วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 21:26
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลกาเม เรื่องเกี่ยวกับการประพฤติผิดในกาม อย่างละเอียด จะผิดในกรณีใดบ้างคะ
ทางกายอย่างเดียว หรือแค่ใจคิดก้อผิดแล้วคะ หรือต้องทั้งกาย วาจา ใจคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:06
โพสต์: 194

อายุ: 38
ที่อยู่: นันทบุรีศรีนครน่าน

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ทราบนะครับ จะผิดก็ต่อเมื่อ คิดหรือ ทางมโนกรรม ทางวาจาหรือวจีกรรม ทางกาย หรือกายกรรม
1. ทางมโนกรรม หรือแม้เพียงแต่คิดก็ผิดแล้ว คิดเป็นชู้ คิดพิสวาส คิดไม่ดีต่อ ผู้อื่นในทางกามไม่ว่าลูกใคร เมียเขา ผัวคนอื่น มันก็ผิดแล้วล่ะครับ
2. ทางวาจา คือพูด ที่มีเจตนาไปในทางกามต่างๆนั้นก็ผิดแล้วครับ
3. ทางกาย ก็คือ การลงมือปฏิบัติแล้วล่ะครับ ตั้งแต่ส่งสายตาจนกระทั่งไปไหนถึงไหนแล้วล่ะครับ
โทษทัณฑ์ต่างๆของกามนั้นมีมากมายมหาศาลเลยครับถึงขนาดไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้เลย
ผมขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฏกดังนี้......
กามมีทุกข์และโทษมาก..
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อังคุตตราชนบท วันหนึ่ง ได้เสด็จเข้าไปพักผ่อนกลางวันในป่า ได้ทรงพบกับเศรษฐีชื่อโปตลิยะ ตอนหนึ่งของการสนทนา ได้ทรงนำเอาโทษของกามมาเล่าให้โปตลิยะฟังว่า ในทรรศนะของพระอริยเจ้านั้น ท่านเห็นว่ากามนี้มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ถ้าขาดปัญญาก็จะมองไม่เห็นโทษของกาม ท่านสรุปโทษของกามไว้ 7 ชนิด เปรียบเหมือน
[color=#FF0000]1. ชิ้นกระดูก [color=#8040FF] คือกระดูกที่ไม่มีเนื้อติดอยู่เลย แต่มีเลือดติดอยู่บ้าง สุนัขได้แทะกระดูกนั้น โดยมีน้ำลายของตัวเองเป็นเครื่องล่อ สุนัขนั้นย่อมไม่อิ่มด้วยกระดูกชิ้นนั้น ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลาย ก็ย่อมไม่รู้จักอิ่มจักพอ ย่อมถึงความทุกข์ ความคับแค้น เพราะไม่หายหิวด้วยกาม คือเสพไม่รู้จักอิ่มจักพอ ฉันนั้น
[color=#FF0000]2.ชิ้นเนื้อ[color=#8040FF] คือก้อนเนื้อที่พวกเหยี่ยวและแร้งกำลังแย่งกัน นกตัวใดได้ก้อนเนื้อไว้พวกนกที่ไม่ได้ก็จะตามแย่ง จิก ตี ถ้าไม่ปล่อยชิ้นเนื้อก็จะต้องมีความทุกข์ถึงตายหรือปางตาย ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลาย ถ้าไม่มีปัญญาไม่รู้จักปล่อยวางในกามเสียบ้าง ก็ย่อมได้รับทุกข์เหมือนเหยี่ยวที่ทวงก้อนเนื้อ ฉันนั้น
[color=#FF0000]3. คบหญ้า[color=#8000FF] คือคบหญ้าที่มีไฟติดอยู่ และผู้ถือไต้ถือทวนลมไป ถ้าผู้ถือไม่รีบโยนทิ้งเสียโดยเร็ว ไฟย่อมไหม้มือแขนหรือส่วนอื่นๆของร่างกาย ได้รับทุกข์ถึงตายหรือปางตาย ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลาย ถ้าไม่ขาดปัญญา ไม่รู้จักปล่อยวาง ก็ย่อมจะได้รับทุกข์และโทษของกาม ฉันนั้น
[color=#FF4000]4.หลุมถ่านเพลิง[color=#8000FF] คือหลุมที่มีถ่านเพลิงอันร้อนแรงอยู่ข้างล่าง กว้างและลึกแต่ไม่มีควัน เป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าหวาดเสียว สำหรับผู้ที่รักชีวิตหรือรักความสุข แต่ถูกผู้มีกำลังจับแขนคนละข้าง จะโยนลงไปในหลุมถ่านเพลิงนั้นฉันใด กามก็ย่อมเป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่ากลัว มีทุกข์มาก มีโทษมาก สำหรับผู้มีปัญญาฉันนั้น
[color=#FF0000]5. ความฝัน[color=#8040FF] คือเมื่อเรานอนหลับแล้วฝันเห็นสิ่งที่สวยงาม สถานที่น่ารื่อรมย์ พอตื่นขึ้นสิ่งเหล่านั้นก็หายไป ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลายก็ย่อมไม่อาจจะยึดเอากามเป็นตัวตนและเป็นสิ่งที่จีรังยั่งยืนได้ ฉันนั้น
[color=#FF4000]6. ของยืม[color=#8040FF] คือของที่เรายืมเขามา เมื่อเจ้าของเขาทวงก็ย่อมจะต้องให้เขาไป ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลาย เมื่อกำลังบริโภคกามอยู่ ถ้าเจ้าของเขามาพบและทวง ก็จำต้องให้เขาไป ถ้าไม่รู้จักปลงรู้จักวาง ก็ย่อมจะเกิดความทุกข์และความคับแค้น ฉันนั้น
[color=#FF4000]7. กินผลไม้บนต้น[color=#8040FF] คือต้นไม้ที่มีผลดกและรสอร่อย แต่ไม่มีผลดกอยู่ใต้ต้น ผู้ต้องการกินผลไม้จึงต้องปีนขึ้นไปกินบนต้น ถ้ากินช้าไม่รีบลงมีคนเอาขวานมาฟันโคนต้นนั้น เมื่อต้นไม้ล้มทับตายหรือปางตาย ฉันใด ผู้บริโภคกามทั้งหลาย ถ้าขาดปัญญา มองไม่เห็นโทษของกาม ก็ย่อมจะมีความทุกข์และความคับแค้นฉันนั้น...

โปตลิยสูตร13/39
เฮ้อ..เหนื่อยจัง ผมเองก็ตัดศีลข้อนี้ยากครับ ถ้าตัดข้อนี้ได้ ผมคงบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งแล้วครับ ก็จะพยายามครับ และขอให้คุณสามารถตัดมันได้เช่นกันครับ
[/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color][/color]
[/color]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ศีล คือความไม่ล่วงละเมิดของผู้มีเจตนาความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว ทางกาย วาจา
และอาจตลอดไปถึงใจด้วย

บางคนอาจจะไม่ล่วงละเมิดเพราะตั้งใจไว้ก่อน เช่นตั้งใจว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ ก็ไม่ฆ่า ตามที่ตั้งใจไว้

แต่บางคนก็ไม่ล่วงละเมิดโดยที่มิได้ตั้งใจไว้ก่อน ต่อเมื่อมีเหตุที่จะให้ล่วงละเมิดเกิดขึ้นเฉพาะ
หน้า ก็คิดงดเว้นไม่ล่วงละเมิดได้เอง เช่นเห็นงูพิษเลื้อยเข้ามาในบ้าน รู้ว่าเป็นงูพิษ ถ้ากัดใครเข้าอาจถึง
ตายได้ จึงหยิบไม้ขึ้นมาหมายจะตีงูให้ตาย แต่แล้วเกิดเมตตาสงสารว่า งูมันก็มีชีวิตเช่นเดียวกับเรา มัน
คงกลัวเจ็บกลัวตายเหมือนเรา อย่าทำมันเลย แล้วก็โยนไม้ทิ้ง ไล่งูให้ออกไปเสียจากบ้าน การกระทำเช่น
นี้ก็เป็นศีล แต่เป็นศีลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยมิได้มีเจตนาคิดจะงดเว้นมาก่อน



ศีลจึงเป็นเครื่องขัดเกลา กาย วาจา รวมไปถึงใจให้สะอาด เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส
อย่างหยาบที่จะล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา มีการตี การด่าเป็นต้น

ศีลนั้นแม้จะมีความหมายหลายอย่าง แต่โดยทั่วไปมักแปลกันว่า ปกติ คือปกติของกาย ของ
วาจา ซึ่งโดยปกติจะสงบไม่รุกราน ไม่เบียดเบียน ทำร้ายใคร แต่เมื่อละปกติคือผิดปกติก็ไม่สงบ รุกราน
เบียดเบียน ทำร้ายผู้อื่น ด้วยอำนาจของจิตใจที่ผิดปกติ เพราะโลภะ โทสะ และโมหะ


ศีลข้อ ๓ มีองค์ ๔ คือ

๑. อคมนียวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรถึง (คือชาย หรือหญิงที่มีเจ้าของ หรือมีผู้คุ้มครองดูแลรักษา)
๒. ตสฺมึ เสวนจิตตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
๓. เสวนปฺปโยโค พยายามที่จะเสพ
๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ อธิวาสนํ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน
ถ้าครบองค์ ๔ ที่วางไว้ ศีลข้อ ๓ นี้ก็ขาด

ศีลข้อนี้ขึ้นอยู่กับเจตนา และคุณของผู้ถูกล่วงด้วย กล่าวคือ
ถ้าจงใจมากโทษก็หนัก ถ้าจงใจ
น้อยโทษก็น้อย ถ้าผู้ถูกล่วงเป็นผู้มีศีลโทษก็หนัก เช่นในสมัยพุทธกาล นันทมาณพล่วงเกินนางอุบลวรรณา
อรหันตเถรี โทษถึงธรณีสูบก่อนแล้วจึงตกนรกอเวจี
โทษของศีลข้อ ๓ นี้ อย่างหนักทำให้เกิดในอบาย อย่างเบาทำให้มีศัตรู คู่เวร เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
(ในชาดกแสดงว่าทำให้เกิดเป็นกระเทย หรือเมื่อเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือมนุษย์แล้วต้องถูกตอน)

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2009, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กาเมสุ มิจฉาจาร

พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า หมายถึงการประพฤติลามกในการเสพ
เมถุนอันบัณฑิตติเตียน ดังสาธกว่า

คำว่า กาเมสุ ได้แก่การเสพเมถุน และ การประพฤติลามกอัณบัณฑิต
ติเตียนโดนส่วนเดียว ชื่อว่า มิจฉาจาร

พึงสังเกตว่า การเสพเมถุนนั้นไม่ว่าจะกับคู่ครอง ภรรยา หรือสามี ล้วนต้องลามกทั้งนั้น แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาการประพฤติ

ลามกในการเสพเมถุนที่คนดีๆทั่วไปติเตียน

และมีสาธกอธิบายของท่านอรรถกถาจารย์ต่อว่า
แต่เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ เจตนาเป็นเหตุก้าวล่วงฐานะที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
ที่เป็นไปทางกายทวารโดยประสงค์อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุ มิจฉาจาร

จากสาธกที่ท่านอธิบายนั้นสรุปได้ว่า ต้องทางกายทวารเท่านั้น การคิด
ไม่ไช่การทำให้ศีลข้อนี้เสียไป

อย่างไรเรียกว่าประสงค์อสัทธรรม ประสงค์คือต้องการหรือมุ่งหมายหรือ
ผล อสัทธรรมคือตรงข้ามกับสัทธรรม ๓ ประการ อันได้แก่
ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และปฏิเวทสัทธรรม(อธิคมสัทธรรม)
ท่านหมายถึงสัทธรรมของพระพุทธเจ้าเรานะครับ
ฉนั้น จึงสรุปได้อีกชั้นหนึ่งว่า การประพฤติลามกในเมถุนที่บัณฑิตติเตียนโดยมีผลขัดกันกับการศึกษา(ปริยัติสัทธรรม)การปฏิบัติ(

ปฏิบัติสัทธรรม)และปฏิเวทสัทธรรม
(ข้อนี้พึงค้นหาเพิ่มเติมได้ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ กับอรรถกถาที่อธิบายนั้น)

อธิบายคำว่า "เมถุน"
เมถุน ยังไม่พบการอธิบายในศีลของชาวบ้านธรรมดา มีพบก็อยู่ในหมวด
ปาราชิกกัณฑ์ของศีลภิกษุ ในมหาวิภังค์ วินัยปิฎก แต่เมื่ออ่านแล้ว ก็เข้า
ใจได้ว่า ความหมายท่านนั้นเป็นกลางๆไม่ได้หมายแค่เมถุนที่ใช้กับวินัยของพระพระเท่านั้น
โดยท่านอธิบายลักษณะไว้ดังนี้

ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน
มรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น อันคนเป็นคู่ๆพึงประพฤติร่วมกัน

ธรรมของอสัตบุรุษ หมายถึง การกระทำของคนที่ไม่มีองค์คุณของสัทธรรมทั้ง ๓ ประการ(ท่านเอาที่จุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา

เป็นตัววัด)
ประเพณีของชาวบ้าน หมายถึง คนทั่วไปที่ครองเรือนเขาทำกัน อันนี้ชัดเจนว่า ฆราวาสญาติโยมทั่วไปทำกันเป็นวิสัย(ท่านแบ่งให้

เห็นความต่างของวิสัยระหว่างภิกษุกับคนครองเรือน ไม่ได้หมายว่าฆราวาสทำเมถุนแล้วผิดบาป)
มรรยาทของคนชั้นต่ำ ข้อนี้ไม่ได้ว่าคนที่ทำเมถุน(แบบชาวบ้าน)ว่าชั้นต่ำ
แต่ท่านคงเอาชั้นของอริยะบุคคลมาตั้ง คือพระอริยบุคคลเมื่อสูงขึ้นไปแล้ว
ท่านละกามได้ ฉนั้น ยังละกามไม่ได้ก็คือยังเป็นชั้นต่ำอยู่
อันชั่วหยาบ เมถุนนั้น เป็นสุขคฤหัสถ์ เป็นสุขโลกิยะ เมื่อเทียบกับสุข
ในสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา และมรรคผลแล้ว มีความหยาบกว่ามาก
ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น
มีน้ำเป็นที่สุด หมายถึงกิจจบลงด้วยการเคลื่อนไปของสุกกะ(อสุจิ)ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งคือ เมื่อจบกิจแล้ว ทำความสะอาด

โดยน้ำ(เพื่อล้าง)
กิจที่ควรซ่อนเร้น อันนี้ตรงตัว ต้องทำในที่ลับตาแน่ ถึงจะมีเปิดเผยบ้างก็คง
บางกลุ่ม ไม่ไช่เผยทั่วไปแน่
อันคนเป็นคู่ๆพึงประพฤติร่วมกัน อันนี้ชัด คนเดียวไม่เรียกว่าเมถุน

พอสังเขปในคำว่า "กาเมสุ มิจฉาจาร" แล้ว
ต่อไปเป็นองค์ประกอบของศีลในข้อนี้ (ขอยกบาลีหน่อยครับ ถ้าไม่อ่าน หรือไม่สะดวก ละไปได้เลย อ่านแต่ไทยก็พอ)

ตสฺส จตฺตาโร สมฺภารา อคมนียวตฺถุ ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ เสวนปฺปโยโค มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนนฺติ ฯ
สัมภาระ(องค์ประกอบที่ทำให้เสียศีล) ๔ อย่าง ของมิจฉาจารย์นั้น คือ
๑.วัตถุที่ไม่ควรถึง
๒.จิตที่คิดเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้น
๓.ประโยคในการเสพ(ประโยคในที่นี้คือความพยายาม)
๔.ถึงการยังมมรรคให้ถึงเฉพาะมรรค

มีอธิบายดังนี้
องค์ประกอบข้อ ๑
วัตถุที่ไม่ควรถึง อธิบายถึงกรณีชายที่ล่วงเมถุนก่อน ท่านอธิบายถึงหญิง ๒๐ ประเภทที่ไม่ควรถึง(คำว่าไม่ควรถึงหมายถึงการไม่

ไปเสพเมถุนด้วย) คือ
๑.หญิงที่มารดารักษา ๒.หญิงที่บิดารักษา ๓.หญิงที่ทั้งมารดาบิดารักษา
๔.หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา ๕.หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา ๖.หญิงที่ญาติรักษา ๗.หญิงที่โคตร(คนในตระกูล)รักษา

ในชั้นนี้ท่านกล่าวถึงบุคคลที่รักษาหญิงมีต่างๆไว้แล้วเช่นมารดาเป็นต้น
อาการที่เรียกว่ารักษานั้น มี ๔ อย่างคือ
๑.คอยระวัง คือ สามารถทำให้หญิงไม่สามารถอยู่กับชายตามลำพังได้
๒.ควบคุม คือ สามารถสั่งให้อยู่ในที่จำกัดได้ เช่น ห้ามว่า วันนี้อย่าไปไหนนะ หรืออย่าไปเที่ยวกับชายคนนั้นคนนี้นะ เป็นต้น
๓.ห้ามปราม คือ สามารถห้ามการกระทำบางอย่างได้ เช่น ห้ามไปหาคนนั้นคนนี้ที่เป็นชายได้ หรือห้ามคบหาสมาคมกับชายนั้น

ชายนี้เป็นต้น
๔.ให้อยู่ในอำนาจ หมายถึง สามารถความคุมได้ทั้งทางพฤตินัยและในแง่
กฎหมาย(ผู้ปกครอง,ผู้ใช้อำนาจปรกครอง,ผู้พิทักษ์)
ฉนั้น หญิงที่บุคคล ๗ ประเภทมีมารดาเป็นต้นรักษาด้วยอาการ ๔ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่า ไม่ควรเข้าถึง(ล่วงเมถุน)แล้ว ดังสาธกว่า
สตรีที่ชื่อว่า มีมารดาปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีมารดา
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีบิดาปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีบิดา คอยระวัง
ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีมารดาปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีมารดาบิดา
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีพี่น้องชายปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีพี่น้องชาย
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีพี่น้องหญิงปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีพี่น้องหญิง
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีญาติปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีญาติคอยระวัง ควบคุม
ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ
สตรีที่ชื่อว่า มีโคตรปกครอง ได้แก่ สตรีที่มีบุคคลร่วมสกุล
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ


๘.หญิงที่มีธรรมรักษา มี ๒ นัยยะ นัยแรกหมายถึงหญิงที่เป็นนักบวชตามลัทธิใดลัทธิหนึ่ง หรือ ประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น

ประเพณีหรือธรรมเนียมห้ามชายที่มีครอบครัวแล้วเกี่ยวพันธ์ทางเพศกับหญิงประเภทนี้ นัยที่สอง ท่านอรรถกถาจารอธิบายว่า
ชนผู้บวชอุทิศพระศาสดาพระองค์เดียวกัน และชนผู้นับเนื่องในคณะเดียวกัน รักษาแล้วท่านเรียกว่า หญิงอันธรรมรักษา
ข้อนี้กล่าวเพ่งที่คนรักษา เช่นเพื่อนสหธรรมิกะที่สามารถรักษาคือ ระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจได้ ก็ชื่อว่ามีการรักษา

แล้ว ดังสาธกว่า
สตรีที่ชื่อว่า มีธรรมคุ้มครอง ได้แก่ สตรีที่มีสหธรรมมิกทั้งหลาย
คอยระวัง ควบคุม ห้ามปราม ให้อยู่ในอำนาจ

๙.หญิงที่รับหมั้นแล้ว หมายถึง การรับหมั้นด้วยประเพณีของกลุ่มชนนั้นๆ
อาจมีวิธีการไม่เหมือนกัน แม้บิดามารดารับหมั้นแทนตามประเพณีกลุ่มชนนั้น ก็ถือว่าหญิงนั้นมีการหมั้นแล้ว ดังสาธกว่า
สตรีที่ชื่อว่า มีคู่หมั้น ได้แก่ สตรีที่มีผู้หมั้นไว้แต่ในครรภ์ โดย
ที่สุด แม้สตรีที่ถูกบุรุษสวมด้วยพวงดอกไม้ ด้วยมั่นหมายว่า สตรีคนนี้
เป็นของเรา


๑๐.หญิงที่กฎหมายคุ้มครอง หมายถึง หญิงที่มีการตรากฎหมายโดยผู้มีอำนาจหรือพระราชา ว่า ผู้ใดยุ่งเกี่ยวกับหญิงนี้มีความผิด

ต้องได้รับอาญา
ดังสาธกว่า สตรีที่ชื่อว่า มีกฎหมายคุ้มครอง ได้แก่ สตรีที่มีพระราชาบางองค์ทรงกำหนดอาชญาไว้ว่า บุรุษใดถึงสตรีผู้มีชื่อนี้

ต้องได้รับอาชญาเท่านี้
(กรณีเช่นนี้ การเที่ยวผู้หญิงก็นับว่าน่าจะผิด เพราะมี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และค้าประเวณี หรือ ปพพ.ว่า

ด้วยความผิดต่อเพศ แล้วแต่กรณี ถึงแม้จะจับไม่ได้ตามกฎหมายโลก ทางคุณธรรมถือว่าละเมิดแล้วถ้าครบองค์ประกอบศีล)

และหญิงที่เป็นภรรยาหมายถึงภรรยาของคนอื่น หรือหญิงที่ตกเป็นเมียของคนอื่นแล้วด้วยเหตุต่างๆอีก ๑๐ ประเภทคือ

๑.ภรรยาที่ชื่อว่า สินไถ่ ได้แก่ สตรีที่บุรุษช่วยมาด้วยทรัพย์
แล้วให้อยู่ร่วม มีอธิบายว่า หญิงที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์
น้อยบ้าง มากบ้าง ชื่อว่า ธนักกีตา ก็เพราะหญิงนั้น เพียงเขาซื้อมา
ด้วยทรัพย์เท่านั้น ยังไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา, แต่ที่ชื่อว่าภรรยา ก็เพราะเขาซื้อมาเพื่อประโยชน์แก่การอยู่ร่วม
คงตกอยู่สมัยยุคศักดินา แต่ถ้าสมัยนี้ยังมีอยู่ ก็ต้องนับว่าเข้าข้อนี้
๒.ภรรยาที่ชื่อว่า อยู่ด้วยความเต็มใจ ได้แก่ สตรีที่บุรุษคู่รัก ให้
อยู่ร่วม มีอธิบายว่า หญิงใด ย่อมอยู่ด้วยความพอใจ คือ ด้วยความยินดีของตน ก็เพราะเหตุที่หญิงนั้นยอมเป็นภรรยาด้วย

เหตุสักว่าความพอใจของตนฝ่ายเดียว ก็หามิได้, แต่ที่ชื่อว่าเป็นภรรยา เพราะเป็นผู้อันชายรับรองแล้ว ชายที่รัก ย่อมยัง

หญิงที่รักให้อยู่
ข้อนี้คือพอใจเป็นภรรยาหรือเมียเขา และชายก็พอใจรับเป็นภรรยาหรือเมีย
๓.ภรรยาที่ชื่อว่า อยู่เพราะสมบัติ ได้แก่ สตรีที่บุรุษยกสมบัติให้
แล้วให้อยู่ร่วม มีอธิบายว่า หญิงใด ย่อมอยู่ด้วยโภคะ. เหตุนั้น หญิงนั้น ชื่อว่า โภควาสินี. คำว่า โภควาสินี นั่น เป็น

ชื่อแห่งหญิงในชนบท ผู้ได้อุปกรณ์แห่งเรือน มีครก สากเป็นต้น แล้วเข้าถึงความเป็นภรรยา
คงหมายถึงได้รับการช่วยเหลือทางวัตถุแบบเกื้อกูลกัน ก็เลยสมยอม เช่น
ชายพอใจช่วยเหลือ หญิงมองเห็นที่ความดี เป็นต้น

๔.ภรรยาที่ชื่อว่า อยู่เพราะผ้า ได้แก่ สตรีที่บุรุษมอบผ้าให้แล้ว
ให้อยู่ร่วม มีอธิบายว่า หญิงใด ย่อมอยู่ด้วยแผ่นผ้า, เหตุนั้น หญิงนั้น ชื่อว่า ปฏวาสินี.คำว่า ปฏวาสินี นั่น เป็นชื่อแห่ง

หญิงเข็ญใจ ผู้ได้เพียงผ้านุ่งบ้างผ้าห่มบ้าง แล้วเข้าถึงความเป็นภรรยา
ความหมายคงคล้ายกับข้อ ๓

๕.ภรรยาที่ชื่อว่า สมรส ได้แก่ สตรีที่บุรุษจับต้องภาชนะน้ำด้วยกัน
แล้วให้อยู่ร่วม มีอธิบายว่า คำว่า โอทปตฺตกินี นั่น เป็นชื่อแห่งหญิงผู้ที่หมู่ญาติยังมือของคู่บ่าวสาวให้จุ่มลงในถาดน้ำ

ถาดเดียวกัน แล้วกล่าวว่า เจ้าทั้งสองจงปรองดองไม่แตกกันดุจน้ำนี้เถิด ดังนี้ แล้วกำหนดถือเอา
ข้อนี้น่าจะเป็นวิธีการสมรสวิธีหนึ่งของกลุ่มชนหนึ่งๆ

๖.ภรรยาที่ชื่อว่า ถูกปลงเทริด ได้แก่ สตรีที่บุรุษปลงเทริดลง แล้ว
ให้อยู่ร่วม
ข้อนี้คงหมายถึงวิธีการแต่งงานเช่นเดียวกัน ของบางเผ่าบางกลุ่มชน

๗.ภรรยาที่ชื่อว่า เป็นคนใช้ ได้แก่ สตรีที่เป็นทั้งคนรับใช้ เป็น
ทั้งภรรยา มีอธิบายว่า สตรีเป็นทั้งทาสี ทั้งภรรยาของตน. สตรี
ผู้ทำงานในเรือนเพื่อค่าจ้าง ชื่อว่า สตรีทำการงาน, บุรุษบางคนไม่มี
ความต้องการด้วยภรรยาของตน จงสำเร็จการครองเรือนกับสตรีนั้น;
สตรีนี้ ท่านเรียกว่า สตรีผู้ทำการงานด้วย เป็นภรรยาด้วย
ข้อนี้คงหมายถึงเป็นคนรับใช้ในตอนนั้นก็มีเมถุนกับนาย ไม่ได้ออกหน้า
ออกตาว่าเป็นเมีย แต่ก็จัดว่าเป็นหญิงมีสามีแล้ว

๘.ภรรยาที่ชื่อว่า เป็นลูกจ้าง ได้แก่ สตรีที่เป็นทั้งคนทำงาน เป็น
ทั้งภรรยา
อันนี้คงไม่ได้เป็นคนรับใช้ แต่หมายถึงเป็นลูกจ้าง แล้วทำเมถุนธรรมกับนายจ้าง ก็จัดว่าเป็นภรรยาประเภทหนึ่ง

๙.ภรรยาที่ชื่อว่า เชลย ได้แก่ สตรีที่เรียกว่า ถูกนำมาเป็นเชลย
มีอธิบายว่า สตรีผู้อันกองทัพยกธงขึ้นแล้วไปโจมตีเขตแดนของปรปักษ์แล้วนำมา บุรุษบางคนทำสตรีนั้นให้เป็นภรรยา
ข้อนี้คือจับเอาหญิงเชลยมาเป็นภรรยา จัดเป็นภรรยาประเภทหนึ่ง

๑๐.ภรรยาที่ชื่อว่า ภรรยาชั่วคราว ได้แก่ สตรีที่เรียกว่า เป็นภรรยา
ชั่วขณะ มีอธิบายว่า สตรีที่บุรุษพึงอยู่ร่วมเพียงชั่วครู่หนึ่ง
ข้อนี้มีที่น่าวินิฉัยอยู่ ๒ ประการคือ ที่ว่าอยู่ชั่วขณะหนึ่งนั้น อยู่ในขณะหรือช่วงเวลาที่เขาเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ หรือว่า ผู้หญิง

ประเภทดังนี้
ถ้าเข้ากับข้อแรกก็หมายความว่า ถ้ายังไม่มีใครซื้อเวลา แล้วเราไปซื้อเวลามานั้น ไม่ผิด แต่ถ้าหมายเอาข้อสอง ก็หมายความว่า ถึง

ไม่มีใครซื้อเวลาแต่ไปเสพเมถุนกับหญิงประเภทเช่นว่านี้ ผิด อย่างไรก็ตาม น่าจะระวังทั้ง ๒ ประเด็น เพื่อความปลอดภัย ทั้งเป็น

การดีด้วยซะอีก แท้จริงแล้ว
แม้ไม่มีใครซื้อเวลาอยู่ก็จริง แต่ก็มักจะมีขาประจำหึงหวงกันให้เห็นอยู่บ่อยๆ ทั้งที่คนที่หึงหวงนั้น ยังไม่ได้ซื้อเวลา แบบนี้ผมเคย

ประจักษ์มา

ทั้ง ๒๐ หญิงที่พรรณามานี้ เรียกว่า วัตถุที่ไม่ควรถึง หมายถึงไม่ควรเสพเมถุนด้วย(อคมนียวัตถุ) ที่เรียกว่าวัตถุนั้น ไม่ได้หยาม

สตรีเพศนะครับ
แต่เมื่อยกเป็นสภาวะที่เป็นกรรม คือเป็นผู้ถูกกระทำ ตามภาษาศาสตร์แล้ว
จะใช้คำว่าวัตถุ

องค์ประกอบที่ ๒ จิตที่คิดเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้น
มีข้อวินิฉัยคือ จิต และคำว่า เสพ ส่วนวัตถุที่ไม่ควรถึงนั้นอธิบายแล้ว
จิตที่คิดเสพ ท่านหมายถึงนัยต่างๆตามหลังของการละเมิดวินัย คือ
มีเจตนา หมายถึงมีความตั้งใจ มีความระลึกรู้ปกติทั่วไป มีความปรุงแต่งของสภาวะรับรู้ทางจิตพร้อมตามปรมัตถ์มีเรื่องอาวัชนจิต

เป็นต้น
คำว่าเสพ หมายถึงการเข้าไปร่วม ร่วมกัน นำเข้ากัน ถ้าพูดถึงเรื่องเมถุนก็ตีความตามวินัยปิฎก ดังสาธกว่า เสพ ความว่า (ภิกษุ

ใด)สอดนิมิตเข้าไปทางนิมิตสอดองค์กำเนิดเข้าไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงาฯลฯ
ตัดคำว่า(ภิกษุใด)ออกไป และอธิบายคำว่านิมิตว่า นิมิตหมายถึงอวัยวะที่เป็นเครื่องหมายเพศ จึงอนุมานได้ว่า สอดนิมิตเข้าไป

ทางนิมิตแม้ชั่วเมล็ดงา(แตะหน่อยก็ผิดเลยซิเนี่ย)
สรุปคือมีเจตนาสอดนิมิตเข้าทางนิมิต คิดจะมีเพศสัมพันธ์ก็จัดเป็นข้อนี้
แต่ต้องวินิฉัยต่อ เพราะมีต่อว่า คิดเสพในวัตถุที่ไม่ควรถึง ต้องรัดกุมว่า
ถ้าเข้าใจว่าเสพได้ ไม่เป็นหญิงต้องห้ามล่ะ เช่นดูดีแล้ว ตรวจแน่ใจแล้วโดยสุจริตว่าไม่ใช่หญิงต้องห้ามแล้วเสพไป ข้อนี้ความเห็น

ผมเองน่าจะไม่ผิด ในความเห็นผมน่าจะแค่บาปสมาจาร คือประพฤติบาป เพราะบาลีท่าน
ใช้คำว่า ตสฺมึ(อคมนียสฺมึ) เสวนจิตฺตํ คือมีจิตคิดเสพในอคมนียวัตถุ(วัตถุไม่ควรถึง)นั้น เช่นเดียวกับปาณาติบาต ที่ต้องรู้และเข้าใจ

ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน ต้องรู้และเข้าใจว่าหญิงที่จิตคิดเสพนั้นเป็นอคมนียวัตถุ ฉันใดก็ฉันนั้น เว้นแต่ว่ามีข้อห้ามในข้อนี้ว่า สงสัย

แล้วขืนทำลงไปมีความผิดนั่นเอง ข้อนี้คล้ายกับผมเจอตัวอย่างเรื่องเจตนาในอนันตริยกรรมข้อปิตุฆาตว่า ออกรบ รบกันชุลมุน

อาวุธของบุตรที่ซัดไปถูกบิดาตาย
จัดเป็นปิตุฆาต แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรมหากไม่มีเจตนาฆ่าบิดา ผลของวิบากไม่เสมอกับอนันตริยกรรม

องค์ประกอบที่ ๓ ประโยคของการเสพ(พยายามเสพ)
องค์ประกอบข้อนี้มีข้อที่ต้องวินิฉัยว่า พยายาม พยายามนั้นเอาอาการหรือ
การกระทำหรือการเคลื่อนไหวของร่างกายแค่ไหนระดับไหน ที่จัดว่าพยายาม ไม่มีอธิบายในอรรถกถาจารย์เป็นพิเศษ ทั้งยังไม่

พบการตีความทำนองนี้เป็นพิเศษ และความหมายก็จะตีความให้คล้ายกับวิริยะ(ความเพียร)ไม่ได้ อาจเป็นไปได้ว่าท่านอรรถกถา

จารย์เองเห็นว่า พยายามนั้นเข้าใจกันง่าย แสดงง่าย อธิบายง่าย ก็เลยไม่ตีความไว้ ฉนั้นควรที่จะแปลความกันหรือตีความกัน

แบบปกติธรรมดา ความหมายน่าจะออกไปในทางที่ว่า หากมีการกระทำใดๆรวมถึงการงดเว้น(คือไม่ทำ)การใดๆ โดยขณะที่

กำลังทำนั้นไกล้ต่อผลสำเร็จขององค์ประกอบที่ ๔ (ยังมรรคให้จดมรรค,เสพเมถุน,มีเพศสัมพันธ์) ตัวอย่างเช่น กอดจูบลูบคลำ เล้า

โลม เป็นต้น วิธีอื่น เช่น วางยา ฉุด คร่า ทุบ ตี เป็นต้นเห็นได้ว่า การกระทำเหล่านี้ไกล้ผลสำเร็จ เหตุที่ต้องอธิบายแบบนี้เพราะบาลี

ใช้คำว่า เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ เป็นกิริยาที่ไกล้ผลแล้ว เหมือนคำว่าพยายามไปให้ถึง คือกำลังทำอยู่แต่ยังไม่ถึงที่สุดหรือจุด

หมายของกิจที่ทำ

องค์ประกอบที่ ๔ การยังมรรคให้ถึงมรรค
ก่อนที่จะอ่านข้อวินิฉัยของผมในองค์ประกอบที่ ๔ นี้ ผู้สนใจอ่าน พึงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คุณพระอรรถกถาจารย์ และยัง
อสุภะกรรมฐานหรือยังอารมณ์ที่ไม่สวยไม่งามของสังขารร่างกาย โดยพิจารณาความเป็นของปฏิกูล ไม่สะอาด ให้เกิดสลด
สังเวชในสังขารร่างกายก่อน เพื่อช่วยห้ามอาการตลกขบขันในข้อความ ศัพท์ และนามต่างๆที่แทนความหมายของพฤติการณ์อาจ

ต้องจินตนาการตามและเนื่องด้วยข้อนี้วินิฉัยตามแนวพระวินัยปิฎกและบางส่วนจากพระอภิธรรมปิฎก บางส่วนจากพระอรรถ

กถาจารย์ผู้ทรงอริยคุณ

มรรคแปลว่าทาง หนทาง เป็นคำกลางๆ แล้วแต่ว่าจะนำคำใดไปเติมให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น ถ้าพูดถึง มรรค ๘ ก็อีกความ

หมายหนึ่ง หรือสุดแต่ว่าจะนำคำนี้ไปใช้ในข้อความใดให้ความหมายเปลี่ยนไปตามข้อความนั้น เช่นคำว่า เอกายนมรรค ก็หมายถึง
วิธีปฏิบัติสายเดียวอันเอก ในที่นี้พูดถึงเรื่องการเสพเมถุน ก็อนุมานได้เลยทันทีว่า หมายถึงมรรคอันเป็นบริบททางเพศ ในปาราชิก
กัณฑ์ข้อเสพเมถุนใช้คำว่านิมิตแปลว่าเครื่องหมาย แต่ในที่นี้ใช้คำว่ามรรค และยังไม่มีอธิบายต่อของอรรถกถาด้วยว่ามรรคมีอะ
ไรบ้าง แต่เมื่อได้อ่านเจอในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎกแล้ว พบข้อกำหนดเรื่องมรรคในการเสพเมถุนของภิกษุ มีสาธกนำมาย่อๆว่า
ฯลฯ ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค ๓ คือ วัจจวรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของมนุษย์ ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก
สาธกที่ย่อนำมานี้กล่าวถึงเรื่องเสพเมถุน และใช้คำว่ามรรคเช่นกัน เห็นว่าน่าจะนำมาปรับใช้ได้ในกรณีเสพเมถุนเหมือนกัน
อนุมานเอาได้ว่า มรรคของผู้หญิงนั้น มี ๓ คือ ๑.วัจจมรรค ๒.ปัสสาวมรรค และ ๓.มุขมรรค ท่านกำหนดหมายเอาชายเป็น

ฝ่ายทำ เลยทำให้มรรคที่ถูกกระทำของหญิงมี ๓ มรรคนั่นเอง แล้วถ้าชายถูกกระทำละ ไม่ไช่ว่าข้อนี้ชายเท่านั้นที่ละเมิดได้ หญิงก็
ละเมิดได้เช่นกัน เริ่มเป็นข่าวบ่อยๆ ชายทำกับชายอีก หญิงทำกับหญิงก็มี ในเรื่องนี้พิจารณาที่ปาราชิกของภิษุณีก็ไม่ได้ เพราะ

ของภิกษุณีนั้น แค่ยินดีลูบคลำกันต่ำว่ารากขวัญ ประมาณสะดือ สูงกว่าเข่า ด้วยกำหนัดก็ปาราชิกไปแล้ว แต่ถ้าอ่านปาราชิกของ

ภิกษุและสังเกตจะเห็นว่า มรรคหรือทางที่ถูกกระทำนั้น อยู่ที่ว่า ใครทำ ทำกับใคร แนวทางวินิฉัยของผมสรุปเองได้ดังนี้

ผู้ทำ ชาย
ผู้ถูกกระทำ หญิง
ฉนั้นมรรคชายผู้ทำมี ๒ คือ ปัสสาวมรรค(อวัยวะเพศชาย)และมุขหรือปาก มรรคหญิงผู้ถูกกระทำมี ๓ คือ ทวารหนัก ทวารเบา

และมุขหรือปาก

ผู้ทำ หญิง
ผู้ถูกกระทำ ชาย
มรรคหญิงผู้ทำมี ๓ คือ ทวารหนัก ทวารเบา และมุขหรือปาก
มรรคชายผู้ถูกกระทำมี ๒ คือ ปัสสาวมรรค(อวัยวะเพศชาย) และมุขหรือปาก

ผู้ทำ ชาย
ผู้ถูกกระทำ ชาย
มรรคชายผู้ทำมี ๓ คือ ทวารหนัก ทวารเบา(อวัยวะเพศชาย) และมุขหรือปาก
มรรคชายผู้ถูกกระทำมี ๓ เช่นเดียวกับผู้ทำ

ผู้ทำ หญิง
ผู้ถูกกระทำ หญิง
ทั้งผู้ทำและผู้ถูกกระทำมี ๒ มรรคคือ ทวารเบา และมุขหรือปาก

แนวทางที่ผมวินิฉัยเองสรุปเองบางท่านอาจเห็นว่าในบางข้อนั้นไม่ควรเติมมุขมรรค เพราะมุขมรรคหรือทางปากอาจจัดอยู่ใน
เสวนปฺปโยค คือพยายาม(เล้าโลม) แต่ที่ผมเครงครัดตีความเช่นนี้ก็ถือตามแนวปาราชิกของภิกษุและอีกประการหนึ่งถือว่าใน

กรณีกรรมอันลามกที่บัณฑิตติเตียน มุขมรรคน่าจะจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย เพียงแต่ถ้าทำกับภรรยาหรือสามีเราหรือกับบุคคล
ไม่ต้องห้ามก็ไม่จัดว่าเป็นธรรมลามกที่บัณฑิตติเตียนตามความหมายประสงค์ของศีลข้อนี้

ต่อมาความหมายของยังมรรคให้ถึงเฉพาะมรรค
ในอรรถกถาภาษาไทยท่านไม่มีคำว่าเฉพาะ ทั้งที่ผมดูฉบับบาลีมีคำว่า ปฏิ แปลว่าเฉพาะ ในคำว่า มคฺเคน มคฺคปฏิปตฺติอธิวาสนํ
เมื่อแปลว่า ยังมรรคให้ถึงเฉพาะมรรค ก็สรุปง่ายๆได้เลยว่า ทำมรรคใดมรรคหนึ่งให้ชนกัน ติดกัน ชิดกัน โดยไม่ต้องสอดใส่เลย
เพราะคำว่าถึงความหมายก็ทำนองนี้ และเฉพาะมรรคเท่านั้น นอกจากมรรค เช่น นิ้ว มือ ขา แขนไม่จัดเป็นมรรคตามความ

หมายนี้

การตัดสินว่าล่วงละเมิดศีลข้อนี้
ต้องครบองค์ประกอบตามที่วินิฉัยมา คือผู้ถูกกระทำเป็นหญิงต้องห้าม(หรือบุคคลต้องห้าม) รู้ตั้งใจที่จะเมถุนด้วยหญิงต้องห้ามนั้น

ได้เริ่มกระทำการอยู่และกระทำการสำเร็จตามองค์ประกอบที่ ๔ (มรรคถึงมรรค) ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ หากไม่ครบองค์

ประกอบจัดเป็นเรื่องของบาปสมาจาร(ประพฤติบาป,ประพฤติชั่วหยาบ) คล้ายกับกฏหมายทางโลก คือทำการข่มขืนแต่ไม่สำเร็จ(

ไม่สามารถสอดใส่ได้)ไม่เป็นความผิดข่มขืน อาจเป็นอนาจารหรือพยายามกระทำความผิดแต่ไม่บรรลุผลนั่นเอง

ในกรณีฝ่ายหญิง
มีสาธกตอนท้ายของข้อนี้ในอรรถกถาจารย์ อภิธรรมปิฎก เรื่องอกุศลกรรมบทว่าด้วยวินิฉัยของกาเมสุ มิจฉาจารว่า
อิตฺถีสุ ปน ทฺวินฺนํ สารกฺขาสปริทณฺฑานํ ทสนฺฺนํ จ ธนกฺกีตาทีนนฺติ ทฺวาทสนฺนํ อิตฺถีนํ อญฺเญ ปุริสา ฯ
บุรุษทั้งหลายเหล่าอื่นเป็น อคมนียฐาน(ฐานะไม่ควรถึง)ของหญิง ๑๒ ประเภท คือหญิงรับหมั้นแล้วและหญิงกฎหมายคุ้มครอง(๒

ประเภท)พวกหนึ่ง และภรรยาทั้งหลายมีภรรยาที่อยู่เพราะทรัพย์เป็นต้น(ภรรยา ๑๐ ประเภท)พวกหนึ่งฯ
แนวทางวินิฉัยเรื่องนี้คือ หญิง ๑๒ ประเภท เมถุนกับชาย(ไม่จำกัดประเภท) หญิง ๑๒ ประเภทนี้ละเมิดศีลข้อนี้
โดยแนวนี้เอาผู้ทำหรือหญิงเป็นตัวตั้ง คือถ้าภาวะของหญิงนั้นจัดอยู่ใน ๑๒ ประเภทแล้ว กับชายคนใดก็ผิด

มีปัญหาขึ้นว่า ในกรณีที่ชายมีภรรยาแล้วไปเมถุนกับหญิงที่ต้องห้าม เช่นนี้เป็นการเอาเปรียบหรือไม่ เพราะหญิงจะผิด ด้วยหหญิง
นั้นมีภาวะต้องห้ามอยู่เช่นหมั้นแล้วเป็นต้น แต่ผู้ชายมีภรรยาแล้วกลับไม่เห็นข้อห้าม ตอบว่ามีครับ จัดว่าชายเมถุนกับหญิงประ

เภทธัมมรักขิตา (หญิงมีธรรมรักษา)เพราะนัยยะเป็นทั้งธรรมและประเพณีขนบธรรมเนียมรักษาไว้ ตามโจทย์นี้ละเมิดทั้งคู่

ที่สำคัญนะครับ ทางกายทวารเท่านั้น ทางใจหรือแค่คิด ยังไม่ละเมิด อาจเป็นอกุศลกรรมอื่นๆไปครับ

ชายกับชาย หญิงกับหญิง ก็อนุมานเอาตามนี้โดยเคร่งครัดว่ากรรมลามกที่บัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว แม้ในประเทศที่ยอมรับ

เรื่องความต่างทางเพศก็ยังจัดว่าไม่เหมาะ ไม่ควร โดยถือสังคมโลกยังไม่ยอมรับหมด ในข้อนี้ท่านใดพบแนวทางวินิฉัยที่ดี เหมาะ
ควร ก็แบ่งผมให้ได้รู้บ้าง
อีกประเด็นหนึ่งกับสัตว์เดรัจฉานนั้นผมยังไม่พบแนวทางวินิฉัยของศีล ๕ พบเพียงแนวทางของภิกษุเท่านั้น ท่านใดพอทราบ

แนะผมบ้างอย่าได้งุบงิบไว้คนเดียวครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 01:32
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่คิดก้อผิดแล้ว

แต่รู้จักหักห้าม มิให้เกิดเป็นการการกระทำ

นี้สิดีกว่า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร