วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 15:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2016, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปนี้ไม่ใช่...สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ รัชกาลที่ ๕

รูปภาพ

ภาพปริศนา ?? ที่ว่าเป็น
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ รัชกาลที่ ๕

:b50: :b49: :b50:

ภาพ “พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก” เป็นความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน

ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

ในนิตยสาร “ชุมนุมจุฬาฯ” ปีที่ ๑๔ เล่มที่ ๓ ฉบับ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ปรากฏการณ์ตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า “พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์”

หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระธรรมกิติ” ในปี พ.ศ.๒๓๙๕ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๖๔ ปีแล้ว

ในปี พ.ศ.๒๓๙๗ ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระเทพกวี” จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๐๗ ทรงสถาปนาเป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”

ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ “ชุมนุมจุฬาฯ” ดังกล่าว ก็ว่า “พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย” ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๕ ครั้งทรงพระเยาว์

แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๔ หน้า ๓๓ ปรากฏการณ์ตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก “นิวัติ กองเพียร” ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ ๕ กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

๑. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ “SIAM”

๒. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

๓. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดอง* และรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จฯ แน่

๔. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน


หนังสือฝรั่ง “SIAM” ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า “TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE, COMMERCE, INDUSTRIES AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA”

แปลชื่อเป็นไทยว่า “เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ ๒๐ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ ๒๐ โดยสังเขป” อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.๒๔๕๒ อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า “Buddhist Priest and Disciple”


นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย


อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในเรื่อง “สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า ๑๑ ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของอธึก สวัสดิมงคล ว่า

“สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า “โรเบิร์ต เลนส์” ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว

สำหรับโรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ ๕

นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลือง ในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุขจะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของอธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด


:b8: :b8: :b8: จาก...คอลัมน์โฟกัสพระเครื่อง โดย สรพล โศภิตกุล
ภาพปริศนา ? “พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก” ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๘ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๓๐๒


:b50: :b49: :b50:

:b39: หมายเหตุ :: *ห่มดอง คือ การห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่ง โดยห่มแบบเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มแบบเต็มยศของพระสงฆ์เพราะใช้ผ้าไตรจีวรครบทั้งสามผืน โดยปกติจะห่มเฉพาะภายในวัดในเวลาทำกิจสำคัญ เช่น ทำสังฆกรรม ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น หรือในเวลาประกอบพิธีทำบุญทั่วไปภายในวัด

ปัจจุบันเป็นการห่มครองที่นิยมในกลุ่มพระฝ่ายมหานิกายมากกว่า พระฝ่ายธรรมยุติกนิกายไม่ใคร่นิยมแล้ว นิยมห่มในภาคเหนือของประเทศ (อาจจะเพราะครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวล้านนาห่มดอง) และวัดที่เป็นสำนักเรียนส่วนใหญ่จะกำหนดให้พระและสามเณรนุ่มห่มเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน อาจเพราะเนื่องจากมีพระและสามเณรเป็นจำนวนมาก ซึ่งการห่มดองไม่หลุดง่าย บางท้องที่ถือว่าเป็นการห่มของสามเณร ไม่ใช่การห่มของพระก็มี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะกำหนดให้พระนิสิตนุ่มห่มเมื่อมามหาวิทยาลัย สำหรับพระธุดงค์ซึ่งเดินทางด้วยเท้านิยมห่มดองเป็นพื้นเพราะต้องนำผ้าไตรจีวรติดตัวไปตลอดเวลา เพื่อความสะดวกจึงนุ่งห่มไปเสียเลย ทั้งมีพระธุดงค์บางกลุ่มนิยมห่มเมื่อออกเดินธุดงค์โดยจะถือเป็นสัญญลักษณ์หรือธรรมเนียมของกลุ่ม เช่น วัดคีรีล้อม (วัดถ้ำนิรภัยสังฆาราม) ซึ่งเป็นสำนักท่องพระปาฏิโมกข์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ นอกจากนี้แล้วรูปปั้นพระสีวลี ปางเดินธุดงค์ ส่วนมากจะนุ่มห่มดองเช่นกัน

ห่มคลุม คือ การห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่ง โดยห่มแบบปิดบ่าทั้งสองข้าง ไม่พาดสังฆาฏิและไม่คาดอกด้วยผ้ารัดอก ใช้ห่มในเวลาออกจากวัด เช่น เข้าบ้านหรือเดินทาง

>>> อ้างอิง : พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) สมณศักดิ์ปัจจุบันคือ พระมหาโพธิวงศาจารย์ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘


รูปภาพ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ห่มดองและรัดประคดอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2019, 19:10 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
rolleyes :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2024, 18:16 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร