วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
นางถามว่า ทำไมคุณนายพูดอย่างนี้เล่า ?
มาณวิกา เพราะฉันเห็นของเหล่านี้มากมาย
นางกล่าวว่า พราหมณ์ไม่ได้ให้เงินค่าของมากขึ้นเลย
แต่ของนี้ ฉันนำมาจากสำนักลูกของฉัน.

นับแต่นั้นมา นางริบเอาค่าของที่พราหมณ์ให้เสียเอง
แล้วก็ไปรับเอาเครื่องหอม และดอกไม้เป็นต้น มาจากสำนัก
ของนักเลงคนนั้นเรื่อยมา. ล่วงมาสองสามวัน นักเลงก็ทำลวงว่า
เป็นไข้นอนเสีย. นางไปที่ประตูร้านของเขา ไม่เห็นก็ถามว่า

ลูกของเราไปไหน ? คนในร้านบอกว่าลูกชายของท่าน ไม่
สบาย. นางไปถึงที่นอนของเขา แล้วนั่งลูบหลัง ถามว่า ลูกเอ๋ย
ไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ ? เขานิ่งเสีย นางก็ถามว่า ทำไมไม่
พูดเล่า ลูกเอ๋ย. นักเลงพูดว่า แม่จ๋า ถึงฉันจะตายก็ไม่สามารถ
จะบอกแม่ได้. นางจึงกล่าวว่า เจ้าไม่บอกแม่แล้ว จะควรบอก

ใครเล่า บอกเถิดพ่อคุณ นักเลงจึงบอกว่า แม่จ๋า ฉันไม่ป่วยไข้
้เป็นอะไรหรอก แต่ฉันได้ยินคำสรรเสริญนางมาณวิกาแล้ว ก็
มีจิตผูกพันมั่นคง เมื่อฉันได้นางจึงจะมีชีวิตสืบไป เมื่อไม่ได้
จักยอมตายที่นี่แหละ. นางกล่าวว่า พ่อคุณ เรื่องนี้เป็นภาระของ
แม่เอง ลูกอย่าเสียใจเพราะเรื่องนี้เลย ปลอบเอาใจเขาแล้ว

ก็ขนของหอมและดอกไม้ไปมากมาย มาถึงสำนักมาณวิกา ก็
กล่าวว่าคุณนายเจ้าขา ลูกดิฉันได้ยินคำสรรเสริญคุณนาย
จากสำนักของฉันแล้ว มีจิตผูกพันมั่นคง ทำอย่างไรกันดีเล่า ?

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
มาณวิกาตอบว่า ถ้าแม่พาเขามาได้ ฉันจะให้โอกาสเหมือนกัน.
นางฟังคำของมาณวิกาแล้ว แต่บัดนั้นมา ก็กวาดขยะเป็นอันมาก
จากทุกซอกทุกมุมของเรือน เทรดหัวหญิงที่เป็นยาม.หญิงท
ี่เป็นยามอึดอัดใจด้วยเรื่องนั้น ก็ออกไป. โดยทำนองเดียวกัน
นี้แหละ หญิงที่เป็นยามคนไหน พูดอะไร ๆ นางจะทิ้งขยะรดหัว
หญิงยามนั้น ๆ ตั้งแต่นั้น นางจะนำสิ่งใดเข้ามา หรือนำออกไป
ก็ไม่มีใครกล้าตรวจค้นสิ่งนั้น.

ได้เวลา นางให้นักเลงนั้นนอนในตะกร้าดอกไม้ แบกไป
สู่สำนักมาณวิกา. นักเลงทำลายศีลของมาณวิกาเสียแล้ว ได้อยู่
ในปราสาทนั้นเอง สอง-สามวัน. เมื่อท่านปุโรหิตออกไปข้างนอก
แล้ว ทั้งสองคนก็ร่วมอภิรมย์กัน. เมื่อปุโรหิตมา นักเลงก็ซ่อน

เสีย. ครั้นล่วงมาได้วัน-สองวันมาณวิกาก็พูดกะนักเลงว่า
ที่รัก บัดนี้ ท่านควรจะไปเสียที. นักเลงก็กล่าวว่า ฉันจะตี (หัว)
พราหมณ์ให้ได้เสียก่อนถึงจะไป. มาณวิกากล่าวว่า อย่างนั้นก็ได้
แล้วให้นักเลงซ่อนตัวเสียเมื่อพราหมณ์มา ก็พูดอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าขา ดิฉันอยากจะฟ้อนในเมื่อท่านบรรเลงพิณ. พราหมณ์
รับคำว่า เจ้าจงฟ้อนเถิด นางผู้เจริญ แล้วก็บรรเลงพิณ. นาง-
มาณวิกา กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉันละอายในเมื่อท่านจ้องดู
ดิฉันขอปิดหน้าท่านเสียก่อนถึงจะฟ้อน. ปุโรหิตกล่าวว่า ถ้าเจ้า

ละอายก็จงกระทำอย่างนั้นเถิด. มาณวิกาหยิบผ้าเนื้อหนาปิดตา
ท่านปุโรหิต แล้วผูกหน้าจนมิด พราหมณ์ยอมให้ปิดหน้า บรรเลง
พิณไปเรื่อย ๆ นางฟ้อนได้สักครู่ ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉัน
อยากจะเคาะศีรษะท่านสักครั้งหนึ่งน๊ะเจ้าค๊ะ. พราหมณ์ผู้

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
หลงไหลในสัตรี ไม่รู้เหตุการณ์อะไร ก็กล่าวว่าเคาะเถิด.
มาณวิกา ให้สัญญาแก่นักเลง. เขาย่องเข้ามาใกล้ ๆ ยืนอยู่
หลังพราหมณ์ทีเดียว แล้วถองศีรษะด้วยศอก. นัยน์ตาของ
พราหมณ์ถึงกับถลน. หัวโนขึ้น พราหมณ์เจ็บปวดรวดร้าว
กล่าวว่า เจ้าจงส่งมือมานี่. มาณวิกาส่งมือของตนวางไว้บนมือ

พราหมณ์. พราหมณ์กล่าวว่า มือนิ่ม ๆแต่เขกแข็ง. นักเลง
ครั้นเขกหัวพราหมณ์แล้วก็ซ่อนตัวเสีย. มาณวิกาเมื่อนักเลง
ไปซ่อน ก็เปลื้องผ้าออกจากหน้าพราหมณ์ หยิบน้ำมันมาทา
นวดศีรษะให้ เมื่อพราหมณ์ออกไปข้างนอกแล้ว หญิงบำเรอให้
นักเลงนอนในตะกร้าดังเก่า พาออกไป. นักเลงจึงไปเฝ้าพระราชา
กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ.

พระราชา ตรัสแก่พราหมณ์ผู้มาเฝ้าพระองค์ว่า เราเล่น
สกาพนันกันเถิด ท่านพราหมณ์.ท่านปุโรหิตรับสนองพระ-
ดำรัสว่า ดีละ พระเจ้าข้า. พระราชาโปรดให้จัดตั้งวงเพื่อเล่นสกา
ทรงขับเพลงการพนัน แล้วทรงทอดลูกบาศก์ พราหมณ์ไม่รู้เรื่อง

ที่มาณวิกาถูกทำลายตบะเสียแล้วคงกล่าวว่า ยกเว้นมาณวิกา
แม้จะกล่าวอย่างนี้ ก็ต้องแพ้อยู่นั่นเอง. พระราชาทรงชนะแล้ว
ตรัสว่าพราหมณ์ท่านกล่าวอะไร ? ตบะแห่งมาณวิกาของท่าน
ถูกทำลายแล้ว ท่านอุตส่าห์รักษามาตุคามตั้งแต่อยู่ในครรภ์

กระทำการป้องกันในที่ถึง ๗ แห่ง สำคัญว่า เราจักรักษาได้
ขึ้นชื่อว่ามาตุคามแม้บุรุษจะเอาใส่ไว้ในท้องเที่ยวไป ก็ไม่อาจ
รักษาไว้ได้ ขึ้นชื่อว่าหญิงที่มีบุรุษคนเดียวไม่มีดอกมาณวิกา
ของท่านกล่าวว่า ดิฉันปรารถนาจะฟ้อน เอาผ้าผูกหน้าของท่าน

ผู้บรรเลงพิณเสีย ให้ชายชู้ของตนเอาศอกถองศีรษะท่านแล้ว
ก็ส่งไป คราวนี้ ท่านจะยกเว้นได้อย่างไรเล่า. ดังนี้แล้วตรัส
คาถาความว่า :-

"พราหมณ์ถูกนางเอาผ้าผูกหน้าเสียหมด
ให้บรรเลงพิณ เพราะเหตุใด ไม่ทราบเหตุนั้นเลย
หญิงที่เลี้ยงมาตั้งแต่ยังเป็นพืช เป็นภรรยายังทำ
เสียได้ ใครเล่าจะวางใจในภรรยานั้น ๆ ได้
แน่นอน" ดังนี้.

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อนรูปหนึ่ง ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย อลีเนน จิตฺเตน ดังนี้
.
พระบรมศาสดา ตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุ จริงหรือที่เขาว่า เธอเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน
เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลาย กระทำความเพียรในที่ ๆ ควร
ประกอบความเพียร ก็ได้บรรลุถึงราชสมบัติได้ แล้วทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในคัพโภทรพระอัครมเหสี
ของพระราชาพระองค์นั้น ในวันที่จะถวายพระนามพระโพธิสัตว์
ี่ราชตระกูลได้เลี้ยงพราหมณ์ ๑๐๘ ให้อิ่มหนำด้วยของที่น่า

ปรารถนาทุก ๆ ประการ แล้วสอบถามลักษณะของพระกุมาร
พวกพราหมณ์ผู้ฉลาดในการทำนายลักษณะ เห็นความสมบูรณ์
ด้วยลักษณะแล้ว ก็พากันทำนายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระ-
กุมารสมบูรณ์ด้วยบุญญาธิการ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว

จักต้องได้ครองราชสมบัติ จักมีชื่อเสียงปรากฏด้วยการใช้
อาวุธ ๕ ชนิด เป็นอรรคบุรุษในชมพูทวีปทั้งสิ้น. เพราะเหตุ
ได้ฟังคำทำนายของพราหมณ์ทั้งหลาย เมื่อจะขนานพระนาม
ก็เลยขนานให้ว่า "ปัญจาวุธกุมาร". ครั้นพระกุมารนั้นถึงความเป็น

ผู้รู้เดียงสาแล้ว มีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา พระราชาตรัสเรียกมา
แล้วรับสั่งว่า ลูกรัก เจ้าจงเรียนศิลปศาสตร์เถิด. พระกุมาร
กราบทูลถามว่า กระหม่อมฉันจะเรียนในสำนักของใครเล่า
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ไปเถิดลูก จงไปเรียนในสำนัก
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ ตักกสิลานคร แคว้นคันธาระ และ

พึงให้ทรัพย์นี้ เป็นค่าบูชาคุณอาจารย์แก่ท่านด้วย แล้วพระ-
ราชทานทรัพย์หนึ่งพันส่งไปแล้ว. พระราชกุมารเสด็จไปใน
สำนักทิศาปาโมกข์นั้น ทรงศึกษาศิลปะ รับอาวุธ ๕ ชนิดที่
อาจารย์ให้ กราบลาอาจารย์ออกจากนครตักกสิลา เหน็บอาวุธ
ทั้ง ๕ กับพระกาย เสด็จดำเนินไปทางเมืองพาราณสี. พระองค์

เสด็จมาถึงดงตำบลหนึ่ง เป็นดงที่สิเลสโลมยักษ์สิงสถิตย์อยู่.
ครั้งนั้นพวกมนุษย์ เห็นพระกุมารที่ปากดง พากันห้ามว่า
พ่อมาณพผู้เจริญ ท่านอย่าเข้าไปสู่ดงนี้ ในดงนั้นมียักษ์ชื่อ
สิเลสโลมะสิงอยู่ มันทำให้คนที่มันพบเห็นตายมามากแล้ว.

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์ ระวังพระองค์ไม่ครั่นคร้ามเลย มุ่งเข้า
ดงถ่ายเดียว เหมือนไกรสรราชสีห์ ผู้ไม่ครั่นคร้ามฉะนั้น. พอ
ไปถึงกลางดง ยักษ์ตนนั้นมันก็แปลงกาย สูงชั่วลำตาล ศีรษะ
เท่าเรือนยอด นัยน์ตาแต่ละข้างขนาดเท่าล้อเกวียน เขี้ยวทั้งสอง
แต่ละข้าง ขนาดเท่าหัวปลีตูม หน้าขาว ท้องด่าง มือเท้าเขียว
แล้วสำแดงตนให้พระโพธิสัตว์เห็น ร้องว่า เจ้าจะไปไหน ?

หยุดนะ เจ้าต้องเป็นอาหารของเรา. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ ตวาด
มันว่า ไอ้ยักษ์ เราเตรียมตัวแล้วจึงเข้ามาในดง เจ้าอย่าเผลอตัว
เข้ามาใกล้เรา เพราะเราจะยิงเจ้าด้วยลูกศรอาบยาพิษ ให้ล้มลง
ตรงนั้นแหละ แล้วใส่ลูกศรอาบยาพิษอย่างแรงยิงไป. ลูกศรไป
ติดอยู่ที่ขนของยักษ์ทั้งหมด. พระโพธิสัตว์ปล่อยลูกศรไปติด ๆ

กัน ลูกแล้ว ลูกเล่า ทะยอยออกไปด้วยอาการอย่างนี้ สิ้นลูกศร
ถึง ๕๐ ลูก ทุก ๆ ลูกไปติดอยู่ที่ขนของมันเท่านั้น ยักษ์สลัด
ลูกศรทั้งหมด ให้ตกลงที่ใกล้ ๆ เท้าของมันนั่นแหละ แล้วรี่เข้า
หาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กลับตวาดมันอีก แล้วชักพระ-
ขรรค์ออกฟัน. พระขรรค์ยาว ๓๓ นิ้วก็ติดขนมันอีก. ที่นั้นจึง

แทงมันด้วยหอกซัด. แม้หอกซัดก็ติดอยู่ที่ขนนั่นเอง. ครั้นพระ-
โพธิสัตว์ทราบอาการที่มันมีขนเหนียวแล้ว จึงตีด้วยตระบอง
แม้ตระบองก็ไปติดที่ขนของมันอีกนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์ทราบ
อาการที่มันมีตัวเหนียวเป็นตัว ก็สำแดงสีหนาทอย่างไม่ครั่นคร้าม

ประกาศก้องร้องว่า เฮ้ยไอ้ยักษ์ เจ้าไม่เคยได้ยินชื่อเรา ผู้ชื่อว่า
ปัญจาวุธกุมารเลยหรือ ? เมื่อเราจะเข้าดงที่เจ้าสิงอยู่ ก็เตรียม
อาวุธมีธนูเป็นต้นเข้ามา เราเตรียมพร้อมเข้ามาแล้วทีเดียว
วันนี้เราจักตีเจ้าให้แหลกเป็นจุณวิจุณไปเลย พลางโถมเข้าต่อย

ด้วยมือข้างขวา มือข้างขวาก็ติดขน ต่อยด้วยมือซ้าย มือซ้ายก็
ติดอีก เตะด้วยเท้าขวา เท้าขวาก็ติด เตะด้วยเท้าซ้าย เท้าซ้าย
ก็ติด คิดว่าต้องกระแทกให้มันแหลกด้วยศีรษะ แล้วก็กระแทก
ด้วยศีรษะ แม้ศีรษะก็ไปติดที่ขนของมันเหมือนกัน. พระโพธิสัตว์
ติดตรึงแล้วในที่ทั้ง ๕ แม้จะห้อยโตงเตงอยู่ ก็ไม่กลัว ไม่สะทก-
สะท้านเลย.

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ยักษ์จึงคิดว่า บุรุษนี้เป็นเอก เป็นดุจบุรุษสีหะ เป็น
บุรุษอาชาไนย ไม่ใช่บุรุษธรรมดา ถึงจะถูกยักษ์อย่างเรา
จับไว้ แม้มาดว่าความสะดุ้งก็หามีไม่ ในทางนี้เราฆ่าคนมามาก.
ไม่เคยเห็นบุรุษอย่างนี้สักคนหนึ่งเลย เพราะเหตุไรหนอ บุรุษนี้
จึงไม่กลัว ? ยักษ์ไม่อาจจะกินพระโพธิสัตว์ได้ จึงถามว่า ดูก่อน

มาณพ เพราะเหตุไรหนอท่านจึงไม่กลัวตาย. พระโพธิสัตว์ตอบ
ว่า ยักษ์เอ๋ย ทำไมเราจักต้องกลัว เพราะในอัตภาพหนึ่ง ความ
ตายนั้นเป็นของแน่นอนทีเดียว อีกประการหนึ่งในท้องของเรา
มีวชิราวุธ ถ้าเจ้ากินเรา ก็จักไม่สามารถทำให้อาวุธนั้นย่อยได้

อาวุธนั้น จักต้องบาดใส้พุงของเจ้าให้ขาดเป็นชิ้น ๆ เล็กบ้าง
ใหญ่บ้าง ทำให้เจ้าถึงสิ้นชีวิตได้ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เราก็
ต้องตายกันทั้งสองคน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่กลัวตาย. นัยว่า คำว่า
วชิราวุธนี้ พระโพธิสัตว์ตรัสหมายถึง อาวุธคือญาณ ในภายใน
ของพระองค์. ยักษ์ฟังคำนั้นแล้วคิดว่า มาณพนี้คงพูดจริงทั้งนั้น

ชิ้นเนื้อแม้ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว จากร่างกายของบุรุษสีหะ
ผู้นี้ ถ้าเรากินเข้าไปในท้องแล้ว จักไม่อาจให้ย่อยได้ เราจัก
ปล่อยเขาไป ดังนี้แล้ว เกิดกลัวตาย จึงปล่อยพระโพธิสัตว์
กล่าวว่า พ่อมาณพ ท่านเป็นบุรุษสีหะ. เราจักไม่กินเนื้อของ
ท่านละ ท่านพ้นจากเงื้อมมือของเรา เหมือนดวงจันทร์พ้นจาก

ปากราหู เชิญท่านไปเถิด มวลญาติมิตรจะได้ดีใจ. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะยักษ์ว่า ดูก่อนยักษ์ เราต้องไปก่อน
ส่วนท่าน ได้กระทำอกุศลไว้ในครั้งก่อนแล้ว จึงได้เกิดเป็นผู้
ร้ายกาจ มืออาบด้วยเลือด มีเลือดเนื้อของคนอื่นเป็นภักษา
แม้ถ้าท่านดำรงอยู่ในอัตภาพนี้ ยังจักกระทำอกุศลกรรมอยู่อีก

ก็จักไปสู่ความมืดมน จากความมืดมน นับแต่ท่านพบเราแล้ว
เราไม่อาจปล่อยให้ท่านทำอกุศลกรรมอยู่ได้ แล้วจึงตรัสโทษ
ของทุศีลกรรมทั้ง ๕ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่ากรรม
คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ย่อมทำสัตว์ให้เกิดในนรก

ในกำเนิดเดียรัจฉานในเปตวิสัย และในอสุรกาย ครั้นมาเกิด
ในมนุษย์เล่า ก็ทำให้เป็นคนมีอายุสั้น แล้วทรงแสดงอานิสงส์
ของศีลทั้ง ๕ ขู่ยักษ์ด้วยเหตุต่าง ๆ ทรงแสดงธรรม ทรมาน
จนหมดพยศร้าย ชักจูงให้ดำรงอยู่ในศีล ๕ กระทำยักษ์นั้นให้

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เป็นเทวดารับพลีกรรมในดงนั้น แล้วตักเตือนด้วยอัปปมาทธรรม
ออกจากดง บอกแก่มนุษย์ที่ปากดง สอดอาวุธทั้ง ๕ ประจำ
พระองค์ เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เฝ้าพระราชบิดา พระราช-
มารดา ภายหลังได้ครองราชย์ ก็ทรงปกครองโดยธรรม ทรง
บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ครั้นตรัสรู้
แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ใจความว่า :-
"นรชนผู้ใด มีจิตไม่ท้อแท้ มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ
นรชนผู้นั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่าง
โดยลำดับ" ดังนี้.

ในพระคาถานั้น ประมวลความได้ดังนี้ :- บุรุษใดมีใจ
ไม่หดหู่ คือไม่ท้อแท้รวนเร มีใจไม่หดหู่โดยปกติ เป็นผู้มีอัธยาศัย
แน่วแน่มั่นคง จำเริญเพิ่มพูนธรรม ที่ได้ชื่อว่ากุศล ได้แก่
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เพราะเป็นธรรมที่ปราศจากโทษ
บำเพ็ญวิปัสสนาด้วยจิตอันกว้างขวาง เพื่อบรรลุความเกษม
จากโยคะทั้ง ๔ คือ พระนิพพาน บุรุษนั้นยกขึ้นซึ่งไตรลักษณ์

คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งมวลอย่างนี้แล้ว ยัง
โพธิปักขิยธรรมที่เกิดขึ้นจำเดิมแต่วิปัสสนายังอ่อนให้เจริญ
พึงบรรลุพระอรหัตผลอันถึงการนั้นว่า ความสิ้นสังโยชน์ทุก
อย่าง เพราะบังเกิดแล้วในที่สุดแห่งมรรคทั้ง ๔ อันเป็นเหตุ
ิสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด มิได้เหลือเลยแม้สักสังโยชน์เดียว
โดยลำดับ.

พระบรมศาสดา ทรงถือเอายอดพระธรรมเทศนา ด้วย
พระอรหัตผลด้วยประการฉะนี้ ในที่สุดทรงประกาศ จตุราริยสัจ
(อริยสัจ ๔) ในเวลาจบสัจธรรม ภิกษุนั้นได้บรรลุพระอรหัตผล
แม้พระบรมศาสดา ก็ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ยักษ์ใน

ครั้งนั้นได้มาเป็นพระองคุลิมาร ส่วนปัญจาวุธกุมาร ได้มาเป็น
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปัญจาวุธชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า โย ปหฏฺเฐน จิตฺเตน ดังนี้.

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระศาสดาแล้ว บวชถวายชีวิตในพระศาสนา คือ
พระรัตนตรัย. ครั้งนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ กล่าวสอน
ถึงศีลว่า ผู้มีอายุ ที่ชื่อว่าศีล อย่างเดียวก็มี สองอย่างก็มี สาม
อย่างก็มี สี่อย่างก็มี ห้าอย่างก็มี หกอย่างก็มี เจ็ดอย่างก็มี

แปดอย่างก็มี เก้าอย่างก็มี ที่ชื่อว่าศีลมีมากอย่าง นี้เรียกว่า
จุลศีล นี้เรียกว่า มัชฌิมศีล นี้เรียกว่า มหาศีล นี้เรียกว่า
ปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อินทริยสังวรศีล นี้เรียกว่า
อาชีวปาริสุทธิศีล นี้เรียกว่า ปัจจยปฏิเสวนศีล. ภิกษุนั้นคิดว่า
ขึ้นชื่อว่าศีลนี้มีมากยิ่งนัก เราไม่อาจสมาทานประพฤติได้ถึง

เพียงนี้ ก็บรรพชาของคนที่ไม่อาจบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ จะมี
ประโยชน์อะไร. เราจักเป็นคฤหัสถ์ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เลี้ยง
ลูกเมีย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็เรียนอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่อาจรักษาศีลได้ เมื่อไม่อาจรักษา

ศีลได้ การบรรพชาก็จะมีประโยชน์อะไร ? กระผมจะขอลา
สิกขา โปรดรับบาตรและจีวรของท่านไปเถิด. ลำดับนั้น อาจารย์
และอุปัชฌาย์ จึงบอกกะภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้
เธอจงไปถวายบังคมพระทศพล ดังนี้แล้ว พาเธอไปยังธรรมสภา
อันเป็นที่ประทับของพระศาสดา.

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนา (บรรพชาเพศ)
มาหรือ ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้บอกว่า
เธอไม่อาจรักษาศีลได้ จึงมอบบาตรและจีวรคืน เมื่อเป็นเช่นนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงพาเธอมา. พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุไรพวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า
ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป
พวกเธออย่าได้พูดอะไร ๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้
ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะ

ต้องการศีลมาก ๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓
ประเภทเท่านั้นหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้พระเจ้าข้า. มีพระพุทธดำรัส
ว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร

วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำ
กรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึก
เลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด. ด้วยพระพุทธดำรัส
เพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นก็มีใจยินดี กราบทูลว่า ดีละพระเจ้าข้า
ข้าพระองค์จักรักษาศีล ๓ เหล่านี้ไว้ ดังนี้แล้วถวายบังคม

พระศาสดา ได้กลับไปพร้อมกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์
ทั้งหลาย. เมื่อเธอบำเพ็ญศีลทั้ง ๓ เหล่านั้นอยู่นั่นแล จึงได้
สำนึกว่า ศีลที่อาจารย์และอุปัชฌาย์บอกแก่เรา ก็มีเท่านี้เอง
แต่ท่านเหล่านั้นไม่อาจให้เราเข้าใจได้ เพราะท่านไม่ใช่พระ-
พุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดศีลทั้งหมดนี้ เข้าไว้ใน

ทวาร ๓ เท่านั้น ให้เรารับเอาไว้ได้ เพราะพระองค์เป็นพระ-
พุทธเจ้าทรงรู้ดี (และ) เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชา
ชั้นยอด พระองค์ทรงเป็นที่พำนักของเราแท้ ๆ ดังนี้แล้วเจริญ
วิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล โดย ๒-๓ วันเท่านั้น. ภิกษุ

ทั้งหลายทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ประชุมกันในธรรมสภา ต่าง
นั่งสนทนาถึงพระพุทธคุณว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุนั้น
กล่าวว่า ไม่อาจรักษาศีลทั้งหลายได้ กำลังจะสึก พระศาสดา
ทรงย่นย่อศีลทั้งหมดโดยส่วน ๓ ให้เธอรับไว้ได้ ให้บรรลุ

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระอรหัตผลได้ โอ ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริย-
มนุษย์. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอ
นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ครั้นพวกภิกษุกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้นที่ภาระแม้ถึงจะหนักยิ่ง เราก็แบ่งโดยส่วนย่อยให้แล้ว
เป็นดุจของเบา ๆ แม้ในปางก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ได้แท่งทองใหญ่
แม้ไม่อาจจะยกขึ้นได้ ก็แบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วยกไปได้
ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชาวนาอยู่ในหมู่บ้าน
ตำบลหนึ่ง. วันหนึ่งกำลังไถที่นาอยู่ในเขตบ้านร้างแห่งหนึ่ง.
แต่ครั้งก่อนในบ้านหลังนั้น เคยมีเศรษฐีผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ
ผู้หนึ่ง ฝังแท่งทองใหญ่ขนาดโคนขา ยาวประมาณ ๔ ศอกไว้

แล้วก็ตายไป. ไถของพระโพธิสัตว์ไปเกี่ยวแท่งทองนั้น แล้ว
หยุดอยู่. พระโพธิสัตว์คิดว่า คงจะเป็นรากไม้ จึงคุ้ยฝุ่นดู เห็น
แท่งทองนั้นแล้ว ก็กลบไว้ด้วยฝุ่น แล้วไถต่อไปทั้งวัน ครั้น
ดวงอาทิตย์อัษฎงค์แล้ว จึงเก็บสัมภาระ มีแอกและไถเป็นต้น
ไว้ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง คิดว่าจักแบกเอาแท่งทองไป ไม่สามารถ

จะยกขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถจึงนั่งลง แบ่งทองออกเป็น ๔ ส่วน
โดยคาดว่า จักเลี้ยงปากท้องเท่านี้ ฝังไว้เท่านี้ ลงทุนเท่านี้
ทำบุญให้ทานเป็นต้นเท่านี้. พอแบ่งอย่างนี้แล้ว แท่งทองนั้น
ก็ได้เป็นเหมือนของเบา ๆ. พระโพธิสัตว์ยกเอาแท่งทองนั้นไป

บ้าน แบ่งเป็น ๔ ส่วน กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตาม
ยถากรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาดังนี้
ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

นรชนผู้ใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบาน
แล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษม
จากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์
ทุกอย่างได้โดยลำดับ. ดังนี้

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหฏฺเฐน ได้แก่ปราศจาก
นิวรณ์.
บทว่า ปหฏฺฐมนโส ความว่า เพราะเหตุที่มีจิตปราศจาก
นิวรณ์นั่นแล จึงชื่อว่ามีใจเบิกบานแล้ว เหมือนทองคำ คือ
เป็นผู้มีจิตรุ่งเรือง สว่างไสวแล้ว.
พระบรมศาสดา ทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือ
พระอรหัต ด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดก
ว่า บุรุษผู้ได้แท่งทองในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากาญจนักขันธชาดกที่ ๖
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภความตะเกียกตะกายขวนขวายเพื่อการฆ่าของพระ-
เทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จตุโร
ธมฺมา ดังนี้.
ในสมัยนั้น พระศาสดาทรงสดับข่าวว่า พระเทวทัตกำลัง
ตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อฆ่าเรา
แม้ในกาลก่อน ก็เคยตะเกียกตะกายแล้วเหมือนกัน แต่ไม่อาจ

กระทำเหตุเพียงความสะดุ้งแก่เราได้เลย แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกระบี่ ครั้นเจริญวัย
มีร่างกายเติบโตขนาดลูกม้า สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง เที่ยวไป
ตามแนวฝั่งน้ำลำพังผู้เดียว. ก็กลางแม่น้ำนั้น มีเกาะแห่งหนึ่ง
อุดมสมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันมีผลนานาชนิด มีมะม่วงและขนุน

เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง
โจนจากฝั่งแม่น้ำข้างนี้แล้ว ก็ไปพักที่หินดาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่
กลางลำน้ำ ระหว่างฝั่งแห่งเกาะ โจนจากแผ่นหินนั้นแล้ว ก็ขึ้น
เกาะนั้นได้ ขบเคี้ยวผลไม้ต่าง ๆ บนเกาะนั้น พอเวลาเย็นก็
กระโดดกลับมาด้วยอุบายนั้น กลับที่อยู่ของตน ครั้นวันรุ่งขึ้น
ก็กระทำเช่นนั้นอีก พำนักอยู่ในสถานที่นั้น โดยนิยามนี้แล.

ก็ในครั้งนั้น มีจระเข้ตัวหนึ่งพร้อมกับเมียอาศัยอยู่ใน
น่านน้ำนั้น. เมียของมันเห็นพระโพธิสัตว์โดดไปโดดมา เกิด
แพ้ท้องต้องการกินเนื้อหัวใจของพระโพธิสัตว์ จึงพูดกะจระเข้
ผู้ผัวว่า ทูลหัว ฉันเกิดแพ้ท้อง ต้องการกินเนื้อหัวใจของพานรินท์

นี้. จระเข้ผู้ผัวกล่าวว่า ได้ซี่ เธอจ๋า เธอจะต้องได้. แล้วพูดต่อไป
ว่า วันนี้พี่จะคอยจ้องจับ เมื่อมันกลับมาจากเกาะในเวลาเย็น
แล้วไปนอนคอยเหนือแผ่นหิน. พระโพธิสัตว์เที่ยวไปทั้งวัน

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ครั้นเวลาเย็น ก็หยุดยืนอยู่ที่ชายเกาะ มองดูแผ่นหินแล้วดำริว่า
บัดนี้ แผ่นหินนี้สูงกว่าเก่า เป็นเพราะเหตุอะไรหนอ ? ได้ยินว่า
ประมาณของน้ำ และประมาณของแผ่นหิน พระโพธิสัตว์กำหนด
ไว้เป็นอย่างดีทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงมีวิตกว่า วันนี้ก็ไม่ลง
และไม่ขึ้นเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ หินนี้ดูใหญ่โตขึ้น จระเข้มันนอน
คอยจับเราอยู่บนแผ่นหินนั้น บ้างกระมัง. พระโพธิสัตว์ คิดว่า
เราจักทดสอบดูก่อน คงยืนอยู่ตรงนั้นแหละ ทำเป็นพูดกะหิน
พลางกล่าวว่า แผ่นหินผู้เจริญ ยังไม่ได้รับคำตอบ ก็กล่าวว่า
หิน ๆ ถึง ๓ ครั้ง หินจักให้คำตอบได้อย่างไร ? วานรคงพูด
กะหินซ้ำอีกว่า แผ่นหินผู้เจริญ เป็นอย่างไรเล่า วันนี้จึงไม่ตอบรับ
ข้าพเจ้า. จระเข้ฟังแล้วคิดว่า ในวันอื่น ๆ แผ่นหินนี้ คงให้คำตอบ

แก่พานรินทร์แล้วเป็นแน่ บัดนี้เราจะให้คำตอบแก่เขา พลาง
กล่าวว่า อะไรหรือพานรินทร์ผู้เจริญ. พระโพธิสัตว์ถามว่า
เจ้าเป็นใคร ?

เราเป็นจระเข้.
เจ้ามานอนที่นี่ เพื่อต้องการอะไร ?
เพื่อต้องการเนื้อหัวใจของท่าน.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่มีทางไปทางอื่น วันนี้ต้อง
ลวงจระเข้ตัวนี้. ครั้นคิดแล้ว จึงพูดกะมันอย่างนี้ว่า จระเข้สหาย
รัก เราจะตัดใจสละร่างกายให้ท่าน ท่านจงอ้าปากคอยงับเรา
ในเวลาที่เราถึงตัวท่าน. เพราะหลักธรรมดามีอยู่ว่า เมื่อจระเข้
อ้าปาก นัยน์ตาทั้งสองข้างก็จะหลับ. จระเข้ไม่ทันกำหนดเหตุ

(อันเป็นหลักธรรมดา) นั้น ก็อ้าปากคอย ทีนั้นนัยน์ตาของมัน
ก็ปิด. มันจึงนอนอ้าปากหลับตารอ. พระโพธิสัตว์รู้สภาพเช่นนั้น
ก็เผ่นไปจากเกาะ เหยียบหัวจระเข้ แล้วโดดจากหัวจระเข้ไป
ยังฝั่งตรงข้าม เร็วเหมือนฟ้าแลบ. จระเข้เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น

คิดว่า พานรินทร์นี้กระทำการน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พลางพูดว่า
พานรินทร์ผู้เจริญ ในโลกนี้บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมครอบงำศัตรูได้ ธรรมเหล่านั้น ชะรอยจะมีภายในของท่าน
ครบทุกอย่าง แล้วกล่าวคาถานี้ ใจความว่า :-

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พานรินทร์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้
สัจจะ ธรรม ธิติ และจาคะ มีแก่บุคคลใด
เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ได้แก่ บุคคลใดบุคคล
หนึ่ง.
บทว่า เอเต ความว่า ย่อมปรากฏโดยประจักษ์ในธรรม
ที่เราจะกล่าวในบัดนี้.
บทว่า จตุโร ธมฺมา ได้แก่คุณธรรม ๔ ประการ.
บทว่า สจฺจํ ได้แก่ วจีสัจ คือที่ท่านบอกว่า จักมาสู่สำนัก
ของข้าพเจ้า ท่านก็มิได้กระทำให้เป็นการกล่าวเท็จ มาจริง ๆ
ทีเดียว ข้อนี้เป็นวจีสัจของท่าน.
บทว่า ธมฺโม ได้แก่วิจารณปัญญา กล่าวคือ ความรู้จัก
พิจารณาว่าเมื่อทำอย่างนี้แล้ว จักต้องมีผลเช่นนี้ ข้อนี้เป็น
วิจารณปัญญาของท่าน.
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนขาดตอนลง ท่านเรียกว่าธิติ
แม้คุณธรรมข้อนี้ ก็มีแก่ท่าน.
บทว่า จาโค ได้แก่ การสละตน คือการที่ท่านสละชีวิต
มาถึงสำนักของเรา แต่เราไม่อาจจับท่านได้ นี้เป็นโทษของเรา
ฝ่ายเดียว.
บทว่า ทิฏฺฐํ ได้แก่ปัจจามิตร.
บทว่า โส อติวตฺตติ ความว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้
ดังพรรณนามานี้มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน บุคคลผู้นั้น
ย่อมก้าวล่วง คือครอบงำเสียได้ ซึ่งปัจจามิตรของตน เหมือน
ดังท่านล่วงพ้นข้าพเจ้าไปได้ในวันนี้ ฉะนั้น.

จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว ก็ไปที่อยู่
ของตน.

แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต
มิใช่เพื่อจะตะเกียกตะกายจะฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้
แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงนำ
พระธรรมเทศนานี้มา สืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า จระเข้ ใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัตในครั้งนี้ เมียของจระเข้ ได้มา
เป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพานรินทร์ได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวานรินทชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภการตะเกียกตะกายจะฆ่าพระองค์นั่นแหละ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺเสเต จ ตโย ธมฺมา
ดังนี้.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี พระเทวทัตบังเกิดในกำเนิดวานร ควบคุมฝูงอยู่ใน
หิมวันตประเทศ เมื่อลูกวานรที่อาศัยตนเติบโตแล้ว ก็ขบพืช
ของลูกวานรเหล่านั้นเสียสิ้น เพราะกลัวว่า วานรเหล่านี้จะแย่ง
คุมฝูง. ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ก็อาศัยวานรนั้นแหละ ถือปฏิสนธิ
ในท้องของนางวานรตัวหนึ่ง. ครั้นนางวานรรู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อ
จะถนอมครรภ์ของตน ก็ได้ไปสู่เชิงเขาตำบลอื่น พอท้องแก่
ครบกำหนดก็คลอดพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เจริญวัย ถึง
ความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง วันหนึ่งถาม
มารดาว่า แม่จ๋า ใครเป็นพ่อของฉัน.
มารดาตอบว่า พ่อคุณ บิดาของเจ้าคุมฝูงอยู่ที่ภูเขาลูกโน้น.
แม่พาฉันไปหาพ่อเถิด.

ลูกจ๋า เจ้าไม่อาจเข้าใกล้พ่อของเจ้าได้ เพราะพ่อของเจ้า
คอยขบพืชของลูกวานรที่อาศัยตนเกิดเสียหมด เพราะกลัวจะ
แย่งคุมฝูง.
แม่จ๋า พาฉันไปเถิด ฉันจักรู้ (อนาคตของตนเอง). นาง
จึงพาพระโพธิสัตว์มายังสำนักของวานรผู้เป็นพ่อ.

วานรนั้นเห็นลูกของตนแล้ว ก็คิดว่า เมื่อเจ้านี่เติบโตจัก
ไม่ยอมให้เราคุมฝูง ต้องฆ่ามันเสียบัดนี้ทีเดียว เราจักทำเป็น
เหมือนสวมกอดมัน แล้วก็บีบให้แน่นให้ถึงสิ้นชีวิตให้จงได้ จึง
กล่าวว่า มานี่เถิดลูก เจ้าไปไหนเสียนมนานจนป่านนี้ ดังนี้แล้ว

ทำเป็นเหมือนกอดรัดพระโพธิสัตว์ รัดจนแน่น. ก็พระโพธิสัตว์
มีกำลังดังช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง จึงบีบรัดตอบ. ครั้งนั้น
กระดูกทุกชิ้นส่วนของวานรนั้น ถึงอาการจะแตกแยก. ลำดับ
นั้น วานรผู้เป็นพ่อ เกิดวิตกว่า ไอ้นี่เติบโตขึ้นต้องฆ่าเรา เรา
ต้องหาอุบายอะไร รีบฆ่ามันเสียก่อน แต่นั้นก็คิดได้ว่า ไม่ไกล

จากนี้ มีสระที่มีผีเสื้อน้ำสิงอยู่ เราจักให้ผีเสื้อน้ำกินมันเสียที่
สระนั้น แล้วจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ลูกเอ๋ย พ่อแก่แล้ว
จักมอบฝูงให้เจ้า วันนี้จะตั้งเจ้าเป็นหัวหน้า ที่ตรงโน้นมีสระอยู่
ในสระนั้น ดอกโกมุท ๒ ดอก อุบล ๓ ดอก ปทุม ๕ ดอก กำลัง
่บาน ไปเถิด ไปเอาดอกไม้มาจากสระนั้น. พระโพธิสัตว์ รับคำ
ว่า ดีละพ่อ ฉันจักไปนำมาแล้วก็ไป แต่ยังไม่ผลีผลามลงไป

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ตรวจดูรอยรอบ ๆ สระ เห็นแต่รอยลงเท่านั้น ไม่เห็นรอยขึ้น
ก็รู้ว่า อันสระนี้ต้องมีรากษสยึดครองแน่นอน พ่อเราไม่อาจ
ฆ่าเราด้วยตน จักหวังให้รากษสเคี้ยวกินเราเสีย เราจักไม่ลง
สระนี้ และต้องเก็บดอกไม้ให้ได้ด้วย แล้วเดินไปหาที่ซึ่งไม่มี
น้ำ ไปได้ ๒ ดอก ทีเดียว โดดไปลงฝั่งโน้น โดดจากฝั่งโน้น

มาลงฝั่งนี้ ก็คว้าได้อีก ๒ ดอก ด้วยอุบายนั้นแหละ. ด้วยวิธีนี้
พระโพธิสัตว์เก็บดอกไม้ได้เป็นกองทั้งสองฝั่งสระ และไม่ต้อง
ลงสู่สถานอันอยู่ในอาญาของรากษส. ครั้นพระโพธิสัตว์เห็นว่า
ไม่สามารถจะเก็บได้มากกว่านี้ ก็รวบรวมดอกไม้กองไว้ที่เดียว.
ครั้งนั้นรากษสดำริว่า อัจฉริยบุรุษ มีปัญญาอย่างนี้ เราไม่เคย

เห็นเลยตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ดอกไม้ก็เก็บได้ตามปรารถนา
และไม่ต้องลงสู่สถานที่อันอยู่ในอาญาของเราอีกด้วย จึงระเบิด
น้ำโผล่ขึ้นจากน้ำเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า พานรินทร์
ในโลกนี้ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการ ผู้นั้นย่อมครอบงำปัจจามิตร

ได้ ชะรอยภายในตัวของท่าน จักมีธรรมทั้งนั้นครบทุกประการ
เป็นแน่ เมื่อจะชื่นชมพระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือทักขิยะ
สุริยะ ปัญญา มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน
บุคคลนั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้." ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขยํ ได้แก่ความเป็นผู้
มีความขยันขันแข็ง. บทนี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างสูง ที่
ประกอบพร้อมมูลด้วยปัญญา อันรู้จักกำจัดภัยที่มาประจวบ
เข้า.

บทว่า สูรยํ ได้แก่ความเป็นผู้กล้าหาญ. บทนี้เป็นชื่อ
ของความเป็นผู้ไม่มีความพรั่นพรึง.
บทว่า ปญฺญา นี้ เป็นชื่อของความรู้อุบาย ซึ่งเป็นจุด
เริ่มต้นของความปรากฏผล.

• อ่านกันวันละนิด พิชิตความเกียจคร้านอ่าน
• ความรู้ถ้วมตัว หากไม่เมามัวลงมือปฏิบัติบ้างก็คงจะดี
• ความขยั่น จะนำท่านสู่ความสำเร็จ ทุกความสำเร็จย่อมจะมีความขยั่นเป็นปัจจัย
• เพราะเห็นแก่กิน เลยต้องสิ้นลมหายใจ
• ความดีไม่มีขายไม่มีแจก ใครอยากได้ก็ควรทำเอาเอง
• ให้ของไม่ดี ถึงจะเป็นของฟรีก็มิควรรับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron