วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 01:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2015, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณํ อคฺคึว สนฺธมํ.

"คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนไว้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
ดุจคนก่อไฟน้อยๆ ให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้น"


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑


:b44: :b44:

จุลลกเศรษฐีชาดก
(ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้)


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ
ในเมืองพาราณสี ในแคว้นกาสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้ว
ได้รับตำแหน่งเศรษฐีได้ชื่อว่า จุลลกเศรษฐี

จุลลกเศรษฐีนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม รู้นิมิตทั้งปวง.
วันหนึ่งจุลลกเศรษฐีนั้นไปสู่ที่บำรุงพระราชา
เห็นหนูตายในระหว่างถนน คำนวนนักขัตฤกษ์ในขณะนั้นแล้ว
กล่าวคำนี้ว่า

กุลบุตรผู้มีดวงตา คือปัญญา
อาจเอาหนูตัวนี้ไปกระทำการเลี้ยงดูภรรยา
และประกอบการงานได้.


กุลบุตรผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อว่า จูฬันเตวาสิก
ได้ฟังคำของเศรษฐีนั้น แล้วคิดว่า ท่านเศรษฐีนี้ไม่รู้ จักไม่พูด
จึงเอาหนูไปขายในตลาดแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นอาหารแมว
ได้ทรัพย์กากณึกหนึ่ง จึงซื้อนํ้าอ้อยด้วยทรัพย์หนึ่งกากณึกนั้น
แล้วเอาหม้อใบหนึ่งตักนํ้าไป เขาเห็นพวกช่างดอกไม้มาจากป่า
จึงให้ชิ้นนํ้าอ้อยคนละหน่อยหนึ่ง แล้วให้ดื่มนํ้ากระบวยหนึ่ง
พวกช่างดอกไม้เหล่านั้นได้ให้ดอกไม้คนละกำมือแก่เขา.

แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาก็เอาค่าดอกไม้นั้น
ซื้อนํ้าอ้อยและนํ้าดื่มหม้อหนึ่ง ไปยังสวนดอกไม้ทีเดียว
พวกช่างดอกไม้ได้ให้กอดอกไม้ที่เก็บไปแล้วครึ่งกอแก่เขาในวันนั้น
แล้วก็ไป ไม่นานนักเขาก็ได้เงิน ๘ กหาปณะ โดยอุบายนี้.

ในวันมีฝนเจือลมวันหนึ่ง
ไม้แห้งกิ่งไม้และใบไม้เป็นอันมาก
ในพระราชอุทยานถูกลมพัดตกลงมาอีก
คนเฝ้าอุทยานไม่เห็นอุบายที่จะทิ้ง
เขาไปในพระราชอุทยานนั้น
แล้วกล่าวกะคนเฝ้าอุทยานว่า
ถ้าท่านจักให้ไม้และใบไม้เหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจักนำของทั้งหมด ออกไปจากสวนนี้ของท่าน
คนเฝ้าอุทยานนั้นรับคำว่า เอาไปเถอะนาย.

จูฬันเตวาสิกจึงไปยังสนามเล่นของพวกเด็กๆ ให้นํ้าอ้อย
ให้ต้นไม้และใบไม้ทั้งหมดออกไปโดยเวลาครู่เดียว
ให้กองไว้ที่ประตูอุทยาน.

ในกาลนั้น ช่างหม้อหลวงเที่ยวหาฟืน
เพื่อเผาภาชนะดินของหลวง
เห็นไม้และใบไม้เหล่านั้นที่ประตูอุทยาน
จึงซื้อเอาจากมือของจูฬันเตวาสิกนั้น.
วันนั้น จูฬันเตวาสิกได้ทรัพย์ ๑๖ กหาปณะ
และภาชนะ ๕ อย่างมีตุ่มเป็นต้น ด้วยการขายไม้.

เมื่อมีทรัพย์ ๒๔ กหาปณะ จูฬันเตวาสิกนั้นจึงคิดว่า
เรามีอุบายนี้ แล้วตั้งตุ่มนํ้าดื่มตุ่มหนึ่งไว้
ในที่ไม่ไกลประตูพระนคร บริการคนหาบหญ้า ๕๐๐ คนด้วยนํ้าดื่ม.
คนหาบหญ้า แม้เหล่านั้นกล่าวว่า สหาย ท่านมีอุปการะมากแก่พวกเรา
พวกเราจะกระทำอะไรแก่ท่าน (ได้บ้าง).

จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า เมื่อกิจเกิดขึ้นแก่เรา
ท่านทั้งหลายจักกระทำ แล้วเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้
ได้กระทำความสนิทสนม โดยความเป็นมิตร
กับคนผู้ทำงานทางบก และคนทำงานทางนํ้า.

คนทำงานทางบกบอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า
พรุ่งนี้ พ่อค้าม้าจักพาม้า ๕๐๐ ตัวมายังนครนี้.
นายจูฬันเตวาสิกนั้นได้ฟังคำของคนทำงานทางบกนั้นแล้ว
จึงกล่าวกะพวกคนหาบหญ้าว่า
วันนี้ ท่านจงให้หญ้าแก่เราคนละกำ
และเมื่อเรายังไม่ได้ขายหญ้า
ท่านทั้งหลายอย่าขายหญ้าของตนๆ
คนหาบหญ้าเหล่านั้นรับคำแล้ว
นำหญ้า ๕๐๐ กำ มาลงที่ประตูบ้านของจูฬันเตวาสิกนั้น.
พ่อค้าม้าไม่ได้อาหารสำหรับม้าในพระนครทั้งสิ้น
จึงให้ทรัพย์หนึ่งพันแก่จูฬันเตวาสิกนั้น แล้วถือเอาหญ้านั้นไป.

แต่นั้นล่วงไป ๒-๓ วัน สหายผู้ทำงานทางนํ้า
บอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า เรือใหญ่มาจอดที่ท่าแล้ว.
จูฬันเตวาสิกนั้นคิดว่า มีอุบายนี้.
จึงเอาเงิน ๘ กหาปณะไปเช่ารถ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบริวารทั้งปวง
แล้วไปยังท่าเรือด้วยยศใหญ่ ให้แหวนวงหนึ่งเป็นมัดจำแก่นายเรือ
ให้วงม่าน นั่งอยู่ในที่ไม่ไกล สั่งคนไว้ว่า
เมื่อพ่อค้าภายนอกมา พวกท่านจงบอก โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง.

พ่อค้าประมาณร้อยคนจากเมืองพาราณสีได้ฟังว่า เรือมาแล้ว
จึงมาโดยกล่าวว่า พวกเราจะซื้อเอาสินค้า.
นายเรือกล่าวว่า พวกท่านจักไม่ได้สินค้า
พ่อค้าใหญ่ในที่ชื่อโน้น ให้มัดจำไว้แล้ว

พ่อค้าเหล่านั้นได้ฟังดังนั้น จึงมายังสำนักของจูฬันเตวาสิกนั้น.
คนผู้รับใช้ใกล้ชิด จึงบอกความที่พวกพ่อค้าเหล่านั้นมา
โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง ตามสัญญาเดิม.

พ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนนั้น ให้ทรัพย์คนละพัน
เป็นผู้มีหุ้นส่วนเรือกับจูฬันเตวาสิกนั้น แล้วให้อีกคนละพันให้ปล่อยหุ้น
ได้กระทำสินค้าให้เป็นของตน

จูฬันเตวาสิกถือเอาทรัพย์สองแสน กลับมาเมืองพาราณสี
คิดว่า เราควรเป็นคนกตัญญู
จึงให้ถือเอาทรัพย์แสนหนึ่งไปยังที่ใกล้จุลลกเศรษฐี.


ลำดับนั้น จุลลกเศรษฐีจึงถามจูฬันเตวาสิกนั้นว่า

ดูก่อนพ่อ เธอทำอะไรจึงได้ทรัพย์นี้.

จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า

ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านบอก
จึงได้ทรัพย์ภายใน ๔ เดือนเท่านั้น
แล้วบอกเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่หนูตายเป็นต้นไป.


ท่านจุลลกมหาเศรษฐีได้ฟังคำของจูฬันเตวาสิกนั้น
แล้วคิดว่า บัดนี้ เรากระทำทารกเห็นปานนี้ให้เป็นของเรา จึงจะควร
จึงให้ธิดาของตนผู้เจริญวัยแล้ว กระทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งสิ้น.

เมื่อท่านเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้นก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปตามยถากรรม.


:b44:

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้
ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่งทีเดียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ
ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย
เหมือนคนก่อไฟกองน้อย ให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้น.


บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อปฺปเกนปิ แปลว่า แม้น้อย คือแม้นิดหน่อย.
บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา.
บทว่า ปาภเฏน ได้แก่ ด้วยต้นทุนของสินค้า.
บทว่า วิจกฺขโณ ได้แก่ ผู้ฉลาดในโวหาร.
บทว่า สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ ความว่า ยังทรัพย์และยศใหญ่ให้เกิดขึ้น แล้วตั้งตน
คือยังตนให้ตั้งอยู่ในทรัพย์และยศนั้น.

ถามว่า เหมือนอะไร?

ตอบว่า เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่

อธิบายว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ใส่โคมัยและจุรณเป็นต้น
แล้วเป่าด้วยลมปาก ก่อไฟนิดหน่อยขึ้น คือให้เพิ่มขึ้น
ได้แก่ทำให้เป็นกองไฟใหญ่โดยลำดับฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ได้ทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้น้อย แล้วประกอบอุบายต่างๆ
ย่อมทำทรัพย์และยศให้เกิดขึ้น คือให้เพิ่มขึ้น
ก็แหละครั้นให้เพิ่มขึ้นแล้ว ก็ดำรงตนไว้ในทรัพย์และยศนั้น
ก็หรือว่า ย่อมตั้งตนไว้คือกระทำให้รู้กัน คือให้ปรากฏ
เพราะความเป็นใหญ่ในทรัพย์และยศนั้นนั่นแหละ.


:b47:

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จุลลปันถกอาศัยเราแล้ว
ถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในเพราะธรรมทั้งหลาย
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็อาศัยเรา
จึงถึงความเป็นใหญ่ในโภคะ แม้เพราะโภคะทั้งหลาย


แล้วตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบอนุสนธิกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า

จูฬันเตวาสิกในกาลนั้น ได้เป็น "พระจุลลปันถก" ในบัดนี้

ส่วนจุลลกมหาเศรษฐีในกาลนั้น ได้เป็น "เราผู้ตถาคต" แล.



ที่มา : อรรถกถา จุลลกเศรษฐีชาดกที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=4

:b45:

อ่านประวัติและบุพกรรมของ "พระจุลปันถกเถระ"
เอตทัคคะในทางผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ
และผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7583

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2015, 12:39 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆๆ ขอโมทนาคะ :b8: rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2015, 20:30 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร