วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-0.jpg
Y8538514-0.jpg [ 52.84 KiB | เปิดดู 7606 ครั้ง ]
พฺรหฺมจริยญฺจ เอตมฺมํคลมุตฺตมํ แปลว่า การประพฤติพรหมจรรย์ จัดว่าเป็นอุดมมงคล

สวัสดีค่ะ :b39:
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “พรหมจรรย์” แล้วคำๆนี้คงจะเป็นที่สนอกสนใจกับผู้คนทั่วไปอย่างมากทีเดียว

พรหมจรรย์ในทางพระพุทธศาสนานั้นนับว่าเป็นหัวใจของการประพฤติพรตขูดเกลากิเกส เมื่อพระบรมศาสดาทรงมีพระประสงค์ให้พระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงใช้คำว่าประกาศ“พรหมจรรย์” ดังนี้…

“พรฺหฺมจริยํ ปกาเสถ พวกเธอจงไปประกาศพรหมจรรย์เถิด”, “จรดพรฺหฺมจริยํ” พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”, “พรหมจรรย์จะชื่อว่ารุ่งเรือง ก็ต่อเมื่อบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งฝ่ายพรหมจารี และฝ่ายกามโภคี รู้ธรรมและปฏิบัติธรรมกันด้วยดี” .... เป็นต้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-1.jpg
Y8538514-1.jpg [ 143.01 KiB | เปิดดู 7605 ครั้ง ]
คำว่า "พรหมจรรย์" นัยตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัตินี้ จึงน่าจะหมายถึงตัวของศาสนาทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้นคำว่าพรหมจรรย์จึงสามารถบ่งชี้ถึง ความประพฤติอันประเสริฐ อันได้แก่หลักประพฤติปฏิบัติตามศาสนา เช่น มรรรคมีองค์ ๘, การบวช เป็นต้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-2.jpg
Y8538514-2.jpg [ 88.74 KiB | เปิดดู 7602 ครั้ง ]
มีคำอธิบายเรื่องพรหมจรรย์ในหนังสือ มงคลทีปนี เรื่อง "ข้อวัตรที่เรียกว่าพรหมจรรย์" มีทั้งหมด ๑๐ ประการ ไดัแก่

๑. ทาน, ๒. เวยยาวัจจะ, ๓. เบญจศีล, ๔. เมตตาอัปปมัญญา,๕. เมถุนวิรัติ, ๖. สทารสันโดษ, ๗. วิริยะ, ๘. อุโบสถ, ๙. อริยมรรค , ๑๐. ศาสนา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-3.jpg
Y8538514-3.jpg [ 53.28 KiB | เปิดดู 7599 ครั้ง ]
พรหมจรรย์ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “การประพฤติปฏิบัติอย่างพรหม” ก็คือการละเว้นจากเรื่องกามารมณ์ทั้งหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็ได้แก่ การมีความสัมพันธ์ทางเพศ และ ทางอ้อมก็ได้แก่ การการหลงติดในวัตถุกาม รูป รส กลิ่นเสียง สัมผัส อันเป็นเครื่องล่อใจ ให้หลงติดอยู่ในบ่วงของมาร
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-4.jpg
Y8538514-4.jpg [ 63.44 KiB | เปิดดู 7596 ครั้ง ]
การประพฤติพรหมจรรย์มีทั้งขั้นเลว ขั้นกลาง ขั้นสูง

บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว., ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง.

(ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๙๙.)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-5.jpg
Y8538514-5.jpg [ 77.56 KiB | เปิดดู 7594 ครั้ง ]
พรหมจรรย์ชั้นเบื้องต้น (ขั้นเลว)ได้แก่ : ทาน ศีล เวยยาวัจกรรม (ขวนขวายชอบ)

ขั้นกลางได้แก่ : เมตตาอัปปมัญญา เมถุนวิรัติ (ยกเว้นเสพเมถุน) และสทาสันโดษ (ผู้ครองเรือนให้ยินดีเฉพาะคู่ครองของตน)

ขั้นสูง ได้แก่ : ตัดขาดทางด้านกามารมณ์ทั้งหมด ถือศีลอย่างน้อยคือศีลอุโบสถ มีความเพียร(ในสัมมัปปธาน๔) และบำเพ็ญมรรรค ๘
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-6.jpg
Y8538514-6.jpg [ 78.31 KiB | เปิดดู 7593 ครั้ง ]
การประพฤติพรหมจรรย์นี้เป็นข้อประพฤติปฏิบัติทวนกระแสโลก จึงจัดว่าเป็นพรตอันสูง และเช่นกัน บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง เพราะผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ (อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต)

การประพฤติพรหมจรรย์จึงจัดเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญของบุคคลผู้ต้องการพ้นไปจากวัฏฏะ ขอเรียกว่าเป็นอริยประเพณี คือเป็นประเพณีที่ ว่าที่ผู้จะสำเร็จเป็นพระอริยะจักต้องกระทำ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-7.jpg
Y8538514-7.jpg [ 62.12 KiB | เปิดดู 7588 ครั้ง ]
การฝึกประพฤติพรหมจรรย์ที่เข้มข้น อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปของบุคคลที่ยังไม่ได้ออกบวช หรือ ครองเรือน มีอยู่ ในที่นี้ขออธิบายถึง การสมาทานงดเว้นจากรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ,งดเว้นการเสพประเวณี (ข้ออื่นๆอีก ๗ ข้อไม่ขออธิบายในที่นี้)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-8.jpg
Y8538514-8.jpg [ 100.41 KiB | เปิดดู 7581 ครั้ง ]
ศีลพรหมจรรย์ข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๒ หรือ ๔

๓.๑ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๒ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปาทนํ อวัยวะเพศถึงกัน
(ตามนัยแห่งฎีกาพรหมชาลสูตรและกังขาวิตรณี) :b47:

๓.๑ อชฺฌจรณียวตฺถุ เสพทางทวาร ๓ (คือ ปาก ทวารเบา และทวารหนัก)
๓.๒ ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๓.๔ สาทิยนํ มีความยินดี
(ตามนัยแห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ) :b47:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-9.jpg
Y8538514-9.jpg [ 65.64 KiB | เปิดดู 7578 ครั้ง ]
จะเห็นได้ว่า ศีลข้อ ๓ ในอุโบสถศีลจะต่างกับศีลข้อ ๓ ของศีล ๕ คือ บุคคลผู้รับศีล ๕ ยังสามารถที่จะเสพประเวณี มีกามกิจได้ กับคู่ครองของตน แต่สำหรับผุ้สมาทานศีลพรหมจรรย์จะไม่สามารถมีกามกิจเสพประเวณีได้เลย
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-10.jpg
Y8538514-10.jpg [ 90.47 KiB | เปิดดู 7576 ครั้ง ]
ศีล ๘ และอุโบสถศีล ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าขาดจากอุโบสถศีล ขาดจากศีล๘, ศีลจะขาดได้ต้องครบองค์ของแต่ละข้อ ถ้าไม่ครบก็เป็นแต่ศีลทะลุด่างพร้อย หรือเศร้าหมองเท่านั้น ศีลแต่ละข้อจะขาดได้ ก็อยู่ที่เรา “จงใจ” หรือ “เจตนา” ล่วง ถ้าล่วงเพราะไม่เจตนาก็ไม่ขาดและไม่ด่างพร้อยด้วย

***กรณีศึกษาก็มีพระนางอุปลวรรณาที่ถูกนันทมานพข่มขืน ภายหลังนันทมานพถูกธรณีสูบไปเป็นต้น***
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-11.jpg
Y8538514-11.jpg [ 82.99 KiB | เปิดดู 7578 ครั้ง ]
พรหมจรรย์ด่างพร้อยเป็นอย่างไร?

สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสกับโสณิพราหมณ์ ถึง"เมถุนสัญโญค" (ว่าด้วยความเกี่ยวข้องกับธรรมะของคนคู่ ๗ ประการ) ว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี บางคนปฏิญญาตนว่าเป็นพรหมจารีจริง ๆ หาได้เสพเมถุนกับมาตุคามไม่ แต่ยังยินดี ปลื้มใจ ชื่นใจด้วยเมถุนสัญโญค คือความเกี่ยวข้องกับเมถุน ๗ อย่าง คือ

๑. ยินดีในการลูบไล้, การประคบ, การให้อาบน้ำ, การนวดแห่ง มาตุคาม ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น.
๒. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ซิกซี้เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคามปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น.
๓. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่เพ่งจ้องดูจักษุของมาตุคามด้วยจักษุของตน ปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น.
๔. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ฟังเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะหรือพูดกับขับ ร้อง เป็นต้น ปลื้มใจด้วยเสียงนั้น.
๕. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่นึกย้อนไปถึงเรื่องเก่า ที่ได้เคยหัวเราะพูดเล่นกับมาตุคามแล้วปลื้มใจ
๖. ไม่ถึงอย่าง นั้น แต่เห็นคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ แล้วปลื้มใจ.
๗. ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้ง ความปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งแล้วปลื้มใจ.

ทั้ง ๗ ข้อนี้ พรหมจรรย์ของผู้นั้นชื่อว่าขาด, ทะลุ, ด่าง, พร้อย. ผู้นั้นประพฤติ พรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-12.jpg
Y8538514-12.jpg [ 107.15 KiB | เปิดดู 7568 ครั้ง ]
นอกจากนี้...

สตรีถ้าหากพอใจในภาวะต่าง ๆ ของสตรีและบุรุษ ย่อมไม่ก้าวล่วงความเป็นสตรีได้. บุรุษเมื่อพอใจภาวะต่าง ๆ ของบุรุษและสตรี ( พอใจ ในภาวะของตน ติดอกติดใจในเพศตรงกันข้าม ) ย่อมไม่ก้าวล่วงความเป็นบุรุษได้. ตรงกันข้ามคือไม่พอใจ จึงก้าวล่วงภาวะทั้งสองได้.

***แจกภาวะต่าง ๆ ของหญิง ชายออกไปฝ่ายละ ๗ คือ อินทรีย์, กิริยา, อาการ, ประเภท, ความพอใจ, เสียง, เครื่องประดับของสตรีหรือบุรุษ***
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-13.jpg
Y8538514-13.jpg [ 74.72 KiB | เปิดดู 7563 ครั้ง ]
รักษาพรหมจรรย์อย่างไร ?
ข้อปฏิบัติเพื่อรักษาศีลพรหมจรรย์ไม่ให้ทะลุหรือด่างพร้อย นั่นก็ต้อง สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ,ในอดีตสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงให้โอวาทพระอานนท์ในการปฏิบัติต่อสตรี ก็คือ ให้สำรวมระวังอินทรีย์ นอกจากนี้กัมมัฏฐานบางอย่างเป็นคู่ปรับกามฉันทะโดยตรง เช่น กายคตาสติ, การพิจารณาอสุภะ

พระบวชใหม่จะได้รับกัมมัฏฐาน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตั้งแต่ตอนปลงผมอันเพื่อให้เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะที่ทำอันตรายต่อพรหมจรรย์
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 11:04
โพสต์: 1147

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Y8538514-14.jpg
Y8538514-14.jpg [ 80.56 KiB | เปิดดู 7562 ครั้ง ]
การประพฤติพรหมจรรย์เป็นสิ่งสำคัญ เป็นบารมีข้อหนึ่งที่บ่มการตรัสรู้ให้สุก ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เมื่อประพฤติเวลาไหนก็ ชื่อว่า เป็นประพฤติพรหมจรรย์เวลานั้น เมื่อก่อนเคยมีครอบครัวแล้ว ภายหลังมาบวชเลิกเสพเมถุนธรรมทั้งปวง ก็ถือว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

หรือพ่อบ้านแม่บ้านชวนกันรักษาอุโบสถศีล ในเวลานั้นก็ถือว่าทั้งสองเป็นพรหมจรรย์ คำว่าพรหมจรรย์จึงไม่เกี่ยวกับเรื่องราวความสัมพันธ์ทางเพศในอดีตแต่อย่างใด
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร