วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 18:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2015, 22:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพระพุทธศาสนา ๑๙. เกณฑ์กรรม

สาเหตุไม่เชื่อกรรม ๒ อย่าง
ในจิตใจที่มีสามัญสำนึกของทุกๆ คน ย่อมมีความรู้สึกว่า
มีความดีความชั่ว มีผลของความดีความชั่ว และผู้ทำ
นั้นเองเป็นผู้มีความดีความชั่วติดตัวอยู่
เพราะใครทำกรรมอันใดกรรมอันนั้นย่อมจารึก
อยู่ในจิตใจ และผู้ทำนั้นเองต้องเป็นผู้รับผล
คือรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ความพิสดาร
ในเรื่องนี้ได้แสดงแล้ว แต่การที่คนไม่น้อยยังไม่มี
ความเชื่อตั้งมั่นลงไปในกรรมตามหลักที่กล่าว
ซึ่งรวมรัดโดยย่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ก็
เพราะเหตุ ๒ ประการคือ
๑. ความลำเอียงเข้ากับตนเอง หรือถือเอาแต่ใจตน
๒. ไม่เห็นผลสนองที่สาสมทันตาทันใจ
๑. ความลำเอียงเข้ากับตนเองนั้น คือมุ่งประโยชน์ตน
หรือมุ่งจะได้เพื่อตนเท่านั้น ไม่คำนึงถึง
ความเสียหายทุกข์ยากของผู้อื่น
ดังเช่นเมื่อโกรธขึ้นมาก็ทำร้ายเขา เมื่ออยาก
ได้ขึ้นมาก็ลักของเขา เมื่อทำได้สำเร็จดังนี้ก็มี
ความยินดีและอาจเข้าใจว่าทำดี แต่ในขณะเดียวกันก็
ไม่อยากให้ใครมาทำร้ายตัวเรา มาลักของเรา
ถ้าใครมาทำเข้า เราก็ต้องว่าเขาไม่ดี ถึงเราจะไปยั่ว
ให้เขาโกรธ เมื่อเขาโกรธขึ้นมาทำร้ายร่างกายเรา
เราก็ยังว่าเขาไม่ดีอยู่นั่นเอง การกระทำอย่างเดียว
กัน จะดีบ้างไม่ดีบ้างอย่างไรได้
เหมือนอย่างการทำร้ายร่างกาย การลักทรัพย์
เมื่อเราทำแก่เขาได้ก็เป็นดี แต่ถ้าเขาทำแก่เราเป็น
ไม่ดี จะเป็นดังนี้หาถูกต้องไม่ เพราะ
เป็นการที่เราพูดเอาเองอย่างไม่ยุติธรรม
แต่การลำเอียงเข้ากับตนเองข้อนี้แหละ
เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนเป็นอันมาก
ยังประกอบกรรมชั่วเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง
หรือประโยชน์แก่ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับตน ถึง
จะมีกรรมศรัทธาอยู่อย่าง
ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามีอยู่ทั่วๆ ไปก็ตาม เมื่อ
ความมุ่งจะได้ (โลภะ) ความโกรธแค้นขัดเคือง (โทสะ
) ความหลงผิด (โมหะ)
มีกำลังแรงกล้ากว่ากำลังศรัทธา
คนก็ประกอบกรรมที่ชั่วได้ สุดแต่ใจที่อยากได้
ที่โกรธ ที่หลง จะฉุดชักนำไป ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่
เพราะไม่มีความรู้สึกสำนึกรู้ในความดีความชั่ว ก็มี
ความรู้สึกสำนึกรู้เหมือนกัน แต่ไม่มีกำลังใจ
ในฝ่ายสูงที่จะห้ามกำลังใจในฝ่ายต่ำ จึงยับยั้งตนเองไว้
ไม่ได้ มีคนเป็นอันมากเมื่อทำไปแล้วเกิดเสียใจ
ในภายหลัง ดังเช่นเมื่อทำอะไรลงไปในขณะที่อยาก
ได้หรือรักชอบอย่างจัด ในขณะที่โกรธจัด
ในขณะที่หลงจัดอย่างที่เรียกว่าหลงอย่าง
ไม่ลืมหูลืมตา หรือ
ในขณะที่กำลังเมาสุราอันเรียกได้ว่าหลงเหมือนกัน
ครั้นเมื่อสร่างรัก สร่างชัง สร่างหลง สร่างเมา
แล้ว ก็กลับเสียใจในกรรมที่ตนได้ประกอบไป
แล้วในขณะที่ใจวิปริตเช่นนั้น บางทีทำให้
เป็นรอยแผลจารึกอยู่ในจิตใจ คอยสะกิด
ให้เจ็บช้ำเดือดร้อนอยู่ตลอดเวลานาน และทำ
ให้เกิดความเกลียดตนเองหรือรังเกียจตนเองจนถึง
ต้องหลบหน้าเพื่อนฝูงมิตรสหายไปก็มี แต่ถึง
จะหลบหน้าคนอื่นเป็นส่วนมากได้แต่หลบตนเอง
ไม่พ้น เมื่อเกิดความเกลียด
หรือรังเกียจตนเองมากขึ้นจนไม่สามารถจะทนอยู่
ในโลกได้ต้องพยายามทำลายตนเองไปก็มี ฉะนั้น
เมื่อเกิดแผลในใจขึ้นก็มัก
เป็นชนิดโรคเรื้อรังที่รักษาหายยาก สู้ป้องกันไม่
ให้มีขึ้นไว้ก่อนไม่ได้ ทั้งนี้
ด้วยวิธีปลูกกรรมศรัทธาคือ
ความเชื่อกรรมนี้แหละให้ตั้งมั่นขึ้นในใจ ให้มี
เป็นกำลังใจจนพอที่จะเชื่อใจได้ว่าจะ
ไม่ประกอบกรรมที่ชั่วที่ผิดอะไรๆ ถ้า
ยังคลางแคลงสงสัยไม่เชื่อใจตนเองว่าจะยับยั้งใจไว้
ได้ ก็ต้องเว้นจากสิ่งยั่วยุเย้าแหย่ต่างๆ ฉะนั้น
ทางบิดามารดาหรือผู้ปกครองและทางโรงเรียน
จึงได้คอยแนะนำสั่งสอนห้ามปราม ไม่
ให้อ่านหนังสือบางชนิด ไม่ให้ดูภาพยนตร์บางชนิด ที่
เป็นเครื่องยุแหย่ยั่วเย้าให้ประพฤติผิดศีลธรรม
และวัฒนธรรมอันดี คำแนะนำห้ามปราม
นั้นก็สมควรที่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม เป็นการป้อง
กันตัวเราเองไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ท่านผู้ใหญ่ที่กรุณา
ให้คำแนะนำตักเตือนก็ดี
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนก็ดี ท่านก็
ได้แต่เป็นเพียงผู้บอกกล่าวแนะนำ ส่วนความเชื่อฟัง
เป็นหน้าที่ของเราเอง เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่
ในใจของเรา ถ้าใจของเราเกิดดื้อดึงขัดแย้ง
ไม่เชื่อฟังเสียแล้ว คำแนะนำตักเตือนต่างๆ ก็
ไม่มีประโยชน์ หรือมีประโยชน์น้อยมาก ฉะนั้น
จึงควรที่จะคอยตรวจดูใจของเราเองว่ามี
ความเชื่อฟังต่อคำแนะนำสั่งสอนอยู่เพียงไร มี
ความดื้อดึงขัดแย้งอยู่เพียงไร และคิดต่อไปว่า
เพราะเหตุไร หรือหมั่นคิดอยู่ดังนี้แล้ว
จะเห็นผลเทียบเคียงได้เอง
ถ้าคิดตั้งใจฟังคำชี้แจงของท่าน ไม่ตั้งป้อมดื้อดึงเสียก่อน
แล้ว ก็คงจะได้ความกระจ่างในคำแนะนำของท่าน
และจะได้ซาบซึ้งในเมตตากรุณาของท่าน การหัดมี
ความเชื่อฟังอย่างมีเหตุผลนี้ เป็นวิธีแก้ความลำเอียง
เข้ากับตนเองที่เป็นเหตุให้ทำอะไรตามใจตนเองโดย
ส่วนเดียว ผู้ใหญ่ที่ดีจึงไม่ตามใจเด็กในทางที่ผิด
คอยแนะนำห้ามปราม หรือแม้
ต้องปราบเอาบ้างตามสมควร เป็นการหัดไม่
ให้ลำเอียงเข้ากับตนเอง
หรือถือเอาแต่ใจตนเองมาตั้งแต่อ่อน เข้า
ในคำว่าดัดไม้ตั้งแต่อ่อน เพราะดัดเมื่อแก่นั้น
เป็นการดัดยาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงคงเป็นการสั่งสอนให้
เป็นคนรู้ผิดรู้ถูกอย่างมีเหตุผล
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องทุกๆ วัน ทำให้รู้จักเชื่อ
ในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อว่ามีถูกมีผิด มีเหตุมีผล ซึ่งเมื่อเป็น
ความผิดแล้ว ตัวเราเองทำก็ผิด คนอื่นทำก็ผิด เมื่อ
เป็นความถูกแล้ว ตัวเราเองทำก็ถูก คนอื่นทำก็ถูก
ข้อนี้แหละเป็นกรรมศรัทธา ที่ผู้
ใหญ่สมควรปลูกฝังให้แก่เด็กมาตั้งแต่ต้น และผู้
ใหญ่ก็ควรเว้นจากการการทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่งาม
ให้เด็กเห็นและอ้างได้ว่าทำไมผู้ใหญ่ทำได้ เช่นห้ามไม่
ให้เด็กทะเลาะวิวาทกันแต่ผู้
ใหญ่เมาสุราทะเลาะวิวาทกัน ห้ามไม่
ให้เด็กเล่นการพนันเที่ยวเตร่แต่ผู้
ใหญ่เล่นการพนันเที่ยวเตร่ เหล่านี้เป็นต้น เมื่อทำ
ให้เห็นเป็นตัวอย่างไม่ดี ก็ทำให้เด็กอยากเอาอย่าง ทำ
ให้น้ำหนักในคำอบรมห้ามปรามน้อยลงไปจนเกือบ
จะไม่มีความหมายอะไรและจะเข้าทำนองคำว่า
จงทำตามคำที่ฉันพูด แต่อย่าประพฤติอย่างที่ฉันทำ
๒. ไม่เห็นผลสนองที่สาสมทันตาทันใจ โดยมาก
ต้องการเห็นผลของกรรมเกิดสนอง
ให้เห็นอย่างสาสมทันตาทันใจ เช่นเมื่อทำกรรมดี
ก็อยากเห็นกรรมดีให้ผล
เป็นรางวัลอย่างมากมายทันตาทันใจ เมื่อเห็นหรือ
ได้ทราบว่าใครทำกรรมชั่ว และไม่เห็นว่า
เขาเสื่อมเสียอย่างไรหรือกลับเจริญรุ่งเรือง
ก็สงสัยว่า ทำชั่วไม่ได้ชั่วจริงกระมัง
อันที่จริงกรรมดีต้องให้ผลดี กรรมชั่วต้อง
ให้ผลชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อย่างไม่ผิด
โดยแน่นอน และผลที่สนองนั้นจะเรียกว่า
เป็นผลที่สาสมก็ได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
เป็นตัวอย่างในพระสูตร ๑ ว่า
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย (หมายถึง
ทั้งคนดิรัจฉานเป็นต้น ที่เกี่ยวข้องอยู่ในโลกทั้งหมด)
ให้เลวและดีต่างๆ กัน คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทำ
ให้มีอายุสั้น การเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทำ
ให้มีอายุยืน การเบียดเบียนเขาให้ลำบากทำ
ให้มีโรคมาก การไม่เบียดเบียนเขาให้ลำบากทำ
ให้มีโรคน้อย ความมักโกรธหุนหันขึ้งเคียดคับแ
ค้นขัดเคืองกระเง้ากระงอดทำ
ให้ผิวพรรณเศร้าหมองไม่งดงาม ความ
ไม่มักโกรธเคียดแค้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสงดงาม
ความมักริษยาผู้อื่นทำให้มีศักดิ์ต่ำต้อยน้อยหน้า ความ
ไม่ริษยาทำให้มีศักดิ์สูงใหญ่ ความไม่เผื่อแผ่เจือจานทำ
ให้มีโภคสมบัติน้อย ความเผื่อแผ่เจือจานทำ
ให้มีโภคสมบัติมาก
ความแข็งกระด้างถือตัวดูหมิ่นท่านทำให้เกิด
ในสกุลต่ำ ความไม่แข็งกระด้างถือตัวดูหมิ่นท่านมี
ความอ่อนน้อมเคารพนับถือ
ผู้ที่ควรอ่อนน้อมเคารพนับถือทำให้เกิดในสกุลสูง
ความไม่เข้าหานักปราชญ์หรือผู้รู้ศึกษาไต่ถามทำ
ให้มีปัญญาทราม การเข้าหานักปราชญ์หรือ
ผู้รู้ศึกษาไต่ถามทำให้มีปัญญามาก
ผลที่สาสมกันของกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
เป็นตัวอย่างดังที่กล่าวมานี้
เป็นผลของกรรมเก่าคือกรรมที่ทำไว้แล้ว
ในอดีตกาล ส่วนกรรมใหม่คือกรรมที่ทำ
ในปัจจุบันนี้ท่านแสดงว่าจักให้ผลในชาติปัจจุบันนี้
เหมือนอย่างในวันนี้ ในเดือนนี้ ในปีนี้เองก็มี จักให้ผล
ในชาติหน้า เหมือนอย่างในวันพรุ่งนี้ ในเดือนหน้า
ในปีหน้าก็มี จักให้ผลในชาติต่อๆ ไป เหมือนอย่าง
ในวันมะรืนนี้ หรือในเดือนโน้น ในปีโน้นเป็นต้นก็มี ฉะ
นั้น การให้ผลของกรรมจึงเกี่ยวแก่กาลเวลา
เป็นสำคัญ การกระทำทุกๆ อย่างที่ให้ผลนั้น
ต้องเกี่ยวแก่กาลเวลาทั้งนั้น เช่นการปลูกต้น
ไม่มีผลก็มิใช่ว่าต้นไม่นั้นจะให้ผลทันที
ต้องรอจนต้นไม้เจริญเติบโต และถึงฤดูกาลให้ผล
จึงจะให้ผลตามชนิด การเรียนหนังสือก็มิใช่ว่า
จะเรียนให้สอบไล่ได้ในวันเดียว
ต้องเรียนเรื่อยไปจนถึงกำหนดสอบไล่จึง
เข้าสอบไล่ บางทีก็ต้องเรียนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ
ไม่ละความพยายามก็อาจจะสอบไล่ได้
การทำการค้าประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ
รับราชการ หรือประกอบอาชีพทุกอย่างก็เหมือน
กัน จะได้รับผลก็อาศัยกาลเวลาทั้งนั้น และผลที่
ได้รับนั้นจะดีหรือไม่ดีอย่างไร จะรวดเร็ว
หรือช้าอย่างไร ก็สุดแต่สถานการณ์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง แม้ในเรื่องกรรม
ให้ผลท่านก็แสดงว่าเกี่ยวแก่สถานการณ์ ๔ อย่างคือ
(๑) คติ (๒) อัตภาพ (๓) กาลสมัย (๔) การประกอบ
ส่วนประกอบของการให้ผลของกรรม ๔ อย่าง
(๑) คติ คือที่ไป แสดงในปัจจุบัน คือไปทุกๆ แห่ง
จะไปเที่ยวไปพักอาศัยชั่วคราวหรือไป
อยู่ประจำก็ตาม คนที่ทำดีมาแล้ว ถ้าไปในที่ที่ไม่ดี
ความดีที่ทำไว้ก็อาจจะยังไม่ให้ผล
เหมือนอย่างนักเรียนที่เรียนมัธยม ๖ มาแล้ว
จากต่างจังหวัด เรียกว่าได้ทำความดีมาแล้วถึงชั้นนี้
และเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่ไปอยู่ในหอพักที่
ไม่ดี เมื่อควรจะไปโรงเรียนก็ไม่ไป
แต่ไปเถลไถลเสียที่อื่น อย่างนี้เรียกว่ามีคติที่ไปไม่ดี
ความดีเท่าที่ทำไว้คือที่เรียนมาจนจบมัธยม ๖
ในต่างจังหวัด ก็ไม่ส่งเสริม
ให้เจริญวิทยฐานะขึ้นต่อไป ส่วนนักเรียนที่เรียนมา
ไม่สู้ดี ไม่จบถึงชั้นไหน แต่เกิดความตั้งใจดี ไปพักอาศัย
อยู่ในที่ดีและไปเรียนกวดวิชาอย่างจริงจัง ก็อาจ
จะสอบขึ้นชั้นสูงได้ ตัวอย่างนี้
เป็นเพียงตัวอย่างเฉพาะเรื่องเท่านั้น เมื่อกล่าวโดย
ส่วนรวมแล้ว คนที่มีกรรมเก่าไม่ดี แต่ว่ามีคติใหม่ดี
อย่างที่เรียกว่ากลับตนดำเนินทางใหม่ คือเว้นจากทาง
ไม่ดีเก่าๆ ที่เคยดำเนินมา มาเปลี่ยนดำเนินทาง
ใหม่ที่ดีอันตรงกันข้าม กรรมชั่วที่ทำไว้
แล้วแต่ก่อนก็อาจยังไม่ให้ผล ได้
ในคำว่ามืดมาสว่างไป ถ้าทางเก่าก็ไม่ดี ทางใหม่ก็ไม่ดี
ได้ในคำว่า มืดมามืดไป ก็เป็นอันเอาดีไม่ได้เลย
ส่วนคนที่ทำความดีมาแล้วเรียกว่าเดินทางถูกมาแล้ว
แต่ต่อมากลับไปเดินทางผิด กรรมดีที่ทำไว้
แล้วก็อาจยังให้ผลไม่ได้ ได้ในคำว่าสว่างมามืดไป
ฝ่ายคนที่มาดีคือเดินทางมาถูกแล้ว
และก็เดินทางถูกต่อไป เป็นอันว่าความดีที่ทำ
ไว้สนับสนุนให้ดีอีกต่อไปไม่ขาดสาย ได้
ในคำว่าสว่างมาสว่างไป ฉะนั้น คติที่ไปหรือการไป
คือทางที่ทุกๆ คนดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้แหละสำคัญมาก
ในส่วนที่ล่วงมาแล้วจะผิดหรือถูกเราก็ได้ดำเนินมา
แล้ว ฉะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันแล้วไป หรือให้ถือ
เป็นบทเรียน ถ้าเดินทางดีมาแล้วก็จงเดินทางดี
นั้นต่อไป ถ้าทางที่เดินมาแล้วไม่ดีก็เปลี่ยนทางใหม่
เลือกเดินไปในทางที่ดี นับว่าเป็นผู้ที่กลับตัวได้ เข้า
ในคำว่ามืดมาสว่างไป
พระพุทธเจ้าโปรดปรานบุคคลเช่นนี้
ดังเช่นองคุลิมาลโจรเป็นตัวอย่าง เพราะทุกๆ
คนย่อมมีผิดพลาดมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง
ยิ่งผ่านชีวิตมามาก ยิ่งมีโอกาสผิดพลาดได้มาก จน
ถึงมีคำพังเพยว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์
ข้อสำคัญจึงอยู่ที่เมื่อทำผิดไปแล้วก็ให้รู้ตัวว่าทำผิด
และตั้งใจไม่ให้ทำผิดอีก เป็นอันนำตัวให้เข้าทางที่ถูก
นี่แหละคือคติที่ดีของชีวิตปัจจุบัน
(๒) อัตภาพ หมายถึง
ความมีร่างกายสมบูรณ์ประกอบด้วยพลานามัย
สามารถทำสิ่งที่ควรทำได้ตามต้องการ
พลานามัยของร่างกายนี้เป็นสิ่งสำคัญ ความดีจะ
ให้ผลเต็มที่ต่อเมื่อร่างกายสมบูรณ์ด้วย
เช่นเรียนหนังสือมาได้ถึงชั้นใดชั้นหนึ่ง นับได้ว่าทำ
ความดีมาจะเรียนต่อไปได้จนสำเร็จก็
ต้องมีร่างกายสมบูรณ์ที่สามารถจะเรียนต่อไปได้
ถ้าป่วย
เป็นโรคกระเสาะกระแสะการเรียนต่อก็ขัดข้อง
ไม่สะดวก หรือคนที่กำลังทำงาน ถ้าล้มป่วยลง
ความเจริญก็ชะงัก ในทางตรงกันข้าม
คนที่เคยประพฤติผิดพลาดเหลวไหลมาแล้ว
แต่ต่อมาได้คติของชีวิตที่ดีดังกล่าวแล้วในข้อคติ
ก็อาจประกอบกรรมที่ดีสืบต่อไปได้
ความเหลวไหลที่แล้วมาก็อาจยังไม่มีโอกาสให้ผล
ความมีอัตภาพร่างกายสมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญ
ในการดำเนินชีวิตทุกอย่าง
เพราะเครื่องบั่นทอนต่างๆ นั้นมีเป็นอันมาก กล่าว
โดยเฉพาะ
ในทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ก็แสดงว่ามีเชื้อโรคต่างๆ
ในที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
โดยรอบร่างกายมากมายหลายชนิด
เมื่อร่างกายมีกำลังต้านทานเชื้อโรคเพียงพอก็
ไม่เกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนแอลงเมื่อ
ใดเชื้อโรคก็ได้ช่องเมื่อนั้น ฉันใดก็ดี
กรรมดีกรรมชั่วต่างๆ ที่บุคคลทำไว้
ในปางหลังก็มีมากมาย ถ้าเราตั้งตัวไว้ดี
กรรมชั่วก็อาจไม่มีโอกาสให้ผล
กรรมดีมีโอกาสส่งเสริม
แต่เมื่อเพลี่ยงพล้ำลงเมื่อใด กรรมชั่วก็มีโอกาส
ให้ผลซ้ำเติมเมื่อนั้น
(๓) กาลสมัย หมายถึง ในกาลสมัยที่สมบูรณ์ มี
ผู้ปกครองดี มีหมู่ชนที่ดี กรรมดีก็มีโอกาสให้ผล
ได้มาก กรรมชั่วก็อาจสงบผลอยู่ก่อน เพราะ
ในกาลสมัยเช่นนี้จะพากันยกย่องอุดหนุนคนดี
ไม่สนับสนุนคนชั่ว ทำให้คนดีมีโอกาสปรากฏตัว
ประกอบกรรมที่ดีอำนวยให้เกิดประโยชน์สุขแก่
ส่วนรวมยิ่งขึ้น แต่ในกาลสมัยที่บกพร่อง มี
ผู้ปกครองไม่ดี มีหมู่ชนไม่ดี กรรมดีที่ตนทำไว้ก็
ไม่มีโอกาสให้ผล กรรมชั่วกลับมีโอกาสให้ผล
เพราะเป็นสมัยที่กดคนดี ยกย่องคนชั่ว นับว่า
เป็นกาลวิบัติ อีกอย่างหนึ่ง
ในกาลสมัยที่มีการกดขี่เบียดเบียนกันจน
ถึงทำสงครามกันดังเช่นสงครามโลกที่แล้วๆ มา คน
ในโลกได้รับภัยสงครามกันเป็นอันมาก นี้เรียกว่า
เป็นโอกาสที่กรรมชั่วซึ่งต่างได้กระทำไว้ในอดีต
ให้ผล ทำให้ต้องประสบภัยต่างๆ ตลอดถึง
ความทุกข์ยากขาดแคลนกันทั่วๆ ไป แต่
ในกาลสมัยที่มีความสงบเรียบร้อยก็เป็นไปตรง
กันข้าม ต่างไปเล่าเรียนศึกษาประกอบการงานกัน
ได้ตามปกติ
(๔) การประกอบกรรม หมาย
ถึงการประกอบกระทำในปัจจุบัน
ถ้าประกอบกระทำกรรมที่ดีที่ชอบอยู่ในปัจจุบัน
กรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีตก็อาจยังระงับผล
หรือแม้กำลังให้ผลอยู่แล้วก็อาจเอาลงได้ ดังเช่น
ผู้ที่ต้องถูกกักขังจองจำ เมื่อประพฤติตัวดีก็ย่อม
ได้รับผ่อนผันและลดเวลากักขังจองจำนั้นให้น้อย
เข้า ถ้ากรรมเก่าดีอยู่แล้วก็ยิ่งจะส่งเสริม
เหมือนอย่างนักเรียนที่ตั้งใจเรียนดีมาแล้ว
และตั้งใจเรียนดีอยู่ในปัจจุบัน ก็ช่วยกัน
ให้เรียนดียิ่งขึ้น แต่ถ้า
ในปัจจุบันนี้ประกอบกรรมที่ชั่วเสียหายก็
จะตัดผลของกรรมดีที่เคยทำมาแล้วด้วย
เหมือนอย่างข้าราชการที่ทำงานมาโดยสุจริตแล้ว
แต่มาทำทุจริตขึ้น ก็อาจตัดผลของความดีที่ทำมา
แล้ว ในเมื่อการทำทุจริตในหน้าที่นั้นปรากฏขึ้น
ตัวอย่างการให้ผลของกรรม
การให้ผลของกรรม ย่อมเกี่ยวแก่กาลเวลา
ประกอบกับสถานการณ์ทั้งสี่ดังกล่าวมานี้
ท่านเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบไว้ว่า
เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้หนึ่งรับราชการ
ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง แต่บุรุษผู้นั้นมิ
ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ไปข่มขู่ถือเอาทรัพย์ต่างๆ
ของประชาชนในเมืองที่ปกครองโดยพลการ แต่ก็
ยังไม่มีใครอาจจะฟ้องร้องว่ากล่าว
เพราะกลัวอำนาจ บุรุษผู้นั้นกำเริบยิ่งขึ้น ถึง
กับไปผิดในบุคคลที่เป็นใหญ่กว่าตนมีอำนาจยิ่งกว่าตน
จึงถูกจับไปเข้าเรือนจำ และมีประกาศ
ให้ประชาชนที่ถูกข่มเหงร้องทุกข์กล่าวโทษ
จึงมีเสียงร้องทุกข์กล่าวโทษขึ้นตั้งร้อยตั้งพัน บุรุษ
นั้นจึงถูกลงโทษไปตามความผิด เรื่องนี้พึงเห็น
ความเปรียบเทียบดังนี้ เวลาที่บุรุษนั้นได้รับแต่งตั้ง
เป็นเจ้าเมืองกำลังรุ่งเรืองก็เท่ากับเวลาตั้งอยู่
ในคติคือตำแหน่งมีอำนาจ ประกอบ
ด้วยมีฐานะของตนสูงทำอะไรได้ตามต้องการ อยู่
ในสมัยที่ตนมีอำนาจ ทั้งอยู่ในหน้าที่เป็นโอกาส
ให้ประกอบกระทำอะไรได้ อกุศลกรรมจึงยัง
ไม่มีโอกาสจะให้ผล ต่อเมื่อถูกจับเข้าเรือนจำ
เสียงร้องทุกข์กล่าวโทษเกิดขึ้นตั้งร้อยตั้งพันเรื่อง
ก็เท่ากับถึงกาลวิบัติของตน สถานการณ์ต่างๆ
ดังกล่าวที่เคยดีก็กลับเลวลง เข้า
ในคำว่าน้ำลดตอผุด อกุศลกรรมที่ตนทำไว้
จึงมีโอกาสให้ผล
รวมความว่า ทุกๆ คนทำกรรมใดๆ ไว้ กรรมนั้นๆ
ย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อๆ
ไปบ้าง ตามแต่กรรมนั้นๆ จะหนักเบาอย่างไร
ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูง
และโยนสิ่งต่างๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ใบหญ้า
เป็นต้น
ลงมาของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่พื้นดินก่อน
ส่วนของที่มีน้ำหนักน้อยกว่าก็ตกถึงพื้นดินภายหลัง
โดยลำดับ กรรมก็ฉันนั้น กรรมที่หนักให้ผลก่อน
ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่าหรือเบากว่าก็
ให้ผลตามหลัง การให้ผลของกรรมจึงเกี่ยว
กับกาลเวลา ประกอบกับสถานการณ์สี่อย่างคือ
(๑) คติ (๒) อัตภาพ (๓) กาลสมัย (๔)
การประกอบกรรมในปัจจุบัน แต่กรรมย่อม
ให้ผลแน่นอนตามพระพุทธภาษิตว่า
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ทำดีได้ดี
ปาปการี จ ปาปกํ ทำชั่วได้ชั่วแล

๑๘ มิถุนายน ๒๕๐๓

--------------------------------------------------------------

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นกัณฑ์เทศน์หนึ่งจากทั้งหมด ๓๕ กัณฑ์ ในเรื่องหลักพระพุทธศาสนา ที่สมเด็จพระญาณสังวร ได้เรียบเรียงขึ้น และเทศน์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการเลือกสรรหนังสือเพื่อจัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มสมุด สำหรับทรงถวายสมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในการฉลองชนมายุครบ ๖๐ ทัศ วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2015, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ใจ.jpg
ใจ.jpg [ 12.59 KiB | เปิดดู 1782 ครั้ง ]
:b3: พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้
กัมมัสสะโกมหิ (เรามีกรรมเป็นของๆตน)
กัมมะทายาโท (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
กัมมะโยนิ (เรามีกรรมนำเกิด)
กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พวกพ้อง)
กัมมะปะฏิสะระโน (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย)
ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราทำกรรมอันใดไว้)
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา (เป็นบุญหรือเป็นบาป)
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
:b8:

:b42: การตัดกรรมตัดเวร
โดย พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15167



:b42: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขความเจริญ อยู่เย็นเป็นสุข ท่านใดมีความทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านมีความสุขขอให้มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง สุขกายเจริญวัย สุขใจเจริญธรรม ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ (♡✿◕‿◕✿♡) :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร