วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 16:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจกะ
ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
แสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว
๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้
เป็นสุข.
๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข.
๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ.
๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
ก. ญาติพลี สังเคราะห์ญาติ.
ข. อติถิพลี ต้องรับแขก.
ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย.
ฆ. ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น
.
ง. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา.
๕. บริจาคทานในสมณะพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๘.
ศีล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์
ให้ตกล่วงไป.
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้น
จากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยอาการแห่งขโมย.
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิด
ในกาม.
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้น
จากดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท.
ศีล ๕ ประการนี้ คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๒๖.
มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕
อย่าง
๑. ค้าขายเครื่องประหาร.
๒. ค้าขายมนุษย์.
๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร.
๔. ค้าขายน้ำเมา.
๕. ค้าขายยาพิษ.
การค้าขาย ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่
ให้ประกอบ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๒.
สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ
๑. ประกอบด้วยศรัทธา.
๒. มีศีลบริสุทธิ์.
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรม ไม่เชื่อมงคล.
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา.
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา.
อุบาสกพึงตั้งอยู่ในสมบัติ ๕ ประการ และเว้น
จากวิบัติ ๕ ประการซึ่งวิปริตจากสมบัตินั้น.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๐.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 17:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉักกะ
ทิศ ๖
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา.
๒. ทิกขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์.
๓. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องต้น สมณพราหมณ์.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา
บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
(๒) ทำกิจของท่าน.
(๓) ดำรงวงศ์สกุล.
(๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
(๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.
ที. ปาฏิ. ๑๐/๒๐๓.
มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตร
ด้วยสถาน ๕
(๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
(๔) หาภรรยาที่สมควรให้.
(๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์ ศิษย์พึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ.
(๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้.
(๓) ด้วยเชื่อฟัง.
(๔) ด้วยอุปัฏฐาก.
(๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์
ด้วยสถาน ๕
(๑) แนะนำดี.
(๒) ให้เรียนดี.
(๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง.
(๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง.
(๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือ
จะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก).
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
(๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
(๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
(๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
(๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามี
ด้วยสถาน ๕
(๑) จัดการงานดี.
(๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
(๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
(๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
(๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร กุลบุตรพึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยให้ปัน.
(๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ.
(๓) ด้วยประพฤติประโยชน์.
(๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ.
(๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง
.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
มิตรได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร
ด้วยสถาน ๕
(๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๓) เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้.
(๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
(๕) นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว นายพึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแกกำลัง.
(๒) ด้วยให้อาการและรางวัล.
(๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้.
(๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน.
(๕) ด้วยปล่อยในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
บ่าวได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นาย
ด้วยสถาน ๕
(๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย.
(๒) เลิกการงานทีหลังนาย.
(๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้.
(๔) ทำการงานให้ดีขึ้น.
(๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณะพราหมณ์
กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไร ๆ ประกอบ
ด้วยเมตตา.
(๒) ด้วยจีกรรม คือพูดอะไร ๆ ประกอบ
ด้วยเมตตา.
(๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไร ๆ ประกอบ
ด้วยเมตตา.
(๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้าม
เข้าบ้านเรือน.
(๕) ด้วยให้อามิสทาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
สมณะพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
(๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม.
(๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
(๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม.
(๖) บอกทางสวรรค์ให้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๖.
อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖
(๑) ดื่มน้ำเมา.
(๒) เที่ยวกลางคืน.
(๓) เที่ยวดูการเล่น.
(๔) เล่นการพนัน.
(๕) คบคนชั่วเป็นมิตร.
(๖) เกียจคร้านทำการงาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๑. ดื่มน้ำเมา มีโทษ ๖
(๑) เสียทรัพย์.
(๒) ก่อการทะเลาะวิวาท.
(๓) เกิดโรค.
(๔) ต้องติเตียน.
(๕) ไม่รู้จักอาย.
(๖) ทอนกำลังปัญญา.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖
(๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว.
(๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย.
(๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ.
(๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย.
(๕) มักถูกใส่ความ.
(๖) ได้ความลำบากมาก.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๓. เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖
(๑) รำที่ไหนไปที่นั่น.
(๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น.
(๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น.
(๔) เสภาที่ไหนไปที่นั่น.
(๕) เพลงที่ไหนไปที่นั่น.
(๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖
(๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร.
(๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป.
(๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย.
(๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ.
(๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน.
(๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่คบ ๖
(๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน.
(๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้.
(๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า.
(๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม.
(๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้าง
(๖) นำให้เป็นคนหัวไม้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๖. เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ ๖
(๑) มักให้อ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๒) มักให้อ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๓) มักให้อ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน.
(๔) มักให้อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน.
(๕) มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๖) มักให้อ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน.
ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์
พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร