วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 136, 137, 138, 139, 140, 141, 142 ... 179  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สลายด้วยศัพย์สำเนียงแห่งม้ารถและดุริยางค์ดนตรีเป็นต้น นักปราชญ์ทั้ง ๔ คือ
เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ เทวินทะได้ยินเสียงโห่ร้องโกลาหลไม่รู้เรื่อง ก็
เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เสียงโห่ร้องอื้ออึง
มาก ก็แต่ข้าพระองค์ไม่ทราบเสียงนั่นเป็นเสียงอะไร ควรที่จะทรงพิจารณ์ให้
ทราบเรื่อง พระเจ้าวิเทหราชได้ทรงสดับคำของอาจารย์ทั้ง ๔ ก็ทรงคิดว่า

พระเจ้าพรหมทัตจักเสด็จมาแล้ว จึงเปิดพระแกลทอดพระเนตร ก็ทรงทราบว่า
เสด็จมาแล้ว ทั้งกลัวทั้งตกพระหฤทัย ทรงเห็นชัดว่า ชีวิตของเราไม่มีละ
พรุ่งนี้พระเจ้าพรหมทัตจักยังพวกเราทั้งมวลให้สิ้นชีวิต ทรงเห็นฉะนี้ก็ประทับ
นั่งตรัสอยู่กับอาจารย์ทั้ง ๔ ส่วนพระโพธิสัตว์รู้ว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสด็จ
มาถึงแล้ว เป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามดุจราชสีห์ จัดการรักษาในพระนครทั้งสิ้นแล้ว

คิดว่า เราจักเล้าโลมพระราชาจึงขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ ถวายบังคมพระราชา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหราชทอดพระเนตรเห็นมโหสถมา
เฝ้าก็ค่อยสบายพระหฤทัย ทรงดำริว่า คนอื่นยกมโหสถบัณฑิตผู้บุตรของเรา
จะชื่อว่าสามารถเปลื้องเราจากทุกข์ ย่อมไม่มี เมื่อจะรับสั่งกับมโหสถ ได้ตรัส
คาถาแรกในมหาอุมมังคชาดกนี้ว่า

ดูก่อนพ่อมโหสถ พระเจ้าจุลนีพรหมทัตเจ้ากรุง
ปัญจาละเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่
เหล่า กองทัพของพระเจ้ากรุงปัญจาละนี้นั้นพึง
ประมาณไม่ได้ มีกองช่างโยธา กองราบ ล้วนแต่
ฉลาดในสงครามทั้งปวง สามารถจะนำข้าศึกมาได้ มี
เสียงอื้ออึง ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียง
สังข์.


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ มีธงเกลื่อน
กล่นด้วยช้างม้า สมบูรณ์ด้วยเหล่าคนมีศิลป์ ตั้งมั่น
ด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้แกล้วกล้า.
กล่าวกันว่า ในกองทัพนี้ มีราชบุรุษ ๑๐ คนเป็น
ผู้ฉลาด มีปัญญา ประชุมปรึกษากันในที่ลับ พระ-
ชนนีของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเป็นที่ ๑๑ ย่อมทรงสั่ง
สอนชาวปัญจาลนคร.

ที่นั้น บรรดาชนเหล่านี้ พระราชาร้อยเอ็ดผู้
เรืองยศ ตามเสด็จพระเจ้าปัญจาลราช ถูกชิงแว่นแคว้น
กลัวมรณภัย ตกอยู่ในอำนาจของชาวปัญจาลนคร.
เป็นผู้ทำตามพระราชกระแสที่ดำรัส ไม่มีความ
ปรารถนาก็จำต้องกล่าวคำเป็นที่รัก ตามเสด็จพระเจ้า-
ปัญจาลราช เป็นผู้มีอำนาจมาก่อน ไม่มีความปรารถนา
ก็ต้องอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราช.

กรุงมิถิลาถูกกองทัพนั้นแวดล้อมเป็น ๓ ชั้น
ราชธานีของชาววิเทหรัฐถูกขุดเป็นคูโดยรอบ.
กองทัพที่แวดล้อมกรุงมิถิลาโดยรอบนั้นปรากฏ
เหมือนดาวบนท้องฟ้า ดูก่อนพ่อมโหสถ พ่อจงรู้ว่า
พวกเราจักพ้นทุกข์ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพเสนาย ความว่า ดูก่อนพ่อมโหสถ
ได้ยินว่า พระเจ้าจุลนีเสด็จยาตราทัพมาพร้อมด้วยกองทัพทุกหมู่เหล่า นับได้
๑๘ อักโขภิณี มีพระราชาร้อยเอ็ดเป็นผู้นำ. บทว่า ปญฺจาลิยา ได้แก่
เป็นของมีอยู่ของพระเจ้าปัญจาลราช. บทว่า วิทฺธิมตี ความว่า ประกอบ
ด้วยกำลังของช่างไม้ผู้เที่ยวแบกทัพสัมภาระที่นำมาเพื่อการช่าง. บทว่า
ปตฺติมตี ได้แก่ อันบุรุษผู้ถือเอาสิ่งประเสริฐน้อยใหญ่รักษาแล้ว. บทว่า


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สพฺพสงฺคามโกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในสงครามทั้งปวง. บทว่า โอหารินี
ความว่า สามารถแอบเข้าไปในกองทัพไม่มีใครเห็น ตัดศีรษะข้าศึกนำมาได้.
บทว่า สทฺทวตี ได้แก่ ไม่สงัดจากเสียง ๑๐ ประการ. บทว่า เภริสงฺ-
ขปฺปโพธนา ความว่า ในที่นั้นไม่สามารถจะให้รู้ด้วยคำสั่งว่า จงมา จงรุก
จงรบ จงอย่าไปเป็นต้น แต่กิจเช่นนั้นจะให้รู้กันได้ในที่นี้ ด้วยเสียงกลองและ

ด้วยเสียงสังข์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ยังกันและกันให้รู้ด้วยเสียงกลองและเสียงสังข์.
บทว่า โลหวิชฺชา ในบาทคาถาว่า โลหวิชฺชา อลงฺการา นี้นั้น เป็น
ชื่อของโล่เช่นเสื้อเกราะหมวกเกราะเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ
เป็นศิลปโลหะ. บทว่า อลงฺการา ได้แก่ เป็นเครื่องประดับของพระราชา
และมหาอมาตย์ของพระราชาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ในบาทคาถานี้จึงมีเนื้อความ

ดังนี้ว่า ชื่อว่ามีวิทยาทางโลหธาตุ มีเครื่องประดับ เพราะสว่างไสวไปด้วย
วิทยาทางโลหธาตุและด้วยเครื่องประดับ. บทว่า ธชนี ความว่า ประกอบ
ด้วยธงทั้งหลายที่ยกขึ้นบนรถเป็นต้น ซึ่งประดับด้วยทอง เป็นต้น รุ่งเรืองด้วย
วัตถุต่าง ๆ . บทว่า วามโรหินี ความว่า ทหารเหล่านั้นท่านเรียกว่า วามโรหินี

เพราะเมื่อขึ้นช้างขึ้นม้า ย่อมขึ้นข้างซ้าย ประกอบด้วยทหารเหล่านั้น คือ
เกลื่อนกล่นไปด้วยช้างและม้าซึ่งประมาณมิได้. บทว่า สิปฺปิเยหิ ความว่า
สมบูรณ์ด้วยดี คือเกลื่อนกล่นด้วยเหล่าทหารที่ถึงความสำเร็จในศิลปะ ๑๘
อย่างมีหัตถีศิลปะและอัศวศิลปะเป็นต้น. บทว่า สูเรหิ ความว่า แน่ะพ่อ

ได้ยินว่า กองทัพนี้ตั้งมั่นด้วยดีด้วยเหล่าทหารผู้มีความบากบั่นเสมอด้วยราชสีห์.
บทว่า อาหุ ความว่า กล่าวกันว่าในกองทัพนี้มีบัณฑิต ๑๐ คน. บทว่า
รโหคตา ความว่า มีปกติไปในที่ลับ คือมีปกตินั่งปรึกษากันในที่ลับ เล่า
กันว่า บัณฑิตเหล่านั้นเมื่อได้คิดกันวันสองวัน ก็สามารถจะกลับเอาแผ่นดิน
ขึ้นตั้งไว้ในอากาศได้. บทว่า เอกาทสี ความว่า ได้ยินว่า พระชนนีของ


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2019, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าจุลนีนั้น ประกอบด้วยปัญญายิ่งกว่าบัณฑิต ๑๐ คนนั้น พระชนนีนั้น
เป็นคนฉลาดที่ ๑๑ ของบัณฑิตเหล่านั้น สั่งสอนพร่ำสอนกองทหารปัญจาละ.

เล่ากันมาว่า วันหนึ่งมีบุรุษคนหนึ่งถือข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุก
หนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน คิดจะข้ามแม่น้ำ ก็ลงถึงท่ามกลางแม่น้ำ
ไม่อาจจะข้ามได้ จึงกล่าวกะชนทั้งหลายผู้ยืนอยู่ริมฝั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ข้าวสารหนึ่งทะนาน ข้าวสุกหนึ่งห่อ และกหาปณะหนึ่งพัน ของ

ข้าพเจ้ามีอยู่ในมือ บุคคลผู้สามารถยังข้าพเจ้าให้ได้ข้ามจากฝั่งนี้ ข้าพเจ้าจัก
ให้สิ่งที่ข้าพเจ้าชอบใจซึ่งมีอยู่ในมือ ลำดับนั้น มีบุรุษหนึ่งถึงพร้อมด้วยกำลัง
นุ่งผ้ามั่นแล้วข้ามลงสู่แม่น้ำ จับแขนบุรุษนั้นให้ข้ามลงไปแล้วกล่าวว่า ท่าน
จงให้สิ่งที่ควรให้แก่ข้าพเจ้า บุรุษนั้นกล่าวตอบว่า ท่านจงถือเอาข้าวสารหนึ่ง
ทะนานหรือข้าวสุกหนึ่งห่อ บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่คิดชีวิต
พาท่านข้ามฟาก ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยของสองสิ่งนั้น ท่านจงให้กหาปณะ

แก่ข้าพเจ้า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจนั้นจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้พูดว่า ข้าพเจ้า
จะให้สิ่งที่ชอบใจจากของ ๓ อย่างแก่ท่าน บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ให้สิ่งที่ข้าพเจ้า
ชอบใจแก่ท่าน ท่านอยากได้ก็จงถือเอา บุรุษผู้พาข้ามฟากจึงพูดแก่บุคคล
ผู้หนึ่งผู้ยืนอยู่ใกล้ บุคคลผู้นั้นก็กล่าวตอบว่า บุรุษผู้ว่าจะให้ของชอบใจให้
ของที่ชอบใจแก่ท่าน ท่านรับเอาเถิด บุรุษผู้พาข้ามฟากกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เอา

แล้วพาบุรุษผู้จะให้ของชอบใจไปสู่ที่วินิจฉัย แจ้งแก่อมาตย์ผู้วินิจฉัยทั้งหลาย
ฝ่ายอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้นได้ฟังข้อความทั้งปวงก็วินิจฉัยอย่างนั้น บุรุษผู้พา


+ ผูกมิตรด้วยการให้ ผู้ใจด้วยความดี อยากมีดีก็ต้องสร้างสมกันเอง
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้ามฟากไม่ยินดีด้วยวินิจฉัยแห่งอมาตย์เหล่านั้น จึงกราบทูลพระราชา ฝ่าย
พระราชาจุลนีให้เรียกอมาตย์ผู้วินิจฉัยเหล่านั้นมา ทรงฟังคำของชนทั้ง ๒ แต่
สำนักอมาตย์ผู้วินิจฉัย เมื่อไม่ทรงทราบจะวินิจฉัยอย่างอื่น จึงทรงวินิจฉัย
ทับสัตย์ บุรุษผู้พาข้ามฟากได้ฟังพระราชวินิจฉัยดังนั้น ก็พูดขึ้นหน้าพระที่นั่งว่า
พระองค์ทำข้าพระองค์ผู้สละชีวิตลงสู่แม่น้ำให้มีโทษ ขณะนั้น พระชนนีแห่ง

พระเจ้าจุลนีมีพระนามว่าสลากเทวี ประทับนั่งอยู่ใกล้ ทรงทราบความที่พระ-
ราชาวินิจฉัยผิด จึงตรัสว่า พ่อวินิจฉัยคดีที่วินิจฉัยผิดดีแล้วหรือ พระเจ้า
จุลนีทูลพระราชมารดาว่า ข้าพระเจ้าทราบเท่านี้ ถ้าว่าพระมารดาทรงทราบ
ยิ่งกว่านี้ไซร้ ขอได้ทรงวินิจฉัยอีกเถิด พระนางสลากเทวีจึงรับสั่งว่า ดีล่ะพ่อ
แม่จะวินิจฉัย จึงรับสั่งให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจมาแล้วตรัสว่า

เจ้าจงมา จงวางของ ๓ อย่างที่เจ้าถืออยู่ไว้ที่ภาคพื้น แล้วตรัสถามว่า เมื่อ
เจ้าลอยอยู่ในน้ำ เจ้าพูดว่ากระไรกะบุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากคนนี้ ครั้นบุรุษผู้ว่า
จะให้ของที่ชอบใจทูลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงถือ
เอาของที่เจ้าชอบใจของเจ้า ณ บัดนี้ บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจจึงถือเอาถุง
กหาปณะหนึ่งพัน ลำดับนั้น พระนางจึงให้เรียกบุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบใจ

มาในกาลเมื่อเดินไปได้หน่อยหนึ่ง ตรัสถามว่า เจ้าชอบกหาปณะหนึ่งพันหรือ
ครั้นได้ทรงฟังทูลตอบว่า ชอบกหาปณะหนึ่งพัน พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เจ้า
พูดกะบุรุษผู้พาข้ามฟากนี้ว่า เราจักให้ของที่ชอบใจจากของ ๓ อย่างนี้แก่เขา
หรือไม่ได้พูด ครั้นได้ทรงฟังตอบว่า ได้พูด จึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจง

ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษผู้พาเจ้าข้ามฟากนี้นั่นแล บุรุษผู้ว่าจะให้ของที่ชอบ
ใจได้ฟังพระวินิจฉัยฉะนั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญได้ให้กหาปณะหนึ่งพันแก่บุรุษ
ผู้พาตนข้ามฟากนั้น ขณะนั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตและอมาตย์ทั้งหลายยินดี
ในพระวินิจฉัยนั้นต่างแซ่ซ้องสาธุการ จำเดิมแต่นั้น ความที่พระนางเจ้าสลาก-
เทวีพระราชชนนีของพระเจ้าจุลนีเป็นผู้เป็นไปด้วยพระปัญญา ก็บังเกิดปรากฏ

ในที่ทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงหมายเอาพระนางเจ้าองค์นี้ จึงตรัสว่า มาตา
เอกาทสี เป็นต้น.


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ขตฺยา ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลาย. บทว่า อจฺฉินฺนรฏฺฐา
ความว่า ถูกพระเจ้าจุลนีพรหมทัตชิงแว่นแคว้นยึดครอง. บทว่า พฺยถิตา
ความว่า กลัวแต่มรณภัย ไม่ทรงเห็นสิ่งอื่นที่จะพึงถือเอา. บทว่า ปญฺจาลีนํ
วสํ คตา ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าปัญจาลราชนี้ ก็บทนี้เป็น
ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า ยํ วทา ตกฺกรา ความว่า

อาจกระทำตามพระราชกระแสที่ตรัส. บทว่า วสิโน คตา ความว่า เมื่อ
ก่อนมีอำนาจเอง แต่เดี๋ยวนี้อยู่ในอำนาจของพระเจ้าจุลนี. บทว่า ติสนฺธิ
ความว่า ถูกล้อมด้วยกำแพง ๔ เหล่านี้คือ ถูกล้อมด้วยกำแพง คือ ช้างเป็น
ชั้นแรก ถัดนั้นล้อมด้วยกำแพงคือรถ ถัดนั้นล้อมด้วยกำแพงคือม้า ถัดนั้น

ล้อมด้วยกำแพงคือพลราบ ชื่อว่าล้อม ๓ ชั้น คือระหว่างกองช้างกับกองรถ
เป็นชั้น ๑ ระหว่างกองรถกับกองม้าเป็นชั้น ๑ ระหว่างกองม้ากับกองพลราบ
เป็นชั้น ๑. บทว่า ปริกฺขญฺญติ ความว่า บัดนี้ นครนี้ถูกขุดโดยรอบ
เหมือนเขาประสงค์จะยกขึ้นถือไป. บทว่า อุทฺธํ ตารกชาตาว ความว่า
กองทัพที่ล้อมรอบกรุงมิถิลานั้น ปรากฎด้วยอาวุธทั้งหลายมีท่อนไม้เป็นต้น

หลายร้อยหลายพัน เหมือนดาวบนท้องฟ้า. บทว่า วิชานาหิ ความว่า
ดูก่อนพ่อมโหสถ ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม คนอื่นที่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต
ผู้ฉลาดในอุบายเช่นเจ้าไม่มี อนึ่ง ชื่อว่าความเป็นบัณฑิตย่อมรู้กันได้ในฐานะ
เห็นปานนี้ เพราะคนอื่นเช่นเจ้าไม่มี ฉะนั้น เจ้าเท่านั้นจงรู้ว่า พวกเราจัก
พ้นความทุกข์นี้ได้อย่างไร.

พระมหาสัตว์ได้สดับพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราชดังนี้แล้ว ดำริว่า
พระราชานี้ทรงกลัวมรณภัยเหลือเกิน ก็แพทย์เป็นที่พึ่งอาศัยของคนไข้
โภชนาหารเป็นที่พึ่งอาศัยของคนหิว น้ำดื่มเป็นที่พึ่งอาศัยของคนระหาย เว้น
เราเสีย คนอื่นที่เป็นที่พึ่งอาศัยของพระราชานี้ไม่มี เราจักปลอบโยนพระองค์

ให้เบาพระหฤทัย ครั้งนั้น พระมหาสัตว์มิได้ครั่นคร้าม ดุจราชสีห์บันลือ-
สีหนาท ณ พื้นมโนศิลา กราบทูลพระเจ้าวิเทหราชว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
ขอพระองค์อย่าทรงกลัวเลย จงเสวยราชสมบัติให้เป็นสุขเถิด ข้าพระองค์จัก


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ทำกองทัพซึ่งนับได้ ๑๘ อักโขภิณีนี้ ให้เป็นผู้มิใช่เจ้าของแม้แห่งผ้าสาฎกที่พัน
ท้องอยู่ให้หนีไป ดุจบุคคลเงื้อก้อนดินให้กาหนีไป และดุจบุคคลขึ้นธนูให้
ลิงหนีไปฉะนั้น กราบทูลฉะนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๙ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ทรง-
เหยียดพระยุคลบาทให้ผาสุก เชิญเสวยและรื่นรมย์ใน
กามสมบัติเถิด พระเจ้าจุลนีพรหมทัตจะละกองทัพ
ชาวปัญจาละหนีไป.

เนื้อความของคาถานั้นมีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์
ทรงเหยียดพระยุคลบาท กล่าวคือเสวยราชย์ของพระองค์ตามสบายเถิด และเมื่อ
ทรงเหยียด อย่าได้คิดเรื่องการสงคราม โปรดเสวยและรื่นรมย์ในกามสมบัติ
เถิด พระเจ้าจุลนีพรหมทัตนี้ จักทรงทิ้งกองทัพนี้หนีไป.

มโหสถบัณฑิตยังพระราชาให้อุ่นพระหฤทัยแล้วออกมาให้ยังกลองแจ้ง
เรื่องเล่นมหรสพเที่ยวป่าวร้องในพระนคร กล่าวกะชาวพระนครว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้วิตกเลย จงยังวัตถุทั้งหลายมีดอกไม้ของหอม
เครื่องลูบไล้ น้ำดื่มและโภชนะเป็นต้นให้ถึงพร้อมแล้วเริ่มเล่นมหรสพ มโห-
สถกล่าวกะชาวพระนครว่า ชนทั้งหลายในที่นั้น ๆ จงดื่มใหญ่ จงเล่นดีดสี

ตีเป่า จงประโคมดนตรี จงฟ้อนรำ จงโห่ร้อง จงเฮฮา จงบันลือเสียงให้
เอิกเกริก จงตบมือให้สนุก จงขับร้องตามสบาย ค่าใช้จ่ายสำหรับพวกท่าน
ทั้งหลาย เป็นของเราจัดให้ทั้งนั้น เราผู้มีนามว่ามโหสถบัณฑิต พวกท่าน
จักได้เห็นอานุภาพของเรา ยังชาวพระนครให้เบาใจแล้ว ชาวพระนครได้ทำ
ตามนั้น ชนทั้งหลายอยู่นอกเมืองย่อมได้ยินเสียงมีเสียงขับประโคมเป็นต้น


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็พากันเข้าสู่ภายในเมืองทางประตูน้อย ผู้รักษาทั้งหลายย่อมไม่จับกุมบุคคลที่
ตนเห็นแล้ว ๆ นอกจากพวกศัตรู เพราะฉะนั้น คนเดินเข้าออกมิได้ขาด
บุคคลเข้าไปในเมืองย่อมเห็นคนเล่นมหรสพ.

ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับเสียงโกลาหลในกรุงมิถิลา จึง
ตรัสถามอมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย ในเมื่อพวกเราล้อมเมือง
ด้วยกองทัพนับด้วยอักโขภิณีตั้งอยู่แล้ว ความกลัวหรือเพียงความพรั่นพรึงย่อม
ไม่มีแก่ชาวเมือง ชาวเมืองร่าเริงปีติโสมนัส ประโคมฟ้อนรำขับโห่ร้องเกรียว
กราว ตบมือ คุกคาม มีเหตุการณ์เป็นไฉน ลำดับนั้น บุรุษที่มโหสถวางไว้

ก็ทูลมุสาแด่พระราชาว่า ข้าแต่เทพเจ้า พวกเรามีกิจอันหนึ่งเข้าไปในเมือง
ทางประตูน้อย เห็นประชาชนชาวเมืองเล่นการมหรสพ ได้ซักถามว่า พระ-
ราชาในสกลชมพูทวีปมาล้อมเมืองของท่านทั้งหลายตั้งอยู่แล้ว แต่พวกท่านเป็น
ผู้ประมาทเหลือเกิน เหตุการณ์เป็นอย่างไร ชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวตอบว่า

พระราชาของเราทั้งหลายทรงปรารถนาอย่างหนึ่ง ได้มีในกาลเมื่อยังทรงพระ-
เยาว์ว่า ในเมื่อเมืองเราอันพระราชาในสกลชมพูทวีปล้อมแล้ว พวกเราจักเล่น
มหรสพ วันนี้ความปรารถนาของพระราชาแห่งพวกเราถึงที่สุด เพราะฉะนั้น
ทางราชการจึงป่าวร้องให้ชาวเมืองเล่นมหรสพ ดื่มใหญ่ในที่ของตน ๆ พระ-

เจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงฟังถ้อยคำของพวกบุรุษที่มโหสถวางไว้ ก็ทรงขัดเคือง
ตรัสสั่งเสนาว่า ท่านทั้งหลายจงไป จงรีบถมเมืองข้างนี้ด้วยข้างนี้ด้วย จง
ทำลายคู จงทำลายกำแพง จงทำลายประตูหอรบ เข้าไปในเมือง เอาศีรษะ
ชาวเมืองมาด้วยเกวียนร้อยเล่ม ดุจเอาฟักเขียวมาฉะนั้น จงตัดเศียรพระเจ้า
วิเทหราชนำมา โยธาผู้กล้าหาญทั้งหลายได้ฟังพระราชดำรัสสั่ง ก็กุมอาวุธ


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มีประการต่าง ๆ ไปสู่ที่ใกล้ประตูหอรบ ถูกทวยหาญของมโหสถประทุษร้าย
ด้วยการเทสาดเปือกตมระคนด้วยก้อนกรวดและเลนระคนด้วยทราย และการ
ทิ้งก้อนศิลาก็ถอยกลับลงสู่คูด้วยคิดจะทำลายกำแพง เหล่าโยธาที่ตั้งอยู่บนประตู
เชิงเทินภายใน ก็ทำให้ข้าศึกถึงความพินาศใหญ่ ด้วยเครื่องสังหารมีลูกศร
หอกและโตมรเป็นต้น โยธาของมโหสถย่อมเบียดเบียนโยธาของพระเจ้าจุลนี

สำแดงวิการแห่งมือเป็นต้น และด่าบริภาษขู่ด้วยประการต่าง ๆ พูดยั่วให้โกรธ
ว่า พวกเจ้ามีร่างกายเหน็ดเหนื่อย จงมาดื่มเคี้ยวกินสักหน่อยซิ แล้วสาดสุรา
ทิ้งภาชนะสุราและโยนมัจฉมังสะ กับทั้งไม้เสียบมัจฉมังสะลงไป ส่วนพวก
สัตว์ก็ดื่มเคี้ยวกินเดินไปมาบนกำแพง โยธากรุงปัญจาละไม่อาจจะทำอะไรได้
ก็ไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลเหล่าอื่นยก

ท่านผู้มีอานุภาพแล้ว ไม่สามารถจะเอาชัยชนะได้ พระเจ้าจุลนีประทับแรม
อยู่ ๔-๕ ราตรี เมื่อไม่ทรงเห็นอุบายที่จะหักเอาเมืองมิถิลาได้จึงตรัสถาม
เกวัฏว่า อาจารย์ พวกเราไม่สามารถจะยึดพระนครได้ แม้คนคนหนึ่ง ก็ไม่
สามารถจะเข้าใกล้ จะควรทำอย่างไร เกวัฎกราบทูลสนองว่า ช่างก่อนเถอะ

พระเจ้าข้า ธรรมดาเมืองมีน้ำภายนอก เราจักเอาเมืองได้ด้วยสิ้นน้ำ พวกใน
เมืองลำบากด้วยน้ำ จักเปิดประตูเมืองออกมา พระราชาทรงเห็นชอบด้วยว่า
อุบายนี้ดี จำเดิมแต่นั้นมา พวกข้างกองทัพก็มิให้ใครนำน้ำเข้าไปในเมือง บุรุษ
ที่มโหสถวางไว้ก็เขียนหนังสือผูกปลายลูกศรยิงส่งข่าวเข้าไปในเมือง เพราะ
มโหสถตั้งอาณัติไว้ว่า ใครพบหนังสือที่ปลายลูกศรจงนำมาให้เราดังนี้ ครั้งนั้น

บุรุษคนหนึ่งเห็นหนังสือที่ปลายลูกศรก็เอาไปแสดงแก่มโหสถ มโหสถรู้ข่าวนั้น
จึงนึกว่า พระเจ้าจุลนีไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้ผ่าไม้ไผ่ยาว
๖๐ ศอกออกเป็น ๒ ซีก รานปล้องออกหมดแล้วประกบกันเข้าอีกรัดด้วยหนัง
ทาโคลนข้างบน ให้หว่านโตนดสายบัวและพืชบัวขาว ซึ่งได้มาแต่ดาบสผู้มี


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ฤทธิ์นำมาแต่หิมวันตประเทศ ในเลนใกล้ฝั่งสระโบกขรณี วางไม้ไผ่ไว้ข้างบน
กรอกน้ำลงไป คืนเดียวเท่านั้นเกิดดอกขึ้นไป ๆ ถึงปลายไม้ไผ่สูงพันราว ๑ ศอก
ลำดับนั้น มโหสถยังบุรุษทั้งหลายของตนให้ถอนสายบัวนั้นโยนให้พวกข้าศึก
ด้วยคำว่า พวกท่านจงถวายสายบัวนี้แก่พระเจ้าจุลนี เหล่าบุรุษของมโหสถทำ
สายบัวนั้นให้เป็นวลัยแล้วร้องบอกว่า แน่ะท่านทั้งหลายผู้เป็นข้าบาทของพระ-

เจ้าจุลนีพรหมทัต เหล่าท่านอย่าตายด้วยความหิวเลย จงรับเอาดอกอุบลนี้
ประดับ เคี้ยวกินสายบัวให้อิ่มหนำ ร้องบอกฉะนี้แล้วโยนลงไป บุรุษคนหนึ่ง
ที่มโหสถวางไว้จึงถือเอาสายบัวนั้นนำไปถวายพระเจ้าจุลนี กราบทูลว่า ข้าแต่
สมมติเทพ ขอได้ทอดพระเนตรสายบัวนี้ สายบัวยาวเท่านี้ เราทั้งหลายไม่
เคยเห็นมาแต่ก่อนจนบัดนี้ ครั้นเมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงวัดดู

ก็วัดสายบัวอันยาว ๖๐ ศอก ทูลว่า ๘๐ ศอก ในเมื่อพระราชาตรัสถามอีกว่า
บัวนั่นเกิดในที่ไหน บุรุษคนหนึ่งที่มโหสถวางไว้กราบทูลเท็จว่า วันหนึ่ง
ข้าพระเจ้ากระหายน้ำเข้าไปในเมืองทางประตูน้อยด้วยคิดจะดื่มสุรา ได้เห็น
สระโบกขรณีใหญ่ทั้งหลายที่ขุดไว้เพื่อประโยชน์แห่งชาวเมืองเล่นน้ำ มหาชน
นั่งในเรือเก็บดอกบัว ดอกบัวนี้เกิดริมฝั่งสระโบกขรณีนั้น ก็แต่สายบัวอันเกิด

ในที่ลึกยาวราว ๑๐๐ ศอก พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้สดับข้อความนั้นจึงตรัส
แก่เกวัฏว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ พวกเราไม่อาจจะยึดเอาเมืองนี้ด้วยให้สิ้นน้ำ
ท่านเลิกความคิดนี้เสียเถิด พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จักยึดเอา
เมืองนี้ด้วยให้สิ้นข้าว เพราะธรรมดาว่านครต้องมีข้าวภายนอก พระราชาตรัส

ให้ทำอย่างนั้น มโหสถบันฑิตรู้ข่าวนั้นโดยนัยหนหลัง จึงนึกว่า พราหมณ์เกวัฏ
ไม่รู้จักความที่เราเป็นมโหสถบัณฑิต จึงให้เทโคลนตามบนกำแพงเมือง แล้ว


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ให้หว่านข้าวเปลือกในที่นั้น ธรรมดาความประสงค์ของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย
ย่อมสำเร็จราตรีเดียวเท่านั้น ข้าวเปลือกก็งอกขึ้นบนกำแพงเมือง พระเจ้าจุลนี
ทอดพระเนตรเห็นต้นข้าวนั้นจึงตรัสถามว่า นั่นอะไรปรากฏเขียวอยู่บนกำแพง
เมือง บุรุษที่มโหสถวางไว้ได้ฟังพระราชกระแส ก็เป็นเหมือนคอยชิงมาแต่
พระโอฐสนองพระราชดำรัส จึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า บุตรแห่ง

คฤหบดีอันมีนามว่ามโหสถบัณฑิต คิดเห็นภัยในอนาคตกาล จึงให้ขนข้าวเปลือก
แต่แคว้นขึ้นฉางหลวงไว้ แล้วเก็บงำข้าวเปลือกที่เหลือไว้ริมกำแพง ได้ยินว่า
ข้าวเปลือกเหล่านั้น แห้งไปด้วยแดด ชุ่มไปด้วยฝน และข้าวกล้าทั้งหลาย
ก็เกิดขึ้นพร้อมในที่นั้น วันหนึ่งข้าพเจ้าเข้าไปโดยประตูน้อยด้วยกิจอันหนึ่ง
เห็นกองข้าวเปลือกริมกำแพงก็หยิบข้าวเปลือกมาจากกองนั้น ทิ้งไว้ริมทาง

ทีนั้นหมู่ชนเมื่อจะพูดกับข้าพระเจ้าว่าชะรอยท่านจะหิว จึงบอกว่า ท่านจงเอา
ชายผ้าห่อข้าวเปลือกไปเรือนของท่านให้ตำหุงกินซิ พระเจ้ากรุงปัญจาละได้สดับ
ดังนั้นจึงตรัสกะพราหมณ์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยให้สิ้นธัญญาหาร
อุบายอื่นมีหรือ เกวัฏกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นเราจักยึดเอาด้วยสิ้นฟืน ขึ้นชื่อว่า

เมืองย่อมมีฟืนภายนอก พระราชาตรัสให้ดำเนินการอย่างนั้น ฝ่ายมโหสถรู้ข่าว
นั้นดังหนหลัง ให้ทำกองฟืนประมาณเท่าภูเขา ให้ปรากฏล่วงพ้นข้าวเปลือก
บนกำแพง พวกคนของมโหสถเมื่อกล่าวเยาะเย้ยเล่นกับโยธาของพระเจ้าจุลนี

จึงกล่าวว่า ถ้าพวกท่านหิวจงหุงข้าวกินเสีย แล้วโยนฟืนใหญ่ ๆ ลงไปให้ฝ่าย
พระราชาจุลนีทอดพระเนตรเห็นฟืนเป็นอันมากกองพ้นกำแพงเมือง จึงตรัส
ถามว่า นั่นอะไร บุรุษที่มโหสถวางไว้จึงกราบทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ได้ยินว่า
บุตรคฤหบดีผู้มีนามว่ามโหสถเห็นภัยในอนาคต จึงให้ขนฟืนมากองไว้หลังเรือน

แห่งเหล่าสกุล และให้กองไว้ริมกำแพงเมืองก็มิใช่น้อย พระเจ้ากรุงปัญจาละ
ได้สดับดังนั้นจึงตรัสกะอาจารย์เกวัฏว่า เราไม่อาจจะยึดเอาเมืองด้วยสิ้นฟืน
ท่านจงเลิกอุบายนี้เสีย พราหมณ์เกวัฏทูลว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตก


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อุบายอื่นยังมี พระเจ้าจุลนีตรัสถามว่า อุบายอย่างไรอีก เรายังไม่เห็นที่สุด
อุบายของท่าน เราไม่สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ เราจักกลับเมืองของเรา
เกวัฏจึงทูลว่า ความอายว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตกับพระราชาร้อยเอ็ด ไม่
สามารถจะยึดเอาวิเทหรัฐได้ จักมีแก่พวกเรา มโหสถจักเป็นบัณฑิตอย่างไร
แม้ข้าพระองค์ก็เป็นบัณฑิตแท้จริง พวกเราจักทำเลสอันหนึ่ง พระราชาตรัสว่า

เลสอะไร เกวัฏจึงทูลสนองว่า พวกเราจักทำธรรมยุทธ์ พระราชาตรัสถามว่า
อะไรเรียกว่าธรรมยุทธ์ เกวัฏทูลตอบว่า เสนาจักไม่ต้องรบ ก็แต่บัณฑิต
ทั้งสองของพระราชาทั้งสองจักอยู่ในที่เดียวกัน ในบัณฑิตทั้งสองนั้น บัณฑิต
ใดจักไหว้ บัณฑิตนั้นจักแพ้ ก็มโหสถไม่รู้ความคิดนี้ และข้าพระองค์ก็เป็น
ผู้แก่กว่า มโหสถยังเป็นหนุ่ม เห็นข้าพระองค์ก็จักไหว้ มโหสถไหว้ข้าพระองค์

เมื่อใด ชาวแคว้นวิเทหะก็จักชื่อว่า อันพวกเราชนะแล้ว ทีนั้นพวกเราจักยัง
วิเทหรัฐให้ปราชัยแล้วยึดไว้เป็นเมืองของตน ความอายจักไม่มีแก่พวกเราด้วย
ประการฉะนี้ รบด้วยเลสนี้ชื่อว่าธรรมยุทธ์ ฝ่ายมโหสถได้ทราบรหัสเหตุ
เหมือนหนหลัง จึงคิดว่า ถ้าเราแพ้เกวัฏ เราก็ไม่ใช่บัณฑิต ส่วนพระเจ้าจุลนี

พรหมทัตตรัสว่า อุบายนี้งามละอาจารย์ ให้เขียนราชสาสน์ความว่า พรุ่งนี้
ธรรมยุทธ์จักมี ชนะหรือปราชัยโดยธรรมโดยเสมอจักมีแก่บัณฑิตทั้งสอง
ผู้ใดไม่ทำธรรมยุทธ์ ผู้นั้นชื่อว่าพ่ายแพ้ ดังนี้ แล้วส่งไปถวายพระเจ้าวิเทห-
รัฐทางประตูน้อย พระเจ้ากรุงมิถิลาได้ทรงสดับราชสาสน์นั้น ให้เรียกมโหสถ

มาแจ้งเนื้อความนั้น มโหสถกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ขอสมมติเทพ
พระราชทานราชสาสน์ตอบไปว่า ชาวกรุงมิถิลาจักเตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ไว้
ทางประตูด้านปัศจิมทิศ กองทัพกรุงปัญจาละจงมาสู่สนามธรรมยุทธ์ พระเจ้า
วิเทหราชได้ทรงฟังคำของมโหสถจึงพระราชทานราชสาสน์ ตอบแก่ทูตผู้มาแล้ว
นั่นเอง มโหสถให้เตรียมจัดสนามธรรมยุทธ์ทางประตูด้านปัศจิมทิศ ด้วยคิดว่า


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปราชัยจักมีแก่เกวัฏวันพรุ่งนี้ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ร้อยเอ็ดคน ก็ล้อม
เกวัฏไว้เพื่อประโยชน์แก่การรักษามโหสถด้วยคิดว่า ใครจะรู้เหตุการณ์เหตุการณ์
อะไรจักเกิดมี ส่วนพระราชาร้อยเอ็ดก็ไปสู่สนามธรรมยุทธ์ ยืนคอยดูทางปรา-
จีนทิศ พราหมณ์เกวัฏก็ไปเช่นนั้นเหมือนกัน ฝ่ายมโหสถบรมโพธิสัตว์สนาน
น้ำหอมแต่เช้าทีเดียวแล้ว นุ่งผ้ามาแต่แคว้นกาสีราคานับด้วยแสนกหาปณะ

แล้วประดับเครื่องอลังการทั้งปวง บริโภคโภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ไปสู่พระ-
ทวารด้วยบริวารใหญ่ ครั้นได้พระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าว่า บุตรของเราจงเข้ามา
ดังนี้ ก็เข้าไปถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นได้สดับ
พระราชดำรัสถามถึงเหตุที่มาเฝ้า จึงกราบทูลว่า จักไปสนามธรรมยุทธ์ ครั้น

ตรัสถามว่า จะต้องการอะไร จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะลวงเกวัฏ
ด้วยแก้วมณี ควรที่ข้าพระองค์จะได้มณีรัตนะ ๘ คด พระราชาก็ทรงอนุญาต
มโหสถรับมณีรัตนะนั้นแล้วถวายบังคมพระราชาลงจากพระราชนิเวศน์ มีโยธา
สหชาตพันหนึ่งแวดล้อม ขึ้นสู่รถอันประเสริฐเทียมด้วยม้าเศวตสินธพอันควร
ค่าเก้าแสนกหาปณะถึงริมประตูเวลากินอาหารเช้า ฝ่ายเกวัฏยืนคอยดูทางมาแห่ง

มโหสถ ด้วยคิดว่า มโหสถจักมาถึงบัดนี้ ๆ เป็นเสมือนยื่นคอด้วยแลหา เหงื่อ
ไหลโซมด้วยความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ฝ่ายมโหสถเต็มไปด้วยความเป็นผู้มี
บริวารมาก ดุจมหาสมุทรท่วมทับ เป็นผู้มิได้สยดสยองมิได้พองขนดุจไกร-
สรสีหราช ให้เปิดประตูออกจากพระนคร ลงจากรถดำเนินไปโดยว่องไว

องอาจดุจพระยาราชสีห์ พระราชาร้อยเอ็ดเห็นสิริรูปแห่งพระโพธิสัตว์ ก็ยัง
ศัพท์สำเนียงเอิกเกริกสรรเสริญเกียรติพระโพธิสัตว์ให้เป็นไปว่า ได้ยินว่า
บุตรสิริวัฒกเศรษฐี ผู้มีนามว่า มโหสถบัณฑิต เป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีใคร


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรียบด้วยความปรีชาในสกลชมพูทวีป ฝ่ายมโหสถมีสิริสมบัติหาที่เปรียบมิได้
คือมณีรัตนะเดินตรงไปหาพราหมณ์เกวัฏ ส่วนปุโรหิตเกวัฏเห็นมโหสถบรม-
โพธิสัตว์ ก็ไม่อาจจะทรงกายอยู่ได้ลุกขึ้นต้อนรับกล่าวว่า ท่านมโหสถบัณฑิต
เราทั้งสองเป็นบัณฑิตเหมือนกัน เมื่อพวกข้าพเจ้ามาอยู่ที่นี้นานเพราะท่าน
ท่านไม่สั่งสักว่าเครื่องบรรณาการมาบ้าง เพราะเหตุไรท่านจึงได้ทำอย่างนี้
ลำดับนั้น มโหสถกล่าวตอบเกวัฏว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าหาบรรณาการที่

สมควรแก่ท่าน พึ่งได้มณีวันนี้เอง ท่านจงรับเอามณีรัตนะนี้ มณีรัตนะอื่น
อย่างนี้หาไม่ได้ทีเดียว เกวัฏเห็นมณีรัตนะอันรุ่งเรืองอยู่ในมือมโหสถก็คิดว่า
มโหสถจักประสงค์ให้เรา จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงให้แล้วเหยียดมือคอย
รับ มโหสถจึงกล่าวว่า ท่านคอยรับเถิดแล้วโยนไปให้ตก ณ นิ้วมือที่เหยียดรับ
ลำดับนั้น เกวัฏไม่อาจทานแก้วมณีอันมีน้ำหนักด้วยนิ้วมือ แก้วมณีก็พลาด

ตกใกล้เท้ามโหสถ เกวัฏก็น้อมกายลงแทบเท้าแห่งมโหสถ ด้วยใคร่จะถือเอา
เพราะความโลภ ลำดับนั้น มโหสถก็ไม่ให้เกวัฏลุกขึ้นได้ จับคอเกวัฏไว้ด้วย
มือข้างหนึ่ง จับชายกระเบนไว้ด้วยมือข้างหนึ่ง กล่าวว่า ลุกขึ้นซิ ท่านอาจารย์
ข้าพเจ้าเป็นเด็กเท่ากับหลานของท่าน ท่านอย่าไหว้ข้าพเจ้าเลย แล้วยังหน้า
ของเกวัฏให้สีลงที่พื้นกลับไปกลับมา จนหน้าเปื้อนด้วยโลหิตแล้วกล่าวว่า ดู

ก่อนคนอันธพาล เจ้าหวังการไหว้แต่เราหรือ กล่าวฉะนี้แล้วจับคอซัดไป
เกวัฏไปตกลงในที่ราวหนึ่งอุสุภ ลุกขึ้นหนีไป โยธาของมโหสถก็หยิบเอา
แก้วมณีไว้ เสียงมโหสถร้องว่า ลุกขึ้นเถิด ๆ อย่าไหว้เราเลย ดังนี้ ได้ยิน
ทั่วบริษัท ส่วนบริษัทของมโหสถก็กล่าวว่า เกวัฏไหว้เท้ามโหสถแล้วโห่ร้อง
แซ่เป็นเสียงเดียวกัน พระราชาร้อยเอ็ด ตลอดพระเจ้าจุลนีก็ได้เห็นเกวัฏน้อม
กายลงแทบเท้ามโหสถ พระราชาเหล่านั้นคิดว่า บัณฑิตของพวกเราไหว้


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มโหสถบัณฑิตแล้ว บัดนี้พวกเราเป็นอันพ่ายแพ้ มโหสถจักไม่ให้ชีวิตแก่
พวกเรา คิดฉะนี้แล้วต่างก็ขึ้นม้าของตน ปรารภเพื่อหนีตรงไปอุตตรปัญจาละ
บริษัทของพระโพธิสัตว์เห็นพระราชาเหล่านั้นหนีไปแล้ว จึงบอกกันว่า พระ-
เจ้าจุลนีพรหมทัตพาพระราชาร้อยเอ็ดหนีไปแล้ว แล้วโห่ร้องกันอีก พระราชา
ทั้งปวงได้สดับเสียงนั้นกลัวแต่มรณภัยก็พากันแตกกองทัพหนีไป บริษัทของ
พระโพธิสัตว์ก็บันลือสำเนียงเกรียวกราวโกลาหลใหญ่ พระมหาสัตว์เป็นผู้
เสนางคนิกรแวดล้อมกลับเข้าสู่กรุงมิถิลา.

ฝ่ายกองทัพของพระเจ้าจุลนีพรหมทัตหนีไปได้ ๓ โยชน์ ฝ่ายเกวัฏก็
ขึ้นม้าแล้วเช็ดโลหิตที่หน้าผากไปถึงกองทัพ นั่งอยู่บนหลังม้ากล่าวว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าหนีไปเลย เราไม่ได้ไหว้บุตรคฤหบดี
ผู้ชื่อว่ามโหสถดอก ท่านทั้งหลายหยุดเถิด เสนาไม่เชื่อไม่หยุดคงเดินไป พา

กันด่าขู่เกวัฏ กล่าวว่า แน่ะพราหมณ์ชั่ว ผู้มีธรรมเป็นบาป ท่านกล่าวว่า เรา
จักทำธรรมยุทธ์ แล้วมาไหว้มโหสถผู้คราวหลาน ผู้ไม่เพียงพอจะไหว้ กิจที่
พวกข้าพเจ้าจะพึงทำแก่ท่านไม่มี กล่าวฉะนี้แล้วก็ไม่ฟังถ้อยคำของเกวัฏ คง
เดินไปนั่นเที่ยว เกวัฏไปโดยเร็วถึงกองทัพจึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านจงเชื่อเราเถิด เราไม่ได้ไหว้มโหสถ มโหสถลวงเราด้วยแก้วมณี

ยังพระราชาทั้งปวงเหล่านั้นให้รู้โดยอาการต่าง ๆ ให้เชื่อถ้อยคำของตน ยังกอง
ทัพอันแตกกระจัดกระจายแล้วนั้น ให้กลับควบคุมกันเป็นปกติ ก็เสนาใหญ่
ถึงเพียงนั้น หากจะถือกำฝุ่นหรือก้อนดินก้อนหนึ่งซัดไปไซร้ กองฝุ่นและดิน
ราวเท่ากำแพงเมือง พึงยังคูให้เต็ม ก็แต่ความประสงค์แห่งพระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายย่อมสำเร็จ เพราะเหตุนั้น แม้บุคคลผู้หนึ่งหันหน้าเฉพาะเมืองซัดกำฝุ่นหรือ
ก้อนดินจึงไม่มีเลย กองทัพแม้ทั้งปวงกลับถึงสถานที่ตั้งค่ายของตน พระราชา


+ เสริมความรู้ด้วยการฟัง เสริมพลังจิตด้วยการฝึกกรรมฐาน
+ คิดว่าตนดีแล้วจึงมิคิดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง
คิดว่าตนยังไม่ดีจึงคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงตนเอง
+ รักลูกมากเลี้ยงลูกดีเกินไป ระวังจะเสียใจภายหลัง
+ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งใช้ยิ่งมาก
เพราะความมักมากจึงทำจิตให้ตกต่ำ
+ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เวรย่อมระงับด้วยการให้อภัย
เวรย่อมระงับด้วยจิตที่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2685 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 136, 137, 138, 139, 140, 141, 142 ... 179  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร