วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 03:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2013, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 19:15
โพสต์: 109

แนวปฏิบัติ: มีสติทุกอริยาบท
งานอดิเรก: ปฎิบัติธรรม ฟังธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ความไม่ประมาท
ชื่อเล่น: ธรรม
อายุ: 0
ที่อยู่: วัฎฎะสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระมหาเทวะ เป็นพระภิกษุในประเทศอินเดียหลังพุทธเจ้าปรินิพพาน พ.ศ. ๑๐๐ เศษ (ก่อนยุคพระเจ้าอโศกมหาราช) มีนามเดิมว่า มหาเทวะ ถือกำเนิดในตระกูลพ่อค้าในแคว้นมถุรา เป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดีมาก แถมยังพูดจาโน้มน้าวคนเก่ง แต่ต่อมามีเหตุเรื่องเป็นชู้กับมารดาของตน จนทะเลาะกับบิดากระทั่งได้ลงมือฆ่าบิดาของตนเอง ภายหลังมารดามีชู้กับชายอื่น ด้วยความโกรธตัดสินใจฆ่ามารดาของตนอีก แล้วก็ยังได้ลงมือฆ่าพระอีกรูปหนึ่ง เพราะพระภิกษุรูปนั้นเป็นคนบ้านเดียวกันกับตน ซึ่งผู้คนนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุที่เกรงว่าพระรูปนั้นจะล่วงรู้และป่าวประกาศความชั่วของตน

ด้วยความกลัดกลุ้มใจในบาปกรรมที่ทำไว้ ภายหลังจึงมาอุปสมบท (โดยปกปิดความจริง) และได้นามตามชื่อเดิมว่า พระมหาเทวะ ด้วยความฉลาดประกอบกับรูปสมบัติ และความสามารถในการแสดงธรรมจึงทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงขนาดพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นคือ ‘พระเจ้ากาฬาโศก’ รับเป็นโยมอุปัฏฐาก แต่ด้วยความไม่รู้จักพอ ใคร่อยากให้มีคนมานับถือมากยิ่งขึ้นไปอีก จึงได้ประกาศตนว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์แก่สหธรรมิกและสานุศิษย์

คืนหนึ่ง พระมหาเทวะฝันว่าได้เสพเมถุนจนทำให้อสุจิเคลื่อน (ฝันเปียก) ฝ่ายศิษย์ผู้ทำหน้าที่ซักล้างผ้าสบงให้ท่าน เห็นเข้าก็สงสัยว่าพระอรหันต์ผู้ไม่มีอาสวะแล้ว ทำไมจึงยังมีสิ่งนี้อยู่ เมื่อไปถามพระมหาเทวะ ท่านก็แก้ว่า พระอรหันต์หากถูกมารมายวนยั่วในความฝันก็อาจทำให้อสุจิเคลื่อนได้ ไม่แปลกอะไร

ต่อมาพระมหาเทวะต้องการจะเอาอกเอาใจบริวารจึงแกล้งทำอุบาย พยากรณ์มรรคผลว่าลูกศิษย์ผู้นั้นสำเร็จโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง อรหันต์บ้าง กระทั่งศิษย์ผู้ที่ได้รับการพยากรณ์ว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์เกิดความสงสัย เรียนถามอาจารย์ว่า

“ธรรมดาของพระอรหันต์ก็ควรมีญาณหยั่งรู้ด้วยตนเองว่าตนสำเร็จแล้วมิใช่หรือ แต่ทำไมตัวข้าพเจ้าจึงมิได้มีญาณหยั่งรู้เฉพาะตนเล่า ?”

พระอาจารย์ก็แก้ว่า “บางครั้ง พระอรหันต์ผู้นั้นก็อาจไม่มีญาณก็ได้ ไม่แปลกอะไร”

ศิษย์อรหันต์ (ตามการพยากรณ์) ถามต่อว่า “ธรรมดาผู้ที่เป็นพระอรหันต์ควรหมดสิ้นความสงสัยในธรรมและทราบชัดว่าภพชาติสิ้นแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี แต่ทำข้าพเจ้ายังมีข้อสงสัยในอริยสัจ ๔ และยังต้องอาศัยการพยากรณ์จากท่านอาจารย์เล่า ?”

พระมหาเทวะก็แก้ว่า “แม้เป็นพระอรหันต์ก็อาจยังมีข้อสงสัยได้ ไม่แปลกอะไร พระอรหันต์โดยมากก็ยังต้องอาศัยการพยากรณ์รับรองจากผู้อื่น”

การปลูกฝังมิจฉาทิฏฐิของพระมหาเทวะยังคงดำเนินต่อไปกระทั่งบังอาจกล่าวในที่ประชุมสงฆ์ครั้งหนึ่งว่า “บัดนี้ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้เป็นมหาบัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมสามารถแต่งพระสูตรเพิ่มเติมเข้าไปได้”

เท่านั้นเอง พระสงฆ์ฝ่ายที่ยังเคร่งครัดในพระธรรมวินัยก็มิอาจยอมรับได้ เพราะถือเป็นการทำร้ายเนื้อตัวของพระพุทธศาสนาโดยตรง เป็นการเอาธรรมะที่เป็นความเห็นของปุถุชนเขาปลอมปนกับธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว จะเป็นการทำลายประโยชน์ที่จะมีแก่สัตว์โลกต่อไปภายหน้า จึงคัดค้านมติของพระมหาเทวะ การโต้แย้งครั้งนั้นรุนแรง และยาวนานตลอดคืนยันรุ่ง กระทั่งพระเจ้ากาฬาโศกเสด็จมาห้ามด้วยพระองค์เอง พระมหาเทวะรู้ว่ามีผู้ศรัทธาและสนับสนุนมากกว่า จึงเสนอให้ตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก

ในที่สุดฝ่ายพระมหาเทวะก็เป็นฝ่ายชนะ หมู่พระสงฆ์ผู้ยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์รู้สึกอึดอัดคับข้องใจจึงตัดสินใจที่จะเดินทางไปอยู่เมืองอื่น ฝ่ายกษัตริย์ผู้เบาปัญญาก็แสร้งทำดีต่อพระสงฆ์เหล่านั้นด้วยการอาสานำเรือไปรับพระ แล้วแกล้งทำเรือแตกในระหว่างกลางแม่น้ำ เพื่อลงโทษที่ไม่ยอมรับมติสงฆ์ ในระหว่างที่เรือกำลังจะจมลงนั้นเอง พระสงฆ์เหล่านั้นก็เหาะขึ้นมุ่งหน้าไปยังแคว้นกาสมีระโดยทางอากาศ ทำให้กษัตริย์ฉุกคิดว่านี่เรากำลังทำบาปใหญ่ต่อพระผู้มีคุณธรรมแล้วหรือนี่ จึงส่งคนไปตามนิมนต์ท่านกลับมา แต่พระอริยสังฆเจ้าเหล่านั้นก็ไม่รับนิมนต์ พระเจ้ากาฬาโศกจึงส่งคนไปสร้างเสนาสนะถวายยังเมืองนั้นเป็นการไถ่โทษ

เหตุการณ์ชีวิตช่วงท้ายของพระมหาเทวะ ปรากฏว่ามีหมอดูมาทำนายว่าท่านจะอยู่ได้อีกเพียง ๗ วัน พอมีลูกศิษย์มาถาม ท่านก็สวมรอยว่าเรื่องนี้ท่านล่วงรู้มานานแล้ว จากนั้นก็มีการประกาศไปว่านับจากนี้อีก ๗ วัน พระมหาเทวะอรหันตเจ้าจักดับขันธปรินิพพาน พอครบ ๗ วัน ท่านก็มรณภาพจริง ๆ ประชาชนจำนวนมาก พร้อมด้วยพระเจ้ากาฬาโศกก็มาร่วมงาน แต่เกิดอัศจรรย์ว่าแม้จะพยายามจุดไฟเท่าไร ๆ ไฟก็ไม่ยอมติด โหรหลวงได้กราบทูลว่าต้องนำขี้เยี่ยวของสุนัขมารดศพจึงจะจุดไฟติด

เหตุการณ์ก็เป็นจริงตามนั้น ภายหลังการฌาปนกิจศพพระมหาเทวะ ยังปรากฏเศษกระดูกบางชิ้นเหลืออยู่ ก็บังเกิดมีพายุพัดหอบเศษกระดูกนั้นให้กระจายจนหมดสิ้นไม่เหลือให้คนเขลานำกระดูกคนพาลไปบูชาได้เลย

.....................................................
ขอน้อม กาย วาจา จิต บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในกาลทุกเมื่อ
ในทุกทุกขณะจิต ไม่ว่าจะระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ

https://www.facebook.com/Dhammalungta


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2013, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: rolleyes ขออนุโมทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2013, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 19:15
โพสต์: 109

แนวปฏิบัติ: มีสติทุกอริยาบท
งานอดิเรก: ปฎิบัติธรรม ฟังธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ความไม่ประมาท
ชื่อเล่น: ธรรม
อายุ: 0
ที่อยู่: วัฎฎะสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เหตุแห่งการสังคายนาครั้งที่ 2
ทุติยสังคายนา : ประมาณ พ.ศ.100
ประธานสงฆ์ : มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธาน พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบ
ผู้เข้าร่วมประชุมสังคายนา : พระอรหันตขีณาสพจำนวน 700 รูป
องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาฬาโศกราช
เหตุปรารภในการทำสังคายนา : วัตถุ 10 ประการ
สถานที่ประชุมทำสังคายนา : วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ระยะเวลาในการประชุม : กระทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ

บันทึกเหตุการณ์สำคัญ

การทำสังคายนาครั้งที่ 2 ปรารภเรื่องวัตถุ 10 ประการที่ภิกษุชาววัชชีนำประพฤติปฏิบัติ โดยถือว่าไม่ผิดธรรมไม่ผิดวินัย ซึ่งมีใจความดังนี้

1. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุเก็บเกลือไว้ในเขนงแล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้ ไม่เป็นอาบัติ
(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การเก็บเกลือไว้ในเขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารฉันนั้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะเป็นการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท)

2. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง 2 องคุลีก็ได้ไม่เป็นอาบัติ
(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว 2 องคุลี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล)

3. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน จะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ ทำวินัยกรรมได้ ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหาร เข้าไปในบ้านแล้ว ฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (ไม่เป็นเดน) ผิด เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้)

4. ภิกษุชาววัชชี: ในอาวาสเดียวกันมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกทำอุโบสถได้ ไม่เป็นอาบัติ
(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในอุโบสถขันธกะใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฎ)

5. ภิกษุชาววัชชี: ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน จะทำอุโบสถไปก่อนก็ได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้ ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่า ให้พวกมาทีหลังอนุมัติ ทั้งที่สงฆ์ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยยขันธกะต้องอาบัติทุกกฎ)

6. ภิกษุชาววัชชี: การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การประพฤติปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ไม่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะท่านเหล่านั้นอาจประพฤติผิดหรือถูกก็ได้ ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะเป็นสิ่งสมควร)

7. ภิกษุชาววัชชี: นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ (เนยใส) ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรมหรือทำให้เป็นเดนตามพระวินัยก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิ ภิกษุฉันภัตตาหารแล้วห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันไม่เป็นเดนภิกษุไข้ หรือยังไม่ได้ทำวินัยกรรม ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ)

8. ภิกษุชาววัชชี: สุราที่ทำใหม่ๆ ยังมีสีแดงเหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนสีเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ไม่ควรเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย)

9. ภิกษุชาววัชชี: ผ้าปูนั่งนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภคใช้สอยก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชาย ภิกษุจะใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึ่งจะต้องตัดเสียจึงจะแสดงอาบัติตก)

10. ภิกษุชาววัชชี: ภิกษุรับและยินดีในเงินทองที่เขาถวาย ไม่เป็นอาบัติ

(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การรับเงินหรือยินดีซึ่งเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนเองไม่สมควรเป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์)

ฝ่ายพระวัชชีบุตรเมื่อไม่ได้การยอมรับจากสงฆ์จึงเสียใจ แล้วพร้อมใจกันไปทำสังคายนา ต่างหากที่เมืองปาฏลีบุตร มีผู้เข้าร่วมถึง 10,000 รูป เรียกตนเองว่ามหาสังคีติหรือมหาสังฆิกะ เพราะเหตุที่มีพวกมาก ในที่สุดสงฆ์จึงได้แตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพระสัพพกามีเถระ และภิกษุชาววัชชีที่เรียกตนเองว่ามหาสังคีติ และในกาลต่อมา จึงแตกออกเป็น 18 นิกาย โดย 7 นิกายที่แตกจากมหาสังฆิกะคือ
นิกายมหาสังฆิกะ โคกุริกะ (กุกกุริกะ) ปัญญัตติวาทะ (ปรัชญาปติวาทะ) พหุสสุติกะ (พหุศรุติยะ) เจติยวาทะ เอกัพโยหาระ (เอกวยวหาริกะ) อุตรเสสิย เกิดเมื่อปี พ.ศ.100-200 ส่วน 11 นิกายที่แตกจากเถรวาท คือ เถรวาทะ (หรือ อรยสถวีรวาทะ) วัชชีปุตตกะ มหิสาสกะ ธรรมมุตตริกะ (ธรรมคุปตะ) สัพพัตถิกวาทะ (สรวาสติวาทะ) กัสสปิกะ (กาศยปิยะ) สังกันติกะ (เสาตรานติกะ) สุตวาทะ สัมมติยะ (วาสสีปุตริยะ) ภัททยานิกะ และจันทคาริกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ.200 เป็นต้นมา

การสังคายนาในครั้งนี้ หลักฐานฝ่ายเถรวาทระบุว่าเป็นการปรารภเหตุเพื่อระงับความแตกแยกทางการปฏิบัติสีลสามัญญตา (ความเสมอกันด้วยศีล) ในกรณีของพระภิกษุชาววัชชีที่ประพฤตินอกพระธรรมวินัยดังกล่าว แต่ในปกรณ์สันสกฤตของฝ่ายมหายานที่มีชื่อว่า เภทธรรมติจักรศาสตร์ กลับชี้ประเด็นไปที่เรื่องความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตาแห่งคณะสงฆ์ มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พระมหาเทวะเป็นผู้สวดปาฏิโมกข์ แต่ท่านผู้นี้เป็นฝ่ายอธรรมวาที ได้เสนอมติ 5 ข้อต่อที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งมีใจความดังนี้

1. พระอรหันต์อาจถูกมารยั่วยวนจนอสุจิเคลื่อนในเวลาหลับได้

2. พระอรหันต์อาจมีอัญญาณคือความไม่รู้ในบางสิ่งได้

3. พระอรหันต์อาจมีกังขาคือความลังเลสงสัยในบางสิ่งได้

4. ผู้จะรู้ว่าตนได้บรรลุมรรคผลชั้นใด จำต้องอาศัยการพยากรณ์จากคนอื่น

5. บุคคลจะบรรลุพระอรหันต์ได้ด้วยการเปล่งวาจาว่า ทุกข์หนอๆ

ฝ่ายธรรมวาทีจึงคัดค้านประกาศทั้ง 5 ข้อของพระมหาเทวะว่า เป็นมิจฉาทิฐิ มิจฉาวาจา แต่ฝ่ายธรรมวาทีมีจำนวนน้อย ฝ่ายเข้าข้างพระมหาเทวะมีจำนวนมากกว่าและเมื่อหาข้อยุติไม่ได้ พระเจ้ากาฬาโศกจึงต้องเสด็จมาห้ามด้วยพระองค์เอง แต่พระองค์ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงตรัสถามพระมหาเทวะ พระมหาเทวะถวายความเห็นให้ตัดสินด้วยวิธีเสียงข้างมาก หรือเยภุยยสิกาอธิกรณสมถวิธี ปรากฏว่าชัยชนะตกเป็นของฝ่ายพระมหาเทวะ พระเจ้ากาฬาโศกจึงประกาศให้สงฆ์ปฏิบัติตามคติของพระมหาเทวะ สงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า จึงพากันจาริกไปสู่แว่นแคว้นอื่น

.....................................................
ขอน้อม กาย วาจา จิต บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในกาลทุกเมื่อ
ในทุกทุกขณะจิต ไม่ว่าจะระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ

https://www.facebook.com/Dhammalungta


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2015, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss tongue :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร