ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=56788
หน้า 127 จากทั้งหมด 179

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
พระราชาทรงฟังความคร่ำครวญของพระโพธิสัตว์ ทรงคิดว่า บุรุษ
นี้เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งอยู่ในธรรม ปฏิบัติบิดามารดาเยี่ยมยอด บัดนี้
ได้ความทุกข์ถึงเพียงนี้ ยังคร่ำครวญถึงบิดามารดา เราได้ทำความผิดในบุรุษ
ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมอย่างนี้ เราควรเล้าโลมเอาใจบุรุษนี้อย่างไรดีหนอ แล้ว
ทรงสันนิษฐานว่า ในเวลาที่เราตกนรก ราชสมบัติจักทำอะไรได้ เราจัก
ปฏิบัติบิดามารดาของบุรุษนี้ โดยทำนองที่บุรุษนี้ปฏิบัติแล้ว การตายของบุรุษ
นี้จักเป็นเหมือนไม่ตาย ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสว่า

ดูก่อนสามะผู้งดงามน่าดู ท่านอย่าปริเทวะมาก
เลย เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏในชมพูทวีป
ทั้งสิ้นว่าเป็นผู้แม่นยำนัก จักฆ่ามฤคและแสวงหามูล-
ผลาหารป่ามา ทำการงานเลี้ยงบิดามารดาของท่านใน
ป่าใหญ่ ดูก่อนสามะ ป่าที่บิดามารดาของท่านอยู่
อยู่ที่ไหน เราจักเลี้ยงบิดามารดาของท่าน ให้เหมือน
ท่านเลี้ยง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภริสฺสนฺเต ความว่า เราจักเลี้ยงบิดา
มารดาของท่านเหล่านั้น. บทว่า มิคานํ ได้แก่ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ
เหลืองและมฤคเป็นต้น. บทว่า วิฆาสมนฺเวสํ ความว่า แสวงหา คือ
เสาะหาซึ่งอาหาร พระราชาตรัสว่า เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ จักฆ่ามฤค

อ้วน ๆ เลี้ยงบิดามารดาของท่าน ด้วยมังสะอันอร่อย ดังนี้ เมื่อพระโพธิ-
สัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์อย่าทำการฆ่าสัตว์เพราะเหตุพวก
ข้าพระองค์เลย ดังนี้ จึงตรัสคำนี้อย่างนี้. บทว่า ยถา เต ความว่า ท่าน
ได้เลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างใด แม้ข้าพเจ้าก็จักเลี้ยงท่านทั้งสองนั้นอย่างนั้น
เหมือนกัน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้สดับพระวาจาของพระราชานั้นแล้วจึงทูลว่า
ดีแล้วพระเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์โปรดเลี้ยงดูบิดามารดาของข้าพระ-
องค์เถิด เมื่อจะชี้ทางให้ทรงทราบ จึงทูลว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ข้าแต่พระราชา หนทางที่เดินเฉพาะคนเดียวซึ่ง
อยู่ทางหัวนอนของข้าพระองค์นี้ เสด็จดำเนินไปแต่ที่
นี้ระหว่างกึ่งเสียงกู่ จะถึงสถานที่อยู่แห่งบิดามารดา
ของข้าพระองค์ ขอเสด็จดำเนินแต่ที่นี้ไป เลี้ยงดูท่าน
ทั้งสองในสถานที่นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกปที แปลว่า ทางเดินเฉพาะคนเดียว.
บทว่า อุสฺสีสเก ได้แก่ ในที่ด้านศีรษะของข้าพระองค์นี้. บทว่า อฑฺฒโฆสํ
แปลว่า ระหว่างกึ่งเสียงกู่.

พระมหาสัตว์ทูลชี้ทางแด่พระราชาอย่างนี้แล้ว กลั้นเวทนาเห็นปาน
นั้นไว้ด้วยความสิเนหาในบิดามารดาเป็นกำลัง ประคองอัญชลีทูลวิงวอนเพื่อ
ต้องการให้เลี้ยงดูบิดามารดา ได้ทูลอย่างนี้อีกว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสิราช ข้าพระบาทขอน้อมกราบ
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ ข้าพระ
บาทขอน้อมกราบพระองค์ ขอพระองค์ทรงบำรุงเลี้ยง
บิดามารดาตามืด ของข้าพระองค์ในป่าใหญ่ ข้าพระ
องค์ขอประคองอัญชลีถวายบังคมพระองค์ ขอพระ-
องค์มีพระดำรัสกะบิดามารดาของข้าพระองค์ให้ทราบ
ว่า ข้าพระองค์ไหว้นบท่านด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺโต วชฺชาสิ ความว่า พระมหา-
สัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ผู้อันข้าพระองค์ กราบทูลแล้ว
โปรดตรัสบอกการกราบไหว้ให้บิดามารดาทราบ อย่างนี้ว่า สามะบุตรของ
ท่านทั้งสอง ถูกเรายิงด้วยลูกศรอาบยาพิษที่ริมฝั่งแม่น้ำ นอนตะแคงข้างขวา
เหนือหาดทรายคล้ายแผ่นเงิน ประคองอัญชลีแก่ท่าน กราบไหว้เท้าทั้งสอง
ของท่าน.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
พระราชาทรงรับคำ พระมหาสัตว์ส่งการไหว้บิดามารดาแล้วก็ถึง
วิสัญญีสลบนิ่งไป.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า
หนุ่มสามะผู้งดงามน่าดูนั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว
ถูกกำลังแห่งพิษซาบซ่าน เป็นผู้วิสัญญีสลบไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมปชฺชถ ได้แก่ เป็นผู้วิสัญญี.
พระมหาสัตว์นั้น เมื่อกล่าวมาได้เพียงเท่านี้ก็ดับอัสสาสะ ไม่ได้กล่าว
ต่อไปอีกเลย ก็ในกาลนั้น ถ้อยคำที่เป็นไปอาศัยหทัยรูป ซึ่งติดต่อจิตแห่ง
พระโพธิสัตว์นั้นขาดแล้วเพราะกำลังแห่งพิษซาบซ่าน โอฐของพระโพธิสัตว์ก็
ปิด จักษุก็หลับ มือเท้าแข็งกระด้าง ร่างกายทั้งสิ้นเปื้อนโลหิต ลำดับนั้น

พระราชาทรงคิดว่า สุวรรณสามนี้ พูดกับเราอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นอะไรไปหนอ
จึงทรงพิจารณาตรวจดูลมอัสสาสะปัสสาสะ ของพระโพธิสัตว์ ก็ลมอัสสาสะ-
ปัสสาสะดับแล้ว สรีระก็แข็งแล้ว พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้น ก็ทรง
ทราบว่า บัดนี้สุวรรณสามตายแล้วดับแล้ว ไม่ทรงสามารถที่จะกลั้นความโศก
ไว้ได้ ก็วางพระหัตถ์ไว้บนพระเศียรครวญคร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้นทรงคร่ำครวญน่าสงสาร เป็นอัน
มากว่า เราสำคัญว่าจะไม่แก่ไม่ตาย เรารู้เรื่องนี้วันนี้
แต่ก่อนหารู้ไม่ เพราะได้เห็นสามบัณฑิตทำกาลกิริยา
ความไม่มาแห่งมฤตยูย่อมไม่มี สามบัณฑิตถูกลูกศร
อาบยาพิษ ซึมซาบแล้วพูดอยู่กะเรา ครั้นกาลล่วงไป
อย่างนี้ในวันนี้ ไม่พูดอะไร ๆ เลย เราจะต้องไปสู่
นรกแน่นอน เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย เพราะ

ว่าบาปหยาบช้า อันเราทำแล้วตลอดราตรีนานในกาล
นั้น เราทำกรรมหยาบช้าในบ้านเมือง คนทั้งหลายจะ
ติเตียนเรา ใครเล่าจะควรมากล่าวติเตียนเราในราวป่า
อันหามนุษย์มิได้ คนทั้งหลายจะประชุมกันในบ้าน
เมือง โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเรา ใครเล่าหนอจะ
โจทนาว่ากล่าวเอาโทษเราในป่าอันหามนุษย์มิได้.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสึ ความว่า เราได้มีความสำคัญว่า
จะไม่แก่ไม่ตายมาตลอดกาลเท่านี้. บทว่า อชฺเชตํ ความว่า วันนี้เราได้เห็น
สามบัณฑิตนี้ทำกาลกิริยา จึงรู้ว่าทั้งตัวเราและเหล่าสัตว์อื่น ๆ ต้องแก่ต้องตาย
ทั้งนั้น. บทว่า นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม ความว่า พระราชาทรงครวญคร่ำ
รำพันว่า ความมาแห่งมัจจุนั้น เรารู้ในวันนี้เอง เมื่อก่อนแต่นี้ เราไม่รู้เลย.

บทว่า สฺวาชฺเชวงฺคเต กาเล ความว่า พระราชาทรงแสดงว่า สามบัณฑิตใด
ถูกลูกศรอาบยาพิษซึมซาบแล้วเจรจาอยู่กะเราในบัดนี้ทีเดียว สามบัณฑิตนั้น
ครั้นมรณกาลไปคือเป็นไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่กล่าวอะไร ๆ แม้แต่น้อยเลย.
บทว่า ตทา หิ ความว่า เราผู้ยิงสามบัณฑิตในขณะนั้นได้กระทำบาปแล้ว.
บทว่า จิรํ รตฺตาย กิพฺพิสํ ความว่า ก็บาปนั้นทารุณหยาบช้าสามารถทำ

ให้เดือดร้อนตลอดราตรีนาน. บทว่า ตสฺส ความว่า ติเตียนเรานั้นผู้เที่ยว
ทำกรรมชั่วเห็นปานนี้. บทว่า วตฺตาโร ความว่า ย่อมติเตียน.ติเตียนที่ไหน?
ติเตียนในบ้าน. ติเตียนว่าอย่างไร? ติเตียนว่าเป็นผู้ทำกรรมหยาบช้า.

พระราชาทรงคร่ำครวญว่า ก็ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าควร
จะกล่าวติเตียนเรา ถ้าจะมี ก็พึงว่ากล่าวเรา. บทว่า สารยนฺติ ได้แก่ ใน
บ้านหรือในนิคมเป็นต้น. บทว่า สํคจฺฉ มาณวา ความว่า คนทั้งหลาย
จะประชุมกันในที่นั้น ๆ จะยังกันและกันให้ระลึกถึงกรรมทั้งหลาย จะโจทนา
อย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้ฆ่าคน ท่านทำทารุณกรรม ท่านต้องได้รับโทษอย่างโน้น

แต่ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าจักยังพระราชานี้ให้ระลึกถึงกรรม พระ-
ราชาทรงโจทนาตนคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

กาลนั้น เทพธิดามีนามว่าพสุนธรี อยู่ภูเขาคันธมาทน์ เคยเป็นมารดา
ของพระมหาสัตว์ในอัตภาพที่เจ็ด พิจารณาดูพระโพธิสัตว์อยู่เป็นนิจ ด้วย
ความสิเนหาในบุตร ก็วันนั้นนางเสวยทิพยสมบัติ มิได้พิจารณาดูพระมหาสัตว์
บางอาจารย์ว่า นางไปสู่เทวสมาคมเสีย ดังนี้ก็มี ในเวลาที่พระมหาสัตว์สลบ
นางพิจารณาดูว่า ความเป็นไปของบุตรเราเป็นอย่างไรบ้างหนอ ได้เห็นว่า

พระเจ้าปิลยักษ์นี้ ยิงบุตรของเราด้วยลูกศรอาบยาพิษ ให้ล้มอยู่ที่หาดทราย
ฝั่งแม่น้ำมิคสัมมตา พร่ำรำพันด้วยเสียงอันดัง ถ้าเราจักไม่ไปในที่นั้น


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
สุวรรณสามบุตรของเราจักพินาศอยู่ในที่นี้ แม้พระหทัยของพระราชาก็จักแตก
บิดามารดาของสามะจักอดอาหาร จะไม่ได้น้ำดื่ม จักเหือดแห้งตาย แต่เมื่อ
เราไป พระราชาจักถือเอาหม้อน้ำดื่มไปสู่สำนักบิดามารดาของสุวรรณสามนั้น
ก็แลครั้นเสด็จไปแล้วจักรับสั่งว่า บุตรของท่านทั้งสอง เราฆ่าเสียแล้ว และ
ทรงสดับคำของท่านทั้งสองนั้นแล้ว จักนำท่านทั้งสองนั้นไปสู่สำนักของ

สุวรรณสามผู้บุตร เมื่อเป็นเช่นนี้ ดาบสดาบสินีทั้งสอง และเราจักทำสัจจกิริยา
พิษของสุวรรณสามก็จักหาย บุตรของเราจักได้ชีวิตคืนมา จักษุทั้งสองข้าง
ของบิดามารดาสุวรรณสามจักแลเห็นเป็นปกติ และพระราชาจักได้ทรงสดับ-
ธรรมเทศนาของสุวรรณสาม เสด็จกลับพระนคร ทรงบริจาคมหาทาน ครอง
ราชสมบัติโดยยุติธรรม มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้น เราจะ
ไปในที่นั้น เทพธิดานั้นจึงไปสถิตอยู่ในอากาศโดยไม่ปรากฏกาย ที่ฝั่ง
มิคสัมมตานที กล่าวกับพระเจ้าปิลยักขราช.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เทพธิดานั้นอันตรธานไปในภูเขาคันธมาทน์ มา
ภาษิตคาถาเหล่านี้ เพื่ออนุเคราะห์พระราชาว่า พระ-
องค์ทำความผิดมาก ได้ทำกรรมอันชั่วช้า บิดามารดา
และบุตรทั้งสามผู้หาความประทุษร้ายมิได้ ถูก
พระองค์ฆ่าเสียด้วยลูกศรลูกเดียวกัน เชิญเสด็จมาเถิด
ข้าพเจ้าจะพร่ำสอนพระองค์ ด้วยวิธีที่พระองค์จะได้

สุคติ พระองค์จงเลี้ยงดูบิดามารดาทั้งสอง ผู้มีจักษุมืด
โดยธรรม ในป่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า สุคติจะพึงมีแก่
พระองค์.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 13:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโญว แปลว่า พระราชานั่นแหละ.
บทว่า อาคุํ กริ ความว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ พระองค์ได้ทรงกระทำ
ความผิดมากคือบาปมาก. บทว่า ทุกฺกฏํ ความว่า ความชั่วใดที่พระองค์
กระทำแล้วมีอยู่ พระองค์ได้กระทำแล้วซึ่งความชั่วนั้นอันเป็นกรรมลามก.
บทว่า อทูสกา แปลว่า ผู้หาโทษมิได้. บทว่า ปิตาปุตฺตา ความว่า
ชนสามคนเหล่านี้ คือ มารดาหนึ่ง บิดาหนึ่ง บุตรหนึ่ง พระองค์ฆ่าด้วย

ลูกศรลูกเดียว ด้วยว่าเมื่อพระองค์ฆ่าสุวรรณสามนั้น แม้บิดามารดาของ
สุวรรณสามผู้ปฏิพัทธ์สุวรรณสามนั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ฆ่าเสียเหมือนกัน.
บทว่า อนุสิกฺขามิ ความว่า จักให้ศึกษา คือ จักพร่ำสอน. บทว่า โปเส
ความว่า จงตั้งอยู่ในฐานะสุวรรณสาม ยังความสิเนหาให้เกิดขึ้น เลี้ยงดูบิดา
มารดาทั้งสองซึ่งตาบอดนั้น ราวกะว่าสุวรรณสาม. บทว่า มญฺเญหํ สุคตี
สิยา ความว่า ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระองค์จักพึงไปสุคติเท่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้.

พระราชาทรงสดับคำของเทพธิดาแล้วทรงเชื่อว่า เราเลี้ยงบิดามารดา
ของสุวรรณสามแล้วจักไปสู่สวรรค์ ทรงดำริว่า เราจะต้องการราชสมบัติทำไม
เราจักเลี้ยงดูท่านทั้งสองนั้น ทรงตั้งพระหฤทัยมั่น ทรงร่ำไรรำพันเป็นกำลัง
ทรงทำความโศกให้เบาบาง เข้าพระหฤทัยว่า สุวรรณสามโพธิสัตว์สิ้นชีพแล้ว

จึงทรงบูชาสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ด้วยบุปผชาติต่าง ๆ ประพรมด้วยน้ำ
ทำประทักษิณสามรอบ ทรงกราบในฐานะทั้งสี่แล้วถือหม้อน้ำที่พระโพธิสัตว์
ใส่ไว้เต็มแล้ว ถึงความโทมนัส บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณเสด็จไป.
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชานั้นทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสารเป็น
อันมาก ทรงถือหม้อน้ำ บ่ายพระพักตร์ทางทิศทักษิณ
เสด็จหลีกไปแล้ว.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 14:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
แม้โดยปกติพระราชาเป็นผู้มีพระกำลังมาก ทรงถือหม้อน้ำเข้าไปสู่
อาศรมบท ถึงประตูบรรณศาลาของทุกูลบัณฑิต ดุจบุคคลกระแทกอาศรมให้
กระเทือน ทุกูลบัณฑิตนั่งอยู่ภายในได้ฟังเสียงฝีพระบาทแห่งพระเจ้าปิลยักขราช
ก็นึกในใจว่า นี้ไม่ใช่เสียงแห่งฝีเท้าสุวรรณสามบุตรเรา เสียงฝีเท้าใครหนอ
เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาสองคาถาว่า

นั่นเสียงฝีเท้าใครหนอ เสียงฝีเท้ามนุษย์เดิน
เป็นแน่ เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ดูก่อนท่านผู้
นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ สามบุตรเราเดินเบา วาง
เท้าเบา เสียงฝีเท้าสามบุตรเราไม่ดัง ท่านเป็นใครหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสสฺเสว ความว่า เสียงฝีเท้าที่มานี้
ไม่ใช่ของราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ยักษ์ และกินนรเป็นต้น เป็นเสียง
ฝีเท้าของมนุษย์แน่ แต่ไม่ใช่ของสุวรรณสาม. บทว่า สนฺตํ หิ ได้แก่ เงียบ.
บทว่า วชฺชติ ได้แก่ ก้าวไป. บทว่า หญฺญติ ได้แก่ วาง.

พระราชาได้สดับคำถามนั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราไม่บอกความที่เราเป็น
พระราชา บอกว่าเราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ท่านทั้งสองนี้จักโกรธเรา
กล่าวคำหยาบกะเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ ความโกรธในท่านทั้งสองนี้ก็จักเกิดขึ้น
แก่เรา ครั้นความโกรธเกิดขึ้น เราก็จักเบียดเบียนท่านทั้งสองนั้น กรรมนั้น
จักเป็นอกุศลของเรา แต่เมื่อเราบอกว่าเราเป็นพระราชา ชื่อว่าผู้ที่ไม่เกรงกลัว

ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น เราจะบอกความที่เราเป็นพระราชาก่อน ทรงดำริ
ฉะนี้แล้ว ทรงวางหม้อน้ำไว้ที่โรงน้ำดื่ม แล้วประทับยืนที่ประตูบรรณศาลา
เมื่อจะแสดงพระองค์ให้ฤาษีรู้จัก จึงตรัสว่า

เราเป็นพระราชาของชาวกาสี คนเรียกเราว่า
พระเจ้าปิลยักษ์ เราละแว่นแคว้นเที่ยวแสวงหามฤค
เพราะความโลภ อนึ่ง เราเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์
ปรากฏว่าเป็นผู้แม่นยำนัก แม้ช้างมาสู่ระยะลูกศร
ของเราก็ไม่พึงพ้นไปได้.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ฝ่ายทุกูลบัณฑิตเมื่อจะทำปฏิสันถารกับพระราชา จึงทูลว่า
ข้าแต่มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง
พระองค์เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้มี
อิสระเสด็จมาถึงแล้ว ขอจงทรงทราบสิ่งที่มีอยู่ในที่นี้
ข้าแต่มหาบพิตร เชิญเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด
ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้เล็กน้อย
ขอได้โปรดเลือกเสวยผลที่ดี ๆ เถิด ข้าแต่มหาบพิตร
ขอจงทรงดื่มน้ำซึ่งเป็นน้ำเย็น นำมาแต่มิคสัมมตานที
ซึ่งไหลจากซอกเขา ถ้าทรงพระประสงค์.

เนื้อความของคาถานั้น ได้กล่าวไว้แล้วในสัตติคุมพชาดก แต่ในที่นี้
บทว่า คิริคพฺภรา ท่านกล่าวหมายเอามิคสัมมตานที เพราะมิคสัมมตานที
นั้นไหลมาแต่ซอกเขา จึงชื่อว่า เกิดแต่ซอกเขา.

เมื่อดาบสทำปฏิสันถารอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงคิดว่า เราไม่ควร
จะบอกว่า เราฆ่าบุตรของท่านเสียแล้ว ดังนี้ก่อน ทำเหมือนไม่รู้ พูดเรื่อง
อะไร ๆ ไปก่อนแล้วจึงบอก ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า
ท่านทั้งสองจักษุมืดไม่สามารถจะเห็นอะไร ๆ
ในป่า ใครเล่าหนอนำผลไม้มาเพื่อท่านทั้งสอง ความ
สะสมผลไม้น้อยใหญ่ไว้โดยเรียบร้อยนี้ ปรากฏแก่
ข้าพเจ้าว่า ดูเหมือนคนตาดีสะสมไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลํ ความว่า ท่านทั้งสองตามืด ไม่
สามารถจะมองเห็นอะไร ๆ ในป่านี้ได้. บทว่า โก นุ โว ผลมาหริ
ความว่า ใครหนอนำผลไม้น้อยใหญ่มาเพื่อท่านทั้งสอง. บทว่า นิวาโป
ความว่า การเก็บคือสะสมผลไม้น้อยใหญ่ที่บริสุทธิ์ดี ซึ่งควรที่จะรับประทาน

ที่ทำไว้อย่างเรียบร้อย คือโดยนัย โดยอุบาย โดยเหตุ นี้. บทว่า อนนฺ-
ธสฺเสว ความว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้ แก่เราเหมือนคนตาดีทำไว้.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ทุกูลบัณฑิตได้ฟังดังนั้น เพื่อจะแสดงว่ามูลผลาผลตนมิได้นำมา แต่
บุตรของตนนำมา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า
สามะหนุ่มน้อยรูปร่างสันทัดงดงามน่าดู เกศา
ของเธอยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้นข้างบน
เธอนั่นแหละนำผลไม้มา ถือหม้อน้ำจากที่นี่ ไปสู่
แม่น้ำนำน้ำมา เห็นจะกลับมาใกล้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาติพฺรหา ความว่า ไม่สูงไป ไม่
เตี้ยไป. บทว่า สุนคฺคเวลฺลิตา ความว่า งอนขึ้นเหมือนปลายมีดเชือดเนื้อ
สำหรับสับเนื้อ กล่าวคือมีปลายงอนขึ้น. บทว่า กมณฺฑลุํ ได้แก่ หม้อ.
บทว่า ทูรมาคโต ความว่า เข้าใจว่า บัดนี้พ่อสุวรรณสามจักมาใกล้แล้ว
คือจักมาแล้วสู่ที่ใกล้.
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าได้ฆ่าสามกุมารผู้ปฏิบัติบำรุงท่านเสีย
แล้ว ผู้เป็นเจ้ากล่าวถึงสามกุมารผู้งดงามน่าดูใด เกศา
ของสามกุมารนั้นยาวดำ เฟื้อยลงไปปลายงอนช้อนขึ้น
เบื้องบน สามกุมารนั้นข้าพเจ้าฆ่าเสียแล้ว นอนอยู่ที่
หาดทรายเปรอะเปื้อนด้วยโลหิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวธึ ความว่า ข้าพเจ้ายิงด้วยลูกศร
ยิงมฤคให้ตายแล้ว. บทว่า ปเวเทถ ได้แก่ กล่าวถึง. บทว่า เสติ ความว่า
นอนอยู่บนหาดทรายริมฝั่งมิคสัมมตานที.

ก็บรรณศาลาของปาริกาดาบสินีอยู่ใกล้ของทุกูลบัณฑิต นางนั่งอยู่ใน
บรรณศาลานั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระราชา ก็ใคร่จะรู้ประพฤติการณ์นั้น
จึงออกจากบรรณศาลาของตน ไปสำนักทุกูลบัณฑิตด้วยสำคัญเชือกที่สำหรับ
สาวเดินไปได้กล่าวว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ข้าแต่ทุกูลบัณฑิต ท่านพูดกับใครซึ่งบอกว่า
ข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ใจของดิฉันย่อมหวั่นไหว
เพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสียแล้ว กิ่งอ่อนแห่ง
ต้นโพธิ์ใบ อันลมพัดให้หวั่นไหว ฉันใด ใจของ
ดิฉันย่อมหวั่นไหวเพราะได้ยินว่า สามกุมารถูกฆ่าเสีย
แล้ว ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้า
ฆ่าสามกุมารเสียแล้ว. บทว่า ปวาลํ ได้แก่ หน่ออ่อน. บทว่า มาลุเตริตํ
ความว่า ถูกลมพัดให้หวั่นไหว.
ลำดับนั้น ทุกูลบัณฑิตเมื่อจะโอวาทนางปาริกาดาบสินีนั้น จึงกล่าวว่า

ดูก่อนนางปาริกา ท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาสี พระ-
องค์ทรงยิงสามกุมารด้วยลูกศร ที่มิคสัมมตานที ด้วย
ความโกรธ เราทั้งสองอย่าปรารถนาบาปต่อพระองค์
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคสมฺมเต ความว่า ที่หาดทรายริม
ฝั่งมิคสัมมตานที. บทว่า โกธสา ความว่า ด้วยความโกรธที่เกิดขึ้นในเพราะ
มฤคทั้งหลาย. บทว่า มา ปาปมิจฺฉิมฺหา ความว่า เราทั้งสองอย่าปรารถนา
บาปต่อพระองค์เลย.
ปาริกาดาบสินีกล่าวอีกว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสอง
ผู้ตามืดในป่า จะไม่ยังจิตให้โกรธ ในบุคคลผู้ฆ่าบุตร
คนเดียวนั้นได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆาตมฺหิ แปลว่า ในบุคคลผู้ฆ่า.
ทุกูลบัณฑิตกล่าวว่า

บุตรที่รักอันหาได้ด้วยยาก ผู้ได้เลี้ยงเราทั้งสอง
ผู้ตามืดในป่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุคคล
ผู้ไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่าบุตรคนเดียวนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโกธํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อม
สรรเสริญ คือกล่าวถึงบุคคลผู้ไม่โกรธนั้นว่า ขึ้นชื่อว่าความโกรธ ย่อมทำให้
ตกนรก ฉะนั้น ไม่พึงทำความโกรธนั้น พึงทำความไม่โกรธในบุคคลผู้ฆ่า
บุตรเท่านั้น.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสดาบสินีทั้งสอง ก็ข้อนทรวงด้วย
มือทั้งสอง พรรณนาคุณของพระมหาสัตว์ คร่ำครวญเป็นอันมาก.
ลำดับนั้น พระเจ้าปิลยักขราชเมื่อจะทรงเล้าโลมเอาใจดาบสทั้งสอง
นั้นจึงตรัสว่า

ขอผู้เป็นเจ้าทั้งสองอย่าคร่ำครวญ เพราะข้าพ-
เจ้า กล่าวว่าข้าพเจ้าฆ่าสามกุมารเสียแล้ว ไปมากเลย
ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้า ทั้งสอง ในป่า-
ใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธนูศิลป์ ปรากฏว่า
เป็นผู้แม่นยำนัก ข้าพเจ้าจักรับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้า
ทั้งสอง ในป่าใหญ่ ข้าพเจ้าจักฆ่ามฤคและแสวงหา
มูลผลในป่า รับการงานเลี้ยงดูผู้เป็นเจ้าทั้งสองในป่า-
ใหญ่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาทินา ความว่า ท่านทั้งสองอย่ากล่าว
คำเป็นต้นว่า บุตรผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอย่างนี้ของเรา ถูกท่านผู้กล่าวอยู่กับข้าพ
เจ้าว่า ฆ่าสามกุมารเสียแล้วดังนี้ ฆ่าแล้ว บัดนี้ใครจักเลี้ยงดูพวกเรา ดังนี้
คร่ำครวญมากไปเลย ข้าพเจ้าจักทำการงานแก่ท่านทั้งสอง เลี้ยงดูท่านทั้งสอง

เหมือนสามกุมาร ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาได้ปลอบใจท่านทั้งสองนั้น
ว่า ขอท่านทั้งสองอย่าได้คิดเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการราชสมบัติ ข้าพเจ้า
จักเลี้ยงดูท่านทั้งสองตลอดชีวิต.
ลำดับนั้น ฝ่ายดาบสดาบสินีทั้งสองนั้นสนทนากับพระราชา ทูลว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร สภาพนั้นไม่สม
ควร การทรงทำอย่างนั้นไม่ควร ในอาตมาทั้งสอง
พระองค์เป็นพระราชาของอาตมาทั้งสอง อาตมาทั้ง
สอง ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาพหรือเหตุการณ์.
บทว่า เนตํ กปฺปติ ความว่า การกระทำการงานของพระองค์นั่น ย่อมไม่
ควร คือไม่งาม ไม่สมควรในอาตมาทั้งสอง. บทว่า ปาเท วนฺทาม เต


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
ความว่า ก็ดาบสดาบสินีทั้งสองนั้น ตั้งอยู่ในเพศบรรพชิต ทูลพระราชาดังนี้
เพราะความโศกในบุตรครอบงำ และเพราะไม่มีมานะ.
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงยินดีเหลือเกิน ทรงดำริว่า โอ
น่าอัศจรรย์ แม้เพียงคำหยาบของฤาษีทั้งสองนี้ ก็ไม่มีในเราผู้ทำความประทุษ
ร้ายถึงเพียงนี้ กลับยกย่องเราเสียอีก จึงตรัสอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เชื้อชาติเนสาท ท่านกล่าวเป็นธรรม
ท่านบำเพ็ญความถ่อมตนแล้ว ขอท่านจงเป็นบิดาของ
ข้าพเจ้า ข้าแต่นางปาริกา ขอท่านจงเป็นมารดาของ
ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยา ความว่า เมื่อกล่าวเป็นคน ๆ ก็
กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปิตา เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พ่อทุกูลบัณฑิต ตั้งแต่
วันนี้ไป ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งบิดาของข้าพเจ้า ข้าแต่แม่ปาริกา แม้
ท่านก็ขอจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดา ข้าพเจ้าก็จักตั้งอยู่ในฐานะแห่งสามกุมาร
บุตรของท่าน กระทำกิจทุกอย่างมีล้างเท้าเป็นต้น ขอท่านทั้งสองจงอย่ากำหนด
ข้าพเจ้าว่าเป็นพระราชา จงกำหนดว่าเหมือนสามกุมารเถิด.

ดาบสทั้งสองประคองอัญชลีไหว้ เมื่อจะทูลวิงวอนว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร พระองค์ไม่มีหน้าที่ที่จะทำการงานแก่อาตมาทั้งสอง แต่ขอพระ
องค์จงทรงถือปลายไม้เท้าของอาตมาทั้งสองนำไปแสดงตัวสุวรรณสามเถิด จึง
กล่าวสองคาถาว่า

ข้าแต่พระเจ้ากาสี อาตมาทั้งสองขอนอบน้อม
แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ยังชาวกาสีให้เจริญ อาต-
มาทั้งสองนอบน้อมแด่พระองค์ อาตมาทั้งสองประ-
คองอัญชลีแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดพาอาตมาทั้ง
สองไปให้ถึงสามกุมาร อาตมาทั้งสองจะสัมผัสเท้าทั้ง
สองและดวงหน้าอันงดงามน่าดูของเธอ แล้วทรมาน
ตนให้ถึงกาลกิริยา.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว สามานุปาปย ความว่า โปรด
พาอาตมาทั้งสองไปให้ถึงที่ที่สามกุมารอยู่. บทว่า ภุชทสฺสนํ ความว่า สาม
กุมารผู้งามน่าดู คือมีรูปงามน่าเลื่อมใส. บทว่า สํสุมฺภมานา ได้แก่ โบย.
บทว่า กาลมาคมยามฺหเส ความว่า จักกระทำ คือจักถึงกาลกิริยา.

เมื่อท่านเหล่านั้นสนทนากันอยู่อย่างนี้ พระอาทิตย์อัสดงคต ลำดับนั้น
พระราชาทรงดำริว่า ถ้าเรานำฤาษี ทั้งสองผู้ตามืดไปในสำนักของสุวรรณสาม
ในบัดนี้ทีเดียว หทัยของฤาษีทั้งสองจักแตกเพราะเห็นสุวรรณสามนั้น เราก็
ชื่อว่านอนอยู่ในนรก ในกาลที่ท่านทั้งสามทำกาลกิริยา ด้วยประการฉะนี้
เพราะฉะนั้น เราจักไม่ให้ฤาษีทั้งสองนั้นไป ทรงดำริฉะนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
สี่คาถาว่า

สามกุมารถูกฆ่านอนอยู่ที่ป่าใด ดุจดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ ตกลงเหนือแผ่นดินแล้ว เกลือกเปื้อน
ด้วยฝุ่นทราย ป่านั้นเป็นป่าใหญ่ เกลื่อนกล่นด้วยพาล
มฤค ปรากฏเหมือนที่สุดอากาศ ผู้เป็นเจ้าทั้งสองจง
อยู่ในอาศรมนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา ได้แก่ สูงยิ่ง. บทว่า อากาสนฺตํ
ความว่า ป่านั่นแหละ เห็นกันทั่ว คือรู้กันทั่ว เป็นราวกะว่าที่สุดแห่งอากาศ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อากาสนฺตํ ความว่า ทำให้เป็นรอยอยู่ คือประกาศ
อยู่. บทว่า ฉมา ได้แก่ บนแผ่นดิน คือปฐพี. ปาฐะว่า ฉมํ ดังนี้ก็มี
ความว่า เหมือนล้มลงบนแผ่นดิน. บทว่า ปริกุณฺฐิโต ความว่า เปรอะ
เปื้อน คือพัวพัน.

ลำดับนั้น ฤาษีทั้งสองได้กล่าวคาถาเพื่อจะแสดงว่า ตนไม่กลัวพาล
มฤคทั้งหลายว่า
ถ้าในป่านั้นมีพาลมฤค ตั้งร้อยตั้งพันและตั้ง-
หมื่น อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัว ในพาลมฤคทั้ง
หลายในป่าไหน ๆ เลย.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกจิ ความว่า ในป่านี้แม้เป็นประเทศ
แห่งหนึ่งในที่ไหน ๆ อาตมาทั้งสองก็ไม่มีความกลัวในพาลมฤคทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อไม่อาจห้ามฤาษีทั้งสองนั้น ก็ทรงจูงมือนำไป
ในสำนักสุวรรณสามนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า
ในกาลนั้น พระเจ้ากาสีทรงพาฤาษีทั้งสอง ผู้ตา
มืดไปในป่าใหญ่ สุวรรณสามถูกฆ่าอยู่ในที่ใด ก็ทรง
จูงมือฤาษีทั้งสองไปในที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า
อนฺธานํ ได้แก่ ฤาษีทั้งสองผู้ตามืด. บทว่า อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว.
บทว่า ยตฺถ ความว่า พระเจ้ากาสี ทรงนำฤาษีทั้งสองไปในที่ที่สุวรรณสาม
นอนอยู่.

ก็แลครั้นทรงนำไปแล้ว ประทับยืนในที่ใกล้สุวรรณสามแล้วตรัส
ว่า นี้บุตรของผู้เป็นเจ้าทั้งสอง ลำดับนั้น ฤาษีผู้เป็นบิดาของพระโพธิสัตว์
ช้อนเศียรขึ้นวางไว้บนตัก ฤาษิณีผู้เป็นมารดาก็ยกเท้าขึ้นวางไว้บนตักของตน
นั่งบ่นรำพันอยู่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น ตรัสว่า

ดาบสดาบสินีทั้งสองเห็นสามกุมารผู้เป็นบุตร
นอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจ
ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ตกเหนือแผ่นดิน ก็ปริ-
เทวนาการน่าสงสาร ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่า
สภาพไม่ยุติธรรมมาเป็นไปในโลกนี้ พ่อสามผู้งาม
น่าดู พ่อมาหลับเอาจริง ๆ เคลิบเคลิ้มเอามากมายดั่ง

คนดื่มสุราเข้ม ขัดเคืองใครเอาใหญ่ ถือตัวมิใช่น้อย
มีใจพิเศษ ในเมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ในวันนี้ พ่อไม่
พูดอะไร ๆ บ้างเลย พ่อสามนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุงเรา
ทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว บัดนี้ใครเล่า
จักชำระชฎาอันหม่นหมองเปื้อนฝุ่นละออง ใครเล่า
จักจับกราดกวาดอาศรมของเราทั้งสอง ใครเล่าจักจัด

น้ำเย็นและน้ำร้อนให้อาบ ใครเล่าจักให้เราทั้งสองได้
บริโภคมูลผลาหารในป่า ลูกสามะนี้เป็นผู้ปฏิบัติบำรุง
เราทั้งสองผู้ตามืด มาทำกาลกิริยาเสียแล้ว.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เจ้าของ:  sssboun [ 15 มี.ค. 2019, 20:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ชาดกต่างๆ อ่านแล้วจะได้เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรม สร้างเส

Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปวิทฺธํ ความว่า ทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์.
บทว่า อธมฺโม กิร โภ อิติ ความว่า ได้ยินว่า ความอยุติธรรมกำลังเป็น
ไปในโลกนี้ในวันนี้. บทว่า มตฺโต ความว่า มัวเมา คือถึงความประมาท
ดุจดื่มสุราเข้ม. บทว่า ทิตฺโต แปลว่า วางปึ่ง. บทว่า วิมโน ความว่า

เป็นนักเลง ฤาษีทั้งสองพูดบ่นเพ้อทั่ว ๆ ไป. บทว่า ชฏํ ได้แก่ ชฎาของเรา
ทั้งสองที่มัวหมอง. บทว่า ปํสุคตํ ความว่า จักอากูลมลทินจับในเวลาใด.
บทว่า โกทานิ ความว่า บัดนี้ ใครเล่าจักจัดตั้งชฎานั้นให้ตรง คือทำความ
สะอาด แล้วทำให้ตรงในเวลานั้น.

ลำดับนั้น ฤาษิณีผู้มารดาแห่งพระโพธิสัตว์ เมื่อบ่นเพ้อเป็นหนักหนา
ก็เอามืออังที่อกพระโพธิสัตว์พิจารณาความอบอุ่น คิดว่า ความอบอุ่นของบุตร
เรายังเป็นไปอยู่ บุตรเราจักสลบด้วยกำลังยาพิษ เราจักกระทำสัจจกิริยาแก่
บุตรเรา เพื่อถอนพิษออกเสีย คิดฉะนี้แล้วได้กระทำสัจจกิริยา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า

มารดาผู้ระทมจิตด้วยความโศกถึงบุตร ได้เห็น
สามะผู้เป็นบุตรนอนเกลือกเปื้อนด้วยฝุ่นทราย ได้
กล่าวคำสัจว่า ลูกสามะนี้ได้เป็นผู้ประพฤติธรรมเป็น
ปกติ ได้เป็นผู้ประพฤติดังพรหมเป็นปกติ ได้เป็นผู้
กล่าวคำจริงมาแต่ก่อน ได้เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดา ได้

เป็นผู้ประพฤติยำเกรงต่อท่านผู้เจริญในสกุล เป็นผู้
เป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา โดยความจริงใด ๆ ด้วย
การกล่าวความจริงนั้น ๆ ขอพิษของลูกสามะจงหายไป
บุญอย่างใดอย่างหนึ่งที่ลูกสามะกระทำแล้วแก่เราและ
แก่บิดาของเธอ มีอยู่ ด้วยอานุภาพกุศลบุญนั้นทั้งหมด
ขอพิษของลูกสามะจงหายไป.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

หน้า 127 จากทั้งหมด 179 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/