วันเวลาปัจจุบัน 27 มี.ค. 2024, 12:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
มากราบนมัสการเยี่ยมและทำวัตรหลวงปู่ขาว อนาลโย
ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ทางฝ่ายกรรมฐาน
ณ วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู


ครูบาอาจารย์ท่านเคารพกันด้วยธรรม
นอบน้อมกันด้วยอาวุโสแห่งพรรษา
หลวงปู่หลุย จันทสาโร และหลวงปู่ขาว อนาลโย
ได้เข้าทำการญัตติเป็นคณะธรรมยุติกนิกาย
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘
ก่อน “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” เพียง ๗ วัน
โดยหลวงปู่ฝั้นได้เข้าทำการญัตติเป็นคณะธรรมยุติกนิกาย
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘
ณ พัทธสีมาเดียวกัน คือวัดโพธิสมภรณ์
ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล)
เป็นพระอุปัชฌาย์ร่วมกัน
ท่านจึงเป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน
เป็นพี่และเป็นน้องผู้มีพ่อคนเดียวกัน

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


นิสัยนุ่มนวลไม่มีใครเกินท่านอาจารย์ฝั้น

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
เทศน์อบรม ณ สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ กรุงเทพฯ


นิสัยนุ่มนวลไม่มีใครเกินท่านอาจารย์ฝั้นนะ นิสัยท่านอาจารย์ฝั้นนุ่มนวลมากทีเดียว ไม่ว่าชั้นไหนนิสัยท่าน ท่านเดินนี่เหมือนช้างเดินผ่านทุ่งนา เดินสวยงามมากท่านอาจารย์ฝั้นนะ กิริยาท่าทางทุกอย่างนิ่มไปหมด เราไปเห็นท่านเราก็ชอบนะ เห็นนิสัยกิริยาท่าทางของท่านที่แสดงออกนี่สวยงามมาก เราก็ชอบ แต่ลิงเรามันอยู่นี่อยู่บนคอ เข้าใจไหมลิงอยู่บนคอ พอออกจากท่านไปลิงเราก็ออกลวดลาย มันไม่ได้เป็นแบบท่าน แบบท่านสวยงามตลอด แบบเรานี้ออกจากท่านไปลิงกอดคออยู่นี้ มันก็เป็นแบบลิงไป เป็นนิสัย เรียกว่านิสัย มองเห็นท่านก็สวยงามแต่ยึดไม่ได้นะ มันสู้ลิงไม่ได้ คือลิงหมายถึงว่านิสัยของตัวเอง ใครมีนิสัยอย่างไรมันก็แสดงออกตามนั้นๆ ละ

ท่านอาจารย์ฝั้นกับแมว

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
เทศน์อบรม ณ สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ กรุงเทพฯ


ท่านอาจารย์ฝั้นกับแมวนี้ถูกกันมากนะ แมวก็มีแต่แมวใหญ่เสียด้วยนะ ท่านไปอยู่ถ้ำขาม เขาเอาแมวใหญ่มาจากไหนไม่รู้ไปปล่อยที่ถ้ำขาม ก็ไปอยู่กับท่าน ป่วนเปี้ยนอยู่กับท่าน ติดกับท่านนะ ไม่ติดองค์ไหน ติดกับท่านอาจารย์ฝั้น ท่านไปไหนมันตามไปเรื่อย พอไปข้างหน้าปั๊บล้มแผละ หงายท้องขึ้นฟ้า มันทำความเคารพท่าน ท่านบอกนี่มันเคารพ ท่านว่าอย่างนั้นนะ เขากราบไม่เป็น นี่ละวิธีแมวกราบ กราบอย่างนี้ ท่านว่าอย่างนั้นนะ คือเขานอนแผ่สองสลึง แผ่อย่างนี้เลยนะ ท่านไปแล้วเขาไปล้มแผละอยู่ข้างหน้าและก็หงายท้อง นี่เขากราบ ท่านว่าอย่างนั้น เขาเคารพเรา แมวเคารพ เคารพอย่างนี้หรือ เคารพอย่างนี้แหละท่านว่า ขบขันดีนะ

ท่านอาจารย์ฝั้นกับแมวนี้ถูกกันมากนะ แมวก็มีแต่แมวใหญ่เสียด้วยนะ ท่านไปอยู่ถ้ำขาม เขาเอาแมวใหญ่มาจากไหนไม่รู้ไปปล่อยที่ถ้ำขาม ก็ไปอยู่กับท่าน ป่วนเปี้ยนอยู่กับท่าน ติดกับท่านนะ ไม่ติดองค์ไหน ติดกับท่านอาจารย์ฝั้น ท่านไปไหนมันตามไปเรื่อย พอไปข้างหน้าปั๊บล้มแผละ หงายท้องขึ้นฟ้า มันทำความเคารพท่าน ท่านบอกนี่มันเคารพ ท่านว่าอย่างนั้นนะ เขากราบไม่เป็น นี่ละวิธีแมวกราบ กราบอย่างนี้ ท่านว่าอย่างนั้นนะ คือเขานอนแผ่สองสลึง แผ่อย่างนี้เลยนะ ท่านไปแล้วเขาไปล้มแผละอยู่ข้างหน้าและก็หงายท้อง นี่เขากราบ ท่านว่าอย่างนั้น เขาเคารพเรา แมวเคารพ เคารพอย่างนี้หรือ เคารพอย่างนี้แหละท่านว่า ขบขันดีนะ

สักเดี๋ยวไปกับท่านนั่นละ ทีนี้ตอนจังหันนะ มันสำคัญอยู่ แปลกที่ตอนจังหัน เอ๊มันรู้ภาษาคนจริงๆ นะ ทีนี้พอฉันจังหัน จัดไว้มันมีแมวอยู่สามตัว ตัวใหญ่ที่สุดคือตัวหัวหน้า ท่านจัดจานข้าว จัดอย่างนี้ใส่ไว้สามจาน ท่านนั่งอยู่นี้ก็จานข้าวแมวๆๆ สามตัว จัดไว้ให้ ทุกวันเราก็ไม่ได้สังเกตุนะ วันนั้นท่านพูดขึ้น เราจึงได้สังเกตุ บทเวลาท่านจะพูด เขากินแล้วนะนั่น พอเขากินแล้วท่านนั่งกำลังพิจารณา ท่านว่านี่มันอย่างไรนี่ แมวสามตัวนี่มันไม่มีปฏิสังขาเหรอ ท่านว่าอย่างนั้นนะ ฟาดแล้ว ท่านพูดอย่างนี้ละ ฟาดแล้วพระยังไม่ได้ฉัน ทำไมฟาดแล้ว เขาหยุดนะ เขาหยุดแล้วมองดูหน้าท่าน

นี่ที่น่าคิดนะ เขากำลังกินอยู่นะ สามตัว ตัวใหญ่ พอท่านว่าอย่างนั้นเขาเลยหยุด พอหยุดแล้วก็มองดูหน้าท่าน นี่อย่างไรกันนี่พระท่านยังไม่ฉัน ทำไมเราฟาดก่อนแล้ว ไม่มีปฏิสังขาหรือนี่น่ะ เขาก็มองดูท่าน ท่านก็เริ่มฉัน ฉันแล้วเขายังมองดูท่านอยู่นะ เขาไม่กล้ากิน พอหลังจากนั้นแล้วเห็นเขานั่งมองดูท่านอยู่ตลอด เขาไม่กินอีกนะ พอท่านฉันไปๆ เอากินซิทีนี้ พระท่านฉันแล้วนั่นน่ะ เห็นกินก่อนพระก็ว่าให้บ้างละ พระเป็นอาจารย์ของเรา ไม่ถึงไหนเราฟาดแล้ว ท่านพูดหยอกสัตว์น่ารักด้วยนะ คำพูดท่านก็ดี พระท่านยังไม่ฉันเราฟาดแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น จากนั้นเอากินทีนี้ พอว่าอย่างนั้นเขาก็หันมากิน

วันหลังอีก พอจัดอาหารเสร็จแล้วเขาไม่กล้ากินนะ จัดอาหารสามจานเสร็จ นั่งต่างคนต่างหมอบ เฝ้าอยู่นี่ ที่น่ารักมากก็คือเขาเฝ้าแล้วเขาดูจานข้าวแล้วเขาดูปากพระ มันน่าขบขันดีนะ เขาดูปากพระแล้วเขาก็ดูจานข้าว พระท่านยังไม่ฉันเขาก็ดูอยู่นั่นละ จนกระทั่งพระท่านเริ่มลงมือฉัน เขาเห็นพระท่านฉันเขาก็กลับมากินของเขา ตั้งแต่วันนั้นเขาจะรอ จนกระทั่งพระท่านฉันเสร็จแล้ว เขาถึงจะกิน ก่อนที่เขาจะกินเขาต้องดูปากพระเสียก่อน ถ้าปากพระท่านยังไม่กินเขาก็ยังไม่กิน มันรู้ภาษาคนหรือไงน้า แมวสามตัว ตัวใหญ่นี่ละ มันรู้ภาษาดี เพราะท่านว่าตัวใหญ่นี้ตัวใหญ่ก็หยุด

นี่ก็วัดอาจารย์ฝั้น วัดอุดมสมพร นี่ก็มีแมวใหญ่ตัวหนึ่งอีกละ อู๊ยใหญ่ ท่านอยู่ที่ไหนมีแต่แมวใหญ่ๆ อยู่วัดอรุณนครก็มีแมวใหญ่ตัวหนึ่งอยู่นั้น ท่านเลี้ยงเอาไว้นั่นละ แล้วอยู่ถ้ำขามก็มีแมวใหญ่ คนละตัวนะหากใหญ่เหมือนกัน ทีนี้พอมาวัดอุดมสมพรก็พอดีได้จังหวะ พระศาลาเก่าหลังนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ศาลาหลังนั้นะ พระท่านฉันอยู่นั้นละ แมวตัวนั้นเลี้ยงเอาไว้ มันอยู่หน้าศาลา มันหมอบของมันตามภาษาของมัน เงียบ เพราะสัตว์อันนี้เป็นสัตว์เชื่อง สัตว์สงบ ไม่ค่อยคึกคะนอง เขาก็หมอบของเขาเฉย พอดีพวกเขาขายน้ำย้อมน้ำสีกระป๋องๆ เข้ามาในวัด เขามีลิงตัวหนึ่ง ขึ้นขี่คอเขามา

เขาก็ปล่อยลิง ลิงก็โดดลงจากคอ แล้วไปมองเห็นแมว นี่มันขบขันดี ทีแรกก็มีท่าที ไอ้ลิงตัวนั้นน่ะ ไปเห็นแมวแล้วมองดูท่าทีของแมว แล้วก็เดินฉากนู้นฉากนี้มา มาดูแมว แมวเขาก็เฉยอยู่ เขาไม่สนใจอะไรละ ทีนี้ดูใกล้เข้ามาๆ มาข้างหลัง มาจับหางเสียก่อน จับเบาๆ เขาเป็นขั้นทดลองเขา เขามาจับหางแมว แมวก็เฉยเลย ทีนี้ก็ใกล้เข้ามา เห็นท่าว่าได้การ คงว่าอย่างนั้นนะ คงว่าได้การ จับหางแมว แมวก็เฉย แล้วก็ไปข้างหน้า ไปจับนั้นจับนี้เฉย แล้วไปจับข้างหน้าซี มันก็ “แม้ว” ทีเดียว มันฟาดเอาหน้าผาก มันเอาทีเดียวเท่านั้นละ พอ “แม้ว” เสร็จมันตบเลย ตบหน้าผาก ฟังเสียงลิงร้องกี้ๆๆ โดดขึ้นต้นไม้

แมวตัวนี้พอมันตบแล้วมันก็วิ่งหนีไปอยู่ทางนู้น มันตบ “แม้ว” ทีเดียวเท่านั้น มันใส่เอาหน้าผากลิง ลิงตัวนี้ก็เจ็บ เพราะมันตบแรงนี่นะ โดดไปขึ้นต้นไม้ ขึ้นไปแล้วก็ร้องจี๊กๆ อยู่ข้างบน คงเจ็บลิงตัวนั้น ทีนี้มองไปมองมาแล้วไปเห็นแมวตัวนั้นไปหมอบอยู่ทางนู้น ตัวนี้เขามองไปเห็นเขาก็ลง นี่เขาแก้ลำกันนะ พอลงแล้วเขาก็ไปข้างหลัง ด้อมไป เขาจะไปแก้ลำกัน ไปก็ค่อยแอบไป ไม่ไปข้างหน้า แอบไปข้างหลัง จับหางแมวกระตุก แมวก็ “แม้ว” แมวก็วิ่ง เขาก็วิ่งขึ้นต้นไม้ เสียงกอกๆ แสดงว่ากูแก้ลำได้แล้ว
แมวมันก็หนี มันไม่สนใจอะไร มันไม่เหมือนลิง ลิงตัวนั้นมันเจ็บหน้ามัน ถูกตบหน้า ตบอย่างแรงเสียด้วย มันจึงตามไปแก้ลำกัน พอไปคราวหลังไปจับหางกระตุก แมวก็ “แม้ว” มันก็วิ่งหนีเลย ทางนี้ก็โดดขึ้นต้นไม้ เสียงกอกๆ แสดงว่าแก้ลำได้แล้ว ความหมายว่าอย่างนั้น แล้วเป็นอย่างไรพวกเรา ไอ้กิเลสมันเหมือนลิงได้แก้ลำมันบ้างไหม เวลาไหนก็มีแต่มันฟัดเอาๆ หรือ ก็ต้อง “แม้ว” บ้างซิ ฟาดให้กิเลสมันหงายบ้าง นี่ไม่มีกิเลสตัวไหนหงาย มีแต่คนน่ะหงาย เข้าใจไหมละ ลงมาหากิเลสมันเร็วเหมือนลิง ปั๊บๆ มันเอาเลย

นี่พูดถึงเรื่องแมวท่านอาจารย์ฝั้น ท่านกับแมวถูกกันดี นิสัยท่านกับแมวไปไหนล้มแผละเลย แผ่สองสลึง แล้วมันทำไมอย่างนี้ละ นี่มันเคารพพระ ทำไมเคารพอย่างนี้ นี่ละเขากราบ ท่านพูดท่านสอนเราด้วยนะ นี่เขากราบเขากราบอย่างนี้ แมวกราบครูบาอาจารย์กราบพระกราบอย่างนี้เอง กราบอย่างนี้แหละ สั่งสอนเราด้วย เราก็เหมือนลิงตัวหนึ่ง เวลาเห็นท่านวิ่งไปข้างหน้า ล้มนอนแผ่สองสลึง พอท่านไปแล้วเขาก็ลุกตามท่านไปนะ แมวใหญ่ จบแล้วละแมว เท่านั้นพอ พูดอะไรนักหนา

มันไปเกี่ยวโยงกันเรื่องท่านอาจารย์ฝั้นกับแมวถูกกันมาก เมตตา ถูกกันมาก รู้ภาษา ทีนี้อาหารที่ว่าจัดไว้สามจาน เขาจะดูอาหารแล้วเขาดูปากพระ ถ้าพระยังไม่ฉันเขาจะดูเขายังไม่กิน จนกระทั่งพระลงมือกินแล้วทีนี้เขาเริ่มลงมือกินอย่างนี้เป็นประจำ ถ้าพระยังไม่ฉันเขาจะดูจานข้าวเขาแล้วดูปากพระ จนกระทั่งพระลงมือฉันแล้วเขาถึงจะกิน เขารู้ภาษาคนหรือไงน่า ทีแรกเขาใส่เลยละ ท่านบอกนี่มันไม่มีปฏิสังขาหรือนี่น่ะ พระยังไม่ได้ฉันมันฟาดแล้ว ตั้งแต่วันนั้นมาต้องดูจานข้าวและดูปากพระ จนกระทั่งพระเริ่มฉันแล้วเขาก็มากินของเขาเป็นประจำนะ เขาไม่กินก่อนตั้งแต่วันนั้นแล้ว ก็ท่านอาจารย์ฝั้นละสอนเขา ท่านอาจารย์ฝั้นกับแมวนี่ถูกกันมาก

หอมอะไรนา

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ (เวลา ๑๓.๓๐ น.)
เทศน์อบรม ณ สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ กรุงเทพฯ


อย่างหลวงปู่ฝั้นพลังจิตเก่งมาก ยกให้เลยสมัยปัจจุบัน แล้วยังมีรู้ด้วยสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น วันนั้นจวนจะเข้าพรรษา ท่านจะพาลูกศิษย์ลูกหาไปกราบพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นที่หนองผือ เรามันเป็นอย่างนั้นละ ถ้ามีครูบาอาจารย์องค์ใดมาเราจะเข้าถึงก่อนแล้ว เข้าถึงดูทุกสิ่งทุกอย่างก่อนๆๆๆ เรื่อยเลย พอวันนั้นไปท่านขึ้นไป เราก็นั่งอยู่นั้นแล้ว คอย ครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของท่านชั้นผู้ใหญ่มาแต่ละองค์ๆ ท่านปฏิบัติปฏิสันถารต้อนรับภายในภายนอกเรื่องศีลเรื่องธรรมอย่างไรบ้างๆ ท่านจะไม่ปฏิบัติเหมือนกันนะ พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นนี้ องค์นี้ขึ้นมามีกิริยามารยาทอรรถธรรมเป็นอย่างนั้น องค์นี้ขึ้นมามีกิริยามารยาทอรรถธรรมเป็นอย่างนั้น ไม่ได้ซ้ำกันนะ

พอดีวันนั้นท่านขึ้นมากราบ พอกราบลงไปท่านยิ้ม เพราะนิสัยท่านอาจารย์ฝั้นนี่ท่านยิ้ม ยิ้มสวยงามมากนะ ไม่เหมือนหลวงตาบัวยิ้ม ถ้าหลวงตาบัวยิ้มนี้ศาลาแตกฮือเลยเข้าใจไหม ท่านอาจารย์ฝั้นยิ้มสวยงามมากนะ พอกราบลงๆ ท่านมอง “เออวันนี้มันหอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูป” ทางนั้น“เอ๊ วันนี้หอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูปหอมเทียน” เท่านั้นพอ พอท่านกราบลงไปเสร็จแล้ว ท่านยิ้มๆ “เอ๊ วันนี้หอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูปหอมเทียน” ทางนั้นท่านตอบรับ “เออใช่แล้ว” เท่านั้นพอ

พอท่านกราบลงไปเสร็จแล้วท่านยิ้มๆ “เอ๊ วันนี้หอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูปหอมเทียน” ทางนั้นท่านตอบรับ เออใช่แล้ว เวลานั้นท่านไม่มีโอกาสที่จะถามท่านได้ “จากนั้นแล้วขึ้นไปหาท่านโดยเฉพาะ แล้วเป็นอย่างไรเวลาท่านอาจารย์ฝั้นมากราบพ่อแม่ครูอาจารย์มีลักษณะยิ้มๆ แล้วว่า วันนี้มันหอมอะไรนา แต่ไม่ใช่หอมธูปมันหมายความว่าอย่างไร หมายความว่ารุกขเทพเต็มหมด ท่านบอกเออใช่แล้ว รุกขเทพมาเคารพบูชาครูบาอาจารย์เต็มไปหมด ท่านว่าอย่างนั้นนะ ท่านตอบปึ๋งเลยนะพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น แต่เวลาจะพูดได้ขนาดนั้นก็เออใช่แล้ว เรางงเป็นบ้าอยู่ เป็นบ้าอยู่นาน พอได้โอกาส ท่านออกทันทีเลย พวกเทวดาเต็มมาคอยฟังเทศน์ท่าน นานๆ จะมีทีหนึ่ง เวลาพ่อแม่ครูอาจารย์ตอบนะนี่นะ ท่านบอกว่าเออใช่แล้วเท่านั้นละไม่มาก เวลาเราไปถามธรรมท่านตอบออกมาอย่างนั้นจึงชัดเจนมาก


:b8: :b8: :b8: http://www.luangta.com

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

รูปภาพ
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


“ทิพยอำนาจ” แห่งพระอริยเถระ
เขียนบันทึกโดย...หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
:b44: :b50: :b44:

มีเรื่องเกี่ยวกับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร บันทึกโดยหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นเรื่องหนึ่งที่กล่าวขวัญกันมากในบรรดาศิษย์ขององค์ท่าน เรื่องมีอยู่ว่า

ในระหว่างที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พำนักอยู่ในถ้ำพระบนภูวัว ครั้งนั้นท่านได้ประสบอุบัติเหตุที่นับว่าร้ายแรงที่สุดในชีวิตของท่าน กล่าวคือ วันหนึ่งได้มีญาติโยมบ้านดอนเสียดและบ้านโสกก่ามพากันขึ้นไปนมัสการ หลวงปู่จึงได้ขอให้ญาติโยมพาชมภูมิประเทศบนภูวัว และเพื่อจะแสวงหาสมุนไพรบางชนิดด้วย เมื่อฉันจังหันเสร็จก็ออกเดินทาง มีโยมสองคนเดินนำหน้า หลวงปู่ฝั้นและพระภิกษุเดินตามหลัง ส่วนสามเณรนั้นท่านให้เฝ้าอยู่ที่พัก

ทั้งหมดเดินขึ้นไปตามลำห้วยบางบาด พอถึงลานหินที่ลาดชันขึ้นไปข้างบน ระยะทางยาวประมาณสิบกว่าวา บนลานมีน้ำไหลรินและมีตะไคร่หินขึ้นอยู่ตามทางชันนั้นโดยตลอด โยมสองคนเดินนำหน้าไปก่อน หลวงปู่ท่านเดินตามขึ้นไปและตามด้วยพระภิกษุเดินรั้งท้าย โยมทั้งสองไต่ผ่านลานหินอันชันลื่นขึ้นไปได้แล้ว ส่วนหลวงปู่ก็ไต่จวนจะถึงข้างบนอยู่แล้ว กะว่าเหลือเพียงก้าวเดียวก็จะพ้นไปได้

พอท่านก้าวข้ามร่องน้ำ พลันท่านก็ลื่นล้มทั้งยืน ศีรษะฟาดกับลานหินดังสนั่น เสียงเหมือนมะพร้าวถูกทุบ จากนั้นก็ลื่นไถลลงมาตามลานหิน เอาศีรษะลงมาก่อน


พระลูกศิษย์ที่เดินรั้งท้ายตกใจตัวสั่น ยืนนิ่งอยู่กับที่ จะเข้าไปช่วยอะไรก็ไม่ได้ เพราะท่านเองก็ประคองตัวแทบไม่อยู่เหมือนกัน ได้แต่ยืนตัวสั่น มองดูพระอาจารย์ไถลผ่านหน้าไปด้วยความตกตะลึง

ร่างของหลวงปู่ลื่นไถลไปได้ประมาณหกวา ก็ไปตกหลุมหินซึ่งเป็นแอ่งแห่งหนึ่ง แต่ด้วยความลื่นของตะไคร่ ท่านจึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น กลับหมุนตัวในลักษณะเอาศีรษะขึ้นแล้วลื่นไถลลงต่อไปอีก

ข้างล่างมีช่องหินใหญ่ ครือๆ กับตัวคน น้ำที่ไหลลงมาจากหน้าผาไปรวมหล่นอยู่ในช่องนั้น กลายเป็นหลุมน้ำวน หากท่านไถลไปถึงช่องนั้น แล้วไหลพรวดลงในช่องหิน คงถึงแก่มรณภาพโดยมิต้องสงสัย

เหลือเชื่อ คงเป็นด้วยอำนาจบุญ ก่อนร่างท่านจะถึงช่องหิน หลวงปู่กลับตั้งหลักลุกขึ้นได้

แล้วท่านก็เดินขึ้นไปตามทางเดิมที่ร่างท่านร่วงหล่นลงมาด้วยท่าทางปรกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พระลูกศิษย์ร้องขอให้ท่านอ้อมไปขึ้นทางอื่น แต่ท่านไม่ยอมและบอกว่า เมื่อมันตกมาตรงนี้ ก็ต้องขึ้นไปตรงนี้ให้ได้


หลวงปู่ฝั้นเดินขึ้นไปตามทางเดิมด้วยความง่ายดายอย่างเหลือเชื่อ น่าอัศจรรย์ก็ตรงที่ว่า ร่างกายของหลวงปู่มิได้ปรากฏบาดแผลให้เห็นแม้แต่เล็กน้อย ถึงจะมีรอยถลอกบนข้อศอกก็เพียงรอยเท่าหัวไม้ขีดไฟ ไม่น่าจะเรียกว่าบาดแผล

ตกเย็น เมื่อกลับมาถึงที่พัก หลังจากสรงน้ำเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินจงกรมตามปรกติ ตกค่ำ พระภิกษุได้เข้าไปถวายการปฏิบัติ แล้วถามอาการของท่านว่า ขณะที่ศีรษะท่านกระแทกหินดังสนั่นนั้น ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง

หลวงปู่ตอบว่า “อาการก็เหมือนสำลีตกลงบนหินนั่นแหละ”

พระภิกษุรูปนั้นขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ มีความเห็นว่า ในขณะที่ท่านกำลังลื่นล้ม ก่อนศีรษะฟาดลาดหินนั้น ท่านสามารถกำหนดจิตได้ในชั่วพริบตา ทำให้ตัวท่านเบาได้ดังสำลีโดยฉับพลัน เพราะท่านเคยเทศน์สั่งสอนเสมอว่า จิตของผู้ที่ฝึกดีแล้ว ย่อมมีสติพร้อมอยู่ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ถึงแม้จะหลับอยู่ ก็หลับด้วยการพักผ่อนในสมาธิ


รูปภาพ
น้ำตกถ้ำพระภูวัว ชั้นที่ ๒ บริเวณหินหัวเรือ

รูปภาพ

รูปภาพ
น้ำตกถ้ำพระภูวัว ชั้นที่ ๒

รูปภาพ
น้ำตกถ้ำพระภูวัวบนชะง่อนหินชั้นที่ ๓
มองลงไปที่น้ำตกชั้นที่ ๒ บริเวณหินหัวเรือ


รูปภาพ
บริเวณน้ำตกถ้ำพระภูวัว เราจะมองเห็นองค์พระพุทธรูป “พระพุทธโคตโม”
ที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต ปั้นไว้บนริมหน้าผา
และเห็นเทือกเขาภูลังกาอยู่ไกลๆ สุดสายตา


รูปภาพ
“พระพุทธโคตโม” องค์พระพุทธรูปที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
และหลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต ปั้นไว้บนริมหน้าผาถ้ำพระภูวัว


รูปภาพ
ม่านน้ำตกถ้ำพระภูวัว ชั้นที่ ๑

:b8: :b8: :b8: รวบรวมและคัดลอกเนื้อหามาจาก ::
หนังสือภาพ ชีวประวัติ และปฏิปทาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=58068

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ประมวลเหตุการณ์และภาพ •
งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


รูปภาพ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
กราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐


รูปภาพ

หลวงปู่บุญ ชินวํโส นำพาคณะพระภิกษุสงฆ์
อาทิเช่น หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม, หลวงปู่อุดม ญาณรโต ฯลฯ
กราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐


รูปภาพ

รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ทรงสรงน้ำศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐

(ภาพพระราชทาน)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)”
ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน”
และ “พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)”
ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ ไปถึงบริเวณงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑


รูปภาพ

รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ได้เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑

(ภาพพระราชทาน)


รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงหมอบกราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

(ภาพพระราชทาน)


รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงหมอบกราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

(ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)


รูปภาพ

รูปภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงกราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

(ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพฯ
ดูเหลืองอร่ามไปทั่วบริเวณ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ส่วนหนึ่งของคลื่นมนุษย์
ที่หลั่งไหลขึ้นเผาศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพ
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ได้แก่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระญาณสังวร”
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม

สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (เจริญ สุวฑฺฒโน) นั้น
พระองค์ท่านได้เสด็จจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดสกลนคร
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม โดยไปพักแรมอยู่ที่วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี
หรือวัดบ้านต้าย ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
รุ่งขึ้นวันงานจึงได้เสด็จไปยังวัดป่าอุดมสมพรเพื่อทรงร่วมในพิธีสงฆ์


สำหรับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่รูปอื่นๆ ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธพจนวราภรณ์
สมเด็จพระมหามุนีวงค์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) วัดนรนารถฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศ์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมบัณฑิต
พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) วัดราชาธิวาส
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวราภรณ์
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพบัณฑิต
พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราลังการ
พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธาจารย์
พระราชธรรมานุวัตร (หลวงปู่อ่อน จกฺกธมฺโม) วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
พระสาสนโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีธรรมวงศาจารย์ เป็นต้น


ส่วนพระคณาจารย์รูปสำคัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี)
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระรัตนากรวิสุทธิ์
หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)
วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูสันติวรญาณ
พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) จ.อุดรธานี
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูญาณวิสุทธาจารย์
หลวงปู่สาม อภิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต วัดพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.บึงกาฬ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินฺทริโย)
วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุนทรธรรมภาณ
หลวงปู่ถวิล จิณฺณธมฺโม วัดธรรมหรรษาราม (วัดยางระหง) จ.จันทบุรี
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระชินวงศาจารย์
หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร (วัดธรรมมงคล)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณวิริยาจารย์
หลวงปู่บุญรักษ์ ฐิตปุญฺโญ วัดสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นต้น

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
และพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
นั่งเตรียมตัวไปชักผ้าบังสุกุล
ในพิธีสามหาบ งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร


รูปภาพ

จากซ้าย : พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต),
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล),
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
ในพิธีสามหาบ งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร


รูปภาพ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ กลับแล้ว ทางเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง
จึงได้ทำการเปลื้องหีบศพพระราชทาน แล้วทำการเผาจริง
และหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ได้มากราบเคารพศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ในขณะนั้น


โปรดสังเกต...การเผาไม่มีการก่อเตา
ทางเจ้าหน้าที่จึงต้องทำการวางลวดหนาม
เพราะมีประชาชนมาร่วมงานนับหมื่นคน
และเมื่อเผาเสร็จได้ทำการเก็บอัฐิ พบเศษจีวรที่ยังไม่ไหม้ไฟบางส่วน
ส่วนวัสดุที่ประกอบเป็นจิตกาธาน หยวกกล้วย และดอกไม้ประดับ
ได้ทำการเผาใหม่ทั้งหมดเพื่อป้องกันการเกิดจราจลเข้ามาแย่งชิง


รูปภาพ

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต)
พิจารณาผ้าบังสุกุล
ในพิธีสามหาบเก็บอัฐิหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• งานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร •
ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


รูปภาพ
ฝูงชนที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร นับจำนวนหมื่น


วันนั้น...๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ บริเวณวัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งกว้างขวางเป็นจำนวนหลายสิบไร่ กลับดูคับแคบลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ

การจราจรของยวดยานที่ผ่านเข้าออกในบริเวณวัดติดขัด แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะวางแผนรับสถานการณ์ไว้แล้วเป็นอย่างดี ก็ยังต้องแก้ไขอุปสรรคเฉพาะหน้ากันอย่างชุลมุน

สำหรับคลื่นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยประชาชนทุกเพศทุกวัยหลายเชื้อชาติหลายศาสนา ซึ่งหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณวัดนับเป็นจำนวนแสนๆ นั้นเล่า ต่างก็เบียดเสียดเยียดยัดยิ่งกว่าจำนวนผู้คนในงานมหกรรมใหญ่ๆ

แม้บรรยากาศจะเต็มไปด้วยความอึดอัด จนกระทั่งหลายคนเป็นลม และหน่วยพยาบาลจากโรงพยาบาลจังหวัดสกลนครต้องออกแจกจ่ายยาดมอยู่ตลอดเวลา แต่อุปสรรคเหล่านั้นมิได้บั่นทอนศรัทธาของคลื่นมนุษย์เหล่านั้นลงได้เลย

เพราะว่าวันนั้น...๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ เป็นวันกำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปูชนียภิกษุรูปเดียวที่บารมีธรรมของท่านสามารถครองใจผู้คนทุกทิศานุทิศ

แต่ละคนที่หลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงานจนมีลักษณะเป็นคลื่นมนุษย์ในวันงานนั้น ต่างก็มุ่งมั่นในปณิธานเดียวกัน ในอันที่จะแสดงความอาลัย ขอให้ได้มีโอกาสร่วมบำเพ็ญกุศล และส่งวิญญาณของท่านสู่สรวงสวรรค์ ด้วยดอกไม้จันทน์สักดอกหนึ่งเป็นอย่างน้อย

กำหนดการงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นวันที่ ๒๑ มกราคมก็จริง แต่คณะกรรมการงานพระราชทานเพลิงศพทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ไม่ผิดเลยว่า บรรยากาศจะต้องเริ่มคึกคักมาก่อนหน้านั้นเป็นเวลาหลายวันแน่ๆ เพราะพุทธบริษัทและพระภิกษุ สามเณรจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จะต้องทยอยมาร่วมงานในลักษณะระลอกแล้วระลอกเล่า ปัญหาเกี่ยวกับการพักแรม และข้าวปลาอาหารจึงเป็นปัญหาใหญ่ ที่จะต้องต้อนรับหรือรับมือไว้ให้อยู่ ให้สมควรแก่ศรัทธาของผู้รอนแรมมาจากสารทิศต่างๆ ในที่สุดคณะกรรมการจัดงานก็มีมติให้สร้างที่พักและโรงทานขึ้นล่วงหน้าอย่างเร่งรีบ

ที่พักประกอบด้วยที่พักสงฆ์ และฆราวาส ซึ่งจัดแยกไปต่างหากไม่ให้ปะปนกัน และเนื่องจากไม่อาจจัดให้อยู่อาศัยในกุฏิสงฆ์ซึ่งมีจำนวนจำกัดได้ คณะกรรมการจึงจัดสร้างที่พักชั่วคราวโดยมีหลังคาคุ้มแดดฝนให้ ส่วนพื้นดินก็จัดทำ “ฟาก” สำหรับรองนั่งนอนไว้ให้เสร็จ ที่พักดังกล่าวได้ปลูกสร้างขึ้นในบริเวณด้านหลังของตัววัด แต่ละหลังทั้งกว้างและทั้งยาว ซ้ำยังแบ่งออกเป็นห้องใหญ่ๆ สำหรับพุทธบริษัทแต่ละจังหวัดที่เข้ามาพักแรมอีกด้วย สำหรับน้ำใช้นั้น หน่วยราชการและเอกชนหลายรายได้นำถังน้ำมาตั้งไว้ให้หลายสิบแห่ง โดยเติมน้ำให้เต็มถังอยู่ทุกวันจนกระทั่งถึงวันงาน

ส่วนโรงทาน ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้พักแรมและผู้ไปร่วมงานโดยทั่วไป ก็ได้ปลูกสร้างเป็นเรือนโรงหลังคาจากขึ้นทางหลังวัดสองแถว และทางด้านหน้าอีกหนึ่งแถว แต่ละแถวกันไว้เป็นช่วงๆ สำหรับให้คณะบุคคลหรือเอกชนผู้มีจิตศรัทธา ไปประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายเป็นทาน อันนับเป็นการร่วมกุศลอุทิศถวายแด่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้ละสังขารขันธ์ไปแล้วอีกทางหนึ่ง

ในที่สุดเหตุการณ์ก็เป็นไปดังคาดหมาย ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม มีพุทธบริษัทและพระภิกษุ สามเณรจากจังหวัดไกลๆ ทยอยกันเข้าไปพักแรม และยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน จนถึงวันที่ ๑๘ มกราคม จำนวนพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นเป็น ๖๐๐ กว่ารูป พุทธบริษัทเพิ่มจำนวนขึ้นนับเป็นจำนวนพัน เมื่อคืนวันที่ ๒๐ มกราคม ก่อนวันงานพระราชทานเพลิงศพหนึ่งวัน พระภิกษุ สามเณรเพิ่มจำนวนขึ้นไปเป็น ๑,๔๐๐ รูป พุทธบริษัทจากจังหวัดต่างๆ หลั่งไหลเข้าพักแรมนับเป็นจำนวนหมื่นๆ โดยเฉพาะในวันงานจำนวนพระภิกษุ สามเณรเฉพาะที่ลงบัญชี ทวีจำนวนขึ้นเป็นกว่า ๒,๐๐๐ รูป ส่วนพุทธบริษัทนั้นมากมายจนสุดคณานับ

สำหรับพระภิกษุ สามเณรที่เข้าไปพักแรมก่อนวันงาน จนถึงเช้าวันงานนั้น ทุกเช้าไม่จำเป็นต้องไปบิณฑบาตนอกวัด แต่ละเช้าบรรดาชาวบ้านจากตำบลและอำเภอต่างๆ จะนำภัตตาหารมาถวายเป็นจำนวนหลายร้อยราย บ้างก็เดินกันมาก่อนไก่โห่ บ้างก็เช่ารถรวมกันมาเป็นหมู่ๆ ทางวัดจึงจำต้องจัดระเบียบการใส่บาตรขึ้นเป็นพิเศษ ทุกๆ เช้าพุทธบริษัทนับร้อยๆ ยืนเรียงกันสองฟากถนนตรงสามแยกข้างศาลาโรงธรรม อันเป็นที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล แล้วให้พระภิกษุ สามเณรแยกกันออกรับบิณฑบาตเป็นสามสาย ปรากฏว่าทุกเช้าแม้พระภิกษุ สามเณรจะเพิ่มจำนวนจนเป็นพัน พุทธบริษัททั้งหลายก็ใส่บาตรกันจนล้นบาตรไปทุกรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเช้าวันงานพระราชทานเพลิงศพ คือวันที่ ๒๑ มกราคม แม้พระภิกษุ สามเณรจะเพิ่มจำนวนเป็น ๒,๐๐๐ กว่ารูปเข้าไปแล้ว แต่ละรูปก็ยังล้นบาตรอยู่เช่นเดิม เพราะพุทธบริษัทที่ไปใส่บาตรได้ทวีจำนวนขึ้นเป็นเงาตามตัว

ยิ่งไปกว่านั้น ก่อนลงมือฉันในโรงฉัน พุทธบริษัทอีกจำนวนไม่น้อยยังถวายภัตตาหารพิเศษในที่ฉันอาหารอีกด้วย ภัตตาหารของแต่ละรูปที่วางอยู่ตรงหน้าจึงมากมายก่ายกอง จนเป็นที่กังวลของทั้งฝ่ายพระและฝ่ายฆราวาสไปด้วยกัน ฝ่ายพระนั้นจำต้องฉันให้ถ้วนทั่วทุกอย่าง ให้สมแก่ศรัทธาของฝ่ายฆราวาส ฝ่ายฆราวาสนั้นเล่า ต่างก็เฝ้าดูมิให้คลาดสายตา ว่าพระท่านฉันภัตตาหารที่ตนได้ถวายไปแล้วหรือยัง ท่านหลงลืมไปบ้างหรือเปล่า เพราะพระภิกษุบางรูปมีภัตตาหาร รวมทั้งนอกบาตรในบาตรเป็นจำนวนมากมายไม่น้อยกว่า ๓๐ อย่าง เมื่อใดพระท่านฉันภัตตาหารที่ตนได้ถวายไปแล้วแม้เพียงคำเดียว ผู้ถวายก็โล่งอกและปลาบปลื้มจนสุดที่จะพรรณนา

สำหรับข้าวก้นบาตรของพระภิกษุองค์สำคัญบางรูป เช่น พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ภูเหล็ก) เป็นต้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งจะพากันเฝ้าแหนไว้เป็นพิเศษ เมื่อใดท่านฉันเสร็จ เมื่อนั้นก็จะขอจากท่านไปแบ่งรับประทานทั่วๆ กัน เพื่อเป็นสิริมงคล

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ได้เสด็จมาทรงร่วมงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร


:b39:

พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้แก่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม สำหรับสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร นั้น พระองค์ท่านได้เสด็จจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดสกลนคร ตั้งแต่วันที่่่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ โดยไปพักแรมอยู่ที่วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี (วัดบ้านต้าย) ตำบลบ้านต้าย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร รุ่งขึ้นวันงานจึงได้เสด็จไปยังวัดป่าอุดมสมพรเพื่อทรงร่วมในพิธีสงฆ์

สำหรับพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่รูปอื่นๆ ที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธพจนวราภรณ์
สมเด็จพระมหามุนีวงค์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) วัดนรนารถฯ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศ์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมบัณฑิต
พระธรรมวราภรณ์ (เพิ่ม อาภาโค) วัดราชาธิวาส
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพบัณฑิต
พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราลังการ
พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธาจารย์
พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน จกฺกธมฺโม) วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์
พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา เป็นต้น


ส่วนพระคณาจารย์รูปสำคัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่มาร่วมงานครั้งนี้ ได้แก่
พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี)
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระรัตนากรวิสุทธิ
หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
หลวงปู่สาม อภิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์ (หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต)
วัดพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร จ.บึงกาฬ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
หลวงปู่แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
หลวงตาพวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร
หลวงปู่ถวิล จิณณธมฺโม วัดธรรมหรรษาราม (วัดยางระหง) จ.จันทบุรี
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
หลวงปู่บุญรักษ์ ฐิตปุญโญ วัดสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ เป็นต้น


ทางด้านโรงทาน สำหรับพุทธบริษัทที่ไปพักแรมและพุทธบริษัทโดยทั่วไปนั้น ได้เปิดบางแห่งตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๒๑ และทยอยเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกระทั่งถึงวันงานพระราชทานเพลิงศพฯ ผู้มีจิตศรัทธาไปเปิดโรงทานแจกจ่ายอาหารดังกล่าวเห็นจะได้กุศลแรงไม่แพ้ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศลด้านอื่นๆ เพราะทางวัดป่าอุดมสมพรไม่ปรารถนาให้เข้าลักษณะงานนักขัตฤกษ์ จึงห้ามมิให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าไปจำหน่ายสินค้าทุกประเภทภายในบริเวณวัด แต่ละคนจึงได้อาศัยโรงทานดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนมื้อ

รูปภาพ
หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร กับ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ


ผู้มีจิตศรัทธาไปเปิดโรงทานมีอยู่มากมายหลายสิบราย อาทิ คณะศิษย์ ๗๕ และน้องๆ, คณะคุณกันทรัตน์, คณะศิษย์ ทอ., คณะศานตินิเวศน์, คณะศูนย์ ๑ ภาคพิเศษ, คณะวัดป่าภูธรพิทักษ์, คณะศาสตราจารย์นายแพทย์อวยฯ, คณะบุนยะรัตน์จันทบุรี, คณะบ้านกุดไห, คณะเขาน้อยสามผาน, คณะแพร่งภูธร -ป. โภชนา, บริษัทสหสันต์อุดรธานี, นายเอนก สิทธิประศาสน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง, คณะวัดบวรนิเวศวิหาร, คณะคุณหลุย สุวรรณเวช, คณะบ้านต้าย, นายช่างประมวล วงษ์ดี, คณะจังหวัดเชียงใหม่, คณะดอนเขือง, โรงครัวจังหวัดอุดรธานี, คณะอำเภอกุดบาก, คณะครัวนครพนม และโรงครัวหนองคาย ฯลฯ เป็นต้น

ก่อนวันงานพระราชทานเพลิงศพหนึ่งวัน คือวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ได้ขึ้นไปตบแต่งบริเวณปริมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งจิตกาธาน จิตกาธานดังกล่าวแล้วนี้ตั้งอยู่บนเขาย่อมๆ ลูกหนึ่ง ในบริเวณวัด เมื่อแรกเริ่มคณะกรรมการจัดงานศพตั้งใจจะจำลองภูเขาให้มีสภาพเหมือนถ้ำขาม ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ที่พระอาจารย์ฝั้นพำนักบำเพ็ญภาวนาอยู่ในระยะหลัง แต่จำลองให้เหมือนไม่ทันการ ทางสำนักพระราชวังจึงออกแบบให้ใหม่เป็นพิเศษ ขณะกำลังตบแต่งบริเวณมณฑลอยู่นั้น ประชาชนนับหมื่นได้ทยอยไปเดินดูรอบๆ เขา ส่วนใหญ่อดใจอยู่ไม่ได้ถึงกับออกปากชมกันหนาหู ว่าสวยงามที่สุดในบรรดาที่เคยพบเห็นกันมา

วันนั้น พุทธบริษัทจำนวนไม่น้อยได้แย่งกันผ่าท่อนไม้จันทน์สำหรับเป็นฟืนพระราชทานเพลิงในวันรุ่งขึ้น กองรักษาการณ์ในบริเวณวัดมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาปฏิบัติหน้าที่คึกคักขึ้นกว่าวันก่อน พอถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. มีพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานในการออกเมรุบนศาลาโรงธรรมซึ่งตั้งศพบำเพ็ญกุศลมาแต่ต้นพระภิกษุ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ มีพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระสงฆ์ ๔ รูป สวดธรรมกถา มีพระพิธีธรรมแล้วสวดพระอภิธรรม

ค่ำวันเดียวกันนั้น คือวันที่ ๒๐ มกราคม พระภิกษุจากวัดต่างๆ ทั้งใกล้และไกลได้ผลัดกันขึ้นธรรมาสน์ในโรงฉันภัตตาหาร เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาจนกระทั่ง ๒๔.๐๐ น. จึงยุติ ปรากฏว่ามีพุทธบริษัทนับจำนวนพันไปนั่งฟังพระธรรมเทศนาอย่างคับคั่งตั้งแต่หัวค่ำ เมื่อเลิกแล้วจึงทยอยกันกลับไปนอนยังโรงที่พัก

ในคืนนั้นอีกเหมือนกัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายแจกหนังสือเล่มเล็ก ซึ่งทางวัดป่าอุดมสมพร จัดพิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้แยกย้ายกันออกแจกตามโรงที่พักและถนนหลายสายภายในบริเวณวัด ผู้เฒ่าผู้แก่ที่นอนหลับไปแล้วต่างก็ถูกปลุกขึ้นรับแจกอย่างทั่วถึง เมื่อทราบว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์และเห็นภาพสี่สีพระอาจารย์ฝั้นที่พวกตนเคารพนับถือภายในเล่ม ต่างก็ยกหนังสือขึ้นพนมเหนือศีรษะ เป็นการสักการะพระอาจารย์ฝั้นไปตามๆ ปรากฏว่าเพียงประมาณสองชั่วโมงหนังสือดังกล่าวได้ถูกแจกจ่ายจนถึงมือชาวบ้านจากสารทิศต่างๆ ถึงหมื่นกว่าเล่มทั้งนี้ มิได้รวมถึงการแจกจ่ายในวันงานอีกประมาณ ๓ หมื่นกว่าเล่ม

รูปภาพ
พระอาจารย์วัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม


ถึงวันงานพระราชทานเพลิง...คือวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ แต่เช้าตรู่ได้มีพุทธบริษัทจากอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงไปใส่บาตรพระภิกษุสามเณรเหมือนวันก่อน เช้าวันนี้คับคั่งเป็นพิเศษ เพราะพระภิกษุสามเณรได้เพิ่มจำนวนขึ้นถึง ๒,๐๐๐ กว่ารูปดังกล่าวแล้วข้างต้น เวลา ๐๘.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูป ที่สวดพระพุทธมนต์แต่วันวานรับพระราชทานฉัน

พอถึงเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูปได้บังสุกุล แล้วเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้เชิญศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ลงจากศาลาโรงธรรม จากนั้นเชิญศพจากศาลาโรงธรรมไปเวียนเมรุ เพื่อเชิญขึ้นตั้งบนจิตกาธาน โดยมีพระภิกษุเดินตามศพนับร้อยรูป พร้อมด้วยพุทธบริษัททั้งหลายร่วมขบวนศพด้วยอย่างคับคั่ง

เชิงเขาด้านหน้าของเมรุ คณะกรรมการจัดงานศพได้สร้างโต๊ะยาวสำหรับให้ประชาชนวางดอกไม้จันทน์ไว้ด้วย ถึงระยะนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มเข้มงวดให้ประชาชนอยู่นอกเชือกกั้นตามแนวริมถนนรอบๆ เขา ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยต่างก็นั่งกับพื้นดินเพื่อรอเวลาพระราชทานเพลิงอยู่อย่างยัดเยียด แต่ก็โดยสงบ มิได้มีเหตุร้ายหรือเหตุกระทบกระทั่งใดๆ เกิดขึ้นเลย

เรื่องปรารภที่อุบัติขึ้นในตอนนี้ดูจะเป็นเรื่องเดียวกันหมด คือประชาชนคับคั่งเป็นแสนๆ เช่นนี้เจ้าหน้าที่จะเปิดโอกาสให้ขึ้นไปเผาศพพระอาจารย์ฝั้น ที่เขาเคารพบูชา ให้ได้สมปรารถนาที่อุตส่าห์รอนแรมมาหรือไม่ หากเจ้าหน้าที่เปิดโอกาสให้ ความชุลมุนวุ่นวายจะอุบัติขึ้นเพียงไหน ตนจะหน้ามืดเป็นลมหรือล้มลงจนถูกเหยียบจากคลื่นมนุษย์ที่กำลังหลั่งไหลขึ้นไปหรือเปล่า และถ้ามีโอกาสจริง ถึงสองยามจะได้เผากันถ้วนทั่วทุกตัวคนหรือไม่

คณะกรรมการจัดงานศพดูจะคำนึงถึงปัญหานี้อยู่แล้ว จึงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนนำดอกไม้จันทน์ ไปวางสักการะบนโต๊ะยาวที่จัดไว้ให้ดังกล่าวข้างต้น เพื่อบรรเทาความหนักใจไปชั่วระยะเวลาหนึ่งเสียก่อน แม้กระนั้นก็ยังมีผู้คนอีกเป็นหมื่นๆ ที่ไม่ยอมออกไปวาง โดยหวังว่าจะได้มีโอกาสขึ้นไปวางให้ถึงจิตกาธานเลยทีเดียว

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” แห่งวัดป่าไตรวิเวก


รูปภาพ
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ-หลวงปู่สาม อกิญฺจโน-หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม

:b39:

ครั้นได้เวลาประมาณ ๑๔.๓๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ได้เสด็จฯ ถึงวัดป่าอุดมสมพร ปกติรถยนต์พระที่นั่งจะเข้าเทียบยังพลับพลาที่ประทับซึ่งจัดถวายไว้ข้างเมรุ แต่ทั้งสามพระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้หยุดรถลงตรงปากทางเข้าด้านหน้าเมรุ แล้วเสด็จฯ โดยปราศจากลาดพระบาทไปตามทางเขา เพื่อให้ประชาชนที่แน่นขนัดอยู่สองข้างทางได้เฝ้ารับเสด็จอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นไปอีก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น

เมื่อเสด็จขึ้นประทับบนพลับพลาและได้เวลาอันสมควรแล้ว ทั้งสามพระองค์ได้เสด็จฯขึ้นสู่เมรุทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ๑๐ รูป บังสุกุล แล้วพระราชทานเพลิงศพ

ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงลดพระองค์ลงกราบศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร บนพระสุหนี่ปูลาดที่พื้นสนามหน้าจิตกาธาน ภาพประทับใจเช่นนี้บรรดาประชาชนที่เฝ้าอยู่นับแสนต่างก็สำนึกโดยทั่วกัน ว่ามีโอกาสพบเห็นได้ยากยิ่ง

เมื่อได้เวลาอันสมควร ทั้งสามพระองค์ได้เสด็จกลับตามทางเดิม ทรงปฏิสันถารต่อประชาชนที่เฝ้าอยู่สองข้างทางโดยมิได้ทรงถือพระองค์ จนกระทั่งเสด็จขึ้นประทับบนรถยนต์พระที่นั่งกลับออกไปจากวัด เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่งกลับพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ที่เชียงใหม่

เมื่อเสด็จฯ กลับแล้ว บรรดาพระภิกษุสงฆ์และแม่ชีได้ขึ้นเผาตามลำดับ สำหรับประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ขึ้นเผาได้ โดยให้ขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์บนถาดนอกลวดหนามกั้นชั้นในเท่านั้น ปรากฏว่าผู้คนหลั่งไหลขึ้นไปอย่างแน่นขนัด เจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดเหยียบกันถึงขนาดบาดเจ็บล้มตาย จึงจำต้องสกัดกั้นและห้ามขึ้นเผาบนเมรุ ทั้งๆ ที่ประชาชนได้ขึ้นไปเผากันไม่ทั่วถึง

๑๘.๐๐ น. เป็นเวลาเผาจริง ท่ามกลางฝูงชนนับหมื่นๆ ที่รายล้อมแสดงความอาลัยอยู่รอบๆ เมรุ จนกระทั่งเวลาประมาณ ๐๑.๐๐ น. ของวันใหม่ไฟจึงได้มอดลง

รูปภาพ
พระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ดูเหลืองอร่ามไปทั่วบริเวณ


น่าสังเกตว่า ตลอดคืนนั้นได้มีการเฝ้าอัฐิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร บนจิตกาธานอย่างเข้มแข็ง กล่าวคือนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจะรายล้อมชั้นในไว้ชั้นหนึ่งแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายจังหวัดรายล้อมไว้อีกชั้นหนึ่งส่วนชั้นนอกซึ่งเป็นรอบๆ เมรุชั้นล่าง ประชาชนนับพันๆ ยังรายล้อมเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ด้วยเป็นชั้นสุดท้าย ทั้งนี้เพราะอัฐิของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นยอดปรารถนาที่ทุกๆ ฝ่ายต่างก็อยากได้ไปกราบไหว้บูชาบรรยากาศรอบๆ เมรุในคืนนั้นจึงมีสภาพไม่ผิดอะไรกับการ “คุมเชิง” ซึ่งกันและกัน

เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๒ มกราคม บนจิตกาธานยังมีควันกรุ่นอยู่ ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ อ.ส. ตลอดจนบรรดาประชาชนต่างก็ยังรายล้อมอยู่ในสภาพเดิม

พิธีสามหาบได้กระทำกันแต่เช้าพระภิกษุที่บังสุกุลในตอนนี้ ได้แก่ พระเทพบัณฑิต เจ้าคณะธรรมยุตภาค ๙ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี) และพระรัตนากรวิสุทธิ (ดูลย์ อตุโล) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดสุรินทร์

หลังจากพิธีสามหาบเสร็จสิ้นลงแล้วก็ถึงวาระของการเก็บอัฐิ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนพระสงฆ์บางรูป ได้ช่วยกันเก็บอัฐิบรรจุในเจดีย์หินอ่อน จากนั้นจึงเก็บอังคารบรรจุลงในหีบไม้มะค่าโมงลั่นกุญแจ แล้วอัญเชิญทั้งอัฐิและอังคารขึ้นรถนำไปไว้บนศาลาโรงธรรม ต่อมาทางวัดได้จัดเก็บไว้อย่างแข็งแรงในตู้เซฟที่วัดหามาถึง ๒ ใบ ที่กุฏิพระอาจารย์ฝั้น ในวัดป่าอุดมสมพร

เมื่อเชิญอัฐิและอังคารไปแล้ว ประชาชนที่ขึ้นไปมุงสังเกตการณ์รอบๆ เมรุ ตั้งแต่เริ่มเก็บอัฐิ ได้พยายามขอร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งรายล้อมอยู่ชั้นใน ให้ช่วยหยิบดอกไม้บ้าง หยวกกล้วยบ้าง หรืออะไรอื่นๆ ที่พอจะนำไปกราบไหว้บูชาได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้หยิบหยวกกล้วยส่งออกมาให้ท่อนหนึ่ง พอได้มาต่างก็ฉีกแบ่งกันคนละเล็กละน้อย นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เกรงว่าจะเป็นการไม่เหมาะสม จึงสั่งระงับเสียโดยทันที แม้กระนั้นก็ยังมีผู้ส่งผ้าเช็ดหน้าบ้าง หมวกบ้างให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยนำไปซับน้ำตรงเชิงเมรุให้

สำหรับหยวกกล้วยก็ดี ดอกไม้ที่ประดับเมรุก็ดี ฯลฯ เจ้าหน้าที่ได้จัดการรวบรวมเผาอีกครั้งหนึ่งในลำดับต่อมา เพื่อป้องกันมิให้เกิดการจลาจลในการแย่งชิงกันขึ้น

อัฐิของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ทางจังหวัดและทางวัดป่าอุดมสมพรได้ตกลงกันจะบรรจุไว้ในสถูป โดยจะสร้างสถูปขึ้นไว้บนพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น ขณะนี้ทางคณะกรรมการฯ ได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์และสถูปไว้เรียบร้อยแล้ว

ส่วนสถานที่ที่จะสร้างพิพิธภัณฑ์และสถูป ขณะบันทึกเรื่องนี้ยังมิได้ตกลงกันแน่นอนว่าจะสร้างขึ้นตรงไหน อาจบนเขาย่อมๆ ซึ่งเป็นที่พระราชทานเพลิงศพ อาจเป็นสถานที่หนึ่งที่ใดในบริเวณวัดป่าอุดมสมพร และก็อาจจะขึ้นไปจัดสร้างบนถ้ำขาม อันเป็นสถานที่ซึ่งพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พำนักภาวนาอยู่ในวาระสุดท้าย ก่อนละสังขารขันธ์ของท่านไปก็ได้

(มีต่อ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ทรงประทับทอดพระเนตรการเผาจริง


รูปภาพ

หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
และหลวงปู่หลอด ปโมทิโต เฝ้าดูการเผาจริง


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ได้เสด็จมาทรงร่วมงานบำเพ็ญกุศลหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ครบ ๑๐๐ วัน
โดยมี “พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)” วัดโพธิสมภรณ์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธาจารย์ ตามเสด็จมาด้วย


:b8: :b8: :b8: รวบรวมและคัดลอกเนื้อหามาจาก ::
หนังสือภาพ ชีวประวัติ และปฏิปทาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=58068

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร •
ประดิษฐาน ณ วัดป่าอุดมสมพร

บ้านนาหัวช้าง ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


รูปภาพ

เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

รูปภาพ

ภาพแกะสลักรอบเจดีย์พิพิธภัณฑ์ฯ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปหล่อเหมือนหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

รูปภาพ

รูปภาพ

หนังสือสุทธิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจดีย์ท่านอาจารย์ฝั้น

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
เทศน์อบรม ณ สวนแสงธรรม ถ.พุทธมณฑลสาย ๓ กรุงเทพฯ


ท่านอาจารย์ฝั้นนี้ชุ่มเย็นมาก ท่านอาจารย์ฝั้นเป็นพระที่ชุ่มเย็นมากทีเดียว เป็นฝ่ายเรานะโจมตีท่าน ท่านไม่ว่าอะไรเราแหละ เห็นเรามานี้ ท่านกำลังแจกเหรียญอะไรให้เขาอยู่ พอเห็นเราไป หยุด จะพูดธรรมะ ปิดทันทีเลย ไม่ให้เราเห็นนะ จะถูกโจมตีใช่ไหมล่ะ แจกของขลังน่ะ ขลังตั้งแต่ภายนอกภายในไม่ได้ขลัง นั่น จะเอากันตรงนั้น ท่านเห็นเรา มีแต่เราละเป็นฝ่ายโจมตี ไปหาครูบาอาจารย์องค์ไหนก็เหมือนกัน เพราะเรามันนิสัยอย่างนี้ ว่ากล้าก็กล้าจริงๆ กล้าโดยอรรถโดยธรรม กลัวโดยอรรถโดยธรรมละเรา

บรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็มีแต่เราละเป็นฝ่ายโจมตี ค้านไม่ได้นะ เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์ฝั้นท่านกำลังแจกของขลังเหรียญอะไรๆ พอเห็นเราโผล่เข้ามานี้ หยุดๆ จะพูดธรรมะ หยุดทันทีเลย ปิดปุ๊บเลยทันที ไม่งั้นเอาจริงๆ นะนั่น นี่หรือของขลัง จะซัดกันเลยนะนั่น เห็นท่านเราก็ไม่ว่า แต่ท่านเป็นฝ่ายระวังเรา เราเป็นฝ่ายโจมตีท่าน กับเรานี้สนิทกันมากนะ ท่านอาจารย์ฝั้น ท่านกลัวเราก็จริงแต่กลัวเป็นธรรมนะ เพราะเราเอาจริงนี่ กำลังแจกของขลังอยู่ เหรียญนั้นเหรียญนี้ แจกนั้นแจกนี้ พอเห็นเราโผล่เข้าไป หยุดๆ จะพูดธรรมะ หยุดทันทีเลย ไม่ให้ออกเลย ไม่งั้นจะถูกโจมตี เราก็ไม่ว่าอะไร รู้แล้วว่าท่านระวัง ท่านอาจารย์ฝั้น

แต่กับเรานี่เป็นยังไงไม่รู้นะ เจดีย์ของท่านก็เรานั่นละสร้างให้ ๑๒ ล้านนะ เจดีย์ของท่านอาจารย์ฝั้น เราละเป็นคนสร้างให้ พอท่านมรณภาพก็ประกาศลั่นกันขึ้นเลยว่าจะสร้างเจดีย์ เราก็ประกาศทันทีเลยว่าสร้างก็สร้าง แต่อย่าให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องนะ เราทำมีแต่ทำให้หลวงปู่มั่นเรียบร้อยแล้ว นี่เราแก่แล้ว เราไม่เป็นประธานละ เขามาให้เราไปเกี่ยวข้องก็คือเป็นประธาน เป็นประธานมันหนักมาก ไม่ใช่เล่นๆ ทีนี้ทำไงมันก็ไม่ขึ้นน่ะซี ฟาดเสีย ๓ ปี นู่นน่ะเห็นไหมล่ะ ประชุมกันแล้วประชุมกันเล่า ปีที่สามนี้มาประชุมกันมีคณะกรรมการมา ๕ คน หมดหวังละ

ก็ท่านสุวัจน์กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจสกลนครมาเลย กับพวกญาติโยมผู้มีเกียรติแห่กันมาเลย ไปกุฏิเรา เพราะเราปัดแล้วตั้งแต่ต้น เราไม่เอา มาก็มาพูดเรื่องสุดๆ สิ้นๆ ให้ฟัง แล้วเราเคารพท่านอาจารย์ฝั้น เคารพมากนะ ทั้งรักทั้งเคารพ แต่โจมตีเป็นฝ่ายเรา รักและเคารพ ท่านก็ระวัง แต่ท่านก็เมตตาเรามากนะ ท่านอาจารย์ฝั้นน่ะ ท่านเมตตาเรามากอยู่ ทีนี้ถึงวาระนั้นสุดท้าย ๓ ปียังไม่ขึ้น มีคณะกรรมการมาประชุมเพียง ๕ คน เป็นอันว่าล้มเหลว ท่านสุวัจน์นั่นละเป็นหัวหน้า ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจพากันมา พวกประชาชนญาติโยมผู้มีเกียรติละมา แห่กันมา ก็มาพูดเรื่องความสุดๆ สิ้นๆ เรื่องเจดีย์ท่านอาจารย์ฝั้นให้ฟัง แล้วก็ไม่มีที่ไหน ก็มองเห็นแต่ท่านอาจารย์เท่านั้นละ ถ้าท่านอาจารย์หยุดเสียเลยอย่างเดียวแล้วก็เป็นอันว่าล้มไปเลย

ทีนี้ความเคารพท่านก็เต็มหัวใจเรา ท่านอาจารย์ฝั้นเราเคารพมากนะ แต่โจมตีเป็นฝ่ายเราโจมตีท่าน แล้วท่านก็เมตตาเรามากอยู่นะ แปลกอยู่ มาเล่าให้ฟังสุดสิ้นแล้ว ไม่มีทางแล้ว ตกลงเราก็เลยรับเป็นประธานให้ พอเรารับเท่านั้น ออกไปก็ไปประกาศกันลั่นเลย ขึ้นทันทีเลย เจดีย์ ๑๒ ล้านนะ เราหาเงินให้ทั้งหมดเลย เจดีย์ท่านอาจารย์ฝั้น ๑๒ ล้าน เราเป็นประธาน แล้วก็หาเงินให้ด้วย ๑๒ ล้าน พอเสร็จเรียบร้อยแล้ว เงิน ๑๒ ล้านเศษไปแปดแสน ยังเหลือแปดแสน แปดแสนนี่ก็มอบให้วัดอุดมสมพร วัดอุดมสมพรนี่รับเป็นรับตายอยู่นี้หมดละ บรรดาเรื่องของท่านอาจารย์ฝั้นจะอยู่ที่วัดอุดมสมพร อันนี้เงินมันเหลืออยู่สร้างเจดีย์แปดแสน มอบให้วัดอุดมสมพรเลย คณะกรรมการว่าไง พวกคณะกรรมการก็ยอมรับตามเรา ก็มอบเงินแปดแสนให้วัดอุดมสมพร ๑๒ ล้านเป็นเจดีย์ทั้งหมด แล้วก็เรียบร้อยมาเลยอย่างงั้นแหละ

ทีนี้เวลาท่านมรณภาพ ท่านเกี่ยวกับเราตั้งแต่วันท่านมรณภาพนะ ท่านอาจารย์ฝั้น รู้สึกเมตตามาเกี่ยวข้องกับเรา เราไปอยู่ที่วัดดงศรีชมภู คือเราจะออกเดินทาง อย่างพรุ่งนี้ละ กลางคืนนี่ท่านเสียแล้ว พอท่านเสียก็ฝนตกทั้งคืนละวันนั้น เราจะออกเดินทางไป ขัดข้องทั้งหมดเลย นี่อำนาจเมตตาธรรมของท่านมาเกี่ยวโยงกับเรา ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะออกเดินทางขัดไปหมดเลย จนกระทั่งเราได้ออกพูดเสียงลั่นโก้กขึ้นมาเลย วันนี้จะมีเหตุการณ์อะไรแน่นอนนะคอยดู สะเทือนใจมา ๓ หน นี้หนที่สาม ทีนี้พูดได้ละคอยดูก็แล้วกัน อะไรมันขัดไปหมดเลย เรื่องของเราที่จะกลับวัดอุดมสมพร

เริ่มแรกตั้งแต่ไปรถเขา มันพลิกตาลปัตรไปเลย จะว่าเป็นธรรมไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่ความดลบันดาลจิตใจของท่านมาเกี่ยวกับเรา เราจะมาวันนั้นก็รถติดขัดไปหมดเลย รถที่จะไปรับเราไปไม่ได้ น้ำท่วมหมดตามทุ่งนา ตกลงเขาก็ต้องเดินทางไปเองไปหาเรา เดินทางไปจากบ้านนาขามไปวัด เดินทางไปเอง คือรถไปไม่ได้

นั่นก็ท่านทุยเป็นผู้จัดการให้เราทุกอย่าง ขัดไปหมดเลย มันแปลกอยู่นะ รถที่จะมารับท่านพลิกตาลปัตร ท่านทุยไปสั่งว่า รถที่จะมารับท่านอาจารย์วันนี้เป็นรถเก๋งนะ มานี้จะเข้าไม่ได้รถเก๋ง ข้ามทุ่งนาไม่ได้ ให้เอารถที่บ้านเราว่างั้นนะ ท่านไปบอกเองท่านทุย ที่บ้านเราคือบ้านโยมอุปัฏฐากท่าน มีรถอยู่สองคัน ให้เอารถที่บ้านเราไปรับท่านอาจารย์มาขึ้นรถเก๋งคันนี้กลับอุดรว่างั้นนะ ท่านทุยสั่งเรียบร้อยแล้ว พอรถมาก็พลิกตาลปัตร บอกว่ารถมานี้ให้รออยู่นี้ รถเก๋งมาก็ให้รออยู่นี้ ท่านจะเดินทางมาเอง ดูซิน่ะ

บ้านที่ท่านทุยไปสั่ง เขามีรถอยู่สองคัน ให้เอารถที่บ้านไปรับท่านอาจารย์มา เพราะรถนี่มันบุกน้ำได้ว่างั้นเถอะ ครั้นมานี้ก็บอกรถคันนี้ว่าท่านอาจารย์จะเดินทางมาเอง ดูซิน่ะเดินทางมาเอง แน่ะมันขัดขนาดไหน ตกลงก็เลยไม่ได้ จนสายคนขับรถเก๋งเขาก็เดินทางไปหาเรา เขาดูทางไป พอเล่าให้ฟังอย่างนั้นแล้ว อ้าว ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็เราสั่งอย่างนั้นๆ ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ทราบเหมือนกันมันหากเป็นอย่างนี้ ตายๆ ท่านทุยก็เดินจีวรปลิวมาเลยละ จะมาเอารถที่ท่านสั่งไว้เรียบร้อยแล้ว มันไม่ได้อย่างนั้นซิ

ครั้นมาบ้านนี่แล้วรถในบ้านไม่มีสักคันเดียว จนกระทั่งบ่ายสองโมงรถจึงไปจากปากคาด รถสองแถวคันหนึ่ง มาก็ลากเอารถสองแถวไปรับเรา นี่ก็คิดดูซิ ตั้งบ่ายสองโมงแล้ว เราจะมาอุดรมาไม่ได้รถติดขัด ครั้นไม่ได้รถนี่แล้วท่านกลับไปอีก พอมาถึงบ้านนาขาม รอรถอีกตั้งบ่ายสองโมงไม่มีรถคันไหนเข้ามาเลย รถที่ว่าเหลวไปหมดเลยจะทำไง พอบ่ายสองโมงมีรถสองแถวคันหนึ่งเข้าไป แต่เข้าไปแล้วติดเครื่องยังไงก็ไม่ติด นั่นเห็นไหมล่ะ เห็นชัดเจนมาก เราเป็นคนนั่งรถอยู่ ติดเครื่องยังไงมันก็ไม่ติด ดับปุ๊บๆ อยู่อย่างนั้น มันสะเทือนใจเรื่อย ถึงหนที่สามเลยพูดป้างออกมา วันนี้จะมีเหตุการณ์นะ มีแน่ๆ กระเทือนใจถึงสามหนแล้ว คอยฟังก็แล้วกันนะวันนี้จะมีเหตุละ

รถนี่มันไปไม่ได้อย่างนี้ ขึ้นนั่งรถแล้วติดเครื่องไม่ติด พอดีท่านเอียนก็ไปจากอุดร ไปฉันจังหันบ้านตังล้ง ได้ทราบข่าวท่านอาจารย์ฝั้นมรณภาพจากนั้นท่านเอียนก็ไปหาเรา นี่ละรอข่าวท่านเอียนเอาข่าวท่านอาจารย์ฝั้นไปหาเรา เห็นไหมติดขัดตลอด พอเราพูดอย่างนั้นแล้วมันจะมีเหตุอะไรแน่นอนวันนี้คอยดูก็แล้วกัน พอท่านเอียนได้ข่าวนี้เรียบร้อยแล้วก็ไป เอาข่าวนี้ไปหาเรา เราต้องรอข่าวนี้ตลอด นั่นน่ะอำนาจท่านอาจารย์ฝั้นนะเกี่ยวกับเรา พูดง่ายๆ ว่าเกี่ยวกับเรา จะไม่ให้เรากลับอุดร จะให้ไปอุดมสมพรก่อนท่า

พอท่านเอียนไปจากอุดร ท่านลงรถปั๊บวิ่งมาหาเรา รถกำลังจะไปติดเครื่องไม่ได้อยู่นั่นละ พอท่านเอียนวิ่งมาปั๊บก็มากระซิบว่า ท่านอาจารย์ฝั้นเสียแล้วตั้งแต่เมื่อวาน ดูว่า ๖ โมง ๕๐ นาที ท่านเสียแล้วเมื่อวานนี้ นี่ละเรื่องราว พอว่างั้น เออ เอาละเข้าใจ เอาไม่ต้องติดเครื่องก็ได้ที่นี่เราว่างั้นเลย เหยียบคันเร่งเลยเราบอก ก็มันมีเรื่องอันเดียวนี่เข้าใจไหม บอกว่าไม่ต้องติดเครื่องรถนี่น่ะ เหยียบคันเร่งไปเลย พอติดเครื่องปุ๊บผึงไปเลยจริงๆ ออกไปนี้ นู่นฟาดไปวัดอุดมสมพร แทนที่จะมาอุดรไม่มานะ ไปวัดอุดมสมพร ทางนู้นก็รอเราอยู่แล้วเอาอีกแหละ นั่นละเรื่องราวท่านอาจารย์ฝั้น พลิกตาลปัตรกับเรานะ เราเลยต้องไปวัดอุดมสมพร ทางโน้นก็รอเราอยู่แล้ว

ไปเราก็สั่งเสียเรื่องนั้นเรื่องนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราถึงได้มาจากวัดอุดมสมพรตรงมาอุดรทีเดียว เราไปวัดหนองกอง จะไปทอดผ้าป่าไปไม่ได้ ท่านอาจารย์ฝั้นขวางตลอดเลย เราเลยว่าจะเกิดเหตุอะไรวันนี้คอยดูก็แล้วกัน เป็นจริงๆ พอทราบว่าท่านอาจารย์ฝั้นเสียแล้วเมื่อวานเวลาเท่านั้น เออ ไปได้ รถนี้ไม่ต้องติดเครื่อง เหยียบคันเร่งเลยคราวนี้ ไปได้เลย ติดเครื่องปึ๊งก็ไปเลย ก็เลยถาม รถนั้นมันเป็นยังไงแต่ก่อน ก็ดีๆ ธรรมดา แต่วันนี้เป็นอย่างนี้ นั่นละเรื่องราวท่านอาจารย์ฝั้นน่ะ

จึงได้ไปโน้นกลับมาจึงได้ไปหนองกอง จากนั้นแล้วก็เป็นภาระของเราทั้งหมดเลย สุดท้ายสร้างเจดีย์ขึ้นมาก็เป็นเราหาเงินให้ด้วย ๑๒ ล้าน เจดีย์ก็เราเป็นประธาน หาที่ไหนไม่ได้ๆ สุดท้ายมีผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจและประชาชนชาวสกลนครแห่ไปหาเรา ไปพูดถึงเรื่องจะล้มเหลวเรื่องการสร้างเจดีย์ เราเคารพท่านมาก ตกลงเราก็เลยรับให้ พอรับให้ปั๊บก็ขึ้นเลยทันที เป็นอย่างนั้นละ เรื่องท่านอาจารย์ฝั้นเกี่ยวข้องกับเรานี้เกี่ยวจริงๆ เกี่ยวอย่างเห็นได้ชัดเลย

รถติดเครื่องจะติดไม่ติด อะไรมันก็ไม่ติด จนร้องโก้กขึ้นเลยมันจะมีเรื่องวันนี้คอยดู พอทราบข่าวท่านอาจารย์ฝั้น ท่านเอียนไปเล่าให้ฟังเท่านั้น เอ้า ทีนี้เหยียบคันเร่งเลยไม่ต้องติดเครื่อง ไปเลย เป็นอย่างนั้นนะ เรื่องธรรมใครคาดไม่ถึง อย่าไปคาดนะเรื่องธรรม ยกตัวอย่างท่านอาจารย์ฝั้นกับเรานี่แหละ คือท่านเกี่ยวข้องกับเรา ท่านเมตตาให้เราเป็นภาระ ความหมายว่างั้น พอทราบเรื่องของท่านแล้วก็เป็นเราทั้งหมด จนกระทั่งก่อเจดงเจดีย์ เราทำให้ท่านทั้งหมดเลย นี่พูดถึงเรื่องธรรมบันดาล ใครไปคาดไม่ได้นะคาดธรรม ยกตัวอย่างอย่างท่านอาจารย์ฝั้นเสียนี่ อำนาจธรรมของท่านอำนาจใจของท่านมาเกี่ยวข้องกับเรา บังคับไว้หมด ไปไม่ได้เลย

พอทราบเรื่องของท่านเท่านั้น เอ้าที่นี่ไม่ต้องติดเครื่อง เหยียบคันเร่งเลย ปึ๋งเลยไปเลย ก็อย่างนั้นแหละ มันไปไม่ได้ ติดแล้วมันดับๆ อยู่งั้น มันไปไม่ได้ พอทราบท่านอาจารย์ฝั้นเท่านั้นปั๊บ เอ้า เหยียบคันเร่งเลยที่นี่ไม่ต้องติดเครื่อง เราว่างั้น มันมีอันเดียวนี้ละที่เป็นเหตุ ที่เราบอกว่าวันนี้จะมีเหตุอะไรแน่นอนคอยฟังนะ มีแล้วนี่น่ะ ทราบแล้วที่นี่ เอ้าเหยียบคันเร่งเลยไม่ต้องติดเครื่อง พอติดเครื่องปึ๊งก็ไปเลย อย่างนั้นแหละอำนาจธรรมของท่าน

ท่านอาจารย์ฝั้นท่านมีนิสัยทางด้านจิตตานุภาพนะ อานุภาพของใจท่านเก่งมาก รถวิ่งไปนี้ให้หยุดหยุดเลย ไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้แหละท่านอาจารย์ฝั้น


:b8: :b8: :b8: http://www.luangta.com

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร