วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2015, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



พูดถึง "ความโกรธ" กับ "โทสะ" นี้มันก็มีความหมายต่างกันอยู่บ้างนะ
ความโกรธนี้มันเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก เรียกว่า ความไม่พอใจ
ความหงุดหงิดภายในใจในเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจต่างๆ นี้นะ

มันหงุดหงิดขึ้นมา ฉุนเฉียวขึ้นมาแต่ยังไม่กล้าที่จะลงมือประหัตประหาร
เบียดเบียนบุคคลอื่นและสัตว์อื่น อย่างนี้ท่านเรียกว่า ความโกรธ เป็นอย่างนั้น
อย่างน้อยก็เป็นแค่ว่าถกเถียงกันไปธรรมดา

ทีนี้เมื่อบุคคลผู้นั้นไม่ระงับความโกรธนี้ให้เบาบางลงไป
ส่งเสริมให้มันมีกำลังกล้าขึ้นมากขึ้นไป ถึงกับลงมือประหัตประหารกันได้
อันนี้ท่านเรียกว่า โทสะ แปลว่า ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน
นี่มันเป็นอย่างนั้น
ให้รู้จักลักษณะอาการของกิเลสซึ่งมีสองชื่ออย่างนี้

เอ้า สามชื่อเข้าไปอีก นอกจากโทสะแล้วก็ "พยาบาท"
พยาบาทนี่หมายความว่า เมื่อในปัจจุบันนี้ตนโกรธใครแล้ว
ก็ไม่สามารถที่จะแก้แค้นได้ อย่างนี้ก็ผูกใจเจ็บไว้ในใจว่า
เอ้า ชาตินี้เราทำแกไม่ได้ เอ้าชาติหน้าขอให้เราทำได้ สังหารแกได้

อย่างนี้นะผูกใจเจ็บไว้อย่างนี้เหมือนพระเทวทัตผูกอาฆาตกับพระพุทธเจ้า
นั่นล่ะมันเป็นอย่างนั้นแหละ เมื่อเกิดไปชาติหน้ากรรมเหล่านี้
ก็ดลบันดาลให้ไปพบกันเข้าอีกแล้วก็หาเรื่องเหมือนกับกรรมอันนี้ล่ะ
บันดาลให้หาเรื่องทะเลาะวิวาทกันขึ้น ประหัตประหารกันไป

อันนี้แหละที่มนุษย์เราประหารกันอยู่ในโลกอันนี้
มันก็สืบเนื่องมาแต่ปัจจัยหนหลังนั่นแหละ มันพยาบาท
ผูกใจเจ็บต่อกันและกันไว้ไม่รู้จักละไม่รู้จักวางเลย
อย่างนี้นะมันก็ผูกพันกันไป ท่านว่ามันถึงห้าร้อยชาตินู่นน่ะ

ถ้าหากว่าไม่ได้พบพระพุทธเจ้า หรือไม่ได้พบสาวกของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระองค์ แล้วไม่ยกโทษให้แก่กันและกันแล้ว
เวรนั้นย่อมไม่จบ ตามสนองไปถึงห้าร้อยชาตินู่นจึงจะหมดเขตลงน่ะ

เว้นเสียแต่ว่า ไปพบนักปราชญ์บัณฑิตเข้าไป ฟังคำสอนของท่าน
ท่านแนะนำให้รู้จักยกโทษให้แก่กันและกัน อภัยซึ่งกันและกัน
อย่างนี้แล้วก็ต่างยกโทษให้แก่กันและกันแล้ว เวรนั้นก็ย่อมระงับไป
มันจะไม่ติดสอยห้อยตามไปสนองในโลกหน้าต่อไปอีก

นี่มันเป็นอย่างนี้อันวิธีระงับกิเลสตัณหาเนี่ย มันก็เป็นอย่างนี้
พูดถึงระงับโทสะพยาบาทนี่ เราพูดกันซึ่งหน้า
ต่างคนต่างก็เห็นโทษแห่งความโกรธความพยาบาทต่างๆหมู่นี้
แล้วเราอภัยให้แก่กันเลย
เลิกแล้วกันไปอย่างนี้ก็เป็น "วิธีระงับกรรมเวร" อย่างหนึ่ง


อย่างหนึ่งก็ "ระงับด้วยภาวนาสมาธิด้วยการเจริญเมตตา" ทุกวันทุกคืนไป
เจริญเมตตาก็เจริญไปจนว่า ใจมันสงบ มันรวมลงเป็นหนึ่งนู่น
ไม่ใช่ว่าเจริญนึกธรรมดาแล้วแล้วไปเลย อย่างนั้นมันไม่มีประสิทธิภาพ
เมตตาอย่างว่านั่นน่ะ มันกำลังอ่อน เราเพ่งพิจารณาเมตตา
เราปรารถนาให้ตัวเองเป็นสุขด้วยและปรารถนาให้บุคคลอื่นสัตว์อื่นเป็นสุขด้วย
ทำยังไงหนอเราถึงจะเป็นสุข ทำอย่างไรหนอบุคคลอื่นและสัตว์อื่น
จึงจะเป็นสุขได้อย่างนี้นะ เพ่งพิจารณาไปมา จนว่าใจนั้น
มันเกิดความรู้สึกในตัวเองและบุคคลอื่นเหมือนกันหมดทั้งโลกนี้เลย
รู้สึกว่าใจของเราไม่คิดอิจฉาเบียดเบียนใครต่อใครแล้ว
มันก็รวมลงเป็นหนึ่งได้เลยบัดนี้ มันสงบนิ่งอยู่ได้
การเจริญเมตตาแบบนี้แหละมีประสิทธิภาพมาก

สามารถบรรเทาความโกรธความพยาบาทต่างๆ
ให้เบาบางออกไปจากจิตใจได้ นี้ให้พึงพากันบำเพ็ญ

อันบรรดากิเลสตัวนี้น่ะมีอยู่ทุกคนแหละ
ต่างแต่มากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้นเองแหละ
ถึงแม้มีน้อยก็ตามน่ะถ้าบุคคลใดไม่เพียรละมันแล้ว
ต่อไปมันก็จะมากขึ้นอยู่ในนั้นแหละ เมื่อไม่เพียรละมันอย่างนี้แล้วนะ
มันมีเชื้ออยู่ภายในนั้นแล้ว เวลาที่เชื้อภายนอกมันมากระทบกระทั่งเข้าไป
ครั้งนั้นนิดครั้งนี้หน่อยเข้าไป ความโกรธอันนั้นก็แรงขึ้นแรงขึ้นล่ะ

เพราะว่า ไอ้เชื้อภายนอกน่ะมันมากระทบกระทั่งบ่อยๆ มายั่วบ่อยๆ อย่างนี้นะ
มันก็เลยกลายเป็นโทสะพยาบาทไปได้เหมือนกันแหละ
ทีแรกก็มีแต่ความโกรธธรรมดา ไม่กล้าเบียดเบียนใครแหละ
แต่มันมีเชื้อเหล่านั้นมากระทบกระทั่งมากๆ เข้าไปแล้ว
หากไม่เพียรละมันแล้วก็แน่นอนล่ะมันก็เลยกลายเป็นโทสะพยาบาท

ดังอธิบายมาแล้วนั่นแหละ ให้พากันเข้าใจ

เพราฉะนั้น การเจริญเมตตากรุณาเนี่ยมันเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน
ที่จะต้องบำเพ็ญแท้ๆ แต่ทีแรกเราก็ต้องเมตตาตนของตนนี่แหละก่อนน่ะ
เมื่อตนของตนทำใจของตนให้เยือกเย็นสบายลงได้แล้วก็มานึกถึงผู้อื่น


เริ่มแรกก็นึกถึงผู้มีอุปการะแก่ตน เช่น มารดาบิดา ลุงป้าน้าอา
หรือว่าใครก็ตามแหละที่อุปการะเกื้อกูลตนมา
ท่านเหล่านั้นเราถือว่ามีอุปการคุณแก่ตน ตนจะไม่ลืมพระคุณเหล่านั้น
แล้วเราก็แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านผู้มีพระคุณเหล่านั้น
ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ยังมีชีวิตอยู่ก็ดี ก็ขอให้ท่านเหล่านั้น
ได้รับอนุโมทนาส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้อุทิศไปนี้แล้ว
แล้วก็ขอให้มีความสุขในภพที่เกิดแล้วนั้นๆ เถิด

อันนี้เรียกว่าเราแผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศล
ให้แก่ท่านผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้น
อันนี้ลืมไม่ได้ ถ้าเราลืมท่านผู้มีอุปการคุณเหล่านี้เสีย
เราก็เป็นหนี้บุญคุณท่านแหละบัดนี้นะ


:b47: :b47:

ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ “โทษแห่งโทสะ”

:b44: รวมคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=51952

:b44: ประมวลภาพ “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=20963

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2015, 03:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 14:07
โพสต์: 278


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
Kiss :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2019, 09:11 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2019, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร