วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 22:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

คำนำ

ในชีวิตคนเรานี้ ความคิดเป็นสิ่งสำคัญ คิดเป็นก็เป็นสุขได้ง่าย
คนเรารักความสุขก็จริง แต่มักคิดอะไรๆที่ทำให้ตัวเป็นทุกข์อยู่เสมอ
เพราะขาดโยนิโสมนสิการ คือคิดไม่เป็น

หนังสือโยนิโสมนสิการเล่มนี้
บอกวิธีคิดเพื่อเอาชนะทุกข์และสร้างสุขแก่ท่านถึง 10 วิธีด้วยกัน
นอกจากให้เกิดความสุขแล้ว ทำให้เกิดปัญญาอีกด้วย
ปัญญาเป็นแสงสว่างของชีวิต
ชีวิตที่มีปัญญาหาความสุขได้ง่าย (สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ)

พระเถระผู้เป็นปราชญ์แต่โบราณสมัยพุทธกาล
อดีตของท่านเคยเป็นพระราชา
ทรงสละราชสมบัติออกผนวชจนได้เป็นพระอรหันต์
คือพระมหากัปปินเถระ ได้อุทานออกมาว่า

“ผู้มีปัญญา แม้สิ้นทรัพย์ก็อยู่ได้
แต่ถ้าไม่ได้ปัญญาแม้มีทรัพย์ก็ไม่ขอมีชีวิตอยู่”
ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ (ขุ. เถร. 26/350)

โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญา แต่เป็นเหตุให้เกิดปัญญา
เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เพราะฉะนั้น ขอให้เรามาช่วยกันสร้างเหตุ
คือ โยนิโสมนสิการหรือวิธีคิด เพื่อเอาชนะทุกข์กันเถิด
เราจะได้รับสุขอันสมบูรณ์ และเป็นสุขที่แท้จริง

ขออวยพรให้ท่านทั้งหลายผู้มีทุกข์โศกโรคภัย จงพ้นจากวิบัติเหล่านั้น
ประสบสมบัติคือความไม่มีทุกข์ โศก โรค ภัย ทั่วหน้ากัน

ด้วยความปรารถนาดี
วศิน อินทสระ
30 สิงหาคม 2545


ที่มา http://www.ruendham.com/book_detail.php ... 4%D3%B9%D3

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หลักของโยนิโสมนสิการ

ขอเริ่มต้นด้วยพระพุทธสุภาษิตก่อน พุทธภาษิตที่เกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เราไม่พิจารณาเห็นธรรมสักอย่างหนึ่ง
เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
มิจฉาทิฏฐิที่เกิดแล้วเจริญมากขึ้น เหมือนกับอโยนิโสมนสิการ”
อโยนิโสมนสิการนี่ทำให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วเจริญมากขึ้น

ในข้อต่อมาก็ว่า “ภิกษุทั้งหลายเราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง
ที่เป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
สัมมาทิฏฐิที่เกิดแล้วเจริญมากขึ้น เหมือนกับโยนิโสมนสิการ”
โยนิโสมนสิการ ทำให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วเจริญมากขึ้น
นี่เป็นพระพุทธสุภาษิตในเอกธัมมาทิบาลี อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
ข้อ 185-186 (พระไตรปิฎกบาลี เล่ม 20)

มิจฉาทิฏฐิก็มีปัจจัยอยู่ 2 นะครับ คือ อโยนิโสมนสิการ กับปรโตโฆสะที่ไม่ดี
ปรโตโฆสะ แปลว่า สิ่งแวดล้อม เป็นตำราเป็นหนังสือ
เป็นคนเป็นสำนักเป็นอะไรก็ได้ครับ
ถ้าแปลตามตัวก็แปลว่า เสียงจากผู้อื่นเราก็ไปเชื่อเขา
ถ้ามีโยนิโสมนสิการไม่เป็นไร
โยนิโสมนสิการจะเป็นตัวคุมให้เป็นไปให้ถูกต้องอยู่เสมอ
ถึงจะได้ฟังมาไม่ดี ได้ยินมาไม่ดี เข้าสำนักไม่ดี
ก็เลือกได้ว่าอันนี้ไม่ถูกต้องไม่เอา อันนี้ดีก็เอา
ตัวโยนิโสมนสิการนี่เป็นตัวสำคัญมาก
เหมือนเราเข้าไปตลาดผลไม้ จะไปซื้อส้ม เขาใส่กระจาดไว้
ถ้าหากว่ามีโยนิโสมนสิการ ก็จะเลือกดูเอาผลที่สวยที่ดีที่งาม ก็เลือกเอามา
เพราะในสวนเดียวกันก็มีที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ก็เลือกเอาได้
ถ้าหากว่าไม่มีโยนิโสมนสิการก็หลับหูหลับตาหยิบเอามา
เจอเน่าบ้าง หรือโยนทิ้งไปหมดเลย

มีคนอยู่คนหนึ่ง คิดไม่เป็น คือ ขาดโยนิโสมนสิการ คิดไม่เป็น
เขาทำงานเก็บเงินได้ 1 ล้านบาท
แล้วก็ให้คนที่เป็นญาติกู้ไป ถูกโกงไปหมด
บอกว่าเสียใจมาก แต่ว่าเขาก็คิดได้ว่า ไอ้เราก็อยากได้ดอกเบี้ยเขาด้วย
เมื่อก่อนนี้ล้านหนึ่งไม่ใช่น้อยนะครับ
เราก็อยากได้ดอกเบี้ยเขาด้วยนี่ก็คิดได้มานิดหนึ่ง
เรียกว่า เริ่มคิดเป็นขึ้นมา คือ มีโยนิโสมนสิการขึ้นมา แต่ยังไม่หายแค้น
เตรียมปืนจะไปฆ่าเขา พอดีไปคุยกับผู้รู้มา

ท่านผู้รู้ก็บอกว่า ถ้าเขาตายแล้วคุณก็ไปติดคุก เงินก็ไม่ได้คืน คุณก็ต้องติดคุก
แล้วก็ต้องคิดดูว่า มีคนจำนวนไม่น้อยในคุกเสียอิสรภาพ
แล้วก็ยอมเสียเงิน 1 ล้าน 2 ล้าน 3 ล้าน เพื่อให้ได้อิสรภาพ
เพื่อให้ออกจากคุก แต่นี่คุณเสียเงินไป 1 ล้านแล้ว ยังจะไปติดคุกอีก ก็ลองคิดดู
เมื่อคิดดูก็ได้ความคิด เลยระงับความคิดที่จะไปฆ่าเขา

มันเรื่องอะไรเราจะต้องไปติดคุกเพราะเงิน 1 ล้าน
เสียเงินแล้วยังไปติดคุกอีก เพราะฉะนั้นจึงได้ความคิดที่คิดเป็นขึ้นมา
ได้ผู้รู้ ได้นักปราชญ์ คนที่แนะนำคือปรโตโฆสะที่ดี
คือ ได้สิ่งแวดล้อมดี ได้คนแนะนำดี แล้วตัวเองก็เกิดโยนิโสมนสิการ
เกิดความใคร่ครวญคิดขึ้นมา
การใช้โยนิโสมนสิการก็สำคัญนะครับ สำคัญมากเลยคือ คิดเป็น

โยนิโสมนสิการ ถ้าแปลง่ายๆว่า คิดเป็น คิดเป็นระบบ
คิดเป็นเรื่องเป็นราว มันเป็น Systematic thought
ความคิดที่เป็นระบบหรือว่า thoughtful พวกที่คิดเป็นระบบ คิดเป็น
เข้าใจในความคิดมีวิธีคิด มันมีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้สอนกันในโรงเรียน
คือ วิธีคิด ว่าเรื่องนี้ๆควรจะคิดอย่างไร
แล้วมันก็จะได้ผลออกมาดีมากๆเลย ถ้ามีวิธีคิด หรือคิดเป็น

หลักของโยนิโสมนสิการ มีวิธีคิดอย่างไร มีเยอะครับ
แล้วผมจะค่อยๆว่า ค่อยๆไป ผมคิดว่าเดี๋ยวจะไปถึงตรงนั้น

เมื่อหลายเดือนหลายปีมาแล้วครับ มีนักศึกษารามคำแหงไปหาผม
แล้วก็เล่าถึงเรื่องความคับแค้นไม่สบาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ต้องสูญเสียเพื่อนไป
เรื่องของเรื่องก็คือ เพื่อนไปมีคู่รัก แล้วคู่รักไม่ค่อยดี
เขาบอกว่าเราก็หวังดีกับเพื่อน
เลยเตือนเพื่อนเสียว่า เลิกเสียเถอะ ก็ไม่ยอมเลิก
ทีนี้ก็เมื่อไม่ยอมเลิกก็เลยแยกทางกัน
หมายความว่า เพื่อน 2 คนก็เลยแยกทางกัน
หวังดีแล้วเพื่อนไม่รับความหวังดี ไม่เชื่อฟัง
แล้วก็มีความรู้สึกน้อยใจ เสียใจมาก
เสียดายที่สูญเสียเพื่อนเพราะว่าไม่ทราบจะทำอย่างไร
เขาก็มาขอคำแนะนำ
ผมก็บอกว่า ถึงคราวที่ต้องสูญเสียเราก็ต้องยอมให้เสียไป
เท่านี้ครับคำพูด เขาบอกว่า ไม่เคยคิดเลย
คือ คิดไม่ออก ไม่เคยคิดถึงคำคำนี้
ก็พอสะกิดนิดเดียวบอกว่า ถึงคราวที่จะเสียก็ต้องยอมให้สูญเสียไป
คือ ไม่ต้องไปเสียดาย ไม่ต้องไปเสียใจ
ก็ถ้าเราเป็นคนดีต่อไปข้างหน้าเราก็ยังหาเพื่อนที่ดีๆได้เยอะแยะ
เพราะว่า ดีมันดูดดีนะครับ ชั่วมันก็ดูดชั่ว
แมลงวันมันก็ไปกับหมู่แมลงวัน แมลงผึ้งมันก็ไปกับหมู่แมลงผึ้งเป็นธรรมดา
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน เป็นแฟน เป็นใคร เป็นอะไร
เมื่อถึงคราวจะต้องเสีย ก็ต้องปล่อยให้เสียไป

คนที่เกิดปัญหา อยากจะให้คิดถึงเพื่อนฝูง ผู้เคารพนับถือปรึกษา
คือว่า เจอทางตันไม่รู้จะไปปรึกษากับใคร ก็ให้คิดถึงเพื่อนฝูง
อย่างตัวอย่างที่ลงหน้าหนังสือพิมพ์วันนี้นะครับ กระโดดตึกตาย
ทั้งๆที่สาเหตุก็เป็นเพียงว่า น้องสาวไม่กลับมาบ้านมานอนด้วย ก็กระโดดตึกตาย
ข่าวหนังสือพิมพ์วันนี้แค่นี้เอง ปัญหาแค่นี้เองนะ แล้วก็ฆ่าตัวตาย คิดไม่เป็น

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กระบวนการในการคิด

มันมีระบบ คือ กระบวนการอย่างไรบ้างในการคิดเป็น
มีอยู่ 2 แนวนะครับ


ประการที่ 1 คือ คิดแบบสนองตัณหา

คือ คิดด้วยความอยาก คิดไปตามความอยาก
อยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อยากสิ่งนั้น อยากสิ่งนี้
ความอยากเป็นสิ่งกระตุ้นเร้าให้คิด มีความอยากเป็นตัวจูง เป็น motive
ความอยากเป็นตัวเร้า คิดไปตามความอยาก
ความคิด แบบนี้โดยมากก็จะมีกับคนส่วนมาก
มีแก่คนทั่วไปหรือส่วนมาก มีความอยากเป็นตัวกระตุ้น
เป็น motive เป็นแรงจูงใจ
แล้วก็คิดไปตามแนวของความอยากเพื่อสนองตัณหา
สนองความอยากของตนเอง ตรงนี้ทำให้เกิดความทุกข์
เพราะว่าธรรมชาติมันไม่เป็นไปตามความอยากของคน
ธรรมชาติก็คือ ธรรมชาติ คนเราก็อยากให้เป็นไปตามที่ตนเองอยาก
มันก็เลยเกิดความทุกข์ขึ้นมา โดยธรรมดามันไม่ได้เป็นไปตามที่เราอยาก
มันมีเหตุปัจจัยของมัน


ประการที่ 2 คือ คิดตามแนวเหตุผล

เป็นแนวปัญญา เป็นการสร้างนิสัยใหม่ให้แก่จิตใจ
ซึ่งเคยชินอยู่กับความคิดแบบสนองตัณหา
จิตของเรามันเคยชินกับความคิดแบบสนองตัณหา ว่าทำแล้วได้อะไร
เรียนแล้วได้อะไร ก็มีลูกศิษย์หลายคนไปบวชเรียนธรรมะ
พ่อแม่ก็ห้ามไม่ให้ไปเรียน ว่าเรียนธรรมะแล้วได้อะไร
ถ้าไปเรียนภาษาอังกฤษก็ยังพอเอาไปใช้ได้ เรียนธรรมะไปใช้อะไร
พ่อแม่บางคนก็คิดไปตามแนวสนองตัณหาตลอดเวลา
ทำอะไรก็ต้องได้อะไรมาเป็นวัตถุ เป็นสิ่งตอบแทน จึงจะพอใจ

เด็กบางคนที่เป็นลูก แกทะลุมิติขึ้นไป คือว่า อายุยังเด็ก
แต่ว่าจิตเป็นผู้ใหญ่ อายุจิตเจริญ บางคนก็เป็นผู้ใหญ่แล้วอายุ 40,50,60 ปี
แต่อายุจิตยังเป็นเด็กอยู่ เหมือนเด็กๆ เขาว่าเด็กในร่างผู้ใหญ่
แต่บางคนก็เป็นผู้ใหญ่ในร่างเด็ก ไม่เหมือนกัน ตรงกันข้ามเลย
อันนี้ก็คิดไปตามแนวเหตุผล ก็ขัดแย้งกันบ้าง อะไรกันบ้างตามเรื่อง
แม่กับลูก อีกคนหนึ่งก็คิดแบบแนวสนองตัณหา อีกคนก็คิดแบบแนวเหตุผล

เรื่องนี้ที่มันเป็นปัญหาสังคมอยู่ เคยได้ยินอยู่ว่า พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกเรียน
บอกว่าเรียนหมอสิจะได้มีเงินมีทองเยอะแยะ
แทนที่จะบอกว่า ไปเรียนหมอจะได้เอาความรู้ไปช่วยเหลือสังคม
ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนี้แสดงว่า
ความคิดอย่างนี้เป็นความคิดแบบ สนองตัณหา

บางทีเด็กเขาก็เชื่อนะครับ แล้วเขาเห็นตัวอย่างของผู้ใหญ่
ที่เดินอยู่ข้างหน้าคุณลุงก็ดี คุณอาก็ดี
คุณอะไรหลายๆคนที่เขาเป็นหมอแล้วรวย ก็อยากจะรวย
เป็นหมอแล้วก็รวยจริงๆด้วย

มีคนคนหนึ่ง ลูกสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย
วันหนึ่งพ่อเขาก็มาคุยบอกว่า นี่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูก 1 เครื่อง
ลูกเอาไปโรงเรียนไปให้เพื่อนๆเช่าโทรศัพท์
ไปเก็บเงินจากเพื่อนๆหารายได้
แกก็ภูมิใจว่าลูกของแกหารายได้เป็นตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อย
หากว่า ระบบทหารไปสอนให้เห็นแก่ตัว
เรียกว่า ไปเอาผลประโยชน์จากเพื่อนขึ้นมาอย่างนี้
ต่อไปเขาจะเป็นนายทหารอย่างไร
นึกภาพไม่ออกว่าต่อไปเขาจะอยู่ในสังคมได้อย่างไร
คือ ความคิดอย่างนี้เป็นความคิดเพื่อสนองความอยาก ก็เป็นกันส่วนมาก

ถ้าเผื่อผู้ใหญ่เขาอบรมถูกต้องมาตั้งแต่เด็ก
ว่าถ้าเผื่อไปเป็นอะไรก็ไปเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชน
หรือว่าได้ทำประโยชน์ ไปเรียนอะไร ไปทำงานอะไรก็ไปทำเถอะ
แต่ว่าขอให้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าเพื่อเราจะได้ช่วยเหลือประชาชน
ช่วยเหลือผู้อื่น เอาการงานของเรานี่แหละเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือผู้อื่น

ความคิด 2 แนวนี้ มันก็ขัดแย้งกันอยู่ ความคิดในแนวเหตุผลนี่เป็นสิ่งที่ดี
คือว่า เป็นแนวคิดที่เป็นความคิดที่มีความจำเป็นแก่ตัวเรา
คือ ขอให้คิดในสิ่งที่ว่ามันจำเป็นแก่ตัวเรา เหมาะสมกับตัวเรา
ไม่ต้องตามโลกก็ได้ อันนี้นะครับที่ปรัชญาสมัยใหม่
เราเรียกว่า Existentialism แปลว่า อัตถิภาวนิยม หรือชีวิตนิยม
เน้นไปในเรื่องที่ว่าให้บุคคลกระทำสิ่งต่างๆให้เหมาะสมแก่ความจำเป็นของตน
ไม่จำเป็นจะต้องไปคอยดูว่าโลกเขาจะคิดอย่างไร คนอื่นจะเห็นอย่างไร
จะนิยมอะไรอย่างไรไม่สำคัญ แต่สำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งนั้นเหมาะสมกับเราอย่างไร
ก็ทำไปตามนั้นให้เหมาะสมแก่เรา
เพราะทำสำเร็จได้ก็ด้วยทำสิ่งที่เหมาะสมกับตัว

แต่ละคนบางทีก็อาจจะไปคิด เอามาตรฐานของคนอื่นมาเป็นแบบอย่าง
คือว่า ถ้าเป็นขนุนมันก็ต้องดีอย่างขนุน ถ้าเป็นมะม่วงก็ดีอย่างมะม่วง
เป็นทุเรียนก็ดีอย่างทุเรียน จะให้ขนุนมันเหมือนมะม่วง
จะพัฒนาไปอย่างไรมันก็ไปไม่ได้ มันคนละอย่างกัน
แต่ว่าเมื่อเอามารวมกันแล้วมันก็ดีนะ
ได้ประโยชน์ทั้งมะม่วง ทั้งขนุน ทั้งทุเรียน
หมายความว่า กินอย่างโน้นบ้าง กินอย่างนี้บ้าง
มันก็มีคุณสมบัติคนละอย่าง

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โยนิโสมนสิการมี 2 ประเภท

ผมขอเสนออีกนิดหนึ่ง คือ โยนิโสมนสิการมี 2 ประเภท


ประเภทที่ 1 เรียกว่าประเภทพัฒนาปัญญา

คือ โยนิโสมนสิการในเรื่องสัจธรรมและสมมุติธรรม
มีความรู้ความเข้าใจว่าอะไรเป็นสัจธรรม อะไรเป็นสมมุติธรรม
ก็ขอให้นึกดูว่า คนส่วนมากอยู่ในโลกของสมมุติ
อย่างน้อยเราก็ยังเลิกสมมุติไม่ได้ แต่เราจะต้องรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งสมมุติ
อะไรเป็นของจริง ต้องคิดให้ได้ให้เป็น
อย่างเช่นว่า ยศ ศักดิ์ เงิน ตำแหน่ง พวกนี้เป็นของสมมุติกัน
หรือว่าในตัวคนของเรา รวมกันทั้งหมดเป็นคน
เป็นสิ่งสมมุติว่าเป็นคน ของจริงก็คือธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
อากาศ วิญญาณ หรือธาตุ ก็ประมวลกันเข้าเป็นคน ก็เรียกว่า คน
หรือชื่อ ก ข ค ง เป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น ของจริง ก็คือ ขันธ์ 5 ธาตุ 6
ของจริงก็คือขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
แล้วมารวมกันเข้าก็เป็นสิ่งสมมุติ

อย่างวิทยาศาสตร์นะครับ เขาเรียกว่า อะตอม
พอเราแยกย่อยออกไป มันเป็นอะตอม
คือว่า สสารแยกไปๆ มันก็เป็นอะตอม แล้วเราก็มองเห็นเป็นรูปร่าง
แบบนี้ก็เป็นสิ่งสมมุติไม่ใชของจริง เป็นสารประกอบ
พยายามศึกษาให้รู้ โยนิโสมนสิการ ประเภทพัฒนาปัญญา
ต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นสิ่งสมมุติ แล้วเราก็ได้สบายใจ
รู้อะไรเป็นสิ่งสมมุติ อะไรเป็นของจริง อย่างเหรียญตรา
สายสะพาย อะไรอย่างนี้ มันก็เป็นของสมมุติ อันนี้ไม่ได้กระทบใครนะครับ
คือ บอกให้รู้ความจริงว่า คือ ของสมมุติ เป็นของสมมุติ ไม่ใช่ของจริง
แม้แต่พัดยศนี่ก็สมมุติเหมือนกัน ไม่ใช่ของจริง
สมมุติ คือ ต้องเล่นแบบสมมุติ แต่ต้องยอมรับมันเป็นสมมุติสัจจะ
มันเป็นจริงแต่ว่าต้องรู้ไปอีกขั้นว่าเป็นจริงอย่างสมมุติ ไม่ใช่จริงอย่างแท้จริง
ทีนี้พอรู้อย่างนั้นมันก็สบายนะครับ สบายไปเยอะ คือ จริงที่อยู่บนสมมุติ
กับจริงที่อยู่บนความจริงโดยแท้ ที่อยู่บนสมมุติเรียกว่าจริง-ไม่จริง
จริงที่อยู่บนสัจจะถือว่าจริง-จริงๆ


ประการที่ 2 ประเภทสร้างเสริมคุณภาพจิต


ปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรม หรือโยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม
ซึ่งมีความสำคัญมาก ปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรม
ให้เรามีความคิดที่ดี ทำให้เราได้แนวคิดที่ดี

มีพระรูปหนึ่งสมัยพุทธกาล บวชแล้วท่านบอกว่า
สิกขาบทบัญญัติในพระพุทธศาสนามีมาก มีวินัยมากเหลือเกิน
ศึกษาไม่ไหว จะสึกแล้ว พระพุทธเจ้าก็บอก ว่าไม่ต้องรักษามากหรอก
รักษาอย่างเดียวได้ไหม ถ้ารักษาอย่างเดียวได้ก็ให้รักษา
ให้รักษาอย่างเดียวนะ ให้รักษาจิต หรือความคิด
อย่าคิดไปในทางอกุศลก็พอแล้ว ให้คิดแต่ในทางกุศล ทำได้ไหม
ท่านก็กราบทูลว่า ทำได้ ลองดูสัก 7 วัน
พระท่านก็ทำได้ เพราะคิดไปในทางกุศล
คิดดี กายวาจาก็ดี เพราะว่ากายวาจา มันก็ขึ้นอยู่กับความคิด
รักษาอย่างเดียวคือ รักษาความคิดให้ขึ้นอยู่ในทางที่ดี
ก็ไม่ต้องไปรักษาอย่างอื่น พระวินัย 227 ข้อ ก็ไม่ต้องไปรักษา
คือ รักษาข้อเดียวคือรักษาจิต

เพราะฉะนั้น คนที่ไปล่วงศีลล่วงวินัย คือ ไปจากความคิดที่ไม่ดีก่อน
พอรักษาความคิดได้ก็รักษาได้หมด ศีลทุกข้อก็ทำได้ รักษาได้
แล้วก็ถ้าคิดไปในทางกุศลอยู่เรื่อยๆ ธรรมะก็รักษาได้หมดเหมือนกัน
ความคิดอย่างนี้เรียกว่า ความคิดที่ปลุกเร้าคุณธรรม
ถือว่าเป็นระบบจริยธรรม ทำให้เรามีระดับจริยธรรมที่ดีขึ้น
หรือว่าคิดไปในทางที่ดีเสมอ ก็จะได้ประโยชน์มาก

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความคิดอันตราย 3 ประเภท

ประการที่ 1 ไม่มองดูไม่พูดถึงความผิดของตนเอง
คอยมองดูคอยพูดถึงแต่ความผิดพลาดของผู้อื่น


อันนี้ความคิดอันตรายประการที่ 1 ในครอบครัวที่มีปัญหา
พ่อแม่ลูก ก็มักจะเป็นอย่างนี้นะครับ ที่ทำงานหรือที่อะไรก็เหมือนกัน
ถ้าเผื่อว่ามีแต่คนที่ไม่มองดูความผิดของตนเองบ้าง
คอยมองดูแต่ความผิดพลาดของคนอื่นก็จะมีปัญหา มีอันตราย
ในครอบครัวท่านบอกว่า ก่อนแต่งงานควรลืมตาทั้งสองข้าง
แต่ว่าแต่งงานแล้วก็ปิดเสียข้างหนึ่ง
เพื่อไม่ต้องมองดูข้อผิดพลาดบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป
ไม่บอดทำเป็นเหมือนบอด ไม่หนวกทำเป็นเหมือนหนวก
ก็เชื่อว่าคนเขาจับลิงมาได้ตัวหนึ่ง
แล้วก็มาอยู่กับคนเสียนานหลายเดือน
พอกลับไปป่าไอ้พวกลิงด้วยกันก็มาล้อมถาม
ว่ามนุษย์เขาพูดอะไรกันบ้าง ลิงตัวที่มาอยู่กับมนุษย์ก็เล่าให้ฟัง
ไอ้ลิงพวกนั้นก็อุดหู บอกโอ๊ย! ฟังไม่ได้เลย
เขาพูดกันอย่างนั้นเชียวหรือ ก็เป็นนิทานขำขัน

ผมขยายความตรงนี้ว่า เพื่อจะไม่มองดูข้อผิดพลาดของอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป
นอกจากนี้แล้วเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขความสุภาพอ่อนโยนและเห็นใจ
พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก ลูกไม่เข้าใจพ่อแม่
คือว่า ถ้าทุกคนถือเอาตนเป็นจุดศูนย์กลางของความถูกต้อง
ก็จะต้องรุกรานเสรีภาพของคนอื่นๆ
และผู้อื่นก็จะรุกรานเสรีภาพของผู้อื่นต่อๆไป
ต่างคนต่างก็เป็นนรกของกันและกัน
อย่างที่ ฌอง พอล ซาร์ต นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า
“นรกคือผู้อื่น” นี่ในบทละครเรื่อง No exit ของ ฌอง พอล ซาร์ต


ประการที่ 2 ทำผิดจนเป็นนิสัย


เข้าใจผิดคิดว่า ตัวเขาเป็นคนเลว เพราะว่าโชคไม่ดี
ถ้าเป็นคนเลวเป็นคนตกต่ำก็เพราะโชคไม่ดี
เพราะชะตาชีวิตกำหนดมาให้ โชคชะตาเป็นอย่างนั้น
จึงโกรธ แล้วก็ไม่ยอมยกตนเองขึ้นจากหล่มของหายนะ

อันนี้ก็คือ ไม่ยกตนเองขึ้นมาจากความบกพร่องผิดพลาด
นี่ก็ทำผิดจนเป็นนิสัย เพราะทำผิดแล้วก็มัวคิดว่า ที่ผิดเพราะโชคไม่ดี
แล้วก็ไปโทษชะตาชีวิต มาถึงตรงนี้ผมขอตั้งปัญหาเอาไว้
ให้ท่านผู้ฟังลองโทรฯเข้ามาวิจารณ์ดูนะครับ
ว่าสิ่งที่เราเรียกว่า ชะตาชีวิตของคนเรามีหรือไม่มี
ถ้ามีอะไรเป็นตัวกำหนดแล้วก็แก้ไขได้หรือไม่
ก็ขอตั้งเอาไว้เป็นปริศนานะครับ


ประการที่ 3 ทำร้ายตนเอง อ่อนแอ วิ่งหนีปัญหา ไม่เคยคิดแก้ปัญหา


คนที่มีความรู้แล้วก็อาจมีความสามารถ
แต่ไม่ใช้ความรู้ความสามารถให้สมกับที่มี ก็จะไม่ได้รับการยกย่อง
แล้วก็อาจอยู่ไม่ได้ในโลก ในโลกที่สับสนของเรา อาจอยู่ไม่ได้

ผมขอเล่าเรื่องประกอบนะครับ มีหญิงคนหนึ่งมีลูกปากแหว่ง
มีลูกออกมาปากแหว่งเป็นทุกข์จนคลั่งแล้วก็ฆ่าลูกตาย
แล้วก็ฆ่าตัวตายตามไปด้วย ทั้งๆที่หมอก็ยืนยันว่าปากแหว่งอย่างนี้
ความรู้ความสามารถทางศัลยแพทย์สมัยใหม่ พอจะทำให้หายได้เป็นปกติได้
แต่ก็ไม่ฟังเสียงใคร ผู้หญิงคนนี้เป็นทุกข์อย่างหนัก เสียใจ อับอาย
ในที่สุดก็ทำร้ายตัวเองหนีปัญหา ความจริงปัญหาอย่างนี้แก้ไม่ยาก
แค่ว่าอดทนเสียหน่อย ใจเย็นเสียหน่อย
ยังมีปัญหาอย่างอื่นอีกมากมายที่สามารถจะแก้ได้ด้วยความอดทน
มีปัญหาแล้วคิดสู้ปัญหา เพราะว่าตามความเป็นจริงแล้ว
อุปสรรคจะมีมากแค่ไหนก็ยังน้อยกว่าที่เราเก็บมา คิดกังวลใจ

ผมขอซ้ำตรงนี้อีกทีนะครับ
“อุปสรรคจะมีมากแค่ไหนก็ยังน้อยกว่าที่เราเก็บมาคิดเป็นกังวลใจ”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนสองคนทำความชั่วเหมือนกัน ได้รับผลไม่เท่ากัน”
คนหนึ่งได้รับมากอีกคนหนึ่งได้รับน้อย เพราะคน 2 คนต่างกัน
ถือว่า คนที่ได้รับผลมากเพราะว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้อบรมกาย
ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา
มีคุณธรรมน้อย มีจิตใจคับแคบ
มีปกติอยู่เป็นทุกข์แม้ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย
เรียกว่า อปฺปทุกฺขวิหารี มีปกติอยู่เป็นทุกข์แม้ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย
อะไรนิด อะไรหน่อยก็เก็บมาเป็นทุกข์ ทุกข์ร้อนใจ
เผาตัวเอง ทำร้ายตัวเอง
ส่วนคนที่ทำชั่วเหมือนกันแต่ได้รับผลชั่วน้อยก็เพราะว่า
เป็นคนที่ได้รับการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา
เป็นคนมีคุณธรรมมาก มีจิตใจกว้างขวาง มีใจใหญ่
มีปกติอยู่ด้วยธรรม มีเมตตาหาประมาณมิได้
เรียกว่า อปฺปมาณวิหารี อยู่แบบโดยคุณธรรม ที่หาประมาณมิได้
อยู่ด้วยธรรม มีเมตตา เป็นต้น หาประมาณมิได้
คนอย่างนี้ถ้าทำดีเท่ากับคนแบบข้างต้นก็จะได้ดีมากกว่า
เพราะว่ามีเครื่องรองรับดีมากกว่า

ความลับอย่างหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ดี
คือ ความฉลาดและความกล้าหาญที่จะเอาชนะความทุกข์
ความผิดพลาด มีบางครั้งที่เราต้องทิ้งปัญหาไว้ก่อน
แล้วก็หันไปทำสาธารณประโยชน์ ปล่อยให้ปัญหาที่เหลืออยู่คลี่คลายไปเอง
แล้วก็หัวเราะเยาะตัวเองเสียบ้าง สมน้ำหน้าตัวเองเสียบ้าง
พร้อมกับเสียงหัวเราะเบาๆของเราเอง
บางคราวจำเป็นต้องนึกว่าเราเป็นเพียงตัวตลกตัวหนึ่งของโลก

ความทุกข์หรือปัญหาบางอย่าง มันคล้ายๆหัวสิวครับ
ถ้าเผื่อเราไปเล่นมันมากเราไปบีบมัน คลึงมัน มันยิ่งช้ำใหญ่
แล้วก็ยิ่งเป็นแผล เป็นแผลเป็น
ถ้าเราปล่อยทำไม่รู้ไม่ชี้ ให้มันแตกเอง แล้วมันหายเอง
แล้วหน้าก็ไม่เป็นแผลด้วย คล้ายๆปัญหาบางอย่าง
ความทุกข์บางอย่างมันเหมือนหัวสิวนะครับ
ก็ให้ปฏิบัติกับความทุกข์บางอย่าง ปัญหาบางอย่างเหมือนหัวสิว
คือ ปล่อยมันไว้อย่างนั้น ให้มันแตกไปเอง คลี่คลายไปเอง
หน้าก็ไม่เป็นแผลเป็น ก็ไม่เป็นไร

ที่สำคัญประการหนึ่งนะครับ คนจะสนใจอย่างมากคือว่า
เป็นความลับของการดำเนินชีวิตที่ดี
ก็คือ มีความฉลาดแล้วก็มีความกล้าหาญ
ที่จะเอาชนะความทุกข์ ความผิดพลาด อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากเลย
ว่าเป็น the art of living เลย เป็นศิลปะในการดำเนินชีวิต
คือ มีความฉลาดและมีความกล้าหาญที่จะเอาชนะความทุกข์และความผิดพลาด

รางวัลที่ประเสริฐรางวัลหนึ่งในชีวิตของคนเรา
ถ้าทำได้ ก็คือว่า ฝึกนิสัยให้เป็นคนหัดคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง
อันนี้คือโยนิโสมนสิการ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
มันเป็นรางวัลที่ประเสริฐอย่างหนึ่งในชีวิต
ถ้าเราฝึกนิสัยให้เป็นคนหัดคิดอะไรเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง
ขุดลงไป หรือสาวลงไปจนถึงต้นตอของมันทุกๆเรื่องที่เราสนใจ
อันนี้จะเป็นรางวัลที่ดีของชีวิต ไม่ผิวเผินแต่เป็นคนรู้จริง เข้าใจจริง
ทำนองนี้นะครับ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

กฎแห่งกรรมมียืดหยุ่นไหม ก็มีเหมือนกัน บางครั้งก็มีเหมือนกัน
กฎแห่งกรรมไม่ใช่กฎที่ตายตัวว่า คนทำชั่วเหมือนกัน
ทำความชั่วอย่างเดียวกัน แต่ว่าได้รับผลไม่เหมือนกัน
อยู่ที่เงื่อนไขอีกเหมือนกัน คนทำความดีเหมือนกัน
ความดีอย่างเดียวกันจะได้รับผลไม่เท่ากัน
อยู่ที่เงื่อนไขต่างๆมากมายที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในการทำความดีหรือทำความชั่ว

อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าบุคคล 2 คน
คนหนึ่งทำความชั่วอย่างนี้แล้วตกนรก
อีกคนหนึ่งทำแล้วไม่ตกนรก อยู่ที่เงื่อนไข
มันมีเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะในชีวิตคน
ทีนี้ผู้ฟังก็ไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยอุปมาให้ฟังว่า เหมือนกับเรือ 2 ลำ
ลอยลำอยู่ เคียงกันอยู่ เทียบกันลำหนึ่ง ก็เอาก้อนหิน 10 กิโล
ใส่ลงไปในเรือลำหนึ่งจม พอก้อนหินเพิ่มลงไป 10 กิโล จมทันทีเลย
อีกลำหนึ่ง ยังลอยลำได้สบาย เพิ่มอีกเป็น 20 กิโล ก็ยังไม่จม
เพิ่มเป็น 30 กิโลก็ยังไม่จม ถามว่าเพราะอะไร

ลำแรกมันปริ่มแล้ว พร้อมที่จะจม พอเพิ่มน้ำหนักเข้าไปอีกหน่อยเดียวก็จมทันที
แต่อีกลำมันลอยลำสบายๆ ไม่ได้บรรทุกน้ำหนักอะไรเลย
อันนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า คนทำความชั่วเหมือนกัน
คนหนึ่งไปนรก คนหนึ่งไม่ไป
คนที่ไปเพราะว่าไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้อบรมปัญญา
เรื่องนี้พูดแล้ว อีกคนหนึ่งเป็นคนอบรมกาย อบรมจิต อบรมปัญญา
มีชีวิตอยู่ดีตลอดก็โดยบังเอิญไปทำความชั่ว
บางอย่างก็ไม่เป็นไร นี่คือ เงื่อนไขในเรื่องกฎแห่งกรรม

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โยนิโสมนสิการ 4 อย่าง

ประการที่ 1 เรียกว่า อุปายมนสิการ
พิจารณา โดยอุบาย อย่างมีระบบ เพื่อให้รู้ความจริงให้เข้าถึงสัจจะ

เช่น เข้าถึงความจริงที่ว่า สิ่งทั้งปวงอยู่ภายใต้อำนาจอันเฉียบขาด
ของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มีวิธีคิดให้เป็นสุขแม้ในเหตุการณ์ที่เป็นทุกข์
หรือในเหตุการณ์ที่น่าจะทุกข์
มีปัญญามองหาแง่ดีของสิ่งร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว
คนอย่างนี้ต้องเป็นคนที่มีปัญญา
เหมือนสุภาษิตที่ว่า ปญฺญาสหิโต นโร อิธ อปิทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ
ผู้มีปัญญาในโลกนี้จะหาความสุขได้
แม้ในเหตุการณ์ที่น่าเป็นทุกข์ หรือในทุกข์นั้นเอง
หาความสุขได้ในทุกข์ หาความเย็นได้ในที่ร้อน
หาโอเอซิสได้ใน ทะเลทราย หาแหล่งน้ำได้ในทะเลทราย
เหมือนบางคนที่ทำงานหนัก แต่ว่าต่อสู้กับงาน
ถึงแม้จะเหนื่อยยากลำบากอย่างไร มันก็มีความสุขนะครับ
อันนี้เป็นอุปายมนสิการ พิจารณาโดยอุบายที่เป็นระบบ

บางคนมันตรงกันข้าม คือว่า
ถ้าเป็นคนโง่ก็จะหาความทุกข์ได้แม้ในเหตุการณ์ที่น่าจะสุข
แต่ถ้าคนฉลาดเขาจะหาความสุขได้แม้ในเหตุการณ์ที่น่าเป็นทุกข์
คือ มองหาความสุขได้
อย่างว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บมันก็หาความสุขได้จากการที่เป็นทุกข์นั่นเอง
หาประโยชน์หาอะไรจากความเป็นโรค ทำให้เราฉลาดขึ้น
อย่างที่อาจารย์พุทธทาสบอกว่า “เป็นโรคทุกที ทำให้ฉลาดขึ้นทุกที”
ก็ดีเหมือนกัน นี่คืออุปายมนสิการ


ประการที่ 2 เรียกว่า ปถมนสิการ แปลว่า คิดถูกทาง
คิดต่อเนื่องเป็นลำดับตามแนวเหตุผล
แม้ในทางที่ดีด้วยกันแล้วก็ยังพิจารณาหาทางว่า
ควรจะดำเนินทางไหนจึงจะดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด นี่ก็คือการเลือกวิถีชีวิต
ซึ่งก็อยู่ในวิสัยที่เราจะเลือกได้และเหมาะสมแก่ตัวเรา


อันนี้ก็มาตรงกับแนวของปรัชญา Existentialist ปรัชญาอัตถิภาวนิยม
หรือปรัชญาที่ว่าด้วยอุดมคติว่าด้วยเสรีภาพ ว่าด้วยการเลือก
พวกนี้นะครับ Existentialism พวกนัก Existential
เขาจะไม่ค่อยพอใจกับที่เห็นๆอยู่ ที่เป็นๆอยู่คือ คิดว่ามันน่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้
ไม่ใช่ให้ขัดสันโดษ คือว่า ไม่พอใจ ไม่สันโดษในกุศลธรรม
ในทางที่เห็นว่าดีอยู่แล้ว อะไรที่มันจะดีที่สุด
คนที่ทำถูกเหมือนกันอาจจะได้รับรางวัลไม่เหมือนกัน
อาจเป็นว่าเงื่อนไข ไม่เหมือนกัน พื้นฐานไม่เหมือนกัน
สิ่งแวดล้อมต่างกันไม่เหมือนกัน
อย่างบางคนมีเงินอยู่ 100 บาท ไปจ่าย 100 บาท
ก็หมดแล้วนะครับ หมดเกลี้ยงเลย
บางคนเมื่อจ่าย 1,000 บาท ยังเหลืออีกตั้งปึกใหญ่
ทุนเขาเยอะนะ เขาไม่เป็นไร


ประการที่ 3 การณมนสิการ แปลว่า คิดตามเหตุ เป็นไปตามอำนาจของเหตุ
ไม่ดื้อรั้นดันทุรังในสิ่งที่ไม่สมควร ยอมรับผิดเมื่อเห็นว่าได้ทำผิดไป
ไม่อ้างเหตุผลเข้าข้างตนเองเพื่อให้ตนถูก
หรือไถลไปข้างทางขุ่นๆ คือ ยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ ไม่แข็งทื่อตายตัว
จนไม่คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็น
ประกอบด้วยคุณสมบัติ การณวสิกตา คือ Conditionally
หรือ If-then-law คือมีเงื่อนไขตลอด ทุกอย่างมันมีเงื่อนไข
สมควรจะเป็นผู้ที่เรียกกันในภาษาบาลีว่า การณวสิโก
เป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจแห่งเหตุ ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง
ดำเนินชีวิตถูกต้องตามเหตุการณ์ที่สมควร แต่ไม่ใช่อ่อนแอหรือขาดหลักการ


การณมนสิการ ก็คิดไปตามเหตุ ไปตามเงื่อนไข มันมีเงื่อนไข
ถ้าเป็นอย่างนี้ต้องทำอย่างนี้ ถ้ามีเงื่อนไขอย่างนี้ต้องทำอย่างนี้
คือไม่ถืออะไรตายตัวทื่อไป อย่างเช่น
พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
แล้วท่านก็ถอนสิกขาบท บัญญัติแล้วก็ถอน ถอนแล้วก็บัญญัติ
แล้วก็มีบางคนติเตียนว่า ทำไมนะพระพุทธเจ้าเอาแน่นอนอะไรไม่ได้
เดี๋ยวก็ถอน เดี๋ยวก็บัญญัติ เพราะเหตุที่ว่าพระพุทธเจ้าท่าน การณวสิโก
ท่านขึ้นอยู่กับอำนาจแห่งเหตุ ว่าเหตุมันเป็นอย่างนี้ ก็ควรต้องทำอย่างนี้
เช่นว่า ทรงบัญญัติเรื่องรองเท้าให้ใช้รองเท้าชั้นเดียว
ต่อมาพระที่ไปอยู่ในที่กันดาร ท่านก็กลับมากราบทูลบอกว่า
รองเท้าชั้นเดียวไม่พอเพราะว่าพื้นที่มันขรุขระ
ก็ทรงอนุญาตให้เป็น 2 ชั้น 2 ชั้นแล้วยังไม่พอก็อนุญาต 3 ชั้น จนกว่าจะพอ
หนาขึ้นตามความจำเป็นตามเหตุการณ์ ท่านจะยืดหยุ่น ยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา
เพราะในศาสนาพุทธ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่ากฎเกณฑ์ตายตัว จะไม่มี
แต่ท่านจะยืดหยุ่นไปตามเหตุการณ์ ตามเงื่อนไขอยู่เสมอ
มี Conditionally ตลอดเวลา

ทีนี้มีคนถามว่า เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้นกฎแห่งกรรม ให้สันโดษ ในปัจจัย 4
ไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม อันนี้ก็สำคัญมากเหมือนกัน
ปถมนสิการ คิดถูกทางแล้วก็เลือกทางว่าทางไหนคิดดีที่สุด
การคิดนี่ บางทีมันคิดไม่ออก คือ คิดแล้วก็
เอ๊ะ! ชีวิตของเรานี่ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวอยู่บ้านมีปัญหา ที่ทำงานก็มีปัญหา
ไม่รู้จะเอายังไงก็เหล้านี่ดีที่สุด หาทางออกทางนี้มันไม่มีปัญญา
ปัญญาเป็นเครื่องกรอง บางคนว่าไปวัดพระก็ด่า กลับบ้านเมียก็เทศน์
อันนี้ทางด้านจริยศาสตร์ จะสอนเรื่องนี้มาก
สอนเรื่องว่า ให้พิจารณาหาว่าอะไรมันดีกว่า
และอะไรมันดีที่สุด supreme good
ความดีที่สูงสุดมันควรจะเป็นอะไร
แต่ถ้าอันหนึ่งดี อันหนึ่งไม่ดี ไม่เป็นปัญหา
เพราะว่าเราเลือกได้ง่าย แต่ว่าดีด้วยกันมันเลือกยาก
ในคนที่มีปัญญา มีโยนิโสมนสิการ จึงจะเลือกได้


ประการที่ 4 อุปปาทกมนสิการ คือคิดในเชิงเร้ากุศลธรรม
ให้เกิดความเพียรชอบ ให้หายกลัวในสิ่งที่เคยกลัวหรือในสิ่งอันไม่ควรกลัว
เพื่อให้เกิดผลที่พึงประสงค์
พระพุทธเจ้าได้ทรงประทานแนวคิดนี้แก่พระสาวกอยู่เสมอ
ผู้ที่ท้อถอยในความเพียร ผู้ที่ย่อหย่อนในกุศลธรรม
ให้กลับดำเนินไปในทางที่ดี ทางกุศลธรรม

บางทีก็ทรงเล่าเรื่องในอดีตของพระสาวกบ้าง ของพระองค์เองบ้าง
เรียกว่าชาดก บางทีก็มีพระบางรูปถอยความเพียร เวียนมาเกียจคร้าน
ท่านก็บอกว่า สมัยก่อนนี้เคยไปทะเลทรายด้วยกันจำได้มั้ย
เธอเป็นคนขุด ทำให้พรรคพวกรอดมาได้ด้วยความเพียรของเธอนี่
ทำไมตอนนี้จึงจะเกียจคร้าน ทำนองนี้ เรียกว่า อุปปาทกมนสิการ

อันนี้ก็สำคัญในการที่จะให้กำลังใจคน
ทำให้คนที่ได้ยินได้ฟังได้อะไรเขาจะรู้สึกมีกำลังใจในการที่จะทำความดี
บางทีก็หาเหตุหาผลมายุให้คนทำความดีก็ยุยากเหมือนกัน
อยู่ที่อธิมุตติของเขาด้วยเหมือนกันครับ คือ อธิมุตติของเขาเข้ากับเราได้
แต่ถ้าเผื่ออธิมุตติคือ อัธยาศัยของเขาเข้ากับเราไม่ได้ บางทีเรายุเข้าก็ไม่ขึ้น

อาจารย์ทองขาวเล่าว่า “ผมเคยมีอยู่เรื่องหนึ่ง เสมียนพิมพ์ดีดที่เคยอยู่ด้วยกัน
เขาเป็นคนขยัน เขาก็หวังว่าปีนี้เขาคงจะได้ 2 ขั้นแน่ๆ
ถ้าประเมินตามคุณภาพที่ทำงาน เขาประเมินตัวของเขาเองจากคนอื่นที่ดูๆนะครับ
จะยังไงเขาต้องได้แน่ ปีนี้ 2 ขั้น พอเอาเข้าจริงๆปรากฏว่าไม่ได้ ก็เสียใจ
บอกว่าอาจารย์ผมไม่ทำแล้ว คนอื่นเขาไม่ทำเขาได้ 2 ขั้น
ผมทำอาจารย์ก็เห็น ผมไม่ได้ 2 ขั้น หมดกำลังใจ ผมไม่ทำแล้ว
ผมก็บอกว่า นี่ขยันขนาดนี้ยังไม่ได้ 2 ขั้น
ต่อไปถ้าคุณเลิกขยันคุณก็ไม่ได้หรอก ก็จะติดลบไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้น ปีนี้คุณขยันขนาดนี้คุณไม่ได้
ปีหน้าคุณจะต้องขยันให้ยิ่งกว่านี้อีก”

คือถ้าสมมุติว่าไม่ขยันให้มากกว่านี้ ก็ไม่ควรจะเสียใจ
เพราะว่าโทษของการได้ 2 ขั้นก็มีเยอะ ไม่ใช่ไม่มี
แล้วก็คุณของการไม่ได้ 2 ขั้นก็มีอยู่
ขอให้พิจารณาเห็นด้วยโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการจะช่วยคนให้มองเห็นอะไรที่คนอื่นมองไม่เห็น
เช่นไม่ได้ 2 ขั้น มองให้เห็นคุณของการไม่ได้ 2 ขั้น ก็เห็นได้
อย่างที่อาจารย์ทองขาวเล่าเมื่อครู่นี้ก็เห็นว่า
คนที่ทำความดีบางทีก็ท้อถอยบ่อย ก็บอกว่า ทำความดีขนาดนี้ยังได้ดีแค่นี้
แล้วถ้าเผื่อ เลิกทำมันจะได้อะไร บางคนก็มองในแง่ดีว่า ติดคุกก็ดีเหมือนกัน
บังเอิญว่ามีคนไปติดคุก เสร็จแล้วพรรคพวกตามหาตัวไปเที่ยวปล้น
หาไม่เจอ เลยไปปล้นกันตามลำพัง พวกนั้นก็ถูกฆ่าตายหมด
คนนี้ติดคุกอยู่ไม่ได้ไปปล้น ก็มานึกว่า เอ้อ! ติดคุกนี่ก็ดีเหมือนกัน
คือที่จริงทุกอย่างมันก็มีแง่ดีให้มองเหมือนกัน
ขอให้เรามีปัญญาที่จะมอง จะเห็นแง่ดีของสิ่งที่คนอื่นเขาเห็นว่าร้าย

แต่บางคนนี่ จะไม่มองรอบด้านจะมองอยู่จุดเดียว
จุดที่ตนเองไม่สมหวัง ไปดูจุดนั้นนะ แทนที่จะมองดูจุดอื่น
บางคนอาจจะจนแต่ว่ารูปสวย ก็อาจจะไปติว่า เอ๊ะ! ทำไมจน แต่ว่าที่รูปสวย
ร่างกายสมประกอบ ซึ่งอาจจะดีกว่าคนอื่นเยอะแยะ มันไม่มีที่สิ้นสุด
พูดถึงคนลำบากไม่มีที่สิ้นสุด เราว่าลำบากแค่นี้ คนลำบากกว่าเราก็มี
แค่เรามีร่างกายครบสมบูรณ์ เรายังบอกว่าไม่ไหวแล้ว
แต่บางคนที่เขาไม่มีขาไม่มีแขนเลย เขายังใช้ปากวาดรูป
ใช้เท้าวาดรูป เขาก็ยังอยู่ได้ อวัยวะครบถ้วนนี่ครับเป็นมหาสมบัติแล้ว
มันเป็นมหาสมบัติ ตาข้างหนึ่งก็ขายได้ล้านหนึ่ง ไม่ขาย แขน
ข้างหนึ่งขายไหมล้านหนึ่ง ก็บอกว่าไม่ขาย
ลองบวกดูว่าตา 2 ข้าง แขน 2 ข้าง ขา 2 ข้าง 6 ล้านแล้ว ไม่ขาย
มันมีสมบัติที่มีคุณค่าอยู่ประจำตัว คิดดูให้ดีว่าเราก็มีอยู่
สมบัติภายนอกนี่มันก็ตัวเลขในบัญชี

ถ้าคิดอย่างนี้แล้วก็สบายใจนะครับ ความทุกข์อะไรต่างๆก็จะหมดไป
บางทีเราก็จะไปคิดเปรียบเทียบกับคนอื่น พอคิดเปรียบเทียบกับคนอื่นปุ๊บ
ก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมา เอ๊ะ! ทำไมคนนู้นถึงมีเงิน 100 ล้าน 1,000 ล้าน
ถามว่ามีเงิน 100 ล้าน 1,000 ล้าน มีความสุขไหม
กับเรามีแค่นี้แล้วเรามีความสุขไหม ถ้ามีความสุข เราก็บอกว่าเอ้อ ใช้ได้
การมีมากไม่ใช่เครื่องตัดสินว่า จะมีความสุขเสมอไป
อาจจะเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 ข้อ

1. คิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย

เช่น แนวคิดแบบปฏิจจสมุปบาท เรียกว่าคิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย
เช่นว่า สุข-ทุกข์ มันเกิดขึ้นมา เราก็สาวหาเหตุว่ามันเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไร
พอสาวไปตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็จะไปเจอความเกิด (ชาติ ความเกิด)
ก็สาวต่อไปว่าความเกิด เกิดจากอะไร ก็มาจากคน
ภพมาจากอะไร ก็มาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากอะไร มาจากตัณหา
ตัณหามาจากอะไร มาจากเวทนา สาวเรื่อยขึ้นไป จนถึงอวิชชา
เรียกว่าความคิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย
ถ้านอกจากสมุปบาทมันก็มีเยอะแยะ
ความเกิดของเรานี้มาจากอะไร กรรมมีเพราะมีอะไร
สาวไปก็จะเจอกิเลส กรรมมีเพราะมีกิเลส
เพราะว่าตามหลักเขามีว่า กิเลส กรรม วิบากกรรม
ถ้ามีโยนิโสมนสิการ เมื่อมีโยนิโสมนสิการ
อกุศลที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น อกุศลที่เกิดแล้วก็เสื่อมไป

ในความคิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย จริงๆแล้วมันก็เป็นประโยชน์
แต่ทุกวันนี้บางทีเราไม่ค่อยไปแก้ปัญหา ไม่สาวไปหาเหตุ
แต่ว่าเราจะแก้ปัญหาแบบแก้เฉพาะหน้า
สมมุติว่าตอนนี้ ประเทศชาติของเราเศรษฐกิจมันล่มจม
พรรคการเมืองก็หาเสียงกันบอกว่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้
เรียกว่า เอาเงินทุ่มเข้าไปจุดโน้นจุดนี้
ไม่ได้คิดไปแก้ว่าสาเหตุที่มันเกิดความยากจน มันเกิดจากอะไร
ไม่ได้คิดสาวไปถึงตรงโน้น ไม่ค่อยมีโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ มันต้องสาวไปหาต้นตอ โยนิ แปลว่า ต้นตอ
อย่างกับปัญหาข้าวยากหมากแพงทุกวัน
เมื่อเราไปย้อนสาวเข้าจริงๆไปเจอตัวปัญหาของคนเรา
ความโลภของคนเป็นใหญ่ ข้าวยากหมากแพง
ถ้าเผื่อเราสาวเข้าไปจริงๆ ความโลภ ความไม่รู้จักพอ ความฟุ่มเฟือย
มันมากมายเหลือเกินที่ทำให้เกิดข้าวยากหมากแพงขึ้นมา
ต้องพยายามตัดสิ่งนี้เอง ลดสิ่งนี้ลง แพงก็แพงไปสิ ฉันไม่เอา

อย่างประเทศอินเดีย รถเบนซ์ รถยุโรปนี่แทบจะไม่เห็น
เป็นรถที่ Made in India ทั้งหมด รถเล็ก รถน้อย รถใหญ่
รถบรรทุกอะไรนี่ของอินเดียหมด
เพราะฉะนั้น ที่อื่นเขาจะขายแพงยังไงก็แพงไป
เราไม่ได้ซื้อ เขาซื้อของเขาเอง แล้วรัฐมนตรีก็ใช้รถ Ambassador
ติดแอร์ ก็รถเก่าๆตั้งแต่ Taxi ไปจนถึง อินทิรา คานธี ใช้ Ambassador
คนจนหรือคนรวยก็ใช้รถยี่ห้อเดียวกัน
เห็นบอกว่าถ้าจะซื้อรถต่างประเทศต้องรอเป็นสิบๆปี ถึงจะซื้อได้
เพราะฉะนั้น ประเทศอื่นเขาจะเป็นยังไง เขาพออยู่ได้
ถ้าปิดประเทศกัน อินเดียเขาพออยู่ได้ เขาทำอะไรเองได้เยอะ
พวกยารักษาโรคทำในอินเดียทั้งนั้น
พวก Computer ของอินเดียเขาถือเป็นของส่งออกนอก
ทีวีเขาถือว่าถ้าเขาผลิตเองไม่ได้เราจะไม่มี
ตอนที่เรามีแล้วอินเดียเขายังไม่ยอมให้มี เพราะทำเองไม่ได้
นี่คือ ระบบ โยนิโสมนสิการของเขา อันนี้ดีครับ
ส่วนที่ดีของเราก็มี ผมโยงมาตรงนี้หน่อยนะครับ

กรรมมีเพราะอะไร ก็เพราะว่ามีกิเลส
ถ้าไม่มีกิเลสกรรม ก็ไม่มี นี่คือสาวไปนะครับ
อย่างสวดมนต์รัตนสูตร ที่พระท่านสวดทำน้ำมนต์
ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ แปลว่า กรรมเก่าก็สิ้นไปแล้ว กรรมใหม่ก็ไม่มี
คือนี่เป็นเรื่องราวของพระอรหันต์
วิรตฺตจิตฺตายติเก ภวสฺมิ แปลว่า เมื่อกิเลสไม่มี กรรมก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลส เมื่อไม่มีกิเลส กรรมก็ไม่มี
กรรมเก่าท่านก็สิ้นไป กรรมใหม่ไม่เกิด
เพราะว่าไม่มีกิเลส นี่ก็แนวสาวหาเหตุปัจจัย

อย่างเราอ่านบาลีก็จะพบคำบ่อยที่เจอ โก เหตุ โก ปจฺจโย
พอมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นผลเกิดขึ้นแล้ว ก็จะถามกันว่า
โก เหตุ โก ปจฺจโย อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
ตามความเข้าใจของผมนะครับ เหตุนี่คือเหตุแท้ มันเป็น real cause
แล้วก็ ปจฺจโย นั้นเป็นเหตุสัมพันธ์ เป็นส่วนประกอบ relative cause
เป็นเหตุสัมพันธ์เข้ามาทำให้เกิดสิ่งนั้นเร็วขึ้นนะครับ
เช่นว่าเราไปเห็นคนถูกรถชนตาย ถามว่า โก เหตุ โก ปจฺจโย อะไรเป็นเหตุแท้
อะไรเป็นปัจจัยคือว่าเป็นตัวประกอบ ทีนี้ส่วนมากเหตุแท้เราไม่ค่อยรู้
มันสาวยาก มันลึกลับ รู้ตัวปัจจะโย คือว่า รู้ปัจจัยครับ
รู้ว่าเขาวิ่งตัดหน้ารถ แต่ปัจจัยนี่มันมีเยอะ
เช่นว่า รถเบรกเสีย รถคันอื่นมาพอดี คือ อะไรๆมันประจวบตรงนั้นพอดี
ปัจจัยต่างๆมันจะล้อมเข้ามาพอดี แต่ว่าตัวเหตุแท้
ถ้าจะให้ตอบตามแนวพุทธ คือความเกิด ชาติ

อาจารย์ทองขาวเล่าว่า “กระผมเคยอ่านหนังสือของอดีตผู้พิพากษาท่านหนึ่ง
เขาพิมพ์แจกงานศพคุณแม่ท่านนะครับ ชื่อ หนังสือว่า “ถ้าท่านเป็นศาล”
ท่านก็เล่าเรื่องที่อเมริกา การก่อสร้างตึก สิบกว่าชั้น
คนที่ขึ้นไปทาสีข้างบน เดินพลัดตกลงมา แล้วมาถูกคนข้างล่าง คนข้างล่างตาย
คนหล่นลงมาไม่ตาย ญาติพี่น้องเขาก็ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ผู้พิพากษาก็ไม่รู้จะพิพากษายังไง ไปดูกฎหมายหลายประเทศก็ไม่มี
ไปเจอกฎหมายของ บาบิลอน (Babylon) ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
ก็พิพากษาให้คนที่ฟ้องขึ้นไปชั้น 10 ที่ว่า แล้วก็กระโดดลงมาใส่จำเลย
ปรากฏว่าโจทก์ไม่ยอม มันก็เป็นเหตุปัจจัยเหมือนกันว่า
หล่นลงมานี้ มาใส่หัวคนข้างล่าง แทนที่คนหล่นจะตาย แต่ว่าคนที่อยู่ข้างล่างตาย
เหตุเขาไม่รู้ว่าเป็นอะไรนะ แต่ปัจจัยนี่รู้ว่ามันเดินพลาด
ทีนี้ถ้าหากว่า คนทุกคนมีความคิดแบบนี้นะครับ
ผมว่าคดีฟ้องร้องหรือว่าการฆ่ากันอะไรต่างๆคงจะไม่ค่อยมีนะครับ
ก็มีนายทหารผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ก็รู้จักสนิทสนมกันนะครับ
เรื่องของท่านกับลูกชายก็อายุเป็นวัยรุ่นละเกือบๆ 20 แล้ว ก็ไปถูกรถชนตาย
ปรากฏว่าท่านก็บอก มันเป็นกรรมของมัน
คือ ท่านไม่ไปฟ้องร้อง ไม่ไปแจ้งความ ไม่เรียกค่าเสียหายอะไรทั้งนั้น
คนที่ขับรถมาชนลูกเขาตายจะทำบุญด้วยอะไร ไม่สนใจ
ท่านถือว่าเป็นกรรมของลูกท่านที่จะต้องมาตายตรงนั้น
ก็ตัดปัญหาไปทั้งหมดไม่ต้องขึ้นโรงพัก ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
แล้วคนที่ขับรถชนก็เคารพนับถือไปจนตาย”

เพราะเกิดมาแท้ๆจึงต้องตาย ถึงไม่มีใครมาทำอะไร
ถึงงูไม่กัด รถไม่ชน ไม่มีใครมาทำอะไร ก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้
อันนี้ความเกิดถือว่าเป็นเหตุที่สำคัญที่สุด คือเป็นเหตุต้น มรณสตินี่คิดตรงนี้
นอกจากนั้นก็เป็นเหตุประกอบทำให้ตายเร็วขึ้นเท่านั้นเอง
แต่ว่าตายนั้นตายแน่ ถึงไม่มีอะไรทำให้ตายก็ต้องตาย
แต่มีบางคนคิดอยากจะตายก่อน คือ ไม่อยากจะอยู่เกิดมาแล้วไม่อยากจะอยู่
คือ อยากจะตายก่อน ผูกคอตาย กระโดดตึกตาย กระโดดน้ำตาย
ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง อย่างนี้ก็ต้องหาสาเหตุอีกว่าทำไมถึงอยากตายก่อน

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ 2. คิดแบบแยกส่วนประกอบ ตามแนวขันธ์ 5

ตามแนวขันธ์ 5 คือว่า เห็นอะไรเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นตนก็ลองแยกดู
ว่าส่วนประกอบส่วนย่อยนั้นคืออะไร ถ้าเผื่อแยกส่วนนั้นออกไปแล้ว มันจะเป็นอะไร
อย่างพระพุทธภาษิตที่ว่า ยถาหิ องฺคสมฺภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ
เมื่อสัมภาระมารวมกัน อย่างว่ารถก็มีขึ้น รถเกวียน รถม้า
เอวํ ขนฺเธสุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ
เมื่อขันธ์ 5 ยังมีอยู่ การสมมุติว่าสัตว์ว่าบุคคลก็มีขึ้น
พอแยกส่วนแล้วรถก็ไม่มี คนก็ไม่มี พอแยกส่วนแล้ว
มันแยกออกเป็นรูป เป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
หรือธาตุ 6 ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ คนก็หายไป
เหมือนกับแยกรถออกเป็นส่วนๆนะครับ คำว่า รถมันก็หายไป
อันนี้เป็นการคิดแบบ analysis แบบแยกส่วนรวมส่วน
คือ อะไรที่มันรวมอยู่ ลองแยกดูว่ามันเป็นอะไร ประกอบด้วยอะไร
ทีนี้ถ้ารวมกันมันจะเป็นอะไร อย่างนี้นะครับ อันนี้ก็เป็นแนวคิด
แบบโยนิโสมนสิการอีกแบบหนึ่ง คือ คิดแบบแยกส่วนหรือรวมส่วน
เป็นปรมัตถสัจจะกับสมมุติสัจจะ คือ คิดว่าถ้ารวมกันก็เป็นสมมุติสัจจะ
พอแยกกันก็เป็นปรมัตถสัจจะ อย่างเหรียญตรา
พอเอาไปติดที่คนมันมีความหมายขึ้น
เหรียญตรา สายสะพายอะไรต่ออะไรต่างๆ
พอแยกมันออกไปไว้ต่างหาก มันจะไม่มีความหมายอะไร
ทำให้สบายใจมากเลย คนที่แยกสมมุติออกจากปรมัตถ์ได้
แยกตัวตนออกไปได้ มันแค่ของสมมุติขึ้น
จริงๆแล้วมันก็เหมือนกัน ขันธ์ 5 ธาตุ 6 ทั้งนั้น
บางคนพอไปยึดติด โอ้โฮ! มันลำบากทุกอย่าง
เวลาไปไหนก็ต้องมีคนคอยขับรถให้ คอยเปิดประตูให้
คอยใส่รองเท้าให้ คอยสารพัดอย่าง
ถ้าหากไม่ยึดติด ไปไหนก็ขับรถเอง เปิดประตูเอง แต่งตัวเอง
อาบน้ำเอง อะไรเอง อยู่ง่าย กินง่าย
ความเรียบง่าย simplicity ก็หายไปด้วย
ถ้าเผื่อไปติดกับสมมุติ เป็นนั่นเป็นนี่

มีเรื่องเล่าของท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านไปเข้าวัง รัชกาลที่ 4
รับสั่งว่า “เดี๋ยวถอดซะเลย” อย่างนี้ เดี๋ยวพอฉันเสร็จ
อะไรเสร็จท่านก็ลุก ไม่เอาพัดครับ
พวกนึกว่าท่านลืมวิ่งเอาพัดมาให้ ท่านก็บอกว่า
“ขรัวโตดี ท่านก็หาว่าขรัวโตบ้า ขรัวโตบ้า ท่านก็ว่าขรัวโตดี”
ท่านไม่ติดยศนะครับ คือมีคนไปหาท่านแล้วก็ไปกราบ
ท่านถามว่า “มาทำไม” เขาบอกว่า “มากราบสมเด็จ” พัดท่านอยู่ในตู้
ท่านบอก “โน่นสมเด็จอยู่ที่โน่น” อยู่ที่ตู้โน่น
อยากกราบไปกราบตู้ นี่ขรัวโตนี่ไม่ใช่สมเด็จ
นี่คือ ท่านแยกออกว่า ตัวท่านไม่ใช่สมเด็จ

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ 3. คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา

ก็เป็นแนวไตรลักษณ์ คือว่า ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น
ฐิตา ว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา สพฺเพ สงฺขารา
อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ยึดไตรลักษณ์เอาไว้เป็นแนวความคิด
ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
หรือความรัก พอเกิดความรักขึ้นมา ก็นึกไว้ล่วงหน้าว่ามันไม่เที่ยง
ไม่เท่าไรมันก็เปลี่ยนแปลงไป มีความโกรธขึ้นมา มันก็ไม่เที่ยง

ที่สำคัญมันต้องเอาโลกธรรมเป็นที่ตั้งยิ่งดี
สุข ลาภ ยศ ได้ลาภ-เสื่อมลาภ ได้ยศ-เสื่อมยศ นินทา-สรรเสริญ สุข-ทุกข์
พอได้สุขขึ้นมามันไม่เที่ยง มันมีความทุกข์ตามมาด้วย
ได้ลาภมันก็มีความทุกข์ แม้ได้ทุกข์มันก็ไม่เที่ยง
ได้ทุกข์ไม่เท่าไรเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป คือว่า คิดล่วงหน้าเอาไว้ก่อน
พอมันเกิดขึ้นจริงๆ ก็ได้คิดเอาไว้แล้ว นึกแล้วเชียวว่ามันต้องเป็นอย่างนี้

ถ้าเผื่อมีใครมารัก เราก็นึกว่ามันไม่เที่ยง
อีกหน่อยเขาอาจจะไม่รักก็ได้เขาไม่รักขึ้นมา
ก็นึกไว้แล้ววันหนึ่งต้องมาถึง ตรงนี้ มันก็ค่อยสบายใจได้

บางคนคิดไม่ได้ ตอนรับราชการตื่นเวลาไปทำงาน
มีลูกน้องมาล้อมหน้าล้อมหลัง แต่พอเวลาเกษียณแล้วเงียบ
บางคนอยู่ได้ไม่กี่วันตาย เฉาตายเลย น่าสงสารนะครับแบบนี้
ที่จริงเขาน่าจะหัดคิดมาตั้งแต่หนุ่มๆนะครับ
อายุถึงเกษียณแล้วยังคิดเรื่องพวกนี้ไม่ออกอีกก็น่าสงสารอยู่
จริงๆมันควรจะคิดได้ตั้งแต่เมื่อหนุ่มๆแล้ว
เพื่อจะได้ใช้แนวคิดแบบนี้นานๆไงครับ
ไม่ใช่ว่าอายุเกษียณแล้วยังคิดเรื่องนี้ไม่ได้ก็แย่เลย

จริงๆโลกธรรมนี่เป็นตัวตั้งดีเลยครับ แนวคิดแบบนี้นะครับ
พอเจอโลกธรรมเข้าก็ต้องเอาความคิดแบบไตรลักษณ์ไปใช้ ได้ประโยชน์มากเลย
มองในแง่ดี สมมุติว่าเราอยู่ตำแหน่งนี้เกิดมีคำสั่งให้ไปประจำ
ก็มองว่ามาอยู่ตรงนี้ก็ดี ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร
ก็คิดในแง่ดี คิดแต่ในแง่ดีก็ดี เหมือนกับพลิกฝ่ามือ
เราคิดได้เร็วเหมือนกับพลิกฝ่ามือ
ความสุขทุกข์นี่มันอยู่ที่ว่า เราพลิกความคิดได้แค่ไหน
พลิกไปนิดหนึ่งก็เป็นสุข พลิกไปนิดหนึ่งก็เป็นทุกข์

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อ 4. คิดแบบแก้ปัญหา

คือการคิดตามแนวอริยสัจ ความทุกข์เป็นปัญหา
ทุกคนก็มีปัญหาสำคัญอยู่อันหนึ่งคือความทุกข์
เราจะดับทุกข์กันที่ไหน
ถ้าตั้งปัญหาขึ้นมาว่าเราจะดับทุกข์กันที่ไหน
เพราะความทุกข์เป็นปัญหาสำคัญ
พระพุทธเจ้าท่านตรัส ทุกขมสฺส มหพฺภยํ
ความทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลก จะดับกันที่ไหน?
คำตอบก็คือดับที่เหตุของมัน
เหตุเกิดที่ไหนก็ต้องดับที่นั่น ก็สาวไปถึงสมุทัย เหตุเกิดของทุกข์
ความทุกข์มี เหตุเกิดของทุกข์ก็ต้องมี
ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงมันจะมีมากมายอย่างไร
ก็ย่อลงเหลือ 2 อย่างเท่านั้นแหละครับ
คือความทุกข์ทางกายกับความทุกข์ทางใจ
นอกนั้นเป็นวัตถุแห่งความทุกข์ หรือที่ตั้งแห่งความทุกข์
หรือที่มาแห่งความทุกข์
แต่มันก็คงเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง ไม่ทุกข์กายก็ทุกข์ใจ

อย่างสมบัตินี่ก็เป็นที่ตั้งของความทุกข์
สำหรับบางคน บางคนมีรถก็เป็นทุกข์นะครับ
วันๆหนึ่งก็ต้องวนเวียนอยู่กับรถ เป็นที่ตั้งของความทุกข์
สำหรับผู้ที่มีอุปาทานอยู่
แต่ถ้าไม่มีอุปาทาน มันก็ไม่เป็นที่ตั้งของความทุกข์

ยศฐาบรรดาศักดิ์ ก็เป็นที่ตั้งของความทุกข์เหมือนกัน
พันเอก หรือว่านายพล ถือว่าเป็นที่ตั้งของความทุกข์เหมือนกัน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าท่านมีพระทัยปรารถนาว่า
ขอยศจงอย่ามาเกี่ยวข้องกับเรา ขอเราอย่าได้ไปเกี่ยวข้องกับยศ
แต่เรื่องของโลกนั้นก็ธรรมดาครับ
ตรัสกับท่านนาคิตะ นาคิตะที่เป็นอุปัฏฐากท่านอยู่
ก็มีผู้ที่มาเฝ้าแล้วก็เอาของมาถวายท่านเยอะ
มาอยู่ประชุมกันที่หน้าวัดก็เอะอะโวยวาย จัดนั่นจัดนี่อะไรมากมาย
ท่านก็ตรัสว่า “อะไรกันมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น”
ท่านนาคิตะก็กราบทูลว่า
“เขาเอาข้าวของมาถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า เขามาสักการะ”
ท่านก็ตรัสว่า “โอ๊ย ไม่ไหวๆขอยศจงอย่ามาเกี่ยวข้องกับเรา
ขอเราอย่าได้ไปเกี่ยวข้องกับยศ”

ตำแหน่งเอตทัคคะของพระที่พระพุทธเจ้าท่านทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ
อย่างนี้ถือว่าเป็นยศหรือเปล่า คือ มองไม่ชัดนะครับ ไม่น่าจะเป็น
เหมือนกับเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ แต่ละด้านของแต่ละบุคคล
ยกย่องในความสามารถ แล้วก็ไม่ได้เป็นใหญ่อะไรมากมาย
ไม่ได้มีบริวาร ไม่ได้มีอะไร
ถ้าจะถือเป็นยศอย่างหนึ่งก็คือเกียรติยศ ก็น่าคิดอยู่
ถ้าจะถือเป็นยศก็เป็นเกียรติยศ เป็นเกียรติอย่างหนึ่ง
ได้รับเกียรติ ได้รับความนิยมนับถือ

มีเกียรติยศ บริวารยศ แล้วก็อิสริยยศ

ทีนี้ก็ขอซ้ำอีกทีนะครับ จะมีวัตถุหรือที่ตั้งของความทุกข์มากมาย
แต่ว่าโดยสรุปก็มี 2 อย่าง คือทุกข์กายกับทุกข์ใจ
ไม่มากระทบกายก็มากระทบใจ แก่ เจ็บ ตาย
บางทีมันก็กระทบทั้งกายทั้งใจ แล้วแต่ว่าใจจะไปรับมันสักแค่ไหน
หรือว่าทุกข์จากการทำมาหากินไม่พอ
ความยากจนก็เป็นทุกข์ทางกายเป็นทุกข์ทางใจด้วย
ทะเลาะวิวาทกัน ถูกกิเลสเผา ที่เรียกสันตาปทุกข์ เป็นปัญหาส่วนบุคคล
เป็นปัญหาครอบครัว เป็นปัญหาสังคม เป็นปัญหาประเทศชาติ
นี่ก็ต้องแก้กันไปเป็นเปราะๆ
คนเก่งก็คือคนที่สามารถแก้ปัญหาได้ คือ ทุกคนมีปัญหาทั้งนั้น
ถ้าเป็นคนเก่งก็ต้องเผชิญปัญหาหรือแก้ปัญหาได้เป็นเปราะๆ
แต่บางคนแก้ไม่ได้ ทนอยู่กับปัญหานั้นจนกระทั่งตาย
อันนี้ก็คงจะขาดปัญญานะครับ

วิธีแก้วิธีหนึ่ง ว่ามันเกิดก็เกิดไป
ฉันจะอยู่อย่างนี้ไม่สนใจมัน มันก็เป็นวิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง
แต่ว่าแก้โดยวิธีไม่แก้
ปล่อยปัญหาให้แก้ตัวเองไป ปล่อยให้กาลเวลามันคลี่คลายไป
อย่างที่เพลงเขาร้องว่า ให้เวลามาแก้ปัญหาใจ
มีวิธีตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าอยู่วิธีหนึ่ง
เรียกว่าตอบแบบไม่ตอบ เรียกว่า ฐปนพยากรณ์

อันที่ 1. เอกังสพยากรณ์ ตอบโดยยืนยันไปข้างเดียว
เช่นว่าสุจริตให้ทุกข์หรือให้สุข
พระพุทธเจ้าก็จะยืนยันว่าเป็นสุข ทุจริตก็ยืนยันว่าให้ผลเป็นทุกข์

2. วิภัชชพยากรณ์ ตอบแยกแล้วแต่ปัญหาที่เขาถาม
เช่นว่า สุขกับทุกข์อันไหนจะดีกว่า ก็ต้องตอบแยก
สุขบางอย่างมันก็ไม่ดี ทุกข์บางอย่างมันก็ดี
ทุกข์ดีกว่าสุข เพราะว่าเป็นทุกข์ที่นำไปสู่การดับทุกข์
แต่ถ้าสุขบางอย่างเป็นสุขที่นำไปสู่การมัวเมา
นำไปสู่ความชั่วมันก็ไม่ดี อย่างนี้เป็นต้นนะครับ

เช่นบางคนเห็นว่าเล่นการพนันเป็นสุขอย่างหนึ่ง ก็เล่นการพนันไป
แต่สุขอย่างนี้นำไปสู่ความเป็นทุกข์ มีความทุกข์หนักอยู่เบื้องหน้ามากมาย
อย่างบางคนขยันทำมาหากิน หนักเอาเบาสู้ อาบเหงื่อต่างน้ำ
อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นทุกข์ แต่ว่าทำไปแล้วมันจะมีความสุขรออยู่ข้างหน้า

อันนี้ก็ไปเข้าธรรมสมาทานบางอย่าง
ให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่ไปให้สุขในภายหน้า
ธรรมสมาทานบางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่ไปให้ทุกข์ในภายหน้า
ธรรมสมาทานบางอย่างให้ทุกข์ทั้งในปัจจุบัน ทั้งภายหน้า
ธรรมสมาทานบางอย่างให้สุขทั้งในปัจจุบัน และภายหน้า
ถ้าใครที่ไปเจออย่างที่ 4 ก็รู้สึกว่าโชคดีมาก ส่วนมากก็คละเคล้ากันไป
เช่นว่าคนที่เรียนหนังสือด้วยความพอใจ
ทำงานที่สุจริตด้วยความพอใจ เรียนหนังสือด้วยความพอใจ
อ่านหนังสือธรรมะด้วยความพอใจ มีความสุขในขณะที่ได้อ่าน
ได้ทำแล้วนี่คือมีความสุขในปัจจุบัน
และจะมีความสุขต่อไปภายหน้าแน่นอน ตรงนี้โชคดี

กลับมาเรื่องสุข-ทุกข์นะครับ ยกตัวอย่างการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าว่า
ตอบโดยไม่ตอบ สุดท้ายครับ ข้อ 4. คือ ตอบโดยไม่ตอบ
เช่น มีผู้ไปถามว่า โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือไม่มีที่สุด
พระพุทธเจ้าตอบโดยไม่ตอบ ตอบโดยนิ่งคือไม่ตอบ
การไม่ตอบมันก็เป็นการบอกอยู่ในตัวว่าไม่ตอบ

คือ ประเด็นที่ 1. ปัญหานั้นไม่สมควรแก่ผู้ถาม
ผู้ถามไม่สมควรถามปัญหานี้ก็เลยไม่ตอบ
เช่น บางคนไปถามเรื่องชาติหน้าชาติก่อน
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า “เออนะ คนที่มาถามปัญหาเรื่องนี้กับเรา
ควรจะระลึกชาติได้บ้างเป็นพื้นฐานเอาไว้
แต่ว่านี่ระลึกชาติอะไรไม่ได้เลย มาถามเรื่องชาติหน้าชาติก่อนอะไร”
ก็ไม่ทรงตอบ แล้วก็ตรัสเรื่องปฏิจจสมุปบาทเรื่อยไป
แต่ว่าไหนๆก็ถามแล้วก็สมควรรู้อะไรบางอย่าง ทำนองนั้นนะครับ
ถ้าเราไม่มีความรู้พื้นฐานเอาไว้มันคุยไม่สนุก
เหมือนคนที่ไม่เคยเรียนบาลีเลย แล้วก็มาถามอาจารย์ถึงประโยคบาลี
ประโยคนั้นว่ายังไง ประโยคนี้ว่ายังไง

ทีนี้กลับมาที่แก้ปัญหาโดยไม่แก้ ปล่อยให้มันคลี่คลายตัวของมันเอง
พอหมดเวลา ปัญหามันก็หมดไป อย่างนี้ถือว่าเป็นอวิชชาหรือเปล่า

คืออย่างนี้ครับ ปัญหาบางอย่างเราเฉยก็ได้ มันแก้ของมันไปเอง
คือทิ้งปัญหาเอาไว้แล้วก็ไปทำอย่างอื่น ปัญหามันจะค่อยคลี่คลายไปเอง
อย่างว่าในครอบครัวนะครับสำคัญ การทิ้งปัญหานี่สำคัญในครอบครัว
แก้ปัญหาโดยไม่ยอมลดราวาศอกเลย บางทีมันนำไปสู่ปัญหายุ่งเหยิงมากขึ้น
บางทีถ้าเผื่อเขาอารมณ์ไม่ดี เราก็ออกไปนอกบ้านเสียบ้าง
ไม่พูดไม่อะไรนิ่งๆเงียบๆเสีย ปล่อยไว้อย่างนั้นละ

ทีนี้เราคุยกันเรื่องการแก้ปัญหา คือ ถ้ามันมีปัญหาที่ไหนก็ต้องแก้ตรงนั้น
มีหลายคนคิดจะแก้ที่ตัวเองเรื่อยไป อันนี้ไม่ถูกต้องนะครับ
คือบางทีปัญหามันเกิดที่คนอื่น มันต้องแก้ที่คนอื่น ไม่ใช่มามัวแก้แต่ตัวเอง
อย่างว่าบางทีเขามาทำอะไรที่ข้างบ้านเรา รบกวนเรามากมาย
เราก็มานอนคิด เราทำกรรมอะไรไว้นะ ถึงมาอยู่ในสภาวะอย่างนี้ สภาพอย่างนี้
อย่างนี้เรียกว่าไม่แก้ในทางที่ถูกต้อง ที่ต้นตอของมัน
คือว่า คิดแต่เรื่องกรรมของตัวเอง ไม่นึกถึงความผิดของผู้อื่น
ทางที่ควรจะทำก่อนก็คือว่า ไปพูดกับเขาดูว่า ถ้าไม่ทำได้ไหม
หรือว่าถ้าไม่เผาขยะให้ควันมันกวนคนอื่นจะได้ไหม
มันต้องพูดกันให้รู้เรื่อง ทำนองนั้น
จะมัวมานอนนึกว่าเราทำกรรมอะไรไว้ถึงมานอนถูกเขารมควันอยู่อย่างนี้

แต่ว่าคนไทยก็ชอบพูดเรื่องกรรมของตัว เรือล่ม เครื่องบินตก
ก็ถามว่าคนที่ตายหมู่นี้เขาทำกรรมอะไรร่วมกันมา
จะตอบว่าเขาทำกรรมร่วมกันมาก็ได้ แต่มันไม่เป็นการแก้ปัญหา
คงตอบขอไปที แล้วก็แล้วไป แต่ว่าการเดินเรือก็ยังเป็นเหมือนเดิม
โป๊ะก็ยังเป็นเหมือนเดิม ไม่มีใครแก้ปัญหา
ไปดูปัญหาจริงๆสิว่าคนขับรถขับเรือมันเมา เรือมันรั่วไหม บรรทุกคนเกินหรือเปล่า
โป๊ะมันล่มหรือเปล่า ใครเป็นคนรับผิดชอบ ก็ต้องไปดูตรงต้นตอของมันด้วย
ถึงค่อยว่ากันเรื่องกรรมทีหลัง กรรมปัจจุบันก่อน นี่ก็คิดแบบแก้ปัญหานะครับ

ทีนี้มี ปัญหาอยู่ข้อหนึ่งที่ว่า ถ้าเรามีทุกข์เกิดขึ้นจะสู้หรือจะหนีทุกข์
บางคนอาจจะบอกว่าต้องสู้ บางคนก็ตอบว่าต้องหนี
บางคนก็สู้อย่างเดียว บางคนก็คิดจะหนีอย่างเดียว
บางคนก็บอกว่าปัญหาบางอย่างจะต้องสู้ ปัญหาบางอย่างจะต้องหนี
ทุกข์บางอย่างต้องหนี ถ้าขอร้องว่าให้ตอบตามแนวอริยสัจ
ต้องไม่สู้ ไม่หนี ต้องกำหนดรู้
ความทุกข์เป็นปริญเญยธรรม เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ คือ ทำความเข้าใจ
ถ้าเผื่อจะไปต่อสู้ก็ต้องไปสู้กับเหตุของความทุกข์
ความทุกข์มันเป็นผลเสียแล้วคงแก้ไม่ได้ ไปแก้ที่เหตุ

ความทุกข์นี้มีอะไรเป็นแดนเกิด
เกิดจากเหตุอะไรแล้วไปแก้ที่เหตุเหมือนกับว่า
เปลวไฟมันร้อนมาถึงในห้องเรา เอาน้ำมาสาดในห้องมันก็คงไม่หาย
ต้องไปดูว่ากองไฟอยู่ที่ไหนแล้วก็เอาน้ำไปสาดกองไฟที่นั่น
ไฟดับความร้อนมันก็หายไป นี่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกวิธีนะครับ

ในระดับประเทศชาติ ก็มีการตั้งองค์กรอะไรต่ออะไรต่างๆ
มี กกต. มี ปปช. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบในวงราชการ
เดิมทีเดียวนะครับก็ดูแล้วคล้ายๆว่า
เกิดอะไรขึ้นมาก็ไปตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อไปแก้ที่ผลที่มันปรากฏขึ้นแล้ว
หน่วยงานที่จะไปแก้สาเหตุไม่มี อย่าง ปปช. ตั้งขึ้นเพื่อที่จะไปดับไฟที่ปลายเหตุ
แต่ต้นตอที่ทำยังไงคนจะไม่ทุจริต มีสาเหตุจากอะไรต้นตอตรงนี้
ไม่มีคนแก้ไม่ใช่ไปตั้งหน่วยงานขึ้นมาแก้ตรงนู้น
อันนี้มันจะขัดกันกับความคิดแบบอริยสัจ 4

ถ้าจะตอบแบบธรรมะ ถ้าจะถามว่า คอร์รัปชั่นเกิดจากอะไร
การโกงการทุจริตเกิดจากอะไร ก็กิเลสของกองโมหะ กับโลภะ นี่แหละ
ทีนี้คือเผื่อไปขจัดไปขัดเกลา ไปแก้ไปทำอะไรตรงนี้ ไปลดละอะไรตรงนี้ได้
เรื่องคอร์รัปชั่น ทุจริตอะไรต่างๆก็จะลดน้อยลงหรือหมดไป

เหมือนเราสู้ยุงนะครับ ถ้าเอายาฉีดยุงเท่าไรมันก็ไม่หมดครับ
เพราะว่าแหล่งเกิดยุงมันมีเยอะ แต่ถ้าไปทำลายแหล่งเกิดยุง
ยาฉีดยุงก็ไม่ต้องมีครับ การแก้ปัญหาเหมือนการแก้ยุง
การที่เราไปวิ่งไล่จับยุงทุกตัวเอามาใส่ในมุ้งเพื่อไม่ให้มันออกมากัด
กับเอาตัวของเราเองเข้าไปอยู่ในมุ้ง อันไหนมันจะดีกว่ากัน
อันนี้ก็ดีครับเป็นวิธีที่จะไม่ให้ยุงกัด แต่ว่ายุงยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ให้ยุงกัด
ยุงกัดไม่ถึงเข้าไปไม่ได้ ก็ป้องกันตัวได้ แต่ถ้าเผื่อจะปราบยุง
ไม่ให้มียุงต้องปราบที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดยุง 7 วันก็หมดแล้วครับ น่าคิดนะครับ

คือมีหน่วยงานไหนบ้างไหม
ที่จะไปลดความโลภ หลง โลภะ โมหะ ของคนทั้งหลาย
ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการนี้ หรือในวงการไหนก็ตามใจนะครับ
ถ้าเราลดความโลภ ความหลงลงได้ เรื่องทุจริตก็ไม่ต้องพูดแล้ว
อย่างที่พวกเราพูดเสมอว่า ถ้าหากทุกคนมีศีล 5
ก็ไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีกรมราชทัณฑ์
ทีนี้ก็ต้องสืบต่อไปอีกครับ ศีล 5 มีอะไรเป็นพื้นฐาน
แล้วคนล่วงศีล 5 เพราะอะไร จะต้องสืบไป
เพราะเราพูดแต่ให้คนมีศีล 5 ให้คนมีศีล 5 ไม่สำเร็จครับ ไม่สำเร็จแน่นอน
ต้องสืบต่อไปว่าอะไรเป็นพื้นฐานของศีล 5 แล้วก็คนล่วงศีล 5
ขาดศีลอยู่เป็นประจำเพราะอะไร ก็ไปจัดการกับตรงนั้น
ถ้าผมตอบก็คงจะไปดูที่หิริ-โอตตัปปะ อันนั้นคือธรรม
ถ้าให้เรามีธรรม 5 เสียก่อน แล้วก็ศีล 5 ก็จะมีเอง
ศีล 5 จะมีโดยที่ไม่ต้องขอกับพระ พระไม่ต้องให้ก็ได้ ถ้าเรามีธรรม
ธรรม 5 ที่ควบอยู่กับศีลจะมาดูแลและจะไม่ให้เราประพฤติล่วงศีล
เพราะว่าเรามีธรรมประจำใจอยู่ มันก็ไม่ล่วงศีล
ถ้าเราพูดแต่ว่าให้เรามีศีล 5 ให้เขามีศีล 5
เขามีไม่ได้เพราะว่าไม่มีธรรม คนไม่มีเมตตากรุณา
รักษาศีลข้อ 1 ไม่ได้ มีใจโหดร้ายทารุณอยู่
เบียดเบียนสัตว์ก็ได้ ฆ่าคนก็ได้

ถ้าเราอยากได้น้ำต้องขุดดินให้ลึก มันถึงได้น้ำขึ้นมาอาบหรือดื่ม
ถ้าเราอยากจะรู้ความจริงหรือต้องการที่จะให้คนได้ประสบ
กับความจริงอะไรต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ ต้องคิดให้ลึกเหมือนกัน
ถ้าเราต้องการน้ำในดินก็ต้องขุดดินให้ลึกลงไป
ถ้าเราอยากรู้ความจริงในเรื่องไหนก็ต้องคิดให้ลึกหน่อย
ถ้าคิดตื้นๆมันไม่เห็นหรอก

กระบวนการความคิดแบบอริยสัจ 4 มันน่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาล
เป็นแผนงานของชาติ ที่จะเอามาแก้ปัญหา
เป็นแนวคิดแบบการแก้ปัญหา ตามแนวอริยสัจ นิโรธ ก็เป็นการดับปัญหา
เสร็จแล้วก็เดินตามมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
ปฏิปทาเพื่อจะดับปัญหาก็จบได้ ส่วนมากเราไปทิ้งธรรมเสีย
เห็นธรรมเป็นสิ่งไม่สำคัญ คือว่ามุ่งมองแต่เรื่องปัญหาเศรษฐกิจ
ปัญหาสังคม ปัญหาการศึกษา ปัญหาอะไรต่ออะไรต่างๆ มันโผล่มาให้เห็น
แต่ว่าต้นตอจริงๆมันอยู่ที่คนล่วงธรรม
อยู่ที่คนไม่ประพฤติธรรม ไม่ตั้งอยู่ในธรรม

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อ 5. คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์

โยนิโส มนสิการข้อ 5 ครับ เกี่ยวกับหลักการและจุดมุ่งหมาย
คือธรรมนั้นคือหลักการ อรรถนั้นคือความหมายหรือจุดมุ่งหมาย
เช่นว่า เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อจะสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และสังคม
เราก็มีหลักการและวิธีดำเนินการไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น
ในพุทธศาสนาเรามีคำอีกคำหนึ่ง คือธรรมานุธรรมปฏิบัติ
แปลว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ก็คือปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ ตามจุดมุ่งหมายนั่นเอง

อันนี้ขยายความหน่อยที่ว่า โดยปกติธรรมดาคนเรานี่มีจุดมุ่งหมาย
สิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายได้ คือหลักการ
ถ้าจุดมุ่งหมายดีแต่หลักการไม่ถูกต้อง อย่างนี้ทางพุทธศาสนาไม่เห็นด้วย
แต่ว่ามันมีบางคนหรือบางลัทธิ บางกลุ่มเห็นว่าหลักการไม่สำคัญ
จุดมุ่งหมายถูกต้องแล้วใช้วิธีการอย่างไรก็ได้

เช่นสมมุติว่าอยากจะรวย วิธีการจะมาอย่างไรก็ได้ขอให้รวย
จะค้าอะไรก็ได้ ขายอะไรก็ได้ ขอให้ไปสู่จุดมุ่งหมายคือ ความร่ำรวย
อันนี้ทางพุทธศาสนาไม่เห็นด้วย ต้องหลักการหรือวิธีการถูกต้องด้วย
หลายคนบอกว่า จุดมุ่งหมายจะต้องเป็นผู้แทนให้ได้
แต่ว่าวิธีการจะเป็นยังไง เอาทุกอย่าง คือจะไปเที่ยวฆ่าคนก็เอา
จะคอร์รัปชั่น จะทุจริตในการเลือกตั้งก็เอา อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างจะสำคัญอยู่มาก เพราะว่าในปัจจุบันนี้
แม้ในศาสนาพุทธของเราเอง ชาวพุทธเราบางส่วนก็จะทำลายหลักการ
เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายก็มีอยู่ไม่น้อย เหมือนกัน
ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ แต่ทำนั่นทำนี่เสียแล้ว
ถามว่าอันนี้เป็นหลักการของพุทธศาสนามั้ย ตอบใช่ไม่ได้
มันเป็นการไปทำลายหลักการ แต่ก็ถูกและไปได้ตามจุดมุ่งหมาย
ถ้าผลระยะสั้นอาจมองว่ามีผลดี แต่ไประยะยาวมันจะเป็นผลเสียมากเลย
ไปล้มเลิกหลักการของพระพุทธเจ้า ของพระพุทธศาสนา
ทำให้คนเข้าใจผิด เสพย์สิ่งที่ผิด หรือว่าเสพย์ธรรมผิด
แต่ว่าไปได้ลาภสักการะ ไปได้ชื่อเสียง ไปได้ความนิยมนับถือ
ไปได้อะไรต่ออะไรมากมายที่มันเป็นกิ่งใบของต้นไม้
คนก็ไปติดอยู่ตรงนี้ ตรงลาภสักการะนี่
ลาภสักการะโดยความหมายของมันเอง ก็เป็นเรื่องที่ดี
ถ้าได้มาโดยชอบธรรม คือไม่ใช่ทำลายหลักการของพระพุทธศาสนานะครับ

ที่เราพูดกันอยู่ก็ตรงนี้ ตอนนี้ใกล้จะสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย
จะมีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับจับนักเรียนที่อยากจะเข้ามหาวิทยาลัย
ที่มีเครื่องมือหรือระบบอิเล็กทรอนิกสที่จะทุจริต
จุดมุ่งหมายดีแต่ว่าวิธีการผิด เริ่มมาตั้งแต่เด็กๆเลยครับ
เริ่มโกงกันมาตั้งแต่เด็กๆ เทคโนโลยีไปช่วยให้พวกเขาทุจริต อย่างนี้โง่เสียดีกว่า
บางทีหน่วยงานแต่ละหน่วยงานเขาจะมีเครื่องมือสื่อสาร
รถก็จะวิ่งไปยังสถานที่สอบของนักเรียนนะครับ
เปิดเครื่องดักฟังว่าจะมีใครเปิดใช้เครื่องมือสื่อสารทุจริต
มันไปถึงขนาดนั้นเลยปัจจุบันนี้ น่ากลัวมากครับ
เกี่ยวกับเรื่องความทันสมัย เทคโนโลยีที่ทันสมัย
จุดมุ่งหมายก็คือสอบให้ได้
แต่วิธีการที่ทำยังไงก็ไม่รู้ วิธีการเละเทะหมด ล้มล้างหลักการ

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ 6. คิดแบบหาคุณโทษและทางออก

อันนี้วันก่อนนี้ดูเหมือนได้พูดกันมาบ้างแล้วนะครับ
แต่ว่าจะขอพูดซ้ำอีกทีเพราะว่ามันเป็นหัวข้อนี้โดยตรงที่ว่า
เข้าไปเกี่ยวข้องกับอะไร
ก็ต้องดูถึงลักษณะของสิ่งนั้นว่ามันคืออะไร มันเป็นอย่างไร
แล้วก็เหตุเกิดของสิ่งนั้น เรียกว่าสมุทัย
แล้ว อัสสาทะ คือรสที่น่ายินดีของมัน อาทีนวะ โทษของมัน
แล้วนิสสรณะ ทางออก เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นว่ามีโทษ ก็มีทางออกอย่างไร
แล้วคิดแบบมองหาคุณและโทษของมัน แล้วก็ทางออก
สิ่งนั้นถ้ามันเป็นโทษ เช่นว่า เรื่องกามคุณ 5 ที่ครอบงำคนทั้งหลายทั้งปวงอยู่
ไม่ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งนี้ว่าลักษณะของมันเป็นอย่างไร
เช่น ในพระบาลีพูดถึงว่า อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา รูปา สทฺทา คนฺธา รสา โผฏฺฐพฺพา
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ
แล้วก็ เย วา ปนสฺส เต โหนฺติ คืออะไรทำนองนั้น Something like that
แล้วก็พิจารณาถึงว่าลักษณะของมันเป็นอย่างไร
เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลักษณะของมันเป็นอย่างไร
ตัวของมันเป็นอย่างไร แล้วก็เหตุเกิดของมันคืออะไร
แล้วก็ อัสสาทะ คือความพอใจหรือรสที่น่าพอใจของมันคืออะไร
โทษของมันคืออะไร แล้วก็จะหาทางออกอย่างไร

กฎหมายเลือกตั้งใหม่ รู้สึกว่าวุ่นวายเหลือเกิน สับสน
มีเรื่องอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่คนก็วุ่นวาย คนที่อยากเป็นผู้แทน
อยากใหญ่อยากโต คือ พยายามหาทางทุกอย่างให้ได้มาตรงนี้
คือเมื่อไม่ได้ก็ไม่พอใจ ได้แล้วโดนใบแดงก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก ไม่ยอมแพ้
ผมก็สงสัยว่า มันบกพร่องหรือมีโทษที่ระบบ
หรือว่ามันมีโทษที่คนสมุทัยของมันก็คืออยากได้
มันมีรสของมันที่น่าพอใจอยู่ เสน่ห์ของมัน การเมืองมันมีเสน่ห์
เป็นยาเสพติดชนิดที่ยิ่งกว่ายาเสพติดชนิดอื่น
อำนาจหมายถึงอำนาจทางการเมือง
อันนี้ก็เป็นส่วนที่เป็นอัสสาทะของมัน เสน่ห์ของมัน รสของมัน
ลอร์ด แฮกตันท์ นักรัฐศาสตร์ของอังกฤษ
เขาบอกว่าอำนาจทำให้คนเสีย อำนาจเด็ดขาดทำให้คนเสียมากที่สุด
คนดีๆอยู่บางทีไปมีอำนาจเข้าก็เสียคนได้ ทำให้คนเปลี่ยนแปลงได้
จากการที่เป็นนักการเมืองมีอุดมการณ์จากการที่ทำงานเพื่อชาวบ้าน
เพื่อประชาชน แต่พอได้อำนาจแล้วก็อาจจะลืมประชาชนได้

พระพุทธเจ้าท่านก็เคยตรัสเอาไว้ในลาภสักการะสังยุต ในสังยุตนิกาย
ว่าด้วยลาภ สักการะ ชื่อเสียง ทำให้ภิกษุเสียไปเป็นอันมาก
ที่ยังไม่เสียก็จะเสีย ที่เสียแล้วก็มี อันนี้ลาภสักการะ และชื่อเสียง
ก็ขอให้ท่านทั้งหลายจงเห็นโทษของลาภสักการะ

แต่ของเหล่านี้มันมีอัสสาทะคือมีรสที่น่าชื่นชม และมีเสน่ห์ของมัน
แม้แต่ยาเสพติดง่ายๆ เช่นบุหรี่ มันก็มีอัสสาทะของมันอยู่
อันนี้ก็ขอให้มนสิการ หรือใช้โยนิโสมนสิการว่า
จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับอะไรก็ต้องดูให้ชัดว่าสิ่งนั้นคืออะไร
แล้วก็เหตุเกิดของมันคืออะไร เพื่อจะได้ตัดเหตุเกิดของมันเสีย
ถ้าหากรู้แล้วว่าเราไม่ปรารถนาสิ่งนั้น ก็ตัดเหตุเกิดของมัน รสอร่อยของมัน
หมายถึงว่า รู้ว่ามันเกิดจากอะไร แล้วค่อยหาทางออก อันนี้ก็คงผ่านไปได้

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ 7. คิดแบบหาคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม โยนิโสมนสิการ

ยกตัวอย่างเช่น เงินนี้มันเป็นคุณค่าเทียม ไม่ใช่คุณค่าแท้
พูดอีกทีว่ามันเป็นกระดาษเปื้อนสี ถ้าประกาศเลิก มันก็ไม่มีคุณค่า
ถ้าเราตระหนักว่ามันเป็นคุณค่าเทียมไว้แลกเปลี่ยนเท่านั้น
ถ้าไม่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ก็ไม่มีคุณค่าอะไร
ถ้าเราไปอยู่ในป่าซึ่งไม่สามารถซื้อของอะไรได้เลย
เงินก็ไม่มีความหมายอะไรเลย สู้ชมพู่สักลูกก็ไม่ได้
เพราะนั่นมันเป็นคุณค่าแท้ ที่เราสามารถจะบริโภคได้ กินได้
เอาปัจจัย 4 เป็นตัวตั้งก่อนก็ได้ ปัจจัย 4 อาหาร เอาข้าว น้ำ ผลไม้
รวมว่าเป็นอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นี่คือคุณค่าแท้
เพราะว่ามันสำเร็จประโยชน์ได้ด้วยตัวเองแก่ผู้ที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มัน
แต่เงินนี่เรามีไว้แลกเปลี่ยนกับปัจจัย 4 เท่านั้น ในตัวมันเองมันไม่มีคุณค่าอะไร

ถ้าหากว่ามีเงินแต่ว่าปัจจัย 4 ทั้ง 4 นี่ไม่มี ก็ไม่มีคุณค่าอีก
อย่างว่าไปทะเลทราย เดินทางไปทะเลทรายซึ่งไม่มีของขายเลย
เราเอาเงินไปสักกระสอบหนึ่ง มันก็ไม่มีความหมายอะไร
หรือว่าทองคำกระสอบหนึ่ง อินทผลัมกระสอบหนึ่ง มันสู้อินทผลัมไม่ได้

เคยมีเรื่องเล่าว่า ราชกุมาร ปฐมกุมาร พาภรรยาไปข้ามทะเลทราย
แล้วก็ไม่มีน้ำ หิวน้ำมาก ก็เลยเจาะเลือดที่เข่าให้ภรรยาดื่ม ใช้แทนได้


ปัจจัย 4 มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแท้


ทีนี้มาถึงสุขภาพ สุขภาพก็เป็นคุณค่าแท้
เพราะฉะนั้นคนเป็นจำนวนมากจึงมองเห็นอันนี้
จึงได้ยอมเสียเงินเสียทองอะไรมากมาย
พอสุขภาพตนไม่ดีหรือทรุดโทรมขึ้นมา
ยอมเสียเงินเพื่อซ่อมสุขภาพหรือเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่สุขภาพ
แล้วก็บำบัดโรคภัยไข้เจ็บอะไรต่างๆ ยอมเสียกันมากมายเพื่อให้ได้สุขภาพ
เพราะว่ามันเป็นของแท้ เป็นคุณค่าแท้
เงินนั้นมันเป็นคุณค่าเทียม เพราะภาษิตในทางพุทธศาสนา
ท่านบอกว่า สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
ผู้มีปัญญาพึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
พึงสละได้ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้องหรือรักษาธรรม
นั้นก็แสดงว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดในบรรดาสิ่งเหล่านั้น ทั้ง 4 อย่างนั้น

แล้วมาถึงเรื่องคุณธรรม คุณธรรมก็เป็นคุณค่าแท้ บุญกุศลก็เป็นคุณค่าแท้
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฉลาดมาคิดหาคุณค่าแท้คุณค่าเทียมของชีวิต
ก็สามารถจะจ่ายเงินได้เพื่อปัจจัย 4 เพื่อ สุขภาพ เพื่อคุณธรรม เพื่อบุญกุศล
แต่ถ้าคนที่ยอมละทิ้งสิ่งเหล่านี้ เช่นว่าปัจจัย 4 อยู่อย่างลำบากลำบน
เหมือนเศรษฐีขี้เหนียวทั้งหลาย ไม่ยอมกินไม่ยอมสงเคราะห์ผู้อื่น เก็บแต่เงินไว้

คุณค่าแท้คุณค่าเทียมนี่สำคัญมากนะครับ
ถ้าเน้นย้ำ ให้สังคมเราพิจารณาโดยรอบ โดยถี่ถ้วนโดยลึกซึ้ง
ว่าอะไรเป็นคุณค่าแท้ อะไรเป็นคุณค่าเทียม

ในแง่หนึ่ง อย่างเรื่องของอาหาร คุณค่าแท้ก็คือ กินเพื่อจะให้ร่างกายมีกำลัง
แต่ปัจจุบันนี้คนก็ไปติดว่ากินเพื่อให้ไปบำรุงร่างกาย สุขภาพดี
อย่าไปคิดว่ากินอย่างไรถึงจะดีถึงจะโก้ ถึงจะอวดศักดา ความร่ำรวย
ความมั่งมี จะไปลักษณะอย่างนั้นไป ก็จะไปติดที่คุณค่าเทียม
ไปเข้าลักษณะที่พระพุทธเจ้าท่านห้ามว่า ไม่กินเพื่อเล่น ไม่กินเพื่อเมา
ไม่กินเพื่อความเปล่งปลั่ง ความสวยงาม

อย่างนาฬิกาข้อมือ จริงๆถ้าจะซื้อกันเรือนหนึ่ง ร้อยกว่าบาทก็ดูเวลาได้
อันนี้คือคุณค่าแท้ของมัน แต่ว่าปัจจุบันนาฬิกาเรือนหนึ่งก็ราคาเป็นหลักล้านก็มี
เครื่องประดับที่มันไม่ใช่คุณค่าของมันในการดูเวลา
ไปติดที่คุณค่าเทียมของมัน ที่จริงการสอนศาสนาให้คนตั้งอยู่ในคุณธรรม
ให้คนอยู่ในสัมมาอาชีวะ ให้คนเป็นคนดี มันก็เป็นคุณค่าแท้ของสังคม
แต่ว่างานทางด้านนี้ค่อนข้างจะอัตคัดขาดแคลน
แต่ว่าในบางอาชีพมันไม่มีคุณค่าอะไรต่อสังคม
แต่ได้รับการสนับสนุนมากมาย ถ้าเผื่อว่าไปชนะมาอะไรอย่างนี้ ก็จะได้เงินเยอะ

ความสุขก็เหมือนกัน ก็มีความสุขอย่างแท้จริง ความสุขอย่างเทียม
เพราะฉะนั้น ถ้าอยากคิดแบบนี้ให้สมบูรณ์ ให้เป็นประโยชน์ก็ต้องวิเคราะห์ให้ได้
ดูให้ออกว่าอะไรเป็นคุณค่าแท้ อะไรเป็นคุณค่าเทียม

ความสุขเทียมก็เป็นความสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์
ถ้าใช้เป็นศัพท์ก็น่าจะเป็น อามิสสุข สุขที่มีเหยื่อ
หรือถ้าพูดอย่างชาวบ้านหน่อย ให้มันชัดออกมาหน่อยก็สุขจากอบายมุข
มันก็เป็นสุขเทียม นั่งเล่นไพ่ทั้งคืน เฮกันไป
ดูว่ามีความสุข อย่างนี้มันเห็นง่าย

แต่สุขแท้สุขเกิดจากคุณธรรม สุขจากการบำเพ็ญความดี บำเพ็ญกุศล
ขยันหมั่นเพียร มันเป็นความสุขที่แท้ แต่มันเห็นยาก
ต้องมีปัญญาจักษุหน่อยมันถึงจะมองเห็น
หนุ่มๆนั่งรถไปหาสาวๆอยู่ไกลก็ขึ้นรถ รถก็แน่นยืนโหนไปเป็นชั่วโมง
แต่ใจก็ยังมีความสุขอยู่ ทั้งๆที่ยืนเมื่อย เหน็บกินแล้วกินอีก ก็ยอมทุกข์
โดยมองว่าเป็นความสุข เพื่อให้ได้สุขที่คาดหวังเอาไว้

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ 8. อุบายเร้าคุณธรรม

อันนี้ก็เหมือนข้อที่ว่า อุปปาทกมนสิการ ในข้อ 4 ใหญ่นะครับ เร้าคุณธรรม
เมื่อมีความเพียรหย่อนก็คิดหรือพูดให้มีความเพียรมากขึ้น
พยายามคิดว่าคิดอย่างไรความเพียรมันถึงจะเกิดขึ้นมีขึ้น
เช่นว่า ขนาดเรามีความเพียรยังได้แค่นี้
แล้วถ้าเราหย่อนความเพียร มันจะได้สักเท่าไร ก็คงจะได้น้อยกว่านี้ คงจะแย่กว่านี้
หรือว่าใครที่มีความเพียรย่อหย่อน ก็พูดให้เขามีกำลังใจมากขึ้น
เช่นว่าความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องทำ เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ดี ทุกคนจะต้องทำ
ว่าถึงพรุ่งนี้จะต้องตาย วันนี้ยังทำความเพียรได้ก็ต้องทำ
ทำนองนี้เรียกว่าคิดหรือพูดเพื่อเร้าคุณธรรม คล้ายๆว่าต้องให้กำลังใจใช่ไหม
พูดแบบให้กำลังใจว่าเราเกิดมามันต้องทำให้ได้ เกิดเป็นคนทั้งที
อย่างที่เขาบอกว่า “เกิดมาทั้งที ต้องทำดีให้ได้ ตายไปทั้งที ต้องฝากดีตราไว้”
หรือว่าบางทีก็คิดว่า ถ้าอยู่อย่างโง่ อยู่อย่างเป็นคนโง่
ถ้าเราจะแสวงหาความรู้จนถึงกับตายไป
ให้ตายไปอย่างนั้นก็ยังดีกว่าอยู่อย่างเป็นคนโง่ ถ้ารอดไปก็จะเป็นคนฉลาด

มีเพื่อนผมอยู่คนหนึ่งครับ ตอนนั้นเขาเป็นเณรอยู่ เขามาจากต่างจังหวัด
เจ้าอาวาสก็ดูถูกเอาไว้ว่า อย่างเธอไปเรียนก็ไม่สำเร็จหรอก
เขาเรียนจนสำเร็จครับ เขานึกถึงคำนี้

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อ 9. คิดแบบอยู่ในขณะปัจจุบัน

นี่ก็คิดตามแนวสติปัฏฐาน ตามแนวภัทเทกรัตตสูตร ตามแนวสติปัฏฐาน
ก็ลองดูซักซ้อมมากๆก็จะเห็นว่า ท่านให้คิดให้อยู่กับปัจจุบัน
เช่นว่า อิริยาปถปัพพะ อิริยาบถ จะยืนจะเดิน นั่ง นอนอะไร
ก็มีสติรู้อยู่ว่า เราเดิน เรานั่ง เรานอน ยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่ นั่งอยู่ก็รู้ว่านั่งอยู่
นอนอยู่ก็รู้ว่านอนอยู่ แปลว่าให้มีความรู้อยู่ในขณะปัจจุบัน ทุกอิริยาบถ
ก็เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันมากนะครับ
ปกติความทุกข์จะเกิดโดยวิธีที่คนเรามักจะเหนี่ยวรั้งเอาอดีตเข้ามา
คิดถึงอดีตบางอย่างแล้วก็มีความทุกข์
หรือบางทีก็ไปคว้าเอาอนาคตมาคิด

ถ้าเป็นแนวสติปัฏฐานท่านให้อยู่กับปัจจุบัน
ผมได้ฟังสำนัก 2 สำนักที่ขัดแย้งกันอยู่
คือบางท่านบอกว่าอย่าพูดว่าเรายืนอยู่
แต่ว่าในพระบาลีนั้นมีนะครับ ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ
ยืนอยู่ก็รู้ว่าเรายืนอยู่ นั่งอยู่ก็รู้ว่าเรานั่งอยู่
แต่บางสำนักบอกว่ามีเราไม่ได้ มีเราจะมีตัวตน
เรายืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่เท่านั้น ก็ไม่มีเรา
ถ้าถือตามพระบาลีก็มีนะครับ มีคำว่าเราได้
อันนี้ก็แล้วแต่ว่าใครจะถือพระบาลี ถือตามสำนักไหนก็ว่าไป
รู้อยู่ว่า คำว่าเรา หรือข้าพเจ้าเป็น สมมุติสัจจะ
บางสำนักบอกว่าให้ตัดคำว่าเราออก มีเราไม่ได้ มีเราแล้วเป็นตัวตน
ที่นี้ถ้าถือตามพระบาลีมันก็มีเราด้วย ก็ทำนองนี้
ก็แล้วแต่ว่าเราก็รู้กันอยู่ว่า คำว่า เรา เรา ข้าพเจ้า ก็เป็นเพียงสมมุติ

ทีนี้ไปถึงสัมปชัญญปัพพะ ก็จะยิ่งละเอียดลงไปอีก
ย่อยๆจากอิริยาบถใหญ่ ไปถึงส่วนย่อยต่างๆ
เช่น จะห่มจีวร จะใส่เสื้อผ้า จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ จะดื่มจะกิน
จะอะไรทุกอย่าง ก็มีสัมปชัญญะอยู่ตลอด
สมฺปชานการี โหติ มีสัมปชัญญะอยู่ตลอด อยู่กับปัจจุบัน
เพราะความทุกข์จะไม่เกิดกับความคิดขณะปัจจุบัน

นี่ก็ค่อยๆละเอียดขึ้นมานะครับ ยิ่งในภัทเทกรัตตสูตร ก็ยิ่งดี
ไม่ให้คำนึงถึงอดีต อนาคต อารมณ์ใดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็แทงทะลุ
พิจารณาให้เห็นแจ้งในปัจจุบันธรรม ในขณะนั้นๆ ทีละขณะๆ
ธรรมดาสิ่งทั้งหลายก็เกิดขึ้นทีละขณะแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านพูดถึงเรื่องอดีตกับอนาคต
ท่านบอกว่าถ้าไปคิดในแง่เป็นอารมณ์แล้วมาปรุงแต่งจิตให้เศร้าหมอง
หรือว่าให้เป็นอย่างอื่น อย่างไรก็ตาม อย่างนั้นไม่สมควร
แต่ถ้ามองอดีตและอนาคตเพื่อเอามาเป็นบทเรียน
เป็นข้อกำหนดที่จะต้องปฏิบัติวางแผนอย่างนั้นได้
แปลว่า โดยอาการที่อกุศลจะไม่เกิดขึ้น
ถ้ากุศลเกิดขึ้นก็ได้ อันนี้ก็ไปเข้ากับอินทรียสังวร
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องสำรวมเพื่อบาปอกุศลจะไม่เกิดขึ้น

จิตวิทยาตะวันตกในสมัยปัจจุบันนี้ก็มี ก็พูดถึงให้อยู่ในปัจจุบันเหมือนกัน
ว่าถ้าต้องการความสุข ไม่ให้มีความทุกข์รบกวนก็ให้อยู่ในปัจจุบัน
ก็จะสำเร็จประโยชน์มาก อะไรที่จะเป็นประโยชน์จริงๆ
ก็คือขณะปัจจุบัน อะไรที่ล่วงมาแล้ว ไปทำอะไรมันไม่ได้แล้ว
นอกจากจะแก้ไข การแก้ไขมันก็เป็นปัจจุบัน ก็ต้องแก้ในปัจจุบัน
สิ่งอะไรที่มันยังมาไม่ถึงแม้แต่เรื่องในพรุ่งนี้
เรื่องที่จะต้องทำพรุ่งนี้เราก็ทำวันนี้ไม่ได้ ทำขณะนี้ไม่ได้ ก็ต้องทำพรุ่งนี้
นอกจากการเตรียมการเอาไว้ นี่ก็ความคิดแบบอยู่ในขณะปัจจุบัน
ซึ่งให้คิดไปตามแนวสติปัฏฐาน หรือตามแนวภัทเทกรัตตสูตร
ก็จะได้ประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

เพราะฉะนั้น ในแนวปฏิบัติก็เป็นการปฏิบัติธรรมที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง
หรือว่าการใช้ชีวิตในปัจจุบันจะให้เกิดประโยชน์ในด้านการทำงานหรือว่าอะไร
การมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คิดแบบอยู่ในขณะปัจจุบันจะให้ประโยชน์มากเลย
เหมือนคนจะเขียนหนังสือสักหน้า เดี๋ยวก็แวบไปอดีต แวบไปอนาคต
แวบไปอยู่เรื่อย อย่างนั้นเขียนไม่ได้ ต้องอยู่ในขณะปัจจุบัน
ต้องควบคุมจิตอยู่ในขณะปัจจุบันถึงจะทำได้สำเร็จ

บางคนที่จะเขียนหนังสือ ก่อนจะเขียนหนังสือต้องดื่มเหล้าก่อน
อันนี้ติดเหล้ามากกว่า ก็มีหลายคนก็บอกว่า
ถ้าไม่ดื่มเหล้าแล้วเขียนหนังสือไม่ออก บางคนติดบุหรี่
พอไม่ได้สูบบุหรี่ก็คิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ได้
มันไปติดของเสพติดมากกว่า แต่คนที่เขาทำด้วยสมองบริสุทธิ์จริงๆเขามี
มันเป็นข้อแก้ตัว ข้ออ้างเท่านั้นเอง ข้ออ้างที่จะดื่มเหล้า
อ้างที่จะสูบบุหรี่ เป็นโทษมาก
เพราะว่ามันจะทำให้คุณภาพในการทำงาน จะค่อยๆลดลง
หมดลงเรื่อยๆเหมือนกับม้าที่เราขี่มัน เวลาใดที่มันรู้สึกเปลี้ยเต็มทีแล้ว
เจ้าของก็ใช้แส้หวดลงไป มันเปลี้ยแทนที่จะให้มันได้พักผ่อนหลับนอน
กินหญ้ากินน้ำให้มันมีกำลังดีขึ้น เรากลับใช้แส้หวดลงไป
มันก็กระโจนไปพักหนึ่ง แต่สักประเดี๋ยวมันก็เปลี้ยลงมาอีก
ถ้าทำอย่างนั้นเรื่อยๆไปไม่เท่าไร ม้าก็จะล้มลงตาย
ก็เคยเห็นหลายท่านนะครับ ที่เขียนหนังสือเก่งๆแล้วก็ดื่มเหล้าเก่งด้วย
ตายตั้งแต่ยังหนุ่มแหละครับ

ท่านสุนทรภู่เองก็ดื่มไปเขียนไป
แม้กระทั่งสุดท้ายก็ต้องตกระกำลำบากเพราะดื่มเหล้า
จนกระทั่งมาเจอโรงเหล้า เขาสาปเลย
“โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย”
ก็ดีท่านสารภาพเอาไว้ เป็นอบายมุข ก็ข้อนี้ก็เป็นได้เท่านี้นะครับ

:b51: :b52: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร