วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 14:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:12
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินกันใช่มั้ยครับว่า
"อย่าไปทำเขาเลย ผลกรรมจะส่งผลลัพธ์แก่เขาเอง"
หรือ "เขาจะได้รับผลกรรมของตัวเขาเอง"

เวรกรรมสอนว่า ใครทำอย่างไรย่อมได้ผลอย่างนั้น ทำดีย่อมได้ดี
ทำชั่วย่อมได้ชั่ว บางทีคนทำชั่วกลับได้ดี ก็อ้างต่อไปอีกว่า
อาจเป็นเพราะบุญเก่าหนุนนำเขาอยู่

ผมฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่าเป็นข้ออ้างมากเลย เหมือนกับเป็นข้ออ้าง
ให้กับคนที่รู้สึกท้อแท้ เหมือนเป็นการให้กำลังใจว่า ซักวันจะต้องได้ดี
หรือซักวันคนที่ทำชั่วนั้นจะต้องถูกเอาคืน เพื่อที่คนๆนั้นจะได้ไม่ไปแก้แค้น

สุดท้ายแล้วเวรกรรมคืออะไร คือจิตอาฆาตและจิตคาดหวังหรือ?
จิตอาฆาตแก่คนชั่วหวังว่าซักวันจะต้องได้รับผลชั่วที่เขากระทำ
จิตคาดหวังแก่ตนเองที่หวังว่าซักวันจะต้องได้ดิบได้ดี


Pride ผู้ไม่มีศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ผู้ไม่มีศาสนา
ย่อมมีแต่ข้อสงสัย
ย่อมมีแต่ข้อโต้แย้ง
ย่อมมีแต่ข้ออ้าง
ย่อมมีแต่กล่าวโทษ
.....................

เวรกรรมเป็นเรื่องของกฎ กติกา แห่งกรรม เมื่อคิดจะเล่น หรือจำต้องเล่น
ก็ต้องว่าตามนั้น
แล้วกฎกติกาของคุณเป็นแบบไหน....
หรือว่าไม่ได้เล่น....เกมชีวิต....

เป็นความเห็นของแมวขาวมณี โปรดอย่าพาดพิงถึงบุคคลอื่น

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


pride เขียน:
เคยได้ยินกันใช่มั้ยครับว่า
"อย่าไปทำเขาเลย ผลกรรมจะส่งผลลัพธ์แก่เขาเอง"
หรือ "เขาจะได้รับผลกรรมของตัวเขาเอง"

เวรกรรมสอนว่า ใครทำอย่างไรย่อมได้ผลอย่างนั้น ทำดีย่อมได้ดี
ทำชั่วย่อมได้ชั่ว บางทีคนทำชั่วกลับได้ดี ก็อ้างต่อไปอีกว่า
อาจเป็นเพราะบุญเก่าหนุนนำเขาอยู่

ผมฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่าเป็นข้ออ้างมากเลย เหมือนกับเป็นข้ออ้าง
ให้กับคนที่รู้สึกท้อแท้ เหมือนเป็นการให้กำลังใจว่า ซักวันจะต้องได้ดี
หรือซักวันคนที่ทำชั่วนั้นจะต้องถูกเอาคืน เพื่อที่คนๆนั้นจะได้ไม่ไปแก้แค้น

สุดท้ายแล้วเวรกรรมคืออะไร คือจิตอาฆาตและจิตคาดหวังหรือ?
จิตอาฆาตแก่คนชั่วหวังว่าซักวันจะต้องได้รับผลชั่วที่เขากระทำ
จิตคาดหวังแก่ตนเองที่หวังว่าซักวันจะต้องได้ดิบได้ดี


Pride ผู้ไม่มีศาสนา


คนอย่างคุณนี้มีเยอะ
เหมือนผมตอนอายุสัก 18-19 นะ

มันยากจริงๆ เพราะว่าเรามันพวก "คิดให้แตกก่อน จึงจะเชื่อ"
คนที่ร่ำเรียนสูง ชอบคิดชอบสงสัย มันจะเป้นลักษณะนี้แหละ

ปัญญามันมาก ศรัทธามันน้อย
ยิ่งอะไรที่มันไม่เป้นวิทยาศาสตร์นี่ ขอโทษเถอะ อย่าเสียเวลาพูดเลย ไปไกลๆ
ผมเป็นแนวๆนั้นน่ะ

ถ้าเป้นสมัยโบราณ พระพุทธเจ้าก้จะแสดงอภินิหารก่อน ให้อึ้งกิมกี่เสียก่อนว่าโลกนี้มีอะไรที่เราไม่รู้ มีอะไรที่เหนือกว่าเรา เราถึงสิโรราบ ยอมอ่อน และยอม"ทำ" ตาม

แต่สมัยนี้ มันเป็นลักษณะที่ว่า
เหมือนผมแนะนำคุณว่า ผมมีสถานที่แห่งหนึ่ง มีของดีที่คุณต้องการอยู่ ผมก็แนะนำอย่างยิ่งให้คุณไป
คุณก็จะมาถามผมก่อนว่า แล้วมันเป้นยังไงล่ะ มันดียังไง มันจะได้ผลจริงหรือ แล้วมันทำงานยังไง
แล้ว แล้ว แล้ว แล้ว .....แล้ว ...???? ไปเรื่อยๆ จนพอแก่ใจเสียก่อน
จึงจะเดินไปดู

แต่คนส่วนมาก ไม่ทันได้เดินไปดูอะไรหรอก ก้าวไปสองก้าวสามก้าวก็ถอนหายใจ
แล้วก็เดินจากไป เพราะเบื่อคิด ยิ่งคิดยิ่งไม่มีเหตุผล ยิ่งคิดยิ่งงง
นี่คือลักษณะของคนยุคนี้ ยุควิทยาศาสตร์รุ่งเรือง


แต่คนสมัยก่อนโง่นะ คือไม่มีจริตคิดคว้าอะไรมากมาย
พระบอกว่าดี โยมก้ทำ แบบว่าศรัทธามาก ปัญญาน้อย
ถ้าโชคดีเจอครูบาร์อาจารย์ดีๆนะ แล้วมีศรัทธาท่าน ทำไปตามท่านสอนนะ
มักจะได้ดีเร็วไว สรูปว่าคนประเภทปัญญาน้อย ศรัทธามาก กลับโชคดีกว่า


เรื่องที่คุณถามมานั้นมันเป้นเรื่องกว้างขวาง ต่อให้อธิบายอย่างไร ต่อให้เอาพระไตรปิฏกมากาง
สุดท้ายมันก็เป้นความรู้ที่คุณไม่มั่นใจ เป้นแค่ความจำฝังสมองไว้เฉยๆ
มีโอกาสปลี่ยนแปลงสูญสลายได้

ถ้าผมจะแนะก็ให้หยุดสงสัย แล้วตั้งใจมาทดลองกับศาสนาพุทธดู
หยุดชั่วคราวก็ได้ ไม่ต้องมาทำพิธีกรรม ไม่ต้องอะไร
เอาแค่เจริญกรรมฐาน ให้มันจริงๆจังๆ ลองดู

นี่ผมกำลังบอกคุณว่า ถ้าอยากได้ของดีจริงๆ อย่าเสียเวลาถาม ไม่มีประโยชน์
ให้เดินไปดูเลย ว่าดีจริงไหม ไม่จริงก็ค่ิอยเลี้ยวไปทางอื่น

ลองดูนะ ที่ไหนก็ได้
ที่ไหนที่สอนให้สนใจแต่ว่าเราอยู่กับกายของเรา เราอยู่กับใจของเรา ก้ใช้ได้ทั้งนั้น
ลองทำดูเลยนะครับ ศาสนานี้ไม่บังคับ อยากมาก้มา อยากไปก็ไป
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:12
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมแค่อยากได้เหตุผลครับ ไม่ได้ต้องการว่าต้องพิสูจน์ได้แบบวิทยาศาสตร์
ถ้าจะเรียกวิธีในการเชื่อของผม น่าจะเป็นหลักตรรกศาสตร์มากกว่า
คือจริงเท็จแค่ไหน ข้อมูลนี้เชื่อถือได้หรือไม่

ถ้ามีเหตุผลที่สามารถอธิบายข้อสงสัยของผมได้ ผมก็จะหมดข้อสงสัย
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะศรัทธา เพราะผมจะไม่ศรัทธาศาสนาใดๆทั้งสิ้น

ต่อให้คนที่อธิบายเป็นพระพุทธเจ้า ต่อให้ท่านแสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นว่ามันมีจริงๆ
ผมก็จะไม่เชื่อเลย 100% ผมจะหาความเป็นไปได้ก่อนว่าน่าเชื่อจริงๆหรือเปล่า
หรือเป็นเพียงข้อมูลส่วนตัวของพระองค์ที่พยายามจะยัดเยียดให้ผมเชื่อ


สิ่งที่ผมกำลังทำการศึกษาอยู่ตอนนี้ก็คือ รากฐานของพุทธศาสนา
กุศโลบาย เบื้องหลังที่แท้จริงของหลักคำสอนต่างๆ
พระพุทธเจ้าใช่ชาว Annunaki หรือไม่?

ผมรู้ครับว่าธรรมะ การปฏิบัติธรรม มันดีอย่างไร เพราะแต่ก่อนผมก็เคยนับถือพุทธ
แต่นี่คือการค้นคว้าของผม ไม่ใช่การสงสัยแบบผู้มีปัญญามากที่ไม่คิดจะเชื่ออะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2009, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าคุณ pride ชอบแนวๆนี้นะ
ผมจะแนะนำให้ศึกษาอาจารย์สัก 3 ท่าน คือ
1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
2. ท่านพุทธทาส
3.ท่าน ว.วชิรเมธี

โดยเฉพาะ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จะเหมาะกับจริตของคุณ pride มาก
งานเขียนของท่านก็เยอะมาก
ด้านความเป้นปราชญ์นั้นก็หาตัวจับได้ยาก ปริญญาเอกทั้งจากต่างประเทศ จำล่าสุดว่า 15 ใบ
อ่านงานของท่านนั้น ไม่ต้องพึ่งความเชื่ออะไรทั้งนั้น



ปล. ตรรกะ หรือตรรกะศาสตร์ ก้คือแขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์และและเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญา
ว่ามันด้วย "ความสมเหตุผล"
ทั้งปรัชญาและคณิตศาสตร์ก็เป็นวิทยาศาสตร์


ผมก็ดีใจนะ เพราะคุณเป็นคนที่ถามเพราะอยากรู้อะไรจริงๆ
อยากหาคำตอบให้กับชีวิตนะ

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 21:34
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


pride เขียน:
เคยได้ยินกันใช่มั้ยครับว่า
"อย่าไปทำเขาเลย ผลกรรมจะส่งผลลัพธ์แก่เขาเอง"
หรือ "เขาจะได้รับผลกรรมของตัวเขาเอง"

เวรกรรมสอนว่า ใครทำอย่างไรย่อมได้ผลอย่างนั้น ทำดีย่อมได้ดี
ทำชั่วย่อมได้ชั่ว บางทีคนทำชั่วกลับได้ดี ก็อ้างต่อไปอีกว่า
อาจเป็นเพราะบุญเก่าหนุนนำเขาอยู่

ผมฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่าเป็นข้ออ้างมากเลย เหมือนกับเป็นข้ออ้าง
ให้กับคนที่รู้สึกท้อแท้ เหมือนเป็นการให้กำลังใจว่า ซักวันจะต้องได้ดี
หรือซักวันคนที่ทำชั่วนั้นจะต้องถูกเอาคืน เพื่อที่คนๆนั้นจะได้ไม่ไปแก้แค้น

สุดท้ายแล้วเวรกรรมคืออะไร คือจิตอาฆาตและจิตคาดหวังหรือ?
จิตอาฆาตแก่คนชั่วหวังว่าซักวันจะต้องได้รับผลชั่วที่เขากระทำ
จิตคาดหวังแก่ตนเองที่หวังว่าซักวันจะต้องได้ดิบได้ดี


Pride ผู้ไม่มีศาสนา


ความคิดส่วนตัวนะคะ

หนูคิดว่าเห็นด้วยกับคำสอนเก่าๆที่บอก ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วยอมได้ชั่ว

ขอยกตัวอย่างที่หนูเข้าใจหน่อยนะคะ

สมัยนี้ข่าวก็ออกมาเยอะ เกี่ยวกับคนเก็บเงินจำนวนมากได้แล้วนำส่งหาเจ้าของ คนเหล่านั้นทำดี ผลที่
เค้าได้รับคือ คำกล่างชม เยินยอ ในตัวคนๆนั้น หรืออาจจะได้รางวัลเล็กๆน้อยๆจากเจ้าของเงิน หากเป็นคนแถวนั้นเดินไปทางไหนๆ ใครๆก็รัก ใครๆก็ชม คนที่เก็บเงินได้เองก็มีความอิ่มอกอิ่มใจ สุขใจ ที่ได้ทำความดีและมีคนกล่าวชม :b18: :b18:

อีกในทางกลับกัน ขอยกตัวอย่างเรื่องซีอุยนะคะ ทำชั่ว ฆ่าคน กินตับเด็ก ระยะแรกๆผลของการกระทำอาจจะยังไม่ส่ง แต่ทำให้เค้าต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ด้วยความที่ยังไม่สำนึก ก็ฆ่าคนอีกเรื่อยๆ ผลจากการที่ได้ฆ่าคนจำนวนมากทำให้เบาะแส มีมากขึ้น สามารถจับกุมเค้าได้ในที่สุด และได้รับโทษทางกฏหมาย

ตัวอย่างเหล่านี้หาได้ในปัจจุบันและยังคงเป็นจริงอยู่เลยค่ะ ส่วนคนที่ทำดีแล้วยังไม่ได้ดี ก็อย่าเพิ่งท้อค่ะ ขอให้ทำต่อไปสักวันผลจากการทำดีก็ต้องส่งผลเองค่ะ ขอเปรียบง่ายๆอย่างต้นมะม่วงละกันค่ะ ปลูกต้นมะม่วง ลดน้ำพรวนดิน แรกๆต้นมะม่วงยังเล็กจีงยังไม่ออกผล ก็เหมือนกับเราทำความดีแต่ไม่ได้รับผลดีล่ะค่ะ แต่พอเรา ลดน้ำพรวนดินนานๆไป ต้นมะม่วงต้นเล็กนั่นก็จะใหญ่โตและออกดอกออกผลให้เราได้ทานเองค่ะ ส่วนคนทำชั่วนะคะ เปรียบกับคนดูดบุหรี่ ในระยะที่สูบแรกๆ ก็ยังคงไม่เป็นอะไร แต่พอนานๆไป ปอดของเรามีปัญหา หรืออาจส่งผลไปถึงอวัยวะอื่นๆอีกค่ะ

เวรกรรมในความเข้าใจส่วนตัวคิดว่า เหมือนกัน มีนายเอ กับ นายบี นายเอหมั่นไส้นายบีที่นายบีเป็นคนดี นายเอจึงได้ไปต่อยนายบี จึงเท่ากับนายเอได้สร้างเวรกรรมไว้กับนายบี นายบีคือเจ้ากรรมนายเอ เนื่องจากนายบี ไม่อโหสิกรรมให้นายเอ(ไม่ให้อภัย) นายบีก็ได้ต่อยนายเอ ดังนั้น นายเอจึงได้เป็นเจ้ากรรมนายบี หากไม่มีใครอโหสิกรรมให้กันและกัน ก็จะทำให้ต่อยกันไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด แต่หากนายบีอโหสิกรรมให้นายเอ จากการกระทำที่นายเอ ต่อยนายบี นายบีจึงหยุดและไม่ต่อยตอบ จึงทำให้การต่อยสิ้นสุด ดังนั้นเวรกรรม ก็คือการทำบาปทำไม่ดี และเวรกรรมนั้นจะส่งผลให้กับผู้ที่ได้สร้างเวรกรรมเอง

ไม่รู้เข้าใจถูกป่าว ^^ ไม่ถูกบอกด้วยนะคะ

.....................................................
๐ การเป็นผู้ฟังบ้างก็ไม่เสียหายอะไร จะได้รู้ว่าสิ่งที่เข้าใจมากนั้นผิดหรือถูก ๐


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:12
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


เรปบน มันก็เหมือนที่ผมพูดนั่นล่ะครับ

พอคนชั่วโดนจับได้ เราก็บอกว่าผลกรรมส่งผลถึงเขาแล้ว
แต่ถ้ายังไม่โดนจับ เราก็บอกว่า เดี๋ยวเขาก็จะได้รับผลกรรมของเขาเอง
เป็นเหมือนจิตอาฆาต คือเป็นการสอนเราว่า อย่าไปทำเขา
แต่ให้ใช้จิตอาฆาตส่งสิ่งที่เรียกว่า เวรกรรม ไปเล่นงานเขาเอง
และเมื่อเขาถูกจับ หรือมีอันเป็นไป เราก็บอกว่า นี่ไง เขาได้รับผลกรรมของเขาแล้ว

ส่วนคนที่ดีที่ยังไม่ได้ดี เราก็บอกว่าต้องรอหน่อย ไม่ช้าผลดีจะส่งผลแก่เราเอง
มันเหมือนกับจิตคาดหวัง เป็นการให้กำลังใจคนที่ท้อแท้
ว่าสักวันเราจะต้องได้ดี ทำดีต่อไปนะ อย่าท้อ อะไรทำนองนี้

รู้มั้ยครับว่าการทำแบบนี้มีข้อดี คือให้เรารู้จักปล่อยวางความโกรธแค้น
ให้เราคิดไปว่า เดี๋ยวเวรกรรมก็ทำเขาเอง เพื่อให้เราปล่อยวางความอาฆาตตรงจุดนั้นไป
พอเวลาผ่านไป ความโกรธแค้นนั้นก็จะค่อยๆลดลงไป
และยิ่งถ้าคนที่เราโกรธแค้นถูกจับ เราก็จะรู้สึกสบายใจยิ่งขึ้นว่า เขาได้รับผลกรรมแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผมคิดเหมือนคุณชาติสยามเลยครับ wink

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เป็นการตอบคำถามอันชาญฉลาดของผู้มีประสบการณ์ต่างหากคะ
เรื่องบาปกรรมเป็นนามธรรมซึ่งมองไม่เห็น
หากจะยกคำพูดที่ว่า "สวรรคอยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" ไม่ทราบพอจะเข้าใจมั้ยคะ
แค่เราคิดอะไรที่เป็นอกุศลจิต เราก็ไม่มีความสุขแล้ว
เช่น คิดจะฆ่าเขา คิดจะขโมยของเขา นี่เป็นเพียงมโนกรรมนะคะ แต่ผลก็แสดงต่อผู้คิดแล้วค่ะ
ไม่ต้องรอให้มีคนตาย หรือมีของหายหรอกค่ะ นั่นแหละเขาเรียกว่าเวรกรรมค่ะ
เจ้ากรรมนายเวรก็ไม่ใช่ใคร จิตที่เป็นอกุศลนั่นเอง :b44:

:b42: สรุป...เวรกรรมไม่ใช่การแก้แค้น แต่เป็นเหตุและผลต่อกัน
คือทำอย่างไรก็ให้ผลเช่นนั้น แต่จะช้าหรือเร็วที่กรรมสามารถส่งผลกับตัวผู้กระทำ
และยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีก เช่นพ่อเป็นผู้กระทำกรรมแต่ส่งผลถึงลูก ฯลฯ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 19 ก.ค. 2009, 13:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2009, 01:54
โพสต์: 30

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


pride เขียน:
เคยได้ยินกันใช่มั้ยครับว่า
"อย่าไปทำเขาเลย ผลกรรมจะส่งผลลัพธ์แก่เขาเอง"
หรือ "เขาจะได้รับผลกรรมของตัวเขาเอง"

เวรกรรมสอนว่า ใครทำอย่างไรย่อมได้ผลอย่างนั้น ทำดีย่อมได้ดี
ทำชั่วย่อมได้ชั่ว บางทีคนทำชั่วกลับได้ดี ก็อ้างต่อไปอีกว่า
อาจเป็นเพราะบุญเก่าหนุนนำเขาอยู่

ผมฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่าเป็นข้ออ้างมากเลย เหมือนกับเป็นข้ออ้าง
ให้กับคนที่รู้สึกท้อแท้ เหมือนเป็นการให้กำลังใจว่า ซักวันจะต้องได้ดี
หรือซักวันคนที่ทำชั่วนั้นจะต้องถูกเอาคืน เพื่อที่คนๆนั้นจะได้ไม่ไปแก้แค้น

สุดท้ายแล้วเวรกรรมคืออะไร คือจิตอาฆาตและจิตคาดหวังหรือ?
จิตอาฆาตแก่คนชั่วหวังว่าซักวันจะต้องได้รับผลชั่วที่เขากระทำ
จิตคาดหวังแก่ตนเองที่หวังว่าซักวันจะต้องได้ดิบได้ดี


Pride ผู้ไม่มีศาสนา




...คาราวะท่านผู้ไม่มีศาสนาครับ...

...คำถาม : "เวรกรรม คืออะไร?"...

...คำตอบ : เวรกรรม คือ "กฏเกณฑ์" ครับ...

- ผลบุญ คือ รางวัล

- เวรกรรม คือ การลงโทษ

..."กฏเกณฑ์" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับจักรวาลนี้ เราเรียกกันว่า "กฏธรรมชาติแห่งการเวียนว่ายตายเกิด"...หากจะถามว่าใครเป็นผู้ที่สร้างกฏเกณฑ์นี้ขึ้นมา คงต้องตามว่า "ผมไม่รู้ครับ" แต่เขาลือกันว่า "พระเจ้า" (รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร? หล่อมั๊ย-สวยมั๊ย? หรือเป็นลูกเต้าเหล่าใคร? ผมก็ไม่ทราบอีกเหมือนกันครับ)...แต่เขาลือกันจริงๆ ว่าตาคนนี้แหละที่เป็นผู้สร้างกฏเกณฑ์ครับ...

...การหนีจากกฏเกณฑ์นี้ มีอยู่วิธีเดียว คือ "นิพพาน" ครับ...

...ส่วนวิธีการนั้น มีอยู่มากมายหลายวิธี...วิธีขององค์สมเด็จพระศาสดาศาสนาพุทธก็เป็นวิธีหนึ่ง...วิธีของมหาวีระวทมานในศาสนาเชน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง (แต่ไม่ใช่ "โมกษะ" หรือความหลุดพ้นในความหมายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนะครับ..เป็นคนล่ะอย่างกัน)...

.....................................................
..." นิพพาน " ไม่ใช่สิ่งที่ถูกค้นพบบนฟูก หากแต่เป็นป่าเขาที่เต็มไปด้วยอันตรายและอสรพิษ...

..." หลักธรรม " ไม่ใช่สิ่งที่ถูกค้นพบในผับหรือสถานเริงรมย์ หากแต่เป็นสองข้างถนนที่เต็มไปด้วยซากศพ และผู้คนที่เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน

เพราะเหตุใด? มนุษย์ทุกคนเกิดมาไม่เสมอเหมือนกัน คือ...

บางคนอายุสั้น บางคนอายุยืน. บางคนมีความเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อย บางคนเจ็บไข้ได้ป่วยน้อย. บางคนมีผิวพรรณทราม บางคนมีผิวพรรณงดงาม.

บางคนมียศศักดิ์น้อย บางคนมียศศักดิ์มาก. บางคนมีโภคทรัพย์น้อย บางคนมีโภคทรัพย์มาก. บางคนมีสกุลต่ำ บางคนมีสกุลสูง.

บางคนมีปัญญาทราม บางคนมีปัญญามาก.

ทั้งนี้ก็เพราะเหตุคือความแตกต่างกันแห่งกรรม....

พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า.....

"กมฺมสสกา มาณว สตฺตา

กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา

กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตายา"

แปลว่า....."นี่แนะ มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน

เป็นทายาทรับกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย

กรรมย่อมจำแนกสัตว์เพื่อให้เป็นผู้เลวและประณีต"

ดังนี้

คำว่า กมฺมสฺสกา - มีกรรมเป็นของตน คือ มีกรรมเป็นสมบัติของตน

คำว่า กมฺมทายาทา - เป็นทายาทรับกรรม คือ มีกรรมเป็นมรดก หมายความว่า ผู้ใดทำกรรม จะเป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม ต่อไปข้างหน้า ผู้นั้นนั่นแหละ เป็นผู้รับมรดก คือกรรมนั้น จะมอบให้ผู้อื่นรับแทนหาได้ไม่ กล่าวคือ ต้องเสวยวิบากที่น่าปรารถนาบ้าง ไม่น่าปรารถนาบ้าง อันเนื่องมาแต่กรรม ด้วยตนเอง.

คำว่า กมฺมโยนี - มีกรรมเป็นกำเนิด คือ มีกรรมเป็นเหตุ ความว่า ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย กรรมมีส่วนเป็นเหตุอย่างสำคัญ

คำว่า กมฺมพนฺธู - มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ มีกรรมเป็นญาติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีมารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง เป็นต้น เป็นญาติผู้อุปการะบ้าง เบียดเบียนบ้าง ฉันใด ก็มีกรรมของตนนี่แหละ เป็นญาติผู้อุปการะบ้าง เบียดเบียนบ้าง ฉันนั้น.

คำว่า กมฺมปฏิสรณา - มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย คือ มีกรรมเป็นที่พึ่ง มีกรรมเป็นที่ตั้งอาศัย ซึ่งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง.

คำว่า เพื่อให้เป็นผู้เลวและประณีต ความว่า ความเป็นคนมีอายุสั้น ชื่อว่า เลว ความเป็นคนมีอายุยืน ชื่อว่า ประณีต(คือดี) ความเป็นผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยมาก ชื่อว่าเลว ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยน้อย ชื่อว่าประณีต

ความเป็นผู้ที่มีผิวพรรณทราม ชื่อว่าเลว ผู้ที่มีผิวพรรณงดงาม ชื่อว่าประณีต ความเป็นผู้ที่มียศศักดิ์น้อย ชื่อว่าเลว ผู้มียศศักดิ์มาก ชื่อว่าประณีต

ความเป็นผู้ที่มีโภคทรัพย์น้อย ชื่อว่าเลว ผู้มีโภคทรัพย์มาก ชื่อว่าประณีต ความเป็นผู้มีสกุลต่ำ ชื่อว่าเลว ผู้มีสกุลสูง ชื่อว่าประณีต

ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่าเลว ผู้มีปัญญามาก ชื่อว่าประณีต ฉะนี้แล.

( หมายเหตุ - คำว่า เลว ในที่นี้ มิใช่เป็นอกุศล)

:b8: ขออนุโมทนาสาธุให้เจ้าของบทความ
http://www.oknation.net/blog/boy-girl/2 ... 14/entry-1

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร