วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




monk5.jpg
monk5.jpg [ 69.4 KiB | เปิดดู 2783 ครั้ง ]
คุณสมบัติผู้ขอบรรพชาอุปสมบทตามกฏมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
หมวด ๓ หน้าที่พระอุปัชฌาย์

ข้อ ๑๓ พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตร ให้ได้คุณลักษณะก่อน จึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้คุณลักษณะของกุลบุตรนั้น มีดังนี้


(๑) เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบล หรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน มี
อาชีพชอบธรรม หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏ
ว่าเป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ใช่คนจรจัด


(๒) เป็นสุภาพชน มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย
เช่น ติดสุรา หรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น


(๓) มีความรู้ อ่านและเขียนหนังสือไทยได้


(๔) ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ


(๕) เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้
ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถ หรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ


(๖) มีสมณบริขารครบถ้วน และถูกต้องตามพระวินัย


(๗) เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


ข้อ ๑๔ พระอุปัชฌาย์ ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบท แก่คนต้องห้ามเหล่านี้


(๑) คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน


(๒) คนหลบหนีราชการ


(๓) คนต้องหาในคดีอาญา


(๔) คนเคยถูกตัดสินจำคุก โดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ


(๕) คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา


(๖) คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย


(๗) คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

ขอบคุณ
www.ukasa.net

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 23:11
โพสต์: 1044

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




54566.jpg
54566.jpg [ 116.71 KiB | เปิดดู 2775 ครั้ง ]
พระสูตรที่ต้องศึกษา

การศึกษาสามัญญผลสูตร จะช่วยให้เกิดความเข้าใจว่า เหตุใดมนุษย์เราจึงควรบวช เมื่อบวชแล้วจะต้องปฏิบัติตนอย่างใดบ้าง และเมื่อปฎิบัติตนตามขั้นตอนเป็นลำดับไปจนถึงที่สุด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประพฤพรหมจรรย์ โดยบริบูรณ์แล้ว จะเกิดผลดีต่อผู้ประพฤติเองอย่างไรบ้าง ความรู้เหล่านี้จะทำให้ผู้ที่ศึกษาตรองเห็นด้วยปัญญาว่า การดำเนินชีวิตเป็นนักบวชแท้ๆในพระธรรมวินัยนั้นประเสริฐสุด ไม่มีการดำเนินชีวิตแบบใดๆจะเทียบได้เลย
สามัญญผลสูตรนี้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อนักบวชและฆราวาสในด้านต่างๆหลายประการดังต่อไปนี้คือ

1. มาตราฐานของนักบวช
ธรรมะที่ปรากฏอยู่ในสามัญญผลสูตรนี้ถือได้ว่า เป็นเกณฑ์มาตราฐานด้านหลักการและคุณธรรมของนักบวชอย่างแท้จริง เพราะได้ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตราฐานของนักบวชว่า นักบวชที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าจะเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา หรือศาสนาใดๆก็ตาม จะต้องมีหลักการและคุณธรรมอย่างใดบ้างซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักบวชโดยตรง
ยิ่งกว่านั้นความเข้าใจนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อฆราวาสทั้งหลาย ในการพิจารณาว่า นักบวชรูปใดดีหรือไม่ดี จริงหรือปลอม สามารถยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึกได้หรือไม่ เพื่อว่าจะได้หลีกเลี่ยงจากนักบวชซึ่งเผยแพร่ลัทธิคำสอนที่เป็นอันตรายต่อชาวโลก หรือเพื่อป้องกันตัวไม่ให้เป็นเครื่องมือของนักบวชทุศีล หรือเพื่อไม่ให้หลงงมงายตามคำสอนของนักบวชที่ปฏิบัตินอกลู่นอกทางไปจากพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

2. การปฏิบัติตนต่อนักบวช
ฆราวาสโดยทั่วไปเมื่ออ่านพระสูตรนี้แล้ว ย่อมเข้าใจได้เองว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติตนต่อนักบวชอย่างไร จึงจะไม่ขัดต่อพระวินัยหรือศีลของนักบวช อันมีจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล เป็นต้น และถ้าปรารถนาจะได้รับความรู้ ความดีหรือบุญกุศลจากนักบวช ก็ควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร และจะสนับสนุนนักบวชอย่างไรบ้าง เป็นต้น ทั้งเกิดความเข้าใจว่าแม้ตนเองไม่ได้บวชก็จะสามารถบำเพ็ญกุศลธรรมได้ โดยทำหน้าที่เป็นกำลังสนับสนุนนักบวชให้ส่งเสริมสันติสุขแก่โลกได้อย่างกว้างขวาง

3. การเตรียมตัวก่อนบวช
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้บวชหากวันใดวันหนึ่งคิดจะออกบวชบ้าง ก็จะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าได้ถูกต้อง จึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการบวช ทั้งไม่เป็นนักบวชที่มีส่วนทำลายพระพุทธศาสนา ไม่เป็นนักบวชที่มอมเมาประชาชน และไม่เป็นนักบวชที่สร้างความสับสนจนทำให้ประชาชนเข้าใจพระพุทธศาสนาผิด ถ้าเป็นการบวชตลอดชีวิต ก็จะเป็นการบวชเพื่อมรรคผลนิพพานโดยแท้ หรือแม้ว่าจะเป็นการบวชระยะสั้น ดังที่นิยมบวชกันตามประเพณีของไทย ในช่วงฤดูเข้าพรรษา ผู้บวชก็จะได้รับรสพระธรรมอันประเสริฐ ถูกต้องตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้บวชเกิดโยนิโสมนสิการ อันเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการครองชีวิตฆราวาสเมื่อลาสิกขาแล้ว และเป็นประโยชน์ทางอ้อมต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวอยู่คู่โลกอีกด้วย

4. บทสรุปหลักศาสนา
สามัญญผลสูตรเป็นบทสรุปหลักการ และวิธีการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ยิ่งสูตรหนึ่ง เพราะสามารถสะท้อนภาพรวมแห่ง เหตุ และ ผล อันเป็นหัวใจคำสอนในพระพุทธศาสนาออกมาได้อย่างชัดเจน
“เหตุ” คือข้อปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้นักบวชประพฤติปฏิบัติตาม รวมทั้งต้องไม่ปฏิบัติในข้อที่ทรงห้ามไว้ด้วย
“ผล” คือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงได้รับจากการปฏิบัตินั้น ซึ่งมีอยู่หลายระดับ
สามัญญผลสูตรจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักการศาสนารวมถึงนักบวชทั้งหลาย เพราะเป็นหลักเกณฑ์มาตราฐานแห่งการครองตนในฐานะนักบวช ที่สามารถใช้เป็นเครื่องตรวจสอบการประพฤติปฏิบัติของนักบวชเอง และนักบวชผู้อยู่ในความดูแล ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีความเข้าใจสามัญยผลสูตรอย่างถ่องแท้ย่อมจะสามารถอธิบายหลักการและวิธีการสำคัญในพระพุทธศาสนา ให้ผู้ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา หรือให้บุคคลต่างศาสนาเข้าใจได้ในระยะเวลาสั้นๆ แม้เพียง 5 หรือ 10 นาที ถ้าเราสามารถอธิบายหลักการและวิธีการของพระพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจนแล้ว ผู้ฟังที่มีปัญญาไตร่ตรอง แม้จะนับถือศาสนาอื่น ก็ย่อมจะนำสิ่งที่ได้ฟังไปพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักการและวิธีการในศาสนาของเขา ซึ่งในที่สุดอาจจะเห็นแนวทางที่จะปรับเข้าหากันได้ ทำให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นสามารถอยู่ร่วมกับชาวพุทธได้อย่างสันติสุข โดยปราศจากความขัดแย้งซึ่งกันและกันในด้านทิฐิ

5. การสั่งสมบุญบารมี
สามัญญผลสูตรเหมาะสำหรับผู้ตั้งใจสั่งสมบุญบารมีเป็นอย่างยิ่ง นักสร้างบุญบารมีทั้งหลายถ้าทำความเข้าใจสามัญญผลสูตรได้เป็นอย่างดีแล้วจะสามารถสร้างบารมีได้อย่างยิ่งยวด สามารถเดินหรือปฏิบัติตามรอยบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายไปได้อย่างองอาจ ไม่มีผิดพลาด จนบรรลุมรรคผลได้อย่างอัศจรรย์ แม้ในระหว่างที่ยังไม่บรรลุ ก็รู้ได้ว่ามีสิ่งใดบ้างที่ต้องระมัดระวังหรือต้องปรับปรุงให้ดียิ่งๆขื้นไป
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า “สามัญญผลสูตร” เป็นพระสูตรอันมหัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะชี้ทางสว่างให้แก่นักบวชและผู้ปรารถนามรรคผลนิพพานแล้ว ยังให้แนวคิดที่มีคุณค่ายิ่งต่อผู้ครองเรือนโดยอเนกประการดังได้กล่าวแล้ว

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน

.....................................................
ตักบาตรทุกวัน....ได้บุญทุกวัน
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร