วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ตั้งใจทุกคน กำหนดและอย่าอยู่ใกล้กัน และอย่าทำจิตให้เพ่งไปคนโน้น เพ่งไปคน นี้ คล้ายๆกับนั่งอยู่บนภูเขา อยู่ในป่าแห่งหนึ่งคนเดียวเท่า นั้น นั่ง...ตัวที่เรานั่งอยู่เฉพาะปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง มีแต่กายกับจิต เท่านั้นแหละ มีกายกับจิตสองอย่างเท่านั้น รวมแล้วที่เรานั่งปัจจุบันนี้ มีกายกับจิต โดยตรงมีกายกับจิตสองอย่างเท่านั้น กายคือสิ่งทั้งหมดที่เรา นั่งอยู่ในก้อนนี้เป็นกาย


จิตก็คือสิ่งที่นึกคิดรับรู้ อารมณ์ในปัจจุบันนี้ เรียกว่า จิต หรือเรียกว่า นาม หรือรูป ท่าน เรียกว่า นามรูป นามหมายถึงสิ่งที่ว่าไม่เป็นรูป ไม่มีรูป จะเป็นความ นึกคิดอะไรก็ได้ หรือความรู้สึกทุกอย่าง เรียกว่าเป็น นาม เช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เวทนาก็คือหมายความว่า มันไม่ รับความสุขหรือความทุกข์นี้ก็ไม่มีตัวตน เป็นนามธรรม เป็นนาม เรียกว่า รูปกับนาม


ตาเห็นรูปเรียกว่ารูป ความรู้สึก เป็น นาม เรียกว่ารูปธรรม นามธรรม ก็เรียกว่ากายกับจิตเท่านี้ สิ่งทั้งหลาย นี้มันเกิดจากนี้มันยุ่งหลายอย่าง ตามอาการของคำนั้น ฉะนั้นเราต้องการ ความสงบ เราจะให้รู้รูปกับนาม หรือกายกับจิตเท่านี้ก็พอ ที่เรานั่งอยู่ ปัจจุบันนี้ มีกายกับจิตให้เข้าใจอย่างนี้ มีกายกับจิต แต่จิตที่มีอยู่ นี้ จิตที่ยังไม่ได้ฝึก จิตยังสกปรก จิตนี้ยังไม่สะอาด ไม่ใช่จิต เดิม จำเป็นจะต้องฝึกหัดจิตอันนี้ ดังนั้น ท่านถึงให้สงบเป็นบาง ครั้ง อย่างในวันนี้ที่อาตมาจะพูดแนะนำนี้ อย่าไปรำคาญ ไม่ต้องไป รำคาญ ต้องเพิ่มความรู้ในใจให้เกิดขึ้น


สมมุติว่าเรา นั่งสมาธิ สมาธินี้ที่เรียกว่าสมาธิ ไม่ใช่ว่ามีแต่การนั่ง เดินมันก็ เป็นสมาธิได้ บางคนก็เข้าใจว่าการนั่งนี่แหละเป็นสมาธิ ไอ้ความเป็น จริง การยืน การเดิน การนั่ง การนอน หลักปฏิบัติทั้งนั้น ทำสมาธิ ให้เกิดขึ้นได้ทุกขณะ สมาธิหมายตรงเข้าไปว่าความตั้งใจมั่น ความตั้งใจ มั่น คนปกติไม่ลืม เช่นวันนี้เรามาจากบ้านทุกคน มาถึงภูเขาถ้ำแสงเพชร นี่ ทุกคนมาจากบ้าน แต่ความเป็นจริงแล้วนั้น ไอ้จิตของเรากับบ้านที่อยู่ ของเรานั้น ยังติดตามกันอยู่เสมอ ถึงแม้จะอยู่ที่นี่ก็ได้ แต่ว่ามันต้องไป จบลงที่บ้านของเรานั่นแหละ อย่างนี้


การทำสมาธิไม่ใช่ ว่าการจะกักขังตัวไว้ บางคนก็เข้าใจว่าการทำสมาธิ ฉันจะต้องหาความ สงบ จะไปนั่งไม่ให้มันมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเลย จะนั่งเงียบๆ นั่งแบบคน ตาย ไม่ใช่คนเป็น คือถ้าทำสมาธินี้คือทำให้รู้ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้มี ปัญญา เรียกว่าสมาธินี่ความตั้งใจมั่น คืออารมณ์อันเดียว อารมณ์อันเดียว คืออารมณ์อะไร อารมณ์ที่ถูกต้องนั่นแหละเรียกว่าอารมณ์อันเดียว ธรรมดาคน เราจะนั่งให้มันเงียบเฉยๆ บางคนเป็นทุกข์หลาย โดยมากนักศึกษา นัก เรียน เคยเข้ามากราบอาตมาว่าดิฉันนั่งสมาธิ มันไม่อยู่ เดี๋ยวมันก็วิ่ง ไปโน้น เดี๋ยวมันก็วิ่งไปนี้ ไม่รู้จะทำอย่างไรให้มันหยุดอยู่ มันหยุด อยู่ไม่ได้ ไอ้มันวิ่งไปมา ไม่ใช่มันวิ่ง มันเกิดความรู้สึกในที่ นี้ ไม่ใช่มันวิ่งไปวิ่งมา บางคนก็มาฟ้องว่ามันวิ่ง ฉันก็ไปดึงมัน มา ดึงมา อยู่ดีๆก็เดินไปทางนั้นอีก ดึงมันมา ก็เลยนั่งแต่ดึงอยู่อย่าง นั้นแหละ จิตนี่เข้าใจว่ามันวิ่ง มันวิ่งในความรู้สึกของเรา ตามความเป็น จริงนั้น



อย่างศาลาหลังนี้แม้มันใหญ่เหลือเกิน มันก็ ไม่ใหญ่หรอก ที่ว่ามันใหญ่มันเป็นเพราะความรู้สึกของเรา ฉะนั้น ศาลานี่มัน ไม่ใหญ่ มันก็เท่านี้แหละ แต่เรามาเห็น แหม...ศาลาหลังนี้มันใหญ่เหลือ เกิน ไม่ใช่ศาลามันใหญ่อย่างนั้น มันเป็นแค่ความรู้สึกของเราว่ามัน ใหญ่ ไอ้ความเป็นจริงศาลาหลังนี้ มันก็เท่านี้มันไม่ใหญ่ไม่เล็ก นี่มัน เป็นอย่างนี้ อย่างนั้นเราก็วิ่งไปตามอาการของความรู้สึกนึกคิดของเรานี่


การ ภาวนาให้มันสงบ คำที่ว่าสงบนั้น เราจะต้องรู้เรื่องของมัน ถ้าไม่รู้ เรื่องของมันก็ไม่สงบ เช่นยกตัวอย่าง เช่นวันนี้ วันนี้เราเดินทางมาจากไหน ก็ไม่รู้ ปากกาที่เราซื้อมาตั้งห้าร้อยบาท หรือพันบาท เรารักมัน พอเดินมา ถึงที่นี่ เราเอาปากกาบังเอิญไปวางในที่หนึ่งเสีย เช่นเอาใส่ในกระเป๋า หน้า อีกวาระหนึ่งเอามาใส่กระเป๋าหลัง กระเป๋าข้างหลังเสีย ก็เลยมาคลำดู กระเป๋าข้างหน้าไม่เห็นเลย โอ๊ย ตกใจเสียแล้ว นี่ตกใจ


ถ้า ความมันไม่รู้ความเป็นจริง มันก็วุ่นวายอยู่อย่างนั้นแหละ จะยืน จะ เดิน จะเหิน จะไม่สบาย นึกว่าปากกาหาย แต่ของมันไม่หายหรอก มันอยู่ กระเป๋าหลัง มันไม่หาย แต่เรานึกว่ามันหาย มันเลยก็ทุกข์ไปด้วย เพราะ ความรู้ผิดคิดผิดนี่ ไอ้ความคิดผิดรู้ผิดอย่างนี้ มันเป็นทุกข์ ทีนี้เรา ก็กังวล เมื่อกังวลไปกังวลมา แหม มันเสียดายมันนี่ ปากกา ปากกานี้นี่ ก็เสียดายมัน เพิ่งเอามาใช้ ไม่กี่วันมันก็หายนี่ มีความกังวลอยู่อย่าง นี้ อีกในขณะหนึ่งนึกขึ้นมา อ๋อ เราไปอาบน้ำตอนนั้น เลยจับมาใส่กระเป๋า หลังนี้ พอนึกได้เช่นนี้ ยังไม่เห็นปากกาเลยดีใจเสียแล้ว นั่นเห็น ไหม ดีใจเสียแล้ว ไม่กังวล ในปากกานั้น รู้แน่เสียแล้ว แล้วก็เดินมาดูมา คลำเห็นในกระเป๋าหลังนี่จริง อ๋อแน่ะ นี่อย่างนี้ มันโกหกกันทั้งนั้น แหละ ปากกาไม่หาย มันโกหกว่ามันหาย เราก็ทุกข์ เพราะความไม่รู้ จิต วิตกกังวลเป็นเรื่องธรรมดาของมันทั้งนั้น

ทีนี้เมื่อ เห็นปากกาแล้ว รู้แน่แล้วว่าเห็นแล้ว หายสงสัยแล้วมันก็สงบ ความสงบเช่น นี้เรียกว่าจะเห็นต้นตอมัน จะเห็นสมุทัยอันมันเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด แล้ว ก็ทุกข์ ตัวสมุทัยนี่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด พอเรารู้จักว่าเราเอาไปไว้ใน กระเป๋าหลังนี้แน่นอนแล้ว เลยเป็นนิโรธ ดับทุกข์ นี่มันเป็นเสียอย่าง นี้ มันถูกหลอกลวงอยู่ตลอดเวลาอันนี้ อย่างนั้นประพฤติตนก็เพียรมาหา ความสงบ


ที่เราทำความสงบโดยสมาธินี้ มันสงบจิต มัน ไม่ใช่สงบกิเลส ไม่ใช่สงบกิเลสหรอก มันนั่งทับมันไปให้มันสงบเฉยเหมือนกับ หินทับหญ้า พอหญ้ามันมีเอาหินมาทับ มันก็ดับไปเพราะหินทับมัน อีกสามสี่ ห้าวันหกเจ็ดวันมายกหินออก หญ้ามันก็เกิดขึ้นอีก นี่แปลว่านั่นหญ้ามันยัง ไม่ตาย คือมันระงับ มันสงบจิต ไม่ใช่สงบกิเลส นี่เรื่องสมาธิจึงเป็นของ ไม่แน่นอน


ฉะนั้น การที่สงบนี่ เราจะต้องพิจารณาสมาธิ ก็สงบแบบหนึ่ง แบบหินทับหญ้า หลายวันไปยกหินออกจากหญ้า หญ้าก็เกิดขึ้น อีก นี่สงบชั่วคราว สงบชั่วคราว สงบด้วยปัญญาคือ ไม่ยกหินออก ทับมัน อย่างนั้นแหละ หญ้ามันเกิดไม่ได้ นี่เรียกว่าสงบแท้ สงบกิเลสแน่นอนนี่ เขาเรียกว่าปัญญา ตัวปัญญากับตัวสมาธินี้ เมื่อเราพูดแยกกันออก ก็คล้ายๆ คนละตัว ไอ้ความเป็นจริงมัน ตัวเดียวกันนั่นเองแหละ ตัวปัญญานี่มันเป็น เครื่องเคลื่อนไหวของสมาธิเท่านั้น มันออกจากจิต อันนี้เอง แต่มันแยกกัน ออกไป เข้าใจว่าอย่างนั้น มันเป็นคนละลักษณะ

เหมือน มะม่วงใบนี้ ลูกมะม่วงใบนี้มันเล็กๆ แต่เมื่อมันโตขึ้นมาอีกและเมื่อมัน สุก และมันจะเน่า มะม่วงใบนี้ก็คือมะม่วงใบเดียวกัน ไม่คนละใบ ไอ้มัน เล็กก็ใบนี้ มันโตขึ้นมาก็ใบนี้ มันสุกก็ใบนี้ แต่มันเปลี่ยนลักษณะ แต่ มันเป็นมะม่วงใบเดียวกัน นี่โยมทั้งหลายอย่าเพิ่งเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมะ น่ะถูกแล้ว เราปฏิบัติธรรม อาการอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า สมาธิ อาการ อย่างหนึ่งก็เรียกว่า ปัญญา


ไอ้ความเป็น จริง ศีล สมาธิ ปัญญา คือของอันเดียวกัน ไม่ใช่คนละอย่าง เหมือน มะม่วงใบเดียวกัน ผลมันเล็กก็ใบนั้นแหละ มันโตก็ใบนั้นแหละ มันสุกก็ใบ นั้นแหละ ใบเดียวนะนี่ แต่ว่ามันเปลี่ยนอาการเท่านั้น เราก็วิ่งตามมันไป เรื่อยๆๆ ความเป็นจริงการปฏิบัตินี้ อะไรก็ช่างมันเถอะให้เริ่มออกจาก จิต จิตให้เริ่มจากจิต รู้จักจิตของเราไหม จิตมันเป็นอย่างไร มันอยู่ ที่ไหน มันเป็นอย่างไร คงงงหมดทุกคนล่ะ งงทุกคน จิตอยู่ตรงไหน มันเป็น อย่างไรไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ เลยไม่รู้จัก ไม่รู้ รู้จักแต่อยาก จะไปโน่นอยากจะไปนี่ มันเป็นสุข หรือมันเป็นทุกข์ ไอ้ตัวจิตจริงๆนี่มัน ก็รู้มันไม่ได้


จิตนี้มันคืออะไร จิตนี้มันก็ไม่คือ อะไร มันจะคืออะไรจิตนี้ แต่ก็สมมุติขึ้นมามันเป็นจิต เอาสิ่งที่มันรับ อารมณ์ อารมณ์ดี อารมณ์ชั่วทั้งหลาย สิ่งที่รับเหมือนเป็นเจ้าของ บ้าน ใครรับแขก เป็นเจ้าของบ้าน รับแขก แขกจะมารับเจ้าของบ้านไม่ได้ หรอก เจ้าของบ้านต้องอยู่บ้าน แขกมาหาเจ้าของบ้านต้องรับ ใครรับ อารมณ์ อยู่กับเรานี่ ใครเป็นคนรับอารมณ์ ใครรับอารมณ์ ใครปล่อย อารมณ์ ใครรับอารมณ์ ใครรู้เรื่อง ตรงนั้นแหละ ท่านหมายความถึงว่าจิต ใจ แต่เราไปพูดเห่ไปเห่มา อะไรมันเป็นจิต อะไรมันเป็นใจเลยวุ่นกันจนเกิน ไป อย่าไปเข้าใจมากถึงขั้นนั้นสิ อะไรมันรับอารมณ์ รับอารมณ์ แหม... อารมณ์นี้มันไม่พอใจเลย มันอารมณ์บางอย่างมันชอบ อารมณ์บางอย่างมันไม่ ชอบ นี่คือใครที่ชอบไม่ชอบนี่ มีไหมมีตัวมันเป็นอย่างไรไม่รู้ เข้าใจ ไหม มันเป็นอย่างนี้แหละ ตัวนี้แหละ ตัวนี้


ที่เรา เรียกว่าจิต จิต อะไรกันตัวนี้ ตัวนี้แหละ อย่าไปดูมันไกลเลย บางคนก็ ต้องคิด อะไรเป็นจิต อะไรเป็นสารพัดอย่าง ถูไถกันไปกันมาจนเป็นบ้าๆ บอๆ ไม่รู้เรื่อง เราอย่าคิดไปไกลสิ บอกว่าตัวเรามีอะไรบ้าง มีรูปกับ นาม หรือมีกายกับจิตเท่านั้น นี่ก็พอแล้ว เช่นว่า เราจะถามปัญหาว่า พระ พุทธเจ้าของเรานั้นรู้แจ้งแทงตลอดทั้งนั้น รู้แจ้งแทงตลอด เราได้ยินเข้าหู เราไม่ได้ เก่ง ท่านรู้ไปทุกอย่างทุกสิ่ง แล้วก็ปฏิบัติธรรมมรดกตกฐานมัน ขึ้นมา


ต้นไม้ต้นนี้มันมีกี่ราก ท่านตอบว่ามันมีราก ใหญ่รากเล็ก รากฝอยมันมีกี่ราก คนเป็นบ้า ตอบถึงรากฝอยๆ รากฝอยมันมีกี่ ราก รากใหญ่มันมีกี่ราก รากเล็กๆมันมีกี่ราก ทำไมถึงถามอย่างนั้น พระ พุทธเจ้าท่านรู้แจ้งแทงตลอด ต้องรู้หมดทั้งรากฝอยเล็กๆมัน ใครจะเป็นบ้าไป นับอยู่อย่างนั้นล่ะ พระพุทธเจ้าท่านจะโง่อย่างนั้นหรือ ว่ามันอยู่ มัน มีรากเล็ก รากใหญ่ ก็ต้องพอกันกระมังนี่ อย่างเราจะข้าม ข้ามป่าไปในป่า นี้ เราจะตัดต้นไม้ทุกต้นแล้วจึงไปกันหรือ ถอนให้มันหมดถึงไป ไม่รู้จะไป อย่างไร แบบเฉพาะทางไปได้ก็พอแล้ว จะไปตัดถางมันทำไม ต้นไม้ต้นนี้รากฝอย มันกี่รากก็ช่างมันเถอะ มันเป็นรากก็พอแล้ว มันอาศัยรากเล็กรากใหญ่อยู่ เท่านั้นแหละ เท่านี้ก็พอกระมัง เท่านี้ก็พอ พระพุทธองค์ท่านเท่านี้ก็พอ แล้ว ท่านไม่ไปนับรากฝอยของต้นไม้หรอก เสียเวลา จะนับมันไปทำไม มันอยู่ เพราะรากมันเท่านี้ก็พอแล้ว อย่างนี้ บางคนไม่พอใจ ไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้า ท่านรู้ทุกอย่าง รู้หมดทุกอย่าง ต้องไปนับหมดทั้งรากฝอยนี่ก็เป็นบ้าเท่า นั้นแหละ นี่อย่าไปเข้าใจอย่างนั้น


การปฏิบัติธรรม นี้ จะเรียกว่า สมาธิ หรือวิปัสสนาก็ช่างเถอะ เราก็เรียกว่าปฏิบัติ ธรรมะ เท่านี้ก็พอ แต่ก็รับเอาจากจิตของเราขึ้นมา จิตคืออะไร จิตคือผู้ ที่รับอารมณ์นั่นแหละ อารมณ์นี้ดีใจมั่ง อารมณ์นั้นไม่ดีใจมั่ง อย่าง นี้ ตัวนั้นแหละ ตัวที่รับอารมณ์นั่นแหละ มันพาเราสุข มันพาเรา ทุกข์ มันพาเราผิด มันพาเราถูก ตัวนั้นแหละ ตัวนี้นี่ก็ยกขึ้นมา แต่ ว่ามันไม่มีตัวนะ ยกสมมุติว่ามันเป็นตัวเฉยๆ แต่มันเป็นนามธรรม ดีมีตัว ไหม ชั่วมีตัวไหม สุขมีตัวไหม ทุกข์มีตัวไหม ไม่เห็นมันมี มันกลมหรือ มันเป็นสี่เหลี่ยม มันสั้น มันยาวขนาดไหนรู้ไหม นี่มันเป็นนามธรรม มัน เปลี่ยนไม่ได้แล้ว แต่เรารู้ว่ามันมีอันนี้ มันเป็นนาม ฉะนั้น ทั้งรูป และนามมันไปด้วยกัน อาศัยซึ่งกันและกันไป


ถ้าอย่าง นั้นเอานามพิจารณารูป เอาใจพิจารณากาย รูปธรรมนามธรรมสองอย่างเท่า นั้น ฉะนั้น เริ่มจากจิตของเรา ทำจิตให้สงบ ทำให้มันรู้ จิตนี้ มันรู้ อยู่มันก็สงบนะ บางคนก็มันรู้ไม่เอา ให้มันสงบจนมันไม่มีอะไร ไม่รู้ เรื่องจะทำอะไรมัน ถ้ามันขาดคนคนนี้ เราจะไปเอาอะไร อาศัยอะไรไม่มีสั้น มันก็ไม่มียาว ไม่มีผิดมันก็ไม่มีถูก แต่เราทุกวันนี้เรียนกันไป ศึกษา กันไป หาความ ผิด หาความถูก หาความดี ความชั่ว ความไม่ผิดไม่ถูกนั้น ไม่รู้ จะหาแต่รู้ว่ามันผิดมันถูก ฉันจะเอาถูก ผิดฉันไม่เอา จะเอาไป ทำไม เอาถูกอีก มันก็ผิดอีก แค่นั้นแหละ มันถูกเพราะผิด เราก็แสวงหา ความผิดความถูก


หรือแสวงเอาบุญ ก็แสวงไป รู้แต่บุญ แต่บาป เรียนกันไป ตรงที่ว่าไม่มีบาปมีบุญนั่นน่ะไม่ได้เรียนกัน ไม่ รู้จัก เอาแต่เรื่องมันสั้นมันยาว เรื่องไม่สั้นไม่ยาวไม่ศึกษากัน เรียน แต่เรื่องดีชั่ว ฉันปฏิบัติจะเอาดี ชั่วฉันจะไม่เอา จะเอาดี ชั่วไม่ เอา ไม่มีชั่ว มันก็ไม่มีดีเท่านั้นแหละ จะเอาอย่างไร มีดเล่ม นี้ วางอยู่นี้ มันมีทางคม มันมีทางสัน มันมีทางด้ามมันทุกอย่าง ก็จะ จับและยกมีดเล่มนี้ขึ้นมา จะเอาแต่คมมันขึ้นได้ไหม จะจับมีดเล่มนี้ เอา แต่สันมันได้ไหม เอาแต่ด้ามมันไปได้ไหม ด้ามมันก็ด้ามมีด สันมันก็สันของ มีด คมมันก็คมของมีด เมื่อเราจับมีดเล่มนี้ขึ้น เราก็เอาด้ามมันขึ้นมา ด้วย สันขึ้นเอาคมมันขึ้นมาด้วย มันจะแบ่งแต่คมมันได้ไหมอย่างนี้ เป็น ตัวอย่าง อย่างนี้


เราจะไปแยกแต่สิ่งที่มันดี ชั่วมัน ก็ติดไปด้วย เพราะเราหาเอาสิ่งที่มันดี สิ่งที่ชั่วเราจะทิ้งมัน เราไม่ ได้ศึกษาว่าไอ้สิ่งที่ไม่ดีไม่ชั่ว เราไม่ศึกษา มันอยู่ตรงนั้น อย่าง นั้นมันก็ไม่จบ เอาดีไปชั่วก็ตาม มันตามกันอยู่อย่างนี้ ถ้าเรา สุข ทุกข์ก็ตามเราไป มันติดต่อกันอยู่ ฉะนั้น พวกเราจึงศึกษาธรรมะกัน ว่า เอาแต่ดี ชั่วฉันไม่เอา อันนี้มันเป็นธรรมของเด็ก ธรรมเด็กมัน เล่น ก็ได้อยู่ เอาดีก็ได้ แต่ว่าเอาดี ชั่วมันตาม ดูง่ายๆโยมมีลูก จะ ให้เอารักนะ เกลียดไม่เอามัน คนก็ไม่มีลูกกันหรอก ทั้งสองอย่างนี้เอารัก เกลียดก็วิ่งตาม

ฉะนั้น เราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมะ ให้มีปัญญา ให้มีปัญญา มันตามกันมาอย่างนั้น เราไปเรียนดีเรียนชั่วเท่า นั้น ดีเป็นอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร เรียนให้มันละเอียดมากที่สุดจน รู้จักดี จักชั่ว เมื่อรู้จักดีจักชั่วแล้ว เอาอะไร เอาดี ชั่วฉันไม่ เอา เอาดีชั่วก็วิ่งตาม เรื่องจริงที่ว่า ไม่ดีไม่ชั่วเราไม่ได้เรียน กัน เราจะเรียนให้มันรู้จักดีชั่ว ฉันจะเอาดี ชั่วฉันจะทิ้ง เรื่องที่ ให้มันรู้ว่าไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่เคยได้เรียน เรื่องมันจะจบไม่ เรียน ฉันจะต้องเป็นอันนั้น ฉันจะต้องเป็นอันนี้ ฉันจะไม่เป็นอะไร เลย ตัวฉันก็เป็นฉันนี่ มันจะไปดี ไม่เอาดี พอได้ดีๆๆๆไม่รู้ เรื่อง ไปเมาดีอีก ดีเกิน ไปก็ไม่ดีแล้ว ชั่วอีก กลับไปกลับมาอยู่อย่าง นี้แหละ ไม่ได้ไปอย่างไรเลยนี่ นี่คือเรื่องการที่สงบ สงบดีกว่าเพื่อให้ มันสงบ ให้รู้จักผู้ที่รับอารมณ์ ในตัวตน กำหนดคืออะไร


ดังนั้น การสงบจิตเป็นไปตามผู้รู้ คือจิตนี้ ให้จิตนี้ ฝึกจิตนี้ให้เป็นผู้ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์แค่ไหน บริสุทธิ์แค่ดี เอาให้ดี นี่ก็ไม่ ได้ บริสุทธิ์จริงๆมันต้องเหนือดีเหนือชั่วขึ้นไปอีก เหนือบริสุทธิ์ขึ้น ไปอีก หมด มันถึงจะหมดนี้ ฉะนั้นที่เราปฏิบัตินั่งสมาธินี่ สงบไปชั่ว คราว สงบไปชั่วคราว เมื่อมันสงบแล้ว มันก็มีเรื่อง ถ้ามีเรื่องมันก็มี ผู้รู้เรื่อง มีผู้สืบคดี ไต่ตามติดต่อวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อไปสงบ เฉยๆ ไม่มีอะไรหรอก สงบอยู่เฉยๆ


บางทีคนที่ขัง ตัว ขังตัวหลาย ไปเห็นไอ้ความสงบนั้นแหละ คือการปฏิบัติที่แน่นอน สงบ ไม่ใช่สงบเมื่อจิตไปสงบอย่างนั้น มันสงบจากสุขหรือทุกข์ แต่ก่อนฉันจะเอา สุข ทุกข์ฉันไม่เอา นี่สงบนะ พอฉันตามไปๆๆ โอ้...เอาสุขอย่างเดียวก็ไม่ สบายอีกแล้ว มันติดตามกันมา จนทำว่ามันไม่มีสุข มีทุกข์เสียในใจของเรา นั้น นั้นแหละมันสงบ ตรงนี้วิชานี้เราไม่ค่อยจะเรียนกัน ไม่ค่อยรู้ เรื่อง ไม่ค่อยรู้เรื่อง เอาแต่ถูก ผิดไม่เอา ไม่มีผิดมีถูกแล้วมันไม่ เอา ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม เลยไม่รู้ผิดรู้ถูก จะเอาถูก ผิดไม่เอา ก็ ตามกันอยู่อย่างนี้แหละ เหมือนมีดนี่แหละ ฉันจะยกแต่คมมันขึ้นมา สันก็ ขึ้นมาด้วย ก็มันติดกันอยู่นี่ ให้เราคิดอย่างนี้ มันมีเหตุ มันมี ปัจจัยอยู่ มันก็เกิดขึ้นอีก เป็นอีกไม่จบ


การฝึกจิต ของเราให้มันถูกทาง ให้มันแจ่มใสขึ้นมา ให้มันเกิดปัญญา อย่าไปเข้าใจว่า นั่งให้มันเงียบเฉยๆ มันหินทับหญ้า ยืนสมาธิ นั่งสมาธิ เดินสมาธิ นอน สมาธิ บางคนก็เข้าใจว่าไอ้สมาธิคือการนั่งเฉยๆ มันเป็นชื่อมันเฉยๆ ถ้า มันเป็นสมาธิ นอนมันก็เป็นสมาธิ มันคือการปฏิบัติ เดินก็เป็นสมาธิ นอนก็ เป็นสมาธิ นั่งก็เป็นสมาธิ สมาธิกะเดินกะนอนกะนั่งมันคนละอย่างกัน นอนก็ เป็นสมาธิได้ เดินก็เป็นสมาธิได้ มันคนละเรื่อง บางคนก็เห็นแต่สมาธิมันมี แต่นั่งอย่างเดียว บางคนก็บ่น ฉันนั่งไม่ได้หรอก รำคาญ ฉันนั่ง แล้วมัน คิดไปโน่น มันคิดไปนี่ มันคิดถึงบ้านถึงช่อง ฉันทำไม่ได้หรอก บาป หลาย ให้มันหมดกรรมเสียก่อนถึงจะมานั่งใหม่ ไปๆให้มันหมดกรรม ลองๆดู สิ คิดไปอย่างนั้น ทำไมคิดอย่างนั้น


นี่แหละเรากำลัง ศึกษาอยู่ เรานั่งประเดี๋ยว อ้าว ไปโน่นแล้ว ตามไปอีก สมมุตินี้ เดี๋ยว ไปโน่นอีกแล้ว นี่แหละตัวศึกษาล่ะ ไอ้พวกเรามันเกโรงเรียน ไม่อยากเรียน หนังสือนี่ เหมือนนักเรียนมันเกโรงเรียน ไม่อยากไปเรียนหนังสือ คือมัน ไม่สงบ เลยไม่อยากนั่ง ฉันไม่เอาหรอก รำคาญ นี่แหละตัวศึกษาแหละ นี่ อย่างนั้นแหละเป็นนักเรียนที่เก ไม่อยากเรียนหนังสือ ไม่อยากเห็นมัน สุข ไม่อยากเห็นมันทุกข์ ไม่อยากเห็นมันเปลี่ยนแปลง มันจะรู้อะไร มันจะ รู้อะไรไหม มันต้องอยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้

เมื่อ เรารู้จักมัน จิตใจมันเป็นอย่างนี้นะ อย่าไปนึกถึงโน่น อย่าไปนึกถึง นี่ อย่าไปนึกถึงโน่น อย่าไปนึกถึงนี่ เป็นเรื่องธรรมดาของมัน ให้เรา รู้มันเสีย การนึกอย่างนั้นให้เรารู้มันเสีย มันนึกดี นึกชั่ว นึก ผิด นึกถูก ก็รู้มัน จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเรารู้เรื่องของมัน แล้ว ถึงมานั่งเฉยๆ มาคิดถึงโน่นถึงนี่ มันก็เป็นสมาธิอยู่ ถ้าเรารู้ มัน ไม่รำคาญหรอก ไม่รำคาญ


ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติ ไปว่าบ้านโยมจะมีลิงตัวหนึ่ง วัดอาตมาก็มีลิงตัวหนึ่งเหมือนกัน ถ้า โยมอยู่บ้าน โยมเลี้ยงลิงอยู่ตัวหนึ่ง ลิงมันไม่อยู่นิ่งหรอก เดี๋ยวมัน จับโน่นเดี๋ยวมันจับนี่ สารพัดอย่าง ลิงนี่...ถ้าโยมมาถึงวัดอาตมา อาตมา ก็มีลิงตัวหนึ่งเหมือนกัน ลิงอาตมาก็เป็นลิงเหมือนกัน จะจับโน่นจับ นี่ โยมก็ไม่รำคาญใช่ไหม ทำไมไม่รำคาญ เพราะโยมเคยมีลิงมาแล้ว เคย รู้จักลิงแล้ว อยู่บ้านฉันก็เหมือนกัน ลิงตัวนี้ อยู่วัดหลวงพ่อก็เหมือน อยู่บ้านของผมนั่นแหละ มันลิงตัวเดียวกัน โยมรู้จักลิงตัวเดียวเท่านี้ แหละ โยมจะไปกี่จังหวัด โยมก็เห็นลิงตัวเดียวนี้ ไม่รำคาญใช่ไหม

นี่ คือคนรู้จักลิง ถ้ารู้จักลิง ก็ไม่เป็นลิงสิเรา ถ้าเราไม่รู้จัก ลิง เห็นลิงก็เป็นลิงสิใช่ไหม เป็นลิงไปด้วย โน่นจับนี่ รำคาญไปหมด พอ เจอลิงตัวนี้นะ นี่คือคนไม่รู้จักลิง คนรู้จักลิงเห็นลิงอยู่บ้านละก็ตัว เดียวกัน อยู่วัดถ้ำแสงเพชรเหมือนกันอย่างนี้ มันจะรำคาญอะไร เพราะเห็น ว่าลิงมันเป็นอย่างนั้น สงบแล้วคือสงบแล้ว ถ้าลิงมันโดดหน้าโดดหลัง เป็น ต้น โยมก็สบายใจ ไม่รำคาญกับลิง เพราะอะไร เพราะโยมรู้จักลิง โยมถึง ไม่เป็นลิง ถ้าโยมไม่รู้จักลิง โยมก็รำคาญ โยมรำคาญโยมก็เป็นลิง เข้าใจ ไหม


นี่แหละเรื่องมันถูกอย่างนี้ อารมณ์เรารู้อารมณ์ สิ เรารู้อารมณ์สิ บางทีเห็นอารมณ์มัน บางทีมันชอบ บางทีมันไม่ชอบ ก็ ช่างมันปะไร มันเรื่องของมันอย่างนี้ นี่ก็เป็นอย่างนี้ ก็เหมือนลิงนั่น แหละ ตัวไหนก็ลิงตัวเดียวกัน เรารู้อารมณ์มัน อาการมันเป็นอย่างนี้ บาง ทีก็ชอบ บางทีก็ไม่ชอบ เรื่องอารมณ์มันเป็นอย่างนี้ ถ้าเรารู้จัก อารมณ์ รู้จักอารมณ์แล้วก็ปล่อยเสียนะ อารมณ์มันก็ไม่แน่นอนเนอะ มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้นแหละ รำคาญ ไปนั่งที่ ไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่ออารมณ์เกิดขึ้นมาปุ๊บ มันก็อยู่ อย่างนั้นแหละ ก็เหมือนกันมาเห็นลิง ลิงตัวนี้มันอยู่บ้านเราก็อย่างนี้ แหละ มันก็สงบเท่านั้นแหละ อารมณ์มีขึ้นมา เรารู้จักอารมณ์สิ เราจะวิ่ง ตามอารมณ์ทำไม เรารู้จักอารมณ์ อารมณ์มันเป็นของไม่แน่นอน เดี๋ยวมันเป็น อย่างนั้น เดี๋ยวมันเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวมันเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวมันเป็น อย่างนั้น บางทีก็อยู่อย่างเก่า มันอยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้


โยม... ทุกวันนี้โยมก็อยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลง หายใจอยู่อย่างนี้ ลมมันออกแล้วก็ ลมมันเข้ามา หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ โยมอยู่ในนี้ อยู่ด้วยความเปลี่ยน แปลง ลองโยมสูดลมเข้าอย่างเดียวสิ ไม่ให้ออกนะ อ้าว อยู่ได้กี่นาที ไหม หรือให้ออกอย่างเดียว อย่าให้มันเข้าอีก นี่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง อยู่ ได้ไหม นี่มันอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องหายใจออก หายใจเข้า จำเป็นต้องหายใจ ออก หายใจเข้า ถึงได้มา เดินมาถึงวัดถ้ำแสงเพชรนี้ ถ้าขาดลมมาจากโน้น ตายล่ะป่านนี้ ไม่ได้มาถึงหรอก นี่แหละ ให้เข้าใจอย่างนี้


อารมณ์ ก็เหมือนกัน มันจะต้องมี ถ้าไม่มีอารมณ์ ไม่มีปัญญา ถ้ามันไม่มี ผิด มันก็ไม่มีถูก ถูกก่อนมันถึงจะมองเห็นความผิด หรือผิดก่อน มันถึงจะ มีถูก เป็นเรื่องธรรมดา มันมีปัญญา อารมณ์นี้ มันมากที่สุดยิ่งดี ถ้า เป็นนักศึกษานักเรียนนะ อันนี้เราเห็นอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่อยากจะทำ ไม่ อยากจะดูมัน เบื่อมัน อะไรมันนี่ เขาเรียกว่าเด็กมันเกโรงเรียน มันไม่ อยากรับรู้ครูสอนนี่ อารมณ์นี่มันสอนเรา ไม่ใช่อื่นหรอก


เมื่อ เรารู้อารมณ์อย่างนี้ คือเราปฏิบัติธรรมะ สงบอารมณ์ของเรา เป็นอย่างนั้น แหละ มันเป็นเรื่องของมันอย่างนี้ เหมือนโยมเห็นลิง ลิงที่บ้านโยม ไม่ รำคาญ มาเห็นลิงที่นี่ ก็ไม่รำคาญเหมือนกัน เพราะโยมรู้เรื่องของลิง แล้ว เห็นไหมสบาย นั่น การปฏิบัติธรรมะก็เหมือนกัน ธรรมะเป็นอย่าง นี้ ธรรมะนี้ ไม่ใช่ไปอยู่อื่นไกลนะ มันอยู่ติดๆกับเรานี่แหละ เรื่อง ของเรานี่เองเรื่องธรรมะ ไม่ใช่เรื่องเทวบุตรเทวดาหรอก เรื่องของเราทำ นี่ เรื่องเราทำอยู่เดี๋ยวนี้แหละ


เรื่องของเรานี่คือ เรื่องธรรมะ ไม่ใช่เรื่องอื่น ดูหนังสือก็ต้องไปตรวจดูหนังสือ หนังสือ เขาก็ไปเขียนใส่ เอาเรื่องของเราไปเขียนใส่ทั้งนั้น มันไม่รู้เรื่องก็ เป็นไปอย่างนั้น เรื่องธรรมะก็คือเรื่องของเรานี้เป็นธรรมะ ต้องพิจารณา ตัวเรานี่ บางทีมันมีความสุข บางทีมันมีความทุกข์ บางทีสบาย บางที รำคาญ บางทีรักคนโน้น บางทีเกลียดคนนี้ นี่คือธรรมใช่ไหม ต้องอ่าน อารมณ์อันนี้ ให้รู้จักธรรมะ รู้จักอารมณ์นี้ ถึงจะปล่อยอารมณ์ได้ เห็น ว่าอารมณ์มันไม่แน่นอนแล้วอย่างนี้ มันก็สบาย เกิดนึกวูบขึ้นมา ฮือ อัน นี้มันก็ไม่แน่ สบาย


เหมือนโยมเห็นลิงอยู่บ้าน โยม แล้วมาเห็นลิงอยู่วัดถ้ำแสงเพชร ก็ตัวเดียวกัน โยมก็สบาย ไม่ต้อง สงสัยแล้ว ถ้ารู้จักอารมณ์แล้ว นั่นแหละคือรู้จักธรรมะ ปล่อย อารมณ์ เห็นอารมณ์มันไม่แน่นอนสักอย่าง โยมเคยดีใจมีไหม เคยเสียใจมี ไหม มี ตอบแทนก็ได้ แน่ไหม ไม่แน่ มันไม่แน่นอนอย่างนี้ เราจึงรู้สิ่ง ที่ว่า อันที่ ที่ว่ามันไม่แน่ นี่แหละ นี่คือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ คือธรรมะ ธรรมะก็คือสิ่งที่มันไม่แน่ ใครเห็นสิ่งที่ว่าไม่แน่ คนคนนั้น แหละเห็นมันแน่นอน ว่ามันเป็นอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเลย ทำไมมันอยู่ของ มันอย่างนั้น ธรรมะเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านก็เป็นอย่างนั้น

พระ พุทธเจ้าคือธรรมะ ธรรมะก็คือพระพุทธเจ้า ใครเห็นธรรม คือเห็นพระ พุทธเจ้า เห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะ ถ้าโยมรู้จักอนิจจังมันไม่แน่นอน เท่านั้นแหละ โยมก็จะปล่อยวางเอง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นมัน อันนี้แก้วของ ดิฉัน มันไม่แตก แก้วไม่แตกแล้วนี่ รักษาไว้นี่ อย่ามาทำแก้วฉันแตก ไม่ได้นะนี่ โยมจะไปห้ามของมันแตก ห้ามได้ไหมนี่ ไม่แตกเวลานี้ ต่อไป มันก็แตก เราไม่ทำแตก คนอื่นก็ทำแตก คนอื่นไม่ทำแตก ไก่มันก็ทำ แตก แก้วใบนี้


พระพุทธองค์ท่านให้ยอมรับ ใช้แก้วใบ นี้ อยู่ดีๆ ท่านมองเห็นทะลุเข้าไปแก้วใบนี้มันแตกแล้ว เห็นแก้วไม่แตก นี่ ท่านให้รู้แก้วใบนี้มันแตกแล้ว จับทุกที แก้วใบนี้มันแตกแล้ว ดื่ม น้ำเข้าไป วางไว้ ท่านก็บอกแก้วมันแตกแล้วใช่ไหม นี่ความเข้าใจของท่าน ว่าอย่างนั้น เห็นแก้วที่แตก อยู่ในแก้วใบมันไม่แตก ทำไมฉันจึงรู้จัก ว่าแก้วใบนี้มันแตก เพราะมันไม่แตก มันจึงรู้จักว่าแก้วแตก พอเมื่อไรมัน หมดแก้วมันไม่ดีเมื่อไร มันก็แตกออก ของมันก็แตกเท่านั้น ท่านทำความ รู้สึกอย่างนี้ เลยก็ใช้แก้วใบนี้ไป อีกวันหนึ่งมันก็คือแตกเป๊าะ สบาย เลย ทำไมสบาย เพราะฉันเห็นว่ามันแตก ก่อนแตกแล้วแน่ะเห็นไหม ถ้าโยม นี่ ฉันแพงมันเหลือเกิน อย่ามาทำให้มันแตก


อีกวัน หนึ่ง มีคนมาทำแก้วแตก ฉันจะฆ่ามันดีไหมนี่ นี่เอาสิ เกลียดมันเหลือ เกิน ทุกสิ่งทุกอย่างมันมาทำให้แตก เพราะเราไปทำนบไว้ไม่ให้น้ำมันไหลออก ไป กันไว้ที่เดียวนะ ไม่มีทางระบายน้ำ ฝายนี้มันก็แตกเท่านั้น แหละ ทำไม ต้องทำฝายเอาไว้ ทำระบายเอาไว้ พอน้ำแค่นี้ก็ระบายไป ข้าง นี้ มันมาเต็มที่ ให้มันออกไปทางนี้ ใช่ไหม ต้องมีทางระบาย อันนี้ก็ เห็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง มันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น ท่านก็เห็นว่ามัน ไม่เที่ยง อย่างโยมจะสงบ นี่คือปฏิบัติธรรมโดยส่วนรวม เป็นอย่างนี้


ฉะนั้น อาตมาจึงถือว่าการยืน เดิน นั่ง นอน อาตมาปฏิบัติไปเรื่อยๆ มีสติ คุ้ม ครองอยู่เสมอ นี่แหละสมาธิ คือสมาธิ ปัญญาคือสมาธิ สมาธิก็คือ ปัญญา พูดแล้วมันอันเดียวกัน มันเหมือนกัน แต่มันจะแยกโดยลักษณะเท่า นั้น มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ตกลงก็ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ถ้าเราเห็น อนิจจัง แปลว่ามันไม่แน่ เราเห็นชัดเข้าไปว่ามันไม่แน่ นั่นล่ะ คือเรา เห็นว่ามันแน่ แน่มันจะเป็นไปอย่างนี้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เข้าใจ ไหม เท่านี้ล่ะ เห็นล่ะ รู้จักพระพุทธเจ้า กราบพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ กราบธรรมะท่านแล้ว เอาหลักนี้ไปพิจารณา ถ้าโยมไม่ทิ้งพระพุทธเจ้า โยมไม่ ทุกข์หรอก ถ้าทิ้งพระพุทธเจ้า มันได้ทุกข์เลย ทิ้งอนิจจัง ทุก ขัง อนัตตา ไม่ได้ ทุกข์ให้เข้าใจอย่างนี้


ขนาดนี้ อาตมาว่า การปฏิบัติอย่างนี้ มันก็พอ ทุกข์ไม่เกิด หรือเกิดก็ดับมันได้ ง่ายๆ นี่ก็เป็นเหตุว่าทุกข์ไม่เกิด มันจบตรงนั้นแหละ ทุกข์ไม่ เกิด ทุกข์ไม่เกิดเพราะอะไร เพราะอะไร มันมี เพราะไประงับเหตุ คือตัว สมุทัย นี่ตัวสมุทัย นี่ มันจะแตก เมื่อมันแตกทุกข์ก็ขึ้นมาเลยไง เรา รู้แล้วว่าอันนี้มันเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ต้องพิจารณามันเสีย อันนี้มัน ไม่แน่หรอก มันไม่แน่ เป็นตัวสมุทัย เมื่อมันแตก เมื่อไร เป็นต้น ทำลาย เหตุเสีย ธรรมมันเกิดเพราะเหตุ ดับมันก็ดับเพราะเหตุอันนี้ ถ้ามันจะ ทุกข์ก็เพราะแก้วใบนี้มันแตก แล้วก็โมโหขึ้นมาเป็นทุกข์ แล้วก็บอกว่าแก้ว ใบนี้มันแตกแล้ว สมุทัยมันก็ดับ ไม่มี เมื่อมันแตกละก็ไม่ทุกข์นาน เรา เห็นมันแตกก่อนแล้ว นี่มันแตกทีหลัง มันก็เลยไม่แตก มันไม่มีทุกข์ ถ้า ไม่มีทุกข์ มันก็เป็นนิโรธดับทุกข์ พอดับเหตุแห่งทุกข์นั้น เรื่องเท่า นี้แหละโยม ไม่มากหรอก เรื่องเท่านี้จงพิจารณาเอาเถอะ


แต่ เรื่องส่วนสามของมันก็คือ กาย วาจา ใจ อย่าออกจากนี่ไปเลย พยายามอยู่ ตรงนี้ พิจารณาเข้าไป มันอยู่ตรงนี้ เริ่มจากจิตใจของ เรานี่ไป พูด ง่ายๆทุกๆคน ให้มีศีล ๕ เป็นพื้น นี่ไม่ต้องไปเรียนพระไตรปิฎก หรอก ศีล ๕ นี้มีกายกับใจนะ ดูศีล ๕ พยายามสม่ำเสมอ ครองไว้ ตอนแรกมัน พลาดไป ดึงกลับมาอย่างนี้ทุกครั้งทุกคราว ทุกครั้งทุกคราวละก็ สติเรามันก็ ถี่เข้า เหมือน น้ำ เหมือนน้ำในกาน้ำ เราปล่อยน้ำให้มันไหล ไป หยด ต๋อมๆๆ นี่สายน้ำมันขาด เราก็เร่งกานี้ขึ้นให้มาก น้ำมันก็ ไหล ต๋อมๆๆๆถี่ขึ้น เร่งเข้าไปอีก หายต๋อมเลยทีนี้ สายติดกันเป็นสายน้ำ เลย หยดแห่งน้ำไม่มี ไปไหน มันไม่ไปไหนหรอก มันกลายเป็นสายน้ำ มันถี่จน เกินถี่ มันเลยติดกันเสีย ใช่ไหม มันเลยเป็นสายน้ำอย่างนี้


ธรรมะ มีเรื่องเดียวอย่างนี้ เรื่องอุปมาให้ฟัง เพราะว่ามันไม่มีอะไรนี่ ธรรมะ มันเป็นสี มันเป็นเหลี่ยม เป็นชั้น ไม่รู้จัก นอกจากเปรียบเทียบอย่าง นี้ จะเข้าใจอันนี้ ก็เข้าใจธรรมะ มันเป็นเสียอย่างนี้ อย่าเข้าใจว่า ธรรมะมันห่างจากเรา อยู่กับเรา เป็นเรื่องของเรานี่แหละ ธรรมะ เนี่ย เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็พอใจบ้าง เดี๋ยวก็ไม่พอใจ บ้าง เดี๋ยวก็โกรธคนนี้บ้าง เดี๋ยวก็เกลียดคนนั้นบ้าง ธรรมะทั้งนั้นแหละ โยม


ให้ดูเจ้าของนี้ ว่าอะไรมันทำให้ทุกข์เกิดนั่น แหละ ทำให้มันทุกข์นั่นแหละ แก้ไขใหม่ แก้ไขใหม่ มันยังไม่เห็นชัด ถ้า มันชัดแล้ว มันไม่มีทุกข์ เหตุมันดับไว้แล้ว ฆ่าตัวสมุทัย เหตุทุกข์ เหตุไม่มี ทุกข์มันก็เกิดไม่ได้ ถ้าทุกข์มันยังเกิดอยู่ ถ้ายัง ไม่ รู้ มันยังทนทุกข์อยู่ อันนั้นมันไม่ถูก ดูเอาง่ายๆ อาตมาดูอย่าง นั้น มันจะผิดตรงไหน มันดูไม่ได้หรอกโยม เมื่อไรมันทุกข์เกินไป เกิด ขึ้นมานั้นแหละมันผิดแล้ว เมื่อไรมันสุขใจเกินไปนั้นแหละ มันผิดแล้ว มัน จะมาจากไหนมันก็ช่างมันเถอะ รวมมันเลยทีเดียวนั้นแหละมันผิด ค้นหา แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ โยมยังมีสติอยู่ การยืน การเดิน การนั่ง การ นอน ไปมาสารพัดอย่างนี้ ให้โยมมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ถ้าโยมรู้ อยู่ โยมจะต้องรู้ผิดรู้ถูก โยมจะต้องรู้จักดีใจ เสียใจ ทุกอย่างล้วน แต่รู้จัก เมื่อโยมรู้จัก โยมจะต้องรู้จักวิธีแก้ไข แก้ไขโดยที่ว่า ที่ ว่ามันไม่ให้มีทุกข์ เออ...นี่ ไม่ให้มันมีทุกข์


ถ้ามันมีสุขมีทุกข์มันเมา ปฏิบัติธรรมะนี่มันเมา ธรรมะนี่ก็เมานะโยมนะ ข้าว เหนียวข้าวเจ้านี่ก็เมาเหมือนกัน ไม่ต้องทำเป็นเหล้าเป็นสุราหรอก ทานมากๆ เข้าไปเถอะ เมาเหมือนกัน เมาข้าว มันเมาเหมือนกัน ธรรมะนี่ก็เหมือน กัน อย่าให้มันเมา เมาธรรมะนี่ไม่หยุดเหมือนกันนะ เมาธรรมะนี่พูดหลายไป เรื่อย เห็นใครมา อยากจับแขนมันมาเทศน์ให้ฟัง ก็มันเมานี่ นั่นคนเมา ธรรมะแล้วนี่ เอาทั้งนั้นแหละ ไอ้คนนั้นกูก็จะเอามัน คนนี้กูก็จะโปรด มัน เลยเทศน์โปรดไปทั่วบ้านทั่วเมืองเลยนี่ เมา เมาธรรมะไม่แปลกจากเมา เหล้าหรอก คล้ายๆกันนี้ เมาธรรมะนี่ อย่าเลย จะเป็นธรรมะอยู่ที่ว่ามัน เมา ไม่ถูก


นี่การเรียนสมาธิ อาตมาให้เรียนสมาธิแบบ นี้ ถึงเวลานั่งก็ให้นั่งไปพอสมควร ไม่ผิดเหมือนกัน ให้รู้เรื่องว่าการ สมาธิไม่ใช่แบบนั่งอันนี้อันเดียว ต้องปล่อยมันถ่ายทอด ประสบอะไร ต่างๆ รู้ขึ้นมาพิจารณา รู้ขึ้นมาพิจารณา พิจารณาให้มันรู้อะไร ล่ะ พิจารณาให้มันรู้ นี่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่แน่ เป็นของไม่แน่ ทั้งนั้นแหละโยม ไม่แน่ อันนี้มันสวยล่ะ อันนี้ฉันชอบเหลือเกิน ไม่ แน่ อันนี้ฉันไม่ชอบมันเลย บอกว่าอันนี้มันก็ไม่แน่อีกเหมือนกัน ใช่ ไหม ถูกเป๊ะเลยโยม ไม่มีผิดหรอก แต่โยมไม่เอาอย่างนั้นสิ ฉันเอาอย่าง นั้นมันแน่เหลือเกิน แน่ะไปเสียแล้ว นี่อย่างนั้น อย่า...มันจะชอบขนาด ไหนก็ช่างมัน ไม่ต้องขยับมัน บอกว่านี่มันไม่แน่

อาหารบางสิ่งบางอย่างทานแล้ว แหม นี่อร่อยเหลือเกิน แหม ฉันชอบมันเหลือ เกิน อย่างนี้มันมีความรู้สึกในใจอย่างนี้ เราก็ต้องท้วงเอาไว้ อันนี้ มันไม่แน่ อยากรู้จักมันไม่แน่ไหม โยมชอบอาหารอะไรที่ว่าแน่เหลือ เกิน เอามาทานทุกวันๆๆ ทุกวันนะ เดี๋ยวโยมก็บ่น นี่อันนั้นมันไม่อร่อย เสียแล้ว ไม่แน่ ลองดูสิ ต่อไปนี้ฉันชอบอีกอัน เอาทุกวันอีก ไม่แน่อีก แหละ นี่มันต้องการถ่ายทอดโยม เหมือนลมหายใจเข้าออก มันต้องหายใจ เข้า หายใจออก มันอยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ ทุกอย่างอยู่ด้วยการ เปลี่ยนแปลงอย่างนี้ นี่อยู่กับเราไม่ใช่อื่น ถ้าเราไม่สงสัยแล้ว นั่ง มันก็สบาย จะยืนมันก็สบาย ไม่ใช่ว่าสมาธิคือการนั่งหรอก บางคนก็นั่งจน ง่วงเหงาหาวนอนอยู่อย่างนั้น โอยจะตาย ไม่รู้จะไปทิศใต้ ทิศเหนือ ล่ะ อย่าไปทำขนาดนั้นสิ มันง่วงพอสมควรก็เดินสิ เปลี่ยนอิริยาบถสิ ให้ มันมีปัญญาสิ ถ้ามันง่วงเต็มที ก็ให้มันนอนเสีย รีบลุกเสีย อย่าปล่อยให้ มันเมาสิ


เราเป็นนักปฏิบัติจะต้องทำอย่างนั้น ให้มัน มีเหตุมีผล รู้ รู้รอบ ปัญญารวมความรู้รอบ รู้ไม่รอบไม่ได้ ไม่รู้ข้าง เดียวไม่ได้ ต้องรู้รอบอย่างนี้ เป็นวงกลมอย่างนี้แหละรู้รอบ มันจะมาท่า ไหนก็เอามัน อย่างที่เราอยู่อย่างนี้แหละ มันจะทำอย่างไรไหม เราก็ พิจารณา สังขารมันเป็นอย่างไร ก็เอาสิ ตกลงแล้ว มันจะเป็นเมื่อไรก็ เอา ยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกอยู่อย่างนั้น ความสังขารมันจะพรากเมื่อไร ก็เอาสิ นี่ ต้องตั้งอยู่อย่างนี้ ไม่ต้องร้องไห้มันหรอกโยม อย่างนี้ แหละ โยมจะมีความสงบ สุขก็ไม่เอานะโยม เดี๋ยวมันหายหรอก เอามันสงบ ไม่ ต้องสุขไม่ต้องทุกข์ คือความสงบ เดินไปตรงโน้น ให้มันหนักๆขึ้นไปอย่าง นั้น ให้รู้เรื่องของมัน


บทแรก ให้เรารู้ออกจากใจกับ กายของเรานี้ ให้เห็นเป็นอนิจจังว่ามันไม่แน่ทั้งกายและจิต ทุกสิ่ง ทุกอย่างก็เหมือนกันว่ามันไม่แน่ เก็บไว้ในใจ แม้ทานอาหารสิ่ง นี้ แหม มันอร่อยเหลือเกินนะ บอกว่ามันไม่แน่ ชกมันก่อน ก่อนที่จะ เป็นอย่างนี้ มันชอบใจอันนั้นต้องชกมันก่อน อันนี้ให้แต่เขาชกเรา ทุกทีๆ ถ้าไม่ชอบก็ไม่ชอบ ฉันไม่ชอบให้เขาทุกข์ ชกเขาทุกที ถ้าชอบฉันก็ ชอบนี่ เขาชกเราทุกที เราไม่ได้ชกเขาเลย ต้องเข้าใจอย่างนี้ เมื่อไรเรา ชอบอันใด บอกในใจเลย เออ อันนี้มันไม่แน่ อะไรเราชอบในใจก็บอกอันนี้มัน ไม่แน่ เอาล่ะทีนี้นะ ต้องทันเป็นทุกข์มันไว้เถอะ


เห็น ธรรมะ ต้องเห็นแน่นอน ต้องเป็นอย่างนี้ การปฏิบัติ การยืน การ เดิน การนั่ง การนอน โยมจะมีความโกรธได้ทุกกิริยาไหม เดินก็เกิด ได้ นั่งก็เกิดได้ นอนก็เกิดได้ อยากได้ทุกขณะ บางทีนอนอยู่นี่มันก็ อยาก วิ่งอยู่มันก็อยาก นั่งอยู่มันก็อยาก เราจึงปฏิบัติผ่านไปถึง อิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้สม่ำเสมอไม่มีหน้ามีหลังว่างั้น นะ แบบที่ว่าพูดไม่มีหน้ามีหลังนั่นแหละ เอากันอย่างนั้นแหละ มันถึงรู้ รอบอยู่อย่างนั้น จะไปนั่งให้มันสงบ มันไม่ได้ ในเรื่องนี้มันวิ่งเข้ามา อีกยังไม่จบเรื่อง เรื่องมันวิ่งเข้ามาอีก อย่างไรวิ่งเข้ามาอีก คัน เนื้อคันตัวโว้ย ไปแล้วนี่ มันวิ่งเข้ามา เราก็บอกว่า เออ...อันนี้มัน ไม่แน่ เรื่องอะไรก็ช่าง วิ่ง บอกเลยอันนี้มันไม่แน่ ชกมันก่อน เลย เรื่องอะไรก็ช่าง มันวิ่งมา เออ...อันนี้มันไม่แน่ ต้องชกมันอยู่ เรื่อย อันนี้เรียกว่ารู้จักจุดของมันสำคัญ

ถ้าโยม รู้จัก ว่าสิ่งทั้งหลายนี่มันไม่แน่ ไอ้ความคิดของโยม ที่มีในใจนี้ ค่อย คลี่คลายออกเพราะเราเห็นว่ามันแน่ มันก็หมั่นไส้เข้าไป เพราะเราเห็นว่า มันไม่แน่ เราผ่านมาแล้วละก็ เราเห็นมันหลายๆ อะไรๆก็อย่างนั้นแหละ วัน หลังก็พิจารณา ‘‘อย่างนั้นแหละ’’ อันนั้นก็ ‘‘อย่างนั้นแหละ’’ อันนั้น ก็ ‘‘อย่างนั้นแหละ’’ ภาวนาธรรม ‘‘อย่างนั้นแหละ’’ ถ้ามันเกิด ‘‘อย่าง นั้นแหละ’’ เตือนเราเท่านั้นก็พอกระมังโยม แล้วจะไปหาอะไร ไปค้นหาธรรม อะไร ตรงไหน จะต้องไปหาอ่านดูหนังสือธรรมะอะไร มันเกิดอยู่ตรงนี้นี่ จะ ไปหาโน่นมันจะเห็นหรือนี่ หาตรงนี้แหละ


วันนี้มัน ทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร เห็นอยู่นั่น เพราะแก้วฉันนี่มันแตก มันจะเกิด ทุกข์ขึ้นมาเดี๋ยวนี้ นี่ เห็นแล้วนี่ หรือมันเกิดทุกข์ขึ้นมา วันนี้ โอ้ เพราะแม่บ้านพูดไม่เข้าหูเลย นั่นเหตุมันอยู่ตรงนั้น มันไม่ แน่หรอก จะฆ่ามันไปเสียทุกอย่าง หยุดๆๆ มันไปอยู่อย่างนี้ เดินหน้ามันก็ หยุด ไอ้นี่เดินหลังเสียนี่ มันอยู่ที่เรา ไม่อยู่ที่อื่นหรอก


เวลา เรามีความรู้สึกเช่นนี้ เราจะเป็นคนสงบ ไปอยู่ที่ไหนๆมันก็สงบ แต่ว่าสงบ จริงๆมันก็ไม่เชิง โยมรู้จักน้ำ น้ำมันไหลไหม น้ำไหลโยมรู้จักไหม เคย รู้จักไหมน้ำมันไหล เคยรู้จักไหมน้ำนิ่ง เคยรู้จักไหม ถ้าใจเราสงบแล้วจะ เป็นคล้ายๆกับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม แน่ะ โยมเคยเห็นแต่ น้ำนิ่งกับน้ำไหลนี่ น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็นนี่ ตรงนั้นแหละ ตรงโยมยัง คิดไม่ถึงแหละ ว่ามันเฉย มันก็เกิดปัญญา เรียกว่าใจ ดูใจของโยมน่ะ มัน จะคล้ายน้ำ มันไหลแต่ว่ามันนิ่ง ดูมันนิ่ง ดูมันก็ไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง ปัญญาเกิดได้ ลองๆดูสิ


ที่มา... http://www.ruendham.com

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณลูกโป่ง :b8:
ธรรมะสวัสดีค่ะ :b51: :b53: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร