วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


มหานารทกัสสปชาดก

พระมหานารทกัสสปทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

[๘๓๔] พระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า อังคติ

เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ ทรงมีพระราชยาน

พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะนับ

ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒ ขณะปฐมยาม

พระองค์ประชุมเหล่าอำมาตย์ราชบัณฑิต ผู้ถึงพร้อม

ด้วยการศึกษาเล่าเรียน เฉลียวฉลาด ผู้ที่ทรงเคยรู้จัก

ทั้งอำมาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑

สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตอำมาตย์ ๑ แล้วตรัสถามตาม

ลำดับว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวไปตามความพอใจของ

ตน ๆ ว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์

แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้เราทั้งหลายพึงยังฤดูเช่นนี้

ให้เป็นไปด้วยความยินดีอะไร.

[๘๓๕] ลำดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่

พระราชาว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง

จัดพลช้าง พลม้า พลเสนา จะนำชายฉกรรจ์ออกรบ

พวกใดยังไม่มาสู่อำนาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็จะ

นำมาสู่อำนาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า

เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ (ขอเดชะ

ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้เป็นเพียงความ

ความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).

[๘๓๖] สุนามอำมาตย์ได้ฟังคำของอลาตเสนาบดี

แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวกศัตรู

ของพระองค์มาสู่พระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากัน

วางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวัน

มหรสพสนุกสนานยิ่ง การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบ

ใจ ชนทั้งหลายจงรีบนำข้าวน้ำ และของควรเคี้ยวมา

เพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์

ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรำขับร้องการประโคม

เถิด พระเจ้าข้า.

[๘๓๗] วิชยอำมาตย์ได้ฟังคำของสุนามอำมาตย์

แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กามคุณทุก

อย่างบำเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิด

เพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้โดยไม่

ยากเลย ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณ

ทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระบาท วันนี้

เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์ ผู้

เป็นพหูสูตรู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่งท่าน

จะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่า.

[๘๓๘] พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับคำของวิชย-

อำมาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า วันนี้

เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์

ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ซึ่ง

ท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราดีกว่านั้น แม้

เราก็ชอบใจ ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ทุกท่านจงลงมติว่า วันนี้

เราทั้งหลายควรจะเข้าไปหาใครผู้เป็นบัณฑิต รู้แจ้ง

อรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณซึ่งพึงกำจัดความสงสัยของ

พวกเราได้.

[๘๓๙] อลาตเสนาบดี ได้ฟังพระดำรัสของ

พระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า มีอเจลกที่โลก

สมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน อเจลกผู้นี้

ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตรเป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ

เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรเข้าไป

หาเธอ เธอจักกำจัดความสงสัยของเราทั้งหลายได้.

[๘๔๐] พระราชาได้ทรงสดับคำของอลาตเสนา-

บดีแล้ว ได้ตรัสสั่งสารถีว่า เราจะไปยังมฤคทายวัน

ท่านจงนำยานเทียมม้ามาที่นี่.

[๘๔๑] พวกนายสารถีได้จัดพระราชยาน อัน

ล้วนแล้วไปด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถ

พระที่นั่งรองอันขาวผุดผ่อง ดังพระจันทร์ในราตรี ที่

ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแก่พระราชา รถนั้น

เทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว ล้วนมีสีดังสีดอกโกมุท เป็น

ม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่งเรียบประดับด้วยดอกไม้

ทอง พระกลด ราชรถม้า และวีชนี ล้วนมีสีขาว

พระเจ้าวิเทหราชพร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จออกย่อม

งดงามดังพระจันทร์ หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญขี่

บนหลังม้าถือหอกดาบตามเสด็จ พระเจ้าวิเทหราช

มหากษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จถึงมฤคทายวันโดยครู่

เดียว เสด็จลงจากราชยานแล้วทรงดำเนินเข้าไปหา

คุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ก็ในกาลนั้น มี

พราหมณ์และคฤหบดีมาประชุมกันอยู่ในพระราช-

อุทยานนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพระราชา

มิให้ลุกหนีไป.

[๘๔๒] ลำดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับ

นั่งเหนืออาสนะ อันปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อนนิ่ม

ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทรงปราศรัยไต่ถามทุกข์สุข

ว่า ผู้เป็นเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กำเริบเสียดแทง

หรือ ผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑ-

บาตพอเยียวยาชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ ผู้เป็นเจ้ามีอาพาธ

น้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปจากปรกติหรือ.

[๘๔๓] คุณชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหราช

ผู้ทรงยินดีในวินัยว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระ-

พุทธเจ้าสบายดีอยู่ทุกประการ บ้านเมืองของพระองค์

ไม่กำเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ

พาหนะยังพอเป็นไปแหละหรือ พยาธิไม่มีมาเบียด

เบียนพระสรีระของพระองค์แลหรือ.

[๘๔๔] เมื่อคุณาชีวกทูลปราศรัยแล้ว ทันทีนั้น

พระราชาผู้เป็นจอมทัพ ทรงใคร่ธรรมได้ตรัสถาม

อรรถธรรมและเหตุว่าท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติ

ธรรมในมารดาและบิดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมใน

อาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรและภรรยา

อย่างไร พึงประพฤติธรรมในวุฒิบุคคลอย่างไร พึง

ประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์อย่างไร พึง

ประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร และพึงประพฤติ

ธรรมในชนบทอย่างไร ชนทั้งหลายประพฤติธรรม

อย่างไรละโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวก

ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมไฉนจึงตกลงไปในนรก.

[๘๔๕] คุณาชีวกกัสสปโคตร ได้ฟังพระดำรัส

ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

มหาราชา ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของ

พระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาป

ไม่มี ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมา

ในโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจักมีที่ไหนขึ้น

ชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอ

กันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มีกำลัง

หรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่

ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือ

ใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่

ที่ไหน ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ ทานคนโง่

บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด

เป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.

[๘๔๖] รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ

สุข ทุกข์และชีวิต ๘ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่

ขาดสูญ ไม่กำเริบ รูปกาย ๗ ประการนี้ ของสัตว์

เหล่าใด ชื่อว่าขาดไม่มี ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือ

เบียดเบียนใครๆ ไม่มี ศัสตราทั้งหลายพึงเป็นไปใน

ระหว่างรูปกาย ๓ ประการนี้ ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วย

ดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดร่างกายเหล่านั้น ในการ

ทำเช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน สัตว์ทุกจำพวกท่อง

เที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง

เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะสำรวมด้วยดีก็บริสุทธิ์ไม่ได้

เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมาย

ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าแม่กระทำบาปมากมาย ก็ไม่ล่วง

ขณะนั้นไป ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์

ย่อมมีได้โดยลำดับเมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราไม่ล่วงเลย

เขตอันแน่นอนนั้นเหมือนคลื่นไม่ล่วงเลยฝั่งไป ฉะนั้น.

[๘๔๗] อลาตเสนาบดีได้ฟังคำของคุณาชีวก

กัสสปโคตรแล้วได้กล่าวขึ้นว่า ท่านผู้เจริญกล่าวฉันใด

คำนั้นข้าพเจ้าชอบใจฉันนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติ

หนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือในชาติก่อนข้าพเจ้า

เกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นนายพราน

ฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าได้ทำบาปกรรมไว้มาก ได้

ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต คือ กระบือ สุกร แพะ เป็นอันมาก

ข้าพเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดี

อันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องไปนรก.

[๘๔๘] ครั้งนั้น ในมิถิลานครนี้ มีคนเข็ญใจ

เป็นทาสเขาผู้หนึ่ง ชื่อวีชกะ รักษาอุโบสถศีล ได้เข้า

ไปยังสำนักของคุณาชีวกได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวก

และอลาตเสนาบดีกล่าวกันอยู่ ถอนหายใจฮึดฮัด

ร้องไห้น้ำตาไหล.

[๘๔๙] พระเจ้าวิเทหรา ได้ตรัสถามนายวีชกะ

นั้นว่า สหายเอ๋ย เจ้าร้องไห้ทำไม เจ้าได้ฟังได้เห็น

อะไรมาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้

เราทราบ.

[๘๕๐] นายวีชกะได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้า

วิเทหราชแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มีทุกข-

เวทนาเลย ข้าแต่พระมหาราชา ขอได้ทรงพระกรุณา

ฟังข้าพระพุทธเจ้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึง

ความสุขสบายของตนในชาติก่อนได้ คือ ในชาติก่อน

ข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐียินดีในคุณธรรมอยู่

ในเมืองสาเกต ข้าพระพุทธเจ้านั้นอบรมตนดีแล้ว ยิน

ดีในการบริจาคทานแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย

มีการงานอันสะอาด ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึงบาป-

กรรมที่ตนกระทำแล้วไม่ได้เลย.

ข้าแต่พระเจ้าวิเทหราช ข้าพระพุทธเจ้าจุติจาก

ชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสีหญิง

ขัดสนในมิถิลามหานครนี้ จำเดิมแต่เวลาที่เกิดแล้ว

ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะ

เป็นคนยากจนอย่างนี้ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ

ได้ให้อาหารกึ่งหนึ่ง แก่ท่านที่ปรารถนา ได้รักษา

อุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทุกเมื่อ ไม่ได้เบียด

เบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย กรรมทั้งปวงที่

ข้าพระพุทธเจ้าประพฤติดีแล้วนั้นไร้ผลเป็นแน่ ศีลนี้

เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว ข้า

พระพุทธเจ้ากำเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลง

ผู้มิได้ฝึกหัดฉะนั้นเป็นแน่ ส่วนอลาตเสนาบดีย่อมกำ

เอาแต่ชัยชนะไว้ ดังนักเลงผู้ชำนาญการพนัน ฉะนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นประตูอันเป็นเหตุไปสู่สุคติเลย

ข้าแต่พระมหาราชา เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า

ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้.

[๘๕๑] พระเจ้าอังคติราชทรงสดับคำของนาย

วีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า ประตูสุคติไม่มี ยังสงสัยอยู่อีก

หรือวีชกะ ได้ยินว่า สุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่

นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียน

ตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาอย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนแม้

เราก็เป็นผู้กระทำความดี ขวนขวายในพราหมณ์และ

คฤหบดีทั้งหลาย อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนือง ๆ งดเว้น

จากความยินดีในกามคุณตลอดกาลประมาณเท่านี้.

[๘๕๒] ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายจะได้พบกัน

อีก ถ้าเราทั้งหลายจักมีการสมาคมกัน (เมื่อผลบุญ

ไม่มี จะมีประโยชน์อะไรด้วยการพบท่าน) พระเจ้า

วิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จกลับไปยังพระราช

นิเวศน์ของพระองค์.

[๘๕๓] ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่ง

ให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์

แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลายเพื่อเราไว้ในจันทก-

ปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผย

เกิดขึ้น ใคร ๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดใน

ราชกิจ ๓ นาย คือ วิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑

อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น

พระเจ้าวิเทหราชครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ท่าน

ทั้งหลายจงใส่ใจกามคุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายใน

พราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.

[๘๕๔] ตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ ๑๔ ราชกัญญา

พระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาที่โปรดปรานของ

พระเจ้าวิเทหราช ได้ตรัสกะพระพี่เลี้ยงว่า ขอท่าน

ทั้งหลายช่วยประดับให้ฉันด้วย และหญิงสหายทั้ง

หลายของเราก็จงประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์

ฉันจะไปเฝ้าพระชนกนาถ พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัด

มาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดาและผ้า

ต่างๆ สี อันมีค่ามาก มาถวายแก่พระนางรุจาราช-

กัญญา หญิงบริวารเป็นอันมาก ห้อมล้อมพระนางรุจา

ราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณงามผุดผ่อง ประทับนั่งอยู่บน

ตั่งทอง งามโสภาราวกะนางเทพกัญญา.

[๘๕๕] ก็พระนางรุจาราชธิดานั้น ประดับด้วย

เครื่องสรรพาภรณ์เสด็จไป ณ ท่ามกลางหญิงสหาย

เพียงดังสายฟ้าแลบออกจากเมฆ เสด็จเข้าสู่จันทก-

ปราสาท พระราชธิดาเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช

ถวายบังคมพระชนกนาถ ผู้ทรงยินดีในวินัย แล้ว

ประทับอยู่ ณ ตั่งอันวิจิตรด้วยทองคำส่วนหนึ่ง.

[๘๕๖] ก็พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็น

พระนางรุจาราชธิดาผู้ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงสหาย

ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพอัปสร จึงตรัสถามว่า

ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาทและยังประพาสอยู่ใน

อุทยานเล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขา

ยังนำของเสวยมากอย่างมาให้ลูกหญิงเสมอหรือ ลูก-

หญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ชนิด

มาร้อยพวงมาลัยและยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็ก ๆ เล่น

เพลิดเพลินอยู่หรือ ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง เขา

รีบนำสิ่งของมาให้ทันใจลูกอยู่หรือ ลูกรักผู้มีพักตร์

อันผ่องใส จงบอกความชอบใจแก่พ่อเถิด แม่สิ่งนั้น

จะเสมอดวงจันทร์ พ่อก็จักให้เกิดแก่ลูกจนได้.

[๘๕๗] พระนางรุจาราชธิดา ได้สดับพระดำรัส

ของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหา

ราชา กระหม่อมฉันย่อมได้สั่งของทุก ๆ อย่างในสำนัก

ของทูลกระหม่อม พรุ่งนี้ ๑๕ ค่ำ เป็นวันทิพย์ ขอราช

บุรุษทั้งหลายจงนำพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้กระ-

หม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่ให้มาแล้ว.

[๘๕๘] พระเจ้าอังคติราชได้สดับพระดำรัสของ

พระนางรุจาราชธิดาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทำทรัพย์ให้

พินาศเสียเป็นอันมาก หาผลประโยชน์มิได้ ลูกหญิง

ยังรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้ำเป็นนิตย์อยู่

ลูกหญิงไม่พึงบริโภคข้าวน้ำนั้นเป็นนิตย์ เพราะบุญ

ไม่มีจากการไม่บริโภคนั้น แม้วีชกบุรุษได้ฟังคำของ

คุณาชีวกกัสสปโคตรในกาลนั้น แล้วถอนหายใจ

ฮึดฮัด ร้องไห้น้ำตาไหล ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบเท่าที่

ลูกยังมีชีวิตอยู่ อย่าอดอาหารเลย ปรโลกไม่มี ลูกหญิง

จะลำบากไปทำไม ไร้ประโยชน์.

[๘๕๙] พระนางรุจาราชธิดาผู้มีพระฉวีวรรณ

งดงาม ทรงทราบกฏธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต

ชาติ ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชแล้ว

กราบทูลพระชนกนาถว่า แต่ก่อนกระหม่อมฉันได้

ฟังมาเท่านั้น กระหม่อมฉันเห็นประจักษ์เองข้อนี้ว่า

ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาล ผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลง

อาศัยคนหลงย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น อลาตเสนาบดี

และนายวีชกะสมควรจะหลง.

[๘๖๐] ขอเดชะ ส่วนพระองค์มีพระปรีชา ทรง

เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดรู้ซึ่งอรรถ จะทรงเป็นเช่น

กับพวกคนพาล เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้า

สัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ

การบวชของคุณาชีวกก็ไม่มีประโยชน์ คุณาชีวกเป็น

คนหลงงมงาย ย่อมถึงความเป็นคนเปลือย เหมือน

ตั๊กแตนหลงบินเข้ากองไฟ ฉะนั้นคนเป็นอันมากผู้ไม่

รู้อะไร ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกว่า ความหมดจด

ย่อมไม่มีได้ด้วยสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว

จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม โทษคือความ

ฉิบหายที่ยึดไว้ผิดในเบื้องต้น ก็ยากที่จะเปลื้องได้

เหมือนปลาติดเบ็ด ยากที่จะเปลื้องตนออกจากเบ็ดได้

ฉะนั้น.

[๘๖๑] ข้าแต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันจักยก

ตัวอย่างมาเปรียบถวายเพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม

บัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้บางพวกย่อมรู้เนื้อความได้

ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนเรือของพ่อค้า บรรทุกสินค้า

หนักเกินประมาณ ย่อมนำสินค้าอันหนักยิ่งไปจมลง

ในมหาสมุทร ฉันใด นรชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อย ๆ

ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่ง ไปจมลงในนรก ฉะนั้น

ทูลกระหม่อมเพคะ อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดี

ยังไม่บริบูรณ์ก่อน อลาตเสนาบดียังสั่งสมบาปอันเป็น

เหตุให้ไปสู่ทุคติอยู่ ขอเดชะการที่อลาตเสนาบดีได้รับ

ความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนได้ทำไว้แล้วใน

ปางก่อนนั่นเอง บุญของอลาตเสนาบดีนั้นจะหมดสิ้น

อลาตเสนาบดีจึงมายินดีในอกุศลกรรมอันไม่ใช่คุณ

หลีกละทางตรงเดินไปตามทางอ้อม นรชนสั่งสมบุญ

ไว้แม้ทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่เทวโลก เหมือนวีชกบุรุษ

ผู้เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ได้

เปรียบเหมือนตาชั่งที่กำลังชั่งของ ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง

เมื่อเอาของหนักออกเสีย ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้นฉะนั้น.

นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะ

ได้เสพบาปกรรม ที่ตนกระทำไว้ในปางก่อน บาป

ของเขาจะหมดสิ้น เขาจึงมายินดีในวินัยอย่างนั้น ทูล

กระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก ทรงดำเนินทาง

ผิดเลยเพคะ.

[๘๖๒] ข้าแต่พระราชบิดา บุคคลคบคนเช่น

ใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีลหรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อม

ตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใด

ให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อม

เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น

ได้ ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัย

ผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง

ฉะนั้น.

นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย

เพราะกลัวจะแปดเปื้อน การเสพคนพาล ย่อมเป็น

เหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่น

เหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น ส่วนการคบหาสมาคมกับนัก

ปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม

แม่ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น เพราะฉะนั้น

บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังรบไม้สำหรับห่อ

จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ

อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

[๘๖๓] แม้กระหม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนได้

ท่องเที่ยวมาแล้วได้ ๗ ชาติ และระลึกชาติที่ตนจุติ

จากชาตินี้แล้วจักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ ข้าแต่

พระจอมประชาชน ชาติที่ ๗ ของกระหม่อมฉันใน

อดีต กระหม่อมฉันเกิดเป็นบุตรนายช่างทองใน

แคว้นมคธ ราชคฤห์มหานคร กระหม่อมฉันได้คบหา

สหายผู้ลามก ทำบาปกรรมไว้มาก เที่ยวคบชู้ภรรยา

ของชายอื่นเหมือนจะไม่ตาย กรรมนั้นยังไม่ให้ผล

เหมือนไฟอันเถ้าปกปิดไว้.

ในกาลต่อมา ด้วยกรรมอื่นๆ กระหม่อมฉันนั้น

ได้เกิดในวังสรัฐเมืองโกสัมพี เป็นบุตรเดียวในสกุล

เศรษฐีผู้สมบูรณ์ มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมาย คนทั้งหลาย

สักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ ในชาตินั้น กระหม่อมฉัน

ได้คบหาสมาคมมิตรสหายผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้

เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต เขาได้แนะนำให้กระหม่อม-

ฉันรักษาอุโบสถศีลในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ตลอดราตรี

เป็นอันมาก กรรมนั้นยังไม่ให้ผล ดังขุมทรัพย์ที่ฝัง

ไว้ใต้น้ำ.

ครั้นภายหลัง บรรดาบาปกรรมทั้งหลาย ปรทา-

รกกรรมอันใดที่กระหม่อมฉันได้กระทำไว้ในมคธรัฐ

ผลแห่งกรรมนั้นมาถึงกระหม่อมฉันแล้ว เหมือนดื่ม

ยาพิษอันร้ายแรง ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ครอง

วิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีนั้นแล้ว

ต้องหมกไหม้อยู่ในโรรุวนรกสิ้นกาลนาน เพราะกรรม

ของตน กระหม่อมฉันระลึกถึงทุกข์ที่ได้เสวยในนรก

นั้น ไม่ได้ความสุขเลย กระหม่อมฉันยังทุกข์เป็นอัน

มากให้สิ้นไปในนรกนั้นนานปี แล้วเกิดเป็นลาถูกเขา

ตอนอยู่ในภินนาคตะมหานคร.

[๘๖๔] กระหม่อมฉัน (เมื่อเกิดเป็นลา) ต้อง

พาลูกผู้ดีทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็น

ผลกรรม คือ การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาของผู้

อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติ

จากชาติเป็นลานั้นแล้ว ไปบังเกิดเป็นลิงในป่าใหญ่

ถูกนายฝูงผู้คะนองขบกัดลูกอัณฑะ นั่นเป็นผลแห่ง

กรรม คือ การที่กระหม่อนฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น

ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจาก

ชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นโคในทสันนรัฐ ถูกเขา

ตอน มีกำลังแข็งแรง กระหม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่

สิ้นกาลนาน นั่นเป็นผลของกรรม คือ การที่กระหม่อม

ฉันคบชู้ภรรยาของผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ

กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว มาบังเกิดเป็น

กระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะ

ได้เกิดเป็นมนุษย์ยากจริง ๆ นั่นเป็นผลแห่งกรรม คือ

การที่กระหม่อมฉันคบชู้ภรรยาผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้

ครองวิเทหรัฐ กระหม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกระเทย

นั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดเป็นนางอัปสรในนันทนวัน ณ

ดาวดึงส์พิภพ มีวรรณะน่าใคร่ มีผ้าและอาภรณ์อัน

วิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำ

ขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ

ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ เมื่อกระหม่อมฉัน

อยู่ในดาวดึงส์พิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้อีก

๗ ชาติ ที่กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้นแล้ว

จักไปเกิดต่อไป กุศลที่กระหม่อมฉันกระทำไว้ในเมือง

โกสัมพีตามมาให้ผล กระหม่อมฉันจุติจากดาวดึงส์

พิภพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ข้า

แต่พระมหาราชา กระหม่อมฉันเป็นผู้อันชนทั้งหลาย

สักการะบูชาแล้วเป็นนิตย์ตลอด ๗ ชาติ กระหม่อมฉัน

ไม่พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ ข้าแต่พระองค์

ผู้ประเสริฐ ชาติที่ ๗ กระหม่อมฉันจักได้เกิดเป็น

เทวดาผู้ชาย เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิมาก เป็นผู้สูงสุด

ในหมู่เทวดา แม้วันนี้ นางอัปสรทั้งหลายก็ยังร้อย

ดอกไม้เป็นพวงมาลัยอยู่ในนันทนวัน เทพบุตรนามว่า

ชวะ สามีของกระหม่อมฉัน ยังรับพวงมาลัยอยู่ ๑๖ ปี

ในมนุษย์นี้ราวครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีในมนุษย์เป็น

คนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาดังที่ได้กราบทูลให้ทรงทราบ

มานี้ กรรมทั้งหลายย่อมติดตามไปทุก ๆ ชาติแม้ตั้ง

อสงไขย ด้วยว่ากรรมจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม

(อันบุคคลทำแล้ว) ย่อมไม่พินาศไป.

[๘๖๕] ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุก ๆ ชาติไป

ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาด

แล้วเว้นเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษ

ทุก ๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามีเหมือนนางเทพอัปสร

ผู้เป็นบาทบริจาริกา ยำเกรงพระอินทร์ฉะนั้น ผู้ใด

ปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ ก็

พึงเว้นบาปทั้งหลาย ประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง

สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยกาย

วาจา ใจ มีปัญญาเครื่องพิจารณาเพื่อประโยชน์ของตน.

นรชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ

มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง นรชนเหล่านั้นได้สั่งสม

กรรมดีไว้ในปางก่อนแล้วโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้ง

ปวงล้วนมีกรรมเป็นของตัว ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

ขอพระองค์ทรงพระราชดำริด้วยพระองค์เองเถิด ข้า

แต่พระจอมชน พระสนม (ผู้ทรงโฉมงดงาม) ปาน

ดังนางเทพอัปสรผู้ประดับคลุมกายด้วยร่างแหทอง

เหล่านี้ พระองค์ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร

พระนางรุจาราช กัญญา ทรงยังพระเจ้าอังคติราช

พระชนกนาถให้ทรงยินดี พระราชกุมารีผู้มีวัตรอัน

ดีงามกราบทูลทางสุคติแก่พระชนกนาถ ดังหนึ่งบอก

ทางให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวาย

โดยนัยต่าง ๆ ดังนี้แล.

[๘๖๖] ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพู

ทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราช ผู้ทรงมีความเห็นผิด

จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารท-

มหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์แห่ง

พระเจ้าวิเทหราช พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษี

นั้นมาถึง จงนมัสการ.

[๘๖๗] ครั้งนั้น พระราชาทรงหวาดพระทัย

เสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารทฤาษี ได้

ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ท่านมีผิวพรรณงามดังเทวดา ส่อง

รัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ ท่านมาจากไหน

หนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตร

แก่ข้าพเจ้า คนในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านอย่างไรหนอ.

[๘๖๘] อาตมภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง ส่อง

รัศมีสว่างจ้าไปทั่วทิศดังพระจันทร์ มหาบพิตรตรัส

ถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้

ทรงทราบ คนทั้งหลายเขารู้จักอาตมภาพโดยนาม

นารทะ และโดยโคตรว่ากัสสปะ.

[๘๖๙] สัณฐานของท่านและการที่ท่านเหาะไป

และยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ดูก่อนท่านนารทะ

ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เออเพราะเหตุอะไร

ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้.

[๘๗๐] คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑

ธรรมะ ๑ ทมะ ๑ จาคะ ๑ อาตมภาพได้ทำไว้แล้วใน

ภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อาตมาภาพเสพมาดีแล้วนั้น

แล อาตมภาพจึงไปไหน ๆ ได้ตามความปรารถนา

เร็วทันใจ.

[๘๗๑] เมื่อท่านบอกความสำเร็จแห่งบุญ ชื่อว่า

ท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าแลเป็นจริงอย่างท่านกล่าว

ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน

ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี.

[๘๗๒] ขอถวายพระพร ข้อใดพระองค์ทรง

สงสัย เชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกะอาตมภาพเถิด

อาตมภาพจะถวายวิสัชนาให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัย

ด้วยนัย ด้วยญายธรรม และด้วยเหตุทั้งหลาย.

[๘๗๓] ดูก่อนท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อ

ความนี้กะท่าน ท่านถูกถามแล้ว อย่าได้กล่าวมุสาแก่

ข้าพเจ้า ที่คนเขาพูดกันว่า เทวดามี มารดาบิดามี

ปรโลกมีนั้น เป็นจริงหรือ.

[๘๗๕] ที่คนเขาพูดกันว่าเทวดามี มารดาบิดามี

และปรโลกมีนั้นเป็นจริงทั้งนั้น แต่นรชนผู้หลงงมงาย

ใคร่ในกามทั้งหลายจึงไม่รู้ปรโลก.

[๘๗๕] ดูก่อนท่านนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลก

มีจริง สถานที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้ว

ก็ต้องมี ขอท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า

ในโลกนี้ ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่านพันหนึ่งในปรโลก.

[๘๗๖] ถ้าอาตมภาพรู้ว่ามหาบพิตรทรงมีศีล

ทรงรู้ความประสงค์ของสมณพราหมณ์ อาตมภาพก็จะ

ให้มหาบพิตรทรงยืมสักห้าร้อน แต่มหาบพิตรหยาบช้า

ทรงจุติจากโลกนี้แล้ว จะต้องไปอยู่ในนรก ใครจะไป

ทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกเล่า ผู้ใดในโลกนี้เป็นผู้

ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว เกียจคร้าน มีกรรมอัน

หยาบช้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้หนี้ในผู้นั้น เพราะ

จะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น ส่วนบุคคลผู้ขยัน

หมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ คนทั้งหลายรู้แล้ว

ย่อมเอาโภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า ผู้นี้ทำ

การงานเสร็จแล้ว พึงนำมาใช้ให้.

[๘๗๗] ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไป

จากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ใน

นรกนั้น ซึ่งถูกฝูงการุมยื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะ

ไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรผู้ตกอยู่

ในนรก ถูกฝูงกา ฝูงแร้ง ฝูงสุนัขรุมกัดกิน ตัวขาด

กระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม.

[๘๗๘] ในโลกันตนรกนั้นมืดที่สุด ไม่มีพระ-

จันทร์และพระอาทิตย์ โลกันตนรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อ

น่ากลัว กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์

คนไรเล่า จะพึงเที่ยวไปในสถานที่เช่นนั้นได้.

[๘๗๙] ในโลกันตนรกนั้นมีสุนัข ๒ เหล่า คือ

ด่างเหล่า ๑ ดำเหล่า ๑ ล้วนมีร่างกายกำยำ ล่ำสัน

แข็งแรง ย่อมพากันมากัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้

ไปตกอยู่ในโลกันตนรก ด้วยเขี้ยวเหล็ก ใครเล่าจะไป

ทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตรผู้ตกอยู่ใน

นรก ถูกสุนัขอันทารุณร้ายกาจ นำทุกข์มาให้ รุม

กัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

[๘๘๐] และในนรกอันร้ายกาจ พวกนายนิรย-

บาลชื่อกาลูปกาละ ผู้เป็นข้าศึก พากันเอาดาบและ

หอกอันคมกริบมาทิ่มแทงนรชนผู้กระทำกรรมชั่วไว้ใน

ภพก่อน ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก

กะมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงที่ท้อง ที่สีข้างพระอุทรพรุน

วิ่งวุ่นอยู่ในนรก ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหล

โทรมได้.

[๘๘๑] ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนต่าง ๆ ชนิด

คือ หอก ดาบ แหลน หลาว มีประกายวาวดังถ่าน

เพลิง ตกลงบนศีรษะ สายอัสนีศิลาอันแดงโชน ตก

ต้องสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบช้า และในนรกนั้นมีลม

ร้อนยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้น ย่อมไม่ได้รับ

ความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์พัน

หนึ่งในปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งทรงกระสบกระส่าย

วิ่งไปมาหาที่ซ่อนเร้นมิได้.

[๘๘๒] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน

ปรโลก กะมหาบพิตรผู้ถูกเทียมในรถวิ่งไปวิ่งมา ต้อง

เหยียบแผ่นดินอันลุกโพลงถูกแทงด้วยประตักอยู่ได้.

[๘๘๓] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน

ปรโลกกะมหาบพิตรซึ่งทนไม่ได้ วิ่งไปขึ้นภูเขาอัน

ดาดไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง

ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้.

[๘๘๔] ใครเล่า จะไปทวงทรัพย์พันหนึ่งใน

ปรโลกกะมหาบพิตร ซึ่งต้องวิ่งขึ้นเหยียบถ่านเพลิง

กองเท่าภูเขา ลุกโพลงน่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่

ไหวร้องครวญครางอยู่ได้.

[๘๘๕] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เค็มไปด้วยหนาม

เหล็ก คมกริบ กระหายเลือดคน หญิงผู้ประพฤติล่วง

สามี และชายผู้คบหากระทำชู้ภรรยาผู้อื่น ลูกนาย

นิรยบาลผู้ทำตามสั่งของพระยายม ถือหอกไล่ทิ่มแทง

ให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์ จำนวนนั้น

กะมหาบพิตร ซึ่งต้องขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหล

เปรอะเปื้อน มีกายเหี้ยมเกรียมหนังปอกเปิก กระสับ

กระส่ายเสวยเวทนาอย่างหนัก ใครเล่าจะไปขอทรัพย์

จำนวนเท่านั้นกะพระองค์ผู้หอบแล้วหอบอีก อันเป็น

โทษของบุรพกรรม หนึ่งปอกเปิกเดินทางผิดได้.

[๘๘๖] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็ก

คมกริบดังดาบ กระหายเลือดคน ใครเล่าจะไปทวง

ทรัพย์พันหนึ่งในปรโลก กะมหาบพิตรซึ่งขึ้นอยู่บน

ต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบใบเหล็กอันคมดังดาบ ก็ถูก

ใบงิ้วอันคมนั้นบาด มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือด

ไหลโทรมได้.

[๘๘๗] ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์จำนวนนั้นกะ

มหาบพิตร ซึ่งเดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้ว มีใบเป็น

ดาบ ไปพลัดตกลงในแม่น้ำเวตรณีได้.

[๘๘๙] ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด

ข้าพเจ้าหลงสำคัญผิดจึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤาษีข้าพเจ้า

ได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้วย่อมร้อนใจ เพราะกลัว

มหาภัย ท่านฤาษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

ดังหนึ่งน้ำสำหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เกาะเป็นที่

อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปสำหรับส่องสว่าง

ในที่มืดฉะนั้นเถิด ท่านฤาษี ขอท่านจงสอนอรรถ

และธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อนข้าพเจ้าได้กระทำ

ความผิดไว้ส่วนเดียว ข้าแต่ท่านนารทะ ขอท่านจง

บอกทางบริสุทธิแก่ข้าพเจ้า โดยที่ข้าพเจ้าจะไม่พึงตก

ไปในนรกด้วยเถิด.

[๘๙๐] พระราชา พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ

ท้าวเวสสามิตระ ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าว

อุสสินนระ ท้าวสีวิราชและพระราชาพระองค์อื่น ๆ ได้

ทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์

ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้

มหาบพิตรดีฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประ-

พฤติธรรม ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศ

ภายในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่าใครหัว

ใครกระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนา

เครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จักนุ่งผ้าสีต่าง ๆ

ตามปรารถนา ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้า

อย่างเนื้ออ่อนอย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้

ในพระนครของพระองค์ ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า

มหาบพิตรอย่าได้ใช้คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชรา

เหมือนดังก่อน และจงพระราชทานเครื่องบริหารแก่

บุคคลที่เป็นกำลัง เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.

[๘๙๑] มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของ

พระองค์ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นนายสารถี กระปรี้

กระเปร่า (เพราะปราศจากถิ่นมิทธะ) อันมีอวิหิงสา

เป็นเพลาที่เรียบร้อยดี มีการบริจาคเป็นหลังคามีการ

สำรวมเท่าเป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการ

ความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอัน

บริบูรณ์ มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นเข้าหน้าไม้

ความเงียบสนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอัน

บริบูรณ์ มีการไม่กล่าวคำส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้

สนิท มีการกล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยง

เกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มี

ศรัทธาและอโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตน

และกราบไหว้เป็นกูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ

มีการสำรวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธ

เป็นอาการไม่กระเทือน มีกุศลธรรมเป็นเศวตฉัตร มี

พาหุสัจจะเป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มี

ความคิดเครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้า

เป็นไม้ค้ำ มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก

มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่อง

ลาด มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติ

ของนักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบัง

เหียน มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเป็นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็น

เครื่องนำทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด

ส่วนความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญา

เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของ

มหาบพิตรที่กำลัง แล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส

พระองค์นั้นแลเป็นสารภี ถ้าความประพฤติชอบและ

ความเพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่

ทุกอย่างจะไม่นำไปบังเกิดในนรก.

[๘๙๒] อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนาม-

อำมาตย์เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นพระสารีบุตร

วีชกบุรุษเป็นพระโมคคัลลานะ คุณาชีวกผู้อเจลก

เป็นสุนักขัตตลิจฉวีบุตร พระนางรุจาราชธิดาผู้ทรง

ยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์ พระเจ้า

อังคติราชผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ

มหานารทพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลาย

จงทรงชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.

จบมหานารทกัสสปชาดกที่ ๘



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร