ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ผู้เชื่อกรรม...ผู้เชื่อผลของกรรม (พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=34371
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 07 ก.ย. 2010, 22:57 ]
หัวข้อกระทู้:  ผู้เชื่อกรรม...ผู้เชื่อผลของกรรม (พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ)

รูปภาพ

ผู้เชื่อกรรม ผู้เชื่อผลของกรรม
ผู้เชื่อต่อวิบากของกรรม
ผู้เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอย่างนี้
ท่านไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้งโดยเด็ดขาด
ที่แจ้งคือ ไม่ทำบาปด้วยกาย ไม่ทำบาปด้วยวาจา
ที่ลับ ไม่ทำบาปด้วยใจ เพราะท่านเชื่อต่อกรรม
คำว่ากรรม คือการเชื่อว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
เชื่อผลของกรรม เมื่อเหตุ คือ การกระทำมี ผลก็ต้องมี
เป็นสิ่งที่เราผู้ทำ ต้องรับเอาผล
ส่วนวิบากต้องติดตามไปเป็นสิ่งที่เราผู้ทำกรรมดี
หรือกรรมชั่วต้องเสวย เป็นหน้าที่ของเรา
พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างนี้
เหตุที่พระองค์ตรัสสอนอย่างนี้
เนื่องจากพระองค์ตรัสรู้ตามกฎของกรรมอันแท้จริง
ฉะนั้น ผู้เชื่อต่อกรรมและผลของกรรม
จึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
ท่านทำแต่คุณงามความดี
ประพฤติกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ



ที่มา...กรรม และวิบากของกรรม
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ จากหนังสือ “กุลเชฏโฐอนุสรณ์”
ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนิน พระราชทานเพลิงศพ
ณ วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) เดือนเมษายน ๒๕๒๔

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=25697

:b48: :b8: :b48:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 08 ก.ย. 2010, 20:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ผู้เชื่อกรรม...ผู้เชื่อผลของกรรม

พระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ปราชญ์จึงยกย่องการแสดงธรรมของพระพุทธองค์อีกประการหนึ่งว่า "กรรมวาที"

ถ้าจำไม่ผิด พระองค์ทรงจำแนกธรรม "วิภัชวาที"
พระองค์ทรง แสดงเรื่องกรรม "กรรมวาที"
พระองค์ทรงแสดงเรื่องความอุตสาหะ ไม่เป็นผู้ไปตามยถากรรม "วิริยะวาที"
พระองค์ทรงแสดงว่า ธรรมต่างๆ นั้นเพราะสำเร็จด้วยการกระทำของตน ไม่รอการบันดาลบันดลจากพระเจ้า "กิริยาวาที"

ที่กล่าวมา จำได้ว่า เคยได้ยินมาอย่างนี้
^ ^

เจ้าของ:  ธรรมบุตร [ 08 ก.ย. 2010, 21:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ผู้เชื่อกรรม...ผู้เชื่อผลของกรรม

รูปภาพ

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 05 ก.ค. 2011, 13:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ผู้เชื่อกรรม...ผู้เชื่อผลของกรรม

อุเบกขา ให้เชื่อกรรมผลของกรรม....
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


อุเบกขาคือ ภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลางเห็นเสมอกันในสัตว์ บุคคลทั้งหลาย ในคราวทั้งสองคือในคราวประสบสมบัติ และในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุกๆ คนมีกรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้เพราะกรรม

จึงวางเฉยได้ คือวาง ได้แก่ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือไม่จัดแจงวุ่นวาย ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม

อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรม คือ ระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลง ด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็พยามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย

เมื่อทำจิตให้อุเบกขาได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง หรือโดยไม่เจาะจงทั่วไปด้วยความคิดว่า “ทุกสัตว์ บุคคล มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย ทำกรรมอันใด ดีหรือชั่ว ก็ต้องรับผลของกรรมนั้น”

อันที่จริงภาวะของจิตเป็นอุเบกขานี้ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดาในเวลาปรกติยังไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความยินดียินร้าย แต่ยังเจือด้วยความไม่รู้ (อัญญาณ) และจะเปลี่ยนไปเป็นความยินดียินร้ายขึ้นได้โดยง่าย

พระบรมครูสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น คือ ให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิใช่ในเวลาที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบจิตเท่านั้น แม้มีเรื่องมากระทบจิตให้ยินดียินร้ายก็ระงับได้

ทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้ด้วยความรู้ (ญาณ) เพราะว่าความยินดี (ราคะ) และความยินร้าย (ปฏิฆะ) เป็นศัตรูที่ห่างของอุเบกขา ส่วนอุเบกขาด้วยความไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) เป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ของอุเบกขา

ฉะนั้น ก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมา ดังเช่นว่า ตนไม่ชอบให้อื่นมาเล็งชอบใจอยากได้อะไรของตน และไม่ชอบให้ใครอื่นมาหมายมั่นปองร้าย ฉันใด ตนก็ไม่ควรจะไปคิดยินดียินร้ายดังนั้นแก่คนอื่น ควรจะมีใจมัธยัสถ์คือเป็นกลางฉันนั้น

: ศีลและพรหมวิหาร ๔
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


ที่มา : http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=16366

:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

ไฟล์แนป:
Lotus-4.jpg
Lotus-4.jpg [ 39.78 KiB | เปิดดู 4966 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/