วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 65, 66, 67, 68, 69, 70, 71 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ขึ้นว่า ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. องค์ที่หนึ่งตรัสว่า เหมือน
ตอไหม้ไฟ องค์ที่สองตรัสว่า เหมือนต้นไทร องค์ที่สามตรัสว่า
เหมือนชิ้นเนื้อ องค์ที่สี่ตรัสว่า เหมือนต้นซึก. ทั้ง ๔ พระองค์
ไม่ตกลงตามคำของกันและกัน จึงไปเฝ้าพระบิดา ทูลถามว่า
ข้าแต่พระบิดา ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นอย่างไร. เมื่อพระราชา

ตรัสว่า พวกเจ้าว่ากันอย่างไรเล่า. จึงกราบทูลพระราชาตามที่
ถกเถียงกัน. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าแม้ทั้งสี่ได้เห็นต้นทองกวาว
แล้วเป็นแต่สารถีผู้แสดงต้นทองกวาว. พวกเจ้ามิได้ไต่ถามจารไน
ออกไปว่า ในกาลนี้ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. ด้วยเหตุนั้นความ
สงสัยจึงเกิดขึ้นแก่พวกเจ้า ตรัสคาถาแรกว่า :-

ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะ
สงสัยในต้นทองกวาวนั้น เพราะเหตุไรหนอ
ท่านทั้งหลายหาได้ถามสารถีให้ถี่ถ้วนในที่
ทั้งปวงไม่.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้แล้วตรัสว่า แน่ะภิกษุ เหมือน
อย่างพี่น้องทั้ง ๔ เกิดความสงสัยในต้นทองกวาว เพราะมิได้
ไต่ถามให้ถ้วนถี่ฉันใด แม้เธอสงสัยเกิดขึ้นในธรรมนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลเหล่าใด ยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วย
ญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยใน
ธรรมทั้งปวง เหมือนพระราชบุตร ๔ พระองค์
ทรงสงสัยในต้นทองกวาวฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เหมือนอย่างพี่น้องเหล่านั้น
สงสัยแล้ว เพราะไม่เห็นต้นทองกวาวทุกฐานะ ฉันใด ธรรม
ทั้งปวงแยกประเภทเป็นผัสสะ ๖ อายตนะ ขันธ์ ภูต และธาตุ.
ชนเหล่าใดไม่ได้ให้เกิดด้วยวิปัสสนาญาณทั้งปวง คือมิได้แทง
ตลอด เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ชนเหล่านั้นย่อมสงสัย
ในธรรมมี ผัสสะ ๖ และอายตนะเป็นต้น เหมือนพี่น้องทั้งสี่
สงสัยในต้นทองกวาวต้นเดียวกันฉันนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระเจ้ากรุงพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากิงสุโกปมสูตรที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระมหาเถระรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า เอกปุตฺตโก ภวิสฺสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระมหาเถระนั้นให้กุมารน้อยบรรพชาแล้ว ทำ
ให้ลำบากอยู่ ณ พระเชตวันนั้น. สามเณรนั้นไม่สามารถจะทน
ความลำบากได้จึงสึก. พระเถระไปเกลี้ยกล่อมกุมารน้อยนั้นว่า
ดูก่อนกุมารน้อย จีวรของเธอคงเป็นของเธอตามเดิม แม้บาตร
ก็คงเป็นของเธอ ทั้งบาตรและจีวรก็คงเป็นของเธอ จงมาบรรพชา

เถิด. กุมารน้อยนั้น แม้กล่าวว่า ผมจักไม่บรรพชา ถูกพระเถระ
รบเร้าบ่อย ๆ เข้าก็บรรพชา ครั้งนั้นพระเถระได้ทำให้สามเณร
นั้นลำบากอีกตั้งแต่วันที่บวช. สามเณรทนความลำบากไม่ไหว
จึงสึกอีก แม้พระเถระเกลี้ยกล่อมอยู่หลายครั้งหลายครา ก็ไม่

ยอมบวช โดยกล่าวว่า หลวงพ่อไม่เห็นใจผม หลวงพ่อขาดผม
จะไม่สามารถเป็นไปได้เทียวหรือ ไปเถิดหลวงพ่อ ผมไม่บวชละ.

ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย
ทารกนั้นใจดีจริงหนอ ทราบอัธยาศัยของพระมหาเถระแล้วจึง
ไม่ยอมบวช. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทารก
นั้นมิใช่มีใจดีแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ใจดี เห็นโทษของ
พระเถระนั้นคราวเดียวเท่านั้น ไม่ยอมเข้าใกล้อีก ทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี ครั้นเจริญวัย
เลี้ยงชีพด้วยการขายข้าวเปลือก. มีหมองูคนหนึ่ง หัดลิงตัวหนึ่ง
ให้ถือยาแล้วให้งูแสดงการละเล่นกับลิงนั่งเลี้ยงชีพ. เมื่อมีการ
โฆษณาแสดงมหรสพที่กรุงพาราณสี. หมองูนั้นประสงค์จะชม

มหรสพ จึงมอบลิงนั้นไว้กับพ่อค้าขายข้าวเปลือกนั้น สั่งว่า
ท่านอย่าดูดายลิงตัวนี้ ครั้นชมมหรสพแล้วในวันที่ ๗ จึงไปหา
พ่อค้าถามว่า ลิงอยู่ที่ไหน. ลิงพอได้ยินเสียงเจ้าของรีบออกจาก
ร้านขายข้าวเปลือก. ลำดับนั้นหมองู จึงเอาไม้เรียวตีหลังลิง

พาไปสวนผูกไว้ข้างหนึ่ง แล้วหลับไป. ลิงรู้ว่าเจ้าของหลับ จึง
แก้เชือกที่ผูกออกหนีไปขึ้นต้นมะม่วง กินผลมะม่วงสุก แล้วทิ้ง
เมล็ดลงตรงหัวหมองู. หมองูตื่นแลดูเห็นลิงนั้นแล้ว จึงคิดว่า เรา
จักลวงเจ้าลิงนั้นด้วยถ้อยคำไพเราะ ให้มันลงจากต้นไม้แล้วจึง
จับมัน เมื่อจะเกลี้ยกล่อมลิงนั้น ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนพ่อสาลกวานร เจ้าเป็นลูกคนเดียว
ของพ่อ อนึ่ง พ่อจักได้เป็นใหญ่ในตระกูลของ
พ่อ ลงมาจากต้นไม้เถิด มาเถิดลูกพ่อ จะพากลับ
ไปบ้านของเรา.
ลิงได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านสำคัญว่า เราเป็นสัตว์ใจดีจึงได้ตีเรา
ด้วยเรียวไม้ไผ่ เราพอใจอยู่ในป่ามะม่วงที่มี
ผลสุก ท่านจงกลับไปบ้านตามสบายเถิด.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า นนุ มํ สุหทโยติ มญฺญสิ ความว่า
ท่านสำคัญเราว่าเป็นสัตว์มีใจดีมิใช่หรือ อธิบายว่า ท่านสำคัญ
ว่าลิงนี้เป็นสัตว์ใจดี. บทว่า ยญฺจ มํ หนสิ เวฬุยฏฺฐิยา ความว่า
ท่านแสดงไว้ดังนี้ว่า ท่านดูหมิ่นเราด้วยเหตุใด และท่านเฆี่ยน

เราด้วยไม้เรียวด้วยเหตุใด เหตุนั้นเราจึงไม่กลับไป. เมื่อเป็น
เช่นนั้น เราจึงพอใจในป่ามะม่วงนี้ เชิญท่านกลับไปเรือนตาม
สบายเถิด. แล้วกระโดดเข้าป่าไป. แม้หมองูก็ไม่พอใจได้กลับ
ไปเรือนของตน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นสามเณรในครั้งนี้ หมองูได้เป็นพระ-
มหาเถระ ส่วนพ่อค้าขายข้าวเปลือกคือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสาลกชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อยํ อิสี อุปสมสญฺญเม รโต ดังนี้.

ได้ยินว่า ข้อที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หลอกลวงได้ปรากฏในหมู่
ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุโน้นบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่นำ
สัตว์ออกจากภพ ยังบำเพ็ญวัตรของผู้หลอกลวงอีก. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมิใช่เป็นผู้หลอกลวง
แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เคยเป็นผู้หลอกลวงเหมือนกัน
เกิดเป็นลิงได้ทำการหลอกลวงเพราะเหตุเพียงไฟเท่านั้น แล้ว
ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัย ในเวลาที่บุตรเที่ยววิ่งเล่นได้ นางพราหมณีก็ถึงแก่
กรรม จึงอุ้มบุตรเข้าสะเอวไปป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี บวชบุตร

เป็นดาบสกุมาร อาศัยอยู่ในบรรณศาลา. ครั้นฤดูฝน ฝนตก
ไม่ขาดสาย มีลิงตัวหนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวเดิน
ตัวสั่นฟันกระทบกัน. พระโพธิสัตว์หาท่อนไม้ใหญ่ ๆ มาก่อไฟ
แล้วนอนบนเตียง. ฝ่ายบุตรชายก็นั่งนวดเท้าอยู่. ลิงนั้นนุ่งห่ม

ผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายไปแล้วรูปหนึ่ง ห่มหนังเสือเฉวียงบ่า
ถือหาบและน้ำเต้าปลอมเป็นฤๅษี มายืนหลอกลวงอยู่ที่ประตู
บรรณศาลา เพราะต้องการไฟ. ดาบสกุมารเห็นลิงนั้น จึง
อ้อนวอนบิดาว่า ข้าแต่พ่อ มีดาบสผู้หนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียน
ยืนสั่นอยู่ พ่อเรียกดาบสนั้นเข้ามา ณ ที่นี้เถิด เขาจะได้ผิงไฟ
ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ฤๅษีผู้นี้ยินดีแล้วในความสงบและความ
สำรวม ท่านถูกภัยคือความหนาวเบียดเบียน จึง
มายืนอยู่ เชิญฤๅษีผู้นี้จงเข้ามายังบรรณศาลานี้
เถิด จะได้บรรเทาความหนาวและความกระวน
กระวายให้หมดสิ้นไป.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปสมญฺญเม รโต คือ ยินดีใน
ความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และในความสำรวมด้วยศีล. บทว่า
ส ติฏฺฐติ คือเขายืนอยู่. บทว่า สิสิรภเยน ได้แก่ เพราะกลัวความ
หนาวที่เกิดแต่ลมและฝน. บทว่า อทฺธิโต ความว่า เบียดเบียน
แล้ว. บทว่า ปวิสตุมํ ตัดบทเป็น ปวิสตุ อิมํ คือ เชิญเข้ามายัง
บรรณศาลานี้. บทว่า เกวลํ ได้แก่ ทั้งสิ้น คือ ไม่มีเหลือ.
พระโพธิสัตว์ฟังคำของบุตรจึงลุกขึ้นมองดู รู้ว่าเป็นลิง
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นี่ไม่ใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความ
สำรวม เป็นลิงที่เที่ยวโคจรอยู่ตามกิ่งมะเดื่อ มัน
เป็นสัตว์ประทุษร้าย ฉุนเฉียว และมีสันดาน
ลามก ถ้าเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลาหลังนี้ ก็จะพึง
ประทุษร้ายบรรณศาลา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมฺพรสาขโคจโร ได้แก่ เที่ยวอยู่
ตามกิ่งมะเดื่อ. บทว่า โส ทูสโก โรสโก จาปิ ชมฺโม ความว่า
ลิงเป็นสัตว์ชื่อว่า ประทุษร้ายเพราะประทุษร้ายที่ที่มันไปแล้ว ๆ
ชื่อว่า เป็นสัตว์ฉุนเฉียว เพราะกระทบกระทั่ง ชื่อว่า เป็นสัตว์

เลวทรามเพราะความเป็นผู้ลามก. บทว่า สเจ วเช ความว่า
หากลิงนั้นเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลานี้ ก็จะพึงประทุษร้ายบรรณ-
ศาลาทั้งหมด ด้วยการถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดและด้วยการเผา.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคว้าดุ้นฟืนติดไฟ
ออกมาขู่ให้ลิงตกใจกลัวแล้วให้หนีไป. ลิงกระโดดหนีเข้าป่าไป
ไม่ได้มาที่นั้นอีก. พระโพธิสัตว์ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด
สอนการบริกรรมกสิณแก่ดาบสกุมาร. ดาบสกุมารทำอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว. ดาบสทั้งสองนั้นมีฌานมิได้เสื่อม ได้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ตั้งแต่ครั้งก่อนภิกษุนี้ก็เป็นผู้
หลอกลวงเหมือนกัน แล้วทรงประกาศสัจจธรรม ทรงประชุม
ชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บาง
พวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. ลิงใน
ครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ บุตรได้เป็นราหุล ส่วน
บิดา คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากปิชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาชาดก
ติกนิบาต
อรรถกถาสังกัปปวรรคที่ ๑
อรรถกถาสังกัปปราคชาดกที่ ๑


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสัน จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ดังนี้.

ได้ยินว่า มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง บวชถวายชีวิตใน
ศาสนาของพระศาสดา วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตไปในเมืองสาวัตถีได้เห็น
หญิงคนหนึ่งตกแต่งประดับประดาสวยงาม เกิดความกำหนัดรักใคร่ไม่
ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ อาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ได้เห็นอาการ
ดังนั้น จึงถามถึงเหตุที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ครั้นทราบว่าเธอ

มีความประสงค์จะสึก จึงพากันกล่าวว่า นี่แน่ะคุณ ธรรมดาว่าพระ-
บรมศาสดาทรงสังหารกิเลสมีราคะเป็นต้น ทรงทรมานแล้วประกาศ
อริยสัจ ประทานโสดาปัตติมรรคเป็นต้น มาเถิดคุณ พวกเราจะพาไป
เฝ้าพระศาสดาแล้วได้พาไป และเมื่อพระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีแก่ใจมาทำไมหรือ จึงพากันกราบ
ทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอ
กระสันจะสึกจริงหรือภิกษุ? เมื่อเธอกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึง
ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร? ภิกษุนั้นจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาว่าสตรี

ทั้งหลายนี้ ได้เคยทำความเศร้าหมองให้เกิดแม้แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย
ผู้ที่ข่มกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน เหตุไฉนจักไม่ทำบุคคลผู้ไร้คุณสมบัติเช่น
เธอให้เศร้าหมองเล่า ท่านผู้บริสุทธิ์ยังเศร้าหมองได้ทั้งท่านผู้พรั่งพร้อม
ด้วยอุดมยศก็ยังถึงความเสื่อมยศได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ไม่บริสุทธิ์

เล่า ลมที่พัดภูเขาสิเนรุให้หวั่นไหว ไฉนจักไม่พัดขยะใบใม้เก่าให้
กระจัดกระจายเล่า กิเลสนี้ยังก่อกวนสัตว์ผู้นั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ กำลัง
จะตรัสรู้ได้ ไฉนจักไม่ก่อกวนคนเช่นเธอเล่า ครั้นตรัสดังนี้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังนี้:-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลมี
ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ครั้นเจริญวัยแล้วไปเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงใน
เมืองตักกศิลา เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว ก็กลับมายังเมืองพาราณสี
อยู่ครองเรือนมีบุตรภรรยา ครั้นบิดามารดาล่วงลับไป ก็ได้

กระทำกิจเกี่ยวกับการตายของบิดามารดา เมื่อกระทำการตรวจตราใน
ข้อที่ลี้ลับ จึงรำพึงว่า ทรัพย์ที่บิดามารดารวบรวมไว้ยังปรากฎอยู่
แต่บิดามารดาไม่ปรากฎ จึงมีความสลดใจ เหงื่อไหลออกจากร่างกาย
เขาอยู่ครองเรือนเป็นเวลานาน ได้ให้ทานมากมายละกามทั้งหลาย ละ
หมู่ญาติผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา เข้าป่าหิมพานต์สร้างบรรณศาลาอยู่

ในที่อันน่ารื่นรมย์ เที่ยวแสวงหารากไม้และผลไม้ในป่าเลี้ยงชีพ ไม่
นานเท่าไรก็ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น เล่นฌานอยู่มาช้านาน
จึงคิดได้ว่า เราไปยังถิ่นมนุษย์จักได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น ร่างกายของเรา จักแข็งแรง และจักได้เป็นการพักผ่อน

ของเราไปด้วย ทั้งชนเหล่าใดจักให้ภิกษาหรือจักกระทำการอภิวาท
เป็นต้นแก่ผู้มีศีลเช่นกับเรา ชนเหล่านั้นจักได้ไปเกิดบนสวรรค์.
ครั้นคิดแล้วจึงออกจากป่าหิมพานต์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับจนถึงเมือง
พาราณสี ในเวลาใกล้ค่ำ จึงเที่ยวเลือกหาที่พักอาศัย แลเห็นพระ-
ราชอุทยานจึงคิดว่า ที่นี้สมควรแก่การหลีกเร้น เราจักพักอยู่ในที่นี้

ครั้นคิดแล้วจึงเข้าไปยังพระราชอุทยาน นั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่งทำ
เวลาราตรีให้หมดไปด้วยความสุขในฌาน วันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ชำระ
สรีระกายแล้ว จัดแจงผูกชฎาห่มหนังเสือและนุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือ
ภาชนะสำหรับภิกขาจาร สำรวมอินทรีย์สงบระงับ สมบูรณ์ด้วย
อิริยาบถ ทอดจักษุดูไปชั่วแอก มีรูปสิริของตนสมบูรณ์ด้วยอาการ

ทั้งปวง อาจดึงเอาสายตาของชาวโลกให้แลดู เดินเข้าพระนคร
เที่ยวภิกขาจารไปจนถึงประตูพระราชนิเวศน์. พระราชากำลังเสด็จ
ดำเนินอยู่ที่ท้องพระโรง ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ทางช่องพระ
แกล ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถของเธอ ทรงพระดำริว่า ถ้าธรรมอัน

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สงบระงับมีอยู่ ก็คงจะมีในภายในจิตของท่านผู้นี้ จึงดำรัสสั่งอำมาตย์
ผู้หนึ่งว่า เจ้าจงไปนำพระดาบสนั้นมา. อำมาตย์นั้นไปไหว้แล้วขอรับ
เอาภาชนะสำหรับภิกขาจารแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า. พระราชา
รับสั่งนิมนต์ท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่
พระราชาไม่ทรงรู้จักกับอาตมา อำมาตย์จึงเรียนว่า ถ้ากระนั้น ขอ
นิมนต์พระคุณเจ้ายับยั้งอยู่ที่นี้จนกว่ากระผมจะกลับมา แล้วกลับไป

กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชารับสั่งว่า พระดาบสรูปอื่น
ผู้ที่จะเข้าไปยังราชตระกูลของเรายังไม่มี เจ้าจงไปนิมนต์พระดาบสนั้น
มา. ฝ่ายพระองค์เองก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไหว้ทางช่องพระแกล
ตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอนิมนต์มาทางพระราชนิเวศน์นี้เถิด.
พระโพธิสัตว์จึงมอบภาชนะสำหรับภิกขาจารให้อำมาตย์ถือไปแล้วก็เดิน

ขึ้นสู่ท้องพระโรง. ลำดับนั้น พระราชาทรงไหว้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว
นิมนต์ให้นั่งบนราชบัลลังก์ แล้วอังคาสเลี้ยงดูด้วยข้าวยาคู ของขบ-
เคี้ยว และภัตตาหารที่เจ้าพนักงานจัดไว้สำหรับพระองค์ พระโพธิสัตว์
ฉันเสร็จแล้ว จึงตรัสถามปัญหา ทรงพอพระราชหฤทัยการพยากรณ์
ปัญหาของพระโพธิสัตว์ยิ่งนัก จึงนมัสการแล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้า

ผู้เจริญ พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหน และมาจากไหน พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า
มหาบพิตร อาตมาภาพอยู่ป่าหิมพานต์ และมาจากป่าหิมพานต์ จึง
ตรัสถามอีกว่า มาเพราะเหตุอะไร จึงทูลว่า มหาบพิตร ในฤดูกาล
ฝนควรจะได้การอยู่ประจำที่ ทรงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นขอนิมนต์พระ-
คุณเจ้าพักอยู่ในพระราชอุทยาน พระคุณเจ้าจักไม่ลำบากด้วยปัจจัย

ทั้ง ๔ และโยมก็จักได้บุญอันจะนำตนให้ไปเกิดในสวรรค์ ครั้นทรง
ทำความตกลงแล้วและเสวยพระกระยาหาหารแล้ว ได้เสด็จไปพระ-
ราชอุทยานพร้อมกับพระโพธิสัตว์ รับสั่งให้ให้สร้างบรรณศาลา สร้าง
ที่จงกรม จัดเสนาสนะที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ให้
พร้อมเสร็จ. แล้วมอบถวายบริขารสำหรับบรรพชิต แล้วตรัสว่า ขอ

พระคุณเจ้าจงอยู่โดยความสุขสำราญเถิด แล้วมอบนายอุทยานบาลให้
ดูแล. ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ได้อยู่ในพระราชอุทยานนั้น

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เป็นเวลา ๑๒ ปี. ต่อมาภายหลัง ประเทศชายแดนของพระราชาเถิด
การกำเริบ พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไประงับเหตุการณ์นั้น
จึงตรัสเรียกพระเทวีมาแล้วตรัสว่า น้องนางผู้เจริญ เจ้าควรยับยั้งอยู่
ยังพระนครก่อน. พระเทวีทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ เพราะอาศัย
เหตุอะไร พระองค์จึงตรัสอย่างนี้ พระราชา เพราะอาศัยพระ-
ดาบสผู้มีศีล ซิน้องนางผู้เจริญ. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพหม่อม-

ฉันจักไม่ประมาทในพระดาบสนั้น การปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้าของ
พระองค์เป็นภาระของหม่อมฉัน ขอพระองค์อย่าทรงกังวล จงเสด็จ
เถิด. พระราชาจึงเสด็จออกไป. ฝ่ายพระเทวีก็ตั้งใจอุปัฏฐากพระโพธิ-
สัตว์เหมือนอย่างเดิม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์หลังจากพระราชาเสด็จไปแล้ว
ก็มิได้ไปตามเวลาที่เคยมา ได้ไปยังพระราชนิเวศน์กระทำภัตตกิจตาม

เวลาที่ตนชอบใจ. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระโพธิสัตว์ชักช้าอยู่ยังไม่มา
พระราชเทวีจัดแจงขาทนียโภชนียาหารทุกอย่างเสร็จแล้ว จึงโสรจ
สรงพระองค์ประดับพระวรกาย แล้วให้นางพนักงานแต่งเตียงน้อย
บรรทมคอยดูการมาของพระโพธิสัตว์ โดยทรงนุ่งพระภูษาเนื้อเกลี้ยง
อย่างหย่อนๆ. ฝ่ายพระโพธิสัตว์กำหนดว่าได้เวลาแล้ว ก็ถือภิกขา-

ภาชนะเหาะมาจนถึงช่องพระแกลใหญ่. พระเทวีได้ทรงสดับ
เสียงผ้าเปลือกไม้กรองของพระโพธิสัตว์ก็เสด็จลุกขึ้นโดยพลัน พระ-
ภูษาเนื้อเกลี้ยงที่ทรงนุ่งนั้นก็หลุดลุ่ยลงทันที พระโพธิสัตว์ได้เห็น
วิสภาคารมณ์มิได้สำรวมอินทรีย์ ตลึงแลดูด้วยสามารถแห่งความงาม.
ลำดับนั้น กิเลสของพระโพธิสัตว์ซึ่งสงบนิ่งด้วยกำลังฌานก็กำเริบขึ้น

เหมือนอสรพิษที่ถูกขังอยู่ในข้อง พอออกจากข้องได้ก็แผ่พังพาน
ขึ้นฉะนั้น. พระโพธิสัตว์ได้เป็นผู้มีอาการเหมือนเวลาที่ต้นยางถูกกรีด
ด้วยมีดฉะนั้น. องค์ฌานทั้งหลายเสื่อมไปพร้อมกับระยะที่กิเลสเกิด
ขึ้น. อินทรีย์ทั้งหลายก็มิได้บริบูรณ์ ตนเองได้มีสภาพเหมือนกาปีก

ขาดฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นมิอาจที่จะนั่งกระทำภัตตกิจเหมือนแต่
ก่อนได้ แม้พระเทวีจะตรัสบอกให้นั่งก็ไม่นั่ง. ลำดับนั้น พระเทวี
จึงทรงใส่ขาทนียะ โภชนียาหารทุกอย่างลงในภิกขาภาชนะของพระ-
โพธิสัตว์. ก็วันนั้น พระโพธิสัตว์ไม่อาจไปเหมือนในวันก่อนๆ ซึ่ง

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กระทำภัตตกิจแล้วก็เหาะออกไปทางสีหบัญชร ได้แต่รับภัตตาหารแล้ว
เดินลงทางบันไดใหญ่ไปยังพระราชอุทยาน แม้พระเทวีก็ทรงทราบ
ว่าพระดาบสมีจิตปฏิพัทธ์ในพระองค์. พระโพธิสัตว์นั้นไปถึงพระ-
ราชอุทยานแล้วไม่บริโภคภัตตาหารเลย เอาวางไว้ใต้เตียง นอน
รำพรรณว่า พระหัตถ์เห็นปานนี้ของพระเทวีงาม พระบาทก็งาม

นั้นพระองค์เห็นปานนี้ ลักษณะของพระอูรุเห็นปานนี้ ดังนี้เป็นต้น
นอนบ่นเพ้ออยู่ถึง ๗ วัน ภัตตาหารบูด มีหมู่แมลงวันหัวเขียวตอมกัน
สะพรั่ง. ฝ่ายพระราชาทรงระงับปัจจันตชนบทได้แล้วก็เสด็จกลับมา
ทรงกระทำประทักษิณพระนครซึ่งชาวเมืองตกแต่งประดับประดาไว้รับ
เสด็จ แต่หาได้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ไม่ ได้เสด็จไปยังพระราช-

อุทยานด้วยหวังพระทัยว่าจักเยี่ยมพระโพธิสัตว์ ได้ทอดพระเนตร
เห็นอาศรมบทรกรุงรังด้วยหยากเยื่อ ทรงสำคัญว่าพระดาบสจักหนี
ไปแล้ว จึงทรงเปิดประตูบรรณศาลา เสด็จเข้าไปข้างใน ทอดพระ-
เนตรเห็นดาบสนั้นนอนอยู่ จึงทรงดำริว่า ชรอยจะมีความไม่ผาสุก
บางประการ จึงรับสั่งให้ทิ้งภัตตาหารบูดชำระปัดกวาดบรรณศาลา

แล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ท่านไม่สบายไปหรือ ? พระดาบสทูล
ตอบว่า มหาบพิตร อาตมาภาพถูกลูกศรเสียบแทง. พระราชาเข้า
พระทัยว่า ชรอยพวกปัจจามิตรของเราไม่ได้โอกาสในตัวเรา จึงมา
ยิงพระดาบสนี้ โดยคิดว่า จักทำฐานะอันเป็นที่รักของพระราชานั้น

ให้ทุรพลภาพ จึงทรงพลิกร่างกายตรวจดูรอยที่ถูกยิง ก็ไม่เห็นรอย
ที่ยิง จึงตรัสถามว่า ท่านถูกเขายิงที่ไหนหรือ พระคุณเจ้า. พระ-
โพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมาภาพมิได้ถูกคนอื่นยิง แต่
อาตมาภาพยิงตัวของตัวเองแหละที่หัวใจ ครั้นทูลแล้วจึงลุกขึ้นนั่ง
กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูก
ศรนั้น อันกำซาบด้วยราคะเกิดจากความดำริ
อันลับด้วยวิตกคือความดำริ อันนายช่างมิได้
ตกแต่งให้เรียบร้อย อันนายช่างศรมิได้ทำ
ยังไม่พ้นหมวกหู ทั้งยังไม่ติดขนนกยูง แต่

ทำความเร่าร้อนให้ทั่วสรรพางค์กาย อาตมา-
ภาพไม่เห็นรูแผลที่เลือดไหลออก ลูกศรนั้น
แทงจิตที่ไม่แยบได้มั่นเหมาะ ความทุกข์นี้
อาตมาภาพนำมาด้วยตนเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกปฺปราคโธเตน ความว่า
กำซาบด้วยราคะอันประกอบพร้อมด้วยความดำริตริตรึกในกาม. บทว่า
วิตกฺกนิสิเตน ความว่า อันลับด้วยหินคือความดำริ ด้วยน้ำคือราคะ
นั้นนั่นแหละ. บทว่า เนวาลงฺกตภทฺเรน ความว่า อันนายช่างมิ

ได้ทำให้เกลี้ยงเกลา. บทว่า น อุสุการกเตน จ ความว่า แม้
ช่างศรทั้งหลายก็ยังมิได้ดัด. บทว่า น กณฺณายตมุตฺเตน ความว่า
ยังไม่ดึงสายมาให้พ้นหมวกหูขวาเป็นกำหนด. บทว่า น ปิ โมรุป-
เสวินา ความว่า ยังมิได้ทำการติดขนปีกนกยูง และขนปีกนกแร้ง
เป็นต้น. บทว่า เตนมฺหิ หทเย วิทฺโธ ความว่า ถูกลูกศรคือ

กิเลสนั้นเสียบแทงที่หัวใจ. ด้วยบทว่า สพฺพงฺคปริฬาหินา นี้
ท่านแสดงว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาภาพถูกแทงที่หัวใจ ด้วยลูก-
ศรคือกิเลสนั้น อันสามารถทำให้อวัยวะทั้งปวงเร่าร้อน ตั้งแต่เวลา
ที่อาตมาภาพถูกลูกศรนั้นแทงแล้ว อวัยวะทุกส่วนของอาตมาภาพเร่า-
ร้อน เหมือนไฟติดไปทั่วฉะนั้น. บทว่า อาเวธญฺจ น ปสฺสามิ

ความว่า อาตมาภาพไม่เห็นที่ที่ลูกศรแทง. บทว่า ยโต รุหิรมสฺสเว
ความว่า เลือดของอาตมาภาพไหลออกจากรูแผลใด อาตมาภาพไม่
เห็นแผลนั้น. ศัพท์ว่า ยาว ในบทว่า ยาว อโยนิโส จิตฺตํ นี้

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่ามั่นคง. อธิบายว่า ลูกศรแทงจิตที่คิดโดยไม่
แยบคายได้อย่างมั่นเหมาะเหลือเกิน. บทว่า สยํ เม ทุกฺขมาภตํ
ความว่า อาตมาภาพนำทุกข์มาให้แก่ตนด้วยตนเองทีเดียว.

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยคาถา ๓ คาถา
นี้ อย่างนี้แล้ว จึงทูลให้พระราชาเสด็จออกประทับภายนอกบรรณ-
ศาลา แล้วกระทำกสิณบริกรรมทำฌานที่เสื่อมให้เกิดขึ้นแล้ว ออก
จากบรรณศาลาเหาะขึ้นไปนั่งอยู่กลางอากาศ โอวาทพระราชาเสร็จ
แล้วทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจักไปอยู่ป่าหิมพานต์ตามเดิม แม้

พระราชาจะตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ อย่าไปเลย ก็ทูลชี้แจงว่า
มหาบพิตร เพราะอาตมาภาพอยู่ในที่นี้จึงได้รับอาการอันผิดแผกเห็น
ปานนี้ บัดนี้ ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ต่อไป ทั้ง ๆ ที่พระราชาทรงอ้อน-
วอนอยู่นั่นเอง ก็เหาะไปป่าหิมพานต์ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ในเวลา
สิ้นสุดอายุก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจกถา ภิกษุผู้
กระสันจะสึกก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต. บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน
บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. พระ-
ราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนดาบสคือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสังกัปปราคชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้มักโกรธรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อชฺชาปิ เม
ตํ มนสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มักโกรธมากไปด้วยความคับ
แค้นใจ ถูกใครว่าอะไรแม้เพียงนิดเดียวก็โกรธ ข้องใจ กระทำความ
โกรธ ความประทุษร้าย และความน้อยใจให้ปรากฎ. อยู่มาวันหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
รูปโน้นเป็นคนโกรธง่าย มากไปด้วยความคับแค้นใจ เที่ยวทำเสียง

เอะอะเหมือนเกลือที่เขาใส่ในเตาไฟ เป็นผู้บวชในศาสนาที่สอน
มิให้โกรธเห็นปานนี้ แม้แต่ความโกรธเท่านั้น ก็ไม่อาจข่มได้. พระ-
ศาสดาทรงตรัสถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้ไป
เรียกภิกษุรูปนั้นมา แล้วตรัสถามว่า ข่าวว่าเธอเป็นผู้โกรธง่ายจริง
หรือ ? เมื่อภิกษุรูปนั้นรับเป็นสัตย์แล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ได้เป็นคนมักโกรธเหมือน
กัน ภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง
พาราณสี โอรสของพระเจ้าพรหมทัต นั้นได้มีนามว่า พรหมทัตต-
กุมาร. แท้จริงพระราชาครั้งเก่าก่อน แม้จะมีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ใน
นครของตน ก็ย่อมส่งพระราชโอรสของตน ๆ ไปเรียนศิลปะยังภาย
นอกรัฏฐะในที่ไกล ด้วยหวังใจว่า เมื่อกระทำอย่างนี้ พระราชโอรส

เหล่านั้น จักเป็นผู้ขจัดความเย่อหยิ่งด้วยมานะ ๑ จักเป็นผู้อดทนต่อ
ความหนาวและความร้อน ๑ จักได้รู้จารีตประเพณีของชาวโลก ๑
เพราะฉะนั้น พระราชาแม้พระองค์นั้น จึงมีรับสั่งให้หาพระราชโอรส
ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษามา แล้วพระราชทานฉลองพระบาทชั้น
เดี่ยวคู่ ๑ ร่มใบไม้คันหนึ่ง และทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ พลาง

ตรัสว่าลูกรัก เจ้าจงไปยังเมืองตักกศิลา ร่ำเรียนเอาศิลปะมา แล้ว
ทรงส่งไป. พระราชโอรสรับพระราชโองการแล้วถวายบังคมพระ-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ชนกชนนีแล้วเสด็จออกไป บรรลุถึงเมืองตักกศิลาโดยลำดับ ได้ไป
ถามหาบ้านอาจารย์ก็ในเวลานั้น อาจารย์สอนศิลปะแก่พวกมาณพ
เสร็จแล้วลุกขึ้นมานั่ง ณ ที่ข้างหนึ่งที่ประตูเรือน. พระราชโอรสนั้น
ไปที่บ้านอาจารย์นั้น ได้เห็นอาจารย์นั่งอยู่ในที่นั้น ครั้นแล้วจึงถอด
รองเท้าตรงที่นั้นแหละ ลดร่ม ไหว้อาจารย์แล้วยืนอยู่. อาจารย์นั้น

รู้ว่าพระราชโอรสนั้นเหน็ดเหนื่อยมาจึงให้กระทำอาคันตุกสงเคราะห์.
พระกุมารเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว พักผ่อนอยู่ครู่หนึ่ง จึงเข้าไป
หาอาจารย์ไหว้แล้วยืนอยู่ เมื่ออาจารย์ทิศาปาโมกข์ถามว่า เธอมา
จากไหนน่ะพ่อ จึงกล่าวตอบว่า มาจากเมืองพาราณสี. เธอเป็นลูก
ใคร ? เป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี. พระองค์เสด็จมาด้วยประสงค์

อะไร ? ท่านอาจารย์ข้าพเจ้ามาเพื่อต้องการเรียนศิลปะ. พระองค์นำ
ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์มาด้วยหรือเปล่า หรือพระองค์จะเป็น
ธัมมันเตวาสิก. พระราชกุมารนั้นกล่าวว่า ทรัพย์อันเป็นส่วนของ
อาจารย์ข้าพเจ้านำมาด้วยแล้ว ว่าแล้วก็วางถุงทรัพย์พันกหาปณะลงที่
ใกล้เท้าของอาจารย์แล้วก็ไหว้. อันศิษย์ที่เป็นธัมมันเตวาสิก เวลา

กลางวันต้องทำการงานให้อาจารย์ กลางคืนจึงจะได้เรียน. ศิษย์ที่ให้
ทรัพย์อันเป็นส่วนของอาจารย์ เป็นเหมือนบุตรคนโตในเรือน เรียน
แต่ศิลปะเท่านั้น. เพราะฉะนั้น อาจารย์แม้นั้น พอมีฤกษ์งามยามดี
แล้ว จึงเริ่มสอนศิลปะแก่พระกุมารโดยพิสดาร. ฝ่ายพระราชกุมาร

ก็เรียนเอาศิลปะด้วยความตั้งใจ วันหนึ่ง ได้ไปอาบน้ำพร้อมกับ
อาจารย์. ครั้งนั้นมีหญิงชราคนหนึ่ง ขัดสีเมล็ดงาให้หมดเปลือกแล้ว
เอามาแผ่ตากไว้ นั่งเฝ้าอยู่. พระกุมารเห็นเมล็ดงาที่ตากไว้ ก็อยาก
จะเสวย จึงหยิบเมล็ดงามาหนึ่งกำมือแล้วเคี้ยวเสวย. หญิงชราคิดว่า
มาณพนี้คงอยากกิน จึงนิ่งเสียมิได้กล่าวประการใด. แม้ในวันรุ่งขึ้น
พระกุมารนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้น ในเวลานั้น. แม้หญิงชรานั้นก็

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 65, 66, 67, 68, 69, 70, 71 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร