วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 04:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2013, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


มะกอกมะนาว เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
SOAMUSA เขียน:
คนที่รู้ตัวว่าผิด แต่ยังฝืนทำนั้น แย่ยิ่งกว่า คนที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิดแล้วทำลงไป
ถ้ารู้ว่าสิ่งนั้นผิดแล้วยังทำลงไป มีโทษหนักกว่า คนที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิดแล้วทำลงไปอีกค่ะ


ทางโลกกับทางธรรมไม่เหมือนกันนะ
ในทางโลกนั้นรู้ว่าผิดกฎหมายแต่ก็ยังฝืนทำ ถือว่าเป็นความจงใจทำ
มีความผิดมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่รู้กฎหมาย แต่สำหรับผู้ที่ไม่รู้กฎหมายทำไป
เพราะรู้เท่าไม่ถึงกาล คือไม่มีความจงใจทำ โทษหนักก็เป็นเบา

แต่ถ้าเป็นทางธรรม คนที่ไม่รู้ว่าผิดนั่นแหละมีโทษมากกว่าคนที่รู้
เช่น ว่าเด็กเห็นถ่านไฟก้อนแดงๆ เด็กไม่รู้ว่ามันร้อนเด็กจะจับอย่างเต็มที่
ก็จะร้อนเป็นอย่างมาก แต่ทว่าคนที่รู้จักว่าถ่านไฟร้อน ถึงเวลาที่จำเป็นจะต้องจับ
เขาก็จับแบบโหย่งๆแล้วรีบปล่อยมือ ความร้อนมีแต่ก็ร้อนไม่มาก



คุณลุงหมานค่ะ ความเห็นของดิฉันเหมือนกับคุณ SOAMUSA ค่ะ และก็ไม่เข้าใจว่า คนที่รู้ตัวว่าผิดแล้วฝืนทำ จะมีโทษน้อยกว่า คนที่ไม่รู้แล้วทำ ได้อย่างไร

ถ้าพูดกันถึงสามัญสำนึกของคน คนที่รู้ย่อมต้องผิดมากกว่าคนไม่รู้อยู่แล้ว ใช่ไหมคะ

ขออภัยหากต้องขอให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเพื่อไขข้อข้องใจด้วยเถิดนะคะ



คือที่ลุงหมานพูดก็ถูก ในลักษณะของคนเชื่อกรรมและผลของกรรมค่ะ จึงทำกรรมแบบไม่เต็มที่
เช่น พ่อที่ฐานะยากจน ต้องหาปลามาให้ลูกๆ กิน พ่อเป็นคนเชื่อกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ที่นี้หาปลามาให้ลูกกิน ก็ต้องฆ่าปลานั้น ในขณะที่ทุบหัวปลาก็นึกรู้แล้ว การทำบาปด้วยกาีรทุบ
หัวปลานี้ วันข้างหน้าต้องได้รับผลกรรมแน่นอน แต่ภาวะจำยอมต้องทำ ต้องมีอาหารให้ลูกกิน
ก็ทุบหัวปลาไปก็ปลงไปด้วย ว่า เกิดแล้วต้องตาย ไม่เที่ยง ก็ภาวนาว่า ไม่เที่ยงๆๆๆ ไปด้วยทุบ
หัวปลาำไปด้วย อย่างนี้แหล่ะเค้าเรียกว่า หยิบโหย่งๆ แบบที่ลุงหมานว่า มันเป็นเรื่องของคนเชื่อเรื่อง
กรรมและผลของกรรมค่ะ

แต่ในส่วนที่ดิฉันพูดนั้น มันเป็นเรื่องของคนไม่เชื่อเรื่องกรรม คือไม่เชื่อเหตุ ไม่เชื่อผล และไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผลของการกระทำกรรม ดังนั้นจึงสามารถทำอะไรโดยไม่มีความเกรงกลัวต่อเวรกรรมที่จะส่งผล
ในภายหน้า คนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมนั้น เป็นมโนทุจริตที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นกรรมหนัก
คนไม่เชื่อเรื่องกรรม ย่อมทำได้ทุกอย่าง แม้รู้ว่าผิด ก็จะทำ ไม่ฟังคำเตือนจากใคร มีความประพฤติเป็น
ไปตรงกันข้ามกับคำสอนของพระพุทธเจ้า รู้ว่าเป็นความผิดแต่ก็จะทำ เพราะไม่เชื่อว่าผลกรรมมีจริง
ไม่เกรงกลัวในการทำกรรมชั่ว ถ้าเป็นคนแบบนี้ กรรมหนักแน่นอนเป็นครุกรรม ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร