วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 12:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ
ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนพราหมณี ฉัน
ขอถามเจ้าหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึงเย็น
ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺโณ คืออาการ. เพราะพราหมณ์
เมื่อจะถามความที่ข้าวข้างบนร้อน และข้างล่างเย็น จึงกล่าว
อย่างนี้. บทว่า กึ เหฏฺฐา กิญฺจ อุปริ ความว่า แน่ะนางธรรมดา
ข้าวที่คดข้างบนควรจะเย็น ข้างล่างควรจะร้อน แต่นี่ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงถามเจ้าว่า เพราะเหตุไรข้าวข้างบน
จึงร้อน ข้างล่างจึงเย็น.

พราหมณีแม้เมื่อพราหมณ์ถามอยู่บ่อย ๆ ก็ยังนิ่งเฉย
เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำไว้จะเปิดเผยขึ้น. ในขณะนั้น บุตร
คนฟ้อนมีความคิดว่า บุรุษที่ถูกให้นั่งในยุ้งคงจะเป็นชายชู้
บุรุษผู้นี้คงเป็นเจ้าของบ้าน. ส่วนพราหมณีไม่พูดอะไร ๆ

เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำจะปรากฏ เอาเถิดเราจะประกาศ
กรรมของหญิงนี้ จักบอกถึงความที่ชายชู้ถูกซ่อนไว้ในยุ้งแก่
พราหมณ์. บุตรคนฟ้อนจึงบอกพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่พราหมณ์

ออกจากเรือนไป ชายชู้เข้าไปในเรือน ประพฤติล่วงเกินบริโภค
อาหารอย่างดี พราหมณียืนคอยดูทางที่ประตู จนถึงชายชู้ถูก
ให้ลงยุ้ง แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ
เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของพราหมณีนี้
ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้นคือ
ชายชู้ผู้นี้เอง.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อหํ นโฏสฺมิ ภทฺทนฺเต ความว่า
นาย ข้าพเจ้าเป็นนักฟ้อนเป็นคนกำพร้า. บทว่า ภิกฺขโกสฺมิ
อิธาคโต ความว่า ข้าพเจ้าเที่ยวขอมาถึงที่นี่. บทว่า อยํ หิ
โกฏฺฐโมติณฺโณ ความว่า ก็ชายชู้ของหญิงนี้กำลังบริโภคอาหาร
อยู่ ลงไปเพราะกลัวท่าน จึงลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง. บทว่า อยํ

โส คเวสติ ความว่า เขาผู้นั้นแหละคือผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ว่า ข้าว
เหลือเดนนี้เป็นของใครหนอ. ท่านจงจับมวยผมของชายชู้ผู้นั้น
แล้วโบยนำออกจากยุ้ง จงสั่งสอนเขาไม่ให้กระทำอย่างนี้อีก
พระโพธิสัตว์กล่าวแล้วก็หลีกไป. พราหมณ์ก็สั่งสอนคนทั้งสอง
ไม่ให้ทำความชั่วเช่นนี้อีกด้วยการขู่และตบตี เสร็จแล้วก็ไป
ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน
ตั้งอยู่ในโสดาบัน พราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้
พราหมณ์ได้เป็นภิกษุกระสัน ส่วนบุตรคนฟ้อนรำคือ เราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ลาภและสักการะได้เกิดขึ้นเป็น
อันมากแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ดังที่พระธรรม-
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขารทั้งหลาย

แม้ภิกษุสงฆ์ก็เหมือนอย่างนั้น แต่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลาย ไม่มีใครสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
ไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขาร
ทั้งหลาย. พวกปริพาชกเหล่านั้น เสื่อมจากลาภและสักการะ

อย่างนี้ จึงประชุมลับปรึกษากันทั้งกลางวันและกลางคืนว่า
ตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติมา พวกเราเสื่อมจากลาภและสักการะ
พระสมณโคดมกลับได้ลาภและยศอย่างเลิศลอย สมบัตินี้เกิด
แก่พระสมณโคดมด้วยเหตุไรหนอ. ในหมู่ปริพาชกเหล่านั้น

พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่ทำเลดีเป็นที่อุดม
สมบูรณ์ของชมพูทวีปทั้งสิ้น เหตุนั้นลาภสักการะจึงเกิดแก่
สมณโคดม. พวกที่เหลือกล่าวว่า นั่นก็มีเหตุผลอยู่ แม้พวกเรา
หากจะสร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังเชตวันมหาวิหาร ก็คงจัก
มีลาภอย่างนั้นบ้าง. พวกปริพาชกทั้งหมดลงความเห็นกันว่า

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เอาเป็นอย่างนั้น จึงตกลงกันต่อไปว่า ก็ถ้าพวกเราจักไม่กราบทูล
พระราชาเสียก่อนสร้างอาราม พวกภิกษุก็จะขัดขวางได้ ธรรมดา
ผู้ได้สินบนแล้วจะไม่เขวไม่มี เพราะฉะนั้น เราจักถวายของ
กำนัลแด่พระราชา แล้วจักขอรับเอาที่สร้างอาราม จึงขอร้อง

พวกอุปฐากทั้งหลายรวบรวมทรัพย์ได้แสนหนึ่ง ถวายแด่พระ-
ราชา แล้วกราบทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายจักสร้าง
อารามเดียรถีย์ที่หลังเชตวันมหาวิหาร หากพวกภิกษุจักมา
ถวายพระพรแด่พระองค์ว่า จักไม่ยอมให้ทำ ขอมหาบพิตร
อย่าเพิ่งให้คำตอบแก่ภิกษุเหล่านั้น.

พระราชาทรงรับคำเพราะความละโมภของกำนัล. พวก
เดียรถีย์ครั้นเกลี้ยกล่อมพระราชาแล้ว จึงเรียกช่างมาเริ่มการ
ก่อสร้าง. ได้มีเสียงเอ็ดอึงขึ้น. พระศาสดาจึงตรัสถามว่า อานนท์
นั่นอะไรกัน เสียงเอ็ดอึงอื้อฉาว. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ พวกเดียรถีย์ให้สร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังพระ-

วิหารเชตวัน จึงมีเสียงขึ้น ณ ที่นั้น พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน
อานนท์ ที่นั่นไม่สมควรแก่อารามเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ชอบ
เสียงเอ็ดอึง ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้
จึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
จงไปทูลพระราชาให้ทรงยับยั้งการสร้างอารามเดียรถีย์. ภิกษุ

สงฆ์ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาทรงสดับว่าสงฆ์
มา ทรงดำริว่า พวกภิกษุคงจะมาเรื่องอารามเดียรถีย์ เพราะ
พระองค์รับสินบนไว้ จึงให้ไปบอกว่า พระราชาไม่ประทับอยู่
ในวัง. ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสว่า พระราชาทรงทำอย่างนี้เพราะทรงรับสินบน จึงส่ง

พระอัครสาวกทั้งสองรูปไป. พระราชาทรงสดับว่า พระอัคร-
สาวกทั้งสองรูปมา จึงรับสั่งให้บอกไปเหมือนอย่างนั้น. พระ-
อัครสาวกทั้งสองมากราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร คราวนี้พระราชาจักไม่ได้ประทับนั่งในพระ-

ราชมณเฑียร จักเสด็จออกข้างนอก รุ่งขึ้นในเวลาเช้าพระองค์
ทรงนุ่งถือบาตรจีวรเสด็จไปยังประตูพระราชวังกับภิกษุ ๕๐๐

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
รูป. พระราชาพอได้ทรงสดับเท่านั้นก็เสด็จลงจากปราสาท
รับบาตรนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไป แล้วทรงถวายข้าวยาคู
และภัตร ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนา โดยปริยายข้อหนึ่งมาแสดง

แก่พระราชาแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระราชาแต่ครั้งก่อนก็
รับสินบนแล้วทำให้ผู้มีศีลทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ไม่เป็น
เจ้าของแห่งแคว้นของตนได้ถึงความพินาศใหญ่หลวง พระราชา
กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลมีพระราชาพระนามว่า ภรุราช เสวยราช-
สมบัติอยู่ในแคว้นภรุ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบส เป็น
ครูประจำคณะ ได้อภิญญาห้าและสมาบัติแปด อยู่ในหิมวันต-
ประเทศมาช้านาน จึงแวดล้อมไปด้วยดาบส ๕๐๐ ลงจาก
หิมวันตประเทศ เพื่อต้องการอาหารรสเค็มและเปรี้ยว ได้ไป

ถึงภรุนครโดยลำดับ ออกบิณฑบาต ณ เมืองนั้น แล้วออกจาก
นครนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อย ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยสาขา และค่าคบ
ทางประตูด้านเหนือ กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว อาศัยอยู่ ณ โคน
ต้นไม้นั่นเอง. เมื่อคณะฤๅษีนั้นอยู่ ณ ที่นั้นล่วงไปครึ่งเดือน
ครูประจำคณะอื่นมีบริวาร ๕๐๐ มาเที่ยวขอภิกษาในนครนั้น

ครั้นออกจากนครแล้วนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อยเช่นเดียวกันทาง
ประตูทิศใต้ กระทำภัตรกิจแล้วอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นเอง. คณะ
ฤๅษีทั้งสองเหล่านั้น พักอยู่ตามพอใจ ณ ที่นั้นแล้วก็กลับสู่
หิมวันตประเทศตามเดิม. เมื่อคณะฤๅษีเหล่านั้นไปแล้ว ต้นไทร
ทางประตูทิศใต้ก็แห้งโกร๋น เมื่อคณะฤาษีเหล่านั้นมาอีกครั้ง

หนึ่ง คณะที่อยู่ต้นไทรทางทิศใต้มาถึงก่อนรู้ว่าต้นไม้ของตน
แห้งโกร๋น เที่ยวขอภิกษาออกจากนครไปโคนต้นไม้ทางทิศอุดร
กระทำภัตรกิจเสร็จแล้ว ก็พักอยู่ ณ ที่นั้นเอง. ส่วนฤๅษีอีก

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกหนึ่งมาถึงทีหลัง เที่ยวภิกขาจารในนครแล้วไปยังโคนต้นไม้
เดิมของตน กระทำภัตกิจแล้วก็พักผ่อน. พวกฤๅษีทั้งสองคณะ
ก็ทะเลาะกันเพราะต้นไม้ว่า ต้นไม้ของเรา ต้นไม้ของเรา เลย
เกิดทะเลาะกันใหญ่. ฤๅษีพวกหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจะเอา
ที่ที่เราอยู่มาก่อนไม่ได้. พวกหนึ่งกล่าวว่า พวกเรามาถึงที่นี่

ก่อน พวกท่านจะเอาไม่ได้. พวกฤๅษีเหล่านั้นต่างทุ่มเถียงกัน
ว่า เราเป็นเจ้าของ เราเป็นเจ้าของ ดังนี้แล้วพากันไปราชตระกูล
เพื่อต้องการโคนต้นไม้. พระราชาทรงตัดสินให้คณะฤๅษีที่มา
อยู่ก่อนเป็นเจ้าของ. ส่วนฤๅษีอีกพวกหนึ่งคิดว่า พวกเราจะ

ไม่ยอมให้ใครว่าตนว่า ถูกพวกฤๅษีพวกนี้ให้แพ้ได้ จึงตรวจดู
ด้วยทิพยจักษุ เห็นเรือนรกหลังหนึ่งสำหรับพระเจ้าจักรพรรดิ์
ทรงใช้สอย จึงนำมาถวายเป็นสินบนแด่พระราชา พากันถวาย
พระพรว่า มหาบพิตร ขอพระองค์จงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้า
ของ พระราชาทรงรับสินบนแล้ว ทรงตัดสินให้ฤๅษีทั้งสองคณะ

เป็นเจ้าของว่า จงอยู่กันทั้งสองคณะเถิด. ฤๅษีอีกฝ่ายหนึ่งนำ
ล้อแก้วของเรือนรกนั้นมาถวายเป็นสินบน แล้วทูลว่า มหาบพิตร
ขอพระองค์ทรงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้าของเถิด. พระราชา
ได้ทรงทำตามนั้น. คณะฤๅษีมีความร้อนใจว่า พวกเราละวัตถุ

กามและกิเลสกามออกบวช จะทะเลาะติดสินบนเพราะโคนต้นไม้
เป็นเหตุ เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงรีบหนีออกไปสู่หิมวันต-
ประเทศตามเดิม. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ แคว้นภรุรัฐทั้งสิ้น
ต่างร่วมกันพิโรธพระเจ้าภรุราชว่า พระราชาทำให้ผู้มีศีล

ทะเลาะกัน เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงบันดาลให้แคว้นภรุรัฐ
อันกว้างใหญ่ ๓๐๐ โยชน์กลายเป็นสมุทรไป ก่อให้เกิดความ
พินาศ. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นถึงความพินาศ เพราะอาศัยพระเจ้า-
ภรุราชพระองค์เดียว ด้วยประการฉะนี้.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มา พระองค์ตรัสรู้แล้ว
ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐได้ทรง
ประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบ
ความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.
เพราะฉะนั้นแล ปัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่
สรรเสริญการลุอำนาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควร
มีจิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ความว่า เปิดช่อง
ให้ด้วยอำนาจฉันทาคติ. บทว่า ภรุราชา คือพระราชาแคว้นภรุ.
บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้สดับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว.
บทว่า ตสฺมา หิ ฉนฺทาคมํ ความว่า เพราะพระเจ้าภรุราชทรง
ถึงฉันทาคติ จึงวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลาย

จึงไม่สรรเสริญการถึงฉันทาคติ. บทว่า อทุฏฺฐจิตฺโต ความว่า
บุคคลไม่ควรมีจิตคิดร้ายด้วยกิเลส ควรกล่าวคำจริง. บทว่า
สจฺจูปสญฺหิตํ ความว่า ควรกล่าวคำที่อิงสภาพ คือ อิงเหตุ อิงผล
เท่านั้น. ในชนเหล่านั้น พวกใดกล่าวคำจริง คัดค้านว่า ที่

พระเจ้าภรุราช ทรงรับสินบนนี้เป็นการทำที่ไม่สมควร ที่สำหรับ
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ ได้ปรากฏขึ้นเป็นเกาะพันหนึ่ง ในนาลิเกร-
ทวีป จนทุกวันนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
มหาบพิตรไม่ควรเป็นผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติ ไม่ควรทำให้
บรรพชิตทั้งสองคณะทะเลาะกัน แล้วทรงประชุมชาดก. เรา
ตถาคตได้เป็นหัวหน้าคณะฤๅษีสมัยนั้น. พระราชา ในเวลาที่

พระตถาคตเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วเสด็จกลับไป ได้ส่งพวก
ราชบุรุษให้ไปรื้ออารามเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ก็ตั้งไม่ติด
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภรุราชชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า ปุณฺณํ นทึ ดังนี้.

ความย่อมีว่าในวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากัน
ปรารภพระปัญญาของพระตถาคต ในโรงธรรมว่า อาวุโส
ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระปัญญามาก มีพระปัญญา
ลึกซึ้ง มีพระปัญญาแจ่มใส มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญา
แหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงประกอบด้วยพระปัญญา

เฉลียวฉลาด. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนตถาคตก็มีปัญญาฉลาดในอุบายเหมือน
กัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลปุโรหิต ครั้นเจริญ
วัย เรียนศิลปะสำเร็จทุกอย่าง ในเมืองตักกสิลา เมื่อบิดาล่วง
ลับไปแล้ว ได้ตำแหน่งปุโรหิต เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของ

พระเจ้าพาราณสี. ครั้นต่อมา พระราชาทรงเชื่อคำของผู้ยุแหย่
ทรงพิโรธขับพระโพธิสัตว์ออกจากกรุงพาราณสี ด้วยพระดำรัส
ว่า เจ้าอย่าอยู่ในราชสำนักของเราเลย. พระโพธิสัตว์พาบุตร
ภรรยาไปอาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง. ต่อมา พระ-

ราชาทรงระลึกถึงคุณของพระโพธิสัตว์ ทรงดำริว่า การที่เรา
จะส่งใคร ๆ ไปเรียกอาจารย์ไม่สมควร แต่เราจะผูกคาถาหนึ่ง
คาถา เขียนหนังสือ ให้ต้มเนื้อกา แล้วห่อหนังสือและเนื้อด้วย
ผ้าขาวประทับตราส่งไปให้ ผิว่า ปุโรหิตเป็นคนฉลาด อ่าน
หนังสือแล้วรู้ว่าเนื้อกาก็จักกลับมา ถ้าไม่รู้ก็จักไม่มา. ทรง
เขียนคาถานี้เริ่มต้นว่า ปุณฺณํ นทึ ลงในใบลานว่า :-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ชนทั้งหลายพูดถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วว่า การ
ดื่มกินได้ก็ดี พูดถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่า กาซ่อน
อยู่ได้ก็ดี พูดถึงคนที่รักกันไปสู่ที่ไกลว่า จะกลับ
มาถึงเพราะกาบอกข่าวก็ดี กานั้นเรานำมาให้
ท่านแล้ว ขอเชิญบริโภคเนื้อกานั้นเถิด ท่าน
พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณํ นทึ เยน จ เปยฺยมาหุ ความ
ว่าชนทั้งหลายกล่าวว่าแม่น้ำที่กาดื่มได้ ได้กล่าวถึงแม่น้ำที่เต็ม
แล้วกาดื่มได้ เพราะแม่น้ำที่ไม่เต็มไม่เรียกว่า กาดื่มได้. เมื่อใด
กายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสามารถยืดคอลงไปดื่มได้ เมื่อนั้น ท่าน
กล่าวแม่น้ำนั้นว่า กาดื่มได้. คำว่า ยวํ ในบทว่า ชาตํ ยวํ เยว

จ คุยฺหมาหุ เป็นเพียงเทศนา แต่ในที่นี้หมายเอาข้าวกล้าอ่อน
ที่เกิดงอกงามสมบูรณ์ทุกชนิด. ด้วยว่า ข้าวกล้านั้นเมื่อใดสามารถ
ปกปิดกาที่เข้าไปภายในได้ เมื่อนั้นชื่อว่า กาซ่อนอยู่ได้. บทว่า
ทูรํ คตํ เยน จ อวฺหยํ ความว่า บุคคลเป็นที่รักจากไปไกลนาน ๆ

ย่อมพูดถึงกัน เพราะได้เห็นกามาจับหรือได้ยินเสียงกาส่งข่าว
ว่า กากา พูดกันอย่างนี้ว่า บุคคลชื่อนี้คงจักมา เพราะกาส่งข่าว.
บทว่า โส ตฺยาภโต ความว่า เนื้อนั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว. บทว่า
หนฺท จ ภุญฺช พฺราหฺมณ ความว่า เชิญท่านพราหมณ์รับไป
บริโภคเถิด คือ บริโภคเนื้อกานี้.

พระราชาทรงเขียนคาถานี้ลงในใบลานแล้ว ทรงส่งไป
ให้พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์อ่านหนังสือแล้ว ก็ทราบว่า
พระราชาทรงต้องการพบเรา จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
คราวใดพระราชาทรงระลึกถึงเรา เพื่อ
จะส่งเนื้อกาให้เรา คราวนั้นเนื้อหงส์ก็ดี เนื้อนก
กะเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี เป็นของที่เรานำไป
ถวายแล้ว การไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความ
เลวทราม.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต มํ สรตี ราชา วายสมฺปิ ปหาตเว
ความว่า คราวใดพระราชาทรงได้เนื้อกามาย่อมระลึกถึงเรา
เพื่อจะส่งเนื้อกานั้นมาให้. บทว่า หํสา โกญฺจา มยุรา จ ความว่า
แต่คราวใด เขานำเนื้อหงส์เป็นต้นมาถวาย พระองค์ได้เนื้อหงส์
เป็นต้นเหล่านั้น คราวนั้นไฉนพระองค์จึงไม่ระลึกถึงเรา. บทว่า

อสติเยว ปาปิยา ความว่าการได้เนื้ออะไรก็ตาม แล้วระลึกถึง
เป็นความดี แต่ไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความลามกในโลก เหตุ
แห่งการไม่ระลึกถึงเสียเลยเป็นความเลวทราม แต่เหตุนั้นมิได้
มีแด่พระราชาของเรา พระราชายังทรงระลึกถึงเรา ทรงหวัง
การกลับของเรา เพราะฉะนั้นเราจะไป.

พระโพธิสัตว์ได้เทียมยานไปเฝ้าพระราชา พระราชา
พอพระทัย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตตามเดิม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนปุโรหิต
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาปุณณนทีชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อวธิ วต อตฺตานํ ดังนี้. เรื่องราว จักมีแจ้งในมหาตักการิชาดก.
ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โกกาลิกะมิใช่ฆ่าตัวเองด้วยวาจาในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน
ก็ฆ่าตัวตายด้วยวาจาเหมือนกัน จึงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ
วัย ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระองค์. แต่พระราชา
พระองค์ช่างพูด. เมื่อพระองค์ตรัสคนอื่นไม่มีโอกาสพูดได้เลย.
พระโพธิสัตว์ประสงค์จะปรามความพูดมากของพระองค์ จึงคิด
ตรองหาอุบายสักอย่างหนึ่ง. ก็ในกาลนั้นมีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่

ที่สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. มีลูกหงส์สองตัวหากิน จน
สนิทสนมกับเต่า. ลูกหงส์สองตัวนั้นครั้นสนิทสนมแน่นแฟ้น วัน
หนึ่งจึงพูดกับเต่าว่า เต่าสหายรัก ที่อยู่ในถ้ำทองที่พื้นภูเขา
จิตรกูฏ ในป่าหิมพานต์ของพวกเรา เป็นประเทศน่ารื่นรมย์
ท่านจะไปกับเราไหม. เต่าถามว่า เราจะไปได้อย่างไรเล่า.

ลูกหงส์กล่าวว่า เราจักพาท่านไป หากท่านรักษาปากไว้ได้
ท่านจะไม่พูดอะไรกะใคร ๆ เลย. เต่าตอบว่า ได้ พวกท่านพาเรา
ไปเถิด. ลูกหงส์ทั้งสองจึงให้เต่าคาบไม้อันหนึ่ง ตนเองคาบปลาย
ไม้ทั้งสองข้างบินไปในอากาศ. พวกเด็กชาวบ้านเห็นหงส์นำเต่า

ไปดังนั้น จึงตะโกนขึ้นว่า หงส์สองตัวนำเต่าไปด้วยท่อนไม้.
เต่าอยากจะพูดว่า ถึงสหายของเราจะพาเราไป เจ้าเด็กถ่อย

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มันกงการอะไรของเจ้าเล่า จึงปล่อยท่อนไม้จากที่ที่คาบไว้ ใน
เวลาที่ถึงเบื้องบนพระราชนิเวศน์ในนครพาราณสี เพราะหงส์
พาไปเร็วมาก จึงตกในอากาศแตกเป็นสองเสี่ยง. ได้เกิดเอะอะ
อึงคะนึงกันว่า เต่าตกจากอากาศแตกสองเสี่ยง.

พระราชาทรงพาพระโพธิสัตว์ไป มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
เสด็จไปถึงที่นั้น ทอดพระเนตรเห็นเต่า จึงตรัสถามพระโพธิสัตว์
ว่า ดูก่อนท่านบัณฑิต ทำอย่างไรจึงได้ตกมา. พระโพธิสัตว์คิด
ว่า เราคอยมานานแล้ว ใคร่จะถวายโอวาทพระราชา เที่ยวตรอง

หาอุบายอยู่ เต่าตัวนี้คงจะคุ้นเคยกับหงส์เหล่านั้น พวกหงส์จึง
ให้คาบไม้ไปด้วยหวังว่า จะนำไปป่าหิมพานต์ จึงบินไปในอากาศ
ครั้นแล้วเต่าตัวนี้ได้ยินคำของใคร ๆ อยากจะพูดตอบบ้าง เพราะ
ตนไม่รักษาปาก จึงปล่อยท่อนไม้เสีย ตกจากอากาศถึงแก่

ความตาย จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาคนปากกล้า
พูดไม่รู้จบ ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้แหละ พระเจ้าข้า แล้วได้
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้ว
หนอ เมื่อตนคาบท่อนไม้ไว้ดีแล้ว ก็ฆ่าตนเสีย
ด้วยวาจาของตนเอง. ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ในหมู่นรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุอันนี้
แล้ว ควรเปล่งแต่วาจาที่ดี ไม่ควรเปล่งวาจานั้น
ให้ล่วงเวลาไป ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตร
เต่าผู้ถึงความพินาศเพราะพูดมาก.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อวธิ วต ได้แก่ ได้ฆ่าแล้วหนอ.
บทว่า ปพฺยาหรํ ได้แก่ อ้าปากจะพูด. บทว่า สุคฺคหิตสฺมึ
กฏฺฐสฺมึ ความว่า เมื่อท่อนไม้อันตนคาบไว้ดีแล้ว. บทว่า วาจาย
สกิยา วธิ ความว่า เต่าเมื่อเปล่งวาจาในเวลาไม่ควร เพราะ
ความที่ตนปากกล้าเกินไป จึงปล่อยที่ที่คาบไว้แล้ว ฆ่าตนเอง

ด้วยวาจาของตนนั้น. เต่าได้ถึงแก่ความตายอย่างนี้แหละ มิใช่
อย่างอื่น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา คือเห็นเหตุนี้แหละ. บทว่า
นรวีรเสฏฺฐ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ มีความเพียรสูง
เป็นพระราชาผู้ประเสริฐด้วยความเพียรในนรชนทั้งหลาย.
บทว่า วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต

พึงเปล่งวาจาที่เป็นกุศลอย่างเดียว ประกอบด้วยสัจจะเป็นต้น
คือพึงกล่าววาจาที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยกาล ไม่พึงกล่าว
วาจาเกินเวลา เกินกาลไม่รู้จักจบ. บทว่า ปสฺสสิ ความว่า
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นประจักษ์แล้วมิใช่หรือ. บทว่า
พหุภาณเนน แปลว่า เพราะพูดมาก. บทว่า กจฺฉปํ พฺยสนํ คตํ
คือ เต่าถึงแก่ความตายอย่างนี้.

พระราชาทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์กล่าวหมายถึง
พระองค์ จึงตรัสว่า ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ท่านบัณฑิต.
พระโพธิสัตว์กราบทูลให้ชัดเจนว่า ข้าแต่มหาราช ไม่ว่าจะเป็น
พระองค์หรือใคร ๆ อื่น เมื่อพูดเกินประมาณย่อมถึงความพินาศ
อย่างนี้. พระราชาตั้งแต่นั้นมาก็ทรงงดเว้นตรัสแต่น้อย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก เต่าในครั้งนั้นได้เป็นโกกาลิกะในครั้งนี้ ลูกหงส์สองตัว
ได้เป็นพระมหาเถระสองรูป พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วน
อำมาตย์บัณฑิตได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า น มายมคฺคิ ตปติ ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า ภรรยาเก่า
พระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงนี้ทำความเสื่อมเสียให้แก่เธอ แม้เมื่อก่อนเธออาศัยหญิงนี้

ถึงกับถูกเสียบด้วยหลาวย่างในถ่านเพลิง ถูกกินเนื้อ ได้อาศัย
บัณฑิตจึงรอดชีวิตมาได้ แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระราชา. อยู่
มาวันหนึ่งชาวประมงยกปลาที่ติดตาข่ายตัวหนึ่ง วางไว้หลังหาด
ทรายอันร้อน เสี้ยมหลาวด้วยคิดว่าจะปิ้งปลานั้นที่ถ่านเพลิง
แล้วเคี้ยวกิน. ปลาร้องรำพันถึงนางปลา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ไฟนี้ก็ไม่เผาเราให้เร่าร้อน แม้หลาวที่
พรานแหเสี้ยมเป็นอย่างดีแล้วก็ไม่ยังความทุกข์
ให้เกิดขึ้นแก่เรา แต่การที่นางปลาเข้าใจว่า เรา
ไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี อันนี้จะเผา
เราให้เร่าร้อน. ไฟคือราคะนั้นแล ย่อมเผาเรา
ให้เร่าร้อน พรานแหทั้งหลาย ขอได้ปล่อยเราเถิด
สัตว์ผู้ตกยากอยู่ในกาม ท่านไม่ควรฆ่า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2018, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า น มายมคฺคิ ความว่า ไฟนี้ย่อมไม่
เผาเรา คือไม่ทำให้เราเร่าร้อน ไม่ทำให้เราเศร้าโศก. บทว่า
น สูโล คือ แม้หลาวนี้พรานแหเสี้ยมไว้อย่างดีก็ไม่เผาเรา คือ
ไม่ยังความโศกให้เกิดแก่เรา. บทว่า ยญฺจ มํ มญฺญเต มจฺฉี
ความว่า แต่นางปลาเข้าใจเราอย่างนี้ว่า เราไปหานางปลาอื่น

้ด้วยความยินดีในกามคุณห้า นั่นแหละทำให้เราเร่าร้อน ทำให้เรา
เศร้าโศก เผาเรา. บทว่า โส มํ ทหติ ความว่า ไฟคือราคะนั้น
ย่อมเผาเรา. บทว่า จิตฺตญฺจูปตเปติ มํ ความว่า จิตของเรา
ประกอบด้วยราคะ ทำให้เราเร่าร้อน ลำบาก. บทว่า ชาลิโน

เรียกชาวประมง. ด้วยว่าชาวประมงเหล่านั้น ท่านเรียกว่า
ชาลิโน เพราะมีตาข่าย. บทว่า มุญฺจถยิรา ได้แก่ ปลาอ้อนวอน
ว่า ข้าแต่นาย โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด. บทว่า น กาเม หญฺญเต
กฺวจิ ความว่า สัตว์ที่ตั้งอยู่ในกาม ถูกกามชักนำไป ไม่ควรฆ่า

โดยแท้. ปลารำพันว่า คนเช่นท่านไม่ควรฆ่าปลานั้นเลย. อนึ่ง
ปลาผู้ติดตามหานางปลา เพราะเหตุกาม คนเช่นท่านควรฆ่า
โดยแท้.

ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ไปถึงฝั่ง ได้ยินปลานี้รำพัน จึง
เข้าไปหาชาวประมงให้ปล่อยปลานั้นไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภรรยาเก่า
ในครั้งนี้ ภิกษุกระสันได้เป็นปลา ส่วนปุโรหิต คือ เราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร