วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 19:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 138, 139, 140, 141, 142, 143, 144 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าวิเทหราชถูกพระมหาสัตว์ข่มอย่างเหลือเกินทีเดียว ก็ทรงพิโรธ
ว่า มโหสถนี้หมิ่นเราดุจทาสของตน ไม่สำคัญว่าเราเป็นพระราชา รู้ราช-
สาสน์ที่พระอัครราชส่งมาสำนักเราว่า จักประทานพระราชธิดาดังนี้แล้ว ไม่
กล่าวคำประกอบด้วยมงคลแม้คำหนึ่งมากล่าวกะเราว่า เป็นเหมือนเนื้อโง่
เป็นเหมือนปลากลืนเบ็ด และเป็นเหมือนเนื้อเดินตามทางถึงประตูบ้านจักถึง
ความตาย ครั้นกริ้วแล้วได้ตรัสคาถาเป็นลำดับว่า

พวกเรานี่แหละเป็นคนเขลา บ้าน้ำลายที่กล่าว
ถึงเหตุแห่งการได้รัตนะอันสูงสุดในสำนักเจ้า เจ้า
เจริญด้วยหางไถ จะรู้จักความเจริญเหมือนคนอื่นเขา
ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลามฺหเส ความว่า เป็นคนเขลา.
บทว่า เอลมูคา ได้แก่ พวกเรานี่แหละมีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย. บทว่า
อุตฺตมตฺถานิ ได้แก่ เหตุให้ได้นางแก้วอันอุดม. บทว่า ตยี ลปิมฺหา
ความว่า กล่าวในสำนักของท่าน. บทว่า กิเมว ความว่า เมื่อจะติเตียนเขา
จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นงฺคลโกฏิวฑฺโฒ ความว่า พระเจ้าวิเทหราชทรง

หมายเนื้อความว่า บุตรคฤหบดีย่อมเจริญด้วยถือหางไถนาตั้งแต่เป็นหนุ่ม
เท่านั้น จึงตรัสด้วยพระราชประสงค์นี้เองว่า เจ้าย่อมรู้งานของบุตรคฤหบดี
เท่านั้น ย่อมไม่รู้งานที่เป็นมงคลของกษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อญฺเญ ความว่า

คนอื่น ๆ คืออาจารย์เกวัฏหรืออาจารย์เสนกะเป็นต้น รู้จักความเจริญคือมงคล
ของกษัตริย์เหล่านี้ ฉันใด เจ้ารู้จักความเจริญเหล่านั้นฉันนั้นละหรือ การรู้
จักกิจการของบุตรคฤหบดีนั่นแหละสมควรแก่เจ้า.

พระเจ้าวิเทหราชด่าบริภาษมโหสถแล้วตรัสว่า บุตรคฤหบดีทำ
อันตรายแห่งมงคลแก่เรา ท่านทั้งหลายจงนำเขาออกไปเสีย แล้วตรัสคาถา
เพื่อให้นำมโหสถออกไปว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านทั้งหลายจงไสคอมโหสถนี้ให้หายไปเสียจาก
แว่นแคว้นของเรา เพราะเขาพูดเป็นอันตรายแก่การ
ได้รัตนะของเรา.

มโหสถรู้ว่า พระราชากริ้ว จึงคิดว่า หากว่าใครอื่นทำตามพระราช
ดำรัสจับมือหรือคอเรา นั่นไม่ควรแก่เรา เราจะละอายตลอดชีวิต เพราะ
ฉะนั้น เราจักออกไปเสียเอง คิดฉะนี้แล้วจึงถวายบังคมพระราชา ลุกจากที่นั่ง
กลับไปสู่เคหสถานแห่งตน ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราชรับสั่งดังนั้น ด้วยอำนาจพระ-

พิโรธเท่านั้น หาได้ตรัสสั่งใคร ๆ ให้ทำดังนั้นไม่ เพราะพระองค์มีพระมนัส
เคารพในพระโพธิสัตว์ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า พระราชาองค์นี้เป็น
อันธพาลเกินเปรียบ ย่อมไม่ทรงทราบประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์แด่พระองค์
เป็นผู้ปรารถนาในกาม ทรงทราบแต่ว่า จักได้พระราชธิดาของพระเจ้าจุลนี

หาทรงทราบภัยในอนาคตไม่ เมื่อเสด็จไปกรุงปัญจาละก็จักถึงความพินาศใหญ่
หาควรที่เราจะทำพระราชดำรัสไว้ในใจไม่ เพราะพระองค์ทรงมีพระอุปการะ
แก่เรามาก พระราชทานยศใหญ่แก่เรา ควรที่เราจะเป็นปัจจัยแห่งพระองค์
แล้วดำริต่อไปว่า เราจักส่งสุวโปดกไปก่อน รู้ความจริงแล้วไปเองภายหลัง
ดำริฉะนี้แล้ว จึงเรียกสุวโปดกมา แล้วส่งไป ณ กรุงปัญจาละนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นมโหสถบัณฑิตได้หลีกไปจากราชสำนัก
ของพระเจ้าวิเทหราช ที่นั้นได้เรียกนกสุวบัณฑิตชื่อ
มาธูระ*(อรรถกถาเป็น มาถูระ) ผู้เป็นทูตมาสั่งว่า
แน่ะสหายตัวมีปีกเขียว เจ้า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จงมาทำการขวนขวายเพื่อเรา นางนกสาลิกาที่เขาเลี้ยง
ไว้ ณ ที่บรรทมของพระเจ้าปัญจาลราชมีอยู่ ก็นางนก
นั้นเป็นนกฉลาดในสิ่งทั้งปวง เจ้าจงถามนางนกนั้น
โดยพิสดาร นางนกนั้นรู้ความลับทุกอย่างของพระเจ้า-
ปัญจาลราชและของพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตรทั้งสอง

นั้น นกสุวบัณฑิตชื่อมาธูระตัวมีปีกเขียวรับคำมโหสถ
ว่า เออ แล้วได้ไปสู่สำนักนางนกสาลิกา แต่นั้นนก
สุวบัณฑิตชื่อมาธูระนั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้เรียกนางนก
สาลิกาตัวมีกรงงาม พูดเพราะมาถามว่า เธอพออดทน
อยู่ในกรงงามดอกหรือ เธอมีความผาสุกในเพศดอก

หรือ ข้าวตอกกับน้ำผึ้งเธอได้ในกรงงามของเธอดอก
หรือ ดูก่อนสหายสุวบัณฑิต ความสุขมีแก่ฉันและ
ความสบายก็มี อนึ่งข้าวตอกกับน้ำผึ้งฉันก็ได้เพียงพอ
ดูก่อนสหาย ท่านมาแต่ไหน หรือว่าใครใช้ท่านมา
ก่อนแต่นี้ฉันไม่เคยเห็นท่าน หรือได้ยินเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หริตปกฺโข ได้แก่ มีปีกเสมอด้วย
ใบไม้เขียว. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ความว่า มโหสถกล่าวกะนกสุวบัณฑิตซึ่ง
มาจับที่ตักในเมื่อตนกล่าวว่า มานี่สหาย เจ้าจงทำการขวนขวายของเรา
อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้อื่นที่เป็นมนุษย์ไม่อาจทำได้ เมื่อนกสุวบัณฑิตถามว่า ข้าพเจ้า
จะทำอะไรนาย มโหสถก็กล่าวว่า สหาย คนอื่นเว้นพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์-

เกวัฏ ย่อมไม่รู้เหตุที่พราหมณ์เกวัฏมาโดยความเป็นทูต คนสองคนเท่านั้น
นั่งปรึกษากันในห้องบรรทมของพระเจ้าจุลนี แต่มีนางนกสาลิกาที่พระเจ้า
ปัญจาลราชนั้นเลี้ยงไว้ในที่บรรทม ได้ยินว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับนั้น
เจ้าจงไปในที่นั้น ทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนกับนางนกสาลิกานั้น ถาม

ความลับของพระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏ กะนางนกสาลิกานั้นโดยพิสดาร
จงถามนางนกสาลิกานั้นในประเทศที่มิดชิด อย่างที่ใคร ๆ อื่นจะไม่รู้เรื่องนั้น
ก็ถ้าใครได้ยินเสียงของเจ้า ชีวิตของเจ้าจะไม่มี ฉะนั้น เจ้าจงถามค่อย ๆ ใน
ที่มิดชิด. บทว่า สา เนสํ สพฺพํ ความว่า นางนกสาลิกานั้นรู้ความลับทุก


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อย่างของชนทั้งสองเหล่านั้น คือ พระเจ้าจุลนีและพราหมณ์เกวัฏผู้โกสิยโคตร.
บทว่า อาโม ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุวโปดกนั้นอันมโหสถบัณฑิต
ทำสักการะโดยนัยก่อนนั่นแลส่งไปแล้ว รับคำของมโหสถว่า เออ ไหว้พระ-
มหาสัตว์ทำประทักษิณแล้วบินออกทางสีหบัญชรที่เปิดไว้ ไปนครชื่ออริฏฐปุระ
ในแคว้นสีพี ด้วยความเร็วปานลม กำหนดประพฤติเหตุในประเทศนั้นแล้ว
ไปสำนักของนางนกสาลิกา ไปอย่างไร ก็สุวโปดกนั้นจับที่ยอดแหลมอันเป็น

ทองของพระราชนิเวศน์ ส่งเสียงอย่างไพเราะอาศัยราคะ เพราะเหตุไร นาง
นกสาลิกาได้ฟังเสียงนี้แล้วจักส่งเสียงรับเป็นสัญญาให้รู้ว่าฉันจักไปหา แม้นาง
นกสาลิกานั้นได้ฟังเสียงของสุวโปดกแล้ว ก็จับที่สุวรรณบัญชรใกล้ที่บรรทม
ของพระราชา มีจิตกำหนัดด้วยราคะ ส่งเสียงรับสามครั้ง สุวโปดกบินไป

หน่อยหนึ่งส่งเสียงบ่อย ๆ เกาะที่ธรณีสีหบัญชรโดยลำดับ ตามกระแสเสียงที่
นางนกสาลิกากระทำ ตรวจดูว่าไม่มีอันตราย บินไปสำนักของนางนกสาลิกา
นั้น นางนกสาลิกาได้กล่าวกะสุวโปดกในที่นี้ว่า มาเถิดสหาย จงจับที่สุวรรณ
บัญชร สุวโปดกก็บินไปจับ. บทว่า อามนฺตยี ความว่า สุวโปดกนั้นบินไป
อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะทำความคุ้นเคยประกอบด้วยเมถุนจึงเรียกนางนกสาลิกา

นั้น. บทว่า สุฆรํ ได้แก่ กรงงาม เพราะความเป็นที่อยู่ในกรงทอง. บทว่า
เวเส ได้แก่ ประกอบด้วยเพศ คือมีชาติตามเพศ ได้ยินว่า นกสาลิกาชื่อว่า
มีชาติตามเพศในหมู่นกทั้งหลาย เหตุนั้นจึงเรียกนกสาลิกานั้นอย่างนี้. บทว่า
ตว ความว่า เรากล่าวในเรือนงามของท่าน. บทว่า กจฺจิ เต มธุนา ลาชา
ความว่า สุวโปดกถามว่า เธอได้ข้าวตอกกับน้ำผึ้งดอกหรือ. บทว่า กุโต นุ

สมฺม อาคมฺม ความว่า นางนกสาลิกาถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาจากไหน
เข้าไปในที่นี้. บทว่า กสฺส วา ความว่า หรือว่าใครส่งท่านมาในที่นี้.

สุวโปดกได้ฟังคำของนางนกสาลิกาแล้ว คิดว่า ถ้าเราบอกว่ามาแต่
มิถิลา นางนกสาลิกานี้แม้ถึงความตาย ก็จักไม่ทำความคุ้นเคยกับเรา ก็เรา
กำหนดนครอริฏฐปุระ ในแคว้นสีพีมาแล้ว ฉะนั้นเราจกทำมุสาวาทกล่าวว่า
พระเจ้าสีวิราชทรงส่งมาแต่ที่นั้น คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาเลี้ยงไว้ในที่บรรทม บน
ปราสาทของพระเจ้าสีวิราช พระราชาพระองค์นั้นเป็น
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งหลายที่ถูกขัง
จากที่ขังนั้น ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺเธ ความว่า พระราชาพระองค์นั้น
โปรดให้ปล่อยสัตว์ทั้งปวงจากที่ขัง เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
เมื่อโปรดให้ปล่อยอย่างนี้ พระองค์ตรัสว่า พวกท่านจงเชื่อเราปล่อยมันไป
ข้าพเจ้านั้นออกจากกรงทองที่เปิดไว้ ถือเอาอาหารในที่นั้น ๆ ตามที่ปรารถนา
ภายนอกปราสาทแล้วอยู่ในกรงทองนั่นเอง ไม่เหมือนเธอซึ่งอยู่ในกรงเท่านั้น
ตลอดกาลเป็นนิจอย่างนี้.

ลำดับนั้น นางนกสาลิกาให้ข้าวตอกคลุกน้ำผึ้ง ที่วางอยู่ในกระเช้าทอง
และน้ำผึ้งเพื่อตนแก่สุวโปดก แล้วถามว่า แน่ะสหาย ท่านมาแต่ที่ไกล มาใน
ที่นี้เพื่อประสงค์อะไร สุวโปดกได้ฟังคำนางนกสาลิกา ใคร่จะฟังความลับ
จึงมุสาวาทกล่าวว่า

นางนกสาลิกาตัวหนึ่งพูดอ่อนหวานเป็นภรรยา
ของฉัน เหยี่ยวได้ฆ่านางนกสาลิกานั้นเสียในห้องที่
บรรทม ต่อหน้าฉันผู้อยู่ในกรงงามซึ่งเห็นอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เมกา ความว่า นางนกสาลิกา
ตัวหนึ่งเป็นภรรยาของฉันนั้น. บทว่า ทุติยาสิ ความว่า ได้เป็นภรรยา.
บทว่า มญฺชุภาณิกา แปลว่า พูดไพเราะ.

ลำดับนั้น นางนกสาลิกาถามสุวโปดกว่า ก็อย่างไรเหยี่ยวจึงได้ฆ่า
ภรรยาของท่านเสีย สุวโปดกเมื่อจะบอกแก่นางนกสาลิกาจึงกล่าวว่า เธอจงฟัง
วันหนึ่งพระราชาของฉันเสด็จไปเล่นน้ำ ตรัสเรียกฉันไปตามเสด็จ ฉันจึงพา
ภรรยาไปตามเสด็จเล่นน้ำกลับมากับพระราชานั้น ขึ้นปราสาทกับพระองค์พา
ภรรยาออกมาจากกรง จับอยู่ที่โพรงตำหนักยอดเพื่อผึ่งสรีระ ขณะนั้นมีเหยี่ยว

ตัวหนึ่งบินมาเพื่อโฉบเราทั้งสองผู้ออกจากตำหนักยอด ฉันกลัวแต่ภัยคือความ
ตายบินหนีโดยเร็ว แต่นางนกสาลิกาคราวนั้นมีครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น นางจึง
ไม่อาจหนี ทีนั้นเหยี่ยวก็ยังนางให้ตายต่อหน้าฉัน ผู้เห็นอยู่แล้วพาหนีไป
ทีนั้นพระราชาของฉันทอดพระเนตรเห็นฉันร้องไห้ด้วยความโศกถึงนาง จึง

ตรัสถามว่า เจ้าร้องไห้ทำไม ได้ทรงฟังความข้อนั้นแล้วรับสั่งว่า พอละเจ้า
อย่าร้องไห้ จงแสวงหาภรรยาอื่น เมื่อฉันได้ฟังรับสั่งจึงกราบทูลว่า ประโยชน์
อะไรด้วยภรรยาอื่น ผู้ไม่มีอาจารมรรยาท ไม่มีศีล แม้ที่นำมาแล้ว ผู้เดียว


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เที่ยวไปดีกว่า รับสั่งว่า แน่ะสหาย ข้าเห็นนางนกสาลิกาตัวหนึ่ง ถึงพร้อมด้วย
ศีลาจารวัตรเช่นกับภรรยาของเจ้า ก็นางนกสาลิกาเห็นปานนี้ เขาเลี้ยงไว้ในที่
บรรทมของพระเจ้าจุลนีมีอยู่ เจ้าจงไปในที่นั้น ถามใจของเขาดู ให้เขาทำ
โอกาส ถ้าเจ้าชอบใจเขา จงมาบอกแก่เรา ภายหลังเราหรือพระเทวีจักไปนำ
นางนั้นมาด้วยบริวารใหญ่ ตรัสฉะนี้แล้วทรงส่งฉันมาในที่นี้ ฉันจึงมาด้วย
เหตุนั้น กล่าวฉะนี้แล้วสุวโปดกจึงกล่าวว่า

ฉันรักใคร่ต่อเธอจึงมาในสำนักของเธอ ถ้าเธอ
พึงให้โอกาส เราทั้งสองก็จะได้อยู่ร่วมกัน.
นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดกก็ดีใจ แต่ยังไม่ให้สุวโปดกรู้ว่าตน
ปรารถนา ทำเป็นไม่ปรารถนากล่าวว่า

นกแขกเต้า ก็พึงรักใคร่กับนางนกแขกเต้า
นกสาลิกา ก็พึงรักใคร่กับนางนกสาลิกา การที่นก
แขกเต้าจะอยู่ร่วมกับนางนกสาลิกาดูกระไรอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโว ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต
นกแขกเต้านั่นแลพึงรักใคร่นางนกแขกเต้าซึ่งมีชาติเสมอกันของตน. บทว่า
กีทิโส ความว่า ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกที่มีชาติไม่เสมอกัน จะเป็นอย่างไร
เพราะนกแขกเต้าเห็นนางนกแขกเต้าที่มีชาติเสมอกัน ก็จักละนางนกสาลิกาแม้
เชยชิดกันมานาน ความพลัดพรากจากของรักนั้นจักเป็นไปเพื่อทุกข์ใหญ่ ฉะนั้น
แต่ไหนแต่ไรมา ชื่อว่าการอยู่ร่วมของนกที่มีชาติไม่เสมอกัน ย่อมไม่เหมาะสม
เลย.

สุวโปดกได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า นางนกสาลิกานี้หาได้ห้ามเราไม่ ยังทำ
การบริหารอีกด้วย คงจักปรารถนาเราเป็นแน่ เราจักให้นางนกสาลิกานี้เชื่อถือ
เราด้วยอุปมาต่าง ๆ คิดฉะนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
เออก็ผู้ใดใคร่ในกามกับนางจัณฑาล ผู้นั้นทั้ง
หมดย่อมเป็นเช่นกับนางจัณฑาลนั้น เพราะว่าบุคคล
ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลิกามปิ ได้แก่ ซึ่งนางจัณฑาล.
บทว่า สทิโส ความว่า การอยู่ร่วมกันทุกอย่างย่อมเป็นเช่นเดียวกันทั้งนั้น
เพราะมีจิตเป็นเช่นเดียวกัน. บทว่า กาเม ความว่า เพราะในเรื่องกาม
จิตเท่านั้นเป็นประมาณ ชาติหาเป็นประมาณไม่.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว สุวบัณฑิตเมื่อจะนำเรื่องอดีตมาชี้แจง
เพื่อแสดงความต่างชาติกันไม่เป็นประมาณในหมู่มนุษย์ก่อน จึงกล่าวคาถา
เป็นลำดับว่า

พระราชมารดาของพระเจ้าสีวี พระนามว่า
ชัมพาวดี มีอยู่ พระนางเป็นหญิงจัณฑาล ได้เป็น
พระมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพกัณหโคตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺพาวตี ความว่า พระชนนีของ
พระเจ้าสีพีราช พระนามว่า ชัมพาวดี ได้เป็นหญิงจัณฑาล พระนางได้เป็น
พระอัครมเหสีที่รักของพระเจ้าวาสุเทพผู้เป็นพี่ชายของพี่น้อง ๑๐ คนของ
กัณหายนโคตร.

ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเจ้าวาสุเทพเสด็จออกจากกรุงทวารวดี ประพาส
พระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นกุมาริการูปงามคนหนึ่งเป็นจัณฑาล จาก
บ้านคนจัณฑาลเข้าสู่พระนครด้วยธุระบางอย่าง ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระองค์มีจิตปฏิพัทธ์ มีรับสั่งให้ถามว่า ชาติอะไร แม้ได้สดับว่า ชาติจัณฑาล

ก็ยังมีรับสั่งให้ถามว่ามีสามีหรือไม่ ทรงสดับว่ายังไม่มีสามี จึงพานางกุมาริกา
นั้นกลับจากที่นั้นทีเดียวนำไปพระราชนิเวศน์ ทรงตั้งเป็นอัครมเหสี พระนาง
นั้นประสูติพระโอรสพระนามว่า สีวี เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระเจ้าสีวี
จึงครองราชสมบัติในกรุงทวาราวดี สุวโปดกกล่าวคำนี้ หมายเอาเจ้าสีวีนั้น.

สุวบัณฑิตนำอุทาหรณ์นี้มาอย่างนี้แล้วกล่าวว่า กษัตริย์แม้เห็นปานนี้
ยังสำเร็จสังวาสกับหญิงจัณฑาล ใครจะว่าอะไรในเราทั้งสองซึ่งเป็นสัตว์
ดิรัจฉานเล่า ความชอบใจในการร่วมประเวณีกันและกันต่างหาก เป็นข้อสำคัญ
กล่าวฉะนี้แล้ว เมื่อจะชักอุทาหรณ์อื่นมาอีก จึงกล่าวว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กินรีชื่อรัตนวดีมีอยู่ แม้นางก็ได้ร่วมรักกะดาบส
ชื่อวัจฉะ มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์กับมฤดีก็มี มนุษย์
และสัตว์ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺฉํ ความว่า กะดาบสผู้มีชื่ออย่างนั้น
ก็กินรีนั้นได้ร่วมรักกะดาบสนั้นอย่างไร ในอดีตกาล มีพราหมณ์คนหนึ่งเห็น
โทษในกามทั้งหลาย จึงละยศใหญ่ออกบวชเป็นฤๅษี สร้างบรรณศาลาอยู่ ณ
หิมวันตประเทศ กินนรเป็นจำนวนมากอยู่ ณ ถ้ำแห่งหนึ่งใกล้บรรณศาลาของ
ฤๅษีนั้น แมลงมุมตัวหนึ่งอยู่ ณ ประตูถ้ำนั้น มันได้กัดศีรษะของกินนรเหล่า

นั้นดื่มกินโลหิต ธรรดากินนรทั้งหลายหากำลังมิได้ เป็นชาติขลาด แม้
แมลงมุมตัวนั้นก็ใหญ่โตมาก กินนรทั้งหลายไม่อาจจะทำอะไรมันได้จึงเข้าไป
หาดาบสนั้น ทำปฏิสันถารแล้วดาบสถามถึงเหตุที่มา จึงพากันบอกว่า มี
แมลงมุมตัวหนึ่งประหารชีวิตของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่เห็นผู้อื่นจะเป็น
ที่พึ่งได้ ขอท่านจงฆ่ามันเสียทำความสวัสดีแก่พวกข้าพเจ้า ดาบสได้ฟังคำ

ดังนั้นก็รุกรานว่า พวกเองไปเสีย บรรพชิตทั้งหลายเช่นเราไม่ทำปาณาติบาต
บรรดากินนรเหล่านั้น มีกินรีชื่อรัตนาวดี ยังไม่มีผัว กินนรเหล่านั้นจึงตกแต่ง
กินรีรัตนวดีนั้น แล้วพาไปหาดาบส กล่าวว่า กินรีนี้จงเป็นผู้บำเรอเท้าท่าน
ท่านจงฆ่าปัจจามิตรของพวกเราเสีย ดาบสเห็นกินรีรัตนวดีก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึง

สำเร็จร่วมอภิรมย์กับกินรีนั้นแล้วไปยืนที่ประตูถ้ำ ตีแมลงมุมออกมาหากินด้วย
ค้อนให้สิ้นชีวิต ดาบสนั้นอยู่สมัครสังวาสกับกินรีนั้นมีบุตรธิดาแล้วทำกาลกิริยา
ณ ที่นั้นแล กินรีรัตนวดีนั้นรักใคร่ดาบสชื่อวัจฉะ ด้วยประการฉะนี้ สุวโปดก
นำอุทาหรณ์นี้มา เมื่อจะแสดงว่า วัจฉดาบสเป็นมนุษย์ยังสำเร็จสังวาสกับกินรี

นั้นผู้เป็นดิรัจฉานได้ จะกล่าวไยถึงเราทั้งสองเป็นนกเป็นดิรัจฉาน ด้วยกันจะ
ร่วมสังวาสกันไม่ได้เล่า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์ด้วย
มฤคีอยู่ ดังนี้ มนุษย์เราทั้งหลายอยู่ร่วมกับดิรัจฉานมีอยู่ คือปรากฏอยู่ ด้วย
ประการฉะนี้.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางนกสาลิกานั้น ได้ฟังคำของสุวโปดกแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่นาย ขึ้น
ชื่อว่าจิตจะเป็นอย่างเดียวไปตลอดกาล ย่อมไม่มี ฉันกลัวแต่ความพลัดพราก
จากท่านที่รักจ๊ะสหาย สุวบัณฑิตแม้นั้นเป็นผู้ฉลาดในมายาสตรี ฉะนั้นเมื่อจะ
ทดลองนางนกสาลิกา จึงกล่าวคาถาอีกว่า

เอาเถอะ แม่สาลิกาผู้พูดเพราะ ฉันจักไปละ
เพราะถ้อยคำของเธอนั้นเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์ เธอดู
หมิ่นฉันนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจกฺขานุปทํ เหตํ ความว่า คำที่
เธอกล่าวทั้งหมดนั้นเป็นแนวทางให้รู้ประจักษ์ คือเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์. บท
ว่า อติมญฺญสิ ความว่า เธอล่วงเกินดูหมิ่นฉันแน่ว่า นกแขกเต้านี้ย่อม
ปรารถนาเท่านั้น เธอไม่รู้สารสำคัญของฉัน พระราชาก็บูชาฉัน ฉันหาภรรยา
ได้ไม่ยาก ฉันจักแสวงหานกตัวอื่นเป็นภรรยา ฉันจักไปละ.

นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวโปดก เป็นเหมือนหัวจะแตก เป็น
เหมือนถูกกามรดีที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยการเห็นสุวโปดกนั้นตามเผาผลาญอยู่ ทำที
เป็นไม่ปรารถนาด้วยมายาสตรีของตน ได้กล่าวหนึ่งคาถาครึ่งว่า

ดูก่อนมาธูรสุวบัณฑิต สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้
ขอเชิญท่านอยู่ ณ ที่นี้จนกว่าจะได้เห็นพระราชา จน
ได้ฟังเสียงตะโพนและได้เห็นอานุภาพของพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สิรี ความว่า แน่ะสหายสุวบัณฑิต
สิริย่อมไม่มีแก่ผู้ด่วนได้ งานที่ผู้ด่วนได้กระทำย่อมไม่งาม ขึ้นชื่อว่าการครอง
เรือนนั้นหนักยิ่ง ต้องคิดพิจารณาก่อนจึงทำ ขอเชิญท่านอยู่ในที่นี้ จนกว่า
จะได้เห็นพระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยยศใหญ่. บทว่า โสสิ ความว่า
ท่านจักได้ฟังเสียงตะโพนเสียงขับร้องและเสียงประโคมดนตรีอื่น ๆ ที่เหล่านารี

ผู้มีรูปโฉมอุดมมีลีลาเสมอด้วยกินรีบรรเลงอยู่ในเวลาสายัณห์ และจักได้เห็น
อานุภาพและสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ท่านจะด่วนไปทำไมเล่าสหาย
แม้ข้ออ้างท่านก็ยังไม่รู้ อยู่ก่อนเถิด ฉันจักให้รู้จักภายหลัง.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น นกทั้งสองก็กระทำเมถุนสังวาสในสายัณหสมัยนั้นเอง มี
ความสามัคคีบันเทิงอยู่ร่วมเป็นที่รักกัน ครานั้นสุวโปดกคิดว่า บัดนี้นางนก
สาลิกาจักไม่ซ่อนความลับแก่เรา ควรที่เราจักถามนางแล้วไปในทำนองนี้ จึง
กล่าวว่า แน่ะสาลิกา อะไรหรือนาย ฉันอยากจะถามอะไรเจ้าสักหน่อย ถาม
เถิดนาย เรื่องนั้นงดไว้ก่อน วันนี้เป็นวันมงคลของเรา ไว้วันอื่นฉันจักรู้

นางนกสาริกากล่าวว่า ถ้าคำที่ถามประกอบด้วยมงคล ก็จงถาม ถ้ามิใช่ ก็อย่า
เพิ่งถาม สุวบัณฑิตตอบว่า กถานั้นเป็นมงคลกถา ที่รัก ถ้าเช่นนั้นก็จงถาม
เถิด ลำดับนั้นสุวบัณฑิตกล่าวว่า ถ้าเธออยากฟังเรื่องนั้น ฉันก็จักกล่าวแก่เธอ
เมื่อจะถามความลับนั้น จึงกล่าวหนึ่งคาถากึ่งว่า

เสียงเซ็งแซ่นี้ฉันได้ยินภายนอกชนบทว่า พระ-
ราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชมีพระฉวีวรรณดังดาว
ประกายพรึก พระเจ้ากรุงปัญจาลราชจักถวายพระ-
ราชธิดานั้น แก่ชาววิเทหรัฐ คือจักมีการอภิเษก
ระหว่างพระเจ้าวิเทหราชกับพระราชธิดานั้น.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า เสียงเซ็งแซ่นี้มาก บทว่า ติโรชนปเท
สุโต ความว่า ปรากฏคือรู้กันทั่ว คือแผ่ไปในรัฐอื่นในชนบทอื่น แผ่ไป
อย่างไร พระราชธิดาของพระเจ้าปัญจาลราชรุ่งเรืองราวกะดาวประกายพรึก
มีพระฉวีวรรณเสมอด้วยดาวประกายพรึกนั้น มีอยู่ พระเจ้าปัญจาลราชจัก
ประทานพระราชธิดานั้นแก่ชาววิเทหรัฐ. บทว่า โส วิวาโห ภวิสฺสติ

ความว่า ฉันได้ฟังเสียงที่แผ่ไปอย่างนี้นั้น จึงคิดว่า กุมาริกานี้ทรงพระรูปโฉม
อุดม และพระเจ้าวิเทหราชก็เป็นข้าศึกของพระเจ้าจุลนี พระราชาอื่น ๆ
ที่อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็มีอยู่เป็นอันมาก พระเจ้าจุลนีไม่
ประทานแก่พระราชาเหล่านั้น เหตุไรจึงจะประทานพระราชธิดาแก่พระเจ้า-
วิเทหราชเสีย.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางนกสาลิกาได้ฟังคำของสุวบัณฑิตนั้นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า นาย
เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวอวมงคลในวันมงคล สุวโปดกจึงย้อนถามว่า ฉัน
กล่าวว่ามงคล เธอกล่าวว่าอวมงคล นี่อะไรกันนาย การทำมงคลเห็นปานนี้
จงอย่าได้มีแก่ชนเหล่านั้นแม้เป็นอมิตร สุวโปดกให้นางนกสาสิกาแจ้งเรื่อง
นางว่าไม่กล้าพูด สุวโปดกจึงว่า ที่รัก จำเดิมแต่กาลที่เธอบอกความลับที่เธอ
รู้แก่ฉันไม่ได้ การร่วมอภิรมย์กันฉันสามีภรรยา ก็ชื่อว่า ไม่มี นางนกสาลิกา
ถูกสุวโปดกแค่นไค้นักก็กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง แล้วกล่าวว่า

แน่ะมาธูระ การที่เหล่าอมิตรทำวิวาหมงคลเช่น
นี้ เหมือนกับการที่พระเจ้าปัญจาลราชจักทำวิวาหมงคล
พระราชธิดากับพระเจ้าวิเทหราช ขออย่าได้มีเลย.

ครั้นนางนกสาลิกากล่าวคาถานี้แล้ว สุโปดกซักถามอีกว่า เพราะ
เหตุไร เธอกล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง ฉันจะ
กล่าวโทษในเรื่องนี้แก่ท่านอีก แล้วกล่าวคาถานอกนี้ว่า

พระราชาผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวปัญจาละจกทรง
นำพระเจ้าวิเทหราชมาแล้ว แต่นั้นก็จักฆ่าพระเจ้า-
วิเทหราชเสีย เพราะพระเจ้าจุลนีมิใช่สหายของพระ
เจ้าวิเทหราช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต นํ ฆาตยิสฺสติ ความว่า พระ-
เจ้าวิเทหราชจักเสด็จมาพระนครนี้ในกาลใด พระเจ้าจุลนีจักไม่ทรงทำความ
เป็นสหาย คือมิตรธรรมด้วยพระเจ้าวิเทหราชในกาลนั้น จักไม่ประทาน
พระราชธิดาแก่พระเจ้าวิเทหราชนั้นแม้เพื่อทอดพระเนตร ได้ยินว่า พระเจ้า

วิเทหราชนั้นมีอรรถธรรมานุศาสน์อยู่คนหนึ่งชื่อมโหสถบัณฑิต พระเจ้าจุลนี
จักฆ่ามโหสถนั้นพร้อมกับพระเจ้าวิเทหราช พราหมณ์เกวัฏปรึกษากับพระเจ้า
จุลนีว่า เราจักฆ่าคนทั้งสองนั้นเสียแล้ว ดื่มชัยบาน จึงไปกรุงมิถิลาเพื่อจับ
มโหสถนั้นมา.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางนกสาลิกาบอกความลับแก่สุวบัณฑิตโดยไม่เหลือ ด้วยประการ
ฉะนี้ สุวบัณฑิตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวชมเกวัฏว่า อาจารย์เกวัฏเป็นคน
ฉลาดในอุบาย การฆ่าพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยอุบายเห็นปานนี้น่าอัศจรรย์แล้ว
กล่าวว่า ประโยชน์อะไรด้วยอวมงคลเห็นปานนี้แก่เรา นิ่งเสียนอนกันเถิด
รู้ความสำเร็จแห่งกิจที่มา อยู่กับนางนกสาลิกานั้นในราตรีนั้น แล้วกล่าวว่า
ที่รัก ฉันจักไปแคว้นสีวี ทูลความที่ฉันได้ภรรยาที่ชอบใจ แด่พระเจ้าสีวี
และพระเทวี แล้วกล่าวเพื่อให้นางนกสาลิกาอนุญาตให้ตนไปว่า

เอาเถิด เธอจงอนุญาตให้ฉันไปสัก ๗ ราตรี
เพียงให้ฉันได้กราบทูลพระเจ้าสีวิราชและพระมเหสีว่า
ฉันได้อยู่ในสำนักของนางนกสาลิกาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเหสิโน ได้แก่ พระมเหสีของพระ-
เจ้าสีวิราชนั้น. บทว่า อาวสโถ ได้แก่ ที่เป็นอยู่. บทว่า อุปนฺติกํ ความว่า
ครั้งนั้นสุวโปดกกล่าวว่า ฉันจักบอกพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้นว่า เชิญ
เสด็จไปสำนักของนางนกสาลิกานั้น ดังนี้ ในวันที่ ๘ จักนำมาที่นี้ จักพาเธอ
ไปด้วยบริวารใหญ่ เธออย่าได้กระวนกระวายจนกว่าฉันจะมา.

นางนกสาลิกาได้ฟังดังนั้น ไม่ปรารถนาจะแยกกับสุวโปดกเลย แต่
ไม่อาจจะปฏิเสธคำของเขาได้ จึงกล่าวคาถาเป็นลำดับว่า
เอาเถิด ฉันอนุญาตให้ท่านไปประมาณ ๗ ราตรี
ถ้าท่านไม่กลับมายังสำนักของฉันโดย ๗ ราตรี ฉัน
จะสำคัญตัวฉันว่าหยั่งลงแล้ว สงบแล้ว ท่านจักมาใน
เมื่อฉันตายแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺเญ โอกนฺตสนฺตํ มํ ความว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันจะกำหนดตัวฉันว่าปราศจากชีวิตแล้ว เมื่อท่านไม่มาใน
วันที่ ๘ จักมาเมื่อฉันตายแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านอย่ามัวชักช้า.

ฝ่ายสุวบัณฑิตกล่าวด้วยวาจาว่า ที่รัก เธอพูดอะไร แม้ฉันเมื่อไม่เห็น
เธอในวันที่ ๘ จะมีชีวิตอยู่ที่ไหนได้ แต่ใจคิดว่า เจ้าจะเป็นหรือตาย ก็ไม่มี
ประโยชน์อะไรแก่เรา บินขึ้นบ่ายหน้าไปสีวีรัฐ ไปได้หน่อยหนึ่งยังกลับมา
สำนักของนางนกสาลิกานั้นอีก กล่าวว่า ที่รัก ฉันไม่เห็นรูปสิริของเธอ ไม่

อาจจะทิ้งเธอไปได้ ฉะนั้น ฉันจึงกลับมา กล่าวฉะนี้แล้วบินขึ้นอีก ไปกรุง
มิถิลา ลงจับที่จะงอยบ่ามโหสถบัณฑิต พระมหาสัตว์อุ้มขึ้นไปบนปราสาทด้วย
สัญญานั้นแล้วไต่ถาม จึงแจ้งประพฤติเหตุนั้นทั้งหมดแก่มโหสถ ฝ่ายมโหสถ
ก็ได้ให้สิ่งตอบแทนความชอบแก่สุวโปดกนั้นโดยนัยหนหลังนั่นแล.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ลำดับนั้นแล นกมาธูรสุวบัณฑิตได้บินไปแจ้ง
แก่มโหสถว่า คำนี้เป็นคำของนางนกสาลิกา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิกาย วจนํ อิทํ ความว่า สุว-
โปดกได้แจ้งข้อความทั้งปวงโดยพิสดารว่าคำนี้เป็นคำของนางนกสาลิกา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงดำริว่า เมื่อเราไม่อยากให้เสด็จ พระราชา
ก็จักเสด็จ ครั้นเสด็จไปแล้วก็จักถึงความพินาศใหญ่ ทีนั้นเมื่อพระราชาประ-
ทานยศเห็นปานนี้แก่เรา เราจักถือตามพระราชดำรัสไว้ในใจแล้วไม่สนอง
พระเดชพระคุณของพระองค์ ความครหาก็จักมีแก่เรา เพราะฉะนั้นเราจักล่วง
หน้าไปก่อนพระองค์ แล้วเฝ้าพระเจ้าจุลนี สร้างนครเป็นที่ประทับอยู่แห่ง

พระเจ้าวิเทหราช ทำให้เป็นนครที่จำแนกดีแล้ว ให้ทำอุโมงค์เป็นทางเดิน
ยาวราว ๑ คาวุต อุโมงค์ใหญ่ราวกึ่งโยชน์ แล้วอภิเษกพระนางปัญจาลจันที
ราชธิดาของพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ให้เป็นบาทบริจาริกาแห่งพระราชาของเรา
ในเมื่อพระราชาร้อยเอ็ดพร้อมด้วยพลนิกาย ๑๘ อักโขภิณีแวดล้อมตั้งอยู่ เรา

จักปลดเปลื้องพระราชาของเราให้พ้นไป ดุจเปลื้องดวงจันทร์จากปากอสุรินทร-
ราหูฉะนั้น แล้วพาเสด็จสู่พระนครมิถิลา ชื่อว่าราชกรณียกิจที่จะมีมาของพระ-
ราชาต้องเป็นภารธุระแห่งเรา เมื่อมโหสถดำริอย่างนี้ก็เกิดปีติในสรีระ ด้วย
กำลังแห่งความปีติ มโหสถเมื่อจะเปล่งอุทาน จึงกล่าวกึ่งคาถาว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บุคคลบริโภคโภคสมบัติในเรือนของผู้ใด พึง
ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้นั้นทีเดียว.
เนื้อความของกึ่งคาถานั้นมีว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้อิสริยยศใหญ่
บริโภคโภคสมบัติแต่สำนักของพระราชาใดพึงประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่
เกื้อกูล ที่เป็นความเจริญ แด่พระราชานั้นแม้จะทรงด่าบริภาษประหารจับคอ
คร่าออกไปก็ตาม ด้วยทวารทั้งสามมีกายทวารเป็นต้น บัณฑิตทั้งหลายไม่พึง
ทำกรรมคือการประทุษร้ายมิตรเลย.

ครั้นดำริดังนี้แล้ว ก็อาบน้ำแต่งตัวไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ถวายบังคม
แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จักเสด็จ
ไปอุตตรปัญจาลนครหรือ พระราชาตรัสตอบว่า เออ จะไป เมื่อเราไม่ได้นาง
ปัญจาลจันที จะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ เจ้าอย่าทิ้งเรา จงไปกับเรา

ประโยชน์ ๒ ประการ คือเราได้นารีรัตนะและราชไมตรีของพระเจ้าจุลนีกับเรา
จักตั้งมั่น จักสำเร็จเพราะเหตุเราทั้งสองไปในกรุงปัญจาละนั้น ลำดับนั้น
มโหสถเมื่อจะทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์จักไปก่อนสร้างพระราชนิเวศน์
เพื่อพระองค์ พระองค์ควรเสด็จไปในเมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวมากราบทูล เมื่อ
ทูลอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ว่า

ข้าแต่พระจอมประชาชน เอาเถิด ข้าพระองค์
จักไปสู่ปัญจาลบุรีที่น่ารื่นรมย์ดีก่อน เพื่อสร้างพระ-
ราชนิเวศน์ถวายแด่พระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ ข้าแต่
บรมกษัตริย์ ครั้นข้าพระองค์สร้างพระราชนิเวศน์
ถวายแล้ว ส่งข่าวมากราบทูลพระองค์เมื่อใด พระองค์
พึงเสด็จไปเมื่อนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวเทหสฺส ได้แก่ แด่พระองค์ผู้เป็น
พระเจ้าวิเทหราช. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงเสด็จมา.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2019, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทั้งทรงร่าเริง ทั้งทรงโสมนัส
ด้วยเข้าพระหฤทัยว่า มโหสถไม่ทิ้งเราจึงดำรัสว่า แน่ะพ่อมโหสถ เมื่อพ่อไป
ก่อน พ่อควรจะได้อะไรไปบ้าง ครั้นมโหสถกราบทูลตอบว่า ควรได้พลและ
พาหนะไป จึงตรัสว่า พ่อปรารถนาสิ่งใด จงเอาสิ่งนั้นไป มโหสถจึงกราบ
ทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้เปิดเรือนจำ ๔ เรือน ให้ถอดเครื่องจำคือ โซ่ตรวน
แห่งโจรทั้งหลายส่งไปกับข้าพระองค์ ครั้นพระราชทานพระราชานุญาตให้ทำ

ตามชอบใจ จึงให้เปิดเรือนจำให้พวกโจรที่กล้าเป็นทหารใหญ่ผู้สามารถยัง
กิจการในที่ที่ไปแล้ว ๆ ให้เสร็จ แล้วกล่าวว่า เจ้าทั้งหลายจงบำรุงเราแล้ว ให้
สิ่งของแก่ชนเหล่านั้น แล้วพาเสนา ๑๘ เหล่าผู้ฉลาดในศิลปะต่าง ๆ มีช่างไม้
ช่างเหล็กช่างหนังช่างศิลาช่างเขียนช่างอิฐเป็นต้นไป ให้เอาเครื่องอุปกรณ์เป็น
อันมาก มีมีดขวานจอบเสียมเป็นต้นไปด้วย เป็นผู้มีกองพลใหญ่ ห้อมล้อมออก
จากนครไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ตรัสว่า
ลำดับนั้น มโหสถบัณฑิตได้ไปสู่บุรีที่น่ารื่นรมย์ดี
ของพระเจ้าปัญจาลราชก่อน เพื่อสร้างพระราชนิเวศน์
ถวายพระเจ้าวิเทหราชผู้ทรงยศ.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เมื่อไปในที่ทั้งหลายนั้น ก็ให้สร้างบ้านบ้านหนึ่งใน
ระยะทางโยชน์หนึ่ง ๆ แล้วกล่าวกะอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงเตรียม
จัดช้างม้าและรถไว้ในกาลเมื่อพระเจ้าวิเทหราชรับพระนางปัญจาลจันทีกลับไป
แล้วพาพระราชาเสด็จไป ห้ามเหล่าปัจจามิตรอย่าให้ประทุษร้ายได้ ให้เสด็จ
ถึงกรุงมิถิลาโดยเร็ว สั่งฉะนี้แล้ววางอมาตย์คนหนึ่ง ๆ ไว้ ก็ครั้นมโหสถไป

ถึงฝั่งคงคาจึงเรียกอมาตย์ชื่ออานันทกุมารมาสั่งส่งไปว่า ดูก่อนอานันทะ ท่าน
จงพาช่างไม้ ๓๐๐ คนไปเหนือคงคาให้ถือเอาไม้แก่นสร้างเรือประมาณ ๓๐๐ ลำ
แล้วถากไม้ในที่นั้นนั่นแหละ บันทุกไม้เบา ๆ ในเรือเอามาโดยพลัน เพื่อ


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 138, 139, 140, 141, 142, 143, 144 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร