วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๑๒ เสียงแห่งศรัทธา


วันนี้เป็นวันพระมีชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้ๆเดินทางมาทำบุญกันแต่เช้า
พระบวชใหม่อย่างฉันอดตื่นเต้นไม่ได้ที่เห็นญาติโยมอยู่กันเต็มศาลาวัด
ก่อนที่เสียงระฆังจะถูกตีดังขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณให้ภิกษุในวัดขึ้นฉันอาหารเช้า
ชาวบ้านก็จะรีบเร่งจัดเตรียมอาหารใส่สำรับพากับข้าวให้พอกับจำนวนพระในวัด
และจัดแจงเอาดอกไม้ที่เตรียมมาจากบ้านใส่ในแจกันใหญ่ที่ทางวัดเตรียมไว้ให้
เราจะเห็นดอกไม้หลากสีและหลากชนิดปักอยู่ในแจกันอันเดียวกันเป็นที่สวยงาม
และดอกไม้ส่วนหนึ่งก็ถูกเสียบไว้ในกรวยใบตองพร้อมทั้งธูปเทียน
มันเป็นกรวยดอกไม้ที่ต่างคนต่างก็ทำมาเองที่บ้านตอนรุ่งเช้าก่อนมาวัด
กรวยดอกไม้นี้เป็นสิ่งที่ทุกคนนำมาบูชาเพื่อแสดงการเข้าถึงพระรัตนตรัย
เมื่อพระได้ขึ้นศาลาและนั่งลงบนอาสนะของตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ชาวบ้านก็ได้หยิบกรวยดอกไม้ของตนขึ้นมาพร้อมกับพนมมือ
แล้วชาวบ้านก็พร้อมใจกันเปล่งเสียงบูชาพระรัตนตรัย
เป็นทำนองสรภัญญะลั่นศาลา
"มาลาดวงดอกไม้ มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาคุณพระพุทธ ขอบูชาคุณพระพุทธ ผู้ได้ตรัสรู้มา
ขอบูชาคุณพระธรรม ขอบูชาคุณพระธรรม ผู้ได้นำคำสอนมา
ขอบูชาแด่พระสงฆ์ ขอบูชาแด่พระสงฆ์ ผู้ดำรงพระวินัย
คุณพระตรัยทั้งสามนี้ คุณพระตรัยทั้งสามนี้ พวกข้ามีขอบูชา ฯลฯ"
ฉันได้นั่งหลับตาอยู่เพื่อสำรวมกิริยาแห่งความเป็นพระนวกะ
พลันที่เสียงทำนองสรภัญญะอันไพเราะ
ได้ดังเข้ามาที่โสตแห่งการรับรู้
เพราะน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความตั้งใจของเหล่านักบุญทั้งหลาย
ได้เปล่งเสียงอาราธนาเพื่อแสดงตนว่าตนเองเป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนานี้
น้ำเสียงที่เพราะจับจิต
มันบ่งบอกถึงศรัทธาอันมากของโยมทั้งหลายที่ตั้งใจมาทำบุญ
และมันทำให้พระอย่างฉันเกิดปีติและอดขนลุกไม่ได้
"เสียงแห่งศรัทธา" ของญาติโยมที่ดังก้องไปทั่วศาลา
มันทำให้หัวใจของพระที่พึ่งจะบวชใหม่เกิดมีพลังขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก
ฉันเริ่มบอกกับตัวเองอย่างจริงจังในวันนี้ว่า
ในพรรษานี้ฉันควรตั้งใจปฏิบัติธรรมให้มากๆ




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๑๓ สตินำมาซึ่งความเป็นมนุษย์สมบัติ


เมื่อโลกใบนี้ได้เดินทางเข้ามาสู่ "กลียุค" แล้วผู้คนในยุคนี้ล้วนแต่เห็นอสัทธรรมเป็นสัทธรรมเห็นสัทธรรมเป็นอสัทธรรม ผู้คนเริ่มมีทิฐิวิปลาสผิดแผกแตกต่างไปจากความเป็นจริงที่ควรเป็นไปมนุษย์ทั้งหลายเริ่มเลวทรามน้อมนำเอาทิฐิที่ต่ำช้ามาเป็นสรณะที่พึ่งนำทางให้แก่ชีวิตตนเองและเริ่มถอยออกห่างจากคุณงามความดีทั้งหลายในฐานะที่เป็นสมบัติแห่งความเป็นมนุษย์โดยทุกคนล้วนแต่ก็คิดว่าคุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตตน ทุกคนล้วนไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษมีแต่แสวงหาความสุขอันนำมาปรนเปรอความอยากความต้องการของตนอยู่เรื่อยไป ด้วยเหตุและปัจจัยอันมนุษย์ในยุคนี้ล้วนตั้งทิฐิของตนไว้ในทางที่ผิดจึงส่งผลทำให้ในกาลข้างหน้ามนุษย์และสังคมแห่งพวกตนจะตกต่ำถึงขีดสุดและความเป็นมนุษย์สมบัติก็จะหายไปความเป็นมนุษย์จะไม่ปรากฏอีกต่อไป ด้วยทิฐิอันเลวทรามที่มนุษย์ได้หลงระเริงไปในตัณหาแห่งตนจึงทำให้มนุษย์เอาความอยากของตนเองเป็นที่ตั้งจนกลายเป็นพฤติกรรมทางจิตที่สั่งสมจนกระทั่งมันเป็น "ความปกติแห่งจิตอันชั่ว" ของมนุษย์ผู้ไม่มีปัญญา จิตอันชั่วซึ่งไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้อีกต่อไปเพราะการขาดความสำนึกในความเป็นมนุษย์แห่งตนจึงทำให้มนุษย์ในอนาคตอันใกล้นี้มีพฤติกรรมคล้ายสัตว์เดรัจฉานเป็นจิตที่คิดเบียดเบียนตนเองให้ตกต่ำไปและคิดเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา


ด้วยความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของผู้คนในยุคนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงมาประกาศธรรม เพื่อตักเตือนมนุษย์ทั้งหลายให้มี "ความไม่ประมาท" และรีบเร่งให้มนุษย์ทั้งหลายฝึกฝนพัฒนาจิตใจตนเองให้กลับไปสู่ความเป็น "ปกติของจิตที่ดีงาม" เป็นจิตที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ได้อย่างแท้จริงเหมือนในยุคก่อนๆที่ผ่านมาซึ่งมนุษย์ในยุคนั้นมีความสามารถรักษาจิตใจตนให้เป็นปกติในความเป็นธรรมชาติแห่งตนและอายุมนุษย์ก็มีความยั่งยืนยาวนานสังคมมนุษย์ในยุคปกตินั้นก็มีแต่ความผาสุกเป็นยุคที่มนุษย์มีปัญญาและถึงพร้อมด้วยบุญแห่งตนอย่างทั่วหน้า


ด้วยจิตใจของมนุษย์ในยุคนี้เริ่มมีความตกต่ำ "จิตวิญญาณของมนุษย์" ได้พร่องลงไปอย่างมากแล้วทิฐิที่เกิดขึ้นจึงมีความหลากหลายมีทั้งในส่วนกุศลและอกุศล การที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมจนกว่าจะเป็นความปกติแห่งจิตของมนุษย์ได้นั้นมนุษย์ในยุคนี้จึงต้องมีความสามารถที่จะศึกษาพิจารณาธรรมได้ในทุกส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงต่อความเป็นจริงในธรรมนั้นๆและพิจารณาถึงคุณประโยชน์และโทษที่จะได้รับเมื่อตนเองได้มีจิตใจไปในทางที่ดีและเลว การเข้าไปศึกษาธรรมอย่างถ่องแท้ด้วยหัวใจแห่งความเป็นบัณฑิตของตนและการพิจารณาแยกแยะคัดสรรธรรมต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ได้ทั้งในธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศลและเมื่อตนเองมีความศรัทธาเชื่อมั่นในธรรมที่องค์ศาสดาได้ตรัสไว้อย่างดีแล้วจึงก่อให้เกิดกำลังใจที่จะฝึกฝนตนเองให้เดินไปบนเส้นทางแห่งชีวิตตนได้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัยอันจะทำให้ชีวิตที่มีคุณค่าประเสริฐยิ่งนั้นไม่ไปสู่ในที่ตกต่ำอีก


การปรับปรุงพัฒนาจิตใจตนเองให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้นั้นก็ด้วยการระลึกถึงคุณประโยชน์แห่งกุศลธรรมทั้งหลายอันจะย้อมจิตใจเราให้กลับไปเป็นความปกติดังเดิม การที่เราพยายามหมั่นระลึกได้อย่างเสมอๆถึงธรรมอันเป็นส่วนกุศลทั้งหลายนั้นเป็นการฝึก "สติ" อย่างยอดเยี่ยมอันจะทำให้เรามีความซึมซาบในความเป็นจิตที่เป็นกุศลนั้นได้อยู่ตลอดเวลา การหมั่นระลึกได้และการฝึกตนเองเพื่อให้มีความพยายามปรุงแต่งจิตไปในทางกุศลธรรมทั้งหลายนั้นมันก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปรุงแต่งทางจิตจากที่เราเคยปรุงแต่งไปในทางตัณหาอุปาทานซึ่งเป็นไปในทางอกุศลกรรมอย่างแนบแน่นมาสู่ความปรุงแต่งในทางกุศลธรรมได้อย่างสม่ำเสมอ การฝึกฝนตนเองอย่างนี้อยู่ตลอดเวลามันจะส่งผลทำให้อินทรีย์หรือความเป็นไปแห่งการระลึกได้นั้นแก่กล้าขึ้นมาจนกระทั่งมันกลายเป็น "ธรรมชาติแห่งการระลึกได้ในกุศลธรรมทั้งปวง" อยู่ตลอดเวลาตามความที่มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น


ธรรมแห่ง "สติ" จึงเป็นธรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถของมนุษย์ที่สามารถฝึกฝนขัดเกลาจิตใจของตนเองได้ในฐานะที่เป็นบัณฑิตผู้ซึ่งไม่ยอมตกเป็นทาสให้แก่ตัณหาอุปาทานความยากอันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในสังคมรอบข้างและบ่งบอกถึงความเป็นบัณฑิตที่สามารถนำความสุขอันเรียบง่ายมาสู่ชีวิตตนเองได้ในฐานะที่ดำรงชีวิตแห่งตนได้อย่างผาสุกบนปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ด้วยความพึงพอใจในสิ่งตนเองมีอยู่ด้วยความสามารถที่พึงหามาได้และเต็มใจที่จะมีความสุขอยู่กับสิ่งนั้นๆตามอัตภาพ



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ





บทที่ ๑๔ สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา


ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ให้มนุษย์มีความสามารถ
ที่จะแยกแยะและคัดกรองเลือกสิ่งที่ดีงามให้กับตนเอง
สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความมีคุณค่างดงามทางด้านจิตใจ
และมนุษย์ก็ยังมีความสามารถแบ่งปันหยิบยื่นสิ่งดีๆเหล่านี้
ให้แก่บุคคลอื่นที่อยู่รอบข้างในสังคมแห่งตน
มนุษย์จึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีใจสูงและประเสริฐ
มนุษย์จึงเป็น "สัตว์สังคม" ที่สามารถพัฒนากลุ่มชนของตน
ได้เจริญก้าวหน้ากว่าสัตว์ชนิดอื่นๆที่อยู่ปะปนกันบนโลกใบนี้
เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงได้อาศัยดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
บนพื้นฐานความดีงามแห่งหัวใจของตนเองตลอดเรื่อยมา
สังคมของมนุษย์จึงเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันบนความรู้สึกที่ดี
อันเป็นความปรารถนาที่อ่อนโยนที่มนุษย์มีให้ต่อกันเสมอ
สัตว์มนุษย์จึงเป็นสัตว์ที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
เพราะความมีคุณค่าในความดีงามอันประเสริฐยิ่งเหล่านี้
มันจึงทำให้มนุษย์สามารถดำรงเผ่าพันธุ์และจิตวิญญาณของตน
อยู่บนโลกใบนี้ไปได้อีกตราบชั่วกัลปาวสาน ความอ่อนโยนที่มิใช่การก้าวร้าว
คือพื้นฐานทางด้านจิตใจแห่งความเป็นมนุษย์
มนุษย์จึงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนไม่มีข้อแตกต่างในความเป็นธรรมชาตินั้น
และเป็นสิ่งที่นำพาให้มนุษย์ดำรงชีวิตร่วมกันบนโลกใบนี้ได้อย่างสันติสุข
ความก้าวร้าวบ่งบอกถึงความตกต่ำทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ยุคนี้ในทุกๆหมู่ชน
ไม่เว้นแม้กระทั่งนักปฏิบัติทั้งหลายที่ยังไม่เข้าใจถึงชีวิตและความสุขที่แท้จริงแห่งตน



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๑๕ สังขพราหมณ์มหาบัณฑิต


มนุษย์ มีความหมายว่า "ผู้มีใจสูงส่ง" ซึ่งหมายถึงมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความสามารถพัฒนาจิตใจตนเองให้อยู่ในความดีงามแห่งตนทั้งหลายได้ สัตว์มนุษย์ทุกผู้ทุกนามที่ได้เกิดมาบนโลกใบนี้ก็ล้วนแต่มีจิตสำนึกที่จะนำพาชีวิตตนเองให้ดำเนินไปในหนทางที่มีแต่ความผาสุก มนุษย์ผู้ที่มีจิตวิญญาณแห่งความเป็น "ผู้ใฝ่ดี" จึงเป็นมนุษย์ที่ยังมีธาตุแห่งความเป็นบัณฑิตอยู่มาก การที่จะฝึกฝนตนเองให้เป็นบัณฑิตที่ดีได้นั้นต้องประกอบไปด้วยความมีปัญญาแห่งการที่ตนได้เกิดมาในฐานะที่เป็นมนุษย์ ปัญญาซึ่งคือการพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุและผลในความเป็นไปของทุกๆสรรพสิ่งและปัญญาอันยอดเยี่ยมคือการเลือกเฟ้นคัดสรรสิ่งดีๆที่ตนเองได้พิจารณาถึงเหตุและผลอย่างถี่ถ้วนนั้นแล้วนำมาสู่ชีวิตตน ก็เพราะความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงส่งจึงทำให้มนุษย์มี "หัวใจที่พิเศษ" สามารถสร้างความศรัทธาแรงบันดาลใจอันแรงกล้าให้เกิดขึ้นกับตนเองเพื่อจะน้อมนำสิ่งที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งประเสริฐนำมาสู่ชีวิตตนด้วยความสามารถในการหมั่นระลึกถึงสิ่งที่ดีนั้นและสามารถปรับปรุง "หัวใจตนเอง" ให้มีสภาพเดียวกันกับคุณงามความดีที่ตนได้ใช้ปัญญาเลือกเฟ้นไว้แล้ว เมื่อใจของบัณฑิตได้ถูกย้อมไปด้วยกุศลธรรมทั้งหลายจนสภาพจิตมีความตั้งมั่นเป็นเนื้อหาเดียวกันกับคุณความดีเป็นปกติในความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมอันคือกุศลนั้นโดยไม่มีความแตกต่างจึงทำให้ความเป็นบัณฑิตนั้นปรากฏอยู่ในใจอันสูงส่งของมนุษย์ผู้ใฝ่ดีอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ในบางขณะของช่วงชีวิตกรรมวิบากอาจจะทำให้มนุษย์ผู้มีความเป็นบัณฑิตนั้นต้องตกไปสู่วาระกรรมที่ลำบากยากแค้นจนถึงกระทั่งชีวิตก็อาจจะหาไม่ แต่ความเป็นบัณฑิตก็ยังคงความเป็นบัณฑิตอยู่เช่นนั้นเพราะใจที่มั่นคงในกุศลธรรมด้วยการฝึกฝนตนเองมาอย่างดีแล้วด้วยกำลังแห่งศรัทธาสติและปัญญามิได้ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นแต่อย่างไร เปรียบได้กับทองเนื้อเก้าซึ่งหมายถึงทองธรรมชาติที่มีความบริสุทธิ์ถึง ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้มันจะถูกไฟเผาจนเสียรูปทรงหลอมละลายกลายเป็นของเหลวแต่ถึงกระนั้นความเป็นเนื้อทองที่มีแต่ความบริสุทธิ์มันก็บริสุทธิ์อยู่อย่างนั้นถึงแม้จะถูกหลอมด้วยไฟจนไม่สามารถอยู่ในรูปทรงเดิมของมันได้แต่มันก็ยังคงความเป็นทองเนื้อเก้าอยู่เช่นนั้นตลอดไป
ในอดีตกาลได้มีมหาบัณฑิตผู้หนึ่งได้มีความเพียรในการรักษาจิตใจตนเองให้อยู่ในบุญกุศลอยู่ตลอดเวลาตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิตเขา เป็นชีวิตที่ได้ตั้งสัจจะวาจาปวารณาตนให้อยู่ในเส้นทางแห่งคุณงามความดีที่ตนเองเลือกเฟ้นและฝึกฝนไว้ดีแล้ว ความเป็นบัณฑิตของชายผู้นี้ได้ถูกทดสอบด้วยกรรมวิบากที่ตนเองต้องเสวยผลจากชาติก่อนๆของตนที่เคยได้กระทำมาเพราะความประมาทพลาดพลั้ง เมื่อความตายได้มายืนปรากฏอยู่ตรงหน้าก็หาทำให้บัณฑิตผู้นี้มีความสะดุ้งกลัวหวั่นไหวไม่ เพราะใจที่ถูกอบรมมาดีมากแล้วทำให้เสี้ยวเวลาที่เหลืออันน้อยนิดนั้นเป็นห้วงเวลาที่ยิ่งใหญ่และยังมีคุณค่าอยู่อย่างมาก ชายผู้เป็นบัณฑิตนี้ได้ลอยคออยู่กลางทะเลเพราะเรือแตกอับปางลงและอดอาหารมาเป็นเวลาเจ็ดวันแล้วแต่ในวันที่เจ็ดเป็นวันถืออุโบสถศีลบัณฑิตผู้นี้ก็ยังน้อมใจตนตั้งสัจจะอธิษฐานจิตเพื่อรักษาศีลในขณะที่ตนเองยังลอยอยู่กลางทะเลด้วยความสิ้นหวัง ถึงแม้ในเวลาต่อมาได้มีนางฟ้าชื่อเมขลามีความเมตตามาช่วยชีวิตด้วยการนำอาหารทิพย์มาให้กินแต่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นในกุศลอย่างดีแล้วจึงทำให้บัณฑิตผู้นั้นปฏิเสธการกินอาหารเพราะตนเองได้ถืออุโบสถศีลไปแล้วและยอมอดตายหากตนจะต้องตายภายในวันนั้น ความที่มนุษย์ผู้หนึ่งมีความตั้งใจอย่างมากที่จะประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจถึงแม้ชีวิตจะต้องตกอยู่ในห้วงภยันตรายแต่ความเป็นบัณฑิตของเขาก็ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาด้วยหัวใจที่แกร่งกล้าในความเชื่อมั่นบนเส้นทางแห่งความดีที่ตนเองได้กระทำอยู่ทุกๆขณะ
การกระทำของบัณฑิตผู้นั้นถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของมนุษย์ในยุคนี้ที่จะน้อมนำมาพิจารณาเพื่อนำเอามาเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชีวิตของตน บัณฑิตผู้นั้นมีชื่อว่า "สังขพราหมณ์บัณฑิต"

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการถวายบริขารทั้งปวง จึงตรัสเรื่องนี้
ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่งฟังธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลภัตกาลต่อพระตถาคต พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับนั่งบนบวรพุทธาอาสน์ที่อุบาสกปูลาดไว้ อุบาสกพร้อมด้วยบุตรภรรยาและบริวารชน ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้นิมนต์ฉันถวายมหาทานอย่างนี้ต่อไปถึง ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง
แลเมื่อจะถวายนั้นได้จัดทำรองเท้าถวายเป็นพิเศษคือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวกทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้นราคาคู่ละร้อย
อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้วได้ไปนั่งอยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่อุบาสกนั้น ได้ตรัสว่า นี่แน่ะอุบาสก การถวายเครื่องบริขารทุกอย่างของท่าน โอฬารยิ่ง ท่านจงชื่นชมเถิด

ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เรือไปแตกในมหาสมุทรซึ่งหาที่พึ่งมิได้ เขายังได้ที่พึ่งด้วยผลานิสงส์ที่ถวายรองเท้า ก็ตัวท่านได้ถวายเครื่องบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ผลแห่งการถวายรองเท้าของท่านนั้น ทำไมจักไม่เป็นที่พึ่งเล่า ดังนี้ แล้วอุบาสกนั้นทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้มีนามว่าโมลินี พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่นทรัพย์ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง ๔ ประตู ที่กลางเมืองและที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้ทานเป็นการใหญ่แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน
วันหนึ่ง เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้ เมื่อทรัพย์ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่านจงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้า เดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอดในเวลาเที่ยง.
ในขณะนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์นั้นกำลังจะเดินทาง เพื่อนำทรัพย์มา จึงพิจารณาดูว่า มหาบุรุษจักไปหาทรัพย์ จักมีอันตรายในสมุทรหรือไม่หนอ ก็ทราบว่าจักมีอันตราย จึงคิดว่ามหาบุรุษนั้นเห็นเราแล้วจักถวายร่มและรองเท้าแก่เรา เมื่อเรือแตกกลางสมุทร เขาจักได้ที่พึ่งด้วยอานิสงส์ที่ถวายรองเท้า เราจักอนุเคราะห์แก่เขา แล้วก็เหาะมาลง ณ ที่ใกล้สังขพราหมณ์ เดินเหยียบทรายร้อนเช่นกับถ่านเพลิง เพราะลมแรงแดดกล้า ตรงมายังสังขพราหมณ์
สังขพราหมณ์พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเท่านั้น ก็ยินดีว่า บุญเขตของเรามาถึงแล้ว วันนี้เราควรจะหว่านพืช คือทานลงในบุญเขตนี้ จึงรีบเข้าไปนมัสการพระปัจเจก พุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า ขอท่านได้ลงจากทางสักหน่อย แล้วเข้าไปที่โคนต้นไม้นี้ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปโคนต้นไม้ ก็พูนทรายขึ้นแล้วเอาผ้าห่มปูลาด นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วล้างเท้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม ถอดรองเท้าที่ตนสวมออกเช็ด ทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายร่มและรองเท้าด้วยวาจาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงสวมรองเท้ากั้นร่มไปเถิด
พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น
สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น เดินไปสู่ท่าลงเรือ

เมื่อสังขพราหมณ์กำลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร พอถึงวันที่ ๗ เรือได้ทะลุ น้ำไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้ำให้หมดได้. มหาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตนๆ ร้องกันเซ็งแซ่
พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คนหนึ่ง ทาสรีระด้วยน้ำมัน เคี้ยวจุรณน้ำตาลกรวดกับเนยใสพอแก่ความต้องการแล้ว ให้อุปัฏฐากกินบ้าง แล้วขึ้นบนยอดเสากระโดงกับอุปัฏฐาก กำหนดทิศว่า เมืองของเราอยู่ข้างทิศนี้ เมื่อจะเปลื้องตนจากอันตรายจากปลาและเต่า จึงโดดล่วงไปสิ้นที่ประมาณอุสภะหนึ่ง พร้อมกับอุปัฏฐากนั้น
มหาชนพากันพินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้ามมหาสมุทรไปได้ ๗ วัน วันนั้นเป็นวันอุโบสถ พระโพธิสัตว์ได้บ้วนปากด้วยน้ำเค็มแล้ว รักษาอุโบสถ
ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคำสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้
นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นางตรวจดูสมุทรได้เห็นสังขพราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็นอันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบหนึ่งให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอันมีรสเลิศต่างๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้าสังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด.
สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าวว่า จงนำภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลำดับนั้น อุปัฏฐากอยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นสุขุมาลชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลำบากเข้า ๗ วัน ชะรอยจะบ่นเพ้อเพราะกลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านก็ได้เห็นมา เหตุไรท่านจึงแสดงคำพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควร คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจากับท่านได้?
สังขพราหมณ์ได้ฟังคำของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชะรอยเทวดานั้นจะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
นางฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วยเครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มีศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่บริโภค
ลำดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้นว่า
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยังปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์

พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า
เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์?
ลำดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นสำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้ำ เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เราทำไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน
เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วนบูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างไรอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้าทุกอย่าง การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในสมุทรนี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร?
นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชะรอยจะถามด้วยสำคัญว่าเรารู้กุศลกรรมที่เขาทำไว้ บัดนี้ เราจักกล่าวทานของเขา
เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า
ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า สะดุ้งลำบากอยู่ในหนทางอันร้อน ทักษิณานั้นอำนวยผลสิ่งน่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้าที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นการถวายที่ดีแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า
ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น้ำไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ในวันนี้เถิด
นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี เนรมิตเรือขึ้นลำหนึ่งซึ่งแล้ว ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลำนั้นยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒๐ วา มีเสากระโดง ๓ เสาแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยางแล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้านแล้วไปด้วยเงิน มีหางเสือแล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการมาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย
พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญที่ตนได้กระทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดาก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย. ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนคร ขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน
พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า
นางเทพธิดานั้นมีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพาสังขพราหมณ์กับบุรุษคนใช้มาส่งถึงเมือง อันเป็นที่สำราญรื่นรมย์
แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้ ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัทได้ไปเกิดในเทพนคร
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๑๖ ชาวอีสาน

ชีวิตของคนชาวอีสานเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปตามครรลองของจารีตประเพณี
ซึ่งได้นับถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย
นับแต่พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาที่ประเทศไทยตั้งแต่อดีต
และได้หยั่งรากลึกลงอย่างมั่นคงถาวรจนเป็นศาสนาประจำชาติ
ถึงแม้ชาวอีสานรุ่นก่อนๆได้มีคตินับถือผีและเทพไท้เทวาตามความเชื่อของพวกตน
แต่เมื่อศาสนาพุทธได้เผยแพร่เข้ามาถึงภาคอีสานแล้ว
คนอีสานผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้น้อมนำคำสอนซึ่งเป็นแก่นแท้ของศาสนา
นำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของพวกตน
เพราะคลองสิบสี่หรือครรลองสิบสี่อย่างเป็นคำสอนที่ให้ชาวอีสานทุกคน
รู้จักเคารพนับถือซึ่งกันและกันในสังคมแห่งตนระหว่างผู้ใหญ่และผู้น้อย
ความที่สังคมยังคงความมีลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่เป็นไปแบบใกล้ชิด
ทำให้สังคมของชาวอีสานสามารถสืบทอดวัฒนธรรมของตนมาได้อย่างไม่ขาดสาย
นอกจากการยอมรับนับถือกันอย่างแนบแน่นในวงศ์วานว่านเครือพวกตนแล้ว
ชาวอีสานยังได้สืบสานสร้างจารีตหรือฮีตสิบสองซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนขึ้นมา
ด้วยการร่วมใจกันไปเข้าวัดและทำบุญตามฤดูเทศกาลของชาวพุทธ
และบุญบางอย่างก็ร่วมกันทำขึ้นเป็นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพวกตน
เช่นบุญบั้งไฟในเดือนหกเป็นการทำบุญที่เป็นไปตามคติความเชื่อตั้งแต่ครั้งในอดีต
ที่พญาคันคากได้ขึ้นไปรบกับพระอินทร์เพราะฝนฟ้าไม่ตก
การทำบุญดังกล่าวเป็นการบูชาแถนหรือพระอินทร์เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล
จึงเป็นเรื่องปกติเมื่อถึงเทศกาลในวันทำบุญใหญ่หรือแม้แต่วันพระทั่วๆไป
ก็จะเห็นชาวบ้านใส่ชุดขาวเดินกันมาเป็นกลุ่มๆหาบตระกล้าใส่ของมาทำบุญที่วัด
ก่อนพระภิกษุจะขึ้นฉันจังหันเช้า
ก็จะเห็นพวกพ่อออกแม่ออกทั้งหลายช่วยกันจัดดอกไม้ใส่ในแจกัน
และเห็นควันธูปเทียนลอยคลุ้งเต็มไปทั่วศาลาวัด
ตกเย็นชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำงานก็จะมานอนอยู่ที่วัดเพื่อรักษาอุโบสถศีล
วิถีชีวิตของชาวอีสานจึงเป็นวิถีที่ผูกพันกับวัดวาอารามมาอย่างแยกไม่ออก
จึงกล่าวได้ว่าสังคมของชาวอีสาน
เป็นสังคมของวิถีชาวพุทธอย่างแท้จริงเสมอมา



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๑๗ สังคมธรรมาธิปไตยแห่งกุรุนิคม


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

เหตุที่องค์พระศาสดามีวาระกรรมได้ตรัสธรรมสติปัฏฐาน ๔ ไว้ที่กุรุชนบทจนทำให้สังคมชาวกุรุมีความนิยมน้อมนำธรรมสติปัฏฐานมาภาวนาปฏิบัติไปตามความเป็นธรรมชาติแห่งธรรมเพื่อยังความเจริญก้าวหน้าและความสุขอันแท้จริงมาสู่ชีวิตและสังคมของพวกตน เพราะเป็นกรรมครั้งแต่ในอดีตสมัยที่ตถาคตเจ้ายังทรงดำเนินไปในเส้นทางแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในชาติหนึ่งพระองค์ท่านเคยเกิดเป็น "จักรพรรดิ" ชื่อ พระเจ้ามันธาตุ และท่านทรงปกครองโลกในมหาทวีปทั้งสี่มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารท่านมีบุญญาธิการอย่างมากล้นเพราะเหตุบุญที่สั่งสมในอดีตได้ทำมาไว้ดีแล้ว จึงทำให้พระเจ้ามันธาตุมาเกิดเป็นมนุษย์ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนถึง "อสงไขยปี" การที่พระเจ้ามันธาตุได้เคยประกอบกุศลกรรมตั้งใจรักษาศีลและสละทรัพย์สมบัติ ของตนให้เป็นทานแก่บุคคลอื่นโดยไม่เลือกฐานะ "การให้" ที่เกิดจากใจที่ไม่มีเงื่อนไขและเป็นการให้โดยไม่มีประมาณ "ธาตุแห่งการให้โดยแท้จริง" จึงปรากฏแก่พระเจ้ามันธาตุในชาตินี้ บุญแห่งท่านอันเกิดจากการสละสมบัติตนให้เป็นทานอย่างดีแล้วจึงทำให้ท่านมีบุญฤทธิ์พระเจ้ามันธาตุนั้นทรงประกอบด้วยรัตนะ ๗ และอิทธิฤทธิ์ ๔ ในเวลาที่พระองค์ทรงคู้พระหัตถ์ซ้ายปรบด้วยพระหัตถ์ขวาฝนรัตนะ ๗ ก็ตกลงมาประมาณเข่าดุจเมฆฝนทิพย์ในอากาศ เมื่อพระองค์ครองราชสมบัติในฐานะองค์จักรพรรดิมานานจึงก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายในสมบัติแห่งโลกมนุษย์อำมาตย์ของพระองค์จึงออกความเห็นว่าในเทวโลกยังเป็นสถานที่รื่นรมย์และน่าไปอยู่ไปเที่ยวชมพระเจ้ามันธาตุได้ฟังเช่นนั้นจึงจึงทรงพุ่งจักรรัตนะไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพร้อมด้วยบริวาร ลำดับนั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงถือดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพกระทำการต้อนรับนำพระเจ้ามันธาตุนั้นไปยังเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาได้ถวายราชสมบัติในเทวโลก เมื่อพระเจ้ามันธาตุนั้นห้อมล้อมด้วยบริษัทของพระองค์ครองราชสมบัติอยู่ในชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นกาลเวลาล่วงไปช้านานพระองค์จึงทรงเบื่อหน่ายเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาจึงมีความดำริที่จะไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไป แต่ในขณะที่พระองค์กำลังจะออกจากสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาก็ได้มีมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสามทวีปซึ่งเป็นเขตแดนของสวรรค์ชั้นนี้คือ บุพพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีปและอุดรกุรุทวีป เป็นจำนวนมากมีความศรัทธาต่อความมีบุญญาธิการของจักรพรรดิมันธาตุมนุษย์เหล่านี้จึงขอตามพระเจ้ามันธาตุมาเที่ยวยังโลกมนุษย์ด้วย เมื่อพระเจ้ามันธาตุได้พาบริวารตนรวมทั้งมนุษย์ทั้งสามทวีปกลับมายังโลกมนุษย์แล้วท่านจึงพุ่งจักรแก้วไปสู่เทวโลกในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช (อดีตชาติคือมฆมานพแห่งหมู่บ้านอจลคาม) ทรงถือดอกไม้และของหอมทิพย์ห้อมล้อมด้วยหมู่เทพทรงทำการต้อนรับรับพระเจ้ามันธาตุนั้น ท้าวสักกะทรงนำพระเจ้ามันธาตุไปยังภพดาวดึงส์ทรงทำเทวดาให้เป็น ๒ ส่วนทรงแบ่งเทวราชสมบัติของพระองค์กึ่งหนึ่งถวายพระเจ้ามันธาตุตั้งแต่นั้นมา พระราชา ๒ พระองค์ทรงครองราชสมบัติในภพดาวดึงส์นั้นเมื่อกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนี้ท้าวสักกะทรงให้พระชนมายุสั้นไปสามโกฏิหกหมื่นปีก็จุติ ท้าวสักกะพระองค์อื่นก็มาบังเกิดแทน แม้ท้าวสักกะพระองค์นั้นก็ครองราชสมบัติในเทวโลกแล้วก็จุติไปโดยสิ้นพระชนมายุโดยอุบายนี้ท้าวสักกะถึง ๓๖ พระองค์จุติไปแล้วส่วนพระเจ้ามันธาตุยังคงครองราชสมบัติในเทวโลกโดยร่างกายของมนุษย์นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุแห่งการได้มาซึ่งมนุษย์สมบัตินั้นต่างจากเทวโลกสมบัติ ความที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงส่งเป็นปกติในความเป็นธรรมชาติแห่งคุณความดีของตนบุญจึงดลบันดาลให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตตนเองได้ถึงอสงไขยปีซึ่งเป็นเวลานานมากกว่าอายุของเทวดาผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์หลายเท่า จนกาลต่อมาอายุสังขารของพระเจ้ามันธาตุจึงเสื่อมไปความชราก็เบียดเบียนพระองค์ก็ธรรมดาร่างกายมนุษย์ย่อมไม่แตกดับในเทวโลกลำดับนั้นพระเจ้ามันธาตุจึงพลัดจากเทวโลกตกลงในพระราชอุทยานของพระองค์เองในโลกมนุษย์ ก่อนที่พระเจ้ามันธาตุจะสิ้นพระชนม์มนุษย์ในทั้งสามทวีปซึ่งเป็นพวกที่ตามพระองค์มาเที่ยวที่มนุษย์โลกครั้งที่พระเจ้ามันธาตุออกมาจากสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาในคราวก่อนโน้นก็ได้มากราบทูลว่าพวกตนไม่สามารถเดินทางกลับสู่ดินแดนทวีปแห่งตนได้เพราะพระองค์ใกล้สิ้นพระชนม์และจักรแก้วก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อีกเพราะความเป็นสมบัติเฉพาะตัวของจักรพรรดินั้นจึงไม่มีใครสามารถพาจักรแก้วนำทางกลับสู่สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาได้สักคนเดียว เมื่อพระองค์ได้ฟังดังนั้นก่อนสิ้นใจพระเจ้ามันธาตุจึงอนุญาตให้มนุษย์ทั้งสามทวีปที่เคยตามพระองค์มาสามารถตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในโลกมนุษย์ได้ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถิ่นที่มีคนมาจากบุพพวิเทหทวีปอาศัยอยู่ได้นามว่า วิเทหรัฐ ตามชื่อเก่านั้นเอง ถิ่นที่มีคนมาจากอมรโคยานทวีปอาศัยอยู่ได้นามว่า อปรันตชนบท ถิ่นที่มีคนมาจากอุดรกุรุทวีปอาศัยอยู่ได้นามว่า กุรุรัฐ

กุรุรัฐหรือนิคมชาวกุรุนี้เองเป็นถิ่นฐานที่มนุษย์ในหมู่บ้านนี้เป็นผู้ที่เคยอยู่ในอุดรกุรุทวีปมาก่อนและตามพระเจ้ามันธาตุมาสู่โลกมนุษย์เป็นจำนวนมากและไม่ได้กลับไปบ้านเมืองเก่าของตนอีกเลย เมื่อในกาลบัดนี้พระเจ้ามันธาตุได้กลับมาเกิดเป็นองค์พระพระศาสดาด้วยเหตุปัจจัยแห่งกรรมดีอันคือความศรัทธาอย่างมากของชาวอุดรกุรุทวีปที่มีต่อบุญแห่งพระเจ้ามันธาตุในความเป็นมนุษย์สมบัติจนได้เป็นพระจักรพรรดิในครั้งแต่เก่าก่อนนั้นส่งผลทำให้ในชาตินี้พระพุทธองค์จึงต้องทรงเสด็จมาแสดงธรรมโปรดชาวเมืองกุรุซึ่งเป็นบริวารเก่าของพระองค์เองครั้งแต่ในอดีตกาลตามวาระแห่งกรรมนั้นและผลบุญอันเกิดจากความศรัทธาที่ชาวอุดรกุรุทวีปมีต่อพระเจ้ามันธาตุจักรพรรดิในครั้งนั้นจึงทำให้ชาวกุรุในวันนี้มีความศรัทธาต่อคำสอนของ พระองค์ท่านในฐานะที่ได้เกิดมาเป็น "พระพุทธเจ้า" ในชาตินี้และสามารถนำเอาธรรมอันแท้จริงนั้นมาสู่สังคมภายในหมู่บ้านของพวกตนได้จนกระทั่งกาลต่อมาธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชุมชนชาวกุรุรัฐนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาวกุรุนับได้ว่าเป็นกลุ่มมนุษย์ผู้มีบุญที่เคยได้สร้างบุญกุศลร่วมกับพระพุทธองค์มาอย่างยาวนานบุญเก่าอันมากล้นนั้นจึงทำให้ชาวกุรุเป็นมนุษย์ผู้มีปัญญาสามารถรับฟังธรรมสติปัฏฐานซึ่งเป็นธรรมที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างลงตัวมีความหมายข้ออรรถข้อธรรมที่ครบถ้วนและลึกซึ้ง ผู้คนในสังคมนี้ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่เต็มใจเข้าถึงความเป็นไตรสรณคมน์ยึดเอามาเป็นที่พึ่งแห่งชีวิตตนและประชาชนชาวกุรุทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใดก็ตามมนุษย์แห่งสังคมชาวกุรุนี้ล้วนแต่ได้นำสติปัฏฐานเอามาเป็น "ธรรมอันคือที่พึ่งแห่งตน" กันอย่างถ้วนหน้า ชาวกุรุทั้งหลายมีความเต็มใจที่จะช่วยกันพัฒนาสร้างสรรค์สังคมของตนเองขึ้นมาให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณด้วยการช่วยกันตักเตือนชาวกุรุด้วยกันเองสำหรับผู้ที่ยังไม่นำธรรมสติปัฏฐานมาภาวนาด้วยการกล่าวตักเตือนให้เพื่อนมนุษย์ผู้นั้นจงยังความไม่ประมาทให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตตนด้วยการเร่งรีบหมั่นศึกษาพิจารณาธรรมอันคือสติปัฏฐานทั้งสี่โดยเร็ว การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวของชาวกุรุนิคมจึงทำให้มนุษย์ในหมู่บ้านนี้ทุกคนล้วนแต่มีความสามารถปฏิบัติธรรมตามธรรมชาติอันที่ตนได้เห็นแล้วในสติปัฏฐานธรรมนั้น ไม่ว่าผู้คนในหมู่บ้านนี้จะอยู่ส่วนไหนและกำลังประกอบกิจกรรมการงานอะไรทุกคนก็ล้วนแต่เจริญสติของตนให้อยู่ในความเป็นธรรมชาติอันแท้จริงอยู่อย่างสม่ำเสมอเป็นนิจ สังคมของชาวกุรุในวันนี้จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมของมนุษย์ผู้มีความสามารถดำรงชีวิตพวกตนอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างสมความภาคภูมิที่พวกตนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้มีบุญประเสริฐยิ่งแล้ว

ในกลียุคนี้สังคมของมนุษย์ทั่วไปล้วนแต่มีทิฐิไม่ดีงามผู้คนในสังคมล้วนแต่ยังความประมาทให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนเองทั้งสิ้นผู้คนทั้งหลายกลับกลายเป็นมนุษย์ผู้ที่ฝึกตนเองได้อยากเป็นผู้ที่ขาดสติปัญญานำพาชีวิตตนให้พบเจอแต่ความเดือดร้อนอยู่เนืองๆผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนี้เป็นมนุษย์ผู้ไร้ศีลธรรมเป็นมนุษย์ผู้มีใจต่ำตกอยู่ในสภาพแห่งความชั่ว แต่ชาวกุรุทั้งหลายกลับมีความสามารถต่างช่วยกันสร้างสังคมของตนเองให้ดีขึ้นมาจนเป็นสังคมที่น่าอยู่ จึงอาจกล่าวได้ว่าในชุมชนของชาวกุรุนั้นเป็นชุมชุนที่อยู่ร่วมกันด้วยระบบที่ปกครองกันเองด้วยการน้อมนำเอาธรรมอันคือสติปัฏฐานมาเป็นข้อวัตรปฏิบัติในวิถีชีวิตของพวกตนจนเกิดเป็นการยอมรับของผู้คนทั้งหลายในสังคมนั้น ธรรมชาติอันแท้จริงคือธรรมซึ่งต่อมากลายเป็น "จารีต" ให้มนุษย์ในนิคมชาวกุรุได้ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามและสืบต่อกันมายังชนรุ่นหลังในสังคมแห่งตนได้ ธรรมอันคือคุณธรรมที่เป็นบาทฐานให้มนุษย์ในสังคมนี้ได้พัฒนาจิตใจตนเองจึงเป็นเหตุให้มนุษย์ในสังคมนี้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกมีความเสมอภาคในรสแห่งธรรมที่ตนได้รับกันอย่างถ้วนหน้า สังคมของชาวกุรุนิคมจึงเป็นสังคมที่ดำเนินชีวิตของพวกตนร่วมกันในความที่มีธรรมเป็นใหญ่จึงเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันในความที่เป็น "สังคมแห่งธรรมาธิปไตย" นั้น สังคมธรรมาธิปไตยซึ่งคือสังคมที่ยอมรับเอาธรรมอันแท้จริงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของกลุ่มตนเองจึงเป็นสังคมที่สามารถพัฒนาคุณภาพความเป็นมนุษย์ในสังคมนั้นให้มีความเจริญสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณจนกระทั่งสังคมธรรมาธิปไตยแห่งชาวกุรุนิคมนี้ก็จะกลายเป็นสังคมในอุดมคติได้ในท้ายที่สุด



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๑๘ มิตรภาพสองฝั่งโขง

ครั้งแต่โบราณโขงเป็นแม่น้ำที่ทำหน้าที่เพียงไหลผ่านแผ่นดินสองฝั่งแต่เพียงเท่านั้น
แผ่นดินทั้งสองในอดีตมิได้ถูกแบ่งแยกเพราะความเป็นรัฐเหมือนปัจจุบันนี้
ความแปลกแยกในความเป็นหมู่เหล่าระหว่างไทยลาวยังไม่ปรากฏ
การเดินทางข้ามไปมาบนแม่น้ำสายนี้ตั้งแต่เก่าก่อนเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตของผู้คนแถบนี้
ลาวและภูมิภาคอีสานในอดีตยังเป็นแค่ชุมชนเล็กๆเป็นบ้านป่าเมืองเยิง
จะมีความเจริญก็เพียงแค่กลุ่มบ้านเชียงกลุ่มโคราชและเมืองโคตรบูรฝั่งสุวรรณเขต
การติดต่อกันของผู้คนในสังคมยุคนั้นก็เป็นไปเพื่อการแลกเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้
และเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เกิดมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน
ในกาลต่อมาจึงทำให้ชุมชนแถบนี้มีวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่คล้ายคลึงกัน
จนทำให้ผู้คนแถบนี้มีความนับถือกันอย่างมากว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันมาโดยตลอด
ในอดีตชุมชนต่างๆได้พึ่งพิงอาศัยกันด้วยความมีน้ำใจของผู้คนในชุมชน
เพราะความที่ยังมีจิตใจที่เมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันในยุคนั้น
จึงสามารถทำให้ชุมชนแถบนี้ดำรงวิถีชีวิตของตนในสังคมด้วยความผาสุก
จวบจนกระทั่งพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามายังแถบลุ่มแม่น้ำโขง
บรมสารีริกธาตุได้ถูกบรรจุและสร้างขึ้นด้วยความศรัทธายิ่งของผู้คนในแถบนี้ทั้งสองฝั่ง
"ธาตุพนม" สัญลักษณ์ของความเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะ
จึงกลายเป็นศูนย์กลางที่สามารถรวบรวมจิตใจของคนไทยและคนฝั่งลาว
เข้าไว้ด้วยกันด้วยความเป็นหนึ่งเดียว
ในฐานะต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเรื่อยมาตราบจนถึงทุกวันนี้
ถึงแม้ในวันนี้น้ำโขงจะเป็นเครื่องกั้นบ่งบอกถึงการปันเขตแดนระหว่างสองประเทศ
ทำให้การข้ามไปมาติดต่อกันระหว่างคนทั้งสองฝั่งเป็นไปด้วยความลำบากยากยิ่ง
แต่เมื่อคราวถึงวันเพ็ญเดือนสามซึ่งเป็นฤดูกาลแห่งงานไหว้พระธาตุพนมในทุกๆปี
เราจะเห็นศรัทธาที่ต่างหลั่งไหลมาอย่างล้นหลามจากทุกทิศของประชาชนทั้งสองประเทศ
ธาตุพนมในวันนี้ได้ขึ้นอยู่กับฝั่งไทยตามข้อตกลงกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
แต่มันหาเป็นอุปสรรคแก่ชาวลาวไม่
พวกเขาก็ยังสามารถข้ามฝั่งโขงเข้ามาเพื่อกราบไหว้พระธาตุพนม
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตนเองและครอบครัว
เป็นการได้ข้ามฝั่งเข้ามาอย่างอิสรเสรีในวาระพิเศษแห่งเทศกาลบุญใหญ่นี้
ด้วยน้ำใจของคนไทยทั้งประเทศ
ที่เปิดโอกาสให้ในฐานะที่เป็นชาวพุทธด้วยกัน


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๑๙ สติปัฏฐานธรรม


สติปัฏฐานธรรม หมายถึง ความมีธรรมซึ่งคือ "ความมีสติอย่างถูกต้อง" เป็นที่ตั้งเพื่อระลึกถึงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อเป็นพุทธประสงค์ให้ความเป็นธรรมชนิดนี้เป็น "หลักธรรมอันแท้จริง" ให้เราสามารถพิจารณาถึงความหมายแห่งธรรมได้อย่างตรงและถูกต้องต่อความเป็นจริงและสามารถดำเนินไปในความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นอยู่แล้ว


ธรรมที่ตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้ในสติปัฏฐานนั้นเป็นธรรมที่พระองค์ได้ตรัสแบ่งธรรมทั้งหลายทั้งปวงออกเป็นหมวดเป็นหมู่ไว้ถึงสี่หมวด ธรรมทั้งสี่หมวดหมู่ซึ่งคือ กาย เวทนา จิตและธรรมนั้นเป็นธรรมที่เราสามารถหยิบยกธรรมเพียงหมวดใดหมวดหนึ่งเท่านั้นขึ้นมาพิจารณา "เพื่อให้เห็นถึง" ความหมายของธรรมชาติที่แท้จริงที่มันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมที่ทำให้เราเกิดความเข้าใจที่แท้จริงและสามารถพิจารณาแยกแยะได้ว่าธรรมชนิดไหนคือธรรมอันเกิดจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมาและธรรมชนิดไหนคือธรรมอันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อสามารถเข้าใจในความหมายแห่งธรรมทั้งปวงได้แล้วธรรมซึ่งคือสติปัฏฐานทั้งสี่นี้จึงเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เราในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ควรดำเนินไปบนเส้นทางธรรมชาติอันแท้จริงซึ่งทำให้เราสามารถก้าวพ้นออกมาจากความทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยการ "พึงมีสติระลึกถึงธรรม" ที่มันเป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น เป็น "สัมมาสติ" ที่ทำให้เราสามารถระลึกถึงธรรมชาติที่แท้จริงที่เราได้เลือกคัดสรรไว้อย่างดีแล้วว่าธรรมอันคือธรรมชาติชนิดนี้มันเป็นธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดเกิดขึ้นแก่ชีวิตของเราเองได้

ธรรมทั้งสี่คือ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นธรรมที่ตถาคตมิได้แบ่งแยกไว้เพื่อจุดมุ่งหมายใดมุ่งหมายหนึ่งแต่ธรรมทั้งสี่นั้นก็ล้วนเป็นธรรมที่สามารถให้เราพิจารณาได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันปรากฏอยู่ในทุกหมวดหมู่แห่งธรรมนั้นอยู่แล้ว พระพุทธองค์เพียงทรงแบ่งธรรมทั้งปวงนั้นออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ตรงต่อจริตของผู้ที่ใคร่เข้ามาศึกษาธรรมอันคือสติปัฏฐานนี้แต่เพียงเท่านั้น แต่ความรู้ที่ปรากฏมาทั้งหมดในธรรมสติปัฏฐานนี้มันล้วนแต่เป็นความรู้ที่แท้จริงในทุกส่วนที่สามารถปลดเปลื้องความไม่รู้ซึ่งคือ "อวิชชา" แห่งเราออกไปได้เสียทั้งหมดและสามารถทำให้เราได้ตระหนักอย่างชัดแจ้งถึงความหมายแห่งธรรมนั้นได้อย่างตรงต่อความเป็นจริงและนำมาซึ่งการมีสติที่พึงระลึกถึงธรรมอันคือธรรมชาติที่แท้จริงนั้นได้อย่างถูกต้องครบถ้วน


“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๒๐ แผ่นดินอีสาน


บักหำลูกนางวานเด็กน้อยวัยสิบขวบปีเดินถือหนังสะติ๊กลัดเลาะไปตามทุ่งนาท้ายบ้าน
ในกระเป๋ากางเกงเต็มไปด้วยกระสุนที่ปั้นด้วยดินเหนียวสีแดงตุงอยู่ทั้งสองข้าง
คันนาที่ยังพอมีผักกะแยงแย้มกลีบดอกสีม่วงขึ้นอยู่ประปรายในหน้าแล้งนี้
มันเรียงรายติดต่อกันเป็นถนนเล็กๆ
พาเด็กขี้ดื้อเดินจนถึงราวป่าบนโคกซึ่งอยู่อีกฝากฝั่งหนึ่งของหมู่บ้าน
ยามฤดูแล้งมาเยือนมันทำให้ผืนดินถิ่นอีสานร้อนระอุเหมือนคนที่กำลังจะขาดใจ
ดินทรายที่แห้งแตกระแหงออกจากกันจนเป็นแผ่นกระบิดิน
มันทำให้ใจของคนอีสานห่อเหี่ยวตามไปด้วย
ในฤดูทำนาหน้าฝนของทุกปีก็ยังพอมีปลาค้อปลาเข็งในบ่อสระบัวข้างนาข้าว
นำมาปิ้งกินกันทุกมื้อ แต่ยามนี้น้ำมันขอดลงจนเห็นแต่ก้นบ่อ
มันจึงบ่ค่อยมีแนวกินมันอึดอยาก
หอยที่ถูกดินโคลนฝังไว้ตั้งแต่ปีมะโว้
ก็จะถูกชาวนาผู้จนยากขุดขึ้นมากินในหน้าแล้งอยู่เป็นประจำ
ยามที่อาทิตย์สาดแสงส่องลงมาบนผืนโลกแบบไม่เกรงใจมนุษย์หน้าไหนในเดือนเมษา
มันจึงมีแดดร้อนจัด
ในตอนเช้าของหน้าร้อนแบบนี้
ทำให้ฝูงกะปอมคลานออกมาอาบแดดเกาะอยู่ตามต้นกุงทั่วไป
แกงอ่อมกะปอมป่าเป็นเมนูอาหารเด็ดเลิศหรูของชาวอีสานและคนฝั่งลาว
แต่มันทำให้พวกผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดินที่อยู่ในเมืองกรุงต้องเบือนหน้าหนี
เย็นวันนั้นบักหำเดินกลับเข้าหมู่บ้านพร้อมกับกะปอมคอแดงพวงใหญ่หลายตัวที่อยู่ในมือ
การเร่ขายกะปอมที่ยิงมาได้ให้หมดในราคาตัวละสิบบาทยี่สิบบาท
เป็นเรื่องง่ายดายในหมู่บ้านนี้
อีสานแล้งมาแต่ดนเติบมันทำให้พวกกุลาพ่อค้าแม่ขายชาวเมืองมะละแหม่งเข็ดขยาด
ในอดีตชาวพม่าต่างถิ่นพวกนี้จะขนสินค้าจากบ้านเมืองตนมาขายยังแอ่งโคราช
พวกนี้ขายสินค้าเพื่อแลกกับครั่งแดงที่ชาวอีสานไปเลาะหาเก็บตามป่าโคก
ความไม่ชำนาญทางทำให้พวกพ่อค้ากุลาเดินหลงทางไปในทะเลทรายแห่งอีสาน
ที่กินพื้นที่ถึงสองล้านไร่ตั้งแต่แถบอีสานตอนกลางถึงตอนใต้
มันโล่งและเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตาไร้บ้านเรือนผู้คนเพราะความแล้งจัดของพื้นที่
น้ำตาของชาวกุลาที่ร่ำไห้ไหลออกมาเพราะความหวาดกลัว
และกำลังจะอดตายในถิ่นทุรกันดารนี้
มันจึงเป็นตำนานเล่าขานเรียกดินแดนที่ราบสูงนี้ว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"
แต่วันนี้น้ำตาของชาวกุลาได้เหือดแห้งหายไปตามกาลเวลา
คงมีแต่รอยยิ้มของชาวนาในถิ่นอีสานนี้ที่ยังลืมตาอ้าปากได้พออิ่มท้อง
เพราะข้าวหอมมะลิที่ปลูกแถวทุ่งกุลาเป็นที่ขึ้นชื่อดังไปทั่วโลก
ประชากรหลายประเทศนิยมรับประทาน
เพราะข้าวที่นุ่มไม่แข็งเกินไปกินกันด้วยความอิ่มเอมในรสชาติ
พื้นที่แถบนี้เกินกว่าครึ่งที่เป็นจำนวนล้านกว่าไร่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิและปลูกต้นยูคาฯ
ความเขียวของทุ่งนาและความครึ้มของป่ายูคาลิปตัส
ทำให้ชาวอีสานภาคภูมิใจและเรียกบ้านตัวเองว่า "อีสานเขียว"
ข้าขอก้มกราบ "แม่" ธรณีที่ยังมีความเมตตาอุ้มชูเลี้ยงดูลูกๆชาวอีสานให้อยู่รอด
ข้าให้คำสัญญาต่อ "แม่" ว่าจะไม่ทิ้งบ้านเรือนถิ่นอีสานไปไหน
ตราบจนวาระสุดท้ายที่ดินผืนนี้จะกลบหน้าลูกไป




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๑ ความเปลี่ยนแปลง


ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมเป็นทุกๆสิ่งอันเป็น "ตัวตน" มีความหมายไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งในมุมมองความเข้าใจจากความเป็นเราในฐานะที่เป็นมนุษย์ เป็นทุกๆสิ่งที่มันเป็นเหตุและปัจจัยเข้ามาทางทวารทั้งหกอันคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ และสามารถรับรู้ได้ในความที่เราเป็นมนุษย์นั้นและเข้าใจไปว่านี่คือชีวิตและโลกของเราที่ได้อาศัยดำรงชีวิตอยู่ ก็ด้วยพฤติกรรมแห่งการเข้าไปยึดถือ "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และได้ยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นเรานั้นมันกลายเป็น "เรา" ในความหมายที่เป็น "อัตตาตัวตน" และในความหมายแห่งความเป็น "เรา" ในความเป็นอัตตาตัวตนนั้นมันก็ย่อมประกอบไปด้วยความเป็นเราเขาและสิ่งอื่นๆที่เข้ามาทางทวารทั้งหกนั้นด้วย ความหมายทั้งเราและสิ่งอื่นๆในความเป็นตัวตนนั้นก็คือ "จิตที่ปรุงแต่ง" ของเราเองอันเกิดจากความเข้าใจที่เราเข้าไปยึดว่าสิ่งๆนั้นมันเป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติแบบนี้ๆอย่างนี้ๆ ตามที่เราเข้าใจในความเป็นอัตตาตัวตนของมันในขณะนั้นแห่งการที่เราได้เข้าไปยึด

แต่โดยความเป็นจริงตาม "ธรรมชาติ" ของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมไม่สามารถคงคุณลักษณะและคุณสมบัติแบบเดิมๆร้อยเปอร์เซ็นต์ของมันแบบไม่ผิดเพี้ยนเอาไว้ได้ ทุกสรรพสิ่งย่อมมีความเปลี่ยนแปลงผิดแผกไปจากคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมของมันซึ่งมันเคยเป็นแบบนี้ๆอย่างนี้ๆอยู่ตลอดเวลา ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าจะมีสิ่งใดสักสิ่งหนึ่งที่สามารถคงคุณลักษณะและคุณสมบัติของความเป็นมันอยู่อย่างนั้นได้คงที่อยู่ตลอดเวลาทุกสรรพสิ่งย่อมตกอยู่ในลักษณะเปลี่ยนแปลงจากคุณลักษณะและคุณสมบัติหนึ่งไปสู่ความเป็นคุณลักษณะและคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งอยู่เสมอๆ เช่น ความใหม่ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเก่า ความเต็มเปี่ยม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความพร่อง ความเป็นแบบนี้ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเป็นแบบอื่น ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในความเป็นแบบเดิมๆของสิ่งๆนั้นมันก็รวมถึง "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นด้วย "สิ่งที่เพียงแค่ประกอบขึ้นมา" ในความเป็นเราซึ่งคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "ขันธ์ทั้งห้า" นั้นและรวมทั้งความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นใน "ขันธ์ทั้งห้า" เป็นจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมาอันทำให้เกิดการมีเรามีเขาและมีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นในความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตนในจิตนั้น ขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้และจิตที่ปรุงแต่งขึ้นก็ย่อมเป็นสิ่งๆหนึ่งเช่นกันที่มีความเปลี่ยนแปลงผิดแผกไปจากคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมของมันและไม่สามารถคงความเป็นมันในแบบๆนั้นได้อยู่ตลอดเวลา



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๒ ความงามหน้าแล้ง



แรงงานทุกคนในครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านหลายคนที่มีน้ำใจ
ต่างก็มาช่วยกันหาบข้าวที่เกี่ยวได้มาขึ้นไว้บนลานข้าว
การฟาดข้าวใช้เวลานานถึงสองสามอาทิตย์
จึงสามารถขนเมล็ดข้าวใส่เกวียนลากกลับไปที่หมู่บ้าน
เกวียนเที่ยวสุดท้ายกำลังลากล้อผ่านท้องนาที่พึ่งเริ่มร้าง
ทุ่งข้าวซึ่งเมื่อสามเดือนที่แล้วยังแลดูเขียวชอุ่มเต็มท้องทุ่ง
ต้นข้าวได้แข่งกันออกรวงข้าวสีเหลืองทองจนทำให้ชาวนาหายเหนื่อยจากการทำนา
แต่ภาพแห่งความอุดมสมบูรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็หายไปเพราะการเก็บเกี่ยวผลผลิต
มันทำให้ผืนนาที่เคยสวยงามซึ่งเต็มไปด้วยกอข้าวกอใหญ่
กลับเหลือแต่ตอฟางข้าวที่ยืนตายแห้งเหี่ยวเฉาเต็มไปทั่วท้องทุ่ง
วันนี้มันจึงเป็นวันสุดท้ายและอาจจะไม่ได้กลับมาที่ท้องนานี้อีกนาน
แต่ความงามของท้องทุ่งมันมิได้มีเฉพาะฤดูกาลแห่งการทำนาเท่านั้น
ถึงแม้ว่าฤดูหนาวที่มาเยือนในปลายปีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
มันจะทำให้เกิดความรู้สึกถึงความเงียบเหงาอ้างว้างเปล่าเปลี่ยว
มีแต่เพียงสายลมเท่านั้นที่ได้พัดผ่านไปในความเวิ้งว้างของท้องทุ่ง
แต่อีกไม่นานทุ่งนาร้างแห่งนี้ก็จะกลับมามีชีวิตและชีวาอีกครั้งหนึ่ง
ต้นจานที่ขึ้นอยู่ตามท้องนาด้วยความไม่ตั้งใจในความสรรค์สร้างของธรรมชาติ
มันก็พร้อมที่จะผลิตดอกสีแสดส้มของมันบานออกมายั่วยวนให้ชาวนาหลงใหล
และเมื่อถึงคราหน้าแล้งมาเยือนชาวนาบ้านนอกอย่างเราก็จะจูงวัวจูงควายเป็นฝูง
ออกมาชมความงดงามความมีเสน่ห์ของท้องทุ่งนี้อีกครั้ง
การเอาเท้าไขว่ห้างนอนเอนหลังบนท้องทุ่งนาที่เต็มไปด้วยดอกจานที่ร่วงหล่นเกลื่อนกระจาย
มันคือความสุขที่หาไม่ได้อีกแล้วในวิถีชีวิตของคนชาวเมืองกรุงที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย
เสียงเพลงหมอลำ "อดีตรักริมโขง" จากวิทยุที่อยู่ข้างกายฉัน
ดังแว่วเข้ามาในหูที่ฟังอย่างพร่าเลือนไม่ค่อยชัด
เพราะสมองของฉันมันไม่ค่อยจะสั่งการแล้ว
ลมที่พัดเอื่อยๆอยู่กลางทุ่งทำให้ฉันกำลังจะหลับไป
เพื่อหนีอากาศร้อนอบอ้าวของบ่ายวันนี้



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ




บทที่ ๒๓ สัมมาทิฐิ


ก็ในราตรีแห่งการที่จะได้ตรัสรู้นั้นครั้งเมื่อ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ได้กลับใจเลิกทรมานตนด้วยความเข้าใจผิดว่าการกระทำประพฤติข้อวัตรด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยาจะเป็นหนทางทำให้พ้นทุกข์แต่แท้ที่จริงเป็นเพียงศีลพรตปรามาสคือข้อวัตรที่เต็มไปด้วยความงมงายในมิจฉาทิฐิแห่งตน ณ ปฐมยามแห่งราตรีในวันตรัสรู้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” จึงหันมาทำจิตให้สงบนิ่งปราศจากความปรุงแต่งวุ่นวายในเรื่องต่างๆด้วยการเจริญอานาปานสติเข้าถึง "ภาวะอัตตา" อันละเอียดประณีตในองค์ฌาน 4 และด้วยเหตุปัจจัยที่ได้สั่งสมมาดีแล้วในทุกภพชาติที่ผ่านมาที่จะทำให้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงทำให้ท่านเข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวในอดีตชาติของตนเองที่ตนเคยเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่เป็นสิ่งเพียงแค่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวตนของท่านที่ทำให้ท่านต้องเวียนว่ายตายเกิดในอดีตชาตินับครั้งไม่ถ้วน การระลึกถึงอดีตชาติแห่งตนเองได้นั้นเรียกว่า “ปุพเพนิวาสนุสติญาณ” ซึ่งเป็นความรู้อันเกิดจากเหตุที่สามารถระลึกถึงขันธ์ทั้งห้าที่เคยได้อาศัยอยู่ในอดีตด้วยความยึดมั่นถือมั่นนั้น

ครั้งล่วงเข้าเวลามัชฌิมยามในราตรีแห่งการตรัสรู้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” เข้าไปรับรู้ถึงเรื่องราวการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้ท่านเห็นสัตว์ทั้งหลายนั้นต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆตามผลแห่งกรรมซึ่งเป็นการรับรู้ว่าบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างได้ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้าของตนแล้วต่างก็ได้กระทำกรรมในแต่ละภพแต่ละชาติและกรรมนั้นได้ส่งผลให้สัตว์ทั้งหลายต้องไปเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆไม่ว่าจะเป็น สวรรค์ พรหม โลกมนุษย์ และภูมิสัตว์นรกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเข้าไประลึกรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ซึ่งคือ "จุตูปปาตญาณ" ได้ทำให้ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ได้มีความรู้เกี่ยวกับระบบกรรมวิสัยของมวลหมู่สรรพสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มๆต่อกันในแต่ละส่วนซึ่งมีรายละเอียดเนื้อหาทางกรรมแตกต่างกันไปและมันมีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวพันกันในฐานะ "เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้" ในเชิงยุ่งเหยิงซับซ้อนเหมือนหญ้าปล้องที่พันกันอยู่อย่างนั้น

ด้วยบารมีแห่งความเป็น "เจ้าชายสิทธัตถะ" ที่ได้เคยสั่งสมในทุกภพทุกชาติที่ผ่านมาบนเส้นทางแห่งคุณงามความดีแห่งตนตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยนั้นทำให้บรมมหาโพธิสัตว์ดวงนี้สามารถดำเนินชีวิตอาศัยอยู่ในสังคมแห่งตนเองได้ด้วยจิตวิญญาณที่ตนนั้นได้อบรมบ่มนิสัยมาอย่างดีแล้วในทุกด้าน จิตวิญญาณอันสูงส่งซึ่งประกอบไปด้วยคุณความดีทั้งหลายที่ได้ประกอบมานั้นจึงทำให้ในวันตรัสรู้นี้ "เจ้าชายสิทธัตถะ" จึงมีปัญญาอย่างเต็มเปี่ยมแท้จริงเป็นปัญญาที่เคยอบรมมาแล้วในทุกด้านและเป็นปัญญาที่มีกำลังอย่างมากเพราะเป็นปัญญาที่ได้อบรมมาอย่างถึงที่สุดในทุกๆคุณสมบัติของความเป็น "ธาตุแห่งปัญญา" นั้น ในปัจฉิมยามแห่งราตรีตรัสรู้ "เจ้าชายสิทธัตถะ" จึงใช้ความมีปัญญาแห่งตนเข้าไปวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ตนเข้าไประลึกรู้ได้ทั้งหมด ด้วยกำลังแห่งธาตุปัญญาอันมากล้นนั้นจึงทำให้ท่านสามารถแยกแยะคัดกรองทุกสรรพสิ่งอันคือธรรมหรือภาวะทั้งปวงให้เป็นไปตามความเข้าใจของท่านและปัญญาอันคือความเข้าใจที่ทำให้วิเคราะห์ได้ตรงต่อความเป็นจริงตามธรรมชาติของท่านจึงทำให้ท่านได้รู้ถึงความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งว่า "มันมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะ" ไม่สามารถคงความเป็นคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆอย่างครบถ้วนของมันไว้ได้อยู่ตลอดเวลา เมื่อธรรมทั้งปวงย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้ในความเป็นมันนั้นได้เลยแม้สักขณะหนึ่งความเป็นอัตตาตัวตนในสิ่งๆนั้นมันจึงหาใช่ความเป็นตัวตนที่แท้จริงไม่แท้ที่จริงมันย่อมคือ "ธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามสภาพของมัน"

เมื่อท่านสามารถวิเคราะห์ได้ถึงที่สุดแห่งความเป็นจริงเช่นนี้ได้แล้ว ท่านจึงน้อมเอาความเป็นจริงซึ่งคือธรรมแห่งธรรมชาตินั้นมาเปรียบเทียบกับความที่เป็นอัตตาตัวตนของท่านเองว่าแท้ที่จริงแล้วร่างกายของคนเรานั้นมันย่อมเป็นสิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบเข้าด้วยกันของความเป็นขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ แต่เพียงเท่านั้นและเพราะความไม่รู้ในความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงจึงทำให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้านั้นเป็นจิตขึ้นมา ซึ่งจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมานั้นมันเป็นตัวแทนในความหมายแห่งความเป็นเราเป็นเขาเป็นสิ่งอื่นๆในสภาพจิตของเราที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั่นเอง เมื่อจิตของเรามันก็เป็นสิ่งๆหนึ่งที่ไม่สามารถคงตัวคงที่อยู่ในคุณลักษณะและคุณสมบัติเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้นได้แม้ชั่วขณะหนึ่งเช่นกันจิตนี้ย่อมมีความแปรผันไม่เที่ยงแท้และไม่สามารถเป็นจิตในสภาพแบบนั้นได้อยู่ตลอดไปในความหมายในความเข้าใจแห่งความปรุงแต่งเป็นจิตขึ้นในขณะที่ได้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นนั้นเอง เมื่อมีความมุ่งหมายให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปในทิศทางแห่งความต้องการแต่สิ่งนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะจึงเกิดภาวะแห่งความผิดหวังไม่สมดังใจจึงกลายเป็น "ความทุกข์" ขึ้นมา

ความทุกข์เกิดขึ้นได้เพราะเหตุแห่งการเข้าไปยึดสิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบกันเข้ามาเป็นขันธ์ทั้งห้านั้นให้กลายเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เหตุแห่งการเข้าไปยึดเพราะความไม่รู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงที่มันย่อมมีแต่ความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นมันจึงเป็น "สมุทัย" ซึ่งหมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

เพราะความเป็นเราซึ่งหมายถึงจิตต่างๆที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมานั้นมันก็ย่อมเป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันหรือแม้กระทั่งสิ่งที่เป็นเพียงแค่การประกอบขึ้นมาเป็นเราอันคือขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ถึงแม้ว่าจะมีการเข้าไปยึดมั่นหรือยังไม่เข้าไปยึดมั่นก็ตามขันธ์ทั้งห้านี้ก็ล้วนถือว่าเป็นสิ่งๆหนึ่งที่มีความแปรผันอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถคงตัวอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติเดิมๆของมันได้อยู่อย่างนั้นตลอดไป เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้พิจารณาถึงธรรมชาติแห่งความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่งแม้กระทั้งความเป็นท่านเองในความเป็นจิตหรือในความเป็นขันธ์ทั้งห้าของท่านนั้นจึงทำให้ท่านเกิดความเข้าใจอย่างรู้แจ้งในทุกส่วนว่าแท้จริงทุกสรรพสิ่งมันมีแต่ความแปรผันไม่เที่ยงแท้และมันจึงกลายเป็นความหมายแห่ง "ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนอยู่อย่างนั้น" เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้รู้ความเป็นจริงอันถึงที่สุดของความเป็นธรรมชาตินี้แล้วในฐานะแห่งความเป็นมหาบัณฑิตของท่าน ท่านจึงมีความสามารถพึงระลึกได้ถึงความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงที่มันว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้นแต่ถ่ายเดียวและไม่ใส่ใจในสภาพธรรมอันคือความปรุงแต่งทั้งปวงอีกต่อไปและส่งผลให้ท่านได้กลายเป็นเนื้อหาเดียวกันสภาพเดียวกันกับธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนอยู่อย่างนั้นได้อย่างกลมกลืนไม่มีความแตกต่าง การที่ความเป็นตัวตนได้ดับสนิทไปไม่มีเหลือจึงเป็นความหมายแห่ง "นิโรธ" ซึ่งหมายถึงความดับไปแห่งธรรมทั้งปวงที่เป็นธรรมอันคือความที่ถูกปรุงแต่งขึ้นด้วยความยึดมั่นถือมั่น

เมื่อ "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้นั่งทบทวนถึงที่มาของความเป็นจริงแห่งธรรมชาติอันทำให้ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งอันหาความแตกต่างมิได้ในความเป็นธรรมชาตินั้นท่านจึงได้รู้ถึงเหตุอันคือธรรมต่างๆทั้งแปดส่วนที่เป็นปัจจัยอย่างพร้อมเพรียงกันทำให้ท่านสามารถดำเนินมาสู่ธรรมซึ่งคือธรรมชาติที่แท้จริงนี้ได้ หนทางอันประกอบไปด้วยธรรมทั้งแปดส่วนนั้นก็คือ "มรรค"

ด้วย "สัพพัญญู" อันคือความรอบรู้ในความเป็นจริงของความเป็นไปในทุกสรรพสิ่งและสามารถแก้ไขปัญหาอันทำให้ออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ซึ่งเป็นสัจจะแห่งธรรมอันยิ่งใหญ่คือ "อริยสัจทั้ง ๔ " อันประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั้นจึงทำให้มี "พระพุทธเจ้า" ทรงอุบัติเกิดขึ้นในราตรีแห่งการที่ได้ตรัสรู้ภายใต้ควงโพธิ์นั้นเอง



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


บทที่ ๒๔ กบน้อยบนใบบัว

ย่ามเป้สะพายที่เป็นผ้าดิบลายสองถูกเย็บขึ้นเป็นถุงผ้าใบใหญ่
มันถูกบรรจุสิ่งของต่างๆไว้ไม่ว่าจะเป็นบาตรที่มีขนาดใหญ่ถึงเก้านิ้วและกลดเหล็กที่พับซุกไว้ข้างย่าม และภายในบาตรเองก็เต็มไปด้วยผ้าสบงผ้าอาบน้ำผ้าเช็ดตัวมีดโกนกล่องสบู่และมุ้งกลด
มันเป็นสัมภาระที่พระธุดงค์อย่างฉันต้องหอบหิ้วมันไปตลอดทางด้วยน้ำหนักไม่ต่ำกว่ายี่สิบกิโลกรัม
ของทั้งหมดนี้มันคือความจำเป็นที่ต้องขนไปด้วยเพราะการจาริกไปแบบไม่มีจุดหมายปลายทาง
บาตรเอาไว้เป็นภาชนะขอข้าวชาวบ้านกินเพียงเพื่ออิ่มในมื้อเดียวตอนเช้า
กลดและมุ้งกลดก็เอาไว้เป็นบ้านชั่วคราวที่อาศัยจำวัดพักผ่อนในสถานที่ที่เท้าของตนได้พาย่างก้าวมาถึงแบบทุลักทุเลในแต่ละวัน
สิ่งของเท่าที่จำเป็นเพียงไม่กี่อย่างเท่านี้แต่ก็พาให้เรานึกท้อใจในความหนักของมัน
บางทีอยากจะสละสิ่งของเหล่านี้ออกไปบ้างเมื่อไม่สามารถลากสังขารของตนให้ก้าวไปข้างหน้าได้
การไปอย่างไม่มีจุดหมายก็เป็นความเพลิดเพลินและลืมบางสิ่งบางอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราไปได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
หลังฤดูออกพรรษาปีนี้ฉันได้ออกมาเดินธุดงค์ทางอีสาน
นั่งรถไฟมาจากปักษ์ใต้และต่อมายังภาคอีสานลงรถไฟที่ลำปลายมาศเมืองบุรีรัมย์แล้วเดินจาริกต่อไปแบบไร้ทิศทาง
คันนาที่ฉันพยายามเดินก้าวขาออกไปข้างหน้าด้วยความมั่นคงเพราะแรงกดของน้ำหนักย่ามที่สะพายอยู่บนบ่า
มันเลยแลดูเป็นคันนาที่เล็กและคับแคบเกินไปจนเดินแทบไม่สะดวกเมื่อเทียบกับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเที่ยง
ฉันพึ่งเดินตัดลัดทุ่งเพื่อไม่เข้าไปในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ๆ
เพราะมีฝูงหมาหลายตัวในหมู่บ้านนี้มาเห่ากระโชกพระแปลกหน้าที่พวกมันไม่เคยเห็น
การหลบหลีกผู้คนมันทำให้เรามีโอกาสได้พิจารณาถึงภาวะธรรมแห่งจิตใจเราไปตลอดทางแห่งการจาริก
การเดินออกมาตามทุ่งนาที่โล่งแถบนี้มันมีแต่ความเวิ้งว้างแทบจะมองไม่เห็นบ้านเรือนผู้คนเลย
พบสองตายายที่ออกมาอยู่กลางนาและไม่ยอมกลับเข้าไปอยู่ที่หมู่บ้านในปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้ แกบอกว่าต้องเดินตรงต่อไปเรื่อยๆอีกหกกิโลถึงจะเจอหมู่บ้าน
เมื่อฉันได้คำตอบมันแทบทำให้ฉันเข่าทรุดเพราะตอนนี้ก็ปาเข้าไปเกือบสามโมงเย็นแล้ว
ฉันต้องแข็งใจเดินต่อไปข้างหน้าด้วยระยะทางหกกิโลภายในสองชั่วโมงและแถมยังเป็นทางคดเคี้ยวที่ต้องเดินลัดเลาะไปตามคันนาแต่ละผืน
ด้วยหัวใจที่เหนื่อยล้าและไม่รู้จะต่อรองอะไรกับใครมันทำให้ฉันต้องก้มหน้าและรีบจ้ำเดินเพราะกลัวจะมืดค่ำเสียก่อน
แต่เมื่อมาถึงกลางทางพบสระบัวที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวกลางทุ่งนา
ความสวยงามของบัวสายที่ชูช่อดอกอวดสายตาคนต่างถิ่นแดนไกลอย่างฉัน
มันทำให้ฉันตัดสินใจปักกลดกลางทุ่งนาในเย็นของวันนี้เพราะความงามตามธรรมชาติที่ได้พบเห็น
มันคงเป็นสระบัวที่เจ้าของนาเขาได้ขุดและเลี้ยงปลาเอาไว้กินยามเกี่ยวข้าว
กลดถูกกางออกและแขวนไว้กับต้นมะสังที่แผ่กิ่งก้านแกร็นๆของมันออกไปอย่างไม่เต็มใจเพราะความแล้งของที่นี่
เมื่อจัดที่จัดทางเสร็จจึงรู้ว่ามีกบตัวน้อยตัวหนึ่งนอนอยู่นิ่งๆบนใบบัวใบใหญ่ที่แผ่ใบของมันทับซ้อนเรียงรายกันอยู่กลางสระ
เพราะความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ภายในบริเวณสระแห่งนี้ซึ่งมีอยู่ที่เดียวท่ามกลางความแล้งร้างของผืนนาที่พึ่งถูกเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ
มันจึงให้ทุกชีวิตที่อยู่ในนาทุ่งนี้ได้หนีร้อนเข้ามาอาศัยความเย็นของผืนน้ำแห่งนี้
เจ้ากบน้อยมันคงนอนอยู่บนใบบัวมาตั้งแต่ก่อนที่ฉันจะได้ก้าวย่างเข้ามา ณ ที่แห่งนี้
และมันก็คงจ้องมองฉันอยู่นิ่งๆไม่ไหวติงจนกระทั่งฉันได้กางกลดเสร็จ
วันนี้ฉันได้กบน้อยตัวนี้เป็นครูสอนธรรมะฉัน
กบน้อยตัวนี้มันได้บอกฉันว่าถึงแม้ธาตุขันธ์ของฉันจะเหนื่อยหนักเพราะการเดินทาง
แต่เพราะความที่ใจเรามีความเย็นในธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
ไม่สัดส่ายไปในความร้อนรุ่มแห่งการปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนตามตัณหาอุปาทานแห่งตน
เมื่อเราพบเจอความเย็นที่แท้จริงตามธรรมชาตินี้แล้วเราก็ไม่ควรจะปล่อยใจให้เถลไถลออกไปที่อื่นอีก ฉันจึงบอกกับตนเองในเย็นวันนั้นว่า
ฉันควรทำใจให้นิ่งเหมือนกบตัวนี้ที่มันอยู่กับความเย็นกายเย็นใจของมันบนใบบัวนั้นโดยไม่ใส่ใจอะไรกับใคร
เย็นวันนั้นฉันค่อยๆย่อตัวนั่งลงบนผ้ารองนั่งอาสนะด้วยความเงียบงัน
และจ้องมองดูครูของฉันที่อยู่บนใบบัวอยู่อย่างนั้น
จวบจนราตรีอันมืดมิดได้เข้ามาเยือนท้องทุ่งนาแห่งนี้
คืนนี้จึงมีเพียงฉัน เจ้ากบน้อยและแสงสว่างจากแท่งเทียนที่ฉันจุดพรางไว้ในที่กำบัง
ทั้งสองสรรพสัตว์นี้ต่างก็นั่งมองดูชีวิตอันสงบแห่งตน
ท่ามกลางความวิเวกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๕ ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน


สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่เป็นความปกติตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน การปฏิบัติธรรมตามความเป็นปกติของธรรมชาตินั้นด้วยการ "พิจารณาธรรมทั้งปวงและพึงมีสติระลึกถึงความเป็นธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ตรงต่อความเป็นจริงตามพุทธประสงค์และมิได้ถือว่าเหตุแห่งการที่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้เป็น "เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ธรรมชาติที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตน "เกิดขึ้น" เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นตัวตนนี้มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วด้วยความเป็นธรรมชาติของมันนั่นเองเป็นความมีอยู่ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นโดยที่มิได้เป็นธรรมชาติอันถือได้ว่าเป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น มันเป็นธรรมชาติที่มิได้ "เกิดเป็นธรรมชาติขึ้นเพราะได้อาศัยเหตุและปัจจัยแต่อย่างหนึ่งอย่างไร" เลย การพิจารณาธรรมเป็นเพียงแต่การทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงต่อความเป็นจริงแห่งธรรมชาติว่าแท้ที่จริงธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งนี้มันคือความว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนของมันอยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นการพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นของมันอยู่แล้วแบบนี้เสมอมา เพราะฉะนั้นธรรมชาติจึงเป็นของมันแบบนี้อยู่แล้วมันจึงมิได้เกิดขึ้นเป็นสภาวะธรรมเพราะเหตุและปัจจัยจากการที่เราได้พิจารณาธรรมแต่อย่างใด เมื่อรู้แล้วว่าธรรมชาติที่แท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้นคืออะไรเราก็พึงมีสติระลึกถึงความเป็นจริงแห่งธรรมชาติที่มันเป็นแบบนี้ของมันอยู่แล้วตามธรรมชาตินั้น

เพราะธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนมันคงความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น "ความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมชาติ" จึงเป็นธรรมชาติที่มิได้อาศัยความพรั่งพร้อมที่ประกอบไปด้วยความเป็นเหตุและผลแล้วธรรมชาตินี้จึงเกิดขึ้นได้ ก็เพราะธรรมชาติมันก็เป็นเช่นนั้นในความเป็นธรรมชาติของมันเองอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วมันจึงปราศจากเหตุและปัจจัยใดๆมาตกแต่งเพื่อแสดงถึงคุณลักษณะในความเป็นธรรมชาติของมันได้อีกเลย มันจึงเป็นธรรมชาติที่มิใช่ภาวะที่มีหรือไม่มี มิใช่ภาวะที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น มิใช่ภาวะต้องปรากฏหรือไม่ปรากฏ

สติปัฏฐานธรรมเป็นธรรมที่ทำให้เราสามารถมีปัญญาพึงพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงความเป็นธรรมทั้งปวงเพื่อ "สลัดออก" ซึ่งธรรมที่มีสภาพปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนทั้งหลายด้วยการพึงระลึกได้ถึงความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน ความหมายแห่งการสลัดออกจากธรรมที่มีสภาพความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนได้แล้วนั้นจึงถือได้ว่ามันคือ "ความเป็นปกติของธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่มันว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตน" อยู่แล้วเช่นกัน การสลัดออกจากภาวะธรรมอันมีความหมายตรงกันข้ามนี้คือจากภาวะธรรมอันคือความปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวตนไปสู่ความเป็นปกติของธรรมอันคือธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าฯนี้มันก็เป็นเพียงการยืนยันว่าธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ความหมายแห่งความเป็นอัตตาตัวตนนี้มันมีอยู่มาก่อนแล้วตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงแห่งมันแต่เพียงเท่านั้น แต่ความเป็นธรรมชาตินี้แห่งสติปัฏฐานธรรมมันมิได้เป็นสภาวะธรรมอันคือการต้องมีอยู่โดยสภาวะหรือไม่มีอยู่โดยสภาวะและมันก็มิได้หมายถึงเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยเหตุและปัจจัยใดๆทั้งสิ้นรวมทั้งเหตุและปัจจัยจากการสลัดออกจากธรรมซึ่งคือธรรมที่มีความหมายตรงข้ามกัน ก็เพราะธรรมชาตินี้มันก็เป็นเช่นนั้นของมันอยู่อย่างนั้นอยู่แล้วตามความหมายที่แท้จริงแห่งมันมาตั้งแต่เก่าก่อนและก็จะเป็นเช่นนี้ตลอดไปอยู่อย่างนั้น การสลัดออกก็เป็นไปเพื่อความเป็นปกติตามสภาพธรรมชาติที่แท้จริงของมันอยู่อย่างนั้นแต่เพียงเท่านั้น



“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2014, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2012, 21:53
โพสต์: 235

สิ่งที่ชื่นชอบ: ใจต่อใจในการฝึกตน
ชื่อเล่น: เมฆ
อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



บทที่ ๒๖ ดอกบัวจิตวิญญาณแห่งพุทธะ


ประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านการเรียนรู้บนเส้นทางธรรมแห่งธรรมชาติ
มันทำให้ในวันนี้ชีวิตได้ตกผลึกถึงที่สุดแห่งความเป็นจริง ณ "ภูแห่งสัจจะ"
ก็ความเป็นมนุษย์นั่นเองที่พยายามประคับประคองชีวิตของตนให้อยู่กับความสุขที่แท้จริง
เป็นความสุขที่ตนเองได้เลือกสิ่งดีๆให้กับชีวิตของตนไว้แล้ว
เป็นการเลือกโดยใช้ปัญญาคือความสามารถที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ให้แก่สัตว์มนุษย์โดยเฉพาะ
เป็นการพิจารณาเพื่อไตร่ตรองและเลือกเฟ้นสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ชีวิตของตน
และมนุษย์ยังมีความสามารถปรับปรุงพัฒนาความเป็นตนเองให้ดียิ่งขึ้นไป
ด้วยศิลปะแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีหัวใจแห่งความเป็นบัณฑิตนั้น
เป็นศิลปะที่เกิดจากความสามารถของตนเองเพื่อแยกแยะคัดสรรบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ดีออกไปด้วยการสลัดออกสิ่งที่ไม่ดีและไม่ต้องการนั้นออกไปจากชีวิตตนอย่างไม่มีเยื่อใย
ด้วยการพึงพิจารณาเห็นโทษที่ตนจะได้รับ
และพึงฝึกการมีสติเพื่อระลึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่ตนได้เลือกไว้ดีแล้วและสิ่งๆนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตนแต่ถ่ายเดียว
เป็นศิลปะแห่งการปรับปรุงจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของตนให้เกิดความบริบูรณ์พร้อมจนกลายเป็นจิตวิญญาณแห่งความเป็นพุทธะได้ในที่สุด
เมื่อประสพความสำเร็จในการนำสิ่งที่ดีที่สุดมาสู่ความเป็นชีวิตของตนได้
มนุษย์ทั้งหลายจึงเริ่มต้นแบ่งปันสิ่งดีๆซึ่งเป็นความปรารถนาดีเหล่านี้ให้กับผู้คนรอบข้าง
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจึงบ่งบอกได้ว่ามนุษย์มิได้อยู่อย่างโดดเดียวเดียวดายบนโลกใบนี้
มนุษย์จึงดำรงชีวิตของตนอยู่กับหมู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นสังคมที่ต่างก็ได้พึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความปรารถนาดี คุณงามความดีทั้งหลาย ปฏิสัมพันธ์แห่งการคบหากันในฐานะที่ต่างคนต่างก็เป็นบัณฑิต การแบ่งปัน การพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความมีศรัทธา ความมีอุดมคติอันสูงส่งร่วมกัน การดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุขที่แท้จริงบนปัจจัยขั้นพื้นฐานทั้งสี่ ความมีมิตรไมตรีให้แก่กันเสมอมา ความมีเมตตากรุณาต่อบรรดาสรรพสัตว์ การปรับปรุงตนเองให้ไปสู่ความหลุดพ้นทั้งปวงได้และความเป็นธรรมชาติแห่งพุทธะนั้น สิ่งดีๆทั้งหลายเหล่านี้ย่อมปรากฏอยู่ในสังคมมนุษย์ตลอดไปตราบเท่าที่มนุษย์ทุกคนต่างก็ยังมีความสำนึกในความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงและยังเห็นว่าชีวิตที่ตนได้เกิดมานั้นมันยังเป็นชีวิตที่มีคุณค่าและมีความประเสริฐมากมายอย่างยิ่ง
ก็เพราะมนุษย์มีหัวใจที่พิเศษมนุษย์ทุกคนจึงมีสัญชาตญาณแห่งความมีเลือดนักสู้เป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้แก่อะไรง่ายๆ
มนุษย์ทุกคนจึงมีความสามารถที่จะสร้างแรงบันดาลใจเพื่อก่อคติที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตตนเอง
เป็นอุดมคติอันเป็นเข็มทิศนำพาชีวิตตนให้พ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวงได้
ในคืนวันนั้นความที่ได้ตกผลึกถึงความมีคุณค่ายิ่งใหญ่ในภูมิปัญญาของความเป็นมวลหมู่มนุษยชาติ
ณ ราตรีนั้นเองที่เชิงเขาภูแห่งสัจจะ
พระพุทธเจ้าทั้งปวงจึงได้หยิบยื่น "ดอกบัวจิตวิญญาณแห่งพุทธะ"
ให้แก่สักกเทวราช(มฆมานพ)




“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
“การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง”
ราเชนทร์ สิมะสุนทร
หนังสือ "ธรรมชาติคือศาสนาของฉัน จักรวาลแห่งนี้คือวัดวาอาราม"


แก้ไขล่าสุดโดย เมฆ โซะระคุโมะ เมื่อ 19 ธ.ค. 2014, 20:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 103 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร