วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2021, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_mq05n7ZOBY1rgpyeqo1_250.gif
tumblr_mq05n7ZOBY1rgpyeqo1_250.gif [ 88.64 KiB | เปิดดู 830 ครั้ง ]
รูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่าเหตุทั่วไปแก่จิตอื่น เพราะเป็นเหตุเกิดของมโนวิญญาณ แต่จักษุเป็นเหตุ
เกิดของจักขุวิญญาณเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่กล่าวว่า เห็นรูปด้วยรูปารมณ์ เป็นต้น แต่กล่าวว่า เห็นรูปด้วยจักษุ
ทั้งนี้เพราะจักษุเป็นเหตุเฉพาะไม่ทั่วไป

โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต จิตก็เห็นรูปไม่ได้ เพราะไม่มีจักษุ
แต่เมื่อมีทวารกับอารมณ์กระทบกันบุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วย(จักขุวิญญาณ)จิตที่จักขุปสาทเป็นที่ตั้ง

ข้อความว่า "จักษุเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต" หมายความว่า ถ้าจักษุเห็นรูปได้ จักษุของคนตาย
ที่ไม่มีจิตก็ควรเห็นรูปได้ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจักษุไม่มีจิต คือ ไม่มีจิตที่เห็น และไม่ใช่จิตที่เห็น

ข้อความว่า"จิตก็เห็นรูปไม่ได้ เพราะไม่มีจักษุ" หมายความว่า ถ้าจิตไม่มีที่อาศัย คือจักษุ ก็เห็นรูปไม่ได้
เพราะต้องอาศัยจักษุแน่นอนจึงจะเห็นรูปได้ ข้อความว่า"เมื่อมีทวารกับอารมณ์กระทบกัน" หมายความว่า
เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏแก่จักขุทวาร

แต่คำเช่นนี้(ว่าเห็นรูปด้วยจักษุ) ชื่อว่า คำแสดงจิตพร้อมกับเหตุ(ของการเห็น)ดังคำว่า ธนุนา วิชฺฌติ(ยิงเป้าด้วยธนู) ดังนั้น จึงมีเนื้อความในคำนี้ดังนี้ว่า เห็นรูป เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ

การยิงเป้าสำเร็จได้ด้วยลูกธนู แต่กล่าวว่า ยิงเป้าด้วยธนู ฉันใด การเห็นรูปก็สำเร็จได้ด้วยจักขุวิญญาณ
แต่กล่าวว่า เห็นด้วยจักษุ ฉันนั้น การใช้คำในลักษณะนี้เป็นสำนวนทางภาษาที่เรียกว่า การณูปจาระ คือ
การกล่าวถึงเหตุ แต่มุ่งหมายถึงผลด้วย กล่าวคือ คำว่า จกฺขุนา กล่าวถึงจักษุอันเป็นเหตุ แต่เจตนาหมายถึง
จักขุวิญญาณที่เป็นผลอีกด้วย ดังคำว่า ธนุนา วิชฺฌติ (ยิง(เป้า)ด้วยธนู)แม้จะกล่าวถึงคันธนู
อันเป็นเหตุให้ใช้ลูกศรได้ ก็เจตนาหมายถึงลูกศรอันเป็นผล

อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นฐานูปจาระ คือ ความหมายแฝงที่ได้จากคำแสดง สถานที่ในภาษาบาลีมีการใช้
ภาษาอยู่ลักษณะหนึ่งที่ผู้พูดกล่าวถึงสถานที่ แต่โดยเจตนาหมายถึงผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น เช่น สพฺโพ คาโม อาคโต แปลตามศัพท์ว่า"บ้านทั้งหมดมา"ตามปกติแล้วบ้านจะมาไม่ได้ ความหมายที่จริงของประโยคนี้ก็คือ "ชาวบ้านทั้งหมดมา" ในภาษาไทยก็มีใช้คำลักษณะนี้เช่นกัน ด้วยตัวอย่าง"ศาลตัดสิน" คำว่าศาล เป็นสถานที่จะเป็นผู้ตัดสินไม่ได้ ผู้ตัดสินที่แท้จริง คือผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในศาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร