วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 173, 174, 175, 176, 177, 178, 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ความโดยนัยนี้ว่า เหมือนลูกน้อยมฤคีมีความระหาย ร้องหิวน้ำ เมื่อไม่ได้น้ำ
ก็ร้องคร่ำครวญจนหลับไป. บทว่า อจฉเร ได้แก่ อยู่. บทว่า ปจจุคตา
มํ ตัฏฐนติ ความว่า ยืนคอยรับเรา. ปาฐะว่า ปจจุคคตํ ก็มีความว่า
ต้อนรับ. บทว่า เอกายโน ได้แก่ เป็นที่ไปแห่งคนผู้เดียวเท่านั้น คือเป็น
ทางเดินได้เฉพาะคนเดียว. บทว่า เอกปโถ ความว่า ทางนั้นเฉพาะคนเดียว
เท่านั้น ไม่มีคนที่สอง คือไม่อาจแม้จะก้าวลงไปได้ เพราะเหตุไร เพราะมี

สระและที่ลุ่มลึกอยู่ข้างทาง. บทว่า นมตถุ ความว่า พระนางมัทรีนั้นทอด
พระเนตรไม่เห็นทางอื่นคิดว่า เราจักอ้อนวอนสามสัตว์เหล่านี้ให้ช่วยเรากลับ
ไปได้ จึงลดกระเช้าผลไม้ลงจากพระอังสา ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวอย่าง
นี้. บทว่า ภาตโร ความว่า ก็พวกเราเป็นลูกของเจ้ามนุษย์ แม้พวกท่านก็
เป็นลูกของเจ้ามฤค ดังนั้นขอพวกท่านจงเป็นพี่โดยธรรมของข้าเถิด. บทว่า
อวรุทธสส ได้แก่ ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น. บทว่า รามํ สีตาวนุพพ-
ตา ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า พระเทวีสีดาผู้พระกนิษฐาของพระราม

เป็นพระอัครมเหสีของพระรามนั้นเอง เป็นผู้อนุวัตรตามพระราม คือ เคารพ
ยำเกรงพระรามผู้สวามีเหมือนเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุงบำเรอพระราม
ราชโอรสของพระเจ้าทศรถมหาราช ฉันใด แม้ข้าก็เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุง
บำเรอพระเวสสันดร ฉันนั้น. บทว่า ตุมฺเห จ ความว่า พระนางมัทรี
อ้อนวอนว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้มรรคาแก่เราแล้วไปพบลูก ๆ ของท่านใน
เวลากินอาหารเย็นส่วนข้าก็จะพบลูก ๆ ของข้า ขอท่านทั้งหลายจงให้มรรคาเถิด.

ครั้งนั้น เทพบุตร (ที่จำแลงเป็นสามสัตว์) เหล่านั้น แลดูเวลาก็รู้ว่า
บัดนี้เป็นเวลาที่จะให้มรรคาแก่พระนางแล้ว จึงลุกขึ้นหลีกไป
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระนางเจ้ามัทรีทรงพิไรรำพันอยู่ เหล่า
มฤคจำแลงได้ฟังพระวาจาอันอ่อนหวานกอรปด้วยน่า
เอ็นดูมาก ก็หลีกไปจากทางเสด็จ.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนลปตึ ความว่า วาจาอ่อนหวาน
บริสุทธิ์ ไม่มากไปด้วยน้ำลาย คือปราศจากน้ำลายแตก.
เมื่อพาลมฤคทั้งสามหายไปแล้ว พระนางเจ้ามัทรีก็เสด็จไปถึงอาศรม
ก็ในกาลนั้นเป็นวันบูรณมีอุโบสถ พระนางเจ้าเสด็จถึงท้ายที่จงกรม ไม่เห็น

พระลูกรักทั้งสองซึ่งเคยเห็นในที่นั้น ๆ จึงตรัสว่า
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ลุกยืนรับเราในประเทศนี้ ดุจลูกวัวอ่อนยืนคอยแม่
โคนมฉะนั้น.
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนต้อนรับแม่อยู่ตรงนี้ดุจหงส์ยืนอยู่บนเปือกตมฉะนั้น

พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนรับเราอยู่ที่ใกล้อาศรมนี้ ลูกทั้งสองเคยร่าเริงหรรษา
วิ่งมาต้อนรับแม่ ดุจมฤคชาติชูหูวิ่งแล่นไปโดยรอบ
ฉะนั้น ร่าเริงบันเทิงเป็นไป ประหนึ่งยังหัวใจแม่ให้
ยินดี วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง
นั้น วันนี้แม่ละลูกทั้งสองออกไปหาผลไม้ เหมือน
แม่แพะแม่เนื้อและแม่นกพ้นไปจากรัง และแม่ราชสีห์

อยากได้เหยื่อ ละลูกไว้ออกไปฉะนั้น แม่กลับมาก็ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น วันนี้แม่ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ซึ่งมีรอยบาท
ก้าวไปมาปรากฏอยู่ดุจรอยเท้าแห่งช้าง ข้างภูเขาและ
กองทรายที่ลูกทั้งสองกองไว้ ยังเกลื่อนอยู่ในที่ไม่ไกล
อาศรม แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองซึ่งเคยเอาทรายโปรยเล่น

จนกายขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นวิ่งไปรอบ ๆ วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง ซึ่งแต่ก่อน
เคยต้อนรับแม่ผู้กลับจากป่ามาแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็น
ลูกทั้งสองซึ่งคอยรับแม่ แลดูแม่แต่ไกลดุจลูกแพะลูก
เนื้อวิ่งมาหาแม่ของตนแต่ไกล ก็ผลมะตูมเหลืองนี้เป็น


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของเล่นของลูกทั้งสองตกอยู่แล้ว วันนี้แม่ไม่เห็นชาลี
และกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ถันทั้งสองของแม่นี้
เต็มด้วยน้ำนม แต่อุระราวกะจะแตกทำลาย วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ลูกชาย
หรือลูกหญิงเลือกดื่มนมอยู่บนตักของแม่ราวกะถันข้าง
หนึ่งของแม่จะยาน วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินา
ลูกรักทั้งสองนั้น.

ลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นในสายัณห์
สมัย มาเกลือกกลิ้งไปมาบนตักแม่ แม่ไม่เห็นลูก
ทั้งสองนั้น เมื่อก่อนอาศรมนี้นั้นปรากฏแก่เราราวกะ
มีมหรสพ วันนี้แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น อาศรม
เหมือนจะหมุนไป นี่อย่างไร อาศรมสถานเงียบเสียง
เสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้แต่ฝูงกาก็ไม่มีอยู่ ลูก
ทั้งสองของแม่จักสิ้นชนมชีพเสียแน่แล้ว นี่อย่างไร

อาศรมสถานเงียบเสียงเสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้
แต่ฝูงสกุณชาติก็ไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของแม่จักสิ้น
ชนมชีพเสียแน่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปํสุกุณฐิตา
ได้แก่ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น. บทว่า ปจจคคตา มํ ความว่า คอยรับเรา.
ปาฐะว่า ปจจุคนตํ ดังนี้ก็มี ความว่า ต้อนรับ. บทว่า อุกกณณา
ความว่า เหมือนพวกลูกเนื้อตัวน้อย ๆ เห็นแม่ ก็ยกหูชูคอเข้าไปหาแม่ ร่าเริง
ยินดี วิ่งเล่นอยู่รอบ ๆ. บทว่า วตมานาว กมปเร ความว่า เป็นไป

ราวกะยังหัวใจของแม่ให้ยินดี เมื่อก่อนลูกทั้งสองของเราเป็นอย่างนี้. บทว่า
ตยชฺช ความว่า วันนี้แม่ไม่เห็นลูกรักทั้งสองนั้น. บทว่า ฉคิลีว มิคี ฉาปํ
ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า แม่แพะ แม่เนื้อ และแม่นกที่พ้นไปจากรัง
คือกรง และแม่ราชสีห์ที่อยากได้เหยื่อ ละลูกน้อยของตนหลีกไปหาเหยื่อ
ฉันใด แม่ก็ละลูกทั้งสองออกไป ฉันนั้น. บทว่า อิทํ เนสํ ปรกกนตํ

ความว่า รอยเท้าที่วิ่งไปวิ่งมาในสถานที่เล่นของลูกทั้งสองยังปรากฏอยู่ ดุจรอย
เท้าช้างที่เนินเขาในฤดูฝน. บทว่า จิตกา ได้แก่ กองทรายที่ลูกทั้งสองกอง


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เข้าไว้. บทว่า ปริกิณณาโย ได้แก่ กระจัดกระจาย. บทว่า สมนฺตาม-
ภิธาวนฺติ ความว่า วิ่งแล่นไปรอบ ๆ ในวันอื่น ๆ. บทว่า ปจจเทนติ
ได้แก่ ต้อนรับ. บทว่า ทูรมายตึ ได้แก่ ผู้มาแต่ไกล. บทว่า ฉคิลึว
มิคึ ฉาปา ความว่า เห็นแม่ของตนแล้ววิ่งมาหา เหมือนลูกแพะเห็นแม่แพะ
ลูกเนื้อเห็นแม่เนื้อ. บทว่า อิทญจ เนสํ กีฬนํ ความว่า ผลมะตูมมีสีดัง

ทองนี้ เป็นของเล่นของลูกทั้งสองซึ่งเล่นตุ๊กตาช้างเป็นต้น กลิ้งตกอยู่แล้ว.
บทว่า มยฺหิเม ความว่า ก็ถันทั้งสองของเรานี้เต็มด้วยน้ำนม. บทว่า อุโร
จ สมปทาลิภิ ความว่า แต่หทัยเหมือนจะแตก. บทว่า อุจจงเก เม
วิวตตนติ ความว่า กลิ้งเกลือกอยู่บนตักของเรา. บทว่า สมมชโช
ปฏิภาติ มํ ความว่า ปรากฏแก่เราเหมือนโรงมหรสพ. บทว่า ตยชช

ตัดบทเป็น เต อชช ความว่า วันนี้เราไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น. น ปสสนตยา
ได้แก่ เราไม่เห็นอยู่. บทว่า ภมเต วิย ความว่า ย่อมหมุนเหมือนจักร
ของช่างหม้อ. บทว่า กาโกลา ได้แก่ ฝูงกาป่า. บทว่า มตา นูน
ความว่า จักตายคือจักถูกใคร ๆ นำไปแน่. บทว่า สกุณาปิ ได้แก่ ฝูงนก
ที่เหลือ. บทว่า มตา นูน ความว่า จักตายเสียเป็นแน่แล้ว

พระนางมัทรีพิลาปรำพันอยู่ด้วยประการฉะนี้ เสด็จไปเฝ้าพระเวส-
สันดรมหาสัตว์ ปลงกระเช้าผลไม้ลงเห็นพระมหาสัตว์ประทับนั่งนิ่งอยู่ เมื่อ
ไม่เห็นพระโอรสธิดาในสำนักพระภัสดา จึงทูลถามว่า

นี้อย่างไร พระองค์ทรงนิ่งอยู่ เออก็เมื่อหม่อม
ฉันฝันในราตรี ใจก็นึกถึงอยู่ แม้ฝูงกาฝูงนกก็ไม่มี
อยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันจักสิ้นชีพเสียแน่แล้ว
ข้าแต่พระลูกเจ้า พาลมฤคในป่าที่ไร้ผลและเงียบสงัด
ได้กัดกินลูกทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วกระมัง หรือ
ใครนำลูกทั้งสองของหม่อมฉันไปเสียแล้ว ลูกทั้งสอง

ของหม่อมฉันพระองค์ให้เป็นทูตส่งไปเฝ้าพระสีวีราช
กรุงเชตุดรหรือเธอผู้ช่างตรัสเป็นที่รักบรรทม หลับใน
บรรณศาลา หรือเธอขวนขวายในการเล่นเสด็จออกไป
ข้างนอกหนอ เส้นพระเกสาของลูกทั้งสองไม่ปรากฏ
พระหัตถ์และพระบาทซึ่งมีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏเลย
เห็นจะถูกนกทั้งหลายโฉบคาบไป ลูกทั้งสองของ
หม่อมฉันอันใครนำไป.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ รตเตว เม มโน ความว่า เออ
ก็ใจของหม่อมฉันเป็นเหมือนเห็นสุบินในเวลาใกล้รุ่ง. บทว่า มิคา ได้แก่
พาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้น. บทว่า อีริเน ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า วิวเน
ได้แก่ เงียบสงัด. บทว่า อาทู เต ความว่า หรือว่าพระองค์ให้เป็นทูตส่ง
ไปเฝ้าพระเจ้าสีวีราชกรุงเชตุดร. บทว่า อาทู สุตตา ความว่า เสด็จเข้า
บรรทมภายในบรรณศาลา. บทว่า อาทู พหิ โน ความว่า พระนางมัทรี

ทูลถามว่า หรือว่าลูกทั้งสองของหม่อมฉันเหล่านั้นขวนขวายในการเล่นออกไป
ข้างนอก. บทว่า เนวาสํ เกสา ทิสสนติ ความว่า ข้าแต่พระสวามี
เวสสันดร เกสาสีดอกอัญชันดำของลูกทั้งสองนั้นไม่ปรากฏเลย หัตถ์และบาทซึ่ง
มีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏ. บทว่า สกุณานญจ โอปาโต ความว่า ใน

หิมวันตประเทศมีนกหัสดีลิงค์ นกเหล่านั้นบินมาพาไปทางอากาศนั่นแล เหตุ
นั้นหม่อมฉันอันนกเหล่านั้นนำไปหรือ แม้นกอะไร ๆ อื่นจากนี้ซึ่งเป็นราวกะ
ว่านกเหล่านั้นโฉบเอาไป ขอพระองค์โปรดบอก ลูกทั้งสองของหม่อมฉันอัน
ใครนำไป.

แม้เมื่อพระนางมัทรีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส
อะไร ลำดับนั้น พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เหตุไรพระองค์
จึงไม่ตรัสกะหม่อมฉัน หม่อมฉันมีความผิดอย่างไร ทูลฉะนี้แล้วตรัสว่า

การที่พระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉันนี้เป็นทุกข์ยิ่ง
กว่าการที่วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูก
รักทั้งสองนั้น เหมือนแผลที่ถูกแทงด้วยลูกศร การ
ไม่เห็นลูกทั้งสองและพระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉัน แม้
นี้เป็นทุกข์ซ้ำสอง เหมือนลูกศรแทงหทัยของหม่อม
ฉัน

ข้าแต่พระราชบุตร วันนี้ถ้าพระองค์ไม่ตรัสกะ
หม่อมฉันตลอดราตรีนี้ พรุ่งนี้เช้าชะรอยพระองค์จะ
ได้ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันปราศจากชีวิตตายเสีย
แล้ว.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ตโต ทุกขตรํ ความว่า ข้าแต่
พระสวามีเวสสันดร การที่พระองค์ไม่ตรัสกับหม่อมฉัน เป็นทุกข์แก่หม่อมฉัน
ยิ่งกว่าทุกข์ที่หม่อมฉันถูกเนรเทศจากแว่นแคว้นมาอยู่ป่า และทุกข์ที่หม่อมฉัน
ไม่เห็นลูกทั้งสอง เพราะพระองค์ทำให้หม่อมฉันลำบากด้วยความนิ่ง เหมือน
รื้อเรือนไฟไหม้ เหมือนเอาไม้ตีคนตกต้นตาล เหมือนเอาลูกศรแทงที่แผล

ด้วยว่าหทัยของหม่อมฉันนี้ย่อมหวั่นไหวและเจ็บปวด เหมือนแผลที่ถูกแทง
ด้วยลูกศร. ปาฐะว่า สํวิทฺโธ ดังนี้ก็มี ความว่า แทงทะลุตลอด. บทว่า
โอกกนตสนตมํ ได้แก่ ซึ่งหม่อมฉันผู้ปราศจากชีวิต. โน อักษร ในบทว่า
ทกฺขสิ โน นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่า พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็น
หม่อมฉันตายเสียแล้วตรงเวลาทีเดียว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราจักให้พระนางมัทรีละความ
โศกเพราะบุตรเสียด้วยถ้อยคำหยาบ จึงตรัสคาถานี้ว่า
แน่ะมัทรี เธอเป็นราชบุตร มีรูปงาม มียศ ไป
เสาะหาผลไม้แต่เช้า ไฉนหนอจึงกลับมาจนเย็น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมิทํ สายมาคตา ความว่า พระเวส
สันดรบรมโพธิสัตว์ตรัสคุกคามและลวงว่า แน่ะมัทรี เธอมีรูปงามน่าเลื่อมใส
และในหิมวันตประเทศก็มีพรานป่า ดาบสและวิทยาธรเป็นต้นท่องเที่ยวอยู่เป็น
อันมาก ใครจะรู้เรื่องอะไร ๆ ที่เธอทำแล้ว เธอไปป่าแต่เช้า กลับมาจนเย็น
นี่อย่างไร ธรรมดาหญิงที่ละเด็กเล็ก ๆ ไปป่า จะเป็นหญิงมีสามีหรือไม่มีก็

ตามย่อมไม่เป็นอย่างนี้ ความคิดแม้เพียงนี้ว่า ลูกน้อยของเราจะเป็นอย่างไร
หรือสามีของเราจักคิดอย่างไร ดังนี้มิได้มีแก่เธอ เธอไปแต่เช้า กลับมาด้วย
แสงจันทร์นี้เป็นโทษแห่งความยากเข็ญของฉัน.
พระนางมัทรีได้สดับพระราชดำรัสดังนั้นจึงทูลสนองว่า

พระองค์ได้ทรงสดับเสียงกึกก้องของพาลมฤคที่
มาสู่สระเพื่อดื่มน้ำ คือราชสีห์ เสือโคร่งผู้บันลือเสียง
แล้วมิใช่หรือ ? บุรพนิมิตได้เกิดมีแก่หม่อมฉันผู้เที่ยว
อยู่ในป่าใหญ่ เสียมหลุดจากมือของหม่อมฉัน กระ-
เช้าที่คล้องอยู่บนบ่าก็พลัดตก กาลนั้นหม่อมฉันตกใจ
กลัว ได้กระทำอัญชลีไหว้ทิศต่าง ๆ ทุกทิศด้วยปรารถนา
ว่า ขอความปลอดโปร่งแต่ภัยนี้พึงมีแก่เรา และพระ-


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ราชบุตรของเราทั้งหลาย อันราชสีห์และเสือเหลือง
อย่าได้เบียดเบียนเลย ทั้งกุมารกุมารีทั้งสอง อันหมี
หมาป่า และเสือดาว อย่าได้มาจับต้องเลย พาลมฤค
ในป่าทั้งสามสัตว์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง
เหล่านั้น พบหม่อมฉันแล้วขวางทางไว้ ด้วยเหตุนั้น
หม่อมฉันจึงได้กลับเย็นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย สรํ ปาตุํ ความว่า สัตว์เหล่าใด
มาสู่สระนี้เพื่อดื่มน้ำ. บทว่า พยคฆสส จ ความว่า พระนางมัทรีทูลถาม
ว่า พระองค์ได้ทรงสดับเสียงของเสือโคร่งและสัตว์สี่เท้าอื่น ๆ มีช้างเป็นต้น
และฝูงนกที่ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกันแล้วมิใช่หรือ ก็เสียงนั้นได้มีใน
เวลาที่พระมหาสัตว์พระราชทานพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อหุ ปุพฺพ-

นิมิตฺตํ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรพนิมิตเพื่อเสวยทุกข์อันนี้ได้มีแก่
หม่อมฉันแล้ว. บทว่า อุคฺคีวํ ได้แก่ กระเช้าที่คล้องอยู่บนบ่าพลัดตก.
บทว่า ปุถุํ ความว่า หม่อมฉันนมัสการแต่ละทิศทั่วสิบทิศ. บทว่า มา
เหว โน ความว่า หม่อมฉันนมัสการปรารถนาว่า ขอพระราชบุตรเวสสันดร
ของพวกเราจงอย่าถูกพาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้นฆ่า ขอลูกทั้งสองจงอย่าถูกหมี

เป็นต้นแตะต้อง. บทว่า เต มํ ปริยาวรุํ มคฺคํ ความว่า พระนางมัทรี
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสวามี หม่อมฉันคิดว่า เราได้เห็นเหตุที่น่ากลัวเหล่านี้
เป็นอันมาก และเห็นสุบินร้ายวันนี้เราจักกลับมาให้ทันเวลาทีเดียว เห็นต้นไม้
ที่ผลิตผลเหมือนไม่มีผล ต้นไม้ที่ไม่มีผล ก็เหมือนผลิตผล เก็บผลาผลได้

โดยยาก ไม่อาจมาถึงประตูป่า ทั้งราชสีห์เป็นต้นเหล่านั้นเห็นหม่อมฉันแล้ว
ได้ยืนเรียงกันกั้นทางเสีย เพราะเหตุนั้นหม่อมฉันจึงมาจนเย็น ขอพระองค์ได้
โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ.
พระมหาสัตว์ตรัสพระวาจาเท่านี้กับพระนางมัทรีแล้ว มิได้ตรัสอะไร ๆ
อีกจนอรุณขึ้น จำเดิมแต่นี้ พระนางมัทรีพิลาปรำพันมีประการต่าง ๆ ตรัสว่า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หม่อมฉันผู้เป็นชฏินีพรหมจารินี บำรุงพระสวามี
และลูกทั้งสองตลอดวันคืนดุจมาณพบำรุงอาจารย์
หม่อมฉันนุ่งห่มหนังเสือเหลืองนำมูลผลในป่ามา
ประพฤติอยู่ตลอดวันคืน เพราะใคร่ต่อพระองค์และ
บุตรธิดา หม่อมฉันฝนขมิ้นสีเหมือนทองนี้เพื่อทาลูก
ทั้งสอง และนำผลมะตูมสุกเหลืองนี้เพื่อถวายให้ทรง
เล่น และนำผลไม้ทั้งหลายมาด้วยหวังว่า ผลไม้เหล่า

นี้จะเป็นเครื่องเล่นของพระโอรสธิดาแห่งพระองค์
ข้าแต่บรมกษัตริย์ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและ
พระธิดา จงเสวยสายบัว เหง้าบัว กระจับประกอบ
ด้วยรสหวานน้อย ๆ นี้ พระองค์จงประทานดอกกุมุท
แก่แม่กัณหา พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพระกุมาร
ผู้ประดับระเบียบดอกไม้ฟ้อนรำอยู่ โปรดตรัสเรียก

สองพระราชบุตรมาเถิด แม่กัณหาชินาจะได้มานี่
ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ขอพระองค์จงพิจารณาดูแม่
กัณหาชินาผู้มีเสียงดังไพเราะขณะเข้าไปสู่อาศรม เรา
ทั้งสองถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น เป็นผู้ร่วมสุขร่วม
ทุกข์กัน ก็พระองค์ได้ทรงเห็นพระราชบุตรทั้งสอง

คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินาบ้างหรือไม่ ชรอยว่า
หม่อมฉันได้บริภาษสมณพราหมณ์ผู้มีพรหมจรรย์เป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า ผู้มีศีล ผู้พหูสูต ในโลกไว้กระมัง
วันนี้จึงไม่พบลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่กัณหา
ชินา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยมิว มาณโว ความว่า เหมือน
อันเตวาสิกผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติอาจารย์. บทว่า อนุฏฺ€ิตา ความว่า
หม่อมฉันบำรุง คือเป็นผู้ไม่ประมาทปฏิบัติด้วยการลุกขึ้นบำเรอ. บทว่า
ตุมฺหํ กามา ความว่า ปรารถนาพระองค์ด้วยใคร่ต่อพระองค์ พระนางมัทรี
คร่ำครวญรำพันถึงสองกุมารด้วยบทว่า ปุตตกา. บทว่า สุวณณหาลิททํ

ความว่า หม่อมฉันฝนคือบดขมิ้นซึ่งมีสีเหมือนทองถือมาเพื่อสรงสนานพระ
โอรสธิดาของพระองค์. บทว่า ปณฑุเวลุวํ ความว่า แม้ผลมะตูมสุกซึ่งมี


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สีเหมือนทองนี้ หม่อมฉันก็นำมาเพื่อพระองค์ทรงเล่น. บทว่า รุกขปกกานิ
ความว่า แม้ผลไม้อื่น ๆ ซึ่งเป็นที่ชอบใจ หม่อมฉันก็ได้นำมาเพื่อพระองค์
ทรงเล่น. บทว่า อิเมโว ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า ลูกน้อยทั้งสองนี้
เป็นเครื่องเล่นของพระองค์. บทว่า มูฬาลิวตตกํ ได้แก่ สายบัว. บทว่า
สาลุกํ ความว่า แม้เหง้าบัวมีอุบลเป็นต้นนี้ หม่อมฉันก็นำมาเป็นอันมาก.

บทว่า ชิญชโรทกํ ได้แก่ กระจับ. บทว่า ภุญฺช ความว่า พระนางมัทรี
คร่ำครวญว่า ขอพระองค์โปรดเสวยของนี้ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อย
พร้อมด้วยพระโอรสธิดา. บทว่า สิวิ ปุตตานิ อวยห ความว่า ข้าแต่
พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี ขอพระองค์โปรดรีบตรัสเรียกพระโอรสธิดาจากที่บรร-

ทมในบรรณศาลา. บทว่า อปิ สิวิ ปุตเต ปสเสสิ ความว่า ข้าแต่
พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี ขอพระองค์ทอดพระเนตรดูพระโอรสธิดาทั้งสองเถิด
ถ้าทรงเห็นก็โปรดแสดงแก่หม่อมฉัน ขอได้โปรดอย่าให้หม่อมฉันลำบากนัก
เลย. บทว่า อภิสสึ ความว่า หม่อมฉันได้ด่าเป็นแน่อย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
หลายจงอย่าพบบุตรธิดาของพวกท่านเลย.

แม้พระนางมัทรีทรงพิลาปรำพันอยู่อย่างนี้ พระเวสสันดรมหาสัตว์ก็
มิได้ตรัสอะไร ๆ ด้วยเลย ครั้นพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางมัทรีก็หวั่น
พระหฤทัยเสด็จเที่ยวค้นหาพระโอรสพระธิดาของพระองค์ด้วยอาศัยแสงจันทร์
เสด็จถึงสถานที่ทั้งปวงนั้น ๆ มีต้นหว้าเป็นต้น ซึ่งเป็นที่พระโอรสพระธิดาเคย
เล่น ทรงคร่ำครวญตรัสว่า

รุกขชาติต่าง ๆ เช่นไม้หว้า ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่ง
ห้อยย้อย อนึ่งรุกขชาติที่มีผลต่าง ๆ เช่นไม้โพใบ
ขนุน ไทร มะขวิด ปรากฏอยู่ทั้งนั้น แต่ลูกทั้งสอง
หาปรากฏไม่ ลูกทั้งสองเคยเล่นที่สวนและแม่น้ำซึ่งมี
น้ำเย็น เคยทัดทรงบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา และเคย
เสวยผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่

ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นยัง
ปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาเหล่านั้น บทว่า อิโม โน หตถิกา อสสา ความว่า
พระนางมัทรีทรงค้นหาพระโอรสพระธิดาบนภูเขา ไม่เห็นก็ทรงคร่ำครวญ
เสด็จลงจากภูเขามาสู่อาศรมบทอีก ทรงคร่ำครวญถึงพระโอรสพระธิดาใน
อาศรมบทนั้น ทอดพระเนตรเห็นของเล่นทั้งหลายของพระโอรสพระธิดา จึง
ตรัสอย่างนี้ ครั้งนั้น ฝูงมฤคและปักษีต่างออกจากที่อยู่เพราะสำเนียงทรง
คร่ำครวญและเสียงฝีพระบาทของพระนางมัทรี.

พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่า
ตุ๊กตาเนื้อทรายทอง ตุ๊กตากระต่าย ตุ๊กตานกเค้า
และตุ๊กตาชะมดเหล่านี้เป็นอันมากที่ลูกทั้งสองเคยเล่น
ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่ เหล่าตุ๊กตา
หงส์ ตุ๊กตานกกระเรียน และตุ๊กตานกยูงขนหางวิจิตร
เหล่านี้ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหา
ปรากฏไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ เนื้อทรายทองตัวเล็ก ๆ.
บทว่า สโสลูกา ได้แก่ กระต่ายและนกเค้าป่า.
พระนางมัทรีไม่เห็นพระปิยบุตรทั้งสอง ณ อาศรมบท จึงเสด็จออก
จากอาศรมบทเข้าสู่ชัฏป่าดอกไม้ ทอดพระเนตรดูสถานที่นั้น ๆ ตรัสว่า

พุ่มไม้มีดอกตลอดกาล และสระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ มีนกจากพรากส่งเสียงร้อง ดาดาษไปด้วย
มณฑาดอกและปทุมอุบล ซึ่งเป็นที่ลูกทั้งสองเคยเล่น
ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนคุมพาโย ได้แก่ พุ่มดอกไม้ป่า
นั่นเอง.

พระนางมัทรีไม่ประสบพระปิยบุตรทั้งสอง ณ ที่ไร ๆ ก็เสด็จมาเฝ้า
พระมหาสัตว์อีก เห็นพระองค์ประทับนั่งมีพระพักตร์เศร้าหมอง จึงทูลว่า
พระองค์ไม่หักไม้แห้ง ไม่นำน้ำมา ไม่ติดไฟ
เป็นไฉนหนอ พระองค์ดูเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่
พระองค์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ความทุกข์หายไป
เพราะสมาคมกับพระองค์ ผู้เป็นที่รักของหม่อมฉัน
วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่
กัณหาชินา.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หาสิโต ได้แก่ ไม่ให้ลุกโพลง
ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระสวามี เมื่อก่อนพระองค์หักฟืน นำน้ำมาตั้งไว้
ก่อไฟในกระเบื้องถ่านเพลิง วันนี้พระองค์ไม่ทำแม้อย่างเดียวในเรื่องเหล่านั้น
เป็นเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่เพราะเหตุไรหนอ หม่อมฉันไม่ชอบใจกิริยาของ
พระองค์เลย. บทว่า ปิโย ปิเยน ความว่า พระเวสสันดรเป็นที่รักของ

หม่อมฉัน ที่รักของหม่อมฉันยิ่งกว่าพระเวสสันดรนี้ ไม่มี เมื่อก่อนความทุกข์
ย่อมหายไปคือย่อมปราศจากไป เพราะมาสมาคมคือมาประชุมกับพระองค์ผู้เป็น
ที่รักของหม่อมฉันนี้ แต่วันนี้ แม้หม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ ความเศร้าโศกก็
ไม่ปราศจากไปเหตุอะไรหนอ. บทว่า ตยชช ความว่า เหตุการณ์ที่หม่อมฉัน
เห็นแล้ว จงยกไว้เถิด วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น เพราะเหตุนั้น แม้
เมื่อหม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ความเศร้าโศกก็ไม่หายไป.

แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็ประทับนั่งนิ่งอยู่
นั่นเอง. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางเจ้าก็เต็มแน่นไปด้วยลูกศรคือ
ความโศก พระกายสั่นดุจแม่ไก่ถูกตี เสด็จเที่ยวค้นหาตามที่เคยค้นหาครั้งแรก
แล้ว เสด็จกลับมาเฝ้าพระมหาสัตว์ กราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้ง
สองไป ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนก
ทั้งหลายไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันคงสิ้นชนม-
ชีพเสียแล้วเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โข โน ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองของเราเลย. บทว่า เยน เต นีหฏา มตา
ความว่า พระนางมัทรีทูลด้วยความประสงค์ว่า หม่อมฉันไม่ทราบว่าใครนำ
ลูกทั้งสองไป.

แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัสอะไร ๆ
พระนางมัทรีอันความโศกในเพราะพระโอรสถูกต้องแล้ว ทรงพิจารณาพระ
โอรสทั้งสอง เสด็จเที่ยวไปยังสถานที่นั้น ๆ ด้วยความเร็วดุจลมถึง ๓ วาระ
ได้ยินว่าสถานที่พระนางเจ้าเสด็จเที่ยวไปตลอดราตรีหนึ่ง ประมาณระยะทาง
ราว ๑๕ โยชน์ ลำดับนั้น ราตรีสว่าง อรุณขึ้น พระนางเจ้าเสด็จมาประทับ
ยืนคร่ำครวญอยู่ ณ ที่ใกล้พระมหาสัตว์อีก.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระนางมัทรีเสด็จเที่ยวร่ำไรรำพันไปตามภูผา
และป่าไม้ในเวิ้งเขาวงกตแล้วเสด็จกลับมาสู่อาศรมอีก
ทรงกันแสง ณ สำนักพระภัสดาว่า ข้าแต่สมมติเทพ
หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้งสองไป ลูกทั้งสองคง
สิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนกย่อมไม่มีอยู่ ลูกทั้งสอง
ของหม่อมฉันคงสิ้นชีพเสียแล้วเป็นแน่.

เมื่อพระนางมัทรีผู้ทรงโฉม ผู้เป็นพระราชบุตรี
พระเจ้ามัททราชผู้มียศเสด็จเที่ยวไป ณ ภูเขาและถ้ำทั้ง
หลายทรงประคองพระพาหากันแสงว่า ข้าแต่สมมติ
เทพ หม่อมฉันไม่เห็นคนที่นำลูกทั้งสองของเราไป
ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล้วก็
ล้มลง ณ ภูมิภาคแทบพระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดร
นั้นนั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั่น บทว่า สามิกสสนติ โรทติ ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีนั้นเสด็จเที่ยวคร่ำครวญไปตามเนินผาและป่าไม้ใน
เวิ้งเขาวงกตนั้น แล้วเสด็จมาอาศัยพระภัสดาอีก ประทับยืน ณ ที่ใกล้พระ-
ภัสดา ทรงกันแสง คือทรงครวญคร่ำรำพันว่า น โข โน เป็นต้น เพื่อ
ต้องการพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อิติ มทฺที วราโรหา ความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีผู้ทรงพระรูปอันอุดม ชื่อว่าผู้ทรงโฉมนั้น
เสด็จเที่ยวไป ณ โคนไม้เป็นต้น ไม่เห็นพระโอรสพระธิดา ประคองพระพาหา
คร่ำครวญว่า ลูกทั้งสองจักตายเสียแน่แล้ว ดังนี้ แล้วล้มลง ณ ภูมิภาคแทบ
พระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดรนั้นเอง เสมือนต้นกล้วยสีทองถูกตัดฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าพระองค์สั่นด้วยทรงสำคัญว่า พระนาง
มัทรีสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ทรงรำพึงว่า มัทรีมาสิ้นพระชนม์ในที่ต่างด้าวอัน
ไม่ใช่ฐานะ หากว่าเธอทำกาลกิริยาในเชตุดรราชธานี การบริหารก็จักเป็นการ
ใหญ่ รัฐทั้งสองก็สะเทือนถึงกัน ก็ตัวเราอยู่ในอรัญญประเทศแต่ผู้เดียวเท่านั้น
จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงคำนึงดังนี้แล้ว แม้เป็นผู้มีความโศกมีกำลัง ก็ทรง
ตั้งพระสติให้มั่น เสด็จลุกขึ้นด้วยทรงสำคัญว่า เราจักต้องรู้ให้แน่ก่อน จึงวาง


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระหัตถ์เบื้องขวาตรงพระหทัยวัตถุแห่งพระนางเจ้า ก็ทรงทราบว่ายังมีความ
อบอุ่นเป็นไปอยู่ จึงทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้า แม้มิได้ทรงถูกต้องพระกาย
ตลอด ๗ เดือน แต่ไม่อาจจะทรงกำหนดความที่พระองค์เป็นบรรพชิต เพราะ
ความโศกมีกำลัง มีพระนัยนาเต็มไปด้วยพระอัสสุชล ช้อนพระเศียรของพระ-
นางเจ้าขึ้นวางไว้บนพระเพลา พรมด้วยน้ำ ลูบพระพักตร์และที่ตรงพระหทัย

ประทับนั่งอยู่ ฝ่ายพระนางมัทรี พอสักครู่หนึ่งก็กลับได้พระสติ เข้าตั้งไว้
เฉพาะซึ่งหิริและโอตตัปปะ ลุกขึ้นกราบพระมหาสัตว์ ทูลถามว่า ข้าแต่พระ
สวามีเวสสันดร ลูกทั้งสองของพระองค์ไปไหน พระมหาสัตว์ตรัสตอบว่า
แน่ะพระเทวี ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์คนหนึ่งไปแล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

วันนี้พระเวสสันดรทรงประพรมพระนางมัทรี
ราชบุตรผู้ล้มลงด้วยน้ำ ทรงทราบว่าพระนางเจ้าค่อย
สำราญ ทีนั้นจึงตรัสคำนี้กะพระนาง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมชช ปตตํ ความว่า ผู้ล้มลงใกล้
พระองค์ อธิบายว่า ผู้ล้มลงถึงวิสัญญีภาพแทบพระยุคลบาท. บทว่า เอตม-
พรวิ ความว่า ได้ตรัสคำนี้ คือคำว่า ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์
คนหนึ่งไปแล้ว.

แต่นั้น เมื่อพระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพพระองค์ประทานลูก
ทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ไม่รับสั่งให้หม่อมฉันผู้คร่ำครวญเที่ยวอยู่ตลอดราตรี
ทราบความ เพราะเหตุไร พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า
แน่ะมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะบอกเธอแต่แรก
ให้เป็นทุกข์ว่า พราหมณ์แก่เป็นยาจกเข็ญใจมาสู่
อาศรม บุตรบุตรีฉันให้แก่พราหมณ์นั้นแล้ว แน่ะ
มัทรีเธออย่ากลัวเลย จงยินดีเถิด เธอจงเห็นแก่ฉัน

อย่าเห็นแก่บุตรบุตรี อย่าคร่ำครวญนักเลย เราทั้งสอง
ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคก็จักได้บุตรบุตรี และสัตว์ของ
เลี้ยง ธัญญาหารทั้งทรัพย์อย่างอื่นในเรือน สัตบุรุษ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เห็นยาจกมาก็บริจาคทาน ดูก่อนมัทรี เธอจงอนุโมทนา
ปิยบุตรทาน อันเป็นอุดมทานของฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิเยเนว ได้แก่ แต่แรก มีคำอธิบาย
ว่า ถ้าฉันบอกความเรื่องนี้แก่เธอแต่แรก เมื่อเธอได้ฟังดังนั้นก็จะไม่อาจกลั้น
ความโศกไว้ได้ หทัยพึงแตก เพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่ปรารถนาจะบอกแก่เธอ
แต่แรกให้เป็นทุกข์ นะมัทรี. บทว่า ฆรมาคโต ความว่า มายังสถานที่อยู่

ของพวกเรานี้. บทว่า อโรคา จ ภวามหเส ความว่า พระเวสสันดร
มหาสัตว์ตรัสว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น เราทั้งสองเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิตอยู่ จักพบ
ลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็นแน่. บทว่า ยญจ อญญฆเร ธนํ ได้แก่
สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์อย่างอื่นในเรือน. บทว่า ทชฺชา
สปปุริโส ทานํ ความว่า สัตบุรุษเมื่อปรารถนาประโยชน์สูงสุด พึงผ่าอุระ
ควักเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.
พระนางมัทรีทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันขออนุโมทนาปิย-
บุตรทานอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงบริจาค
ทานแล้วจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญ
ทานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ข้าแต่พระชนาธิปราช ใน
เมื่อชนทั้งหลายมีความตระหนี่ พระองค์ผู้ยังแคว้น
ของชาวสีพีให้เจริญ ได้ทรงบริจาคบุตรทานแก่
พราหมณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทามิ เต ความว่า พระนางมัทรี
ทรงอุ้มพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูตรแล้วให้สรงสนาน ให้ทรงดื่ม ให้เสวย
วันละสองสามครั้ง ประคับประคองพระลูกน้อยทั้งสองนั้นให้บรรทมบนพระ
อุรประเทศ ครั้นพระโพธิสัตว์พระราชทานพระลูกน้อยทั้งสองไป จึงทรง
อนุโมทนาส่วนบุญเอง พระนางมัทรีตรัสอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนี้

พึงทราบว่า บิดาเท่านั้นเป็นเจ้าของเด็ก ๆ ทั้งหลาย. บทว่า ภิยฺโย ทานํ
ทโท ภว ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเป็นผู้บริจาคทาน
บ่อย ๆ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด ทานอันพระองค์ทรงบริจาคดีแล้วด้วยประการฉะนี้
ขอพระองค์ผู้ได้พระราชทานพระปิยบุตรทั้งสองในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ
ตระหนี่นั้นจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใสเถิด


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นพระนางมัทรีทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสถึงเหตุอัศจรรย์
ทั้งปวงมีแผ่นดินไหวเป็นต้นว่า แน่ะมัทรี นั่นเธอพูดอะไร ถ้าฉันให้ลูกทั้ง
สองแล้วไม่ทำจิตให้เลื่อมใส ความอัศจรรย์ทั้งหลายของฉันเหล่านี้ก็ไม่พึงเป็น
ไป แต่นั้นพระนางมัทรีได้ประกาศความอัศจรรย์เหล่านั้นนั่นแล เมื่อจะทรง
อนุโมทนาปิยบุตรทาน จึงตรัสว่า

ปฐพีบันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์
ชั้นไตรทิพย์ เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญปิยบุตรทาน
สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ
ดังหนึ่งเสียงภูเขาถล่มทลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชชุลตา อาคู ความว่า สายฟ้าผิด
ฤดูกาลแลบโดยรอบในหิมวันตประเทศ. บทว่า คิรีนํว ปฏิสสุตา ความว่า
เสียงโกลาหลปรากฏราวกะเสียงภูเขาถล่มทลาย.

เทพนิกายทั้งสองคือนารทะและปัพพตะเหล่านั้น
ย่อมอนุโมทนาแก่พระเวสสันดรนั้น พระอินทร์ พระ
พรหม พระปชาบดี พระโสม พระยม และพระเวส-
วัณมหาราช ทั้งเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดพร้อมด้วย
พระอินทร์ต่างอนุโมทนาทานของพระองค์ พระนาง
มัทรีราชบุตรีผู้ทรงโฉม ผู้มียศ ทรงอนุโมทนาปิย-
บุตรทานอันอุดมแห่งพระเวสสันดร ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นารทปพฺพตา ความว่าเทพนิกาย
ทั้งสองแม้เหล่านี้ สถิตอยู่ที่ประตูวิมานของตน ๆ นั่นเอง อนุโมทนาแด่พระ-
องค์ว่า ทานอันพระองค์ประทานดีแล้วหนอ. บทว่า ตาวตึสา สอินฺทกา
ความว่า แม้เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า ก็พากันอนุ-
โมทนาทานของพระองค์.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 173, 174, 175, 176, 177, 178, 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร