วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 172, 173, 174, 175, 176, 177, 178, 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นของชาว
สีพีให้เจริญ ทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัณหา-
ชินาราชธิดา ทั้งสององค์มาพระราชทานให้เป็น
ปุตตกทานแก่พราหมณ์ชูชก แต่นั้น พระเวสสันดร
ราชฤาษีทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัณหาชินา
ราชธิดาทั้งสององค์มา ทรงปลื้มพระมนัสพระราชทาน

พระราชโอรสและพระราชธิดาให้เป็นทานอันอุดม
แก่พราหมณ์ชูชก อัศจรรย์อันให้สยดสยองและยัง
โลมชาติให้ชูชัน ในเมื่อพระกุมารกุมารีทั้งสอง อัน
พระเวสสันดรพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชก เมทนีดล
ก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น
อัศจรรย์อันให้สยดสยอง และยังโลมชาติให้ชูชัน

พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ
อันผู้ประชุมชนกระทำอัญชลี ได้พระราชทานพระราช
กุมารกุมารีผู้กำลังเจริญในความสุข ให้เป็นทานแก่
พราหมณ์ชูชก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตโต ได้แก่ ทรงเกิดพระปีติโสมนัส.
บทว่า ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ความว่า ในกาลนั้น แผ่นดินใหญ่หนาแน่น
สองแสนสี่หมื่นโยชน์ อึกทึกกึกก้องคำรามลั่นสั่นสะเทือนเสมือนช้างพลายตกมัน
ด้วยเดชแห่งทานบารมี ในกาลนั้นสาครก็กระเพื่อม สิเนรุราชบรรพตก็น้อม
ยอดลงไปทางเขาวงกตตั้งอยู่ คล้ายหน่อหวายที่ต้มให้สุกดีแล้ว ท้าวสักกเทวราช

ทรงปรบพระหัตถ์ มหาพรหมได้ประทานสาธุการ เทวดาทั้งหมดก็ได้ให้
สาธุการ ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก ฟ้าคำรามพร้อมกับ
เสียงปฐพีให้ฝนตกลงชั่วขณะ สายฟ้าแลบในสมัยมิใช่กาล สัตว์จตุบาทมีราชสีห์
เป็นต้น ที่อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้บันลือเสียงเป็นอันเดียวกัน ทั่ว
หิมวันต์อัศจรรย์อันน่าสยดสยองได้มีเห็นปานฉะนี้ แต่ในบาลีท่านกล่าวเพียงว่า

เมทนีสะเทือน เท่านั้นเอง. บทว่า ยํ แปลว่า ในกาลใด. บทว่า กุมาเร
สุขวจฉิเต ความว่า ได้พระราชทานพระกุมารกุมารีที่เจริญอยู่ในความสุข
คืออยู่ในความสุขบริจาคอย่างเป็นสุข. บทว่า อทา ทานํ ความว่า ดูก่อน
พราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อมเป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรบุตรีของเรา โดย
ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ดังนั้นจึงได้พระราชทานเพื่อประโยชน์พระสัพพัญญุต-
ญาณนั้น.

พระมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุตรทานแล้ว ยังพระปีติให้เกิดขึ้นว่า โอ
ทานของเรา เราได้ให้ดีแล้วหนอ แล้วทอดพระเนตรดูพระกุมารกุมารีประทับ
ยืนอยู่.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฝ่ายชูชกเข้าไปสู่ชัฏป่า เอาฟันกัดเถาวัลย์ถือมา ผูกพระหัตถ์เบื้องขวา
แห่งพระชาลีกุมารรวมกันกับพระหัตถ์เบื้องซ้ายแห่งพระกัณหาชินากุมารี ถือ
ปลายเถาวัลย์นั้นไว้ โบยตีพาไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น พราหมณ์ผู้ร้ายกาจนั้น ก็เอาฟันกัด
เถาวัลย์ ผูกพระกรแห่งพระกุมารกุมารีด้วยเถาวัลย์อีก
ข้างหนึ่งไว้ แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ถือไม้เฆี่ยนตี
นำพระกุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่ง แห่งพระเวสสันดร
สีวีราช.

พระฉวีของพระชาลีพระกัณหาชินาแตกตรงที่ที่ถูกตีแล้ว ๆ นั้น ๆ
พระโลหิตไหล พระชาลีและพระกัณหาชินาต่างเอาพระปฤษฎางค์เข้ารับไม้
แทนกันและกันในเมื่อถูกตี. ลำดับนั้น ชูชกพลาดล้มลงในสถานที่ไม่เสมอแห่ง
หนึ่ง เถาวัลย์อันแข็งเคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์อันอ่อนแห่งพระกุมารกุมารี
พระกุมารกุมารีทรงกันแสงหนีไปหาพระมหาสัตว์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระชาลีและพระกัณหาหลีกไปจากที่นั้น พ้น
พราหมณ์ชูชก มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัส-
สุชล พระชาลีชะเง้อดูพระบิดา องค์สั่นดุจใบอัสสัตถ-
พฤกษ์ อภิวาทพระบาทพระบิดา ครั้นถวายบังคม
พระบาทพระบิดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระ
บิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว พระบิดา

ประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาจงประทาน
หม่อมฉันทั้งสอง ต่อเมื่อหม่อมฉันทั้งสองได้พบพระ-
มารดาก่อนเถิด.
ข้าแต่พระบิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว
พระบิดาประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาอย่า
เพิ่งประทานหม่อมฉันทั้งสอง จนกว่าพระมารดาของ
หม่อมฉันทั้งสองจะเสด็จกลับมา พราหมณ์ชูชกนี้จง
ขายหรือจงฆ่าในกาลนั้นแน่แท้ ชูชกนี้ประกอบด้วย

บุรุษโทษ ๑๘ ประการ คือ ตีนแบ ๑ เล็บเน่า ๑
มีปลีน่องย้อยยาน ๑ มีริมฝีปากบนยาว ๑ น้ำลาย


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ไหล ๑ มีเขี้ยวยาวออกจากริมฝีปากดังเขี้ยวหมู ๑ จมูก
หัก ๑ ท้องโตดังหม้อ ๑ หลังค่อม ๑ ตาเหล่ ๑
หนวดสีเหมือนทองแดง ๑ ผมสีเหลือง ๑ เส้นเอ็น
ขึ้นสะพรั่ง เกลื่อนไปด้วยกระดำ ๑ ตาเหลือกเหลือง
๑ เอวคด หลังโกง คอเอียง ๑ ขากาง ๑ เดินตีน
ลั่นดังเผาะ ๆ ๑ ขนตามตัวดกและหยาบ ๑ นุ่งห่ม
หนังเสือเหลือง เป็นดังอมนุษย์น่ากลัว แกเป็นอมนุษย์

หรือยักษ์กินเนื้อและเลือด มาแต่บ้านสู่ป่าทูลขอทรัพย์
พระบิดา ข้าแต่พระบิดาพระองค์ทอดพระเนตรเห็น
หม่อมฉันทั้งสองอันแกผู้ดุจปีศาจนำไปหรือหนอพระ
หฤทัยของพระองค์ราวกะผูกมั่นด้วยเหล็กแน่ทีเดียว
พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจเกินเปรียบ

ผูกหม่อมฉันทั้งสอง และตีหม่อมฉันทั้งสองเหมือนตี
ฝูงโค พระองค์ไม่ทรงทราบหรือ น้องกัณหาจงอยู่ ณ
ที่นี้ เพราะเธอยังไม่รู้จักทุกข์สักนิดเดียว ลูกมฤคีที่
ยังกินนม พรากไปจากฝูงก็ร้องไห้หาแม่เพื่อจะกินนม
ฉันใด น้องกัณหาชินาเมื่อไม่เห็นพระมารดาก็จะ
กันแสงเหี่ยวแห้งสิ้นชนมชีพ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกขสิ ความว่า ไปสำนักพระมหา-
สัตว์ หวาดหวั่นไหวแลดูอยู่. บทว่า เวธํ ได้แก่ ตัวสั่น. บทว่า ตวญจ
โน ตาต ทสสสิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ได้ประทานหม่อมฉัน
ทั้งสองให้แก่พราหมณ์ ในเมื่อเสด็จแม่ยังมิได้กลับมาเลย ขอเสด็จพ่ออย่าได้
ทรงกระทำอย่างนี้เลย โปรดยับยั้งไว้ก่อน พระเจ้าค่ะ จนกว่าหม่อมฉันทั้ง

สองจะได้เห็นเสด็จแม่ ต่อนั้นพระองค์จึงค่อยประทานในกาลที่หม่อมฉันทั้งสอง
ได้เห็นเสด็จแม่แล้ว พระเจ้าค่ะ. บทว่า วิกกีณาตุ หนาตุ วา ความว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ ในเวลาที่เสด็จแม่เสด็จมา พราหมณ์ชูชกนี้จงขายหรือจงฆ่า
หม่อมฉันทั้งสองก็ตาม หรือจงทำตามที่ปรารถนาเถิด อนึ่งพระชาลีราชกุมาร
ได้กราบทูลบุรุษโทษ ๑๘ ประการว่า พราหมณ์กักขละหยาบช้านี้ประกอบด้วย

บุรุษโทษ ๑๘ ประการ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลงกปาโท ได้แก่
ตีนแป. บทว่า อทธนโข ได้แก่ เล็บเน่า. บทว่า โอพทธปิณฑิโก
ได้แก่ มีเนื้อปลีแข้งหย่อนลงข้างล่าง. บทว่า ทีโฆตตโรฏโฐ ได้แก่
ประกอบด้วยริมฝีปากบนยาวยื่นปิดปาก. บทว่า จปโล ได้แก่ มีน้ำลายไหล.
บทว่า กฬาโร ได้แก่ ประกอบด้วยเขี้ยวยื่นออกเหมือนเขี้ยวหมู. บทว่า
ภคคนาสโก ได้แก่ ประกอบด้วยจมูกหักคือไม่เสมอกัน. บทว่า โลหมสสุ
ได้แก่ มีหนวดมีสีเหมือนทองแดง. บทว่า หริตเกโส ได้แก่ มีผมสีเหมือน


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทองงอกหยิก. บทว่า วลีนํ ได้แก่ หนังย่นเป็นเกลียวทั่วตัว. บทว่า
ติลกาหโก ได้แก่ เกลื่อนไปด้วยกระดำ. บทว่า ปิงคโล ได้แก่ มีตา
เหลือกเหลือง คือประกอบด้วยตาทั้งสองคล้ายตาแมว. บทว่า วินโต ได้แก่
มีคดในที่ ๓ แห่ง คือ เอว หลัง คอ. บทว่า วิกโฏ ได้แก่ มีเท้าลั่น
ท่านกล่าวว่า มีที่ต่อกระดูกมีเสียง ก็มี คือประกอบด้วยที่ต่อกระดูกมีเสียงดัง
เผาะ ๆ. บทว่า พรหา ได้แก่ยาว.

บทว่า อมนุสโส ความว่า พราหมณ์นี้มิใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ที่
เที่ยวไปในป่าด้วยเพศของมนุษย์เป็นแน่นะเสด็จพ่อ. บทว่า ภยานโก ได้แก่
น่ากลัวเหลือเกิน. บทว่า มนุสโส อุทาหุ ยกโข ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ
ถ้าใคร ๆ เห็นพราหมณ์นี้แล้วถาม ก็ควรจะตอบว่า กินเนื้อและเลือดเป็นอาหาร.
บทว่า ธนํ ตํ ตาต ยาจติ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ประสงค์
จะกินเนื้อของหม่อมฉันทั้งสอง จึงทูลขอทรัพย์คือบุตรต่อพระองค์. บทว่า

อุทิกขสิ ได้แก่ เพ่งดู. บทว่า อสมา นูน เต หทยํ ความว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ ธรรมดาบิดามารดาทั้งหลายย่อมมีหทัยอ่อนในบุตรทั้งหลายไม่ทนดู
ความทุกข์ของบุตรทั้งหลายอยู่ได้ แต่พระหฤทัยของพระองค์เห็นจะเหมือน
แผ่นหิน อีกอย่างหนึ่ง หฤทัยของพระองค์คงจะใช้เหล็กผูกไว้มั่น ฉะนั้นเมื่อ
หม่อมฉันทั้งสองมีความทุกข์เกิดขึ้นเห็นปานฉะนี้ เสด็จพ่อจึงไม่เดือดร้อน.
บทว่า น ชานาสิ ความว่า พระองค์ประทับนั่งอยู่เหมือนไม่รู้สึก.

บทว่า อจจายิเกน ลุทเทน ได้แก่ ร้ายกาจเหลือเกิน คือเกิน
ประมาณ. บทว่า โน โย ความว่า พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่าหม่อมฉัน
สองพี่น้องถูกพราหมณ์ผูกมัดไว้. บทว่า สุมภติ ได้แก่ เฆี่ยนตี. บทว่า
อิเธว อจฉตํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ น้องกัณหาชินานี้ยังไม่รู้จักความทุกข์
ยากอะไร ๆ เลย เมื่อไม่เห็นเสด็จแม่ก็จะกันแสง จักเหี่ยวแห้งสิ้นชนมชีพไป

เหมือนลูกมฤคีน้อยที่ยังกินนม พรากจากฝูง เมื่อไม่เห็นแม่ ย่อมร้องคร่ำครวญ
อยากกินนมฉะนั้น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงประทานหม่อมฉันเท่านั้น
แก่พราหมณ์ หม่อมฉันจักไป ขอให้น้องกัณหาชินานี้อยู่ในที่นี้แหละ.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระชาลีราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส
อะไร ๆ แต่นั้นพระชาลีราชกุมารเมื่อทรงคร่ำครวญปรารภถึงพระชนกชนนี
จึงตรัสว่า

ทุกข์เห็นปานดังนี้ของลูกนี้ ไม่สู้กระไร เพราะ
ทุกข์นี้ลูกผู้ชายพึงได้รับ แต่การที่ลูกไม่ได้พบพระ-
มารดา เป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์เห็นปานดังนี้, พระมารดา
พระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหาชินากุมารี
ผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงสิ้นราตรีนาน
พระมารดาพระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหา-
ชินากุมารีผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงอยู่
นานในพระอาศรม.

พระมารดาพระบิดาจะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสง
ตลอดราตรีนาน จักเหี่ยวแห้งในกึ่งราตรีหรือตลอด
ราตรี ดุจแม่น้ำเหือดแห้งไปฉะนั้น.

วันนี้เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่าง ๆ เช่นไม้หว้า
ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกขชาติที่มีผลต่าง ๆ
เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด วันนี้เราทั้งสอง
จะละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็น ที่เราเคยเล่นในกาล
ก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา
ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน และผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา

ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละตุ๊กตา
ช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ซึ่งพระบิดาทรงปั้นประทาน
ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุมุนา ความว่า ทุกข์นี้อันบุรุษผู้ท่อง
เที่ยวอยู่ในภพพึงได้. บทว่า ตํ เม ทุกขตรํ อิโต ความว่า ทุกข์ของเรา
เมื่อไม่ได้เห็นพระมารดานั้น เป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ที่เกิดแต่ถูกเฆี่ยนตีนี้ร้อยเท่า
พันเท่า แสนเท่า. บทว่า รุจฉติ ได้แก่ จักทรงกันแสง. บทว่า อฑฒ-
รตเต ว รตเต วา ความว่า ทรงนึกถึงเราทั้งสอง จักทรงกันแสงนาน

ตลอดกึ่งราตรี หรือตลอดราตรี. บทว่า อวสุสสติ ความว่า จักเหี่ยวแห้ง
เหมือนแม่น้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีน้ำน้อย คือ จักเหี่ยวแห้งสิ้นพระชนม์ เหมือนแม่น้ำ
นั้นจักเหือดแห้งทันทีในเมื่ออรุณขึ้น ฉะนั้น พระชาลีราชกุมารกล่าวอย่างนี้
ด้วยความประสงค์ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เวทิสา ได้แก่ มีกิ่งห้อย.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตานิ ความว่า รากไม้ดอกไม้ผลของต้นไม้เหล่าใด ที่เราจับเล่นเป็น
เวลานาน เราทั้งสองจะต้องละต้นไม้เหล่านั้นไปในวันนี้. บทว่า หตถิกา
ได้แก่ ตุ๊กตาช้างที่พระบิดาปั้นให้เราทั้งสองเล่น.
เมื่อพระชาลีราชกุมารทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนี้กับพระภคินีกัณหาชินา
ชูชกก็มาโบยตีกุมารกุมารีพาตัวหลีกไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชกุมารกุมารี ทั้งสองเมื่อ ถูกชูชกนำไปได้
กราบทูลคำนี้แด่พระราชบิดาว่า ขอเสด็จพ่อโปรดรับ
สั่งแก่เสด็จแม่ว่าหม่อมฉันทั้งสองสบายดี และขอให้
เสด็จพ่อจงทรงมีความสุขสำราญเถิด.
ขอเสด็จพ่อจงทรงประทานตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า
ตุ๊กตาวัวเหล่านี้ของหม่อมฉันทั้งสองแด่เสด็จแม่ เสด็จ

แม่จักนำความโศกออกได้ด้วยตุ๊กตาเหล่านี้ เสด็จแม่
ทอดพระเนตรเห็นเครื่องเล่น คือ ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า
ตุ๊กตาวัว ของหม่อมฉันทั้งสองเหล่านี้นั้น จักทรง
บรรเทาความเศร้าโศกเสียได้.

กาลนั้น ความเศร้าโศกมีกำลังเพราะปรารภพระโอรสพระธิดา ได้เกิด
ขึ้นแก่พระมหาสัตว์ พระหทัยมังสะของพระมหาสัตว์ได้เป็นของร้อน พระองค์
ทรงหวั่นไหวด้วยความเศร้าโศก ดุจช้างพลายตกมันถูกไกรสรราชสีห์จับและ
ดุจดวงจันทร์เข้าไปในปากแห่งราหู ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยภาวะของ
พระองค์ มีพระเนตรนองไปด้วยพระอัสสุชล เสด็จเข้าบรรณศาลาทรงปริ-
เทวนาการอย่างน่าสงสาร.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเวสสันดรราชขัตติยดาบสทรงบริจาค
ปิยบุตรทานแล้วเสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงคร่ำครวญ
อย่างน่าสงสาร.
คาถาแสดงการพร่ำรำพันของพระมหาสัตว์มีดังต่อไปนี้
วันนี้เด็กทั้งสองจะเป็นอย่างไรหนอ หิว กลัว
เดินทางร้องไห้ เวลาเย็นบริโภคอาหาร ใครจะให้
โภชนาหารแก่เด็กทั้งสองนั้น เด็กทั้งสองจะร้องขอ

อาหารว่า แม่จ๋า หม่อมฉันทั้งสองหิว ขอเสด็จแม่จง
ประทานอาหารแก่หม่อมฉันทั้งสอง เด็กทั้งสองดำเนิน
ด้วยพระบาทเปล่าไม่มีรองพระบาท จะดำเนินไปตาม
หนทางอย่างไรหนอ เมื่อเด็กทั้งสองมีพระบาทพอง


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บวมทั้งสองข้าง ใครจักจูงหัตถ์เธอทั้งสองไป ชูชกตี
ลูก ๆ ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อหน้าเรา แกช่างไม่อดสูแก่
ใจบ้างเลยหนอ แกเป็นอลัชชีแท้ ใครที่มีความอดสู
แก่ใจ จักกล้าตีทาสีทาสหรือคนใช้อื่นของเราที่สละ
ให้แล้วได้ ชูชกแกด่าตีลูก ๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อ
ตาดุจคนหาปลาตีปลาที่ติดอยู่ในปากแห.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า กนวชช ตัดบทเป็น กํ นุ อชช บทว่า
อุปรุจเฉนติ ความว่า จักเดินร้องไห้ไปตลอดทาง ๖๐ โยชน์. บทว่า
สํเวสนากาเล ได้แก่ เวลามหาชนเข้าเมือง. บทว่า โก เน ทสสติ ความว่า
ใครจักให้โภชนาหารแก่ลูก ๆ เหล่านั้น. บทว่า กถนนุ ปถํ คจฉนติ
ความว่า จักเดินทาง ๖๐ โยชน์ได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปตติกา ได้แก่
เว้นจากยานคือช้างเป็นต้น. บทว่า อุปาหนา ได้แก่ มีเท้าละเอียดอ่อนเว้น

แม้เพียงรองเท้าก็ไม่มี. บทว่า คเหสสติ ความว่า ใครจักช่วยประคอง
เพื่อบรรเทาความลำบาก. บทว่า ทาสีทาสสฺส ความว่า เป็นทาสีเป็นทาส.
บทว่า อญโญ วา ปน เปสิโย ความว่า ซึ่งเป็นคนใช้ คือผู้ทำการรับ
ใช้คนที่ ๔ ของเราโดยสืบต่อ ๆ กันมาของทาสและนายทาสอย่างนี้ว่า เป็นทาส
ของผู้นั้นบ้าง เป็นทาสของผู้นั้นบ้าง รู้ว่า คนนี้เป็นทาสและนายทาสของพระ

เวสสันดรพระองค์นั้น ซึ่งทรงสละให้แล้วอย่างนี้. บทว่า โก ลชฺชี ความว่า
ใครที่มีความอดสูแก่ใจจะกล้าตีด้วยคิดว่า การตีลูก ๆ ของเราผู้ไม่มีความอดสู
แก่ใจนั้น ไม่สมควรเลยหนอ. บทว่า วาริชสเสว ความว่า ของเรา เหมือน
ตีปลาที่ติดอยุ่ในปากแห. อ อักษร ในบทว่า อปสฺสโต เป็นเพียงนิบาต
ชูชกทั้งด่าทั้งตีลูก ๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อตาทีเดียว โอ ตานี่ทารุณเหลือเกิน.

ครั้งนั้นความปริวิตกได้เกิดขึ้นแก่พระเวสสันดรมหาสัตว์ ด้วยทรง
สิเนหาในพระโอรสและพระธิดาอย่างนี้ว่า พราหมณ์นี้เบียดเบียนลูกทั้งสองของ
เราเหลือเกิน เมื่อไม่อาจกลั้นความโศกไว้ได้ดังนี้ เราจักติดตามไปฆ่าพราหมณ์
เสียแล้วนำลูกทั้งสองกลับมา แต่นั้นกลับทรงหวนคิดได้ว่า การที่ลูกเราทั้งสอง
ถูกเบียดเบียนเป็นความลำบากยิ่ง นั่นไม่ใช่ฐานะ การบริจาคปิยบุตรทานแล้ว
จะเดือดร้อนภายหลัง หาใช่ธรรมของสัตบุรุษไม่ คาถาแสดงความปริวิตก ๒
คาถาที่ส่องเนื้อความนั้น มีดังนี้ว่า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เราจะถือคันพระแสงศร เหน็บพระแสงขรรค์ไว้
เบื้องซ้าย นำลูกทั้งสองของเรากลับมา เพราะการที่
ลูกทั้งสองถูกเฆี่ยนตีนำมาซึ่งความทุกข์ แต่ลูกทั้งสอง
พึงลำบากยากเข็ญนั้น ไม่ใช่ฐานะ ก็ใครเล่ารู้ธรรม
ของสัตบุรุษ บำเพ็ญทานแล้วจะเดือดร้อนภายหลัง

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ได้แก่ ธรรมคือประเพณีของพระ-
โพธิสัตว์ในกาลก่อน. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นทรงอนุสรณ์ถึงประเพณีแห่ง
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในขณะนั้น แต่นั้นพระองค์ทรงดำริว่า พระโพธิสัตว์
ทั้งปวงไม่ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะ
บริจาคชีวิตบริจาคบุตร บริจาคภรรยา หาเคยเป็นพระพุทธเจ้าได้ไม่ ก็ตัวเราก็

เข้าอยู่ในจำพวกพระโพธิสัตว์เหล่านั้น แม้เราไม่บริจาคบุตรและชายา ก็ไม่
อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ทรงดำริฉะนี้แล้ว ยังสัญญาให้เกิดขึ้นว่า แน่ะ
เวสสันดรเป็นอย่างไร ท่านไม่รู้ความที่บุตรและบุตรีที่ให้เพื่อเป็นทาสทาสีแก่ชน
เหล่าอื่น จะนำมาซึ่งความทุกข์ดอกหรือ เราจักตามไปฆ่าชูชกด้วยเหตุไรเล่า

แล้วทรงดำริต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าบริจาคทานแล้วตามเดือดร้อนภายหลัง หา
สมควรแก่เราไม่ ทรงตัดพ้อพระองค์เองอย่างนี้แล้ว ทรงอธิษฐานสมาทาน
ศีลมั่นโดยมนสิการว่า ถ้าชูชกฆ่าลูกทั้งสองของเรา จำเดิมแต่เวลาที่เราบริจาค
แล้วเราจะไม่กังวลอะไร ๆ ทรงอธิษฐานมั่นฉะนี้แล้ว เสด็จออกจากบรรณศาลา
ประทับนั่ง ณ แผ่นศิลา แทบทวารบรรณศาลา ดุจปฏิมาทองคำฉะนั้น.

ฝ่ายชูชกตีพระชาลีและพระกัณหาชินาต่อหน้าพระที่นั่งแห่งพระมหา-
สัตว์ นำไป.
ลำดับนั้น พระชาลีราชกุมารตรัสรำพันว่า

ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความ
จริงไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่มีมารดาของตน ผู้นั้นเหมือน
ไม่มีทั้งบิดามารดา แน่ะน้องกัณหา มาเถิด เราจัก
ตายด้วยกัน อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ พระบิดาผู้จอมชน
ได้ประทานเราทั้งสองแก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์แก
ร้ายกาจเหลือเกิน แกตีเราทั้งสองเหมือนนายโคบาลตี
ฝูงโค แน่ะน้องกัณหา เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่าง ๆ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เช่นไม้หว้า ไม้ยางทราย ซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกข-
ชาติที่มีผลต่าง ๆ เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด
ละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็นที่เราเคยเล่นในกาลก่อน
ละบุปผชาติต่าง ๆ บนภูผา ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน
ละผลไม้ต่าง ๆ บนภูผา ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน
และละตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่พระบิดาทรง
ปั้นประทาน ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสส ความว่า มารดาของตนไม่มีใน
สำนักของผู้ใด.
ชูชกพราหมณ์พลาดล้มในสถานที่ไม่เสมอแห่งหนึ่งอีก เถาวัลย์ที่ผูกก็
เคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์พระราชกุมารกุมารี ทั้งสององค์มีพระกายสั่นดุจไก่ถูก
ตี หนีมาหาพระราชบิดาโดยเร็วพร้อมกัน.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ชาลีราชกุมารและกัณหาชินาราชกุมาร ทั้งสอง
องค์ที่ถูกชูชกพราหมณ์นำไป พอหลุดพ้นจากแกมาได้
ก็วิ่งไปสู่สำนักพระเวสสันดรราชบิดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เตน ความว่า ได้วิ่งไปหาพระ-
ราชบิดาของเธอทั้งสอง ของที่หลุดพ้นจากพราหมณ์ชูชกนั้น อธิบายว่า วิ่ง
มาสู่สำนักของพระราชบิดาทีเดียว.

ฝ่ายชูชกลุกขึ้นโดยเร็วถือเถาวัลย์และไม้ ท่วมไปด้วยความโกรธ
เหมือนไฟตั้งขึ้นแต่กัลป์ฉะนั้น มาแล้วกล่าวว่า หนูทั้งสองฉลาดหนีเหลือเกิน
ผูกพระหัตถ์ทั้งสองแล้วนำพระกุมารกุมารีไปอีก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ ถือไม้เฆี่ยนตีนำ
กุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่งแห่งพระเวสสันดรสีวีราช.
เมื่อพระชาลีและพระกัณหาชินาอันชูชกนำไปอยู่อย่างนี้ พระกัณหา-
ชินาเหลียวกลับมาทอดพระเนตรทูลพระราชบิดา.


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระกัณหาชินาราชกุมารีได้ทูลพระราชบิดาว่า
ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้ เหมือน
นายตีทาสีที่เกิดในเรือน ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาว่า
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม แต่ตา
พราหมณ์นี้หาเป็นดังนั้นไม่ ยักษ์มาด้วยเพศพราหมณ์
เพื่อจะนำหม่อมฉันสองพี่น้องไปเคี้ยวกิน หม่อมฉัน
สองพี่น้องอันปีศาจนำไปอยู่ พระองค์ทอดพระเนตร
เห็นหรือหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ได้แก่ พระเจ้าสีวีราชผู้พระชนก
ซึ่งประทับนั่งทอดพระเนตรดูอยู่นั้น. บทว่า ทาสิยํ ได้แก่ ทาสี. บทว่า
ขาทิตุํ ได้แก่ เพื่อต้องการจะเคี้ยวกิน พระกัณหาชินาราชกุมารีทรงคร่ำ
ครวญว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็ตาพราหมณ์นี้นำหม่อมฉันสองพี่น้องไปยังไม่ทัน

ถึงประตูป่าเลย แกมีตาทั้งคู่แดงเป็นเหมือนมีโลหิตไหล เพื่อจะเคี้ยวกิน คือ
นำไปด้วยหวังว่าจักเคี้ยวกินเสียทั้งหมด พระองค์ก็ทรงเห็นหม่อมฉันสองพี่น้อง
ถูกนำไปเพื่อเคี้ยวกินหรือเพื่อต้มเสีย ขอพระองค์จงมีความสุขทุกเมื่อเถิด.

เมื่อพระกัณหาชินากุมารีน้อยทรงพิลาปรำพันองค์สั่นเสด็จไปอยู่ พระ-
เวสสันดรมหาสัตว์ทรงเศร้าโศกเป็นกำลัง พระหทัยวัตถุร้อน เมื่อพระนาสิก
ไม่พอจะระบายพระอัสสาสะปัสสาสะ ก็ต้องทรงปล่อยให้พระอัสสาสะปัสสาสะ
อันร้อนออกทางพระโอษฐ์ พระอัสสุเป็นดังหยาดพระโลหิตไหลออกจากพระ-
เนตรทั้งสอง พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงดำริว่า ทุกข์เห็นปานนี้เกิดเพราะโทษ

แห่งความเสน่หา หาใช่เพราะเหตุการณ์อื่นไม่ เพราะฉะนั้น ควรเราเป็นผู้มี
จิตมัธยัสถ์วางอารมณ์เป็นกลาง อย่าทำความเสน่หา ทรงดำริฉะนี้แล้ว ทรง
บรรเทาความโศกเห็นปานนั้นเสียด้วยกำลังพระญาณของพระองค์ ประทับนั่ง
ด้วยพระอาการเป็นปกติ.

พระกัณหากุมารียังเสด็จไม่ถึงประตูป่า ก็ทรงพิลาปรำพันพลางเสด็จไป
ว่า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เท้าน้อย ๆ ของเราสองพี่น้องนี้นำมาซึ่งความ
ทุกข์ ทั้งหนทางก็ยาวไกลไปได้ยาก เมื่อดวงอาทิตย์
อัสดงลงต่ำ พราหมณ์ก็ให้เราสองพี่น้องเดินไป
ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอน้อมนบไหว้ด้วยเศียรเกล้า ต่อ
เทพเจ้าเหล่าที่สิงสถิตอยู่ ณ ภูผาพนาลัยและที่สระปทุม
ชาติ และแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี ทั้งที่ติณชาติลดาวัลย์
สรรพพฤกษาที่เป็นโอสถ อันเกิด ณ บรรพตและแนว

ไพร ขอเทพเจ้าเหล่านั้นจงทูลแด่พระมารดาว่า หม่อม
ฉันสองพี่น้องมีความสำราญ พราหมณ์นี้กำลังนำ
หม่อมฉันสองพี่น้องไป ข้าแต่เทพเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย
ขอเหล่าท่านจงทูลแด่พระมารดาของข้าพเจ้าสองพี่
น้อง ผู้มีพระนามว่า พระแม่มัทรีว่า ถ้าพระมารดา
ทรงใคร่จะติดตามลูกทั้งสอง จงเสด็จติดตามมาโดย
พลัน ทางนี้เป็นทางเดินได้เฉพาะคนเดียว มาตรงไป

สู่อาศรม พระแม่เจ้าจงเสด็จตามมาทางนั้น จะได้
ทอดพระเนตรเห็นลูกทั้งสองทันท่วงที โอ ข้าแต่
พระแม่ชฏินีผู้ทรงนำมูลผลาผลมาแต่ไพร ความระทม
ทุกข์ จักมีแด่พระแม่เจ้า เพราะทอดพระเนตรเห็น
อาศรมนั้นว่างเปล่า มูลผลาผลที่พระแม่เจ้าได้มาด้วย
ทรงเสาะหาจนล่วงเวลา คงไม่น้อย พระแม่เจ้าคงไม่

ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ผู้แสวงทรัพย์ ผู้
ร้ายกาจเหลือเกิน ผูกไว้ แกตีลูกทั้งสอง เหมือนเขา
ตีฝูงโค เออก็ลูกทั้งสองได้ประสบพระแม่เจ้าผู้เสด็จมา
แต่ที่ทรงเสาะหามูลผลาผล ณ เย็นวันนี้ พระแม่เจ้าคง
ประทานผลไม้กับทั้งรวงผึ้งแก่พราหมณ์ พราหมณ์นี้
ได้กินอิ่มแล้ว คงไม่ยังลูกทั้งสองให้รีบเดินไป เท้า


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ของลูกทั้งสองบวมพองแล้ว พราหมณ์ก็ยังรีบเดินไป
พระชาลีและพระกัณหาปรารถนาจะพบพระมัทรีผู้พระ
มารดา ก็ทรงพิลาปรำพันในสถานที่นั้น ด้วยประการ
ฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาทุกา ได้แก่ เท้าน้อย ๆ. บทว่า
โอกนทามหเส ได้แก่ คร่ำครวญ. ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอแสดงความนับถือ
คือความประพฤตินอบน้อมให้ทราบ. บทว่า สรสส ความว่า ขอกราบ
ไหว้เหล่าเทวดาผู้รักษาสระปทุมนี้ด้วยเศียรเกล้า. บทว่า สุปติตเถ จ อาปเก
ความว่า ขอกราบไหว้แม้เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี. บทว่า

ติณา ลตา ได้แก่ ติณชาติและลดาชาติที่ห้อยย้อยลง. บทว่า โอสโธฺย
ได้แก่ พฤกษชาติที่เป็นโอสถ พระกัณหาชินากุมารีตรัสอย่างนี้ทรงหมายถึง
เหล่าเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในที่ทั้งปวง. บทว่า อนุปติตุกามา ความว่า แม้ถ้า
พระแม่เจ้านั้นมีพระประสงค์จะเสด็จมาตามรอยเท้าของลูกทั้งสอง. บทว่า อปิ

ปสเสสิ โน ลหุํ ความว่า ถ้าพระแม่เจ้าเสด็จตามมาทางที่เดินได้เฉพาะคน
เดียวนั้น ก็จะได้พบลูกน้อยทั้งสองของพระองค์ทันท่วงที ฉะนั้นพระกัณหา-
กุมารีจึงตรัสอย่างนี้ พระกัณหากุมารีตรัสเรียกพระแม่เจ้า ด้วยการเรียกลับ
หลังว่า ชฏินี. บทว่า อติเวลํ ได้แก่ ทำให้เกินประมาณ. บทว่า อุญฺฉา
ได้แก่ มูลผลในป่า ที่ได้มาด้วยการเที่ยวเสาะหา. บทว่า ขุทเทน มิสสกํ

ได้แก่ ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย. บทว่า อาสิโต ได้แก่ ได้กินคือบริโภคผลไม้
แล้ว. บทว่าฉาโต ได้แก่ มีความพอใจแล้ว. บทว่า น พาฬหํ ตรเยยย
ความว่า ไม่พึงนำไปด้วยความเร็วจัด. บทว่า มาตุคิทธิโน ความว่า
พระชาลีและพระกัณหาชินาประกอบด้วยความรักในพระมารดา มีความเสน่หา
เป็นกำลัง จึงได้พร่ำรำพันอย่างนี้
จบกุมารบรรพ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มัทรีบรรพ
ก็ในเมื่อ พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงบริจาคปิยบุตรมหาทาน เกิด
มหัศจรรย์มหาปฐพีบันลือลั่นโกลาหลเป็นอันเดียวกันตลอดถึงพรหมโลก หมู่
เทวดาที่อยู่ ณ หิมวันตประเทศ เป็นประหนึ่งมีหทัยจะภินทนาการด้วยเหตุอัน
ได้ยินเสียงพิลาปรำพันนั้นแห่งพระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีที่
ชูชกพราหมณ์นำไป ต่างปรึกษากันว่า ถ้าพระนางมัทรีเสด็จมาสู่อาศรมสถาน
แต่วัน พระนางไม่เห็นพระโอรสธิดาในอาศรมนั้น ทูลถามพระเวสสันดร
ทรงทราบว่าพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชกไปแล้ว พึงเสด็จแล่นตามไปด้วย
ความเสน่หาเป็นกำลัง ก็จะพึงเสวยทุกข์ใหญ่.

ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นจึงบังคับสั่งเทพบุตร ๓ องค์ว่า ท่านทั้ง ๓
จงจำแลงกายเป็นราชสีห์ เป็นเสือโคร่ง เป็นเสือเหลือง กั้นทางเสด็จพระ-
นางมัทรีไว้ แม้พระนางวิงวอนขอทางก็อย่าให้ จนกว่าดวงอาทิตย์อัสดงคต
พึงจัดอารักขาให้ดี เพื่อไม่ให้ราชสีห์เป็นต้นเบียดเบียนพระนางได้ จนกว่าได้
เสด็จเข้าอาศรมด้วยแสงจันทร์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เทพเจ้าทั้งหลาย ได้ฟังความคร่ำครวญของราช
กุมารกุมารี จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง
สามจงจำแลงกายเป็นสัตว์ร้ายในป่า คือ เป็นราชสีห์
เสือโคร่ง เสือเหลือง คอยกันพระนางมัทรีราชบุตรี
อย่าพึงเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย เหล่า

พาลมฤคในป่าอันเป็นเขตแดนของพวกเรา อย่าได้
เบียดเบียนพระนางเจ้าเลย ถ้าราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ
เหลืองพึงเบียดเบียนพระนางเจ้าผู้มีลักษณะพระชาลี
ราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาจะพึง
มีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้มีลักษณะจะพึง

เสื่อมจากพระราชสวามีและพระปิยบุตรทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ วจนมพรวํ ความว่า เทวดา
เหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะเทพบุตรทั้งสามว่า ท่านทั้งหลาย คือทั้งสามองค์ จง
แปลงเป็นพาลมฤคในป่าสามชนิดอย่างนี้คือ ราชสีห์หนึ่ง เสือโคร่งหนึ่ง เสือ
เหลืองหนึ่ง. บทว่า มา เหว โน ความว่า เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า พระ-
นางมัทรีราชบุตรีอย่าเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย จงเสด็จมาจน
ค่ำอาศัยแสงเดือน. บทว่า มา เหวมหากํ นิพโภเค ความว่า พาลมฤค


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ไร ๆ ในป่าอันเป็นเขตแดน คือเป็นแว่นแคว้นของพวกเรา อย่าได้เบียดเบียน
พระนางเจ้าในป่าชัฏของพวกเราเลย เทวดาทั้งหลายสั่งเทพบุตรทั้งสามว่า พวก
ท่านจงอารักขาพระนางมัทรีโดยประการที่สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนไม่ได้.
บทว่า สีโห เจ นํ ความว่า ก็ถ้าสัตว์ร้ายไร ๆ ในบรรดาราชสีห์เป็นต้นพึง
เบียดเบียนพระนางมัทรีซึ่งไม่มีการระวังรักษา ครั้นเมื่อพระนางมัทรีถึงชีพิ-

ตักษัย พระชาลีราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาราชกุมารีจะ
พึงมีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะนั้นจะพึงเสื่อมจาก
พระปิยบุตรทั้งสองทีเดียว. บทว่า ปติปุตเต จ ความว่า พระนางเจ้ามัทรี
จะพึงเสื่อมจากส่วนทั้งสอง เพราะฉะนั้นท่านทั้งสามจงจัดอารักขาให้ดี.

ครั้งนั้น เทพบุตรทั้งสามรับคำของเทวดาเหล่านั้นว่า สาธุ ต่างจำแลง
กายกลายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มานอนหมอบเรียงกันอยู่ในมรรคา
ที่พระนางเจ้ามัทรีเสด็จมา.

ฝ่ายพระนางมัทรีหวั่นพระหฤทัยว่า วันนี้เราฝันร้าย จักหามูลผลาผล
ในป่ากลับอาศรมแต่วัน ก็ทรงพิจารณาหามูลผลาผลทั้งหลาย ลำดับนั้น (เกิด
ลางร้าย) เสียมหลุดจากพระหัตถ์ของพระนางเจ้า กระเช้าก็หลุดจากพระอังสา
พระเนตรเบื้องขวาก็เขม่น พฤกษาชาติที่มีผลก็เป็นเหมือนไม่มีผล พฤกษา-

ชาติที่ไม่เคยมีผลก็ปรากฏเป็นราวกะว่ามีผล ทิศทั้งปวงก็ไม่ปรากฏ พระนาง
เจ้ามัทรีทรงพิจารณาว่า นี่เป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนก็มามีในวันนี้
เหตุการณ์อะไรจักมีแก่เรา แก่ลูกทั้งสองของเรา หรือแด่พระเวสสันดรราช-
สวามี กระมัง ทรงคิดฉะนี้แล้ว ตรัสว่า

เสียมก็ตกจากมือของเรา และนัยน์ตาขวาของ
เราก็เขม่น รุกขชาติที่เคยมีผลก็หาผลมิได้ทิศทั้งปวง
เราก็ฟั่นเฟือนลุ่มหลง พระนางเจ้าเสด็จมาสู่อาศรมใน
เวลาเย็น ในเมื่อดวงอาทิตย์อัศดงคต พาลมฤคก็ปรากฏ
ในหนทาง ครั้นเมื่อพระอาทิตย์โคจรลงต่ำ อาศรมก็
ยังอยู่ไกล เราจักนำมูลผลาผลใดไปแต่ที่นี้ เพื่อพระ-

ราชสวามีและลูกทั้งสอง พระราชสวามีและลูกทั้งสอง
พึงเสวยมูลผลาผลอันเป็นของเสวยนั้น พระบรม
กษัตริย์ผู้ภัสดาเสด็จอยู่ที่บรรณศาลาแต่พระองค์เดียว
แท้ ๆ ทรงเห็นว่าเรายังไม่กลับ ก็จะทรงปลอบโยน
พระโอรสพระธิดาผู้หิว ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ เคยเสวยนมเคยเสวยน้ำในเวลาที่คน
สามัญเรียกให้อาหารเวลาเย็น ลูกทั้งสองของเราเป็น
กำพร้าด้วยความเข็ญใจ เคยลุกยืนรับเรา เหมือนลูก


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
โคอ่อนยืนคอยแม่โคนม ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ หรือประหนึ่งลูกหงส์ยืนอยู่บนเปือก
ตมคอยแม่ ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้าด้วยความ
เข็ญใจ เคยยืนรับเราแต่ที่ใกล้อาศรม ทางเดินไปมี
เฉพาะทางเดียว เป็นทางเดินได้คนเดียว เพราะมีสระ
และที่ลุ่มลึกอยู่ข้าง ๆ เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งจะพึงแยก

ไปสู่อาศรม ข้าขอนอบน้อมพระยาพาลมฤคผู้มีกำลัง
มากในป่า ท่านทั้งหลายจงเป็นพี่ของข้าโดยธรรม จง
ให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอเถิด ข้าเป็นมเหสีของพระเวส-
สันดรราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกเนรเทศจากแคว้น ข้าผู้
อนุวัตรไม่ล่วงเกินพระราชสวามี ดุจนางสีดาผู้อนุวัตร
ไม่ล่วงเกินพระรามราชสวามี ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย
จงให้ทางแก่ข้า แล้วไปพบลูกทั้งสอง เพราะถึงเวลา

เรียกกินอาหารเย็นแล้ว ส่วนข้าก็จะได้ไปพบชาลีและ
กัณหาชินาบุตรบุตรีทั้งสองของข้า รากไม้ผลไม้นี้มี
มากและภักษานี้ก็มีไม่น้อย ข้าให้กึ่งหนึ่งแต่มูลผลาผล
นั้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้มรรคาแก่ข้า
ผู้ขอเถิด พระมารดาของพวกข้าเป็นพระราชบุตรี และ
พระบิดาของพวกข้าก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้งหลาย

จงเป็นภาดาของข้าโดยธรรม จงให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอ
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสสา ได้แก่ เรานั้น. บทว่า
อสสมาคมนํ ปติ ความว่า มาหมายเฉพาะอาศรม. บทว่า อุปฏฐหํ
ได้แก่ ปรากฏขึ้น เล่ากันมาว่า สามสัตว์เหล่านั้นนอนเรียงกันอยู่ก่อน เวลา
พระนางมัทรีเสด็จมา จึงลุกขึ้นบิดตัวแล้ว แล้วกั้นมรรคายืนขวางเรียงกันอยู่.
บทว่า ยญจ เนสํ ความว่า ชนทั้งสามนั้น คือ พระเวสสันดรและลูกน้อย

ทั้งสองของพระองค์ พึงบริโภคมูลผลาผลที่ข้านำไปแต่ป่านี้เพื่อเขา โภชนา
หารอย่างอื่นไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า อนายตึ ความว่า พระเวสสันดร
ทราบว่าข้ายังไม่กลับมา พระองค์เดียวนั่นแหละประทับนั่งปลอบโยนเด็ก
ทั้งสองแน่ ๆ. บทว่า สํเวสนากาเล ได้แก่ ในเวลาที่ตนให้กินอาหาร

ให้ดื่มน้ำในวันอื่น ๆ. บทว่า ขีรํ ปีตาว ความว่า พระนางมัทรีตรัสว่า
ลูกน้อยมฤคีที่ยังไม่อดนมร้องหิวนม เมื่อไม่ได้นมก็ร้องไห้จนหลับไป ฉันใด
ลูกน้อยทั้งสองของข้า ร้องไห้อยากผลาผล เมื่อไม่ได้ผลาผลก็จักร้องไห้จน
หลับไป ฉันนั้น. บทว่า วารึ ปีตาว ความว่า ในอาศรมบท พึงเห็นเนื้อ


+ จิตที่ไร้คุณธรรมย่อมนำทุกข์มาสู่ตนและคนรอบข้าง
+ บางคราวนิ่งเงียบเสียบ้างก็ดี จะได้รับฟังคำของคนอื่นบ้าง
+ รู้ว่าตนผิดรู้แก้ไขตัว ไม่เมามัวอยู่กับความหลงผิด
+ อยากให้คนอื่นดี อยากให้คนอื่นรู้ เรานั้นแหละควรดีควรรู้ก่อน
+ ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม
+ หากคิดว่ามีประโยชน์ โปรดอย่าเก็บไว้คนเดียว
เพราะสังคมนี้มิได้มีแค่เราคนเดียว ควรเหลียวแลมองดูคนอื่นบ้าง
+ เมื่อปัญญายังไม่เกิด ย่อมเปิดช่องทางให้ความอกุศลเข้ามาได้ง่าย
+ เมื่อความอยากได้ อยากมี อยากเป็นมีมาก ย่อมทำให้หลงคิดผิด พูดผิด ทำผิดได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 172, 173, 174, 175, 176, 177, 178, 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร