วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 20:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วมท้นด้วยปีติ นั่งขัด
สมาธิอยู่ ทีนั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดได้อย่างนี้ว่า เรา
เป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยมในอภิญญาแล้ว
ในโลกตั้งพันฤาษีที่เสมอกับเราไม่มี เราไม่มีใครเสมอ
ในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่งขัด
สมาธิของเรา. เทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในหมื่นจักร-

วาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธ
เจ้าแน่นอน นิมิตใดจะปรากฎในการนั่งขัดสมาธิของ
พระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏแล้ว
ในวันนี้ ความหนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ
เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ปราศจากเสียง ไม่มี

ความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่นํ้าลำคลอง
ก็ไม่ไหล เหล่านี้ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิด
ในนํ้า ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด ดอกไม้เหล่านั้น
ทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ใน
อากาศและตั้งอยู่บนพื้นดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใด

รัตนะแม้เหล่านั้นก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่นอน ดนตรีทั้งของมนุษย์และเป็นทิพย์ต่าง
บรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ขับขานขึ้น
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้องฟ้ามี
ดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้น
ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว

แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศจากเมฆ-
หมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านั้นก็ปรากฏ
ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน นํ้าพุ่ง
ประทุขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้นํ้าก็
พุ่งประทุขึ้นในทันใดนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสว ดาวฤกษ์ก็สว่างไสวใน
ท้องฟ้า พระจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจัก
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง
อาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างก็ออกมาจากที่อยู่ของตน
วันนี้แม้สัตว์เหล่านั้นก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่านจักเป็นพระ
พุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
เขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ถือ
สันโดษ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น
โรคทั้งหลายก็สงบระงับและความหิวก็พินาศไป วันนี้

ก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น
ราคะก็เบาบาง โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้น
ทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
คราวนั้นภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้
ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวก

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
เรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่
นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่างไป มีแต่กลิ่น
ทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็น
พระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูป-
พรหมก็ปรากฏ วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั้งหมดก็มอง
เห็นได้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่า

นรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็นได้ในทันใด แม้วันนี้
ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
คราวนั้นฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่เป็นเครื่อง
กีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลายเป็นที่ว่างหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ
ไม่มีในขณะนั้น วันนี้นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏ ท่าน

จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความ
เพียรให้มั่นอย่าได้ถอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวก
เราก็รู้ข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของ
เทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่
เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถํ้าที่

อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ [ คลอด ]
เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของ
เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง
ยินดีเกิดปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัส
เป็นสองมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอน

ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระ-

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระ-
อาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยง
ตรง ราชสีห์ที่ลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องบันลือสีหนาท
แน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์
ผู้มีครรภ์จะต้องเปลื้องภาระ [ หญิงมีครรภ์จะต้อง
คลอด ] ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตรา
ดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่
ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องตํ่าในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็น ทาน
บารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าว

สอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมี
ข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อนํ้าที่ควํ่าแล้วย่อมคายนํ้าออกไม่เหลือไม่นำ
กลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรือ
อวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้
มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่านได้อธิษฐาน
ทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรม ที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้อง
ต่ำ ตลอดสิบทิศ ตราบเท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั้น
เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็นทานบารมีที่เป็นทางใหญ่
เป็นข้อแรก ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ ๑
นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี หากท่าน

ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใดผู้-
หนึ่งคว่ำลงก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษา
ไว้ แม้ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง
และปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือน
หม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้
เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา
หางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา
ศีลอย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สอง
ทำให้มั่นแล้ว. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ
ญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อ
ที่ ๒ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็น
ประจำ ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่น
ก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ

บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม
ก็จะยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้หางหลุดลุ่ย ฉันใด
ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีล
ในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉันนั้นเถิด
ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่งๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพีย งเท่านี้เลย เขาได้เห็นเนกขันมบารมีข้อที่ ๓ ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมม-
บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ใน
เรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียว และไม่อยากจะอยู่เลย

ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไป
จากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านจักเป็นพระ-
พุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนก-
ขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดเนกขัมมบารมี
ข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมม-

บารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ บุรุษผู้
อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เกิดความ
ยินดีในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปถ่ายเดียว
ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้ง
หน้ามุ่งต่อการออกบวช เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด
ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านั้นเลย เขาได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔
ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญา-
บารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปาน-
กลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหา เหมือนอย่างว่า

ภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไร ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมี
ตระกูลชั้นตํ่าเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดย
พลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วไต่ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้
ฉันนั้น ดังนี้ เขาได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่น. เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้แน่ เราจัก
เลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก ในกาล
นั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ แต่ครั้งเก่าก่อนทั้งหลายถือ
ปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้
กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หาก
ท่านปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขาไม่
เว้นตระกูลสูงปานกลางและตํ่าย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพ
โดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้ตลอด
กาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณได้ ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕
ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริย-
บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็นสัตว์มีความเพียร

มั่นในทุกอิริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียร
ไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ เขาได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำ
ให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริย-
บารมีข้อที่ ๕ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่เก่าก่อนทั้ง
หลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่
๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นวิริยบารมี
หากท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยา-

มฤคราชมีความเพียรไม่ย่อหย่อนมีใจประคับประคอง
ตลอดเวลาฉันใด ท่านประคองความเพียรให้มั่นใน
ภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุ
โพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ ได้
มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมี
ให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือน
อย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดิน

ย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้น
ฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็น
พระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่น
แล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติ
บารมีข้อที่ ๖ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง
หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อ
ที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในข้อนั้น

จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่ง
ของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่
กระทำความแค้นใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด แม้ท่านเป็นผู้
อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของคนทั้งปวง
ได้ ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุโพธิญาณได้
ดังนี้.

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นสัจบารมีข้อที่ ๗
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญ
สัจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น
แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาว
ประกายพฤกษ์ในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่น
โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำ
การพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจบารมี
ข้อที่ ๗ กระทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม
โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น
สัจบารมีข้อที่ ๗ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจ-
บารมีข้อที่ ๗ นี้กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสอง

ในข้อนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมดาว่าดาว
ประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง) ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก ย่อมไม่โคจรแวะเวียนไปนอกทาง ไม่ว่า
จะในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะทั้งหลาย ถึง
ความเป็นสัจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า ธรรมที่กระทำ
ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่
๘ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง
บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานสิ่งใดไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐาน
นั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อมไม่

สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น
เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขา
ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียง
เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็
ได้เห็น อธิฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่
แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา
ท่านจงยึดอธิฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในข้อนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-
ญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะ-
เทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ในที่เดิมของตนเท่านั้น
ฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวในความตั้งใจจริงตลอดกาล
ทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ
สัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙ ได้
มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ
เมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
พึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่านํ้าย่อมกระทำให้เย็นแผ่

ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีนํ้าใจ
เป็นอันเดียวกันด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขา
ได้อธิฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว
ว่า

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้
แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-
ญาณ คราวนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เมตตา
บารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง
หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดเมตตา
บารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนา
จะบรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วย

เมตตา ธรรมดานํ้าย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและ
คนเลวเสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้
ท่านก็จงเจริญเมตตาให้สมํ่าเสมอ ไปในคนทั้งที่เกื้อกูล
และไม่เกื้อกูลฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบาร-
มีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ต่อมาเมื่อเขาใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น
พระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ได้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ
อุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลางในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดา
แผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียว

ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระ-
พุทธเจ้า. เขาได้อธิฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมนี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่
เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกขาบารมี
ข้อที่ ๑๐ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย
ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยึดอุเบกขาบารมี
ข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจ
ตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดิน

ย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด ซึ่ง
เขาทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อ
สิ่งทั้งสองนั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประ-
ดุจตราชูในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็น
อุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ดังนี้.

ต่อนั้นเขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีเพียง
เท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่า
นี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมี
ทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้.
เขาเมื่อเห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิฐานบารมีแม้ทั้งหมด

กระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอน
ปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอนปลาย และยึดเอาตรง
กลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอา
บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือ การบริจาคสิ่งของภายนอก
เป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิตเป็น

ทานปรมัตถบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้วพิจารณาวกวนไปมาเหมือนคนหมุน
เครื่องยนต์หีบนํ้ามันไปมาและพิจารณาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เหมือนคนกวน
ระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น. เมื่อ
เขาพิจารณาบารมีทั้ง ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สอง
แสนโยชน์ยิ่งด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่องยนต์

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด หมุนคว้างไม่
ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั้นหม้อและวงล้อของเครื่องยนต์บีบนํ้ามัน เพราะเหตุ
นั้นท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกมีเพียงนี้
เท่านั้น ไม่นอกไปจากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่าน
จงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้น เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้
พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม
แผ่นดินพร้อมโลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว ปฐพี

ก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดล
ก็เลื่อนลั่นประดุจดังวงล้อเครื่องยนต์บีบนํ้ามัน ฉะนั้น
ดังนี้.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิสามารถทรงตัว
ยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ ที่ถูกลมบ้าหมู โหมพัดอย่างหนักพากัน
เป็นลมล้มลง ภาชนะของช่างหม้อมีหม้อน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกัน
และกันแตกเป็นจุรณวิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้นอย่างไรเลย

ว่า นี้นาคทำให้หมุนวน หรือว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง
ทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือดร้อน ความ
ชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้า-
พระองค์เถิด. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า พวกท่านอย่า
ได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยจากเหตุนี้ไม่มีแก่พวกท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิต
เราพยากรณ์ให้แล้วว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดมในอนาคต

บัดนี้เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลายอยู่ เมื่อเขาไตร่ตรองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะ
เดชแห่ง ธรรม โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสะเทือนและร้องลั่นไปพร้อมกัน
ทีเดียวดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด
บริษัทในที่นั้นมีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลม
ล้มลงบนแผ่นดิน หม้อนํ้าหลายพันและหม้อข้าวหลาย
ร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่นั้นต่างกระทบกระแทกกัน
แตกละเอียดไปหมด มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัว
ภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าทีปังกร กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดี
หรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อน ขอ
พระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น
คราวนั้นพระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจได้แล้ว
ด้วยตรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้
กลัวเลย ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยา-
กรณ์แล้ว ถึงบุคคลใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคล
นั้นไตร่ตรองถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้ว

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
แต่เก่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรองถึงธรรม อันเป็น
พุทธภูมิโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น ปฐพีนี้พร้อมหมื่น
โลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว ดังนี้.

มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีและร่าเริงแล้ว พากันถือเอา
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์
บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังรัมมนครตาม
เดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่น
อธิฐานแล้ว ลุกจากอาสนะที่นั่ง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็น
แล้วในทันใดนั้น ทุกคนเข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้ว
อีก เรายึดมั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการ
พระทีปังกร ลุกจากอาสนะในกาลนั้น ดังนี้.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว บูชาพระโพธิ-
สัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำ
สรรเสริญอันเป็นมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่าน
ตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอความปรารถนาของ
ท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัวหรือความหวาดเสียวอย่าได้มีแก่ท่าน

โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่าได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดย
พลันแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล ย่อมเผล็ด
ดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดม
โดยพลัน อย่าได้ล่วงเลยสมัยนั้นเลยฉันนั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าว

ประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตน ๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิ-
สัตว์ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้ว ในที่สุดแห่ง
สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อธิษฐานกระทำความ
เพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรย-
ปรายดอกไม้อันเป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่
เขาผู้กำลังลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สอง
ฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนา
ของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้นตามที่ท่าน
ปรารถนาไว้ ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป

ขอโรคภัยจงพินาศไป ขออันตรายจงอย่ามีแก่ท่านเถิด
ขอท่านจงได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่
ท่านมหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณเหมือน
ต้นไม้ที่มีดอกเมื่อถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด
พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑๐
ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำ-

เพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้า
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลฉันใด ข้าแต่
ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระ-
ชินเจ้าฉันนั้น พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศ
พระธรรมจักรฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้ว

• เมื่อเห็นคุณค่าในสิ่งใด ความพอใจย่อมบังเกิดมี
• เมื่อความพอใจเกิด ย่อมจะเปิดทางสู่การลงมือกระทำสิ่งนั้น
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ย่อมรุ่งโรจน์ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์
ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พ้นจากราหู
แล้ว ย่อมแผดแสงด้วยความร้อนแรงฉันใด ขอท่าน
จงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้ว สว่างไสวอยู่ด้วยสิริ
ฉันนั้นเถิด แม่นํ้าใด ๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเล
ใหญ่ฉันใด ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลงที่
สำนักของท่านฉันนั้นเถิด ในกาลนั้นเขาอันเทวดา
และมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญแล้วยึดมั่นบารมีธรรม
๑๐ เมื่อจะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่า
หิมพานต์แล้ว.
กถาว่าด้วยสุเมธดาบส จบ

ฝ่ายชาวเมืองรัมมนครเล่าได้เข้าไปสู่นครแล้ว ถวายมหาทานแก่ภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พวกเขาให้มหา-
ชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้นแล้ว เสด็จออกจากรัมมนครไป ต่อจากนั้น
พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุขัย ทรงกระทำพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลำดับ คำที่ควรจะ
กล่าวในที่นั้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธวงศ์นั้นเถิด
จริงอยู่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า

ในกาลนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนาถ
พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาทีปังกรเป็น
สรณะ พระตถาคตยังคนบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณ-
คมน์ บางพวกก็ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ อีกพวกก็ให้ตั้งอยู่
ในศีล ๑๐ ทรงประทานสามัญผลสูงสุด ๔ แก่บางคน
บางคนก็ทรงประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิ-
สัมภิทา บางคนพระนราสภก็ทรงประทานสมบัติอัน
ประเสริฐ ๘ อย่าง บางคนก็ทรงมอบให้ซึ่งวิชชา ๓

อภิญญา ๖ พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชนด้วยความ
พยายามนั้น ศาสนาของพระโลกนาถได้แผ่ไพศาล
แล้ว เพราะเหตุนั้น พระทีปังกรผู้เป็นผู้นำมีพระหนุ
ใหญ่ [ ผึ่งผาย ] มีพระวรกายเหมือนของโคอุสภะ
[ สง่างาม ] ทรงให้ชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง ทรงปลด
เปลื้องทุคติให้ พระมหามุนีทอดพระเนตรเห็นชนที่พอ
จะตรัสรู้ธรรมได้แม้ในที่ไกลได้แสนโยชน์ ก็เสด็จไป
ถึงโดยขณะ เดียวให้เขาตรัสรู้ได้ ในการได้บรรลุมรรค

ผล ครั้งแรก [ ปฐมโพธิกาล ] พระพุทธเจ้าให้สัตว์ตรัสรู้
ได้หนึ่งร้อยโกฏิ ในการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สอง
[ มัชฌิมโพธิกาล ] พระนาถะให้สัตว์ตรัสรู้ได้แสนโกฏิ
และการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สาม [ ปัจฉิมโพธิกาล ]
ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบพันโกฏิ ในเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรง
แสดงพระธรรมในเทวพิภพ การประชุมของพระ-

• ผู้อ่านมิควรสงสัยจนเกินเหตุ เพราะจะเป็นเหตุให้หยุดอ่านต่อ
• ผิดก็บ้างเพียงเล็กน้อย อย่าปล่อยใจให้ค่อยตามจนเป็นเหตุต้องหยุดอ่าน
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ศาสดาทีปังกรได้มีสามครั้ง การประชุมครั้งแรกมีชน
แสนโกฏิ อีกครั้งเมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอด
เขานารทะ พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ
ประชุมกัน ในกาลใดพระมหาวีระประทับอยู่บนเขา
ในเมืองสุทัสนะ ในกาลนั้นพระมหามุนีทรงห้อมล้อม
ไปด้วยพระขีณาสพเก้าสิบพันโกฏิ เราในสมัยนั้นเป็น
ชฏิลผู้มีตบะกล้า เหาะไปในที่กลางหาวได้ ได้สำเร็จ

ในอภิญญา ๕ การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่ชนนับได้เป็น
สิบพันยี่สิบพัน การตรัสรู้ของคนเพียงหนึ่งคน สอง
คน ไม่จำเป็นต้องนับ. ในกาลนั้นศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร แผ่ไปกว้างขวาง
ชนรู้กันมากมาย มั่งคั่ง แพร่หลาย บริสุทธิ์ผุดผ่อง
พระผู้ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากนับได้สี่แสนห้อมล้อม
พระทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทุกเมื่อ ในสมัยนั้น

ใคร ๆ ก็ตามจะละภพมนุษย์ไป [ตาย] เขาเหล่านั้น
มิได้บรรลุอรหัต ยังเป็นเสขบุคคลจะต้องถูกเขาตำหนิ
ติเตียน พระพุทธศาสนาก็บานเบิกด้วยพระอรหันต์ผู้
คงที่ งามสง่าอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยพระ
ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน นครชื่อรัมมวดี กษัตริย์
ทรงพระนามสุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรง
พระนามว่าสุเมธา ของพระศาสดาทีปังกร พระองค์
ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุดอยู่

สามหลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะและสุภะ มีเหล่านารี
แต่งตัวสวยงามนับได้สามแสน มีพระจอมนารีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีพระโอรสพระนามว่า อสุภขันธะ
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ อย่าง เสด็จออกบวช
ด้วยยานคือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งความเพียรอยู่
ไม่หย่อนกว่าหมื่นปี พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ
ได้ตรัสรู้แล้ว พระมหาวีระทรงประกาศพระธรรมจักร

ที่ป่านันทวัน อันหนาแน่นไปด้วยสิริ ได้ทรงกระทำ
การยํ่ายีเดียรถีย์ที่โคนต้นซึกอันน่ารื่นรมย์ มีพระอัคร-
สาวกคือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดา
ทีปังกรมีพระอุปฐานนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา
คือ พระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ตรัสรู้
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่าต้น

ปิปผลิ พระมหามุนีทีปังกรมีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
พญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง เป็นต้นไม้ประจำทวีป
ก็ดูงาม พระผู้แสวงหาพระคุณใหญ่นั้นมีพระชนมายุ
ได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้นทรง
ให้เหล่าชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง [ นิพพาน ] พระ-
องค์พร้อมทั้งพระสาวก ให้พระสัทธรรมสว่างไสว
แล้ว ให้มหาชนข้ามถึงฝั่ง รุ่งโรจน์อยู่ราวกะกองอัคคี

• ผู้อ่านมิควรสงสัยจนเกินเหตุ เพราะจะเป็นเหตุให้หยุดอ่านต่อ
• ผิดก็บ้างเพียงเล็กน้อย อย่าปล่อยใจให้ค่อยตามจนเป็นเหตุต้องหยุดอ่าน
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ปรินิพพานแล้ว. พระฤทธิ์ พระยศและจักรรัตนะที่
พระบาททั้งสอง ทุกอย่างก็อันตรธานไปหมด สังขาร
ทั้งหลายเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ และหลังจากพระ-
ทีปังกร ก็มีพระนายกทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ
ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศนับไม่ได้ มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่ใครจะต่อกรได้.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย
พระศาสดาทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้การประชุม
สาวกของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในการประชุมครั้งแรกมีสาวกแสนโกฏิ ใน
ครั้งที่สองมีพันโกฏิ ในครั้งที่สามมีเก้าสิบโกฏิ ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าวิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุขนับได้แสนโกฏิ พระศาสดาทรงพยากรณ์ พระโพธิสัตว์

ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมกถาของพระศาสดา
แล้วสละราชสมบัติออกบวช เขาเรียนพระไตรปิฎก ทำสมาบัติ ๘ และ
อภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้นแล้ว มีฌานไม่เสื่อมไปเกิดในพรหมโลก.

ก็สำหรับพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระนครนามว่า รัมมวดี กษัตริย์
พระนามว่า อานันทะ เป็นพระราชบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็น
พระราชมารดา พระภัททะและพระสุภัททะเป็นพระอัครสาวก พระพุทธอุป-
ฐากนามว่า อนุรุทธะ พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อ สาลกัลยาณี [ ต้นขานาง ] พระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก
ประมาณพระชนมายุได้แสนปี.

ในกาลต่อจากพระองค์ล่วงได้หนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นแหละมี
พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ
พระโสภิตะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก
๓ ครั้ง ในการประชุมครั้งแรกได้มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ แสนโกฏิ ครั้งที่
๓ เก้าสิบโกฏิ ได้ยินว่าพระภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ นามว่า อานันท-
กุมารได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรมพร้อมกับบริษัท

นับได้ ๙๐ โกฏิพระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์ พระองค์พร้อมกับ
บริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงเล็งดูบุรพจริยา
ของกุลบุตรเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งบาตรและจีวร อัน
สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุ
มาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์
สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษาได้ ๖๐ ถวายบังคมพระศาสดา

• ผู้อ่านมิควรสงสัยจนเกินเหตุ เพราะจะเป็นเหตุให้หยุดอ่านต่อ
• ผิดก็บ้างเพียงเล็กน้อย อย่าปล่อยใจให้ค่อยตามจนเป็นเหตุต้องหยุดอ่าน
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ท่านใดอ่านแล้วมิอย่าจดจำ โปรดใช้มือถือของท่านให้เป็นประโยชน์
ถ่ายไว้ให้จำแทนได้ครับ

ระวังเวลาอ่านธรรม กิเลสจะบอกเราบ่อยๆว่า เคยอ่านแล้ว อ่านแล้ว
ของเก่า อันเก่า เรื่องเก่า เหตุนั้นสำคัญไม่ที่สำคัญคืออ่านแล้วได้ความ
รู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด จดจำได้มากน้อยเพียงใด นำไปปฏิบัติได้
บ้างหรือไม่? ตัวผมเองบางเรื่องก็เคยได้ยินได้ฟังหลายรอบ ได้อ่านมาหลาย
รอบเหมือนกันแต่ก็ชนะใจตัวเองด้วยการอ่านช้ำอีก

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ห้อมล้อมแล้ว นี้เป็นการประชุมของพระสาวกครั้งที่ ๓ ของพระองค์ พระรัศมี
จากพระสรีระของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีประมาณ๘๐ ศอกเท่านั้นโดยรอบ
ฉันใด แต่ของพระมังคละหาเป็นฉันนั้นไม่ ส่วนพระรัศมีจากพระสรีระของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้
แผ่นดิน ภูเขา และทะเล เป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าวเป็นต้น ได้เป็น

ประหนึ่งว่าปกคลุมไว้ด้วยแผ่นทองคำ อนึ่งประมาณพระชนมายุของพระองค์
ได้เก้าหมื่นปี ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้นไม่
สามารถที่จะส่องแสงด้วยรัศมีของตน การกำหนดเวลากลางคืนและกลางวัน
ไม่ปรากฏมี ตอนกลางวันเหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้า
เท่านั้นเหมือนกับด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ชาวโลกรู้กำหนดเวลากลางคืน
และกลางวันได้ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น และนกเป็นต้นใน

เวลาเช้า. ถามว่าก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์อื่นไม่มีอานุภาพนี้หรือ? แก้ว่า
ไม่มีหามิได้ จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวังอยู่ พึงแผ่
พระรัศมีไปได้ตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้แผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งตลอดกาลเป็น
นิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีแค่วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยอำนาจ

ความปรารถนาในกาลก่อน ได้ยินว่าในกาลที่ท่องเที่ยวไปเป็นพระโพธิสัตว์
พระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นกับพระเวสสันดร พร้อมด้วยบุตรและภริยา
อยู่ที่ภูเขาเช่นกับเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์ตนหนึ่งชื่อขรทาฐิกะได้ยินว่าพระ
มหาบุรุษมีอัธยาศัยชอบให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศแปลงเป็นพราหมณ์แล้ว
ขอทารกสองคนกะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราให้

ลูกน้อย ดังนี้แล้ว ยินดีร่าเริงทำให้แผ่นดินมีนํ้าล้อมรอบไหวอยู่ ได้ให้ทารก
แม้ทั้งสองแล้ว ยักษ์ยืนพิงพะนักพิงในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์
เห็นอยู่นั่นเองเคี้ยวกินทารกเหมือนกำรากไม้ ความโทมนัสแม้เท่าปลายเส้นผม
มิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ เพราะมองดูยักษ์ แม้จะเห็นปากของมันกำลัง
หลั่งสายเลือดออกมาอยู่ ดูราวกะว่าเปลวไฟในปากที่พออ้าขึ้น เมื่อเขาคิดอยู่

ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นทั่วตัว
เขาได้กระทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ในอนาคต ขอรัศมีจง
ฉายออกโดยทำนองนี้นี่แหละ เพราะอาศัยความปรารถนานั้นของเขา รัศมีจึง
ฉายออกจากสรีระของเขาผู้เป็นพระพุทธเจ้าแผ่ซ่านไปตลอดที่เพียงนั้น บุรพ-
จริยาแม้อื่นอีกของพระองค์ก็ยังมี ได้ยินว่า พระองค์ในกาลเป็นพระโพธิสัตว์

เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คิดว่าเราควรบริจาคชีวิตแด่พระพุทธเจ้า
องค์นี้ จึงพันสรีระทั้งหมดโดยทำนองที่พันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่จนเต็ม
ถาดทองคำมีค่าแสนหนึ่งสูงได้หนึ่งศอกกำ จุดไส้ตะเกียงพันหนึ่งในถาดนั้น
เอาศีรษะเทินถาดนั้นไว้ แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณเจดีย์ให้ล่วงไป
ตลอดคืนหนึ่ง เมื่อเขาแม้พยายามอยู่อย่างนี้จนถึงเวลาอรุณขึ้นความร้อนก็มิได้

ระคายเคืองแม้เพียงขุมขน ได้เป็นประหนึ่งว่าเข้าไปในห้องแห่งดอกบัวหลวง
จริงอยู่ ธรรมดาว่าธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตนอยู่ เพราะเหตุนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

• ผู้อ่านมิควรสงสัยจนเกินเหตุ เพราะจะเป็นเหตุให้หยุดอ่านต่อ
• ผิดก็บ้างเพียงเล็กน้อย อย่าปล่อยใจให้ค่อยตามจนเป็นเหตุต้องหยุดอ่าน
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2018, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างคำพูด:
ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้มีปรกติประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น
อานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปรกติ
ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาค
เจ้าพระองค์นั้น จึงแผ่ซ่านไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.
ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเรา เป็นพราหมณ์ชื่อ สุรุจิ คิดว่า
เราจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้ว กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์จงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์
เถิด.

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุมีประมาณเท่าไร ?
พระศาสดาตรัส.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่า
ไร ? พราหมณ์ทูลถาม.

ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า มีประมาณแสนโกฏิ. พราหมณ์จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์
เถิด. พระศาสดาทรงรับแล้ว. พราหมณ์ครั้นนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ไปสู่เรือนคิดว่า เราสามารถถวายข้าวต้มภัตและผ้าเป็นต้น แด่ภิกษุสงฆ์มี
ประมาณเท่านี้ได้ แต่ที่นั่งจักเป็นอย่างไร ดังนี้. ความคิดนั้นของเขาทำให้

เกิดความร้อนขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราช ผู้ประทับยืนอยู่ใน
ที่สุดแห่งแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดำริว่า ใครหนอแลต้องการจะ
ให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้ ทรงตรวจตราอยู่ด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นพระมหา-
บุรุษ ทรงดำริว่า สุรุจิพราหมณ์นี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
คิดแล้วเพื่อต้องการที่นั่ง ควรที่เราจะไปในที่นั้น ถือเอาส่วนบุญบ้าง จึงทรง

เนรมิตร่างเป็นเพศช่างไม้ มีมือถือมีดและขวาน ได้ปรากฏตัวข้างหน้าของ
พระมหาบุรุษกล่าวว่า ใคร ๆ มีงานที่จะต้องจ้างทำบ้าง. พระมหาบุรุษเห็นเขา
แล้วจึงถามว่า ท่านจักทำงานอะไร ? เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่ข้าพเจ้า
ไม่รู้ไม่มี ผู้ใดจะให้เราทำงานใด เป็นบ้านก็ตาม มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะ
ทำงานนั้นแก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้ากระนั้นงานของเรามีอยู่. เขา
กล่าวว่า งานอะไรนะท่าน.

ภิกษุแสนโกฏิข้าพเจ้านิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจักกระทำ
มณฑปที่นั่งของภิกษุเหล่านั้นได้ไหม.
ข้าพเจ้าทำได้ ถ้าท่านจักสามารถให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้าได้.
เราจักสามารถ พ่อ.

เขารับปากว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำ จึงไปตรวจดูที่ว่างแห่งหนึ่ง
ที่ว่างมีประมาณสิบสองโยชน์ ได้มีพื้นราบเรียบประหนึ่งมณฑลกสิณ. เขาคิด
ว่า ขอมณฑปสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงปรากฏขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้.
ในทันใดนั้น มณฑปก็แทรกแผ่นดินขึ้นมา. ที่เสาสำเร็จด้วยทองคำของปราสาท
นั้น มีหม้อนํ้าสำเร็จด้วยเงินตั้งอยู่. ที่เสาสำเร็จด้วยเงิน มีหม้อนํ้าสำเร็จด้วย

ทองคำ ที่เสาแก้วมณีมีหม้อนํ้าสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว
ประพาฬ มีหม้อนํ้าสำเร็จด้วยแก้วมณี. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ มี
หม้อนํ้าสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการเหมือนกัน. ต่อจากนั้นเขาก็มองดูด้วยคิดว่า
ขอตาข่ายกระดึง จงห้อยย้อยอยู่ตามระหว่างแห่งมณฑป พร้อมกับการมองดู
นั่นเอง ตาข่ายกระดึงก็ห้อยย้อยลงแล้ว เสียงอันไพเราะของตาข่ายกระดึงที่ถูก

ลมอ่อนรำเพยพัด ก็เปล่งเสียงออกมาราวกะว่าเสียงอันไพเราะแห่งดนตรี ซึ่ง
ประกอบด้วยองค์ ๕ จึงดูไม่ต่างอะไรกับเวลาที่ทิพยสังคีตบรรเลงอยู่. เขาคิด
ว่า ในระหว่าง ๆ ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงมา พวง
ของหอมและพวงดอกไม้ก็ห้อยย้อยลงมาแล้ว. เขาคิดว่า ขออาสนะและแท่นที่
รองนั่งสำหรับภิกษุที่นับได้แสนโกฏิ จงแทรกแผ่นดินขึ้นมา. ในทันใดนั้นเอง

• ผู้อ่านมิควรสงสัยจนเกินเหตุ เพราะจะเป็นเหตุให้หยุดอ่านต่อ
• ผิดก็บ้างเพียงเล็กน้อย อย่าปล่อยใจให้ค่อยตามจนเป็นเหตุต้องหยุดอ่าน
• บุคคลมิควรคิดท้อ ก่อนลงมือกระทำ
• การงานจะสำเร็จได้ เพราะมีใจเด็ดเดียวไม่ย่อท้อ
• ของดีอยู่ใกล้ แต่ก็มิได้ใส่ใจ หันไปมองหาสิ่งที่ไกลออกไป
• อยู่กับของดียังมิรู้ตัว ยังเมามัววิ่งค้นหาที่ไหนกัน

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร