วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 20:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-กายสังขาร-การปรุงแต่งการกระทางกาย (volitional acts of the body)

-วจีสังขาร-การปรุงแต่งคำพูด (volitional acts of speech)

-มโนสังขาร -การนึกคิดปรุงแต่งในใจ (volitional acts of mind)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม ?



-มีลัทธิมิจฉาทิฏฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อยู่ 3 ลัทธิ * ซึ่งต้องระวังไม่ให้เข้าใจ
สับสนกับหลักกรรม ทางพุทธศาสนา คือ

1) ปุพเพกตเหตุวาท- ลัทธิกรรมเก่า ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง ที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะกรรมเก่า
ที่ทำไว้ในปางก่อน (past-action determinism) เรียกสั้นๆว่า ปุพเพกตวาท

2. อิสสรนิมมานเหตุวาท- ลัทธิพระเป็นเจ้า ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่ (theistic determinism) เรียกสั้นๆว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท

3. อเหตุอปัจจยวาท- ลัทธิคอยโชค ถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวงที่ประสบในบัดนี้ เป็นไปเอง แล้วแต่โชค
แล้วแต่โชคชะตาที่เลื่อนลอย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย (indeterminism หรือ accidentalism)
เรียกสั้นๆว่า อเหตุวาท

............

* องฺ.ติก. 20/501/222; อภิ.วิ.35/940/496; ม.อุ. 14/2-11/1-13; ขุ.ชา.28/52-65/23-30 ; 771/260-5; ชา.อ.8/67-73

-โดยเฉพาะ ปุพเพกตวาท พึงระวัง แยกจากหลักกรรมของพุทธศาสนาให้ดี

ขอย้ำว่า เรื่องนี้น่าศึกษามาก ดูเหมือนว่าชาวพุทธจำนวนมากจะพยายามหลบเลี่ยงไม่ยอมมองดู
หลักพุทธศาสนาข้อนี้ การที่ท่านย้ำไว้ในคัมภีร์ตั้งหลายแห่ง น่าจะเป็นข้อสำคัญ ซึ่งหากศึกษากันให้ดี
อาจช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับหลักกรรมในพุทธศาสนาได้อีกมาก ไม่น่าจะมัวเลี่ยงหลบกันไปมา

- วิภังค. อ. 652-3 ว่า วาทะที่ 1 เป็นลัทธินิครนถ์ .. ที่ 2 เป็นลัทธิพราหมณ์ .. ที่ 3
เป็นลัทธิอาชีวก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2009, 17:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกตพระดำรัสของพระพุทธเจ้าต่อลัทธิทั้ง 3 นั้น ว่าพระองค์มีความเห็นต่อลัทธิความเชื่อนั้นแต่ละอย่างๆ อย่างไร
แต่แทรกความเห็นของชาวพุทธปัจจุบันซึ่งมีความเห็นเหมือนลัทธิหนึ่ง ใน 3 ลัทธินั้น ไว้เทียบเคียงกับ
พุทธพจน์ข้างหน้า เช่นความเชื่อที่ว่า =>



ปัจจุบัน คนเราเกิดมาจะประสบกับความทุกข์ ความผิดหวัง ความไม่สมหวัง ความเศร้าใจเสียใจ หรือเกิดมาสวย ร่ำรวยทรัพย์สินเงินทอง มียศฐาบรรดาศักดิ์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับ กรรมเก่า คือ บุญบาปที่เราทำมา พร้อมกันนั้นเราก็ทำ กรรมใหม่ ที่เป็นบาปบ้าง เช่น การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ หรือที่เป็นบุญกุศลบ้าง เช่น การทำทาน การสร้างโบสถ์สร้างวิหารศาลาการเปรียญ การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ การเจริญสมถกรรมฐานหรือ วิปัสสนากรรมฐาน ในวันโกนวันพระ ไปพร้อม ๆ กันด้วย

เมื่อได้กระทำทั้งบุญและบาปในชาตินี้ ชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เราจะต้องได้รับผลของบุญ และผลของบาป ที่ได้ทำไว้นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้... เมื่อทำบุญทำความดี ก็ต้องได้รับความสุขความเจริญ ถ้าทำบาปอกุศล ก็จะได้รับความทุกข์ความผิดหวังเป็นสิ่งตอบแทน

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=159649

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 พ.ย. 2008, 08:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



พุทธพจน์นั้นมีดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ 3 ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้าง
การถือสืบๆกันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา (การไม่กรทำ) คือ

1. สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็
ดี อย่างหนึ่งใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน
(ปุพฺเพกตเหตุ)

2. สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะการบันดาล
ของพระผู้เป็นเจ้า
(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)

3. สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้
(อเหตุอปจฺจย)”


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ 3 พวกนั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ 1) แล้วถามว่า “ทราบว่า ท่าน
ทั้งหลายมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้...จริงหรือ ?” ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว รับว่า จริง
เราก็กล่าวกะเขาว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านก็จักต้องเป็นผู้ทำปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ
จะต้องเป็นผู้ทำอทินนาทาน เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ จะต้องเป็นผู้ประพฤติอพรหมจรรย์...
เป็นผู้กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุน่ะสิ”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดี ว่า
“สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำและสิ่งนี้ไม่ควรทำ โดยจริงจัง
มั่นคงดังนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้ ก็อยู่กับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรม
เฉพาะตนไม่ได้ นี้แล เป็นนิคหะอันชอบธรรมอย่างแรกของเราต่อสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ มีทิฐินี้”


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่2 )กล่าวกะเขาว่า
“ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต ก็เพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเหตุ จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน... ประพฤติอพรหมจรรย์...เป็นผู้กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ ก็เพราะการบันดาลของพระผู้
เป็นเจ้าเป็นเหตุน่ะสิ”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดเอาการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้าเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดี
ว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี ฯลฯ”


“ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราเข้าไปหา (พวกที่ 2 )กล่าวกะเขาว่า “ท่านจักเป็นผู้ทำปาณาติบาต โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย จักเป็นผู้ทำอทินนาทาน...ประพฤติอพรหมจรรย์...กล่าวมุสาวาท...ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยน่ะสิ”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลยึดเอาความไม่เหตุเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่า “สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้
ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี ฯลฯ”
(องฺ.ติก.20/501/222 ฯลฯ)


โดยเฉพาะลัทธิที่ 1 คือ (ปุพฺเพกตเหตุ) เป็นลัทธิของนิครนถ์ ดังพุทธพจน์ว่า



“ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า “สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดที่
บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยดังนี้ เพราะกรรมสิ้นไปด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ได้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์
มีวาทะอย่างนี้” (ม.อุ.14/2/1)


พุทธพจน์อีกดังนี้


“ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี ...
เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ สมณพราหมณ์
เหล่าใด มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั้นเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน” เรากล่าวว่า เป็นความผิดของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”
(สํ.สฬ.18/427/294)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2008, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรมแต่
ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุง
ตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง
ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้น จะเห็น
ได้ชัดด้วยว่าในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือความเพียรพยายามเป็นเกณฑ์ ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรม
ของหลักกรรมและคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด

พุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุ
ปัจจัย และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่อง
ของเหตุปัจจัยอยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจนอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึด ไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ให้
ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท รู้จักกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เหมือนกับการ
ที่ใครคนหนึ่งเดินขึ้นตึก 3 ชั้น ถึงชั้นที่สามแล้ว ก็แน่นอนว่าการขึ้นมาถึงของเขาต้องอาศัยการกระทำ
คือการเดินที่ผ่านมาแล้วนั้น จะปฏิเสธมิได้ และเมื่อขึ้นมาถึงที่นั่นแล้ว การที่เขาจะเหยียดมือไปแตะ
พื้นดินข้างล่างตึก หรือจะนั่งรถเก๋งวิ่งไปมาบนตึกชั้นสามเล็กๆ เหมือนอย่างบนถนนหลวง ก็ย่อมเป็น
ไปไม่ได้ และข้อนี้ก็เป็นเพราะการที่เขาขึ้นมาบนตึกเหมือนกัน ปฏิเสธมิได้ หรือเมื่อเขาขึ้นมาแล้ว
จะเมื่อยหมดแรง เดินต่อขึ้นหรือลงไม่ไหว นั่นก็ต้องเกี่ยวกับการที่ได้เดินขึ้นมาแล้วด้วยเหมือนกัน ปฏิเสธ
ไม่ได้

การมาถึงก็ดี ทำอะไรได้ในวิสัยของที่นั่นก็ดี การที่อาจจะต้องเข้าเกี่ยวข้องกับอะไรต่อไรในที่นั้นอีก
ในฐานะที่ขึ้นมาอยู่กับเขา ณ ที่นั้นด้วยก็ดี ย่อมสืบเนื่องมาจากการที่ได้เดินมาด้วยนั้นแน่นอน
แต่การที่เขาจะทำอะไรบ้าง ทำสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องที่นั่นแค่ไหนเพียงไร ตลอดจนว่าจะพักเสียก่อนแล้วเดิน
ต่อ หรือเดินกลับลงเสียจากตึกนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่เขาจะคิด ตกลงทำเอาใหม่ ทำได้ และได้ผลตามเรื่อง
ที่ทำนั้นๆ แม้ว่าการเดินมาเดิมยังอาจมีส่วนให้ผลต่อเขาอยู่ เช่น แรงเขาอาจจะน้อยไป ทำอะไรใหม่ได้
ไม่เต็มที่ เพราะเมื่อยเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น

ถึงอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องของเขาอีกที่ว่าจะคิดยอมแพ้แก่ความเมื่อยหรือว่า จะคิดแก้ไขอย่างไร ทั้งหมดนี้
ก็เป็นเรื่องกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยทั้งนั้น ดังนั้น จึงควรเข้าใจเรื่องกรรมเก่าเพียงเท่าที่มันเป็นตามกระบวน
การของมัน
ในทางจริยธรรม ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ย่อมถือเอาประโยชน์จากกรรมเก่าได้ในแง่เป็นบทเรียน
เป็นความหนักแน่นในเหตุผล เป็นความเข้าใจตนเอง และสถานการณ์ เป็นความรู้พื้นฐานปัจจุบัน
ของตน เพื่อประกอบการวางแผนทำกรรมปัจจุบัน และหาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร