วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรรม คือ การกระทำ
เขียนโดย กรรมลิขิต

กรรม คือการกระทำ ทำดีก็เป็นกรรม ทำชั่วก็เป็นกรรม
ทำดีเรียกว่า กุศลกรรม ทำชั่วเรียกว่าอกุศลกรรม...

บางคนบอกว่า ไม่เชื่อ เรื่องกรรม
บอกว่าอยู่ที่ตัวเราเอง อยู่ที่การทำของเราเอง
ตอบอย่างนี้ ชัดเจนเลยว่า ไม่เข้าใจเรื่องกรรม
ก็การกระทำของคุณนั่นแหล่ะเป็นกรรม
กรรมไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายฝ่ายเดียว หรือไม่ใช่ผลร้ายฝ่ายเดียว
ไม่ใช่ผลของอดีตฝ่ายเดียว ถึงปัจจุบันที่ทำอยู่ก็เป็นกรรม
หรือการกระทำ ทำทางกาย จะดีหรือชั่ว เรียกว่า กายกรรม
(ถ้าทำดี เป็นกุศลกรรม ที่เกิดขึ้นทางกาย
ถ้าทำชั่ว เป็นอกุศลกรรม ที่เกิดขึ้นทางกาย)
ทำทางจาวา เช่น โกหก ด่าคนอื่น หรือสวดมนต์ไหว้พระ เป็นวจีกรรม
ทำทางใจ เช่น พยาบาทคนอื่น อิจฉาคนอื่น
หรือมีเมตตาต่อคนอื่น เป็นมโนกรรม

สรุปก็คือ กรรมที่ทำมี 2 ประเภท คือ ดี กับ ชั่ว
เกิดขึ้น 3 ทาง คือกาย วาจา ใจ
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะปฏิเสธการกระทำ (กรรม) ของตนเชียวหรือ

(ในกรรม 12 ที่แบ่งตามประเภทต่าง ๆ
ก็สรุปลงในนี้เหมือนกัน คือฝ่ายดี กับฝ่ายชั่ว)

คัดลอกจาก... http://www.kamma.kroophra.net/index.php ... 9&Itemid=1

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรรม ๑๒
เขียนโดย กรรมลิขิต

กรรม (กัมม์ กัมมะ)(action, deed, volition)
คือการกระทำทั้งดีและชั่ว ทำดีเรียกว่า กุศลกรรม
ทำชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม

กรรมจัดตามหน้าที่มี ๔

๑. ชนกกรรม - กรรมที่ก่อให้เกิด หรือส่งให้เกิดในกำเนิดต่างๆ
เปรียบเสมือนมารดาของทารก
ชนกกรรมนี้เป็นผลของอาจิณกรรม บ้างของอาสันนกรรมบ้าง

๒. อุปถัมภกกรรม - กรรมอุปถัมภ์ เป็นเสมือนพี่เลี้ยงนางนม
มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี

๓. อุปปีฬกกรรม - กรรมบีบคั้น มีหน้าที่บีบคั้นกรรมดีหรือชั่วให้เพลาลง

๔. อุปฆาตกรรม หรือ อุปัจเฉทกกรรม - กรรมตัดรอน
มีหน้าที่ตัดรอนกรรมทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล

กรรมจัดตามแรงหนักเบามี ๔


๑. ครุกรรม - กรรมหนัก ฝ่ายดี หมายถึง ฌาน วิปัสสนา
มรรคผลฝ่ายชั่ว หมายถึง อนันตริยกรรม ๕ คือ ฆ่ามารดา, ฆ่าบิดา,
ฆ่าพระอรหันต์, ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อโลหิต, ทำสงฆ์ผู้สามัคคีกันให้แตกกัน

๒. อาจิณณกรรม หรือ พหุลกรรม
- กรรมที่ทำจนเคยชิน หรือ ทำมาก
ทำสม่ำเสมอ กรรมนี้จะให้ผลยั่งยืนมาก

๓. อาสันนกรรม
- กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต
มีอานุภาพให้บุคคลไปสู่สุคติหรืออทุคติได้
ถ้าเขาหน่วงเอากรรมนั้นเป็นอารมณ์เมื่อจวนตาย

๔. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม
- กรรมสักแต่ว่าทำ คือ ทำโดยไม่เจตนา

กรรมจัดตามกาลที่ให้ผลมี ๔


๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม - กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน

๒. อุปัชชเวทนียกรรม - กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไปถึดจากชาติปัจจุบัน

๓. อปราปรเวทนียกรรม
- กรรมที่ให้ผลหลังจากอุปัชชเวทนียกรรม
คือ ให้ผลเรื่อยไป สบโอกาสเมื่อใด ให้ผลเมื่อนั้น

๔. อโหสิกรรม
- กรรมที่ไม่ให้ผล เลิกแล้วต่อกัน

มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ภาค ๒ หน้า ๑๓๑
และจากวิสุทธิมรรคปัญญานิทเทส หน้า ๒๒๓ วศ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรรมลิขิต
เขียนโดย กรรมลิขิต

เมื่อเราได้ศึกษาถึงขบวนการแห่งกรรมในเบื้องต้นแล้ว
ก็คงพอจะเข้าใจว่า อะไร ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา
ก็เป็นมาจาก วิบากแห่งกรรมนั่นเอง
ดังนั้นชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ "กรรมลิขิต"
แต่ชะตาชีวิตของคนเรานั้นสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้
หาใช่สิ่งตายตัวแต่อย่างใดไม่
มันย่อมเป็นไปตามดุลยภาพแห่งการกระทำ
และแรงปฏิกิริยาของผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
นั่นคือ มันสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงกว่าเดิมก็ได้
ชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ กรรมเก่าและกรรมใหม่

การที่เราจะแก้ไขปัญหาชะตาชีวิตของตนเอง จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงค้นคว้าหาวิถีทางที่ถูกต้อง
ไม่ใช่เพียงหาทาง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ตัดกรรม โดยไม่พึ่งพาตนเอง
เพราะถึงเราจะมีเงินทองก็คงจะซื้อบุญหรือกรรมไม่ได้แน่นอน
แต่ถ้ารู้จักพิจารณาถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า
ตนเองมีเวรกรรมใดผูกพันอยู่
ก็จะสามารถลดแรงกรรมเหล่านั้นได้โดยไม่ยาก

ความเชื่อในเรื่องกรรม
หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง
ความศรัทธาของชาวพุทธไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง 4 ประการด้วยกัน

ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง
เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ

กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม คือ เชื่อว่ากรรมมีจริง

วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม
คือ เชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ

กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง
คือ เชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง
ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันชาติหรืออดีตชาติ

ความเชื่อหรือความศรัทธาในพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ประการนั้น
เป็นความเชื่อในเรื่องของกรรมเสีย 3 อย่าง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฏแห่งกรรม
จึงเป็นหลักคำสอนที่สำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา
ที่ชาวพุทธทุกคนไม่ควรมองข้าม

เพราะผู้ที่เชื่อกฏแห่งกรรมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม
ย่อมสามารถทำใจได้ในทุกเหตุการณ์
ไม่ว่าชีวิตจะทุกข์ยากลำบาก ผิดหวังขมขื่น
โรคภัยไข้เจ็บจะมาเบียดเบียน
ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรในอดีตมาเบียดเบียน
ไม่ตีโพยตีพายโวยวายเรียกร้องหาความยุติธรรม

กรรมให้ผลตามกาล
1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
4. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล หรือยุติการให้ผลต่อไป

กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
1. ชนกกรรมกรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
2. อุปถัมภกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือ ชนกกรรมแต่งดี
ก็ส่งให้ดียิ่งขั้นไป ถ้าชั่วก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
3. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม
คอยเบียดเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี
เบี่ยงเบนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว ก็เบี่ยงเบนให้ดี
4. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับที่เดียวเป็นขอทานหรือตายทันที
หรือของเดิมแต่งไว้เลว ก็กลับทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย

กลไกแห่งกรรม

เมื่อเราได้ศึกษาในกลไกแห่งกรรมจนพอจะเข้าใจแล้วว่า
อำนาจแห่งกรรมสามารถจะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่
การก่อเกิดภพชาติของคนเราได้ ถ้ากรรมดีให้ผลก็แล้วไป
แต่ถ้าวิบากกรรมให้ผลที่ไม่ดีต่อเราแล้ว
เราจะมีหนทางใดในการเบี่ยงเบนวิบากกรรมที่ไม่ดีออกไปให้พ้นตนได้
นั่นก็คือ เราต้องรู้เหตุเบื้องต้นเสียก่อนว่า
เรากำลังตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
โดยอาศัยสิ่งที่เราเรียกว่า “ลางบอกเหตุ” หรือสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า
เพื่อจะได้หาหนทางหรือกุศโลบายที่แยบยล
ในการที่จะเข้าไปแก้ไขสิ่งที่เลวร้าย ให้กลับกลายเป็นดีได้
ดังนั้นสิ่งที่เป็นลางบอกเหตุดังกล่าว จึงพออนุมานให้เป็นหนทางในการสังเกต
และพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
เจ็บป่วยผิดปกติ แม้จะหาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณแล้วก็ตาม
อาการดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น
หรือแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุความผิดปกติได้
นอกจากจ่ายยาให้กินเท่านั้น เช่น เจ็บหลัง เจ็บเอว เจ็บไหล่ ปวดในช่องท้อง
หรือแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น
ถึงแม้กรรมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
ธาตุขันธ์ความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า
เราก็ต้องทำความเข้าใจว่า ส่วนหนึ่งเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ
แต่บางส่วนก็เป็นไปตามวิบากกรรม
จิตใจผิดปกติ แม้จะหาจิตแพทย์หรือบำบัดในโรงพยาบาลก็ยังไม่ดีขึ้น
เช่น ปวดศรีษะรุนแรง เบลอ พูดจาเพ้อเจ้อ
ชีวิตวุ่นวายผิดปกติ มีปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน
ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน-การค้า เครียดผิดปกติ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ

1. วิสัยของพระพุทธเจ้า
2. ความคิดเรื่องการสร้างโลก
3. วิสัยของผู้มีฤทธิ์
4. กฏแห่งกรรม
คำว่า “ อจินไตย ” แปลว่า ไม่ควรคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คิด
ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ใช้ปัญญา
ความจริงแล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้คิดด้วยหลักของตรรกศาสตร์
เนื่องจากการคิดแบบนี้เป็นการคิดแบบอนุมาน คือ คาดคะเน
ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย
เพราะอาศัยพื้นฐานความรู้ที่เกิดจากอายตนะภายนอก
ที่เป็นประสาทสัมผัส คือ ตาเห็น หูได้ยิน เป็นต้น
แต่ความเป็นจริงแล้ว เรื่องราวในโลกนี้เป็นความจริง
ทั้งที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัส
และที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส
เช่น เรื่องราวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ และ กฎแห่งกรรม
ที่เป็นความจริงที่ไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้เพียงประสาทสัมผัสเท่านั้น
แต่จะต้องมีความรู้ที่นอกเหนือพิเศษจากประสาทสัมผัสธรรมดา
คือ อภิญญาด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์ได้
คำว่า “อภิญญา” แปลว่า ความรู้ยิ่งยวด มี 6 อย่างด้วยกัน
คือ อิทธิวิธี ทิพยโสต เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ
ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ
ดังนั้นแม้ว่า “กรรม” จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย
หรือธาตุขันธ์ในความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า
เราก็ต้องอดทนและต้องเข้าใจว่า"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะงอมืองอเท้า
รอรับ “ชะตากรรม” แต่เพียงอย่างเดียว
จนกลายเป็นคนสิ้นคิดไม่หาหนทางแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น
ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็คงเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์อันประเสริฐเสียแล้ว
ดังนั้นถึงแม้จะมองไม่เห็นทางก็ไม่ได้หมายความว่า
เราจะยอมจำนนต่อกรรมนั้นเอาง่าย ๆ
เราจะต้องพยายามหาหนทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นให้ได้
วิธีการเบื้องต้นง่าย ๆ ก็คือ การสร้างกรรมใหม่
เพื่อเบี่ยงเบนกรรมเก่าที่กำลังให้ผลให้อ่อนตัวลงไป
ถ้าวันหนึ่งวันใดชีวิตของเราต้องผกผันตกต่ำ
ด้อยโอกาสในวาสนาบารมี จะได้ไม่เกิดท้อใจ
จนย่อหย่อนในการดำเนินชีวิต ปล่อยชีวิตให้ระหกระเหินตกต่ำโดยไม่คิดสู้
ยิ่งมีวิบากกรรมมากทุกข์ทรมานมาก ก็ยิ่งต้องดิ้นรนให้มาก
หาทางสร้างคุณงามความดีชดเชยให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น
เพราะถ้าเป็นกรรมที่เบาบางก็อาจหายไปได้
ถ้าเป็นกรรมหนักก็จะบรรเทาเบาบางลงไป


ที่มา... http://watpanya.com/board/forum_posts.asp?TID=179


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรรมดี ตัดกรรมชั่ว
เขียนโดย กรรมลิขิต

กรรม ชั่วที่เราทำด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม
ถึงเราจะไม่สามารถลบล้างได้ แต่เราสามารถทำกรรมดี
ทำดีให้มากๆ หรือดีอันยิ่งใหญ่
เพื่อไม่ให้กรรมชั่วบางชนิดมีโอกาสให้ผล
หรืออาจจะเข้าไปตัดรอนกรรมชั่วนั้นลงได้โดยเด็ดขาด ( อุปฆาตกกรรม)
หรือเข้าไปลดกรรมชั่วนั้นให้มีโอกาสให้ผลน้อยลง เบาบางลง (อุปปีฬกกรรม)

อีกทั้งกรรมดีที่เราทำนั้นก็จะไปสนับสนุนกรรมดีที่เรามีอยู่
ให้มีโอกาสให้ผลเต็มที่ (อุปัตถัมภกรรม)
เหมือนดังพระบรมราโชวาทในลักษณะที่ว่า
"เราไม่สามารถทำทุกคนให้เป็น คนดีได้ทั้งหมด
แต่เราต้องสนับสนุนคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง
เพื่อป้องกันคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ "
ฉะนั้น เราไม่สามารถล้างกรรมชั่วได้ทั้งหมด
แต่เราสามารถทำกรรมดี เพื่อให้กรรมดีมีอำนาจมากกว่ากรรมชั่ว
ไม่ให้กรรมชั่วมีอำนาจมากกว่า หรือไม่ให้กรรมชั่วมีโอกาสให้ผลได้
เมื่อเราทำกรรมดีมากๆ ดีอย่างที่สุด ดีอย่างยิ่งใหญ่
กรรมดีที่เราทำนั่นแหล่ะ จะเข้าไปตัดรอน เข้าไปเบียดเบียนกรรมชั่ว
ไม่ให้กรรมชั่วมีโอกาสให้ผลได้

ตัวอย่างในสมัยพุทธกาล ก็อย่างเช่น ท่านองคุลิมาล
ฆ่าคนมาเป็นร้อยเป็นพันคน แต่ทำกรรมดีอันยิ่งใหญ่คืออรหันตมรรค
อรหันตผล ซึ่งกรรมชั่วที่จะนำไปสู่อบายภูมิเป็นอันไม่มี
กลายเป็นอโหสิกรรมไป (กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผล หรือให้ผลไม่ทัน
หรือกรรมที่ผ่านพ้นไปแล้ว) เพียงมีแต่เศษกรรมเล็กๆ น้อยเท่านั้น แต่นั่น
การทำความดี นั่นแหล่ะ ดีที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำแนะนำในการแก้กรรม
เขียนโดย กรรมลิขิต

คำแนะนำในการแก้กรรมนี้
ไม่ได้ส่งเสริมให้ท่านไปทำกรรมชั่วแล้วให้มาแก้กรรม หรือล้างกรรมทีหลัง
แต่แนะนำสำหรับผู้ที่ทำกรรมไม่ดีมาด้วยความประมาท พลั้งเผลอ รู้เท่าไม่ถึงการณ์
ยกตัวอย่างท่านองคุลิมาล เมื่อก่อนทำด้วยความประมาท
ด้วยความไม่รู้ว่าสิ่งที่กระทำนั้นเป็นบาปกรรม

วิธีที่ดีที่สุด ก็คือในเบื้องต้นทำความเห็นให้ถูกต้อง หรือเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
เพราะเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว ย่อมกำจัดความเห็นผิดทั้งหลายได้
มีกัมมสัทธา เชื่อในเรื่องกรรม
วิปากสัทธา เชื่อในการให้ผลของกรรม
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่มีกรรมเป็นของตน
แล้วกลับมาบำเพ็ญความดี หรือบุญตามหลักที่ควรเป็น
คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

ในการทำความดีนี้ ถึงจะมุ่งหวังการแก้กรรมเป็นเหตุ
แต่ก็ไม่ควรกังวลว่าแก้ได้หรือไม่ได้
พึงทำใจอยู่เสมอว่า เรามีการกระทำเป็นของตน
อนึ่ง การให้ผลของกรรม เป็นเรื่องอจินไตย
ใคร ๆ ไม่ควรคิดมาก ไม่ควรกังวลมาก ให้ทำดีที่สุด
เมื่อทำดีมากๆ แล้ว กรรมไม่ดีต่าง ๆ
ก็อาจจะไม่มีโอกาสให้ผล หรือตามไม่ทัน หรือกลายเป็นอโหสิกรรมไป
ต่อไปนี้ จะนำวิธีแก้กรรม ที่ท่านผู้ที่ผ่านการศึกษาได้เสนอแนะไว้
เห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำความดีทั้งนั้น

แนวทางสำหรับการแก้ไขวิบากกรรมให้เบาบางลงไป

คำแนะนำในการแก้กรรม
สำหรับท่านที่ผิดพลาดไปแล้ว
ก็อยากขอแนะนำหนทางแก้ไข วิบากกรรม เหล่านั้น
ให้บรรเทาลงไปหรือหมดไปในที่สุด
ใช้ได้กับ กรรม ทุกประเภท มีข้อแนะนำดังนี้

1.ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
ที่กำลังติดตามให้ผลเราอยู่ทุกรูปแบบ เพื่อให้ดวงวิญญาณนั้นเห็นว่า
เรามีความตั้งใจจริงและสำนึกในผลกรรมที่ได้กระทำลงไป
เช่น การทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน
ถวายพระพุทธรูป ถวายผ้าไตร ไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ
แล้วตั้งใจกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวของเราเท่านั้น
แต่ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่านี่เป็นเพียงทานกุศล
เป็นกุศลเบื้องต้นที่ยังหยาบอยู่
ซึ่งอาจจะไม่พอเพียงสำหรับการไถ่โทษฑัณฑ์
ที่ได้กระทำผิดไว้กับเจ้ากรรมนายเวรตนนั้นก็ได้

2. การบวชพราหมณ์ (บวชเนกขัมมะ)หรือการบวชพระ การถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227
ตามเพศภาวะ ส่วนจะเป็นการบวชกี่วันย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
เมื่อบวชแล้วควรสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเช้า-เย็น
เจริญสมาธิภาวนาให้มาก เพราะเป็นกุศลที่ละเอียดสูงกว่าการให้ทานข้างต้น
เพราะการบวชชีพราหมณ์หรือการถือศีล 8 เป็นระดับของบุญที่สูงกว่าการให้ทาน
นอกจากจะมีโอกาสทำวัตรเช้าเย็น
ก็ยังได้นั่งสมาธิแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่เป็นทิพย์ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรอีกด้วย
หรือ ถ้าเป็นกรรมหนักและเป็นผู้ชายก็อาจบวชพระ
เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรก็ยิ่งดีมาก

3. เจริญสมาธิภาวนา แม้เราจะไม่มีเวลาไปบวชถือศีลที่วัดก็ตาม
เราก็ควรจะทำบ้านให้เป็นวัด ด้วยการสวดมนต์และเจริญสมาธิภาวนาให้เป็นนิจ
เพราะบุญจากการเจริญสมาธิภาวนา เป็นกุศลที่ละเอียดมากและสูงที่สุด
ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของทุกดวงจิตดวงวิญญาณ
เพราะผู้มีกายทิพย์หรือกายละเอียดย่อมอยากได้บุญที่ละเอียดเช่นกัน
อีกประการหนึ่ง จะเป็นการคลายขันธ์หรือปรับปรุงธาตุขันธ์ให้ผ่อนคลายระงับ
เบญจขันธ์อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
กรรมเล็ก กรรมน้อย จะถูกขับผ่อนคลายออกจากขันธ์ได้บางส่วน
ทำให้ดีขึ้นและเกิดปิติสุขตามมา พยายามให้จิตแน่วแน่มั่นคง
จนจิตดิ่งวูบจนเกิดความสงบและสุขในใจ
แล้วแผ่เมตตาให้ดวงจิตดวงวิญญาณนั้นมาอนุโมทนา และให้เป็นอโหสิกรรมต่อกัน
เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่า
หากเราทำจิตให้นิ่งสงบได้เพียงช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น
ย่อมสามารถปิดอบายภูมิได้ คือ ทำความดีหนีความชั่ว

ดังนั้นแม้ไม่อาจจะไปบวชชีพราหมณ์(บวชเนกขัมมะ)ได้ ก็อยู่ปฏิบัติเอาเองที่บ้านก็ได้
แต่ขอให้ทำจริงเท่านั้น
(ข้อที่ว่าปิดอบายภูมิได้นั้น หมายถึง ชั่วขณะที่จิตสงบนิ่งเท่านั้น
ไม่ได้หมายความว่าปิดได้ตลอดกาล หมายความว่า
ถ้าตายในขณะที่จิตสงบเป็นกุศล ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้ไปสู่สุคติ
หรือมีสุคติเป็นที่หวัง ที่ปิดอบายภูมิได้เด็ดขาด คือ พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น
: พระมหาอำพร อนุตฺตโร)

4. การขออโหสิกรรม หรือ การให้อภัยทาน
ในบรรดาทานทั้งหลายอันประกอบด้วย วัตถุทาน ธรรมทานและอภัยทาน
ถือว่าอภัยทานเป็นทานในระดับปรมัตถทานบารมี
หากมีการให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน
กรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะ หลุดพ้นจากบ่วงกรรมนั้นทันที
ดังนั้นหากเจ้ากรรมนายเวรใดปรากฏตนต่อหน้าในขณะนั้น
ก็พึงประกาศขออโหสิกรรมกันทันที หากแม้ว่าอีกฝ่ายไม่ยอม
กรรมนั้นก็ย่อมดำเนินการส่งผลต่อไป
สุดแท้แต่ลักษณะแห่งกรรมที่กระทำกันมา

ดังนั้น ทุกครั้งที่ทำบุญแล้วให้กรวดน้ำแผ่เมตตา
ระบุถึงเจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวข้าพเจ้า หรือ ที่ติดตามข้าพเจ้า
ให้มาอนุโมทนาในส่วนบุญส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าอุทิศให้นี้
และกรรมอันใดที่ได้กระทำไปโดย เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจที่จะอุทิศให้แก่เขาจริง ๆ และด้วยความสำนึกผิด

5.ขอร้องไกล่เกลี่ย
เมื่อทำทุกอย่างที่แนะนำแล้ว
เหตุการณ์รอบ ๆ ตัว หรือ สุขภาพการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น
ก็ต้องหาคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ ดังนั้น “พระสงฆ์”ผู้ทรงศีล
จึงเป็นทางออกที่ดี เพราะท่านเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
และมีศีล 227 ย่อมมีวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยให้
เพราะเราเป็นจำเลย แต่วิญญาณที่อาฆาตเป็นโจทก์
ดังนั้นถึง แม้เราจะพยามสร้างบุญสร้างกุศลทุกรูปแบบแล้ว
เจ้ากรรมนายเวรอาจจะยังไม่ยอมก็ได้
เพราะความโกรธยังมีอยู่จึงไม่ยอมฟังเสียงร้องขอของเรา
จึงจำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่เป็นที่เคารพนับถือ
หรือเกรงใจกันไกล่เกลี่ยให้ โดยอาศัยจิตสำนึกในบาปบุญที่ได้กระทำมา
และสร้างกุศลอยู่เสมอเป็นสำคัญ ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่มีบุญฤทธิ์
และเมตตาจิตที่แผ่เมตตาโปรดสัตว์ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย
ให้เกิดปัญญาดวงตาเห็นธรรม จนยอมละวางและให้อโหสิกรรมต่อกัน
ท่านทั้งหลายอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะมีคำถามมากมายว่า
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เจ้ากรรมนายเวรยอมอโหสิกรรมให้
ถ้าท่านอยากทราบคำตอบสุดท้ายตรงนี้
ก็ต้องติดตามเรื่องราวต่าง ๆ ทุกตัวอักษร
แล้วท่านจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
แล้วจะเข้าใจเรื่องราวของ “กรรม” ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อาจทำให้ท่านเกิดความรู้สึกกลัว “กรรม”
กว่าที่เคยกลัวมาว่า “เจ้ากรรมนายเวร”
ไม่ใช่แค่คำพูดที่ไว้หลอกคนให้กลัว แต่เป็นเรื่องจริง ๆ
ที่ยังไม่เคยได้รับคำอธิบายให้ชัดเจนจากที่ไหนมาก่อนเท่านั้น
เจ้ากรรมนายเวร ก็คือ ดวงจิตดวงวิญญาณ
ที่มีความอาฆาตพยาบาทกันมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน
จะมากหรือน้อยก็ย่อมขึ้นอยู่กับ บุพกรรม ของแต่ละคน
บางดวงจิตดวงวิญญาณหากมาจุติเป็นมนุษย์เหมือนกัน
ก็จะคอยจองล้างจองพลาญ หาทางทำลายเรา
ในทุกโอกาสทุกสถานที่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ต่างกรรมต่างวาระ
จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเราแปรเปลี่ยนไป
หมุนเวียนกันไป ดีบ้างแย่บ้าง สุดแท้แต่กรรมดีหรือกรรมชั่วจะส่งผล
ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เราจึงควรสั่งสมบุญไว้
หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เอาบุญเป็นตัวนำ
เพื่อถ่วงดุลความชั่วให้ส่งผลช้าหรือไม่สามารถให้ผลได้ทัน
เพราะน้ำหนักบุญมากกว่าน้ำหนักบาปนั่นเอง


อ้างถึง www.watpanya.com/board/forum_posts.asp?TID=179


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีที่ดีที่สุด ก็คือในเบื้องต้นทำความเห็นให้ถูกต้อง หรือเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
เพราะเมื่อมีสัมมาทิฏฐิแล้ว ย่อมกำจัดความเห็นผิดทั้งหลายได้
มีกัมมสัทธา เชื่อในเรื่องกรรม
วิปากสัทธา เชื่อในการให้ผลของกรรม
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่มีกรรมเป็นของตน
แล้วกลับมาบำเพ็ญความดี หรือบุญตามหลักที่ควรเป็น
คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ในการทำความดีนี้ ถึงจะมุ่งหวังการแก้กรรมเป็นเหตุ
แต่ก็ไม่ควรกังวลว่าแก้ได้หรือไม่ได้
พึงทำใจอยู่เสมอว่า เรามีการกระทำเป็นของตน

อนึ่ง การให้ผลของกรรม เป็นเรื่องอจินไตย
ใคร ๆ ไม่ควรคิดมาก ไม่ควรกังวลมาก ให้ทำดีที่สุด
เมื่อทำดีมากๆ แล้ว กรรมไม่ดีต่าง ๆ
ก็อาจจะไม่มีโอกาสให้ผล หรือตามไม่ทัน หรือกลายเป็นอโหสิกรรมไป
ต่อไปนี้ จะนำวิธีแก้กรรม ที่ท่านผู้ที่ผ่านการศึกษาได้เสนอแนะไว้
เห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะเกี่ยวข้องกับการทำความดีทั้งนั้น


:b8: :b8: :b8: สาธุๆๆๆ ขอบคุณครับคุณลูกโป่ง
ละเอียดมากดีจริงๆ ครับ ได้ยารักษาโรคกายและจิตชนิดเยี่ยมครับ

:b53: :b53: :b53:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณสำหรับกำลังใจดีดีค่ะ...คุณ -dd-

ลูกโป่งว่ากฎแห่งกรรมยุติธรรมที่สุด
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน
ดังนั้น เราควรจะไม่ประมาทในการใช้ชีวิตนะคะ
ธรรมะของพระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่งให้เราได้จริงๆค่ะ
ศรัทธาธรรม ตั้งใจทำ...ได้ผลแน่นอนค่ะ

ธรรมใดๆ ก็ไร้ค่า...ถ้าำไม่ทำ

ธรรมะสวัสดีค่ะ

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2009, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณลูกโป่ง

:b47: คุณลูกโป่งกล่าวไว้ดีแล้วค่ะ กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ

:b41: :b41: :b41:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 16:30
โพสต์: 133

อายุ: 0
ที่อยู่: Uttaradit

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุ
ขอบคุณทุกท่าน ทุกบทความครับ

.....................................................
" สติปัญญา เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิต มีคุณค่าอย่างเหลือที่จะประมาณ "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณลูกโป่ง :b8:
เป็นบทความธรรมะที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ
ขอขอบพระคุณมากค่ะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยค่ะ
ขอเป็นกำลังใจให้ จากใจจริงค่ะ
ด้วยความเคารพ :b53: :b51: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2016, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ตัวเราเอง.jpg
ตัวเราเอง.jpg [ 38.82 KiB | เปิดดู 3458 ครั้ง ]
:b8: การทำความดี นั่นแหล่ะ ดีที่สุด :b8:

:b42: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขความเจริญ และอยู่เย็นเป็นสุขนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20: (♡✿◕‿◕✿♡)

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร