วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 05:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 40, 41, 42, 43, 44, 45, 46 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภปลายิปริพาชก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
คชคฺคเมเฆภิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นท่องเที่ยวไปทั่วชมพูทวีป เพื่อการ
โต้วาทะ ไม่ได้รับการโต้ตอบวาทะอะไร แล้วจนลุถึงเมืองสาวัตถี
โดยลำดับ ถามมนุษย์ทั้งหลายว่า ใคร ๆ สามารถจะโต้ตอบ
วาทะกับเรามีบ้างไหม. พวกมนุษย์ต่างพากันสรรเสริญพระ-
พุทธองค์ว่า พระมหาโคดมผู้สัพพัญญูเลิศกว่าสัตว์สองเท้า

ทั้งหลาย ผู้เป็นใหญ่โดยธรรม ย่ำยีวาทะของผู้อื่น เป็นผู้สามารถ
จะโต้ตอบวาทะกับคนเช่นท่านแม้ตั้งพัน ปราชญ์ผู้มีวาทะขัดแย้ง
ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีป แม้ทั้งสิ้นที่จะสามารถล่วงเลยพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้นมิได้มี. บรรดาวาทะทั้งปวงมาถึงบาท
มูลของพระองค์เป็นผุยผงไปดุจคลื่นสมุทรกระทบฝั่งฉะนั้น.

ปริพาชกถามว่า ก็เดี๋ยวนี้พระองค์ประทับอยู่ที่ไหน ได้ฟังว่า
ที่พระเชตวันมหาวิหาร กล่าวว่า เราจักไปประวาทะกับพระองค์
ในบัดนี้ แวดล้อมด้วยมหาชนไปสู่เชตวันมหาวิหาร พอเห็นซุ้ม
ประตูเชตวันมหาวิหาร ซึ่งพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ทรง
สละทรัพย์เก้าโกฏิสร้าง ถามว่า นี้คือปราสาทที่ประทับของ

พระสมณโคดมหรือ ได้ฟังว่า นี้คือซุ้มประตู กล่าวว่า ซุ้มประตู
ยังเป็นถึงเพียงนี้ คฤหาสน์ที่ประทับจะเป็นเช่นไร เมื่อมหาชน
กล่าวว่า ชื่อว่าพระคันธกุฏีประมาณไม่ถูก กล่าวว่า ใครจะ
โต้ตอบวาทะกับพระสมณโคดมเป็นถึงปานนี้ได้. จึงหนีไปจาก
ที่นั้นเอง. มนุษย์ทั้งหลายต่างอึงคะนึงกันจะเข้าไปยังพระเชต-

วันมหาวิหาร พระศาสดาตรัสถามว่า ทำไมจึงมากันผิดเวลา
กราบทูลความเป็นไปให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
อุบาสกทั้งหลาย ปริพาชกผู้นี้เห็นซุ้มประตูของเราก็หนีในบัดนี้
เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็หนีไปแล้วเหมือนกัน พวกมนุษย์
เหล่านั้นจึงทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในเมืองตักกสิลา
ในแคว้นคันธาระ. พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี. พระเจ้าพรหมทัตนั้นทรงดำริว่า จักตีเมืองตักกสิลา
จึงยกพลนิกายใหญ่ไปตั้งมั่นอยู่ไม่ไกลจากเมืองตักกสิลา ทรง

ซักซ้อมเสนาว่า จงส่งกองช้างเข้าไปด้านนี้ ส่งกองม้าเข้าไป
ด้านนี้ ส่งกองรถเข้าไปด้านนี้ ส่งพลราบเข้าไปด้านนี้ เมื่อบุก
เข้าไปอย่างนี้แล้ว จงใช้อาวุธทั้งหลาย จงให้ห่าฝนลูกศรให้ตก
ดังหมู่วลาหกโปรยฝนลูกเห็บฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ได้ตรัส
สองคาถานี้ว่า :-

เมืองตักกสิลาถูกเขาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว
ด้วยกองพลช้างตัวประเสริฐ ซึ่งร้องคำรนอยู่
ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลม้าตัวประเสริฐ ซึ่งคลุม
มาลาเครื่องครบอยู่ด้านเหนือ ด้วยกองพลรถ
ดุจคลื่นในมหาสมุทรอันยังฝน คือลูกศรให้ตก
ลงด้านหนึ่ง ด้วยกองพลเดินเท้าถือธนูมั่น มีฝีมือ
ยิงแม่นอยู่ด้านหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงรีบรุกเข้า

ไป และจงรีบบุกเข้าไป จงไสช้างให้หนุนเนื่อง
กันเข้าไปเลย จงโห่ร้องให้สนั่นหวั่นไหว ในวันนี้
ดุจสายฟ้าอันซ่านออกจากกลีบเมฆ คำรน อยู่
ฉะนั้น.

พระเจ้าพรหมทัตนั้นทรงตรวจพลปลุกใจเสนาให้คึกคัก
ฉะนี้แล้วเคลื่อนทัพไปถึงที่ใกล้ประตูนคร เห็นซุ้มประตูแล้ว
ตรัสถามว่า นี้คือพระราชมณเฑียรหรือ เมื่อเหล่าเสนากราบทูล
ว่า นี้คือซุ้มประตูนคร ยังเป็นถึงปานนี้ พระราชมณเฑียรจะเป็น
เช่นไร ได้สดับว่าเช่นกับเวชยันตปราสาท ตรัสว่า เราไม่อาจ

สู้รบกับพระราชาผู้ถึงพร้อมด้วยยศอย่างนี้ ได้ทอดพระเนตร
ซุ้มประตูแล้ว เสด็จหนีกลับสู่เมืองพาราณสี.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม
ชาดก. พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็นปลายิปริพาชกใน
ครั้งนี้ ส่วนพระราชาเมืองตักกสิลา คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาปลายิชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภปลายิปริพาชก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธชมปริมิตํ อนนฺตปารํ ดังนี้.

แต่ในเรื่องนี้ปริพาชกนั้นเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร.
ขณะนั้นพระศาสดาแวดล้อมด้วยมหาชนประทับนั่งบนธรรมาสน์
อันประดับประดาแล้วแสดงธรรมดุจลูกสีหะแผดเสียงสีหนาท
อยู่เหนือพื้นมโนสิลา. ปริพาชกเห็นพระรูปของพระทศพลมี
ส่วนสัดงามดังรูปพรหม. พระพักตร์มีสิริฉายดังจันทร์เพ็ญ และ

พระนลาฏดังแผ่นทองคำ กล่าวว่าใครจักอาจเอาชนะบุรุษผู้อุดม
มีรูปอย่างนี้ ได้หันกลับไม่ยอมเข้าหมู่บริษัทหนีไป. มหาชน
ไล่ตามปริพาชกแล้วกลับมากราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระ-
ศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ปริพาชกนั้นเห็นพระพักตร์มี

ฉวีวรรณดังทองคำของเราหนีไปแล้วในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้
ในกาลก่อนก็ได้หนีไปแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส
เล่า.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติอยู่ในเมือง
พาราณสี. พระเจ้าคันธารราชพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ
อยู่ในเมืองตักกสิลา. พระเจ้าคันธารราชนั้น ดำริว่าจะไปตี
กรุงพาราณสี พรั่งพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ยกทัพมาล้อมกรุง

พาราณสีไว้ ประทับยืนใกล้ประตูนครทอดพระเนตรดูพลพาหนะ
ของพระองค์ คิดว่าใครจะอาจเอาชนะพลพาหนะมีประมาณเท่านี้
ได้. ได้กล่าวคาถาแรกสรรเสริญกองทัพของพระองค์ว่า:-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะ
ของเราก็นับไม่ถ้วน แสนยากที่ศัตรูจะหาญหัก
เข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้
ถึงฝั่งได้ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่
กองพลอื่นจะหาญเข้าตีหักได้ ดุจภูเขาอันลมไม่
อาจให้ไหวได้ฉะนั้น วันนี้เราประกอบด้วยกอง
พลเท่านี้ อันกองพลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหัก
เข้ารุกรานได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธชมปริมิตํ ความว่า เฉพาะธงที่
ปักไว้ที่งอนพลรถของเรานี้เท่านั้น ก็นับไม่ถ้วนมากมายหลาย
ร้อย. บทว่า อนนฺตปารํ ความว่า แม้พลพาหนะของเราดูสุด
สายตาเหลือที่จะคณานับได้ พลช้างมีเท่านี้ พลม้ามีเท่านี้ พลรถ
มีเท่านี้ พลราบมีเท่านี้. บทว่า ทุปฺปสหํ ได้แก่ ศัตรูทั้งหลาย

ไม่สามารถจะข่มขี่ย่ำยีได้. ถามว่าเหมือนอย่างอะไร ตอบว่า
เหมือนดังสมุทรสาครอันกาทั้งหลายแม้มาก ยากที่จะเอาชนะได้
ด้วยการแข่งความเร็ว หรือการบินข้ามฉะนั้น. บทว่า คิริมิว
อนิเลน ทุปฺปสโห ความว่า อนึ่ง พลนิกายของเรานี้ยากที่พล

นิกายอื่นจะรานรอนได้ ดุจภูเขาอันลมจะพัดให้โยกคลอนไม่ได้
ฉะนั้น. บทว่า ทุปฺปสโห อหมชฺช ตาทิเสน ความว่า เรานั้น
สะพรั่งด้วยกองพลเช่นนี้ ยากที่ศัตรูเช่นท่านจะชิงชัยได้ในวันนี้.
พระเจ้าคันธารราชตรัสหมายถึงพระโพธิสัตว์ ซึ่งประทับยืน
อยู่บนป้อม.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงแสดงพระพักตร์ของพระองค์
อันทรงสิริดุจจันทร์เพ็ญแก่พระเจ้าคันธารราชนั้น ทรงขู่ขวัญ
ว่า พระราชาผู้เป็นพาล อย่าพร่ำเพ้อไปเลย บัดนี้เราจักบดขยี้
พลพาหนะของท่านเสีย ให้เหมือนช้างซับมันเหยียบย่ำพงอ้อ
ฉะนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่
เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่าผู้สามารถมิได้
ท่านถูกความเร่าร้อน คือราคะ โทสะ โมหะ และ
มานะเผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัดเราได้เลย
จะต้องหนีเราไป กองพลของเราจักย่ำยีท่านหมด
ทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อด้วยเท้าฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มา พาลิยํ วิปฺปลปิ ความว่า ท่าน
อย่าพร่ำเพ้อถึงความที่ตนเป็นพาลไปเลย. บทว่า น หิสฺส ตาทิสํ
บาลีว่า น หิสฺส ตาทิโส บ้าง ความว่า ด้วยว่าไม่มีบุคคลผู้คิด
ว่า พาหนะของเราสุดสายตา สามารถจะชิงราชสมบัติได้ดัง
เช่นท่าน. บทว่า วิทยฺหเส ความว่า ท่านถูกความเร่าร้อน คือ

ราคะ โทสะ โมหะ และมานะเผารนอยู่เสมอ. บทว่า น หิ ลภเส
นิเสธกํ ความว่า ท่านจะไม่ได้การข่มขู่ครอบงำปราบปรามคน
เช่นเราได้เลย วันนี้เราจะให้ท่านหนีไปตามทางที่ท่านมานั่นเอง.
บทว่า อาสชฺชสิ ได้แก่เข้าไปใกล้. บทว่า คชมิว เอกจารินํ
ได้แก่ ดุจช้างเมามันผู้เที่ยวไปโดดเดี่ยว. บทว่า โย ตํ ปทา

นฬมิว โปถยิสฺสติ ความว่า กองทัพของเราจักบดขยี้ท่านให้
แหลกไป เหมือนช้างเมามันบดขยี้ไม้อ้อแหลกรานด้วยเท้าฉะนั้น.

ฝ่ายพระเจ้าคันธารราชได้สดับคำของพระโพธิสัตว์ตรัส
ขู่ขวัญฉะนี้แล้ว ทอดพระเนตรดู ทรงเห็นพระนลาฎเช่นกับ
แผ่นทองคำ กลัวจะถูกจับ พระองค์จึงหันกลับหนีคืนสู่นครของ
พระองค์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระเจ้าคันธารราชในครั้งนั้นได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้.
ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาทุติยปลายิชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กาสาวชาดก ๒. จุลลนันทิยชาดก ๓. ปุฏภัตตชาดก
๔. กุมภีลชาดก ๕. ขันติวรรณนชาดก ๖. โกสิยชาดก ๗. คูถ-
ปาณกชาดก ๘. กามนีตชาดก ๙. ปลายิชาดก ๑๐. ทุติยปลายิ-
ชาดก.
จบ กาสาววรรคที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาอุปาหนชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ยถาปิกตา ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า
อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์กลับเป็นปฏิปักษ์
เป็นศัตรูต่อพระตถาคต ได้ถึงความพินาศใหญ่. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมิใช่บอกคืนอาจารย์เป็น
ปฏิปักษ์ต่อเราถึงความพินาศใหญ่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน
ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อเราเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลนายหัตถาจารย์
ครั้นเจริญวัยแล้วก็สำเร็จหัตถีศิลปะ. ครั้งนั้นมีมาณพชาวกาสิคาม
ผู้หนึ่ง มาเรียนศิลปะในสำนักของพระโพธิสัตว์. ธรรมดาว่า
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะบอกศิลปะ ย่อมไม่ปิดบังวิชา ให้
ศึกษาวิชาตามที่ตนรู้มาโดยไม่มีเหลือ. เพราะฉะนั้นมาณพนั้น

จึงได้เรียนศิลปะความรู้ของพระโพธิสัตว์จนหมดสิ้นแล้วกล่าว
กะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจักรับราชการ.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดีแล้วพ่อ จึงไปเฝ้ากราบทูลพระราชา
ว่า ข้าแต่มหาราชลูกศิษย์ของข้าพระองค์ปรารถนาจะรับราชการ

สนองพระเดชพระคุณ. พระราชาตรัสว่าดีแล้ว จงรับราชการ
เถิด. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระองค์ทรงโปรด
ตั้งเบี้ยหวัดแก่เขาเถิด. พระราชาตรัสว่า ลูกศิษย์ของท่าน

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จะได้เบี้ยหวัดเท่ากับท่านไม่ได้ เมื่อท่านได้หนึ่งร้อย เขาก็ต้อง
ได้ห้าสิบ เมื่อท่านได้สองร้อย เขาก็ต้องได้หนึ่งร้อย. พระโพธิสัตว์
กลับมาบ้านบอกเรื่องนั้นแก่ลูกศิษย์. ลูกศิษย์กล่าวว่า ท่าน
อาจารย์ ข้าพเจ้ารู้ศิลปะเท่ากับท่าน ถ้าจะได้เบี้ยหวัดเท่ากับ

ท่านเหมือนกัน ข้าพเจ้าจะรับราชการ ถ้าไม่ได้จะไม่ขอรับ
ราชการ. พระโพธิสัตว์กราบทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระ-
ราชาตรัสว่า ถ้าเขาทัดเทียมเท่ากับท่านทุกประการ สามารถ
แสดงศิลปะเท่ากับท่านทีเดียว ก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์

จึงบอกเรื่องนั้นแก่ลูกศิษย์. เมื่อลูกศิษย์กล่าวว่าดีแล้ว ข้าพเจ้า
จะแสดง จึงไปกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า ถ้า
เช่นนั้นจงแสดงศิลปะกันพรุ่งนี้เถิด. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า
ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักแสดงกัน ขอพระองค์โปรดให้

ตีกลองป่าวร้องเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาได้ให้ตีกลองป่าวร้อง
ว่า พรุ่งนี้อาจารย์กับลูกศิษย์ทั้งสองจะแสดงศิลปะ ผู้ประสงค์
จะดูจงพากันมาดูที่สนามหลวง. อาจารย์คิดว่า ลูกศิษย์ของเรา
ยังไม่รู้ความฉลาดในอุบาย จึงจับช้างมาเชือกหนึ่ง ฝึกให้จดจำ
กลับวิธีโดยคืนเดียวเท่านั้น. อาจารย์ให้ช้างสำเหนียกอย่างนี้

คือ เมื่อบอกให้เดินก็ให้ถอย เมื่อบอกให้ถอยก็ให้เดิน บอกให้
เทาก็ให้ลุก เมื่อบอกให้ลุกก็ให้เทา เมื่อบอกให้จับก็ให้วาง เมื่อ
บอกให้วางก็ให้จับ. รุ่งขึ้นจึงขึ้นช้างเชือกนั้นไปที่สนามหลวง
ฝ่ายลูกศิษย์ก็ขึ้นช้างที่ถูกใจเชือกหนึ่งไป. มหาชนประชุมกัน
แล้ว ทั้งสองคนได้แสดงศิลปะเท่า ๆ กันแล้ว. พระโพธิสัตว์จึง

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ให้ช้างของตนทำสิ่งที่ตรงกันข้ามอีก. ช้างนั้นเมื่อบอกว่าจงไป
ก็ถอยกลับ เมื่อบอกว่าจงถอยกลับได้วิ่งไปข้างหน้า เมื่อบอกว่า
จงยืนขึ้นได้เทาลง เมื่อบอกว่าจงเทาก็ลุกยืน เมื่อบอกว่าจงหยิบ
ก็ทิ้งเสีย เมื่อบอกว่าจงทิ้งก็ได้หยิบ. มหาชนกล่าวว่า แน่ะศิษย์
ผู้ชั่วร้ายทำการแข่งดีกับอาจารย์ไม่รู้ประมาณตน เข้าใจว่า

รู้เสมอกับอาจารย์ ต่างก็เอาก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ประหาร
ให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง. พระโพธิสัตว์ลงจากช้างเข้าเฝ้า
พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าศิลปะบุคคลย่อม
เรียนเพื่อความสุขแก่ตน แต่ศิลปะที่บุคคลบางคนเรียนแล้ว กลับ
นำความพินาศมาสู่ ดุจรองเท้าที่ทำไม่ดีฉะนั้น ได้กล่าวคาถา
สองคาถานี้ว่า :-

รองเท้าที่คนซื้อมาเพื่อประโยชน์จะให้
สบายเท้า กลับนำความทุกข์มาให้ รองเท้านั้น
ถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง ก็กลับกัด
เท้าของผู้นั้นนั่นแหละ ฉันใด ผู้ใดเกิดในตระกูล
ต่ำไม่ใช่อารยชน เรียนวิชาและศิลปะมาจาก
สำนักอาจารย์ได้แล้ว ผู้นั้นย่อมฆ่าตนเองด้วย
ศิลปะที่เรียนมาในสำนักของอาจารย์นั้น ฉันนั้น
บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า ไม่ใช่อารยชนเปรียบ
ด้วยรองเท้าที่ทำไม่ดี ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทพฺพเห คือนำมา. บทว่า
ฆมฺมาภิตตฺตา ตลสา ว ปีฬิตา ได้แก่ รองเท้านั้นถูกแดดเผาบ้าง
ถูกพื้นเท้าบีบบ้าง. บทว่า ตสฺเสว ความว่า รองเท้าที่ทำไม่ดี
ที่เขาซื้อมาสวมเท้าเพื่อความสบายเท้า ครั้นถูกแดดเผา ถูกพื้น

เท้าบีบย่อมกัดเท้าเป็นแผล. บทว่า ทุกฺกุลิโน ได้แก่ บุคคลผู้มี
ชาติทราม มิใช่บุตรของผู้มีตระกูล. บทว่า อนริโย คือ เป็น

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อสัตบุรุษ ขาดหิริโอตตัปปะ. บทว่า วิชฺชญฺจ ได้แก่ เรียนเอา
วิทยฐานะทั้ง ๑๘ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า สุตํ
ได้แก่ สุตะคือปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมกัดตัวเองด้วย
สูตรในสำนักอาจารย์นั้น. บทว่า โส ความว่า บุคคลผู้ใดเกิด

ในตระกูลต่ำ ไม่มีอารยธรรมเรียนวิชาและสูตะจากอาจารย์
บุคคลผู้นั้นย่อมกัดตนเองด้วยสุตะในสำนักอาจารย์นั้น ฉันนั้น.
บทว่า อนริโย วุจฺจตุปาหนุปโม คือ บัณฑิตเรียกว่าเป็นผู้ไม่มี
อารยธรรม เปรียบด้วยรองเท้าไม่ดี.

พระราชาทรงโปรดปรานประทานยศยิ่งใหญ่แก่พระ-
โพธิสัตว์.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดก. ลูกศิษย์ในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน
อาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอุปาหนชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภกุมาริกาผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ดังนี้.

ได้ยินว่า กุมาริกานั้นเป็นธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ในกรุง
สาวัตถี เห็นเครื่องสักการะที่เขาทำแก่โคอุสภราชในบ้านของ
ตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า แน่ะแม่ นั่นชื่อไร จึงได้เครื่องสักการะ
อย่างนี้. พี่เลี้ยงตอบว่า ชื่อโคอุสภราชจ้ะ. ครั้นวันหนึ่งนางยืน

อยู่ตรงหน้าต่างแลดูระหว่างถนนเห็นชายค่อมผู้หนึ่งคิดว่า โค
ที่เป็นใหญ่ในหมู่โคย่อมมีโหนกที่หลัง แม้มนุษย์ผู้เป็นใหญ่ก็คง
มีโหนกเช่นเดียวกัน บุรุษผู้นี้คงเป็นบุรุษอุสภราชเป็นแน่ เรา
ควรเป็นบาทบริจาริกาของบุรุษนี้. นางจึงใช้ทาสีไปบอกแก่ชาย

ค่อมว่า ธิดาเศรษฐีอยากจะไปกับท่าน ท่านจงไปรออยู่ ณ ที่โน้น
แล้วถือเอาของมีค่าปลอมตัวไม่ให้ใครรู้จักลงจากปราสาทหนีไป
กับชายค่อมนั้น. ต่อมา การกระทำของธิดาเศรษฐีนั้นได้ปรากฏ
กันในนครและหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม

ว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าธิดาเศรษฐีชื่อโน้นหนีไปกับชายค่อม.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก
เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธิดาเศรษฐีนี้
มิใช่ปรารถนาชายค่อมในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ปรารถนา
เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในตำบล
หนึ่ง ครั้นเจริญวัยแล้วมีครอบครัว เจริญด้วยบุตรธิดาทั้งหลาย
จึงได้สู่ขอธิดาของเศรษฐีกรุงพาราณสีให้แก่บุตรของตน กำหนด
วันกันแล้ว. ธิดาเศรษฐีเห็นเครื่องสักการะ สัมมานะของโค

อุสภราชที่เรือนของตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า สัตว์นี้ชื่ออะไร ได้
ฟังว่า โคอุสภราช ครั้นเห็นชายค่อมเดินอยู่ระหว่างถนน คิดว่า
ชายนี้คงเป็นบุรุษอุสภราช จึงถือห่อของมีค่าหนีไปกับชายค่อม
นั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่าจักนำธิดาเศรษฐีมาเรือน จึงไปยัง
กรุงพาราณสีกับบริวารเป็นอันมาก เดินทางไปทางนั้นเหมือน

กัน. ฝ่ายชายค่อมกับธิดาเศรษฐี ทั้งคู่นั้นเดินทางกันตลอดคืน.
ครั้งนั้น ชายค่อมซึ่งถูกความหนาวเบียดเบียนตลอดคืน ได้เกิด
โรคลมกำเริบขึ้นในร่างกาย ในเวลาอรุณขึ้น เกิดทุกขเวทนา
สาหัส. เขาจึงแวะลงจากทางทนทุกขเวทนานอนขดตัวดังคันพิณ.

ฝ่ายธิดาเศรษฐีก็นั่งอยู่ที่ใกล้เท้าของเขา. พระโพธิสัตว์เห็น
ธิดาเศรษฐีนั่งอยู่ที่ใกล้เท้าชายค่อมจำได้จึงเข้าไปหา. เมื่อจะ
สนทนากับธิดาเศรษฐี ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียว บุรุษเตี้ยค่อมผู้
โง่เขลานี้จะนำทางไปไม่ได้แน่ ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ
เจ้าไม่สมควรจะไปกับบุรุษเตี้ยค่อมผู้นี้เลย.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ความว่า แน่ะ
แม่เจ้า คิดประโยชน์อันใดจึงได้หนีไปกับชายค่อมนี้ ประโยชน์
อันนั้นเจ้าคงจะคิดคนเดียว. บทว่า พาโล อปริณายโก ความว่า
เพราะว่าชายค่อมผู้เป็นพาลนี้ โดยที่มีปัญญาทรามถึงจะแก่ก็

ยังโง่ จะเป็นเมื่อไม่มีผู้อื่นพาไปก็ไม่สามารถจะพาไปได้. แน่ะ
นางผู้เจริญ เจ้าก็เกิดในตระกูลใหญ่มีรูปงามน่าเอ็นดู จึงไม่ควร
ไปกับชายค่อมผู้ต่ำต้อยเพราะเตี้ยนี้.
ลำดับนั้น ธิดาเศรษฐีฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว กล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-

ดิฉันเข้าใจว่าบุรุษค่อมเป็นผู้องอาจ จึงได้
รักใคร่บุรุษค่อมผู้นี้นอนตัวงออยู่ ดุจคันพิณที่มี
สายขาดแล้ว ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่ท่านเจ้า ข้าพเจ้าเห็น
โคอุสภราชตัวหนึ่ง คิดว่าโคที่เป็นใหญ่กว่าโคทั้งหลายมีโหนก
ที่หลัง แม้บุรุษนี้ก็มีโหนกนั้น คงจะเป็นบุรุษอุสภราช ข้าพเจ้า
เข้าใจชายค่อมว่าเป็นบุรุษอุสภราชจึงรักใคร่ ชายค่อมนี้นั้น
นอนตัวงออยู่เหมือนคันพิณที่สายขาดมีแต่ราง ฉะนั้น.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า นางปลอมตัวหนีมาจึงให้อาบน้ำ
ตกแต่งตัวให้ขึ้นรถไปยังเรือนของตน.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ธิดาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นธิดาเศรษฐีในครั้งนี้นี่แหละ
ส่วนพระราชากรุงพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวีณาถูณชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุกระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า กามํ
ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นถูกนำไปยังธรรมสภา พระ-
ศาสดาตรัสถาม ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ กราบ
ทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เธอกระสันเพราะเหตุใด.
กราบทูลว่า เพราะเหตุกามคุณ. ลำดับนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า กามคุณเหล่านี้เช่นกับลูกชะนัก เมื่อได้ที่
ตั้งในหัวใจครั้งเดียว ย่อมให้ถึงความตายได้ทีเดียว เหมือนชะนัก
อันปักเข้าไปแล้ว ยังจระเข้ให้ถึงความตาย ฉะนั้นแล้วทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี
โดยธรรม วันหนึ่งประพาสอุทยานเสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.
พนักงานผู้ชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ก็ประกอบการ
ฟ้อนรำขับร้องถวาย. ปลาและเต่าทั้งหลายที่สระโบกขรณี ต่าง

ก็มารวมกันเพราะมีใจจดจ่ออยู่ในเสียงขับร้อง ว่ายน้ำตามพระ-
ราชาไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นฝูงปลาประมาณเท่าลำตาล
ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เหตุไรหนอ พวกปลาเหล่านี้จึง
เที่ยวตามเราไป. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ปลาเหล่านี้คอยรับใช้

พระองค์. พระราชาโปรดปรานว่า แม้ปลาเหล่านี้ก็ยังคอยรับใช้
เรา จึงทรงตั้งอาหารไว้ประจำวันของปลาเหล่านั้น. เจ้าหน้าที่
ต้องหุงข้าวสารหนึ่งอัมมณะทุก ๆ วัน. ต่อมาปลาทั้งหลายถึง
เวลาให้อาหารบางพวกก็มา บางพวกก็ไม่มา อาหารก็เสีย.

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เขาจึงกราบทูลความนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า ตั้งแต่
ไปจงตีกลองเวลาให้อาหาร. เมื่อพวกปลามารวมกันตามเสียง
กลองแล้วก็จงให้อาหารเถิด. ตั้งแต่นั้นพนักงานผู้จัดอาหาร
ให้ตีกลองแล้วจึงให้อาหารแก่พวกปลาที่มารวมกัน. แม้พวกปลา
เหล่านั้นก็มารวมกันกินอาหารตามสัญญาเสียงกลอง. เมื่อพวก

ปลารวมกันกินอาหารอยู่อย่างนี้ มีจระเข้ตัวหนึ่งมากินปลา.
เจ้าหน้าที่จัดอาหารจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรง
สดับดังนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงเอาชะนักแทงจระเข้ที่เข้ามาใน
เวลากินปลา แล้วจับตัวให้ได้. เขารับพระราชโองการแล้ว

กลับไปลงเรือคอยอยู่ ได้ใช้ชะนักแทงจระเข้ซึ่งเข้ามากินปลา.
ชะนักเสียบติดหลังจระเข้นั้น จระเข้ได้รับทุกขเวทนา จึงหนี
พาเอาชะนักนั้นติดไปด้วย. เจ้าหน้าที่จัดอาหารทราบว่าแทงถูก
จระเข้แล้ว เมื่อจะว่ากะจระเข้นั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

เจ้าปรารถนาในที่ใด ก็จงไปในที่นั้นเถิด
เจ้าเป็นผู้ถูกชะนักของเราแทงแล้ว เจ้าเป็นผู้โลภ
ด้วยอาหารแท้ เมื่อติดตามปลาทั้งหลายมาก็ถูก
อาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามํ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า
ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ความว่า ท่านปรารถนาในที่ใด จงไปใน
ที่นั้นเถิด บทว่า มมฺมมฺหิ คือ ในที่ของเรา. บทว่า อนุพนฺธมาโน
ความว่า เจ้าเมื่อเขาให้อาหารด้วยสัญญาเสียงกลอง เป็นผู้โลภ
ติดตามปลาหวังจะกิน ก็ถูกอาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.
แม้ในที่ที่ท่านไป ท่านก็จะไม่มีชีวิต.

จระเข้นั้นไปถึงที่อยู่ของตนแล้วก็ตาย.
พระศาสดาครั้นทรงแสดงชาดกนี้แล้ว ตรัสรู้แล้วได้
ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

* สติ + ปัญญา รักษากาย วาจา ใจให้ดี
มีความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม
• อ่านแล้วอ่านอีก ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจยิ่งเห็นธรรมที่ชัดแจ้งขึ้นเรื่อยๆ
• อย่ามัวคิดอายในการทำความดีกันอยู่เลย ชนะความ
• อายด้วยความกล้าบอก กล้าพูด กล้าแนะนำ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2018, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลเห็นแก่โลกามิสแม้อย่างนี้ ชอบ
ประพฤติตามอำนาจของจิตย่อมเดือดร้อน เขา
ย่อมเดือดร้อนอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติและสหาย
ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลกามิสํ ได้แก่ กามคุณ ๕ เพราะ
กามคุณ ๕ เหล่านั้น ชาวโลกถือว่าเป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพึงพอใจ ฉะนั้น จึงเรียกว่า โลกามิส. บทว่า โอปตนฺโต
ความว่า บุคคลผู้เป็นไปตามโลกามิสนั้น เป็นผู้คล้อยตามอำนาจ
จิตด้วยอำนาจกิเลส ย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความพินาศ บทว่า

โส หญฺญติ ความว่า บุคคลนั้นยึดถือกามคุณ ๕ ว่าเป็นที่น่าพึง
พอใจ แล้วย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความมหาพินาศ ในท่ามกลาง
ญาติและสหายทั้งหลาย ดุจจระเข้ที่ไล่ตามปลาถูกแทงด้วยชะนัก
ฉะนั้น ดังนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม ภิกษุ
กระสันตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น
คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวิกัณณชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 40, 41, 42, 43, 44, 45, 46 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร