรอบอุ่นมีพลัง
วันนี้ทำให้ฉันรู้ได้ว่าเพราะความรักของพ่อและแม่อย่างแท้จริง
จึงทำให้ลูกๆทุกคนบนโลกใบนี้ได้เติบใหญ่เป็นมนุษย์มนาขึ้นมา
เหงื่อที่ไหลรินหยาดราดรดลงบนผืนแผ่นดินของหัวหน้าครอบครัว
อันเกิดจากการตรากตรำทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกน้อย
มันคือตัวแทนแห่งจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์
ที่ได้พยายามทำหน้าที่ของตน
ประคับประคองครอบครัวตนเองให้อยู่รอดได้


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๓๓ สัมมาวายาโม


การที่สามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่อย่างนั้นตามสภาพแห่งธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ถือว่าเป็น "สัมมาวายาโม" คือความเพียรพยายามชอบ เป็นความเพียรพยายามชอบอันแท้จริงที่จะทำให้เกิดความกลมกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีข้อแตกต่างในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นเอง
ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่ความเป็นอัตตาตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ในความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้ได้อยู่แล้ว
ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่เป็นการละทิ้งสลัดออกซึ่งเหตุปัจจัยอันเป็นการยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้อยู่แล้ว
ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่แสดงว่าทุกสรรพสิ่งนั้นมันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้อยู่แล้ว ทุกสรรพสิ่งย่อมหาความเป็นอัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้อยู่แล้ว
ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่มันเป็นความบริบูรณ์พร้อมเต็มเปี่ยมในความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว

ก็เพราะ "การที่ปล่อยให้ธรรมชาติมันสามารถดำเนินไปได้ตามความเป็นปกติแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" มันคือความหมายแห่งธรรมชาติแท้จริงที่เป็นสิ่งยืนยันแสดงได้ถึงความที่อัตตาตัวตนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในความเป็นธรรมชาตินี้ความที่ได้ละทิ้งสลัดออกซึ่งความเป็นอัตตาตัวตนนั้นแล้วความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้และความที่ธรรมชาตินี้มันก็เป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันเป็นธรรมชาติที่บริบูรณ์เต็มเปี่ยมของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่นักศึกษาละทิ้งความเพียรพยายามโดยชอบซึ่งเป็นหลักธรรมแห่งธรรมชาติหลักเดียวอันจะทำให้สามารถดำเนินไปตามความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนั้นได้แล้วหันไปแสวงหาหลักธรรมอันคือหลักเกณฑ์อื่นๆซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของนักศึกษาเองว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นมันจะทำให้ความเป็นธรรมชาตินี้เกิดขึ้นมาได้และมันจะนำมาซึ่งความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมมีความเต็มรอบแห่งธรรมชาติเกิดขึ้นและเรียกตรงนั้นว่านิพพาน แล้วนักศึกษาก็เริ่มแสวงหาธรรมต่างๆอันมิใช่ความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่แล้วและเริ่มกระทำซึ่งความเป็นธรรมต่างๆเหล่านั้นให้เกิดขึ้นตามความสามารถของนักศึกษาเองและมีความเข้าใจว่าสักวันหนึ่งธรรมที่ได้ทำขึ้นมันจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นิพพานเกิดขึ้นสักวันหนึ่งในการข้างหน้า สิ่งเหล่านี้ถือว่ามิใช่ความเพียรพยายามโดยชอบแต่มันเป็นเพียงแค่ความปรุงแต่งจิตไปในการแสวงหาธรรมอื่นๆอันมิใช่ธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริง




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๓๔ ยายกับหลาน


รถเมล์ปรับอากาศชั้นหนึ่งสายเขมราฐ-กรุงเทพฯ
ได้เคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองเขมราฐเมื่อห้าโมงเย็นของวันนี้
ภาพที่ยายกับแม่ได้มายืนส่งขึ้นรถ
กำลังพร่าเลือนรางจางหายด้วยระยะทางที่กำลังห่างออกไปเพราะความเร็วของรถ
ฉันเป็นเด็กบ้านนอกคอกนาเติบโตมากับท้องทุ่ง
แห่งอำเภอชายแดนที่ติดแม่น้ำโขงของจังหวัดอุบลราชธานี
พ่อและแม่ของฉันแยกทางกันตั้งแต่ฉันยังเล็กมากจำความไม่ได้
ฉันโตมาในท่ามกลางความไม่พร้อมหน้าพร้อมตาของครอบครัว
แม่ทิ้งฉันไว้ให้ยายเลี้ยงและหนีเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ
ส่วนพ่อได้บวชเป็นพระตั้งแต่เลิกกับแม่
ฉันพอจำความได้ว่าในแต่ละปีพ่อจะมาเยี่ยมหาครั้งหนึ่ง
แต่มันก็เป็นเพียงระยะเวลาที่สั้นนักแล้วพ่อก็จากไป
ส่วนแม่นั้นต่อมาสามารถสอบเป็นข้าราชการตัวเล็กๆ
และย้ายกลับมาอยู่บ้านเมื่อฉันโตเป็นหนุ่มเรียนมอปลายแล้ว
คงมีแต่ยายเท่านั้นที่เลี้ยงฉันมา
และให้ความอบอุ่นเสมอเหมือนว่าเป็นแม่ของฉันอีกคนหนึ่ง
ครอบครัวของฉันมีฐานะยากจน
ยายเป็นเพียงชาวนาและเป็นแม่ค้าขายของตามตลาดนัด
ความยากจนมันสอนให้ฉันอดทนและตั้งใจเรียนหนังสือ
เพื่ออนาคตของตนเองและครอบครัวที่ดีกว่านี้
หกปีสำหรับความมีวินัยในการอ่านหนังสือในช่วงชั้นเรียนมอต้นและมอปลาย
มาวันนี้ความฝันของฉันก็กลายเป็นจริงขึ้นมา
ฉันสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ จุฬา กรุงเทพฯ
รถเมล์คันนี้กำลังพาฉันมุ่งเข้าสู่เมืองหลวง
เพื่อตามหาฝันที่ฉันหวังไว้ให้เป็นจริงขึ้นมาได้
ฉันได้แต่บอกตัวเองว่าฉันจะทำหน้าที่ของฉันในวันนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้




รถเมล์ปรับอากาศชั้นหนึ่งสายเขมราฐ-กรุงเทพฯ
ได้เคลื่อนตัวออกจากตัวเมืองเขมราฐเมื่อห้าโมงเย็นของวันนี้
ภาพของหลานที่ฉันและแม่ของมันได้มายืนส่งขึ้นรถ
กำลังพร่าเลือนรางจางหายด้วยระยะทางที่กำลังห่างออกไปเพราะความเร็วของรถ
ฉันเป็นชาวนาเติบโตมาในถิ่นทุรกันดารอำเภอเล็กๆแห่งเขมราฐนี้
สามีได้ตายหนีจากไปทำให้ฉันเป็นแม่ม่ายมาหลายปี
อีนางมันแต่งงานและก็ป๊ะทิ่มผัวทิ้งหลายชายตัวเล็กๆไว้ให้ฉันเลี้ยง
บักหำมันเป็นเด็กกำพร้าพ่อแต่ฉันก็พยายามเลี้ยงดูมันมาจนมันเติบใหญ่
ถึงฉันจะมีฐานะยากจนแต่ก็ไม่เคยให้หลานต้องอดต้องอยาก
ฉันพยายามดิ้นรนหาทุนมาค้าขายออกไปขายของตามตลาดนัด
พอได้เงินมาซื้อข้าวกับข้าว
เงินที่ได้จากการทำนาขายข้าวในแต่ละปี
ก็ต้องเก็บออมไว้เพื่อส่งให้หลานเรียนในชั้นสูงๆต่อไปเพื่ออนาคตของมัน
ปีนี้บักหำมันโตเป็นหนุ่มและต้องเข้าไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ
มาวันนี้รู้สึกใจหายที่หลานชายได้ห่างเหินถูกพรากจากอกไป
ด้วยการศึกษาและอนาคตที่ดีกว่าที่เมืองหลวง
ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ฉันและแม่มันต้องส่งเสียให้
ทำให้ฉันต้องประหยัดและเก็บออมเงินที่ได้มาให้มากกว่านี้
อีกสี่ปีที่ฉันต้องกัดฟันส่งหลานเรียนให้จบ
กับกระดาษปริญญาแผ่นเดียวที่การันตีอนาคตของเขาเองนั้น
ถึงฉันจะลำบากลำบนแต่ก็ไม่เคยปริปากบ่นให้ใครๆฟัง
เพราะฉันรู้ว่าชีวิตของฉันต้องยืนหยัดอยู่ให้ได้
"เพื่อความหวังและอนาคตของใครบางคน"
ฉันได้แต่รำพึงในใจว่า
ขอให้หลานตั้งใจเรียนให้จบและเป็นคนดีที่สังคมยอมรับ







“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๓๕ มหาสติปัฏฐานสูตร



ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


กายานุปัสสนา

อานาปานบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

อิริยาปถบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างไรๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

สัมปชัญญบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

ธาตุมนสิการบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย
ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

นวสีวถิกาบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่าถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่งกระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย
มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ




เวทนานุปัสสนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ



จิตตานุปัสสนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ




ธัมมานุปัสสนา


นีวรณบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยกามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเราหรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ



ขันธบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ


อายตนบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูปและรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่งสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่
ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่ ฯ


โพชฌงคบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯอีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ


สัจจบรรพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิดความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลายความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญกิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้นภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างไรอย่างหนึ่งผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างไรอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็
เป็นทุกข์ ฯ
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันมีความเกิดอีกประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตกเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหนเมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจารเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉนนี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่าสัมมาวาจา ฯ
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯ

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างไรอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๓๖ วิถีชีวิตแห่งลำโขง

สายน้ำได้ไหล่บ่ามาจากทางเหนือจนน่ากลัวในช่วงท้ายฤดูของน้ำหลากนี้
สายน้ำที่เหมือนจะดูรีบเร่งพาตัวมันเองให้ล่องไหลผ่านสายตาของฉันไปไวๆ
มันคือแม่น้ำโขงที่เปรียบเสมือนสายเลือดขนาดใหญ่ที่ได้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน
ที่อาศัยอยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว
โขงมีส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษย์ในแถบลุ่มน้ำนี้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมา
วัดที่ฉันได้เข้ามาอยู่นี้เป็นวัดที่ติดริมโขงของอำเภอสังคมจังหวัดหนองคาย
หลังจากออกพรรษาแล้วฉันได้มีโอกาสเดินทางจาริกมาถึงที่นี่
เป็นเพราะรู้จักสนิทกันดีกับเจ้าอาวาสวัดนี้เราเจอกันเมื่องานปริวาสกรรมปีกลาย
ด้วยความคุ้นเคยจึงทำให้ฉันมีโอกาสได้เลือกกุฏิที่ติดริมโขงเพื่อเข้าอาศัยอยู่ตามใจชอบ
โขงเป็นสายน้ำที่สวยและมีเสน่ห์เฉพาะตัว
ตำนานเกี่ยวกับพญานาคในน้ำโขงยิ่งเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับแม่น้ำสายนี้
ยิ่งในยามค่ำคืนเดือนเพ็ญลำน้ำโขงจะสวยงามเด่นเป็นพิเศษ
ดวงจันทร์เพ็ญที่ได้สาดแสงส่องลงมายังผืนน้ำที่พลิ้วเป็นระลอกคลื่น
เงาจันทร์ที่สะท้อนขึ้นมาบนผิวน้ำและมันปรากฏอยู่กึ่งกลางลำน้ำนั้น
แลดูเหมือนมันจะตรึงให้ทั้งสองฝั่งไทยลาวแนบเข้าหาเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน
ฉันได้ผูกเปลนอนที่ใต้ต้นมะม่วงสองต้นที่ยังไม่โตมากนักมันขึ้นอยู่หน้ากุฏิติดริมตลิ่ง
ยามค่ำคืนจะมองเห็นชาวประมงจุดตะเกียงเจ้าพายุออกหาปลาโดยเฉพาะทางฝั่งโน้น
แสงตะเกียงที่ริบหรี่เพราะมองเห็นอยู่ไกลมันส่องแสงวับแวมไปมา
แสงไฟที่พรางอยู่กับที่มันบอกถึงความใจเย็นของนักหาปลาที่กำลังวางเหยื่อบนราวเบ็ด
ฉันไม่เคยข้ามไปฝั่งทางโน้นมาก่อนเลยเพราะไม่รู้จักใครที่เมืองลาว
จะข้ามไปก็โดนแต่คำขู่ของเพื่อนพระว่าต้องระวังให้ดีในการข้ามไปฝั่งโน้น
เพราะจะโดนเจ้าหน้าที่ทางโน้นจับขังคุกขี้ไก่และจะโดนจับสึก
แต่ภาพที่ฉันได้ยลโฉมอยู่ทุกวันคือฝั่งทางโน้นยังมีความเป็นธรรมชาติมีภูเขา
เป็นป่าเป็นเขาทึบอย่างหนาแน่นและยังมองเห็นหมู่บ้านเล็กๆที่ติดอยู่ริมโขง
ชาวบ้านฝั่งทางโน้นนิยมปลูกใบยาสูบสามารถเห็นได้ทั่วตลอดริมตลิ่งฝั่งโขง
ฉันคิดว่าที่นั่นชาวบ้านคงใช้ชีวิตด้วยวิถีแห่งความสงบและเป็นไปอย่างเรียบง่าย
ที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติแห่งบ้านเมืองเขาที่ยังคงปรากฏมองเห็นได้จากคนฝั่งไทย
บ้านเมืองของเขามันตรึงตาตรึงใจให้ฉันร่ำๆจะข้ามไปเที่ยวที่ฝั่งลาวให้ได้ภายในเร็วๆนี้
ความเข้มงวดของระบบปกครองฝั่งโน้นมิอาจห้ามใจฉันได้อีกต่อไปแล้ว



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๓๗ กายานุปัสสนา

ในส่วนกายานุปัสสนาสติหรือสติปัฏฐานในหมวด กาย นั้น เป็นพุทธประสงค์ที่จะให้เราย้อนกลับมาพิจารณาถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และการยึดมั่นถือมั่นเป็นจิตปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนเป็นเราเกิดขึ้น" ว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาในการยึดมั่นถือมั่นรูปกายของเราเองในความปรุงแต่งไปว่า “ ร่างกาย ” นี้คือ “ อัตตาตัวตนแห่งเรา ” แต่แท้ที่จริงนั้นอวัยวะทั้งหลายที่ประกอบขึ้นมาเป็น “ ร่างกาย ” มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้ไม่นานแล้วสภาพเดิมแห่ง “ ร่างกาย ” นั้นก็ต้องเปลี่ยนสภาพไปเพราะมันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ กายมันเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนไม่สามารถคงอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆได้ในขณะที่เข้าไปยึดความเป็นมันในขณะนั้น การพิจารณากายเป็นอุบายที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เพื่อให้เราละจากทิฐิความเห็นที่ปรุงแต่งขึ้นในส่วนที่ว่า “ กาย ” นี้ คือ “ อัตตาตัวตนแห่งเรา ”และให้เราเห็นถึงกายนี้แท้จริงหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่ตามความเป็นจริงตามธรรมชาตินั้นกายย่อมเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงโดยใช้การพิจารณากายเป็นบาทฐานด้วยการพึงพิจารณาถึงความเป็นจริงว่าจิตที่ปรุงแต่งไปในความเป็นกายแห่งตนนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนและพึงพิจารณาเห็นถึงความเป็นจริงว่าจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาโดยเห็นว่ากายนี้คือ“ อัตตาตัวตนแห่งเรา ”นั้นมันเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าและให้พึงพิจารณาด้วยว่าในความเป็นขันธ์ทั้งห้าอันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นสิ่งเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนหาความเป็นตัวตนที่แท้จริงไม่ แท้จริงมันย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น และพระพุทธองค์มีพุทธประสงค์ให้น้อมนำกายภายนอกที่พึงเห็นจากบุคคลอื่นเข้ามาพิจารณาให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงเช่นเดียวกัน เป็นการพิจารณากายในกายโดยการพิจารณากายภายในคือกายเราเองและกายภายนอกคือกายของบุคคลอื่นที่พึงเห็น

การพิจารณากายเป็นบาทฐานจึงย่อมได้ความเป็นจริงปรากฏขึ้นมาว่าแท้ที่จริง "ทุกสรรพสิ่ง" ย่อมคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯย่อมทำหน้าที่ตามสภาพธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น





“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๓๘ อดทนและเรียนรู้

โลกใบนี้กำลังทรุดโทรมลง ถูกเกลือกกลั้วไปด้วยความต้องการของมนุษย์
อันคือความยุ่งเหยิงในตัณหาอุปาทานแห่งตนไม่มีที่สิ้นสุด
แต่ชีวิตของฉันต้องหลบมาอยู่ตามลำพัง
แค่เพียงก้มหน้าก้มตาทำงานเท่าที่พอจะมีความสามารถทำได้
เงินที่ได้มามันเพียงพอสำหรับค่าอาหารเพื่อเลี้ยงครอบครัวแค่ในวันนี้
ความสุขของฉันมีได้แค่เพียงการประทังชีวิตให้อยู่รอดไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น
แต่ถึงอย่างไรฉันก็ยังมีความสุขใจที่ยังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางความลำบาก
เพราะฉันรู้ว่า "ชีวิตและความสุขที่แท้จริงของมนุษย์" คืออะไร
ตราบเมื่อชีวิตยังมีลมหายใจได้อยู่และใจยังมีความสุข
เมื่อได้ตระหนักถึงคุณค่าแห่งการที่ฉันได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ขอบคุณความลำบากที่สอนฉันให้รู้จักคำว่า "อดทน"
ขอบคุณความทุกข์ยากที่สอนให้ฉันรู้จัก "ปล่อยวาง"
ขอบคุณความเป็นตัวเองที่ยังสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
และสุดท้ายขอบคุณโลกใบนี้ที่ยังมีพื้นที่ให้ฉันได้ยืนอยู่
อย่างมีอิสระตราบจนลมหายใจสุดท้าย



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๓๙ อานาปานบรรพ

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการทำกรรมฐานแบบอานาปานสติด้วยการพึงมีสติระลึกถึงลมหายใจเข้าออก เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งลมหายใจในจุดใดจุดหนึ่งในร่างกายและจุดที่เกิดขึ้นแห่งลมหายใจนั้นก็เปลี่ยนสภาพไปลมหายใจตั้งอยู่จุดเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากจุดเดิมนั้น ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของลมหายใจที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในจุดเดิมได้มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในจุดเดิมนั้น ลมหายใจที่เข้าออกและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันประณีตในองค์ฌานทั้งหลายอันเกิดจากการระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออกและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตแห่งฌานขึ้นมาทั้งหลายนั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น


( ที่กล่าวว่า ฌาน คือ ภาวะจิตอันประณีตนั้น มีความหมายถึงการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในภาวะแห่งฌานขึ้นมาจนเกิดเป็นภาวะธรรมเกิดขึ้น การที่เข้าไปยึดว่าเป็นสิ่งๆหนึ่งซึ่งคือภาวะแห่งฌานนี้มันย่อมเป็นสิ่งปรุงแต่งขึ้นมาและมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ )




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

บทที่ ๔๐ ก่อนทำวัตรเย็น

ช่วงอาทิตย์ใกล้ลาลับขอบฟ้าเมื่อห้าโมงแลง
ตรงลานวัดที่ติดกับทางขึ้นตีนเขา
จะมีหมู่แมลงปอมาบินวนให้ดูอยู่ทุกวัน
ยิ่งในวันนี้ฝนฟ้าได้ตกพรำๆลงมาตลอดตั้งแต่รุ่งเช้า
พึ่งมาหยุดตกเอาตอนบ่ายสาม
อากาศที่ยังครึ้มไม่มีแดดกอปรกับความชุ่มเย็นของสายฝน
ทำให้ผืนดินที่ถูกแดดแผดเผามาหลายวันมันคลายความร้อนออกมาที่หน้าดิน
หลังฝนตกแบบนี้ทำให้เราสามารถได้สัมผัสถึงกลิ่นธรรมชาติของดินทราย
ที่มันระเหยเป็นไอดินระอุขึ้นมาบนอากาศที่โล่งโปร่ง
ท้องฟ้าใสๆทำให้แมลงปอฝูงใหญ่ออกมาบินล้อเล่นลมกันอย่างร่าเริงใจ
มันเป็นภาพที่สวยงามแสดงถึงความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง
ที่มันยังปรากฏให้เห็นตามชนบทท้องทุ่งนา
ไม่เว้นแม้แต่วัดป่าบ้านนอกๆแห่งนี้ที่ฉันได้จำพรรษาอยู่
สายลมที่พัดโชยวนมาทางด้านทิศเหนือของวัด
ทำให้พวกแมลงปอฝูงนี้ต้องขยับปีกบางๆของมัน
กระพือขึ้นลงเพื่อพยุงตัวมันเองให้อยู่ในอากาศและไม่แตกฝูงออกไป
แต่บางตัวก็หลบหลีกฝูงของตัวเองมาเกาะอยู่บนดอกหญ้าที่ขึ้นเป็นดงอยู่ริมลานดิน
แมลงปอหลายตัวบินลงมาเกาะตามพื้นดินเพื่อดูดกินโป่งดินหลังฝนตก
ตัวผู้บางตัวก็ขอดหางหงิกงอเพื่อผสมพันธุ์กับตัวเมียที่ตนเองพึงพอใจ
แมลงปอปีกบางใสนับร้อยตัวที่บินโต้คลื่นลมฉวัดเฉวียนวนไปมา
และกับภาพฉากหลังซึ่งเป็นทิวป่าที่ทางวัดได้ปลูกต้นกุงขึ้นไว้จนหนาแน่น
ทำให้ฉันอดไม่ได้ที่จะนั่งมองภาพแห่งธรรมชาติเหล่านี้อยู่นานสองนาน
และอดนึกถึงความเป็นชีวิตของตนไม่ได้
แมลงปอเหล่านี้มันยังรู้จักทำให้ชีวิตของพวกมันมีความสุขตามประสาสัตว์
เป็นความสุขที่พึงมีพึงได้ตามวาระของความเป็นธรรมชาติที่หยิบยื่นให้กับพวกมันมา
ชีวิตของฉัน ณ วินาทีนี้ก็เช่นกัน
จิตใจของฉันก็ควรจะแช่มชื่นให้สมกับบรรยากาศที่ใสๆสบายๆหลังฝนพึ่งหยุดตก
ฉันนั่งดูความเป็นไปในธรรมชาติแห่งชีวิตของตนเองอยู่อย่างนั้น
จนกระทั่งถึงเวลาทำวัตรเย็นเสียงฆ้องได้ถูกตีขึ้นจนดังลั่นไปทั่ววัด
ฉันจึงเต็มใจลุกเข้าไปที่ศาลาเพื่อทำวัตรเย็นกับหมู่คณะด้วยความสุขใจอย่างยิ่ง




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๔๑ อิริยาปถบรรพ


พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถึงการพึงมีสติระลึกถึงอิริยาบถต่างๆของกายเช่น ยืน นั่ง เดินและนอน เพื่อพิจารณาเห็นถึงความเกิดขึ้นแห่งอิริยาบถของร่างกายและอิริยาบถที่เกิดขึ้นของร่างกายก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในอิริยาบถเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากอิริยาบถเดิมนั้นไปเป็นอิริยาบถอื่น ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดาของอิริยาบถที่ไม่สามารถตั้งอยู่ในอิริยาบถเดิมได้มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในอิริยาบถเดิมนั้น อิริยาบถและร่างกายเรานี้ย่อมหาความมีตัวตนที่แท้จริงไม่และพึงพิจารณาถึงจิตที่ปรุงแต่งขึ้นอันเป็นไปในอิริยาบถต่างๆของร่างกายและขันธ์ทั้งห้าอันคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งอันเกี่ยวกับกายในอิริยาบถต่างๆขึ้นมาทั้งหลายนั้น "จิตชนิดนี้และขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้" ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกันและควรน้อมนำสิ่งที่เราเห็นกายภายนอกคืออิริยาบถของคนอื่นมาพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯเช่นกัน จิตที่ปรุงแต่งขึ้นและขันธ์ทั้งห้ารวมถึงทุกสรรพสิ่งนั้นย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนซึ่งหมายถึงแท้จริงแล้วธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งย่อมว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร