วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 16:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุรุษกลืนกินเบ็ดแล้วปลดเบ็ดที่เปื้อนโลหิตออก
ได้แล้วพึงมีความสุขฉันใด อาตมภาพมองเห็นด้วย
ตนเอง ฉันนั้น.
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วตรัสว่า)
เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าเป็นเบ็ด เจ้ากล่าวอะไร
หนอว่าเบ็ดเปื้อนโลหิต เจ้ากล่าวอะไรหนอว่าปลดออก
ได้ เราถามแล้วขอเจ้าจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
(ดาบสทูลว่า)

ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพกล่าวกามคุณว่าเป็น
เบ็ด กล่าวช้างและม้าว่า ติดเปื้อนโลหิต กล่าวถึง
การสละได้ว่าปลดออกได้ ขอมหาบพิตรจงทราบ
อย่างนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจุคฺคหิ ความว่า พระกุมารทูลเรื่อง
ทั้งหมดว่าในกาลเมื่อข้าพระองค์ตกจากภูเขา พญานาคผู้มีกำลังเรี่ยวแรงรับข้า
พระองค์อันเทวดาประคับประคองไว้แล้วปลอบโยนด้วยสัมผัสอันเป็นทิพย์นำ
เข้าไป ก็แลครั้นรับแล้ว นำไปยังนาคพิภพให้ยศใหญ่ เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า
จงนำไปถิ่นมนุษย์ ก็นำข้าพระองค์มาส่งยังแดนมนุษย์ ข้าพระองค์นั้นมาบวช

อยู่ในที่นี้ ข้าพระองค์ไม่ตายในที่นั้น เพราะอานุภาพของเทวดาและพญานาคนั้น
ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอหิ ความว่า พระราชาทรงสดับคำของเขาแล้ว ถึง
ความโสมนัส หมอบลงที่พระบาทตรัสว่า พ่อราชบุตร เราเชื่อ เราเชื่อคำของหญิง
โดยภาวะเป็นคนเขลา เมื่อเป็นเช่นนี้ ชื่อว่าเราผิดในท่านผู้สมบูรณ์ด้วยคุณคือศีล


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
และอาจาระ ขอท่านจงงดโทษให้แก่เราเถิด เมื่อพระราชบุตรทูลว่า ลุกขึ้นเถิด
มหาบพิตรข้าพระองค์จะงดโทษให้แก่พระองค์ เบื้องหน้าแต่นี้ พระองค์อย่าพึง
กระทำโดยมิได้พิจารณาอย่างนี้ต่อไป จึงตรัสอย่างนี้ว่า พ่อราชบุตร ท่านจงยก
เศวตฉัตรขาวอันเป็นของตระกูลของตนแล้วครองราชสมบัติ เป็นอันชื่อว่า
พระองค์งดโทษให้เรา. บทว่า อุทฺธริตฺวา ความว่า คนกลืนเบ็ดเข้าไป

อันยังไม่ถึงหทัยและม้ามเป็นต้น พึงปลดเบ็ดนั้นออกได้ชื่อว่ามีความสุข. บทว่า
อตฺตานํ ความว่า ข้าแต่มหาบพิตร ข้าพระองค์แลเห็นอาตมาเหมือนบุรุษ
ผู้กลืนเบ็ดถึงซึ่งความสวัสดีอีก. บทว่า กินฺนุ ตฺวํ นี้ พระราชาตรัสถาม

เพื่อทรงสดับความนั้นโดยพิสดาร. ด้วยบทว่า กามาหํ นี้ เรากล่าวกามคุณ ๕
ว่าเป็นเหมือนช้างและม้าที่เปื้อนเลือด. บทว่า จตฺตาหํ ตัดเป็น จตฺตํ อหํ
ความว่าการสละทั้งหมดว่าเป็นการปลดออกในกาลใด ในกาลบัดนี้ ข้าพระ-
องค์กล่าวการสละทั้งหมดว่าเป็นการปลดออก.

พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแก่พระชนกว่า ข้าแต่พระมหาบพิตร กิจ
ด้วยราชสมบัติไม่มีแก่อาตมา ขอพระองค์อย่ายังทศพิธราชธรรมให้กำเริบจงละ
การลุอำนาจอคติเสีย ครองราชสมบัติโดยธรรมเถิด พระราชาทรงกันแสงคร่ำ
ครวญเสด็จกลับพระนคร ในระหว่างทางได้ตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า เราต้อง

พลัดพรากจากบุตรที่สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณเห็นปานนี้เพราะใคร พวกอำมาตย์
กราบทูลว่า เพราะพระอัครมเหสี พระเจ้าข้า พระราชามีรับสั่งให้จับพระ
อัครมเหสีเอาพระบาทขึ้นเบื้องบนโยนลงไปในเหวทิ้งโจร แล้วทรงครองราช-
สมบัติโดยธรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน นางจิญจมาณวิกานี้ก็ด่าเราแล้วถึงความ-
พินาศมาแล้วอย่างนี้ ทรงประชุมชาดกด้วยคาถาสุดท้ายว่า

พระราชมารดา (แม่เลี้ยง) ของเราคือ นาง-
จิญจมาณวิกา พระราชบิดาของเราคือ พระเทวทัต
พญานาคผู้บัณฑิตคืออานนท์ และเทวดา คือ พระ-
สารีบุตร พระราชบุตรในกาลนั้นคือ เราตถาคต
ท่านทั้งหลายจงจำชาดกไว้อย่างนี้เถิด.
จบอรรถกถามหาปทุมชาดก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภอำมาตย์ผู้ประพฤติประโยชน์ของพระเจ้าโกศล ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กานิ กมฺมานิ กุพฺพานํ ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้นั้นได้มีอุปการะแด่พระราชาเป็นอันมาก พระราชา
ก็ได้ประทานสักการสัมมานะแก่เขาอย่างเหลือเฟือ พวกอำมาตย์ที่เหลือทนดู
อยู่ไม่ได้ จึงพากันทูลยุยงว่า ข้าแต่พระองค์ อำมาตย์คนโน้นจะทำความพินาศ
แก่พระองค์ พระราชาทรงกำหนดพิจารณาดูอำมาตย์นั้น ก็ไม่เห็นโทษอะไรๆ

ทรงพระดำริว่า เราไม่เห็นโทษอะไร ๆ ของอำมาตย์นี้ ทำอย่างไรหนอ เราจึง
จะสามารถรู้ว่า อำมาตย์นี้เป็นมิตรหรือมิใช่มิตร ทรงคิดได้ว่า เว้นพระตถาคต
เสียแล้ว คนอื่นไม่สามารถรู้ปัญหานี้ได้ เราจักไปทูลถาม พอเสวยพระกระ-
ยาหารเช้าเสร็จแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทำอย่างไรหนอ คนเราจึงจะสามารถรู้ว่า ใครเป็นมิตรหรือมิใช่มิตรของตน.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า ดูก่อนมหาบพิตร แม้
บัณฑิตในครั้งก่อน ก็คิดปัญหานี้แล้วถามพวกบัณฑิตรู้ได้โดยที่บัณฑิตเหล่า
นั้นบอก เว้นพวกที่มิใช่มิตรเสีย คบแต่มิตรเท่านั้น พระราชาทูลอาราธนา
ให้ตรัสเรื่องราว พระองค์ทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสเล่า ดังต่อไปนี้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์สอนอรรถธรรมแด่พระราชา
ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีอำมาตย์คนหนึ่งประพฤติประโยชน์แด่พระราชา
พวกอำมาตย์ที่เหลือพากันทูลยุยงพระราชา พระราชาไม่ทรงเห็นโทษของ
อำมาตย์นั้น ทรงพระดำริว่า ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะสามารถรู้ว่าอำมาตย์นี้
เป็นมิตรหรือมิใช่มิตร เมื่อจะตรัสถามพระมหาสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญา ได้เห็นและได้ฟัง
ซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้มิใช่มิตร
วิญญูชนจะพึงพยายามอย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้มิใช่
มิตร.

คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา เห็นคน
ผู้กระทำการงานเช่นไร ด้วยจักษุ ได้ฟังเรื่องนั้นด้วยหู พึงรู้ว่าผู้นี้ไม่ใช่มิตร
ของเรา วิญญูชนพึงพยายามอย่างไร เพื่อรู้จักผู้นั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสบอกลักษณะของผู้ที่มิใช่มิตรแก่
พระราชา ได้ตรัสพระคาถาว่า

บุคคลผู้มิใช่มิตรเห็นเพื่อน ๆ แล้ว ไม่ยิ้มแย้ม
แจ่มใส ไม่ร่าเริงต้อนรับเพื่อนไม่ดูแลเพื่อน กล่าวคำ
ย้อนเพื่อน.
บุคคลมิใช่มิตร คบหาศัตรูของเพื่อนไม่คบหา
มิตรของเพื่อน ห้ามผู้ที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน สรรเสริญ
ผู้ที่ด่าเพื่อน.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลผู้มิใช่มิตร ไม่บอกความลับแก่เพื่อน ไม่
ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ไม่สรรเสริญการงาน
ของเพื่อน ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
บุคคลผู้มิใช่มิตร ยินดีในความฉิบหายของเพื่อน
ไม่ยินดีในความฉิบหายของเพื่อน ได้อาหารที่ดีมีรส
อร่อยมาแล้ว ก็มิได้นึกถึงเพื่อน ไม่ยินดีอนุเคราะห์
เพื่อนว่า อย่างไรหนอ เพื่อนของเราพึงได้ลาภจากที่นี้
บ้าง.

บัณฑิตได้เห็นและได้ฟังแล้ว พึงรู้ว่ามิใช่มิตร
ด้วยอาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้
มีอยู่ในบุคคลผู้มิใช่มิตร.
พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ๕ คาถาเหล่านี้แล้ว อันพระราชา
ตรัสถามถึงลักษณะของมิตรด้วยพระคาถานี้อีกว่า
บัณฑิตมีปัญญา ได้เห็นและได้ฟังผู้กระทำกรรม
อย่างไรจึงจะรู้ไว้ว่าผู้นี้เป็นมิตร วิญญูชนจะพึงพยายาม
อย่างไร จึงจะรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นมิตร
จึงตรัสคาถาที่เหลือว่า

บุคคลผู้เป็นมิตรนั้น ย่อมระลึกถึงเพื่อนผู้อยู่
ห่างไกล ย่อมยินดีต้อนรับเพื่อนผู้มาหา ถือว่าเป็น
เพื่อนของเราจริง รักใคร่จริงทักทายปราศรัยด้วยวาจา
อันไพเราะ.
คนที่เป็นมิตรย่อมคบหาผู้ที่เป็นมิตรของเพื่อน
ไม่คบหาผู้ที่ไม่ใช่มิตรของเพื่อน ห้ามปรามผู้ที่ด่า
ติเตียนเพื่อน สรรเสริญผู้ที่พรรณนาคุณความดีของ
เพื่อน.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
คนที่เป็นมิตร ย่อมบอกความลับแก่เพื่อน ปิด
ความลับของเพื่อน สรรเสริญการงานของเพื่อน
สรรเสริญปัญญาของเพื่อน.
คนที่เป็นมิตรย่อมยินดีในความเจริญของเพื่อน
ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ได้อาหารมีรสอร่อย
ย่อมระลึกถึงเพื่อน ยินดีอนุเคราะห์เพื่อนว่า อย่างไร
หนอ เพื่อนของเราพึงจะได้ลาภจากที่นี้บ้าง.

บัณฑิตเห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว พึงรู้ว่ามิตรด้วย
อาการเหล่าใด อาการดังกล่าวมา ๑๖ ประการนี้ มีอยู่
ในบุคคลผู้เป็นมิตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น นํ อุมฺหยเต ความว่า คนที่มิใช่
มิตร เห็นมิตรปฏิรูป ไม่กระทำความยิ้มแย้ม ไม่แสดงอาหารร่าเริง. บทว่า
น จ นํ ปฏินนฺทติ ความว่า เมื่อรับถ้อยคำของเขาแล้ว ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี. บทว่า จกฺขูนิ จสฺส ททา ความว่า เมื่อเพื่อนแลดูตัว ๆ ก็ไม่

แลดูเสีย. บทว่า ปฏิโลมฺจ ความว่า กล่าวย้อนถ้อยคำเพื่อน คือเป็นศัตรู.
บทว่า วณฺณกาเม ความว่า เมื่อกล่าวสรรเสริญคุณเพื่อน. บทว่า
นกฺขาติ ความว่า คนมิใช่มิตร ย่อมไม่บอกความลับของตนแก่เพื่อน. บทว่า
กมฺมนฺตสฺส ความว่า ย่อมพรรณนากรรมที่เพื่อนนั้นทำ. บทว่า ปฺสฺส
ความว่าไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ไม่สรรเสริญเพื่อนผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณ.

บทว่า อภเว แปลว่า ไม่เจริญ. บทว่า ตสฺส นุปฺปชฺชเต ความว่า มิตรปฏิรูป
ย่อมไม่เกิดสติขึ้นว่า เราจักให้แม้แก่มิตรของเราแต่ที่นี้. บทว่า นานุกมฺปติ
ความว่า ย่อมไม่คิดด้วยจิตอ่อนโยน. บทว่า ลเภยฺยิโต ความว่า เพื่อนพึง
ได้ลาภแต่ที่นี้. บทว่า อาการา ได้แก่ เหตุการณ์. บทว่า ปวุตฺถํ แปลว่า

ไปต่างถิ่น. บทว่า เกลายิโก ความว่า คนที่เป็นมิตร ย่อมรักใคร่ นับถือ
ว่าเป็นเพื่อนเรา เริ่มตั้งรักใคร่ปรารถนา. บทว่า วาจาย ความว่า เมื่อจะ
เปล่งถ้อยคำกะเพื่อนด้วยถ้อยคำอันไพเราะย่อมยินดี. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัย
เป็นปฏิปักษ์ต่อคำที่กล่าวแล้วนั่นแล.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชามีพระทัยชื่นชมถ้อยคำของพระมหาสัตว์ ได้พระราชทาน
ยศอันยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์แล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อน
มหาบพิตร ปัญหานี้ได้ตั้งขึ้นแม้ในกาลก่อนอย่างนี้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึง
ปัญหานี้ว่า คนที่มิใช่มิตร และคนที่เป็นมิตร จะพึงรู้ได้ด้วยอาการสามสิบสอง
เหล่านี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้มาเป็นพระ-
อานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคตแล.

จบอรรถกถามิตตามิตตชาดก
จบอรรถกถาทวาทสนิบาต ประดับด้วยชาดก ๑๐ ชาดกในชาตกัฏฐกถา
ด้วยประการฉะนี้
๑. อัมพชาดก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภพระเทวทัต ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาหาสิ
เม อมฺพผลานิ ปุพฺเพ ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
พระสมณโคดมมิใช่อาจารย์ มิใช่พระอุปัชฌาย์ของเราเลย เสื่อมจากฌาน ทำลาย
สงฆ์ กำลังมาสู่กรุงสาวัตถีโดยลำดับ เมื่อแผ่นดินให้ช่องเข้าไปอเวจีมหานรก
ภายนอกพระวิหารพระเชตวัน. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรม

สภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์เสียถึงความพินาศใหญ่
บังเกิดในอเวจีมหานรก. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้

ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อนพระเทวทัตก็บอกคืนอาจารย์เสีย ถึงความพินาศใหญ่แล้วเหมือนกัน
ดังนี้แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุง-
พาราณสี ตระกูลแห่งปุโรหิต ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้น พินาศไป
ด้วยอหิวาตกโรค. บุตรชายคนหนึ่งทำลายฝาเรือนหนีไปได้ เขาไปกรุงตักกศิลา
เรียนไตรเพทและศิลปะที่เหลือ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ กราบลาอาจารย์
เมื่อจะออกไปคิดว่า เราต้องรู้จักขนบธรรมเนียมของประเทศ จึงเที่ยวไปถึง

เมืองชายแดนเมืองหนึ่ง. หมู่บ้านจัณฑาลหมู่ใหญ่ ได้อาศัยเมืองนั้นอยู่ ใน
กาลนั้น พระโพธิสัตว์อาศัยบ้านนั้นอยู่ เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด รู้มนต์ที่จะ
ทำให้มะม่วงมีผลในเวลามิใช่ฤดูกาลได้. ท่านลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ คว้าหาบออกไป
จากบ้านนั้น เข้าไปใกล้ต้นมะม่วงต้นหนึ่งในป่า หยุดยืนอยู่ในระยะที่สุด ๗

ก้าวร่ายมนต์นั้น สาดต้นมะม่วงด้วยน้ำซองมือหนึ่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง ใบ
แก่ๆ ก็ร่วงหล่นลงจากต้น แตกใบอ่อน ออกดอกแล้วร่วงลง ผลมะม่วงก็มีขึ้น
โดยครู่เดียวเท่านั้นก็สุก มีโอชาหวานเช่นเดียวกับมะม่วงทิพย์ แล้วก็หล่นจาก
ต้น. พระมหาสัตว์เก็บผลเหล่านั้น เคี้ยวกินจนพอความต้องการ เก็บจนเต็ม

หาบ ไปสู่เรือนขายมะม่วงเหล่านั้นเลี้ยงลูกเมีย. พราหมณ์กุมารนั้นเห็นพระ-
มหาสัตว์ ผู้นำผลมะม่วงมาในเวลามิใช่ฤดูกาลมาขาย จึงคิดว่า ไม่ต้องสงสัยละ
อันผลมะม่วงเหล่านั้นต้องเกิดขึ้นด้วยกำลังของมนต์ อาศัยบุรุษนี้เราจักได้มนต์
อันหาค่ามิได้นี้ คอยกำหนดจับลู่ทางที่พระมหาสัตว์นำผลมะม่วงมา ก็รู้แน่นอน


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อท่านยังไม่มาจากป่า ได้ไปสู่เรือนของท่าน เป็นเหมือนไม่รู้ ถามภรรยา
ของท่านว่า ท่านอาจารย์ไปไหน ครั้นภรรยาท่านตอบว่าไปป่า จึงยืนรอ
ท่านอยู่ พอเห็นท่านมาก็ต้อนรับ รับหาบจากมือนำมาวางไว้ในเรือน.

พระโพธิสัตว์มองดูเขา กล่าวกะภรรยาว่า นางผู้เจริญ มาณพนี้มา
เพื่อต้องการมนต์ แต่มนต์จะไม่ตั้งอยู่ในกำมือเขาได้ เพราะเขาเป็นอสัตบุรุษ
ฝ่ายมาณพคิดว่า เราต้องบำเพ็ญอุปการะแก่อาจารย์จึงจะได้มนต์นี้ ตั้งแต่นั้นมา
กระทำกิจทุกอย่างในเรือนของท่าน หาฟืน ซ้อมข้าว หุงข้าว ให้น้ำล้างหน้า
เป็นต้น ล้างเท้า. วันหนึ่งเมื่อพระมหาสัตว์กล่าวว่า พ่อมาณพ เธอจงให้เครื่อง

หนุนเท้าเตียงเถิด เขามองไม่เห็นสิ่งอื่น ก็เลยเอาเท้าเตียงวางบนขานั่งอยู่ตลอด
ราตรี. ครั้นกาลต่อมา ภรรยาของพระมหาสัตว์คลอดบุตร ได้กระทำบริกรรม
ในเวลาคลอดบุตรแก่นาง. วันหนึ่งนางจึงกล่าวแก่พระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่นาย
มาณพนี้แม้จะสมบูรณ์ด้วยชาติ ก็ยังยอมกระทำการช่วยเหลือเรา ด้วยต้องการ

มนต์ ขอมนต์จงตั้งอยู่ในกำมือของเขาหรืออย่าตั้งอยู่ก็ตามเถิด ท่านโปรดให้
มนต์แก่เขาเถิด. ท่านรับคำว่า ดีละ แล้วให้มนต์แก่เขา กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย
มนต์หาค่ามิได้ ลาภสักการะอันใหญ่หลวงจักมีแก่เจ้าเพราะอาศัยมนต์นี้ ใน
เวลาที่เจ้าถูกพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาถามว่า ใครเป็นอาจารย์

ของเจ้า เจ้าอย่าข่มเราเสียนะ ถ้าหากเจ้าอดสูว่าคนจัณฑาลเป็นอาจารย์ของเรา
เราเรียนมนต์จากสำนักของคนจัณฑาลนั้น จักกล่าวเสียว่า พราหมณ์ผู้มหาศาล


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เป็นอาจารย์ของเราไซร้ ผลของมนต์นี้จักไม่มีเลย เขากล่าวว่า เหตุไรผมจัก
ต้องข่มขี่เล่า ในเวลาที่ใคร ๆ ถาม ผมต้องบอกอ้างท่านเท่านั้น แล้วกราบลา
ท่านออกไปจากบ้านคนจัณฑาล ทดลองมนต์แล้ว บรรลุถึงกรุงพาราณสี
โดยลำดับ ขายมะม่วงได้ทรัพย์มาก.

ครั้นวันหนึ่งนายอุทยานบาลซื้อมะม่วงจากมือของเขาถวายแด่พระราชา
พระราชาเสวยมะม่วงนั้นแล้ว ตรัสถามว่าน่าอัศจรรย์ อร่อยอย่างยิ่ง เจ้า
ไปได้มะม่วงชนิดนี้มาจากไหนละ เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าพระบาท
ปกเกล้าปกกระหม่อม มาณพผู้หนึ่งนำผลมะม่วงทะวายมาขาย ข้าพระพุทธ

เจ้าถือเอาจากมาณพนั้น พระเจ้าข้า. ทรงรับสั่งว่า จงบอกเขาว่า ตั้งแต่
บัดนี้ไป จงนำผลมะม่วงมา ณ ที่นี้. แม้นายอุทยานบาลนั้นก็กระทำตาม
ที่รับสั่งนั้น. ตั้งแต่นั้นมา มาณพก็นำผลมะม่วงทั้งหลายไปสู่ราชสกุล เมื่อ
ได้รับสั่งว่า เจ้าจงบำรุงเราเถิด ก็บำรุงพระราชา ได้รับทรัพย์เป็นอันมาก

ค่อยคุ้นเคยโดยลำดับ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชาตรัสถามเขาว่า มาณพ เจ้านำ
มะม่วงอันสมบูรณ์ด้วยกลิ่นและรสเห็นปานนี้ ในสมัยมิใช่ฤดูกาลมาจากไหน
นาคครุฑหรือเทพเจ้าองค์ใดให้แก่เจ้า หรือไฉน หรือว่าทั้งนี้เป็นกำลังแห่งมนต์
เขากราบทูลว่า ขอเดชะ พระมหาราชเจ้า ใคร ๆ มิได้ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า

แต่มนต์อันหาค่ามิได้ของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่ นี้เป็นกำลังแห่งมนต์นั้นพระเจ้าข้า
ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะขอดูกำลังมนต์ของเจ้าสักวันหนึ่ง. เขากราบทูลว่า
ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าจักแสดง
ถวายพระเจ้าข้า.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
วันรุ่งขึ้นพระราชาเสด็จไปสู่พระอุทยานกับตรัสว่า เจ้าจงแสดงเถิด.
เขารับพระดำรัสว่า สาธุ เดินเข้าไปใกล้ต้นมะม่วง ยืนในระยะ ๗ ก้าว
ร่ายมนต์วักน้ำสาดต้น. ทันใดนั้นเอง ต้นมะม่วงก็เผล็ดผลโดยนิยมดังกล่าว
แล้ว ในหนหลังนั่นแหละ ฝนคือผลมะม่วงร่วงพรั่งพรู เป็นดังมหาเมฆ
หลั่งกระแสฝน. มหาชนพากันให้สาธุการ แผ่นผ้าได้ถูกชูขึ้นสลอนไป.

พระราชาทรงเสวยผลมะม่วง ประทานทรัพย์เป็นอันมากแก่เขา แล้วตรัสถาม
ว่า มาณพ มนต์อันเป็นอัศจรรย์ของเจ้าเช่นนี้ เจ้าเรียนในสำนักของใคร.
มาณพคิดว่า ถ้าเราจักทูลว่าในสำนักคนจัณฑาล จักต้องมีความอดสู และคน
ทั้งหลายจักติเตียนได้ อย่ากระนั้นเลย มนต์ของเราคล่องแคล่วแม่นยำ คง

ไม่เสื่อมหายไปในบัดนี้ดอก เราจักอ้างอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แล้วกระทำมุสาวาท
กล่าวว่า ข้าพระพุทธเจ้าเรียนในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมืองตักกศิลา
พระเจ้าข้า เป็นอันบอกคืนอาจารย์เสีย. ทันใดนั่นเองมนต์ก็เสื่อม. พระราชา
ทรงโสมนัส ทรงชวนเขาเข้าสู่พระนคร วันรุ่งขึ้นทรงพระดำริว่า เราจักกิน
มะม่วง จึงเสด็จสู่อุทยาน ประทับนั่งเหนือแผ่นศิลาอันเป็นมงคล ตรัสว่า

มาณพ เจ้าจงนำมะม่วงมาเถิด. เขารับพระดำรัสว่าสาธุ แล้วเข้าไปใกล้ต้นมะม่วง
ยืนในระยะ ๗ ก้าว คิดว่า เราจักร่ายมนต์ ครั้นมนต์ไม่ปรากฏ ก็ทราบว่า
เสื่อมเสียแล้ว ยืนอดสูใจอยู่. พระราชาทรงพระดำริว่า วันก่อนมาณพนี้นำ
ผลมะม่วงมาให้เราในท่ามกลางบริษัททีเดียว ให้ฝนคือผลมะม่วงร่วงหล่น
พรั่งพรูเหมือนฝนลูกเห็บตก บัดนี้ ยืนเหมือนแข็งทื่อ เหตุอะไรกันเล่าหนอ
เมื่อจะทรงถามเขาจึงตรัสพระคาถาว่า


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2019, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อนท่าน
ได้นำผลมะม่วงทั้งเล็กทั้งใหญ่มาให้เรา ดูก่อนพราหมณ์
บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏด้วยมนต์เหล่านั้น
ของท่านเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหาสิ แปลว่า นำมาแล้ว. บทว่า
ทุมปฺผลานิ แปลว่า ผลแห่งต้นไม้.
มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า ถ้าเราจักทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้า
จักถือเอาผลไม้มาถวายมิได้ พระราชาจักกริ้วเรา เราจักลวงพระองค์ด้วย
มุสาวาทจึงทูลคาถาที่ ๒ ว่า

ข้าพระบาทกำลังคำนวณคลองแห่งนักขัตฤกษ์
จนเห็นขณะและครู่ ด้วยมนต์ก่อน ครั้นได้ฤกษ์และ
ยามดีแล้ว จักนำผลมะม่วงเป็นอันมากมาถวายพระองค์
เป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺธา หริสฺสํ อมฺพผลํ ความว่า
เราจักนำผลมะม่วงมาแน่แท้.
พระราชา ทรงพระดำริว่า มาณพนี้ในเวลาอื่น ไม่พูดถึงคลองแห่ง
นักขัตฤกษ์เลย นี้มันเรื่องอะไรกันเล่า เมื่อจะตรัสถาม ได้ทรงภาษิตคาถา ๒
คาถาว่า

เมื่อก่อน ท่านไม่ได้พูดถึงคลองแห่งนักขัตฤกษ์
ได้เอ่ยถึงขณะแลครู่ ทันใดนั้น ท่านก็นำเอาผลมะม่วง
เป็นอันมาก อันประกอบด้วยสี กลิ่น และรส มาให้
เราได้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2019, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนพราหมณ์ แม้เมื่อก่อนผลไม้ทั้งหลาย ย่อม
ปรากฏด้วยร่ายมนต์ของท่าน วันนี้แม้ท่านจะร่ายมนต์
ก็ไม่อาจให้สำเร็จได้ วันนี้สภาพของท่านเป็นอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วาเทสิ แปลว่า ย่อมไม่อาจ. บทว่า
ชปฺปมฺปิ ความว่า ท่านจะท่องบ่นก็ดี จะร่ายมนต์ก็ดี. บทว่า อยํ โส
ความว่า สภาพของท่านนี้นั้น เป็นอย่างไรในวันนี้.

มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า เราไม่อาจจะลวงพระราชาด้วย
มุสาวาท แม้ว่าเราสารภาพความจริงแล้ว พระองค์คงไม่ลงพระราชอาญา เรา
ต้องสารภาพความจริงเสียเถอะ ดังนี้แล้ว จึงกราบทูล ๒ คาถาว่า
บุตรของคนจัณฑาล ได้บอกมนต์ให้ข้าพระบาท
โดยธรรมและได้สั่งกำชับข้าพระบาทว่า ถ้ามีใครมา
ถามถึงชื่อและโคตรของเราแล้ว เจ้าอย่าปกปิด มนต์
ทั้งหลายก็จะไม่ละเจ้า.

ข้าพระบาทนั้น ครั้นพระองค์ผู้เป็นจอมแห่ง
ประชาชนถามถึงอาจารย์ อันความลบหลู่ครอบงำแล้ว
ได้กราบทูลเท็จว่า มนต์เหล่านี้เป็นของพราหมณ์ ข้า
พระบาทจึงเป็นผู้เสื่อมมนต์ เป็นเหมือนกำพร้าร้องไห้
อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ความว่า ได้ให้มนต์โดยธรรม
สม่ำเสมอ โดยเหตุ โดยไม่ปกปิดเลย. บทว่า ปกติฺจ สํสิ ความว่า
บุตรของคนจัณฑาลได้กำชับถึงความเสื่อมและความปกติแห่งมนต์เหล่านั้นแก่
เราว่า ถ้าใครๆ มาถามถึงนามและโคตรของเรา เจ้าอย่าปกปิด ถ้าปกปิด

มนต์ของเจ้าจักเสื่อม. บทว่า พฺราหฺมณสฺส มิจฺฉา ความว่า ข้าพระองค์
ได้บอกผิดไปว่า ข้าพระองค์ได้เรียนมาจากสำนักของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น
มนต์ทั้งหลายของข้าพระองค์จึงเสื่อม ข้าพระองค์นั้น มีมนต์อันเสื่อมแล้ว
บัดนี้ย่อมร้องไห้เหมือนคนกำพร้า.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2019, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงกริ้วว่า เจ้านี่ลามกมองไม่เห็นรัตนะ
เห็นปานฉะนี้ เมื่อได้รัตนะอันสูงสุดเช่นนี้แล้ว เรื่องชาติจักกระทำอะไรให้ได้
เมื่อทรงติเตียนเขา จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

บุรุษต้องการน้ำหวาน จะพึงได้น้ำหวานจาก
ต้นไม้ใด จะเป็นต้นละหุ่งก็ตาม ต้นสะเดาก็ตาม ต้น
ทองหลางก็ตาม ต้นไม้นั่นแล เป็นต้นไม้สูงสุดของ
บุรุษนั้น.
บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด เป็นกษัตริย์ก็ตาม
เป็นแพทย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคนจัณฑาลก็ตาม
คนเทหยักเยื่อก็ตาม ผู้นั้นก็จัดเป็นคนสูงสุดของบุรุษ
นั้น.

ท่านทั้งหลายจงลงอาชญาและเฆี่ยนตีมาณพผู้นี้
แล้วจับมาณพลามกผู้นี้ ไสคอออกไปเสีย มาณพใด
ได้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยความยากเข็ญ ท่านทั้ง-
หลายจงยังมาณพนั้น ให้พินาศเพราะความเย่อหยิ่ง
จองหอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุตฺถิโก ความว่า บุรุษผู้ต้องการด้วย
น้ำหวาน ตรวจดูน้ำหวานในป่า ย่อมได้น้ำหวานของต้นไม้นั้น จากที่ใด
ต้นไม้นั้นแล จัดว่าเป็นต้นไม้สูงสุดสำหรับผู้นั้น นรชนพึงรู้ธรรม คือเหตุ
ประโยชน์ที่ควรจากบุรุษใดในบรรดากษัตริย์เป็นต้น เหมือนอย่างนั้น บุรุนั้น

จัดว่าเป็นผู้สูงสุดของนรชนนั้น. บทว่า อิมสฺส ทณฺฑฺจ ความว่า ท่าน
ทั้งหลายจงเพิกหนังหลังของบุรุษผู้มีธรรมอันลามกนี้ด้วยชิ้นไม้ไผ่ สำหรับ
เฆี่ยนและลงอาชญาทุกอย่าง แล้วจับคอบุรุษผู้ลามกนี้ขับไสไปเสีย ลงโทษตาม
อำเภอใจแล้วขับไล่ไปเสีย จะประโยชน์อะไรด้วยบุรุษนี้ผู้อยู่ในที่นี้.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2019, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกราชบุรุษพากันทำตามพระราชบัญชาอย่างนั้น พากันกล่าวว่า
เจ้าไปเถิด เจ้าไปสู่สำนักอาจารย์ของเจ้า ทำให้อาจารย์ของเจ้าชื่นชมได้แล้ว
ถ้าเจ้าจักได้มนต์อีก ค่อยมาในที่นี้ ถ้าไม่ได้ก็อย่ามองดูทิศนี้เลย ได้กระทำ
เขาให้หมดอำนาจทีเดียว. เขาหมดที่พึ่งคิดว่า เว้นอาจารย์แล้ว ที่พึ่งอื่นของเรา
ไม่มี เราต้องไปหาท่าน ทำให้ท่านชื่นชมขอเรียนมนต์นั้นอีกจนได้ ร้องไห้

พลางเดินไปสู่บ้านนั้น ครั้งนั้นพระมหาสัตว์เห็นเขาเดินมา ก็เรียกภรรยามา
กล่าวว่า นางผู้เจริญ เชิญดูซิ เจ้านี่ ชั่วช้า มนต์เสื่อมหมดแล้วกำลังกลับมา.
เขาไปหาพระมหาสัตว์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถูกท่านถามว่า
เหตุไรเล่าเจ้าจึงมา จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ผมทำมุสาวาทบอกคืน
ท่านอาจารย์เสีย ถึงความฉิบหายใหญ่โต เมื่อจะแสดงโทษที่ล่วงเกินแล้ว
ขอเรียนมนต์ใหม่ จึงกล่าวคาถาว่า

บุคคลผู้สำคัญว่าที่เสมอ พึงตกบ่อ ถ้ำ เหว
หรือหลุม ที่มีรากไม้ผุฉันใด อนึ่ง บุคคลตาบอด
เมื่อสำคัญว่าเชือก พึงเหยียบงูเห่า พึงเหยียบไฟฉันใด
ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา ท่านทราบว่าข้าพเจ้าพลาดไปแล้ว
ฉันนั้น ขอจงให้มนต์แก่ข้าพเจ้า ผู้มีมนต์อันเสื่อม
แล้ว อีกสักครั้งหนึ่งเถิด.


* เกิดเป็นหลีกไม่พ้นความหิวกระหาย รู้จักอายชั่วกลัวบาปบ้างก็จะดี
* รู้ผิดชอบชั่วดี ย่อมยังชีวิตตนให้ดีให้เจริญเมื่อได้ปฏิบัติ
* อดีตไม่ควรคิดอาไร แต่ควรใช้เพื่อเป็นครูคอยเตือนมิให้หลงทำผิดช้ำอีก
* ยิ่งให้จิตก็ยิ่งเบา ยิ่งอยากเอาจิตก็ยิ่งหนัก
* จิตที่คิดจะเอากิเลสย่อมจะเผารนจิต
จิตที่คิดแต่จะให้ ย่อมยังจิตให้ชุ่มเย็นเป็นสุข
* รับมาก็มากแล้ว ให้บ้างจะเป็นไรไป
* พ่อแม่มีแต่ให้ แล้วเราล่ะได้ให้อะไรแด่ท่านบ้างหรือยัง
* ความประมาทเป็นพิษ อาจดับชีวิตเราได้

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร