วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 145, 146, 147, 148, 149, 150, 151 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นามว่าอริฏฐะกระทำ จึงเสด็จพลางคุกคามว่า ไปเถิดพวกท่านจงพาอริฏฐะนั้นไป
ทำให้ถึงความสิ้นชีวิต. พระราชธิดาทรงทราบว่า พระราชาทรงกริ้ว จึงตรัส
ด้วยความสิเนหาในบุตรว่า พระเจ้าข้า นัยน์ตาบุตรของหม่อมฉันแตกไปแล้ว
ขอพระองค์จงงดโทษให้แก่บุตรของหม่อมฉันเถิด. พระราชา เมื่อพระนางตรัส
อย่างนั้น จึงตรัสว่า เราไม่อาจทำอะไรได้ จึงงดโทษให้ก็ในวันนั้นพระนาง

ได้ทราบว่า นี้เป็นภพนาค จำเดิมแต่นั้นมา พระโอรสนามว่าอริฏฐะ ได้ชื่อว่า
อริฏฐะบอด. ฝ่ายพระโอรสทั้ง ๔ องค์ถึงความรู้เดียงสาแล้ว. ลำดับนั้น พระ
บิดาของพระโอรสเหล่านั้น ได้ทรงประทานรัชสมบัติแห่งละ ๑๐๐ โยชน์ ยศใหญ่
ได้มีแล้ว. นางสาวนาคพากันแวดล้อมแห่งละ ๑๖,๐๐๐ พระบิดาได้มีรัชสมบัติ
๑๐๑ โยชน์เท่านั้น พระโอรสทั้ง ๓ มาเพื่อเฝ้าพระมารดาบิดาทุก ๆ เดือน ฝ่าย

พระโพธิสัตว์มาทุกกึ่งเดือน พระโพธิสัตว์นั่นเอง ได้กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ภพนาค พร้อมกับพระบิดาจึงไปสู่ที่อุปัฏฐากแม้ของท้าววิรูปักขมหาราช พระองค์
ได้กล่าวแม้ปัญหาที่ตั้งขึ้นในสำนักของภพนาคนั้น. ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อท้าว
มหาราชวิรูปักข์ พร้อมด้วยนาคบริวารไปยังไตรทศบุรี นั่งแวดล้อมท้าวสักกะ
ได้ถกปัญหาขึ้นในระหว่างหมู่เทพทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแก้ปัญหาแม้
นั้นได้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐเท่านั้นจึงแก้ได้.

ลำดับนั้น พระเทวราชาทรงบูชาพระโพธิสัตว์นั้น ด้วยของหอมและ
ดอกไม้อันเป็นทิพย์แล้ว ตรัสว่า พ่อทัตตะ ท่านประกอบด้วยปัญญาอัน
ไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่นี้ไปท่านจงชื่อว่า ภูริทัต เพราะเหตุนั้น

จึงได้ตั้งชื่อท่านว่า ภูริทัต. ตั้งแต่นั้นมาท่านได้ไปสู่ที่อุปัฏฐากของท้าวสักกะ
เห็นเวชยันตปราสาทอันประดับประดาไว้ และสมบัติของท้าวสักกะ อันน่ารื่น
รมย์ยิ่งนัก เกลื่อนกล่นไปด้วยนางเทพอัปสร ทำความปรารถนาในเทวโลก
แล้วคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยอัตภาพนี้ซึ่งมีกบเป็นภักษา แล้วไปสู่ภพ


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นาคอยู่จำอุโบสถ จักกระทำเหตุเกิดในเทวโลกนี้ ดังนี้แล้วจึงกลับมาภพนาค
ทูลลาพระมารดาและพระบิดาว่า พระแม่ พ่อ หม่อมฉันจะกระทำอุโบสถกรรม.
พระมารดาพระบิดาตรัสว่า ดีละพ่อ จงทำเถิด ก็เมื่อเจ้าจะทำ เจ้าอย่าไปภายนอก
จงกระทำในวิมานอันว่างแห่งหนึ่งในภพนาคนี้แล ก็เมื่อพวกนาคไปข้างนอก ภัย
ใหญ่ย่อมเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์ทูลรับว่า ดีละ แล้วอยู่จำอุโบสถในพระราช

อุทยาน ในวิมานอันว่างนั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น นางนาคต่างถือดนตรีต่าง ๆ
แวดล้อมพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราอยู่ในที่นี้ อุโบสถจักไม่ถึง
ที่สุด เราจะไปถิ่นมนุษย์ กระทำอุโบสถ ไม่ได้บอกแก่มารดาและบิดา เพราะ
กลัวจะถูกห้ามจึงเรียกภรรยาทั้งหลายของตนมากล่าวว่า นางผู้เจริญ ฉันจะไป
โลกมนุษย์ ขดขนด (เข้าสมาธิ) บนจอมปลวก ไม่ไกลแต่ที่ที่ต้นไทรใหญ่มีอยู่

ที่ฝั่งแม่น้ำยมุนา จักอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๔ นอนกระทำ
อุโบสถกรรม เมื่อเรานอนทำอุโบสถกรรมตลอดคืนยังรุ่งในเวลาอรุณขึ้นนั่นแล
พวกเจ้าผู้เป็นสตรี ถือดนตรีครั้งละ ๑๐ นาง จงผลัดเปลี่ยนกันไปยังสำนักของ
เรา บูชาเราด้วยของหอมและดอกไม้ ขับฟ้อนแล้วกลับมายังภพนาคตามเดิม

ดังนี้แล้วไปในที่นั้น วงขนดบนจอมปลวกแล้วอธิษฐานอุโบสถอันประกอบด้วย
องค์ ๔ ว่า ผู้ใดปรารถนา หนัง เอ็น กระดูก หรือเลือด ผู้นั้นจงนำไปเถิด
แล้วนิรมิตร่างประมาณเท่างอนไถ นอนกระทำอุโบสถกรรม พออรุณขึ้น
นางมาณวิกามาปฏิบัติพระโพธิสัตว์ตามคำพร่ำสอนแล้วกลับมาสู่ภพนาค เมื่อ
พระโพธิสัตว์กระทำอุโบสถกรรมตามทำนองนี้ ระยะกาลผ่านไปยาวนาน.
จบอุโบสถกัณฑ์


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์เนสาทคนหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้ประตูกรุง
พาราณสี พร้อมกับโสมทัตลูกชาย ไปสู่ป่าเที่ยวดักสัตว์ด้วยหลาวยนต์และบ่วงแร้ว
ฆ่ามฤคได้แล้วหาบเนื้อมาขายเลี้ยงชีพ. วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นไม่ได้อะไร โดย
ที่สุดแม้เพียงเหี้ยสักตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ถ้าเราไปมือเปล่า ๆ
มารดาของเจ้าก็จะโกรธเอา เราจักพาสัตว์สักตัวหนึ่งไปให้ได้ ดังนี้แล้วจึงบ่าย
หน้าตรงไปทางจอมปลวกที่พระโพธิสัตว์นอนอยู่ เห็นรอยเท้าเนื้อทั้งหลาย ซึ่ง

ลงไปดื่มน้ำที่แม่น้ำยมุนา จึงกล่าวว่า ลูกพ่อ ทางเนื้อปรากฏอยู่ เจ้าจงถอยออกไป
เราจะยิงเนื้อซึ่งมาดื่มน้ำ ดังนี้แล้วจึงหยิบเอาธนูยืนแอบโคนต้นไม้ต้นหนึ่งคอย
ดูเนื้ออยู่. ครั้นเวลาเย็นเนื้อตัวหนึ่งมาเพื่อดื่มน้ำ. พราหมณ์นั้นยิงเนื้อนั้น.
เนื้อหาล้มลงในที่นั้นไม่ ตกใจด้วยกำลังศรมีเลือดไหลวิ่งหนีไป. ส่วนบิดาและ
บุตรพากันติดตามเนื้อนั้นไป จับเอาเนื้อนั้นในที่ ๆ มันล้มลงแล้ว ออกจากป่า

ถึงต้นไทรนั้น ในเวลาพระอาทิตย์ตก จึงปรึกษากันว่า บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่
สามารถจะไปได้ เราจะพักอยู่ในที่นี้แล ดังนี้แล้วจึงเอาเนื้อวางไว้ในที่สมควร
ข้างหนึ่ง ก็พากันขึ้นต้นไม้นอนอยู่ที่ระหว่างค่าคบไม้. ครั้นเวลาใกล้รุ่ง
พราหมณ์ตื่นขึ้น เอียงหูคอยฟังเสียงเนื้อร้อง.

ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาทั้งหลาย พากันมาตกแต่งอาสนะดอกไม้
เพื่อพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์กลายร่างกายจากงู นิรมิตเป็นร่างทิพย์
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ ด้วยลีลาดุจท้าว-
สักกเทวราช. ฝ่ายนางนาคมาณวิกา ก็บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น แล้วบรรเลงทิพย์ดนตรีจับฟ้อนรำขับร้อง. พราหมณ์ ได้ฟัง
เสียงนั้นแล้วคิดว่า นั่นเป็นใครหนอ เราจักรู้จักเสียงนั้นดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
ลูกพ่อผู้เจริญ เมื่อไม่อาจปลุกบุตรให้ตื่นขึ้นได้ จึงคิดว่า ลูกนี้เห็นจะเหนื่อย
จงนอนไปเถิด เราจักไปคนเดียว คิดแล้วก็ลงจากต้นไม้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์.

เหล่านางนาคมาณวิกา เห็นพราหมณ์นั้นจึงดำลงในแผ่นดินพร้อมด้วยเครื่อง
ดนตรีกลับไปยังนาคพิภพตามเดิม. ส่วนพระโพธิสัตว์ได้นั่งอยู่แต่ผู้เดียวเท่านั้น.
พราหมณ์ยืนอยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์ เมื่อจะถามจึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
ว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผายนั่งอยู่ท่าม
กลางป่า อันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คนเป็นใคร
ทรงเครื่องประดับล้วนแล้วแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม ยืน
เคารพอยู่ ท่านเป็นใครมีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่ในท่าม
กลางป่าเหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่านคงเป็น
ผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือเป็นนาคผู้มี
อานุภาพมาก.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปุปฺผาภิหารสฺส ความว่า อันประกอบ
ด้วยการนำไปเฉพาะซึ่งดอกไม้ทิพย์ ที่เขานำมาเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์.
บทว่า โก แปลว่า ท่านคือใคร. บทว่า โลหิตกฺโข แปลว่า มี
นัยน์ตาแดง. บทว่า วิหตนฺตรํโส แปลว่า มีรัศมีผึ่งผาย. บทว่า กา

กมฺพุกายูรธรา แปลว่า ทรงเครื่องอันล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า
พฺรหาพาหุ แปลว่า มีแขนใหญ่ อธิบายว่า มีแขนใหญ่. บทว่า วนสฺส
มชฺเฌ ความว่า ท่าน มีแขนใหญ่คือใคร มีอานุภาพมากในท่ามกลางแห่งป่า
ใหญ่ คือท่านเป็นใครหนอมีศักดิ์ใหญ่ ในท่ามกลางแห่งนางนาคผู้ปิดอกผูกโบ
ที่ศีรษะ นุ่งผ้าดี ๆ.

พระมหาสัตว์ ได้ฟังดังนั้นแล้วดำริว่า ถ้าเราจักบอกว่า เราเป็นใคร
คนใดคนหนึ่งที่มีฤทธิ์ในบรรดาผู้มีฤทธ์มีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น. พราหมณ์คน
นี้คงจักเชื่อแน่แท้ แต่วันนี้เราควรจะพูดความจริงอย่างเดียว เมื่อจะบอกว่าตน
เป็นพระยานาค จึงกล่าวว่า

เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใคร ๆ จะล่วงได้
ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบกัดชนบทที่เจริญ ให้แหลก
ได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดาของเราชื่อ
ธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คนทั้งหลายเรียกเรา
ว่า ภูริทัต.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตชสี ความว่า ชื่อว่า ผู้มีเดชด้วยเดช
เพียงดังยาพิษ. บทว่า ทุรติกฺกโม ความว่า ใคร ๆ อื่นไม่สามารถเพื่อจะ
ล่วงได้. บทว่า ฑํเสยฺยํ ความว่า ถ้าเราโกรธแล้ว พึงขบกัดแม้ชนบทที่กว้าง
ขวางได้ เมื่อเขี้ยวของเราเพียงตกไปในแผ่นดิน ด้วยเดชของเรา ชาวชนบททั้ง
หมดพร้อมด้วยแผ่นดินพึงไหม้เป็นขี้เถ้าไป. บทว่า สุทสฺสนกนิฏฺโ€สฺมิ ความ
ว่า เราเป็นน้องชายของสุทัสสนะ ผู้เป็นพี่ชายเรา. อธิบายว่า ความว่า ชน
ทั้งหมดย่อมรู้จักเราในนาคพิภพระยะทาง ๕๐๐ โยชน์ อย่างนี้ว่า วิทู ผู้รู้วิเศษ.

ก็แลพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เป็นผู้
ดุร้ายหยาบคาย ถ้าเขาจะไปบอกแก่หมองูแล้ว พึงทำแม้อันตรายแก่อุโบสถกรรม
ของเรา ไฉนหนอเราจะนำพราหมณ์ผู้นี้ไปยังนาคพิภพ พึงให้ยศแก่ท่านเสีย
ให้ใหญ่โตแล้ว จะพึงทำอุโบสถกรรมของเราให้ยืนยาวนานไปได้. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้ยศ

แก่ท่านให้ใหญ่โต นาคพิภพเป็นสถานอันน่ารื่นรมย์นัก มาไปกันเถิด ไปใน
นาคพิภพนั้นด้วยกัน. พราหมณ์กล่าวว่า ข้าแต่นาย บุตรของข้าพเจ้ามีอยู่คน
หนึ่ง เมื่อบุตรนั้นมา ข้าพเจ้าก็จักไป. ลำดับนั้นพระมหาสัตว์จึงกล่าวกะ
พราหมณ์นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านจงไปนำบุตรของท่านมาเถิด เมื่อจะบอกที่
อยู่ของพระองค์จึงกล่าวว่า

ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อ น่ากลัวใด ห้วง
น้ำนั้น เป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึกหลายร้อยชั่ว
บุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา เป็น
แม่น้ำที่มีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วยเสียงนก

ยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของผู้มีอาจารวัตร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทาวฏฺฏํ แปลว่า วนเวียนเป็นไปอยู่
ทุกเมื่อ. บทว่า เภสฺมึ แปลว่า น่าสะพรึงกลัว. บทว่า อเปกฺขสิ ความว่า
ท่านเพ่งดูห้วงน้ำเห็นปานนี้นั้นใด. บทว่า มยูรโกญฺจาภิรุทํ ความว่า กึก
ก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียนที่อยู่ในกลุ่มป่าที่ฝั่งทั้ง ๒ ของแม่น้ำ

ยมุนา. บทว่า นีโลทกํ แปลว่า น้ำมีสีเขียว. บทว่า วนมชฺฌโต ได้แก่
ไหลมาจากท่ามกลางป่า. บทว่า ปวิส มา ภีโต ความว่า ท่านอย่ากลัว
เลย จงเข้าไปยังแม่น้ำยมุนา. บทว่า วตฺตวตํ ความว่า จงเข้าไปสู่ภูมิเป็น
ที่อยู่ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ผู้มีอาจารวัตร.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงกล่าวว่า ไปเถิดพราหมณ์
ไปนำบุตรมา. พราหมณ์จึงไปบอกความนั้นแก่บุตร แล้วพาบุตรนั้นมา. พระ
มหาสัตว์พาพราหมณ์กับบุตรทั้งสอง ไปยังฝั่งแม่น้ำยมุนา ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแล้ว
กล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและภรรยา
ไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกามทั้งหลาย
ท่านจักอยู่เป็นสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปตฺโต ความว่า ท่านถึงนาคพิภพของ
เราแล้ว. บทว่า สานุจโร แปลว่า พร้อมด้วยภรรยา. บทว่า มยฺหํ ความว่า
เราจะบูชาด้วยกามทั้งหลายอันเป็นของ ๆ เรา. บทว่า วจฺฉสิ ความว่า ท่าน
จักอยู่เป็นสุขในนาคพิภพนั้น.

ก็แลพระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำบิดาและบุตรทั้งสอง
ไปยังนาคพิภพด้วยอานุภาพของตน. เมื่อบิดาและบุตรทั้งสอง ไปถึงนาคพิภพ
อัตภาพก็ปรากฏเป็นทิพย์. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็ยกสมบัติทิพย์ให้แก่
บิดาและบุตรทั้งสองนั้นมากมาย และได้ให้นางนาคกัญญาคนละ ๔๐๐. ทั้งสอง
คนนั้นก็บริโภคสมบัติใหญ่อยู่ในนาคพิภพนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็มิได้ประมาท ไปกระทำอุปัฏฐากพระชนกและชนนี
ทุกกึ่งเดือน แสดงธรรมกถาถวาย และต่อแต่นั้น ก็ไปยังสำนักของพราหมณ์
ถามถึงความไม่มีโรคแล้วกล่าวว่า ท่านต้องการสิ่งใด ก็พึงบอกไปเถิด อย่า
เบื่อหน่าย จงรื่นเริง ดังนี้แล้ว ได้กระทำปฏิสันถารกับท่านโสมทัตแล้วไปยัง

นิเวศน์ของพระองค์ พราหมณ์อยู่นาคพิภพได้หนึ่งปี เพราะเหตุที่ตนมีบุญน้อย
ก็เกิดเบื่อหน่ายใคร่จะไปโลกมนุษย์ เห็นนาคพิภพปรากฏเหมือนโลกันตนรก
ปราสาทอันประดับงดงาม ก็ปรากฏเหมือนเรือนจำ นางนาคกัญญาที่ตกแต่ง
สวยปรากฏเหมือนนางยักษิณี พราหมณ์จึงคิดว่า เราเบื่อหน่ายเป็นอันดับแรก
เราจักรู้ความคิดของโสมทัตบ้าง ดังนี้แล้วจึงไปยังสำนักของท่านโสมทัตแล้ว


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ถามว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต ท่านเบื่อหน่ายหรือไม่. ท่านโสมทัตย้อนถามว่า
ข้าแต่พ่อ ข้าจักเบื่อหน่าย เพราะเหตุอะไร ข้าไม่เบื่อหน่าย ก็พ่อเบื่อหน่ายหรือ.
พราหมณ์ตอบว่า เออ เราเบื่อหน่ายอยู่. โสมทัตถามว่า เบื่อหน่ายเพราะเหตุไร.
พราหมณ์ตอบว่า ดูก่อนเจ้า พ่อเบื่อหน่ายด้วยมิได้เห็นมารดาและพี่น้องของเจ้า
พ่อโสมทัตจงมาไปด้วยกันเถิด. โสมทัตแม้กล่าวว่า จะไม่ไป แต่เมื่อบิดา

อ้อนวอนแล้วอ้อนวอนเล่าก็รับคำ. พราหมณ์คิดว่า เราได้ความตกลงใจของ
บุตรเป็นอันดับแรก แต่ถ้าจะบอกพระภูริทัตว่าเราเบื่อหน่าย พระภูริทัตก็จัก
ให้ยศแก่เรายิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะไม่ได้ไป เราจะต้องพรรณนา
ยกย่องสมบัติของภูริทัตด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงถามว่า ที่พระภูริทัตละสมบัติถึง
เพียงนี้ ไปทำอุโบสถกรรมที่มนุษย์โลกนั้น เพราะเหตุใด ถ้าตอบว่าต้องการ
จะไปสวรรค์ เราก็จักทูลให้ทราบความหมายของเราว่า สมบัติมีถึงอย่างนี้แล้ว

ท่านยังละไปทำอุโบสถกรรมเพื่อต้องการจะไปสวรรค์ เพราะเหตุไรเล่า คน
อย่างเราจะมาเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยทรัพย์ของผู้อื่น เราจักไปมนุษย์โลกเยี่ยมญาติ
แล้วบวชบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ พระภูริทัตคงจักอนุญาตให้ไป ครั้นพราหมณ์

คิดดังนี้ ครั้นต่อมาวันหนึ่ง พอพระโพธิสัตว์มาเยี่ยมและถามว่า เบื่อหรือไม่
ก็ตอบว่า ข้าพเจ้าจักเบื่อหน่ายเพราะเหตุอะไร สิ่งของเครื่องบริโภคที่ได้แต่
สำนักของพระองค์ มิได้บกพร่องสักอย่างหนึ่ง ในระยะนี้ พราหมณ์มิได้
แสดงถึงเรื่องที่เกี่ยวแก่การจะไป ตั้งต้นก็กล่าวพรรณนาถึงสมบัติของ
พระโพธิสัตว์ว่า

แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วยต้น
กฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง
มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระ
โบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มี
ดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม

มีเสา ๑,๐๐๐ เสา สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เรืองจรูญ
ด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์เป็นผู้บังเกิดใน


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
วิมานทิพย์อันกว้างใหญ่ เป็นวิมานเกษมสำราญรื่นรมย์
มีความสุขหาสิ่งใดจะเปรียบปานมิได้ ด้วยบุญของ
พระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมานของพระ-
อินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของพระองค์นี้
เหมือนของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมา สมนฺตปริโต ความว่า แผ่นดิน
ในนาคพิภพของท่านนี้ ในทิสาภาคทั้งปวง มีพื้นอันราบเรียบ เกลื่อนกล่น
ไปด้วยทองคำ เงิน แก้วมณี แก้วมุกดา และทราย. บทว่า สมา ได้แก่
แผ่นดินมีพื้นเสมอ. บทว่า ปหุตครา มหี ความว่า ประกอบด้วยต้น
กฤษณาเป็นอันมาก. บทว่า อินฺทโคปกสญฉนฺนา ความว่า ดารดาษไป

ด้วยหมู่แมลงค่อมทอง. บทว่า โสภติ หริตุตฺตมา ความว่า ดารดาษไป
ด้วยหญ้าแพรกมีสีเขียวชะอุ่มดูงดงาม. บทว่า วนเจตฺยานิ ได้แก่ หมู่ไม้
ในป่า. บทว่า โอปุปฺผปทุมา ความว่า บนหลังน้ำดารดาษไปด้วยดอก
ปทุมที่ร่วงหล่น. บทว่า สุนิมฺมิตา ความว่า สร้างขึ้นด้วยดีด้วยบุญสมบัติ
ของท่าน. บทว่า อฏฺ€ํสา ความว่า ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ของท่าน มี

เสาแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สร้างไว้ดีทั้ง ๘ มุม ปราสาทของท่านมีเสา ๑,๐๐๐
บริบูรณ์รุ่งโรจน์ โชติช่วงด้วยนางนาคกัญญา. บทว่า อุปปนฺโนสิ ความว่า
ท่านบังเกิดในวิมานเห็นปานนี้. บทว่า สหสฺสเนตฺตสฺส วิมานํ ได้แก่
เวชยันตปราสาท. บทว่า อิทฺธิ หิ ตยายํ วิปุลา ความว่า เพราะเหตุที่

ฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของท่านนี้ ด้วยอุโบสถกรรมนั้น ท่านจึงไม่ปรารถนา
วิมานแม้ของท้าวสักกเทวราช ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านปรารถนาตำแหน่งอื่น
ยิ่งกว่านั้น.
พระมหาสัตว์ ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์
ท่านอย่าพูดอย่างนั้นเลย. ยศศักดิ์ของเราหากเทียบกับยศศักดิ์ของท้าวสักกเทว-
ราชแล้ว นับว่าต่ำมาก ปรากฏเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดใกล้ภูเขาสิเนรุ พวกเรา
ก็มีค่าไม่ถึงแม้ด้วยคนบำเรอของท่าน ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อานุภาพของคนบำรุงบำเรอชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ใน
อำนาจของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ซึ่งใคร ๆ ไม่พึง
ถึงด้วยใจ.
ความแห่งคำเป็นคาถานั้นมีดังนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ใคร ๆ ไม่พึงถึงด้วย
ใจคือแม้ด้วยจิตว่า ชื่อว่า ยศศักดิ์ของท้าวสักกเทวราช จะมีเพียงเท่านี้ คือ
๑-๒-๓-๔ วันเท่านั้น ยศศักดิ์ของสัตว์เดรัจฉานของเรายังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งยศศักดิ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ดี ของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ผู้บำรุงบำเรอ
เที่ยวทำให้เป็นผู้ใหญ่ผู้นำก็ดี.

ก็แลครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า เราได้ยิน
ท่านพูดว่า นี้เป็นวิมานของท่านผู้มีพระเนตรตั้ง ๑,๐๐๐ เราก็ระลึกได้เพราะว่า เรา
ปรารถนาเวชยันตปราสาท จึงกระทำอุโบสถกรรม เมื่อจะบอกความปรารถนา
ของตนแก่พราหมณ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่
ในความสุขนั้น จึงเข้าจำอุโบสถ อยู่บนจอมปลวก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาย แปลว่า ปรารถนา. บทว่า
อมรานํ ได้แก่ เทพผู้มีอายุยืนนาน. บทว่า สุเขสินํ ได้แก่ ผู้แสวงหา
ความสุข คือผู้ปรารถนาความสุข.

พราหมณ์ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ถึงความโสมนัสว่า บัดนี้เราได้โอกาส
แล้ว เมื่อจะลาไปจึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ข้าพระองค์กับทั้งบุตรเข้าไปสู่ป่าแสวงหามฤค
มานานวัน พวกญาติทางบ้านเหล่านั้น ไม่รู้ว่าข้าพระ
องค์ตายหรือเป็น ข้าพระองค์จะขอทูลลาพระภูริทัต
ผู้ทรงยศ เป็นโอรสแห่งกษัตริย์กาสี กลับไปยัง
มนุษยโลก พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้าพระองค์
ก็จะไปเยี่ยมหมู่ญาติ พระเจ้าข้า.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภิเวเทนฺติ แปลว่า ย่อมไม่รู้
ความว่า แม้เมื่อกล่าวถึงพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่มีใครรู้เลย. บทว่า มิคเมสาโน
ตัดเป็น มิคํ เอสาโน แปลว่า ผู้ แสวงหามฤค. บทว่า อามนฺตเย แปลว่า
ข้าพระองค์ขอทูลลา. บทว่า กาสิปุตฺตํ ได้แก่ เป็นโอรสแห่งราชธิดา
ของกษัตริย์กาสี.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าว ๒ คาถาว่า
การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้ เป็นความ
พอใจของเราหนอ แต่ว่ากามารมณ์เช่นนี้ เป็นของ
ไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ เราจะ
บูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ท่านไป
เยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ครั้นกล่าว ๒ คาถาแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์
นี้ เมื่อได้อาศัยเราเลี้ยงชีพเป็นสุขคงจะไม่บอกแก่ใคร ๆ เราจักให้แก้วมณี
อันให้ความใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์นี้. ลำดับนั้น เมื่อจะให้แก้วมณีแก่
พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรับเอาทิพยมณีนี้ไป เมื่อ
ท่านทรงทิพยมณีนี้ไป จะต้องการปศุสัตว์ก็ดี บุตรก็ดี
หรือปรารถนาอะไรอื่นก็ดี ก็จะได้สมประสงค์ทุก
ประการ ท่านจงปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุํ ปุตฺเต จ วินฺทสิ ความว่า เมื่อ
ท่านทรงแก้วมณีนี้ ด้วยอานุภาพของแก้วมณีนี้ ท่านย่อมได้สิ่งที่ท่านปรารถนา
ทั้งหมด คือจะเป็นปศุสัตว์ บุตร และสิ่งอื่นก็จะได้สมประสงค์.
ลำดับนั้น พราหมณ์จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษ
มิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์แก่แล้วจัก
บวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนภูริทัต พระดำรัสของท่านเป็น
กุศล ไม่มีโทษ ข้าพระองค์ยินดีพระดำรัสนั้นยิ่งนักไม่ปฏิเสธ แต่ข้าพระองค์
แก่แล้ว เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จักบวช. บทว่า น กาเม อภิปตฺถเย ความ
ว่า ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย ข้าพระองค์จะประโยชน์อะไรด้วย
แก้วมณี.

พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า
หากว่าพรหมจรรย์มีการต้องละเลิกไซร้ กิจที่พึง
ทำด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มีความ
หวั่นใจเลยควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมาก ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจ ภงฺโค ความว่า ดูก่อนพราหมณ์
ชื่อว่าการอยู่พรหมจรรย์ เป็นการทำได้ยากยิ่ง ถ้าหากในกาลใด พรหม-
จรรย์ที่เราไม่ยินดีมีการต้องละเลิก ในกาลนั้น กิจที่ต้องทำด้วยโภคทรัพย์
ทั้งหลายของผู้เป็นคฤหัสถ์มีอยู่ ในกาลเช่นนี้ ท่านอย่าได้หวาดหวั่นใจไปเลย
ควรมาสำนักเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่านมาก ๆ.
พราหมณ์กล่าวว่า

ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระองค์หาโทษ
มิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์จะกลับมาอีก
ถ้าจักมีความต้องการ.
ศัพท์ว่า ปุนาปิ ในคาถานั้นแก้เป็นปุนปิ. อนึ่ง นี้ก็เป็นบาลีเช่นกัน
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รู้ว่าพราหมณ์นั้นไม่ปรารถนาจะอยู่ในที่นั้น
จึงให้เรียกนาคมาณพทั้งหลายมา แล้วส่งไปว่า พวกท่านจงนำพราหมณ์ไป
ให้ถึงมนุษย์โลก.

พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาคมาณพ
๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัวพา
พราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพทั้ง ๔ ตนที่
ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัว
แล้วพาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเปสุํ ความว่า นาคมาณพทั้ง ๔ ขึ้น
จากแม่น้ำยมุนา ส่งให้ถึงทางไปกรุงพาราณสี ก็แลครั้นส่งให้ถึงแล้วจึงกล่าวว่า
ไปเถิดท่าน ดังนี้แล้วก็กลับมายังนาคพิภพตามเดิม.

ฝ่ายพราหมณ์ เมื่อบอกแก่บุตรว่า ดูก่อนพ่อโสมทัต เรายิงมฤค
ในที่นี้ สุกรในที่นี้ ดังนี้แล้วจึงเดินไป เห็นสระโบกขรณีในระหว่างทางแล้ว
กล่าวว่า พ่อโสมทัต อาบน้ำกันเถิด เมื่อท่านโสมทัตกล่าวว่า ดีละพ่อ ทั้งสอง
คนจึงเปลื้องเครื่องอาภรณ์อันเป็นทิพย์ และผ้าทิพย์ แล้วห่อวางไว้ริมฝั่งสระ-
โบกขรณีแล้วลงไปอาบน้ำ. ขณะนั้น เครื่องอาภรณ์และผ้าทิพย์เหล่านั้นได้
หายไปยังนาคพิภพตามเดิม ผ้านุ่งห่มผืนเก่ากลับสวมใส่ในร่างของคนทั้งสอง

นั้นก่อนแม้ธนูศรและหอกได้ปรากฏตามเดิม. ฝ่ายท่านโสมทัตร้องว่า
ท่านทำเราให้ฉิบหายแล้วพ่อ. ลำดับนั้น บิดาจึงปลอบท่าน โสมทัตว่า
อย่าวิตกไปเลยลูกพ่อ เมื่อมฤคมีอยู่เราฆ่ามฤคในป่าเลี้ยงชีวิต. มารดาท่าน
โสมทัตทราบการมาของคนทั้งสอง จึงต้อนรับนำไปสู่เรือน จัดข้าวน้ำเลี้ยง
ดูให้อิ่มหนำสำราญ. พราหมณ์บริโภคอาหารเสร็จแล้วก็หลับไป. ฝ่ายนางจึง

ถามบุตรว่า พ่อโสมทัต ทั้ง ๒ คนหายไปไหนมานานจนถึงป่านนี้. โสมทัต
ตอบว่า ข้าแต่แม่ พระภูริทัตนาคราชพาข้ากับบิดาไปยังนาคพิภพ เพราะเหตุนั้น
เราทั้งสองคิดถึงแม่ จึงกลับมาถึงบัดนี้. มารดาถามว่า. ได้แก้วแหวนอะไร ๆ
มาบ้างเล่า. โสมทัตตอบว่า ไม่ได้มาเลยแม่. มารดาถามว่า. ทำไมพระภูริทัต
ไม่ให้อะไรบ้างหรือ. โสมทัตตอบว่า พระภูริทัตให้แก้วสารพัดนึกแก่พ่อ ๆ
ไม่รับเอามา. มารดาถามว่า เหตุไรพ่อเจ้าจึงไม่รับ. โสมทัตตอบว่า. ข้าแต่

แม่ ข่าวว่าพ่อจักบวช. นางพราหมณีนั้นโกรธว่า บิดาทิ้งทารกให้เป็นภาระ
แก่เรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ไปอยู่เสียในนาคพิภพ ข่าวว่าเดี๋ยวนี้จะบวช
ดังนี้แล้วจึงตีหลังพราหมณ์ด้วยพลั่วสาดข้าว แล้วขู่คำรามว่า อ้ายพราหมณ์
ผู้ชั่วร้าย ข่าวว่าจักบวช ภูริทัตให้แก้วมณีก็ไม่รับ ทำไมไม่บวช กลับมาที่นี้

ทำไมอีกเล่า จงรีบออกไปให้พ้นเรือนกู. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงปลอบนาง
พราหมณีว่า เจ้าอย่าโกรธข้าเลย เมื่อมฤคในป่ายังมีอยู่ข้าจะไปฆ่ามาเลี้ยงเจ้า
ดังนี้แล้วก็จากที่นั้นไปป่าพร้อมด้วยบุตร หาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองในก่อนแล.
จบเนสาทกัณฑ์


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในกาลนั้น ยังมีครุฑตนหนึ่ง อยู่ที่ต้นงิ้วทางมหาสมุทรภาคใต้ กระพือ
ลมปีกแหวกน้ำในมหาสมุทรลงไป จับศีรษะนาคราชได้ตัวหนึ่ง. แท้จริงใน
กาลนั้น ครุฑทั้งหลาย ยังไม่รู้จักวิธีจับนาค ครั้นภายหลังจึงรู้จักวิธีจับนาค
อย่างในปัณฑรกชาดก(๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๓๘๗) แต่ครุฑตัวนั้น เมื่อจับนาค
ทางศีรษะ ยังไม่ทันน้ำจะ

ท่วมมาถึง ก็หิ้วนาคขึ้นได้ ปล่อยให้นาคห้อยหางลง พาบินไปเบื้องบนป่า
หิมพานต์. ก็ในกาลนั้นมีพราหมณ์ชาวกาสิกรัฐผู้หนึ่ง ออกบวชเป็นฤาษี
สร้างบรรณศาลาอาศัย อยู่ในหิมวันตประเทศ. ที่สุดจงกรมของฤาษีนั้นมีต้น
ไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง. ฤาษีนั้นทำที่พักผ่อนหย่อนใจในกลางวันที่โคนต้นไทรนั้น
ครุฑหิ้วนาคผ่านไปถึงตรงยอดไทร. นาคปล่อยหางห้อยอยู่ก็เอาหางพันคาคบ
ต้นไทรด้วยหมายใจจะให้พ้น. ครุฑมิทันรู้ก็รีบไปทางอากาศ เพราะมันมีกำลัง

มาก. ต้นไทรพร้อมทั้งรากติดหางนาคไปด้วย เมื่อครุฑพานาคไปถึงต้นงิ้วก็
จิกด้วยจะงอยปาก ฉีกท้องนาคกินมันเหลวของนาค ทิ้งร่างลงไปในท้องมหา-
สมุทร ต้นไทรก็ตกลงเสียงดังสนั่นหวั่นไหว. ครุฑสงสัยว่าเสียงอะไร ก็มองไป
ดูเบื้องต่ำแลเห็นต้นไทร จึงคิดในใจว่า ต้นไทรนี้เราถอนมาแต่ไหน ก็นึกได้
โดยถ่องแท้ว่า ต้นไทรนั้นอยู่ท้ายที่จงกรมของพระดาบส ตัวเราจะปรากฏว่า ทำ

อกุศลหรือไม่หนอ เราจักไปถามดาบสนั้นดูก็จะรู้ได้ ดังนี้แล้วก็แปลงเพศเป็น
มาณพน้อยไปสู่สำนักพระดาบส. ขณะนั้นพระดาบสกำลังทำที่นั้นให้สม่ำเสมอ
พระยาสุบรรณไหว้พระดาบสแล้วก็นั่งอยู่ ณ ที่สมควร ทำทีประหนึ่งว่าไม่รู้
แกล้งถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ที่ตรงนี้เดิมเป็นที่อยู่ของอะไร. ดาบส
ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สุบรรณตนหนึ่งนำนาคมาเพื่อเป็นภักษาหาร เมื่อ

นาคเอาหางพันคาคบต้นไทรด้วยหมายจะให้พ้น สุบรรณนั้นมิทันรู้บินไปโดย
เร็ว เพราะความที่ตนมีกำลังมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ต้นไม้ในที่นี้ ก็ถูกถอนขึ้นทันที


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ที่ตรงนี้แหละเป็นที่แห่งต้นไทรนั้นถอนขึ้น. สุบรรณถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
ผู้เจริญ อกุศลกรรมจะมีแก่สุบรรณหรือไม่. ดาบสตอบว่า ถ้าหากว่าสุบรรณ
นั้นไม่รู้อกุศลกรรมก็ไม่มี เพราะไม่มีเจตนา. สุบรรณถามว่า ก็อกุศลกรรมจะ
มีแก่นาคนั้นหรือไม่เล่าเจ้าข้า. ดาบสตอบว่า นาคก็มิได้จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้
ต้นไทรเสียหาย จับเหนี่ยวไว้เพื่อจะให้พ้นภัย เพราะเหตุนั้นอกุศลกรรมก็ไม่มี
แก่นาคแม้นั้นเหมือนกัน.

สุบรรณได้ฟังคำของดาบสก็ยินดีจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ
ข้าพเจ้านี้แหละคือสุบรรณนั้น ข้าพเจ้ายินดีด้วยพระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหา ข้าพเจ้า
รู้มนต์ชื่อว่า อาลัมพายน์ บทหนึ่งหาค่ามิได้ ข้าพเจ้าจะถวายมนต์นั้นแก่พระผู้
เป็นเจ้า ให้เป็นส่วนบูชาอาจารย์ พระผู้เป็นเจ้าจงรับไว้เถิด. ดาบสกล่าวว่า
พอละ เราไม่ต้องการด้วยมนต์ ท่านจงไปเถิด. สุบรรณวิงวอนอยู่บ่อย ๆ จน
พระดาบสรับแล้วจึงถวายมนต์ แล้วบอกยาแก่ดาบสแล้วก็หลีกไป.
จบครุฑกัณฑ์

ในกาลนั้น ยังมีพราหมณ์คนหนึ่งในกรุงพาราณสีกู้ยืมหนี้สินไว้มาก
มาย ถูกเจ้าหนี้ทั้งหลายทวงถามก็คิดว่า เราจะอยู่ในเมืองนี้ไปทำไมอีก เข้าไป
ตายเสียในป่ายังประเสริฐกว่า ดังนี้แล้วจึงออกจากบ้านเข้าไปในป่าจึงบรรลุถึง
อาศรมแห่งพระฤาษี ปฏิบัติพระดาบสให้ยินดีด้วยวัตตสัมปทาคุณ. พระดาบส

คิดว่า พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้มีอุปการะแก่เรายิ่งนัก เราจักให้ทิพยมนต์ซึ่งสุบรรณ-
ราชให้เราไว้แก่พราหมณ์ผู้นี้ ดังนี้แล้วก็บอกพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรา
รู้มนต์ชื่อว่าอาลัมพายน์ จักให้มนต์นั้นแก่ท่าน ท่านจงเรียนมนต์นั้นไว้ แม้เมื่อ
พราหมณ์นั้นห้ามว่า อย่าเลย ข้าพเจ้าไม่ต้องการมนต์ ก็อ้อนวอนแล้วอ้อนวอน

เล่า จนพราหมณ์รับถ้อยคำแล้วจึงให้มนต์ และบอกยาอันประกอบกับมนต์
และอุปจารแห่งมนต์ พรหมณ์นั้นคิดว่า. เราได้อุบายที่จะเลี้ยงชีพแล้ว ก็พัก


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ จิตที่สงบ ย่อมจะพบกับความสุข ตั้งแต่ปัจจุบันทีเดียว
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อยู่ ๒-๓ วัน แล้วอ้างเหตุว่า โรคลมเบียดเบียน จนพระดาบสยอมปล่อยไป
จึงกราบไหว้พระดาบสขอขมาโทษแล้วก็ออกจากป่าไป จนถึงฝั่งแม่น้ำยมุนา
โดยลำดับ เดินสาธยายมนต์นั้นไปตามหนทางใหญ่.

ขณะนั้น นางนาคมาณวิกาบาทบริจาริกาของพระภูริทัตประมาณ
๑,๐๐๐ ตน ต่างถือเอาแก้วมณีที่ให้ความปรารถนาทุกอย่างนั้นออกจากนาคพิภพ
แล้ววางแก้วนั้นไว้บนกองทราย ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา แล้วพากันเล่นน้ำตลอด
คืน ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณีนั้น ครั้นอรุณขึ้น จึงพากันตกแต่งกายด้วย
เครื่องอาภรณ์ทั้งปวง นั่งล้อมแก้วมณีให้สิริเข้าสู่กาย. ฝ่ายพราหมณ์ก็เดิน

สาธยายมนต์มาถึงที่นั้น เหล่านางนาคมาณวิกาได้ยินเสียงมนต์ สำคัญว่าเสียง
พราหมณ์นั้นเป็นสุบรรณ ก็สะดุ้งกลัวเพราะมรณภัยไม่ทันหยิบแก้วมณี ก็พา
กันแทรกปฐพีไปยังนาคพิภพ พราหมณ์เห็นแก้วมณีก็ดีใจว่ามนต์ของเราสำเร็จ
ผลเดี๋ยวนี้แล้ว ก็หยิบเอาแก้วมณีนั้นไป.

ขณะนั้น พราหมณ์เนสาทพร้อมโสมทัตเข้าไปสู่ป่าเพื่อล่าเนื้อ เห็น
แก้วมณีนั้นในมือของพราหมณ์นั้น จึงกล่าวกะบุตรว่า ดูก่อนโสมทัต แก้วมณี
ดวงนี้ที่พระภูริทัตให้แก่เรามิใช่หรือ.
โสมทัต. ใช่แล้วพ่อ

บิดา. ถ้าเช่นนั้นเราจะกล่าวโทษแก้วมณีดวงนั้นหลอกพราหมณ์เอา
แก้วมณีนี้เสีย.
โสมทัต. ข้าแต่พ่อ เมื่อพระภูริทัตให้ครั้งก่อนพ่อไม่รับ แต่บัดนี้
กลับจะไปหลอกพราหมณ์เล่า นิ่งเสียเถิด.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คนกล้าไม่กลัว คนกลัวไม่กล้า
คนดีไม่กลัว คนกลัวมักจะไม่ดี
คนหนุ่มอารมณ์ร้อน คนอารมณ์ร้อนมักจะมีเคราห์
+ จิตที่สงบ ย่อมจะพบกับความสุข ตั้งแต่ปัจจุบันทีเดียว
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 145, 146, 147, 148, 149, 150, 151 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร