วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาจาระ เป็นไฉน

ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทั้งทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า อาจาระ

สีลสังวร แม้ทั้งปวง ก็เรียกว่าอาจาระ


ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ย่อมไม่เลี้ยง
ชีวิตด้วยการให้ใบไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ดอกไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วย
การให้ผลไม้ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้จุณสำหรับอาบ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วย
การให้ไม้ชำระฟัน ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก ย่อม
ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการเป็น
คนรับเลี้ยงเด็ก ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ฆราวาส ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิอย่างใดอย่างหนึ่ง
นี้เรียกว่า อาจาระ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ตรงนี้เป็นการสอนอริยะบุคคลนะ ตั้งแต่พระอนาคามี หมายถึงผู้ที่มีอริยศีลขันธ์แล้ว ไปเจริญอริยสมาธิ เพื่อให้ได้อภิญญา หรือปัญญายิ่ง เอาไว้ศึกษาธรรม รู้ธรรมให้ถ้วนทั่ว ที่ทรงแสดงย่อๆ เพราะผู้ฟังเป็นอริยบุคคลแล้ว ฟังกันรู้เรื่อง


ไม่คิดว่า..เฉพาะพระอนาคามี..นะ
เพราะปัญญา..มันมีอยู่ในทุกขั้นทุกตอน..แต่ต่างที่ความละเอียดอ่อนไม่เหมือนกัน..

ส่วนตัว..ศีลอบรมสมาธิ..สมาธิอบรมปัญญา..สังเกตุได้ตั้งแต่ปุถุชนเลยนะ..พอศีลดีขึ้น..สมองมันก็ดูโปร่ง ๆ โล่ง ๆ ดี..ความคิดความอ่านก็ออกไปทางเย็นกายสบายใจ..

จึงเห็นคุณของศีล..ก็พยายามจะมีศีลมั่นคงยิ่งขึ้น..มาอีก..

การที่ไปเห็นคุณของศีล..นี้มันเริ่มเป็นปัญญาแล้วนะ..แต่ตัวคนนะ..ยังเป็นปุถุชนดี ๆ นี้เอง

อ้างคำพูด:
กะจะบวชแล้วรึ

ตั้งใจ..แค่..ตามพระพุทธเจ้า..พระอริยะเจ้า..ครูบาอาจารย์..แค่นั้น

ส่วนจะ..เหลือง..ไม่เหลือง..ก็ปล่อยมันไปตามเรื่องตามราว..ตามเหตุตามปัจจัย..ของมัน

อ้างคำพูด:
ตกลงจะเข็ญกบฯ เป็นพุทธแท้ๆ ได้หรือเปล่า(วะ)เนี่ย :b5: กบตัวแรกที่อาจจะสำเร็จเป็นอริยบุคคล :b4:


:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 03:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทว่า โคจร มีอธิบายว่า โคจร มีอยู่ อโคจร มีอยู่

ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้
เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา
หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย
หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อ
หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์
หรือเป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของภิกษุณี
หรือเป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา

เป็นผู้คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร


ก็หรือตระกูลนั้นใด ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นที่ควรจะไปมา มักด่าและบริภาษ ใคร่แต่ความพินาศ ไม่ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่ใคร่ต่อความผาสุก ไม่ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้น


นี้เรียกว่า อโคจร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 03:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคจร เป็นไฉน

ภิกษุบางรูปในศาสนานี้
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงแพศยา
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของหญิงหม้าย
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของสาวเทื้อ
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของบัณเฑาะก์
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในสำนักของนางภิกษุณี
ไม่เป็นผู้เที่ยวไปในโรงสุรา

เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร

ก็หรือตระกูลนั้นใด มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นที่ควรไปมา รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ มีโยคีผู้ปฏิบัติเข้าออกอยู่เนืองๆ เป็นผู้ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุก ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ย่อมคบหา เข้าไปหา เข้าไปหาบ่อยๆ ซึ่งตระกูลเห็นปานนั้น

นี้เรียกว่า โคจร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย

มีอธิบายว่าโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย เป็นไฉน

โทษทั้งหลายนั้นใด มีประมาณน้อย เป็นอย่างต่ำ เป็นอย่างเบา ที่สมมติกันว่า โทษเบา ที่พึงสำรวม ที่พึงระวัง ที่พึงกระทำด้วยจิตตุปบาท ที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย


ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ เห็นภัย เห็นความชั่วร้าย และเห็นการรื้อถอนออกเสียให้พ้น ในโทษอันมีประมาณน้อยเหล่านี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๐๖] คำว่าสมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

มีอธิบายว่าสิกขา เป็นไฉน

สิกขา ๔ คือ
สิกขาของภิกษุ เรียกว่าภิกขุสิกขา

สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา

สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุบาสกสิกขา

สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา เหล่านี้เรียกว่าสิกขา

ภิกษุสมาทานสิกขาทั้งหมด ด้วยสิกขาสมาทานทั้งหมด
สมาทานสิกขาทั้งหมดมิให้เหลือ ด้วยอาการที่จะพึงประพฤติทั้งหมด แล้วประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สมาทานแล้วประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 03:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
พระพุทธองค์แสดงข้อปฏิบัติในการให้ชาวพุทธ มีศีล ไม่ได้ให้ไป ถือศีล การฝึกตนให้ศีลเกิด กับการถือศีล แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

การสมทานศึกษาในศีล เรียกย่อๆ ว่า การสมทานศีล คือ การศึกษากฏธรรมชาติหรือความจริงของโลกและชีวิต คือ กฏไตรลักษณ์ และกฏเหตุปัจจัย พูดสรุปง่ายๆ ว่า เมื่อศึกษาจนมีปัญญารู้เหตุรู้ผล ผู้ผิดรู้ถูก รู้บบุญรู้บาป รู้ดีรู้ชั่ว ที่คิดจะไปลักขโมย โกหก ฆ่าคน ฯ ก็ไม่ทำ แบบนี้เรียกว่า การสร้างศีลที่เหตุ


เช่นนั้น หวังว่า คุณ Supareak Mulpong ได้พิจารณา คำว่า "ศีล" "พรต" "การสมาทาน" "ศีลสิกขา"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 03:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ
อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ
กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ


เวรมณี แปลว่า เจตนาเครื่องกำจัดเวร
สิกฺขาปทํสมาทิยามิ แปลว่า ขอเรียนรู้และปฏิบัติ

แปลง่ายๆ ว่า จะใช้ปัญญาจากการฟัง การคิด เพื่อศึกษาศีล เพื่อกำจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป การมีปัญญารู้เห็นแค่บาปบุญ ก็เพียงพอสำหรับการเกิดศีลขั้นต้น พอรู้อะไรเป็นอะไร จะเว้นรอบ จะระงับ ฯ มันก็เกิดขึ้นได้ เพราะปัญญา

ที่สังคมไม่สงบ ก็เพราะมัวไปถือศีล พากันไปเป็นพราหมณ์กันหมดนี่แหละ

พร้อมด้วยศีลก็คือเป็นคนดี ถ้าถือศีลกันอย่างทุกวันนี้ แล้วทำให้คนเป็นคนดีได้ คนเลวไม่เหลือในสังคมไทยหรอก ที่มีปัญหากันก็ถือศีลด้วยกันทั้งนั้น

ที่ท่านยกมาทั้งหมด ยาวยืด สรุปได้ประโยคเดียวว่า เรียนรู้และปฏิบัติ แต่มันไม่มีไครทำอย่างที่ท่านยกมาหรอก ไม่เชื่อลงไปถามใครๆ ดูก็ได้ว่า ทำไมต้องไม่ฆ่า ทำไมต้องไม่ลัก ฯ ตอบกันไม่ได้หรอก อย่างมากก็บอกแค่เป็นบาป บาปคืออะไรก็ยังไม่ค่อยจะรู้กันเลย

การเรียนรู้เรื่องกฎธรรมชาติ ๒ กฏ เป็นเหตุทำให้เกิดการคลายกำหนัดในกามทั้งหลาย ถ้าศีลเกิดจากปัญญาที่รู้เห็นความจริงของโลกและชีวิตแบบนี้ จัดเป็นอริยศีล

ยิ่งถ้าบอกว่า ศีลเป็นข้อห้าม เหมือนกฏหมาย หลับหูหลับตาถือ อันนี้ไม่ใช่ ฝืนธรรมชาติ ผิดครรลองพุทธ .... แล้วท่าน เช่นนั้น ว่าเป็นกระการใด?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 04:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนตัว..ศีลอบรมสมาธิ..สมาธิอบรมปัญญา..สังเกตุได้ตั้งแต่ปุถุชนเลยนะ..พอศีลดีขึ้น..สมองมันก็ดูโปร่ง ๆ โล่ง ๆ ดี..ความคิดความอ่านก็ออกไปทางเย็นกายสบายใจ..

จึงเห็นคุณของศีล..ก็พยายามจะมีศีลมั่นคงยิ่งขึ้น..มาอีก..

การที่ไปเห็นคุณของศีล..นี้มันเริ่มเป็นปัญญาแล้วนะ..แต่ตัวคนนะ..ยังเป็นปุถุชนดี ๆ นี้เอง
จนแล้วจนเล่า ก็ยังเป็นพราหมณ์อยู่ดี ... เฮ้อ :b7:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 04:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
โถ่..ที่แท้ก็ชอบถือ..นี้เอง
เป็นพราหมณ์..ก็ดี..ภาระไม่มากดี

ไม่ค่อยคิดว่า..อย่างนี้..สำหรับอนาคามี
อย่างนี้..สำหรับอริยะบุคคล

อย่างนั้น..ถือศีล
อย่างนี้..จึงว่า..มีศีล

ถือต่อไป..ตามสบาย..นะพ่อพุทธแท้
:b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 04:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 09:00
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไม่ทำให้ผู้อื่นและตนเอง เดือดร้อนทั้ง กาย วาจา และใจ ก็ไม่น่าจะผิดอะไร
การทำที่ว่านี่หมายรวมถึงอยู่เฉยๆด้วยนะ และไม่รู้ว่าจะเลวหรือดีได้มั้ย
แต่จะพยายามพิจารณาว่ามีใครเดือดร้อนด้านใดหรือไม่ ก่อนที่จะทำ
แต่ถ้าทำแล้วพลาดไป เหนือความคาดหมาย ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เขาไม่ให้อภัย
ก็สำนึกผิดที่ทำไป และดูว่าแก้ไขได้มั้ย ถ้าไม่ได้ก็ต้องละวาง ช่างมันบ้าง
จะบุญ หรือ บาป ไม่ทราบเหมือนกันที่คิดอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมุติว่า มีนาย ก. ปกติ ขี้ลัก ขี้โกหก ขี้เหล้า เราไปพบแล้วก็บอกเขาว่ามันผิดศีลนะ เลิกเถอะ มันไม่ดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จะทำให้ นาย ก. กลายเป็นคนดี ไม่ลัก ไม่โกหก ไม่กินเหล้าได้หรือไม่?

อ้างคำพูด:
เป็นพราหมณ์..ก็ดี..ภาระไม่มากดี
พราหมณ์นี่แหละภาระอักโขยังต้องแบกอีกนับชาตินับภพไม่ถ้วน ... น้ำส่วนน้ำ น้ำมันส่วนน้ำมันนะ เอามาปนกันไม่ได้ นิพพานเลี้ยวซ้าย สวรรค์เลี้ยวขวา พราหมณ์จริงๆ แล้วเป็นอริกันกับพุทธ พราหมณ์มันจะเอาพุทธให้หมดไปจากโลกให้ได้

ปากก็บอกว่าเป็นพุทธ ศีลและวัตรกลับไปเอาของพราหมณ์มา พอจะนึกออกมั้ย ว่าผลมันจะออกมาเป็นยังงัย .... ท่านพุทธกลายๆ

พราหมณ์พวกหนึ่งไม่เชื่อเรื่องชาติภพ ไม่เชื่อเรื่องบุญบาป แต่กลับเห็นว่าการลัก การฆ่า การผิดลูกผิดเมีย การโกหก ทำให้สังคมเดือดร้อน พากันประกาศศีลเป็นข้อห้าม

พระพุทธองค์ไม่ให้ฝืนธรรมชาติ พระเทวทัตทูลขอให้สงฆ์ไม่กินเนื้อสัตว์ พระพุทธองค์ยังบอกว่าฝืนธรรมชาติของร่างกาย เป็นการทรมานตัวเอง ไม่ให้ทำ

อ้างคำพูด:
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไม่ทำให้ผู้อื่นและตนเอง เดือดร้อนทั้ง...
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ และทรงแสดงเหตุของธรรมนั้น รวมไปถึงเหตุที่คนผิดศีล และวิธีการในการดับเหตุนั้นๆ ชาวพุทธทุกคนที่ตั้งใจว่า จะสมาทานศึกษาในศีล เพื่อกำจัดเวร ต้องศึกษาและปฏิบัติตามครรลองนี้ ศีลถึงจะเกิด ศีลถึงความบริบูรณ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 11:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 09:00
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไม่ทำให้ผู้อื่นและตนเอง เดือดร้อนทั้ง...
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ และทรงแสดงเหตุของธรรมนั้น รวมไปถึงเหตุที่คนผิดศีล และวิธีการในการดับเหตุนั้นๆ ชาวพุทธทุกคนที่ตั้งใจว่า จะสมาทานศึกษาในศีล เพื่อกำจัดเวร ต้องศึกษาและปฏิบัติตามครรลองนี้ ศีลถึงจะเกิด ศีลถึงความบริบูรณ์


ก็คือจะมีศีลบริบูรณ์ ต้องสมาทานศีล และดับเหตุที่ผิดศีลนั้นได้ด้วย

ถ้าเราบังเอิญทำแก้วเขาแตกเละ และเขาจะเอาแก้วใบเก่าที่แตกคืน
ไม่รับฟังอะไรทั้งสิ้น อาฆาตเคียดแค้น เกลียดเราไปตลอด

ถ้าให้ชดใช้ในสิ่งที่สุดวิสัย เราก็ได้แค่พยายามขอโทษ และสำนึกผิด แหละ
ก็ต้องทำใจ และช่างมัน ไม่รู้นะเราแก้ไขที่ใจตัวเองถ้าหากมันสุดวิสัยจริงๆ
ถ้าแบบนี้เราก็จะไม่มีศีลที่สมบูรณ์ตลอดชีวิตหรอ ? ถ้าชาติหน้ามีจริงก็จะไม่สมบูรณ์ถึงชาติหน้า ?
ถ้าแบบนั้นจริง ก็ทำใจช่างมันๆ ไม่เอาละศีลบริบูรณ์


แก้ไขล่าสุดโดย Sasha เมื่อ 17 มี.ค. 2010, 12:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าให้ชดใช้ในสิ่งที่สุดวิสัย เราก็ได้แค่พยายามขอโทษ และสำนึกผิด...
ถูกล่ะ ... นั่นแหละ เขาถึงเรียกว่ามีศีล ... มีอาการอย่างนี้ รู้ผิดรู้ถูก รู้เหตุ รู้ผล เรียกว่าศีลเกิดแล้ว

การผิดศีล มีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างกามราคะ มีเหตุจากราคะสัญญา ดับเมื่อบรรลุอรหันต์ แปลว่า ศีลบริสุทธิ์จริงๆ เกิดเฉพาะในพระอรหันต์เท่านั้น แปลว่า ปุถุชนไม่มีทางมีศีลบริสุทธิ์จริงๆ ได้ ให้เรียนไปฝึกไป ได้เท่าใหร่ก็เอาแค่นั้น คอยวัดตัวเอง แล้วก็เรียนต่อไปฝึกต่อไป .........

ในฐานะฆารวาส เอาแค่อย่างหยาบเป็นบรรทัดฐาน เป็นเครื่องวัด ก็พอ โสดาปัตติผลยังได้แค่อย่างกลาง ทำได้จริงๆ ข้อเดียวคือ ไม่กินเหล้า

เริ่มจากศึกษาให้เข้าใจชาติ ภพ บาป บุญ ฯ พยายามอย่าให้อกุศลเกิด ด้วยการสังวร เว้นรอบ ระงับ ฯ ถ้าฝึกตนไปได้อย่างนี้ ประกอบกับการฝึกวิปัสสนา ศีลเกิดแน่นอน .... เอาอย่างที่ท่านเช่นนั้นยกมาเป็นกระบินั่นแหละ เรียกว่าเรียนอยู่ศึกษาอยู่ปฏิบัติอยู่ .... เอาจริงๆ ไม่เกินปีหรอก ศีลเกิดแน่นอน

ควันไฟย่อมลอยจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงฉันใด ผู้ใดศึกษารู้ถ้วนทั่วในเหตุปัจจัย ศึกษา ปฏิบัติถูกทางถูกธรรม ย่อมเดินหน้าไปสู่ประตูนิพพานโดยดุสดี ฉันนั้น แนวทางที่พระพุทธองค์สอนและให้ปฏิบัติ ก็เป็นไปเพื่อการดับทุกข์แต่เท่านั้น ตามครรลองของธรรมชาติ ตามหลักเหตุปัจจัย :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 09:00
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าให้ชดใช้ในสิ่งที่สุดวิสัย เราก็ได้แค่พยายามขอโทษ และสำนึกผิด...
ถูกล่ะ ... นั่นแหละ เขาถึงเรียกว่ามีศีล ... มีอาการอย่างนี้ รู้ผิดรู้ถูก รู้เหตุ รู้ผล เรียกว่าศีลเกิดแล้ว

การผิดศีล มีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างกามราคะ มีเหตุจากราคะสัญญา ดับเมื่อบรรลุอรหันต์ แปลว่า ศีลบริสุทธิ์จริงๆ เกิดเฉพาะในพระอรหันต์เท่านั้น แปลว่า ปุถุชนไม่มีทางมีศีลบริสุทธิ์จริงๆ ได้ ให้เรียนไปฝึกไป ได้เท่าใหร่ก็เอาแค่นั้น คอยวัดตัวเอง แล้วก็เรียนต่อไปฝึกต่อไป .........

ในฐานะฆารวาส เอาแค่อย่างหยาบเป็นบรรทัดฐาน เป็นเครื่องวัด ก็พอ โสดาปัตติผลยังได้แค่อย่างกลาง ทำได้จริงๆ ข้อเดียวคือ ไม่กินเหล้า

เริ่มจากศึกษาให้เข้าใจชาติ ภพ บาป บุญ ฯ พยายามอย่าให้อกุศลเกิด ด้วยการสังวร เว้นรอบ ระงับ ฯ ถ้าฝึกตนไปได้อย่างนี้ ประกอบกับการฝึกวิปัสสนา ศีลเกิดแน่นอน .... เอาอย่างที่ท่านเช่นนั้นยกมาเป็นกระบินั่นแหละ เรียกว่าเรียนอยู่ศึกษาอยู่ปฏิบัติอยู่ .... เอาจริงๆ ไม่เกินปีหรอก ศีลเกิดแน่นอน

ควันไฟย่อมลอยจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงฉันใด ผู้ใดศึกษารู้ถ้วนทั่วในเหตุปัจจัย ศึกษา ปฏิบัติถูกทางถูกธรรม ย่อมเดินหน้าไปสู่ประตูนิพพานโดยดุสดี ฉันนั้น แนวทางที่พระพุทธองค์สอนและให้ปฏิบัติ ก็เป็นไปเพื่อการดับทุกข์แต่เท่านั้น ตามครรลองของธรรมชาติ ตามหลักเหตุปัจจัย :b8:

ขอโทษนะที่ขี้สงสัย แต่งองู2ตัว
เราว่าเรื่องเหล้ามันก็แค่ปัญหาเรื่องหลังจากกินมากกว่า ถ้ากินแล้วไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็ไม่น่าจะมีปัญหา
ไม่ได้กินเพื่อเสริมความต้องการ เสริมกิเลสตัวเอง แต่กินเพราะ อากาศหนาวแค่ช่วยให้อุ่นอะไรแบบนี้
ผิดศีลเหรอ งั้นประเทศที่หนาวมากบางคนกินเหล้าแก้หนาวก็ผิดศีลตลอดทั้งๆ ที่ไม่ได้ติดเหล้าไม่ได้ทำให้ตัวเองหรือคนอื่นเดือดร้อนเพราะเหล้า ก็ผิดศีลแล้วเหรอ ถ้าไม่มีน้ำกินแต่มีเหล้าเลยกินเหล้าแทนไปก่อนก็ผิดศีลเหรอ แต่ถ้าว่าผิดวินัยอันนั้นก็เรื่องจริง เพราะพระกินเหล้่าแล้วไปทำอะไรเดือดร้อนชาวบ้าน ก็บัญญัติวินัย
เราว่าเรื่องฆารวาสน่าจะทำอะไรได้มากกว่าเลิกเหล้าเพราะบางคนไม่เคยกินเหล้าเลยด้วยซ้ำ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร