วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2012, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


๙. สิปปสูตร

[๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว
นั่งประชุมกันในโรงกลม ได้สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างว่า

"ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลป ใครศึกษาศิลปอะไร
ศิลปอย่างไหนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย"


บรรดาภิกษุเหล่านั้นภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า

ศิลปในการฝึกช้างเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการฝึกม้าเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการขับรถเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการยิงธนูเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางอาวุธเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปทางนับนิ้วมือเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการคำนวณเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปนับประมวลเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการขีดเขียนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในการแต่งกาพย์กลอนเป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางโลกายตศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างเพียงนี้
ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น
ได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลม แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้

ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ
และเธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้"


ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

"ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต
นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันในระหว่างว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลป...
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่าศิลปในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล
ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง"


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตร
ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย
เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ ๒ อย่าง
คือ ธรรมีกถา (สนทนากันในหลักธรรม)
หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะฯ (นิ่งอย่างพระอริยะ)"


ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว
ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

"ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว
พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา
ไม่มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุฯ"


:b42:

คัดลอกเนื้อหาจาก
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 384&Z=2422

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ :b8: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2015, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบสาธุๆๆ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร