วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PlanP17_01.gif
PlanP17_01.gif [ 25.25 KiB | เปิดดู 5832 ครั้ง ]
อุปปีฬกกรรม


อุปปีฬกกรรม มีวจนัตถะแสดงว่า
"กมฺมนฺตรํ วา กมฺมนิพฺพตฺตขนฺธสนฺตานํ วา อุปปีเฬตีติ อุปปีฬกํ"
กรรมใดย่อมเบียดเบียนกรรมอื่นๆ และสืบต่อแห่งขันธ์ ๕ ที่เกิด จากกรรมอื่นๆ นั้น
ฉะนั้น กรรมนั้น ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ มหากุศลกรรม ๘
หมายความว่า อุปปีฬกกรรมนี้ เป็นกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตน
(กมฺมนฺตรอุปปีฬก) อย่างหนึ่ง
และเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ (กมฺมนิพฺพตฺตขนฺธสนฺตานอุปปีฬก)
อย่างหนึ่งรวมเป็น ๒

อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีสภาพตรงกันข้ามกับตนนั้นมีทางเบียดเบียน ๒ อย่างคือ

ก. เบียดเบียนเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
ข. เบียดเบียนชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังลดน้อยลงได้ผลไม่เต็มที่

ฉะนั้น การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรมนี้ จึงมี ๓ คือ

ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อมิให้มีโอกาสส่งผล
ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้วให้มีกำลังลดน้อยลง
ค. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนนารูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ

ก. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนั้นมี ๒ ประเภท คือ

๑. กุศลที่กระทำในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลอย่างหนึ่ง
๒. อกุศลที่กระทำในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลอย่างหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1174890_384137465049224_760980026_n.jpg
1174890_384137465049224_760980026_n.jpg [ 52.5 KiB | เปิดดู 5827 ครั้ง ]
อุปปีฬกกรรมนี้ก็ได้แก่ อุปปัตถัมภกกรรมนั้นเอง
คือในขณะที่กระทำหน้าที่ช่วยหนุนกรรมอื่นๆ อยู่นั้น ในเวลาเดียวกันนั้น
ก็กระทำหน้าที่เบียดเบียนไปด้วย ฉะนั้น การยกตัวอย่างของกุศลอุปปีฬกกรรมในข้อ ๑
ที่ว่า "กุศลที่กระทำในภพนี้เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล " นั้น
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับการยกตังอย่างของกุศล อุปัตถัมภกกรรมในข้อที่ ๑
ที่ว่า " กุศลที่เกิดในมรณาสันนกาลช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ
ที่ยังมีโอกาสส่งผล" นั้นเอง

ในข้อที่ ๒ ที่ว่า " อกุศลที่กระทำในภพนี้เบียดเบียนกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล" นั้น
ยกตัวอย่างทำนองเดียวกันกับอกุศลอุปัตถัมภกกรรมในข้อ ๓ ที่ว่า "อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล
ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ให้ได้มีโอกาสส่งผล"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อุปปีฬกกรรมที่เบียดเบียนชนกกรรมื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีโอกาสลดน้อยลง
มี ๒ ประเภท คือ

๑. กุศลที่กระทำในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว
ให้มีกำลังลดน้อยอย่างหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่นพระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำอนันตริยกรรม คือปิตุฆาตกรรมอันหนักนี้จะต้องได้รับผล
ไปตกอวีจิมหานรก แต่ตัวพระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างกุศลไว้มากมาย คือเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
เช่น การทำสังคายนาก็ได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และในบรรดาปุถุชน
ทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด ฉะนั้นอำนาจของกุศลชนิดนี้แหละจึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ไปตกอวีจิมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ เป็นแต่ไปตกนรกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอวีจิมหานรก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2013, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อกุศลที่กระทำในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว
ให้มีกำลังลดน้อยอย่างหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เช่น การทำกุศลที่เจือด้วยอกุศล คือในขณะที่ทำอยู่นั้นก็มีความชื่นชมยินดีและ
เห็นประโยชน์ในการกระทำความดี แต่เมื่อกระทำเสร็จสิ้นแล้วมีอกุศลเกิดขึ้นเกี่ยวกับ ความ
ไม่พอใจบ้าง เสียดายเงินบ้างเหล่านี้ ซึ่งทำให้ผลของกุศลลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อผู้นี้ตายแล้ว
แทนที่จะได้ไปเกิดเป็นติเหตุกบุคคล กลับกลายเป็นทวิเหตุกบุคคล ไปนี้ก็ด้วยอำนาจแห่งอกุศล
ที่เกิดขึ้นนั้นเองเข้าเบียดเบียนกุศลให้มีกำลังลดน้อยลง

อนึ่งบุคคลบางคนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่เมื่อเวลาที่คลอดออกจากครรภ์มารดาแล้ว
แต่ปรากฎว่าผู้นั้นตาบอด หูหนวก จมูกโหว่ เป็นต้นมาแต่กำเหนิดเหล่านี้ ก็เป็นเพราะว่า
กุศลชนกกรรมที่นำให้ผู้นั้นมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น ถูกอกุศลอุปปีฬกกรรมเบียดเบียน
ให้มีกำลังลดน้อยลง ฉะนั้นเมื่อถึงเวลาอันสมควรที่ ตา หู จมูกเป็นต้น จะเกิดขึ้นแล้วก็กลับ
ไม่ปรากฎเกิดขึ้น กลายเป็นคนตาบอด หูหนวก เป็นต้น มาแต่กำเหนิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากชนกกรรมนั้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ที่เกิดมามีร่างกายสมบูรณ์เป็นคนแข็งแรงไม่มมีโรคภัย แต่ต่อมา
ภายหลังเกิดเป็นโรคขึ้น เช่น โรคผิวหนัง โรคอัมพาต ทำให้เดินไม่ได้ หรือขาดสติฟั่นเฟือนไป
กลายเป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย หรือถ้าไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนก็ให้เกิดมีความเป็นไป ในเรื่องทรัพย์
สมบัติ ยศ บริวาร ได้รับความเสียหายต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่อกุศลวิบากทั้งสิ้น เหล่านี้เป็นเพราะ
อำนาจอกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนกระทำมาแล้วในภพก่อนๆ หรือภพนี้เข้ามาเบียดเบียน นามรูป
ที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
๒. กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรรม
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ที่เกิดมาเป็นคนยากจน หรือคนเป็นคนขี้โรคมีความลำบากต่างๆ
ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นั้นก็พยายามทำบุญรักษาศีลอยู่เสมอตามสมควร
แก่ฐานะของตน ต่อมาภายหลังความลำบากต่างๆ ก็หายไป การทำมาหากินก็คล่องขึ้น
โรคภัยที่เคยเป็นก็ได้ยาดีมารักษาหาย มีความสุขความสบายขึ้นนี้ก็เป็นเพราะอำนาจ
แห่งกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนได้สร้างขึ้นนั้น เข้าเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลชนกกรม
กล่าวคือความลำบากกายลำบากใจนั้นให้หายไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




PlanP18_01.gif
PlanP18_01.gif [ 12.32 KiB | เปิดดู 5757 ครั้ง ]
อุปฆาตกกรรม
อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่ ตัดกรรม อื่น ๆ และวิบากของกรรมอื่น ๆ ให้สิ้นลงซึ่งต่างกับอุปปีฬกกรรม ซึ่งมีหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่น ๆ และวิบากมิให้เจริญ คือให้มีกำลังลดน้อยถอยลงเท่านั้น
อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมชนิดที่ตัดกรรมอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด เมื่อตัดกรรมใดแล้ว กรรมนั้นไม่สามารถส่งผลให้เกิดขึ้นได้เลยตลอดไป และถ้าตัดวิบากของกรรมนั้นแล้ว ย่อมหมายถึงร่างกาย หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้นั้น ย่อมเสียไปตลอดชีวิต หรือไม่ก็ตัดชีวิตของผู้นั้นให้สิ้นไปเลย
อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ
๑. ตัดชนกกรรมที่เป็นตัวนำเกิด ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป
๒. ตัดชีวิต (รูปนาม) ที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ให้สิ้นไป

อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ตัดชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนี้ มี ๓ ประเภท คือ

๑.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด อกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบาป) มิให้นำเกิดในอบายภูมิ เช่น
องคุลิมาล ก่อนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้เคยฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เมื่อตายแล้วจะต้องตกนรกแน่นอน แต่เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องตกนรก เพราะไม่ต้องเกิดอีก ด้วยอำนาจของ อรหัตตมรรคกุศลกรรม (บุญ) ที่เกิดขึ้นตัด อกุศลชนกกรรม (บาป) ที่ได้ทำในภพนี้และภพก่อนให้หมดไป ไม่ต้องรับผลกรรมที่ทำไว้

๑.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบุญ)
ผู้ที่ทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาจนได้ฌาน ต่อมาได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทาน ศีล ที่เป็นกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ และฌานกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้เกิดเป็นพรหมได้ ด้วยอำนาจของอรหัตตมรรคกุศล (บุญ) ซึ่งเป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลที่จะนำเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหมให้หมดไป ผู้ที่ทำฌานจนถึงปัญจมฌาน เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเกิดเป็นจตุตถฌานพรหม ด้วยอำนาจแห่งปัญจมฌานกุศล เป็นอุปฆาตกกรรมตัดมหัคคตกุศลที่ต่ำกว่าไม่ให้มีโอกาสส่งผล ตัดการที่จะไปเกิดเป็น ปฐมฌานพรหม ทุติยฌานพรหม และตติยฌานพรหม ลงไป ในอรูปฌานก็ทำนองเดียวกัน

๑.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บาปตัดบุญ)

ผู้ใดผู้หนึ่งได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งได้ฌาน ต่อมาผู้นั้นได้กระทำอกุศลกรรมที่เป็นปัญจานันตริยกรรม อกุศลปัญจานันตริยกรรมนี้ย่อมเป็น อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในพรหมโลก เช่น พระเทวทัต ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานและอภิญญา ทำให้เหาะเหิรเดินอากาศได้ แต่เมื่อได้กระทำโลหิตตุปบาทและสังฆเภทอันเป็นกรรมหนัก คือ อนันตริยกรรม เมื่อพระเทวทัตตายลงจึงต้องไปเกิดในอเวจีมหานรก ทั้งนี้ เพราะอนันตริยกรรมนั้นเป็นฝ่ายอกุศลอุปฆาตกกรรม (บาป) ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม คือ ฌาน อภิญญา (บุญ) ทำให้ไม่สามารถจะไปเกิดในพรหมโลกได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปฆาตกกรรมที่มีหน้าที่ตัดรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นให้สิ้นไป มี ๔ ประการ คือ
๒.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม
๒.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
๒.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
๒.๔ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม

๒.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม
ผู้ที่ตายไปแล้ว ไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ ร่างกายและความเป็นไป มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ของสัตว์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ในระยะต่อมาสัตว์นรกนั้นได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้เคยกระทำไว้ได้ โดยอาศัยการเห็นเปลวไฟแล้วระลึกได้ว่า เราเคยได้บวชพระ เคยถวายจีวรแก่พระสงฆ์ เคยปิดทองพระพุทธรูปเป็นต้น หรือโดยอาศัยพระยายมราชเตือนสติให้ก็ระลึกถึงกุศลต่าง ๆ ที่ตนได้เคยกระทำไว้ ในขณะที่ระลึกถึงนั้น มหากุศลจิตย่อมเกิดขึ้น ในขณะนั้นสัตว์นรกก็จุติลง แล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาทันที นี้เป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้นได้เอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เป็นอกุศลวิบาก ทั้งนี้ เพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้น จะเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามของสัตว์นรกอันเกิดจากอกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป

๒.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ยังเป็นฆราวาส ถ้าไม่บวชภายในวันนั้น จะต้องเสียชีวิตทันที ทั้งนี้ เพราะอำนาจของอรหัตตมรรคอรหัตตผลนั้นมีคุณอันประเสริฐ ไม่เหมาะกับเพศฆราวาส ซึ่งเป็นเพศชั้นต่ำ มีฐานะเพียงแค่รักษาศีล ๕ ความเป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมคู่ควรกับสมณเพศอันเป็นอุดมเพศ จึงจะรองรับคุณอันประเสริฐนั้นได้ เหมือนกับน้ำมันราชสีห์ ภาชนะทองเท่านั้น ที่สามารถเก็บรักษาน้ำมันนั้นอยู่ได้ ถ้าภาชนะอื่น ๆ ย่อมไม่สามารถรักษาไว้ได้ นี่แสดงให้เห็นว่าอรหัตตมรรคกุศลกรรม เป็นอุปฆาตกกรรมที่ตัดรูปนามของความเป็นมนุษย์ อันเกิดจากอกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผล

๒.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
คนที่เกิดมามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอวัยวะของร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ นับว่าเป็นคนที่เกิดจากกุศลวิบาก ต่อมาได้รับอุบัติเหตุ เช่น แขนขาด ขาหัก ตาบอด หรือถึงแก่ความตาย เหล่านี้เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผลอีกต่อไป

๒.๔ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม
สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้นเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม มี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ต่อมาถ้าได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชนตาย ตกน้ำตาย ถูกฆ่าตาย ความตายของสัตว์เหล่านี้ เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรมที่เคยทำไว้แล้ว เป็นผู้ตัดชีวิต คืออกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป ไม่มีโอกาสส่งผลอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2013, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งกรุงราชคฤห์ พระองค์ทรงมีความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยเป็นอันมาก ทรงตั้งอยู่ในโสดาบันบุคคล ทรงเป็นพระราชบิดาของอชาตศัตรูกุมาร อชาตศัตรูกุมารนี้ไปคบหากับพระเทวทัตที่คิดจะเป็นใหญ่แทนพระพุทธเจ้า และตนก็ต้องการขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเจ้าพิมพิสาร อชาตศัตรูและพระเทวทัตจึงหาวิธีที่จะกำจัดบุคคลทั้งสองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจับพระเจ้าพิมพิสารไปขังคุก ให้อดอาหาร กรีดฝ่าเท้าเพื่อมิให้เดินจงกรม จนกระทั่งเกิดทุกขเวทนาอย่างหนักและสวรรคตลงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ

ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้มีบาปกระทำปิตุฆาตกรรม เสวยราชสมบัติตามประสงค์ก็หาได้มีความสุขสงบพระทัยลงไม่ แม้จะได้ฟังพระธรรมเทศนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอำนาจของอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรอนให้พระเจ้าอชาตศัตรูสวรรคตลง ไปเกิดเป็นสัตว์นรกใน โลหกุมภี เสวยทุกขเวทนาเป็นเวลาถึง ๖ หมื่นปี เมื่อสิ้นกรรมจากนรกแล้วจักไปบังเกิดเป็นมนุษย์ และตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระชีวิตวิเสส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร