วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8895416-3.gif
Y8895416-3.gif [ 114.76 KiB | เปิดดู 4929 ครั้ง ]
สำหรับผู้สนใจเชิงวิชาการ


ในชั้นอรรถกถา มีการแบ่งประเภทของกรรมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมถือตามกันมาและเป็นที่รู้จักกันดีในยุคหลังๆ คือ

การจัดแบ่งเป็นกรรม 12 หรือกรรมสี่ 3 หมวด

ตามที่ท่านแสดงไว้ในอรรถกถาและฎีกาทั้งหลาย มีหัวข้อและความหมายโดย่อ ดังต่อไปนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม 12

หมวดที่ 1 ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในปัจจุบันคือภพนี้ ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่กระทำในขณะ

แห่งชวนจิตดวงแรก ในบรรดาชวนจิตทั้ง 7 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่ ชวนเจตนา

ที่หนึ่ง กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น

ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ ก็กลายเป็นอโหสิกรรม ไม่มีผลต่อไป

เหตุที่ให้ผลในชาตินี้เพราะเป็นเจตนาดวงแรก ไม่ถูกกรรมอื่นครอบงำ เป็นการปรุงแต่งแต่เริ่มต้น

จึงมีกำลังแรง แต่ไม่ให้ผลต่อจากชาตินี้ไปอีก เพราะไม่ได้การเสพคุ้นจึงมีผลเล็กน้อย

ท่านเปรียบว่าเหมือนพรานเห็นเนื้อ หยิบลูกศรยิงไปทันที ถ้าถูกเนื้อก็ล้มที่นั่น แต่ถ้าพลาด เนื้อก็รอดไปเลย


2. อุปปัชชเวทนียกรรม - กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ที่กระทำในขณะ

แห่งชวนจิตดวงสุดท้ายในบรรดาชวนจิตทั้ง 7 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ

พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่ ชวนเจตนาที่ 7 กรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาติถัดจากนี้ไปเท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาส

ให้ผลในชาติหน้า ก็กลายเป็นอโหสิกรรม

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเป็นเจตนาท้ายสุดของชวนวิถี เป็นตัวให้สำเร็จความประสงค์ และได้ความเสพคุ้น

จากชวนเจตนาก่อนๆมาแล้ว แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีกำลังจำกัดเพราะเป็นขณะจิตที่กำลังสิ้นสุดชวนวิถี


3. อปราปริยเวทนียกรรม -กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่ทำในขณะแห่ง

ชวนจิตทั้ง 5 ในระหว่างคือในชวนจิตที่ 2-6 แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ

พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่ ชวนเจตนาที่สองถึงที่หก

กรรมนี้ให้ผลได้เรื่อยไปในอนาคต เมื่อเลยจากภพหน้าไปแล้ว คือได้โอกาสเมื่อใด ก็ให้ผลเมื่อนั้น

ไม่เป็นอโหสิกรรม ตราบเท่าที่ยังอยู่ในสังสารวัฏ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อตามทันเมื่อใด

ก็กัดเมื่อนั้น


4. อโหสิกรรม - กรรมเลิกให้ผล ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งไม่ได้โอกาสที่จะให้ผลภายในเวลาที่จะ

ออกผลได้ เมื่อผ่านล่วงเวลานั้นไปแล้ว ก็ไม่ให้ผลอีกต่อไป

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: b39: :b39:

อโหสิกรรมนี้ ความจริงเป็นคำสามัญแปลว่า “กรรมได้มีแล้ว” แต่ท่านนำมาใช้เป็นคำศัพท์เฉพาะ

ในความหมายว่า "มีแต่กรรมเท่านั้น วิบากไม่มี" -

ดู วิสุทธิ.3/223/ ย่อจาก ขุ.ปฏิ.31/523/414

มิใช่แปลว่า เลิกให้ผล หรือ ให้ผลเสร็จแล้ว อย่างที่แปลแบบให้เข้าใจกันง่ายๆ ตามสำนวนที่เคยชิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ม.ค. 2013, 17:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ 2 ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่

5. ชนกกรรม - กรรมแต่งให้เกิด หรือ กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ได้แก่ กรรมคือเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

ที่เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ที่เป็นวิบาก ทั้งในขณะที่ปฏิสนธิและในเวลาที่ชีวิตเป็นไป (ปวัตติกาล)


6. อุปัตถัมภกกรรม -กรรมสนับสนุน ได้แก่ กรรมพวกเดียวกับชนกกรรม ซึ่งไม่สามารถให้เกิดวิบาก

เอง แต่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ทำให้สุขหรือทุกข์ ที่เกิดขึ้นในขันธ์ ซึ่งเป็น

วิบากนั้นเป็นไปนาน


7. อุปปีฬกกรรม- กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามกับชนกรรม ซึ่งให้ผลบีบคั้นผลแห่ง

ชนกกรรมและอุปัตถัมภกรรม ทำให้สุข หรือ ทุกข์ที่เกิดในขันธ์ ซึ่งเป็นวิบากนั้น ไม่เป็นไปนาน


8. อุปฆาตกกรรม -กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนความสามารถ

ของกรรมอื่น ที่มีกำลังน้อยกว่าเสีย ห้ามวิบากของกรรมนั้นขาดไปเสียทีเดียวแล้วเปิดช่องแก่วิบาก

ของตน เช่น ปิตุฆาตกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูที่ตัดรอนกุศลกรรมของพระองค์เสีย เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ม.ค. 2013, 17:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ 3 ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามแง่ที่ยักเยื้องกันคือ ลำดับความแรงในการให้ผล


9. ครุกรรม -กรรมหนัก ได้แก่ กรรมที่มีผลแรงมาก ในฝ่ายดีได้แก่ สมาบัติ 8

ในฝ่ายชั่ว ได้แก่ อนันตริยกรรมมีมาตุฆาตเป็นต้น ย่อมให้ผลก่อนและครอบงำกรรมอื่นๆเสีย

เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่ามาท่วมทับน้ำน้อยไป


10. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม -กรรมทำมาก หรือ กรรมชิน ได้แก่ กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ประพฤติมาก

หรือ ทำบ่อยๆ สั่งสมเคยชินเป็นนิสัย เช่น เป็นคนมีศีลดี หรือ เป็นคนทุกศีล เป็นต้น

กรรมไหนทำบ่อยทำมากเคยชิน มีกำลังกว่า ก็ให้ผลได้ก่อน เหมือนนักมวยปล้ำลงสู้กัน คนไหนแข็งแรง

ก็ชนะไป กรรมนี้ต่อเมื่อไม่มีครุกกรรม จึงจะให้ผล


11. อาสันกรรม -กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย ได้แก่ กรรม ที่กระทำหรือระลึกขึ้นมาในเวลาใกล้จะตาย

จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ

(แต่คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ว่า อาสันนกรรม ให้ผลก่อนอาจิณณกรรม) เปรียบเหมือนโคแออัดอยู่ในคอก

พอนายโคบาลเปิดประตูออก โคใดอยู่ริมประตูคอก แม้เป็นโคแก่ อ่อนแอ ก็ออกไปได้ก่อน


12. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม -กรรมสักว่าทำ ได้แก่ กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน

หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นๆ โดยตรง เป็นกรรมที่เบา เปรียบเหมือนลูกศรที่คนบ้ายิงไป ต่อเมื่อไม่มีกรรม

สามข้อก่อน กรรมนี้จึงจะให้ผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ

(สงฺคห. 28/และอธิบายใน สงฺคห.ฎีกา 163-6) แสดงกรรมสี่ไว้อีกหมวดหนึ่ง รวมเป็นกรรม 16 คือ



หมวดที่ 4 ว่าโดยปากัฏฐาน จำแนกตามสถานที่คือภพเป็นที่ให้ผล


13. อกุศลกรรม -กรรมที่เป็นอกุศล ยกเว้นอุทธัจจะ หรือ จำแนกโดยนัยหนึ่ง ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10

ย่อมให้กำเนิดในอบายภูมิ


14. กามาวจรกุศลกรรม -กรรมที่เป็นกุศลระดับกามาวจร เช่น ที่จำแนกเป็นบุญกิริยาวัตถุ 10

ย่อมให้กำเนิด ในกามสุคติภพ 7 (คือมนุษย์ และสวรรค์ 6 )


15. รูปาวจรกุศลกรรม- กรรมที่เป็นกุศลระดับรูปาวจร คือ รูปฌาน 4 หรือ 5 ของผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล

ย่อมให้กำเนิดในรูปภพ

16. อรูปาวจรกุศลกรรม -กรรมที่เป็นกุศลระดับอรูปาวจร คือ อรูปฌาน 4 ของผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล

ย่อมให้กำเนิดในอรูปภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ม.ค. 2013, 18:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์มโนรถปูรณี -(องฺอ. 2/131-141,146)

อธิบายเรื่องกรรม 12 นี้ไว้โดยพิสดารยิ่งกว่าที่อื่นๆ แต่ท่านเรียก การจำแนกกรรมแบบนี้ว่า เป็นสุตตันติกปริยาย

คือ เป็นแนวของนักพระสูตร และนับจำนวนว่า

เป็นกรรม 11 โดยถือว่า อโหสิกรรม เป็นเพียงอาการที่กรรมต่างๆ ไม่ให้ผล เป็นเพียงคำที่ใช้อธิบายกรรมอื่นๆ

แทรกอยู่ในที่ต่างๆจึงไม่นับเป็นกรรมอย่างหนึ่งต่างหาก

นอกจากนั้นท่านกล่าวว่า กรรมโดยอภิธรรมปริยาย คือแบบอภิธรรมมีจำนวน 16 ได้แก่ กรรมที่จำแนก

ด้วยสมบัติ 4 และ วิบัติ 4

ที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องการในผลของกรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม 12 นี้เรียกได้ว่าเป็นมติของพระอรรถกถาจารย์โดยแท้ แม้ว่าจะมีบางข้อที่ได้เค้าความเดิมจาก

พระบาลี คือ พระไตรปิฎก

กรรมบางข้อที่ว่านั้น ได้แก่ กรรมในหมวดแรก ซึ่งจำแนกตามเวลาที่ให้ผล โดยเฉพาะ 3 ข้อแรก

ซึ่งมีต้นเค้ามาจากบาลีดังนี้



“ภิกษุทั้งหลาย วิบากแห่งกรรมทั้งหลายเป็นไฉน?

เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลายมี 3 อย่าง คือ

ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม)

ในที่ที่เกิด (อุปปชฺเช วา)

หรือในลำดับต่อๆไป (อปเร วา ปริยาเย)”

(องฺ.ฉกฺก.22/334/465)


“ภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย มี 3 ประการดังนี้

สามประการ อะไรบ้าง ?

ได้แก่ โลภะ...โทสะ...โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย”


“กรรมที่กระทำด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย...

กรรมที่กระทำด้วยโทสะ...

กรรมที่กระทำด้วยโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย

ย่อมให้ผลในที่ที่อัตภาพของเขาบังเกิด

กรรมนั้นให้ผล ณ ที่ใด

เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้น ณ ที่นั้น ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม)

หรือในที่ที่เกิด (อุปปชฺเช วา)

หรือในลำดับต่อๆไป (อปเร วา ปริยาเย)”

(องฺ.ติกฺก.20/473/171)


อรรถกถาซึ่งอธิบายบาลีแห่งนี้แหละ คือ แหล่งที่อธิบายเรื่องกรรม 12 อย่างพิสดารกว่าที่ใดอื่น

ดังกล่าวข้างต้น


(องฺ.อ.2/131)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในมหากรรมวิภังคสูตร (ม.อุ.14/612-5/397-8)

พระพุทธเจ้าจำแนกบุคคลเป็น 4 ประเภท โดยสัมพันธ์กับการให้ผลของกรรม จับความได้ ดังนี้



บุคคลที่ 1

เป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ทั้งนี้ เพราะเขาได้กระทำกรรมชั่ว อันจะพึงเสวยผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา

หรือไม่ก็ในเวลาจะตาย

เขายึดถือมิจฉาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่

การที่เขาประกอบอกุศลกรรมบถ 10 นั้น เขาย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม)

หรือในที่ที่เกิด (อุปปชฺเช วา)

หรือในลำดับต่อๆไป (อปเร วา ปริยาเย)


บุคคลที่ 2

เป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมบถ เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำ

กรรมดี อันจะพึงเสวยผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตาย

เขายึดถือสัมมาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่

ส่วนการที่เขาประกอบอกุศลกรรมบถ 10 ไว้นั้น

เขาก็ย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน

หรือในที่ที่เกิด

หรือในลำดับต่อๆไป


บุคคลที่ 3

เป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำ

กรรมดี อันจะพึงเสวยผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตาย

เขายึดถือสัมมาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่

ส่วนการที่เขาประกอบอกุศลกรรมบถ 10 ไว้นั้น

เขาก็ย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน

หรือในที่ที่เกิด

หรือในลำดับต่อๆไป


บุคคลที่ 4

เป็นผู้ประกอบกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งนี้เพราะเขาได้

กระทำกรรมชั่ว อันจะพึงเสวยผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตาย

เขายึดถือมิจฉาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่

ส่วนการที่เขาประกอบกุศลกรรมบถ 10 ไว้นั้น

เขาก็ย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน

หรือในที่ที่เกิด

หรือในลำดับต่อๆไป


อรรถกถาที่อธิบายบาลีแห่งนี้ (ม.อ.3/660)ไขความโดยใช้คำว่า ทิฏฐธรรมเวทนียะ

อุปปัชชเวทนียะ และอปราปริยเวทนียะ อย่างชัดเจน

นอกจากนั้น จะเห็นเค้าของอาสันนกรรม (กรรมที่ทำหรือระลึกในเวลาใกล้ตาย) อีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อปทาน ซึ่งเล่าประวัติในอดีตของพระสาวกทั้งหลาย ได้กล่าวถึงอาสันนกรรมกระจายอยู่หลายแห่ง -

(ขุ.อป.32/350/436; 33/11/24ฯลฯ)

เช่น ประวัติอดีตชาติของพระเถระท่านหนึ่งว่า เคยเป็นพรานเนื้อ

วันหนึ่ง เห็นพระติสสพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใส ได้ถวายหญ้ากำหนึ่งเป็นที่รองนั่ง แล้วมีจิตใจผ่องใส

ครั้นออกจากที่นั้นไปไม่นานก็ถูกราชสีห์กัดตาย เพราะกรรมที่ทำไว้ใกล้ตาย- (อาสนฺเน เม กตํ กมฺมํ)

คือการที่ได้พบได้ถวายหญ้า และ มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้น จึงได้เกิดในสวรรค์

จะเห็นได้ว่าความคิดใส่ใจเกี่ยวกับกรรมใกล้ตายและการใช้คำว่าอาสันนะในแง่ของกรรมนี้ได้มีอยู่ก่อนแล้วในยุค

ของคัมภีร์อปทาน

ทิฏฐธรรมเวทนีย (กรรม) มีกล่าวถึงในบาลีอีกบางแห่ง โดยเฉพาะ ม.อุ. 14/10/10;

องฺ.นวก.23/217/398

แต่มาคู่กับสัมปราปริยเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลในเบื้องหน้า)

ในชุดนี้มี 10 คำ อีก 8 คำ คือ สุขเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลเป็นสุข หรือให้ผลเป็นสุข)

ทุกขเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลเป็นทุกข์)

ปริปักกเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลในอัตภาพที่พร้อมอยู่หรือถึงคราวแล้ว)

อปริปักกเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลในอัตภาพที่ยังไม่ถึงคราว)

พหุเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลมาก)

อัปปเวทนีย (ซึ่งพึงเสวยผลน้อย)

เวทนีย (ซึ่งจะต้องเสวยผล)

อเวทนีย (ซึ่งจะไม่ต้องเสวยผล)

คำว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

อุปปัชชเวทนียกรรม

และอปราปริยเวทนียกรรม มีกล่าวไว้ชัดเจนคือ เป็นรูปเป็นร่างบริบูรณ์ในคัมภีร์กถาวัตถุ

(อภิ.ก.37/1853/644; 1854/644)

ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรจนาขึ้นในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 218

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนอโหสิกรรม มีอยู่ชัดเจนก่อนแล้วในคัมภีร์ปฏิสัมภทามัคค์

(ขุ.ปฏิ. 31/523/414)

ที่เคยอ้างแล้ว และอรรถกถานับว่าเป็นกรรม 12 อีกชุดหนึ่ง คือ

1. กรรมได้มีแล้ว วิบากได้มีแล้ว

2. กรรมได้มีแล้ว วิบากไม่ได้มี

3. กรรมได้มีแล้ว วิบากกำลังมีอยู่

4. กรรมได้มีแล้ว วิบากไม่มีอยู่

5. กรรมได้มีแล้ว วิบากจักมี

6. กรรมได้มีแล้ว วิบากจักไม่มี

7. กรรมมีอยู่ วิบากมีอยู่

8. กรรมมีอยู่ วิบากไม่มี

9. กรรมมีอยู่ วิบากจักมี

10 .กรรมมีอยู่ วิบากจักไม่มี

11. กรรมก็จักมี วิบากก็จักมี

12. กรรมจักมี วิบากจักไม่มี


อรรถกถา อธิบายกรรม 12 ชุดนี้ ตามแนวกรรม 12 ชุดก่อนนั่นเอง

(องฺ.อ.2/144-5)

สาระสำคัญของกรรมชุดนี้ ถือแสดงกรรมที่มีผล และกรรมที่ไม่มีผล ซึ่งมีฝ่ายละ 6 เท่ากัน

พึงสังเกตว่า อโหสิกรรม ก็คือ คำแปลท่อนแรกในหลายข้อว่า “กรรมได้มีแล้ว”

ส่วนกรรมอื่นนอกจากนี้ เช่น ครุกะ และอาจิณณะ เป็นต้น แต่เดิมเป็นเพียงถ้อยคำที่ใช้ในความหมายสามัญ

ยังไม่มีชื่อเป็นกรรม และยังไม่จัดเป็นประเภท มาปรากฏในสมัยอรรถกถาดังกล่าวแล้วข้างต้น.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร