วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 04:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 171, 172, 173, 174, 175, 176, 177 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ต้นก้างปลา กำยาน คัดเค้า ชะเอม มะลิเลื้อย มะลิ
ธรรมดา ชบา บัวบก ย่อมงดงาม แคฝอย ฝ้ายทะเล
กรรณิการ์ บานแล้ว ปรากฏดังข่ายทอง งามรุ่งเรือง
ดุจเปลวเพลิง ดอกไม้เหล่านั้นเหล่าใดเกิดแต่ที่ดอน
และในน้ำ ดอกไม้เหล่านั้นทั้งหมดปรากฏในสระนั้น
เพราะขังน้ำอยู่มากน่ารื่นรมย์ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สาสโป ได้แก่ พรรณผักกาด. บทว่า
พหุโก แปลว่า มาก. บทว่า นาทิโย หริตายุโต ความว่า กระเทียม
ประกอบด้วยใบเขียว ธรรมชาติกระเทียมเหล่านี้มีสองชนิด กระเทียมแม้นั้นมี
มากที่สระนั้น. บทว่า อสีตาลาว ติฏฐนติ ความว่า ต้นไม้มีชื่อว่าเหลา
ชะโอนอย่างนี้ปรากฏ ณ ภูมิภาคที่เรียบราบ ตั้งอยู่คล้ายต้นตาล. บทว่า

เฉชชา อินทวรา พหู ความว่า ที่ริมน้ำมีผักสามหาวเป็นอันมาก พอ
ที่จะเด็ดได้ด้วยกำมือตั้งอยู่. บทว่า อปโผฏา ได้แก่ เถาโคกกระออม.
บทว่า วลลิโภ ขุททปุปผิโย ได้แก่ บรเพ็ด และชิงช้าชาลี. บทว่า
นาคมลลิกา ได้แก่ ไม้กากะทิงและมะลิซ้อน. บทว่า กึสุกวลลิโย ได้
แก่ ธรรมชาติไม้เถาที่มีกลิ่นหอมเป็นประมาณ. บทว่า กเตรุหา ปวาเสนฺติ

ได้แก่ ทั้งสองอย่างเหล่านี้เป็นไม้กอมีดอก. บทว่า มธุคนธิยา ได้แก่ มี
กลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า นิลิยา สุมนา ภณฑี ได้แก่ มะลิเลื้อย มะลิ
ปกติ และชบา. บทว่า ปทุมตตโร ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. บทว่า กณิการา
จ ได้แก่ กรรณิการ์เถาบ้าง กรรณิการ์ต้นบ้าง. บทว่า เหมชาลาว ความ
ว่า ปรากฏเหมือนข่ายทองที่ขึงไว้. บทว่า มโหทธิ ได้แก่ สระมุจลินท์ขัง
น้ำไว้มาก.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น มีเหล่าสัตว์ที่เที่ยวหา
กินในน้ำเป็นอันมาก คือปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลา
ดุก จระเข้ ปลามังกร ปลาฉลาม ผึ้งที่ไม่มีตัว ชะ-
เอมเครือ กำยาน ประยงค์ กระวาน แห้วหมู สัตต-
บุษย์ สมุลแว้ง ไม้กฤษณาต้นมีกลิ่นหอม แฝกดำ
แฝกขาว บัวบก เทพทาโร โกฐทั้ง ๙ กระทุ่มเลือด
และดองดึง ขมิ้น แก้วหอม หรดาลทอง คำคูน
สมอพิเภก ไคร้เครือ การบูรและรางแดง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถสสา โปกขรณิยา ความว่า
อัจจุตฤาษีกล่าวเรียกสระนั่นแหละว่าโบกขรณีในที่นี้ เพราะเป็นเช่นกับสระโบก-
ขรณี. บทว่า โรหิตา เป็นต้น เป็นชื่อของสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำเหล่านั้น.
บทว่า มธุ จ ได้แก่ ผึ้งที่ไม่มีตัว. บทว่า มธุลฏฐิ จ ได้แก่ ชะเอม
เครือ. บทว่า ตาลิยา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ.
อนึ่ง ที่ป่านั้นมีเหล่าราชสีห์ เสือโคร่ง ยักขินี

ปากเหมือมลา และเหล่าช้าง เนื้อฟาน ทราย กวางดง
ละมั่ง ชะมด สุนัขจิ้งจอก กระต่าย บ่าง สุนัขใน
จามรี เนื้อสมัน ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิง
โทน กวาง ละมั่ง หมี โคถึก ระมาด สุนัขป่า
พังพอน กระแต มีมากที่ใกล้สระนั้น กระบือป่า
สุนัขใน สุนัขจิ้งจอก ลิงลมมีโดยรอบ * คชสีห์
มีตระพองดังคชสาร เสือดาว เสือเหลือง กระต่าย

แร้ง ราชสีห์ เสือแผ้ว ละมั่ง นกยูง หงส์ขาว และ
ไก่ฟ้า นกกวัก ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากัน
และกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นก
ต้อยตีวิด นกกระเรียน นกหัสดิน เหล่าเหยี่ยว นก-
โนรี นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน นก
กระทา อีรุ้ม อีร้า เหล่านกค้อนหอย นกพระหิต

นกคับแล นกกระทา นกกระจอก นกแซงแซว นก
กระเต็น และนกกางเขน นกกรวิก นกกระไน


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นกเค้าโมง นกเค้าแมว สระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยฝูง
นกนานาชนิด กึกก้องไปด้วยเสียงต่าง ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุริสาลู ได้แก่ ยักขินีมีปากเหมือนลา.
บทว่า โรหิตา สรภา มิคา ได้แก่ กวางดง ละมั่ง ชะมด. บทว่า
โกฏฐสุณา ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. ปาฐะว่า โกฏฐโสณา ก็มี. บทว่า
สุโณปิ จ ได้แก่ มฤคชาติเล็ก ๆ ที่ว่องไวชนิดหนึ่ง. บทว่า ตุลิยา ได้
แก่ บ่าง. บทว่า นฬสนนิภา ได้แก่ สุนัขในมีสีคล้ายดอกอ้อ. บทว่า

จามรี จลนี ลงฺฆี ได้แก่ จามรี เนื้อสมันและลิงลม. บทว่า ฌาปิตา
มกกฏา ได้แก่ ลิงใหญ่สองชนิดนั่นแล. บทว่า ปิจุ ได้แก่ ลิงตัวเมียชนิด
หนึ่งหาอาหารกินที่ริมสระ. บทว่า กกกฏา กตมายา จ ได้แก่ มฤคใหญ่
สองชนิด. บทว่า อิกฺกา ได้แก่ หมี. บทว่า โคณสิรา ได้แก่ โคป่า.
บทว่า กาฬเกตฺถ พหุตโส ความว่า ชื่อว่า เหล่ากาฬมฤคมีมากใกล้สระนี้.
บทว่า โสณา สิงฺคาลา ได้แก่ สุนัขป่า สุนัขใน และสุนัขจิ้งจอก.

บทว่า จปฺปกา ความว่า เหล่าลิงลมที่อาศัยบนกอไผ่ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่รอบ
อาศรม. บทว่า อากุจฺจา ได้แก่ *. บทว่า ปจฺลากา ได้แก่ คชสีห์มี
ตะพองดังคชสาร. บทว่า จิตฺรกา จาปิ ทีปิโย ได้แก่ เสือดาว และ
เสือเหลือง. บทว่า เปลกา จ ได้แก่ กระต่าย. บทว่า วิฆาสาทา ได้
แก่ นกแร้งเหล่านั้น. บทว่า สีหา ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า โกก-
นิสาตกา ได้แก่ มฤคร้ายที่มีปกติจับสุนัขป่ากิน. บทว่า อฏฐปาทา ได้
แก่ ละมั่ง. บทว่า ภสสรา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า กุกฏฐกา ได้แก่

ไก่ฟ้า. บทว่า จงฺโกรา ได้แก่ นกกด. บทว่า กุกกุฏา ได้แก่
ไก่ป่า. บทว่า ทินทิภา โกญฺจวาทิกา ได้แก่ เหล่านกทั้งสามชนิดนี้นั่น
แล. บทว่า พยคฆินสา ได้แก่ เหยี่ยว. บทว่า โลหปิฏฐา ได้แก่ นก
สีแดง. บทว่า จปปกา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า กปิญชรา ติตติ-
ราโย ได้แก่ นกกระเรียนและนกกระทา. บทว่า กุลาวา ปฏิกุฏฐกา


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้แก่ นกทั้งหลายสองชนิดแม้เหล่านี้. บทว่า มณฑาลกา เจลเกฬุ
ได้แก่ นกค้อนหอย และนกพระหิต. บทว่า ภณฑุติตติรนามกา ได้
แก่ นกคับแค นกกระทา และนกแขวก. บทว่า เจลาวกา ปิงคุลาโย
ได้แก่ สกุณชาติสองชนิด นกกระเต็น นกกางเขน ก็เหมือนกัน. บทว่า
สคคา ได้แก่ นกกระไน. บทว่า อุหุงการา ได้แก่ นกเค้าแมว.
ยังมีนกทั้งหลายที่ใกล้สระนั้น คือเหล่านกขน

เขียว เรียกนกพระยาลอ พูดเพราะ พร้อมกับตัวเมีย
ร่ำร้องต่อกันและกันบันเทิงอยู่ และเหล่านกที่มีเสียง
ไพเราะ มีนัยน์ตางาม มีหางตาสีขาวทั้งสองข้าง มีขน
ปีกวิจิตร มีอยู่ใกล้สระนั้น อนึ่งเหล่าสกุณชาติที่มีอยู่
ใกล้สระนั้น เป็นพวกนกมีเสียงไพเราะ มีหงอนและ
ขนคอเขียว ร่ำร้องต่อกันและกัน เหล่านกกระไน

นกกด นกเปล้า นกดอกบัว เหยี่ยวแดง เหยี่ยวกัน
ไกร นกกระลิง นกแขกเต้า นกสาลิกาสีเหลือง สี-
แดง สีขาว นกกระจิบ นกหัสดิน นกเค้าโมง
นกเคล้า นกแก้ว นกดุเหว่า นกออกดำ นกออกขาว
หงส์ขาว นกค้อนหอย นกระวังไพร หงส์แดง นก
กระไน นกโพระดก นกพระหิด นกพิลาป หงส์ทอง
นกจากพราก ผู้เที่ยวไปทั้งในน้ำและบนบก และนก
หัสดินทรี ร้องน่ายินดี ร้องในกาลเช้ากาลเย็น ยัง

เหล่าสกุณชาติมีสีต่างกันเป็นอันมาก มีอยู่ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องต่อกันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นเสียงไพเราะ ร้องอยู่สองฟากสระมุจลินท์
อนึ่งยังมีเหล่าสกุณชาติชื่อกรวี (การเวก) ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องหากันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทั้งหมดนั้นร้องเสียงไพเราะ อยู่สองฟากสระมุจลินท์
อนึ่งยังมีเหล่าสกุณชาติชื่อกรวี (การเวก) ที่ใกล้สระ
นั้น ร่ำร้องหากันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ
ทั้งหมดนั้นร้องเสียงไพเราะ อยู่สองฟากสระมุจลินท์
สองฟากสระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยเนื้อทรายและกวาง
มีหมู่ช้างอยู่อาศัย ปกคลุมไปด้วยลดาวัลย์ต่าง ๆ อัน
ชะมดอยู่อาศัยแล้ว และแถบสระมุจลินท์นั้นมีหญ้า

กับแก้ ข้าวฟ่าง ลูกเดือยมากมาย และข้าวสาลีที่
เกิดเองตามธรรมชาติ และอ้อยก็มีมิใช่น้อยที่ใกล้
สระมุจลินท์นั้น นี้เป็นหนทางเดินได้คนเดียวจึงไป
ได้ตรงไปจะถึงอาศรมสถาน บุคคลถึง ณ อาศรมนั้น
แล้วจะไม่ได้ความลำบาก ความระหายและความไม่ยิน
ดีแต่อย่างไรเลย เป็นที่พระเวสสันดรราชฤาษีพร้อม

ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีประทับอยู่ ทรง
เพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะในการบูชาเพลิง และชฏา ทรงหนังเสือเหลือง
เป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน นมัสการเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลกา ได้แก่ มีขนปีกลายวิจิตรสวย
งาม. บทว่า มญชุสสราสิตา ได้แก่ มีเสียงไพเราะเป็นนิตย์. บทว่า
เสตกขูฏา ภทรกขา ความว่า มีนัยน์ตางาม ประกอบด้วยหางตาขาวทั้ง
สองข้าง. บทว่า จิตรเปกขณา ได้แก่ มีขนปีกอันวิจิตร. บทว่า กุฬีรกา
ได้แก่ นกกด. บทว่า โกฏฐา เป็นต้น เป็นเหล่าสกุณชาติ. บทว่า วารณา
ได้แก่ นกหัสดีลิงค์. บทว่า กทมพา ท่านกำหนดเอานกแก้วใหญ่. บทว่า

สุวโกกิลา ได้แก่ นกแก้วที่เที่ยวไปกับนกดุเหว่า และนกดุเหว่าทั้งหลาย.
บทว่า กุกกุสา ได้แก่ นกออกดำ. บทว่า กุรุรา ได้แก่ นกออกขาว.
บทว่า หํสา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า อาฏา ได้แก่ นกที่มีปากมีสัณฐาน
คล้ายทัพพี. บทว่า ปริวเทนฺติกา ได้แก่ สกุณชาติชนิดหนึ่ง. บทว่า
วารณภิรุทา รมฺมา ได้แก่ นกหัสดินทรีร้องน่ายินดี. บทว่า อุโภ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กาลุปกูชิโน ความว่า ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ตลอดเชิงบรรพต
ทั้งเย็นทั้งเช้า. บทว่า เอเณยยา ปสตากิณณํ ความว่า เกลื่อนไปด้วย
เนื้อทราย กวาง และกวางดาวทั้งหลาย. บทว่า ตตถ ปตโต น วินทติ
ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนที่ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรแล้ว จะไม่ได้
ความหิวหรือความระหายน้ำดื่มหรือความไม่พอใจ ในอาศรมนั้นเลย.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชูชกพรหมพันธุ์ได้ฟังคำของพระอัจจุตฤาษีนี้
แล้ว ทำประทักษิณพระฤาษีมีจิตยินดีหลีกไปยังสถาน
ที่พระเวสสันดรประทับอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสสนตโร อหุ ความว่า พระเวส-
สันดรมีอยู่ในที่ใด ชูชกก็ไปสู่ที่นั้น.
จบมหาวนวรรณนา

ฝ่าย ชูชก ไปจนถึงฝั่งโบกขรณีสี่เหลื่อมตามทางที่ พระอัจจุตดาบส
บอก คิดว่า วันนี้เย็นเกินไปเสียแล้ว บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จกลับจากไป
ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงย่อมกระทำอันตรายแก่ทาน พรุ่งนี้เวลาพระนางเสด็จไปป่า เรา
จึงไปสู่อาศรมบทเฝ้าพระเวสสันดรราชฤาษี ทูลขอกุมารกุมารีทั้งสอง เมื่อพระ
นางยังไม่เสด็จกลับ ก็จักพาสองกุมารกุมารีนั้นหลีกไป จึงขึ้นสู่เนินภูผาแห่ง
หนึ่งในที่ไม่ไกลสระนั้นนอน ณ ที่มีความสำราญ.

ก็ราตรีนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบิน ความในพระ-
สุบินนั้นว่า มีชายคนหนึ่งผิวดำนุ่งห่มผ้ากาสายะสองผืน ทัดดอกไม้สีแดงทั้ง
สองหู ถืออาวุธตะคอกขู่มาเข้าสู่บรรณศาลาจับพระชฎาของพระนางคร่ามา ให้
พระนางล้มหงาย ณ พื้น ควักดวงพระเนตรทั้งสองและตัดพระพาหาทั้งสองของ
พระนางผู้ร้องไห้อยู่ ทำลายพระอุระถือเอาเนื้อพระหทัย ซึ่งมีหยาดพระโลหิต

ไหลอยู่แล้วหลีกไป พระนางมัทรีตื่นบรรทมทั้งตกพระหทัยทั้งสะดุ้ง ทรง
รำพึงว่า เราฝันร้าย บุคคลผู้จะทำนายฝันเช่นกับพระเวสสันดรไม่มี เราจัก
ทูลถามพระองค์ ทรงคิดฉะนี้แล้วเสด็จไปเคาะพระทวารบรรณศาลาแห่งพระ
มหาสัตว์.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงเคาะพระทวารนั้น จึงตรัสทัก
ถามว่า นั่นใคร พระนางทูลสนองว่า หม่อมฉันมัทรี พระเจ้าค่ะ พระเวส-
สันดรตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอทำลายกติกาวัตรของเราทั้งสองเสียแล้ว
เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาอันไม่สมควร พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ หม่อมฉันมิได้มาเฝ้าด้วยอำนาจกิเลส ก็แต่ว่าหม่อมฉันฝันร้าย พระเวส-
สันดรตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงเล่าไป พระนางมัทรีก็เล่าถวายโดยทำนองที่

ทรงสุบินทีเดียว พระมหาสัตว์ทรงกำหนดพระสุบินนั้นแล้วทรงดำริว่า ทาน
บารมีของเราจักเต็มรอบ พรุ่งนี้จักมียาจกมาขอบุตรี เราจักยังนางมัทรีให้อุ่น
ใจแล้วจึงกลับไป ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า แน่ะมัทรี จิตของเธอขุ่นมัว
เพราะบรรทมไม่ดี เสวยอาหารไม่ดี เธออย่ากลัวเลย แล้วตรัสโลมเล้าเอา
พระทัย ให้อุ่นพระหทัยแล้วตรัสส่งให้เสด็จกลับไป.

ในเมื่อราตรีสว่าง พระนางมัทรีทรงทำกิจที่ควรทำทั้งปวงแล้วสวม
กอดพระโอรสพระธิดา จุมพิต ณ พระเศียรแล้วประทานโอวาทว่า แน่ะ แม่
และพ่อ วันนี้มารดาฝันร้าย แม่และพ่ออย่าประมาทแล้วเสด็จไปเฝ้าพระมหา-
สัตว์ ทูลขอให้พระมหาสัตว์ทรงรับพระโอรสและพระธิดาด้วยคำว่า ขอพระองค์
อย่าทรงประมาทในทารกทั้งสอง แล้วทรงถือกระเช้าและเสียมเป็นต้น เช็ดน้ำ
พระเนตรเข้าสู่ป่าเพื่อต้องการมูลผลาผล

ฝ่ายชูชกคิดว่า บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จไปป่าแล้ว จึงลงจากเนิน
ผามุ่งหน้ายังอาศรม เดินไปตามทางที่เดินได้เฉพาะคนเดียว ลำดับนั้นพระมหา
สัตว์เสด็จออกหน้าพระบรรณศาลาประทับนั่ง ดุจสุวรรณปฏิมาตั้งอยู่ ณ แผ่น
ศิลา ทรงคิดว่า บัดนี้ยาจกจักมา ก็ประทับทอดพระเนตรทางมาแห่งยาจกนั้น
ดุจนักเลงสุราอยากดื่มฉะนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงเล่นอยู่ใกล้

พระบาทมูลแห่งพระราชบิดา พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรทางมา ก็ทอดพระ-
เนตรเห็นชูชกพราหมณ์มาอยู่ ทรงเป็นเหมือนยกทานธุระซึ่งทอดทิ้งมา ๗
เดือน จึงตรัสว่า แน่ะพราหมณ์ผู้เจริญ แกจงมาเถิด ทรงโสมนัสเมื่อตรัส
เรียกพระชาลีราชกุมาร จึงตรัสพระคาถานี้ว่า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แน่ะพ่อชาลี พ่อจงลุกขึ้นยืน การมาของพวก
ยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของพวกยาจกครั้ง
ก่อน ๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความชื่นชมยินดี
ทำให้พ่อเกษมศานติ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปรณํ วิย ทิสสติ ความว่า การมา
ของยาจกในวันนี้ ปรากฏเหมือนการมาของยาจกทั้งหลายแต่ทิศต่าง ๆ ในนคร
เชตุดรในกาลก่อน. บทว่า นนทิโย มาภิกีรเร ความว่า จำเดิมแต่กาลที่
เราเห็นพราหมณ์นั้นความโสมนัสก็แผ่คลุมเรา เป็นเหมือนเวลารดน้ำเย็น
๑,๐๐๐ หม้อ ลงบนศีรษะของผู้ที่ถูกแดดเผาในฤดูร้อน.

พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชบิดาตรัสดังนั้น จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ แม้เกล้ากระหม่อมก็เห็น ผู้นั้น
ปรากฏเหมือนพราหมณ์ที่เขาจะต้องการอะไรมาอยู่
เขาเป็นแขกของเราทั้งหลาย.

ก็และครั้นกราบทูลฉะนี้แล้ว ได้ทรงทำความเคารพพระมหาสัตว์
เสด็จลุกไปต้อนรับพราหมณ์ชูชก ตรัสถามถึงการจะช่วยรับเครื่องบริขาร
พราหมณ์ชูชกเห็นพระชาลีราชกุมาร คิดว่า เด็กคนนี้จักเป็นพระชาลีราชกุมาร
พระราชโอรสของพระเวสสันดร เราจักกล่าวผรุสวาจาแก่เธอเสียตั้งแต่ต้นที

เดียว คิดฉะนี้แล้วจึงชี้นิ้วมือหมายให้รู้ว่า ถอยไป ถอยไป ดังนี้ พระชาลี
กุมารเสด็จหลีกไป ทรงคิดว่า ตาพราหมณ์นี้หยาบเหลือเกิน เป็นอย่างไร
หนอ ทอดพระเนตรสรีระของชูชกก็เห็นบุรุษโทษ ๑๘ ประการ ฝ่ายพราหมณ์
ชูชกเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวว่า

พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี
ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล
ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน
ทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวน-
ประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับชูชกนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่ค่อยมีอาพาธ
สุขสำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหา
ผลไม้สะดวกดี และมูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ
ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียด
เบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย
ก็ไม่ค่อยมีแก่เรา.

เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตเตรียมตรมตลอด ๗
เดือน เราเพิ่งเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศอันประเสริฐ ถือ
ไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ภาชนะสำหรับบูชาเพลิงและ
หม้อน้ำ แม้นี้เป็นครั้งแรก ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมา
ดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอให้

ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อน
พราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหวด ผลมะซาง และ
ผลหมากเม่า เป็นผลไม้มีรสหวาน เล็ก ๆ น้อย ๆ เชิญ
ท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่ม
นี้เย็น นำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญดื่มเถิด ถ้าปรารถนา
จะดื่ม.

ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า พราหมณ์นี้จัก
ไม่มาสู่ป่าใหญ่นี้โดยไม่มีเหตุการณ์ เราจักถามแกถึงเหตุที่มาไม่ให้เนิ่นช้า จึง
ตรัสคาถานี้ว่า

ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา
ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณเณน ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า
เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ชูชกทูลตอบว่า
ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลาย่อมไม่เหือดแห้ง
ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา
ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระโอรสพระธิดา
กะพระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระโอรส
พระธิดาแก่ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาริวโห ได้แก่ ห้องน้ำในปัญจมหานที.
บทว่า น ขียติ ความว่า คนผู้ระหายมาสู่แม่น้ำ ใช้มือทั้งสองบ้าง ภาชนะ
ทั้งหลายบ้างตักขึ้นดื่ม ก็ไม่หมดสิ้นไป. บทว่า เอวนตํ ยาจิตาคญฉึ
ความว่า ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นผู้มีอย่างนี้เป็นรูปทีเดียว เพราะ
เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา จึงได้มาทูลขอกะพระองค์. บทว่า ปุตเต เม เทหิ
ยาจิโต ความว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลขอแล้ว โปรดพระราชทานพระ
โอรสพระธิดาทั้งสองของพระองค์ เพื่อประโยชน์เป็นทาสของข้าพระองค์.

พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำของชูชกดังนั้นก็ทรงโสมนัส
ทรงยังเชิงบรรพตให้บันลือลั่น ดุจบุคคลวางถุงเต็มด้วยกหาปณะหนึ่งพันในมือ
ของบุคคลที่เหยียดออกรับฉะนั้น ตรัสว่า
ดูก่อนพรามณ์ เรายกให้ ไม่หวั่นไหว ท่านจง
เป็นใหญ่นำไปเถิด พระนางมัทรีราชบุตรีเสด็จไปป่า
เพื่อแสวงหาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาเวลาเย็น ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงอยู่ค้างเสียคืนหนึ่งก่อน รุ่งขึ้นเช้า

จึงไป พากุมารกุมารีซึ่งพระมารดาของเธอให้สรงแล้ว
สูดดมที่เศียรแล้ว ประดับระเบียบดอกไม้ ไปใน
มรรคาที่ปกคลุมด้วยนานาบุปผชาติประดับด้วยนานา
คันธชาติ เกลื่อนไปด้วยมูลผลาหาร.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสสโร ความว่า ท่านจงเป็นใหญ่
คือเป็นเจ้าของพระโอรสพระธิดาทั้งสองของเรา นำเขาไป แต่ยังมีเหตุการณ์
นี้อีกอย่างหนึ่งคือ พระราชบุตรีมัทรีผู้เป็นพระมารดาของกุมารกุมารีเหล่านี้ไป
หาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาจากป่าเวลาเย็น ท่านบริโภคผลาผลอร่อย ๆ ที่
พระนางมัทรีนั้นนำมา วันนี้พักอยู่คืนหนึ่งในป่านี้แหละ แล้วค่อยพาเด็กทั้ง

สองไปแต่เช้าทีเดียว. บทว่า ตสสา นหาเต ได้แก่ พระนางมัทรีสรงให้
แล้ว. บทว่า อุปสึฆาเต ได้แก่ สูดดมเศียรแล้ว. บทว่า อถ เน มาล-
ธาริเน ได้แก่ ตกแต่งด้วยระเบียบดอกไม้อันวิจิตร นำระเบียบดอกไม้นั้น
ไปด้วย. ก็บทว่า อถ เน ท่านเขียนไว้ในคัมภีร์บาลี เนื้อความของบทนั้น
ท่านมิได้วิจารณ์ไว้. บทว่า มูลผลากิณเณ ความว่า เกลื่อนไปด้วยมูล
ผลาผลต่าง ๆ ที่ให้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เสบียงในมรรคา.
ชูชกกล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ไม่ชอบใจ
อยู่แรม ข้าพระองค์ชอบใจกลับไป แม้อันตรายจะพึง
มีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ต้องไปทีเดียว เพราะว่า
สตรีทั้งหลายเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ เป็นผู้
ทำอันตราย รู้มนต์ ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย เมื่อ

พระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระศรัทธา พระองค์อย่า
ได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย พระ
มารดาจะทำอันตราย ข้าพระองค์จะต้องไปทีเดียว ขอ
พระองค์ตรัสเรียกพระโอรสพระธิดาทั้งสองมา พระ
โอรสพระธิดาทั้งสองอย่าต้องพบพระมารดาเลย เมื่อ
พระองค์ทรงบริจาคทานด้วยพระศรัทธา บุญก็ย่อม
เจริญทั่ว ด้วยประการฉะนี้.

ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระองค์ตรัสเรียกพระ-
ราชบุตรพระราชบุตรีมา พระราชบุตรพระราชบุตรีทั้ง
สองอย่าต้องพบพระมารดาเลย พระองค์พระราชทาน
ทรัพย์แก่ยาจกเช่นข้าพระองค์แล้วจักเสด็จไปสู่สวรรค์.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํ ในบาทคาถาว่า น เหตา ยาจ-
โยคี นํ นี้ เป็นเพียงนิบาต มีคำอธิบายว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดา
สตรีเหล่านี้เป็นผู้ไม่ควรจะขอเลย คือย่อมเป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอโดยแท้.
บทว่า อนตรายสส การิยา ความว่า ย่อมกระทำอันตรายแก่บุญของ
ทายก กระทำอันตรายแก่ลาภของยาจก. บทว่า มนตํ ความว่า สตรีทั้งหลาย

ย่อมรู้มายา. บทว่า วามโต ความว่า ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย ไม่
ถือเอาโดยเบื้องขวา. สทธาย ทานํ ททโต ความว่า เมื่อพระองค์ทรง
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมบริจาคทาน. บทว่า มาสํ ความว่า อย่าต้องพบ
พระมารดาของพระกุมารกุมารีเหล่านั้นเลย. บทว่า กยิรา แปลว่า พึงกระทำ.
บทว่า อามนตยสสุ ความว่า ชูชกทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้ทราบว่าจะ
ส่งไปกับข้าพระองค์. บทว่า ททโต ได้แก่ เมื่อทรงบริจาค.

พระเวสสันดรตรัสว่า
ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะพบพระมเหสีผู้มีวัตรอัน
งามของข้าไซร้ ท่านจงถวายชาลีกุมารและกัณหาชินา
กุมารีทั้งสองนี้ แด่พระเจ้าสญชัยผู้เป็นพระอัยกา
พระอัยกาทอดพระเนตรเห็นพระกุมารกุมารีทั้งสองนี้ผู้
มีเสียงไพเราะ เจรจาน่ารัก จักทรงปีติดีพระทัย
พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยยกสส ได้แก่ แด่พระเจ้าสญชัย
มหาราชผู้เป็นพระชนกนาถของเรา. บทว่า ทสสติ เต ความว่า พระเจ้า
สญชัยมหาราชพระองค์นั้นจักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน.
ชูชกทูลว่า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระราชบุตร ข้าพระองค์กลัวต่อข้อหาชิง
พระกุมารกุมารีแล้วจับข้าพระองค์ไว้ ขอพระองค์
โปรดฟังข้าพระองค์ พระเจ้าสญชัยมหาราชพึงพระ-
ราชทานตัวข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราช-
ทัณฑ์ หรือพึงให้ข้าพระองค์ขายพระโอรสพระธิดา
หรือพึงประหารชีวิตเสีย ข้าพระองค์ขาดจากทรัพย์
และทาสทาสี นางอมิตตตาปนาพราหมณีจะพึงติเตียน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจเฉทนสส ได้แก่ ต่อข้อหาชิงกุมาร
กุมารีแล้วจับ. บทว่า ราชทณฑาย มํ ทชชา ความว่า พระเจ้ากรุงสญ-
ชัยพึงพระราชทานข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราชทัณฑ์ ด้วยข้อหา
อย่างนี้ว่า พราหมณ์คนนี้เป็นโจรลักเด็ก จงลงราชทัณฑ์แก่มัน. บทว่า

คาเรยหสส พรหมพนธุยา ความว่า และข้าพระองค์จักพึงถูกนางอมิตต-
ตาปนาพราหมณีติเตียน
พระเวสสันดรตรัสว่า

พระมหาราชเจ้าผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ สถิตอยู่ใน
ธรรม ทอดพระเนตรเห็น พระกุมารกุมารีผู้มีเสียง
ไพเราะ เจรจาน่ารักนี้ ทรงได้ปีติโสมนัส จัก
พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า

ข้าพระองค์จักทำตามรับสั่งไม่ได้ ข้าพระองค์จัก
นำทารกทั้งสองไปให้บำเรอนางอมิตตตาปนาพราหมณี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารเกว ความว่า ข้าพระองค์ไม่ต้อง
การทรัพย์อย่างอื่น ข้าพระองค์จักนำสองทารกเหล่านี้ไปให้บำเรอพราหมณีของ
ข้าพระองค์.

พระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีได้สดับผรุสวาจานั้น
ของชูชกก็เกรงกลัว พากันเสด็จไปหลังบรรณศาลา แล้วหนีไปจากที่แม้นั้น
ซ่อนองค์ที่ชัฏพุ่มไม้ องค์สั่นทอดพระเนตรเห็นพระองค์เหมือนถูกชูชกมาจับ
ไปแม้ในที่นั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ ณ ที่ไร ๆ ก็วิ่งไปแต่ที่นี้บ้าง ๆ เลย
เสด็จไปถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้มั่น ตกพระทัยกลัว
ลงสู่น้ำ เอาใบบัววางไว้บนพระเศียร เอาน้ำบังองค์ประทับยืนอยู่.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระกุมารกุมารีได้ฟังคำที่ชูชกผู้ร้ายกาจ
กล่าวก็สะทกสะท้านทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา
สององค์พากันวิ่งไปแต่ที่นั้น ๆ.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายชูชกไม่เห็นสองกุมาร จึงพูดรุกรานพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระ-
เวสสันดรผู้เจริญ พระองค์ประทานกุมารกุมารีแก่ข้าพระองค์บัดนี้ ครั้น
ข้าพระองค์ทูลว่า ข้าพระองค์จักไม่ไปเชตุดรราชธานี จักนำกุมารกุมารีไปให้
บำเรออมิตตตาปนาพราหมณีของข้าพระองค์ พระองค์ก็ให้สัญญาโบกไม้โบกมือ
ให้พระโอรสพระธิดาหนีไปเสีย แล้วนั่งทำเป็นไม่รู้ คนพูดมุสาเช่นพระองค์
เห็นจะไม่มีในโลก.

ฝ่ายพระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ตกพระทัย ทรงดำริว่า เด็กทั้ง
สองจักหนีไป จึงรับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าคิดเลย เราจักนำตัวมา
ทั้งสองคน ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จลุกขึ้นไปหลังบรรณศาลา ก็ทรงทราบว่าพระ
โอรสพระธิดาเข้าไปสู่ป่าชัฏ จึงเสด็จไปสู่ฝั่งสระโบกขรณี ตามรอยพระบาท
ของสองกุมารกุมารีนั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยพระบาทลงสู่น้ำ ก็ทรงทราบ
ว่า พระโอรสและพระธิดาจักลงไปยืนอยู่ในน้ำ จึงตรัสเรียกว่า พ่อชาลี แล้ว
ตรัสคาถาว่า

ดูก่อนพ่อชาลีพระลูกรัก พ่อจงมา จงเพิ่มพูน
บารมีของพ่อให้เต็ม จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้
เย็นฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็น
ดังยานนาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อ
จักข้ามฝั่งคือชาติ จักยังมนุษย์ทั้งเทวดาให้ข้ามด้วย.

พระชาลีราชกุมารได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา จึงทรงคิดว่า
ตาพราหมณ์จงทำเราตามใจชอบเถิด เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา
จึงโผล่พระเศียรแหวกใบบัวออกเสด็จขึ้นจากน้ำ หมอบแทบพระบาทเบื้องขวา
แห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาทไว้มั่นทรงกันแสง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง

ตรัสถามพระชาลีว่า แน่ะพ่อ น้องหญิงของพ่อไปไหน พระชาลีทูลสนองว่า
ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้น ก็ย่อมรักษาตัว
ทีเดียว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองของเราจักนัดหมาย
กัน จึงตรัสเรียกว่า แม่กัณหา แม่จงมา แล้วตรัสคาถาว่า

ดูก่อนแม่กัณหาธิดารัก แม่จง มาจงเพิ่มพูนทาน
บารมีที่รักของพ่อ จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็น
ฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นดังยาน
นาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อจักข้าม
ฝั่งคือชาติ จักยกขึ้นซึ่งมนุษย์ทั้งเทวดาด้วย.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระนางกัณหาชินาราชกุมารีได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา
จึงทรงคิดว่า เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา จึงเสด็จขึ้นจากน้ำ
เหมือนกัน หมอบแทบพระบาทเบื้องซ้ายแห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาท
ไว้มั่นทรงกันแสง พระอัสสุชลของสองพระกุมารกุมารีตกลงยังหลังพระบาท
แห่งพระมหาสัตว์ ซึ่งมีพรรณดุจดอกปทุมบาน พระอัสสุชลของพระมหาสัตว์ก็
ตกลงบนพระปฤษฏางค์แห่งสองพระกุมารกุมารีซึ่งเช่นกับแผ่นทองคำ.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ถึงความกวัดแกว่ง ราวกะว่ามีพระทัยหดหู่
ทรงลูบพระปฤษฏางค์แห่งราชกุมารกุมารีด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ยังพระ-
ราชกุมารกุมารีให้ลุกขึ้นปลอบโยนแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี เจ้าไม่รู้ว่าพ่อวิตกถึง
ทานบารมีของพ่อดอกหรือ เจ้าจงยังอัธยาศัยของพ่อให้ถึงที่สุด ตรัสฉะนี้แล้ว
ประทับยืนกำหนดราคาราชบุตรราชบุตรีในที่นั้นดุจนายโคบาลตีราคาโคฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระมหาสัตว์ตรัสเรียกพระโอรสมาตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี
ถ้าพ่อใคร่เพื่อจะเป็นไท พ่อควรให้ทองคำพันลิ่มแก่พราหมณ์ชูชก จึงควร
เป็นไท ก็กนิษฐภคินีของพ่อเป็นผู้ทรงอุดมรูป ใคร ๆ ชาติต่ำพึงให้ทรัพย์เล็ก
น้อยแก่พราหมณ์ ทำกนิษฐภคินีของพ่อให้เป็นไท ทำให้แตกชาติ ยกเสียแต่

พระราชาใครจะให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น กนิษฐภคินี
ของพ่ออยากจะเป็นไท พึงให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ อย่างนี้ คือ ทาสี ทาส
ช้าง ม้า โค อย่างละ ๑๐๐ และทองคำ ๑๐๐ ลิ่ม แก่ชูชก แล้วจงเป็นไทเถิด.
พระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงกำหนดราคาพระราชกุมารกุมารีอย่างนี้แล้ว ทรง
ปลอบโยนแล้วเสด็จไปสู่อาศรม จับพระเต้าน้ำ เรียกชูชกมาตรัสว่า ดูก่อน

พราหมณ์ผู้เจริญ จงมานี่ แล้วทรงหลั่งน้ำลงในมือชูชก ทำให้เนื่องด้วยพระ-
สัพพัญญุตญาณ ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อม
เป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรและบุตรีผู้เป็นที่รักกว่าร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า เมื่อจะทรง
ยังปฐพีให้บันลือลั่นได้พระราชทานปิยบุตรทานแก่พราหมณ์ชูชก.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 171, 172, 173, 174, 175, 176, 177 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร